วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 17:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2021, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรลักษณ์ ลักษณะโดยธรรมชาติ ๓ อย่างของสิ่งทั้ปวง
ตัวกฎหรือตัวสภาวะ
ตามหลักพุทธธรรมเบื้องต้นที่ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบต่างๆ
มาประชุมกันเข้า หรือมีอยู่ในรูปของการรวมตัวเข้าด้วยกันของส่วนประกอบ
ต่างๆ นั้น มิใช่หมายความว่าเป็นการนำเอาส่วนประกอบที่เป็นชิ้นๆ อันๆ
อยู่แล้วมาประกอบเข้าด้วยกัน และเมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้ว ก็เกิดเป็น
รูปเป็นร่างคุมกันอยู่เหมือนเมื่อเอาวัตถุต่างๆ มารวมกันเป็นเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ

ความจริง ที่กล่าวว่าสิ่งทั้งหลายเกิดจากการประชุมกันของส่วนประกอบต่างๆ
นั้น เป็นเพียงคำกล่าวเพื่อเข้าใจง่ายๆ ในเบื้องต้นเท่านั้น แท้จริงแล้ว สิ่งทั้ง
หลายมีอยู่ในรูปของกระแส ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆ ล้วนประกอบขึ้นจาก
ส่วนประกอบอื่นๆ ย่อยลงไป แต่ละอย่างไม่มีตัวตนของมันเองเป็นอิสระ
ล้วนเกิดดับต่อกันไปเรื่อย ไม่เที่ยง ไม่คงที่ กระแสนี้ไหลเวียนหรือดำเนิน
ต่อไป อย่างที่ดูคล้ายกับรักษารูปแนวและลักษณะทั่วไปไว้ได้อย่างค่อยเป็น
ไป ก็เพราะส่วนประกอบทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยซึ่งกันและกัน
เป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันอย่างหนึ่ง และเพราะส่วนประกอบเหล่านั้นแต่ละ
อย่างล้วนไม่มีตัวตนของมันเอง และไม่เที่ยงแท้คงที่อย่างหนึ่ง

ความเป็นไปต่างๆ ทั้งหมดนี้ เป็นไปตามธรรมชาติ อาศัยความสัมพันธ์และ
ความเป็นปัจจัยเนื่องอาศัยกันของสิ่งทั้งหลายเอง ไม่มีตัวการอย่างอื่นที่นอก
เหนือออกไปในฐานะผู้สร้างหรือผู้บันดาล จึงเรียกเพื่อเข้าใจง่ายๆ ว่าเป็นกฎธรรมชาติ

มีหลักธรรมใหญ่อยู่ ๒ หมวด ที่ถือได้ว่าทรงแสดงในรูปของกฎธรรมชาติ คือ
ไตรลักษณ์ และ ปฏิจจสมุปบาท

ความจริงธรรมทั้ง ๒ หมวดนี้ถือได้ว่าเป็นกฎเดียวกัน แต่แสดงในคนละแง่
หรือคนละแนว เพื่อมองเห็นความจริงอย่างเดียวกัน คือ ไตรลักษณ์ มุ่งแสดง
ลักษณะของสิ่งทั้งหลายซึ่งปรากฏให้เห็นว่าเป็นอย่างนั้น ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็น
ไปโดยอาการที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันตามหลักปฏิจจ
สมุปบาท ส่วนหลักปฏิจจสมุปบาท ก็มุ่งแสดงถึงอาการที่สิ่งทั้งหลายมีความ
สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันเป็นกระแส
จนมองเห็นลักษณะได้ว่าเป็นไตรลักษณ์

กฎธรรมชาตินี้ เป็น ธาตุ คือภาวะที่ทรงตัวอยู่โดยธรรมดา เป็น ธรรมฐีติ
คือภาวะที่ตั้งอยู่หรือยืนตัวเป็นหลักแน่นอนอยู่โดยธรรมดา เป็น ธรรมนิยาม
คือกฎธรรมชาติ หรือกำหนดแห่งธรรมดา ไม่เกี่ยวกับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2021, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้สร้างผู้บันดาล หรือการเกิดขึ้นของศาสนาหรือศาสดาใดๆ กฎธรรมชาตินี้แสดง
ฐานะของศาสดาในความหมายของพุทธธรรมด้วยว่าเป็นผู้ค้นพบกฎเหล่านี้ แล้ว
นำมาเปิดเผยชี้แจงแก่ชาวโลก

สำหรับไตรลักษณ์นั้น มีพุทธพจน์แสดงหลักไว้ในรูปของกฎธรรมชาติ ว่าดังนี้

“ ตถาคต (พระพุทธเจ้า) ทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้นก็
ดำรงอยู่ เป็นธรรมฐีติ เป็นธรรมนิยามว่า

๑. ทั้งปวง ไม่เที่ยง ...
๒. สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ...
๓. ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา...

ตถาคตตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก
เปิดเผย แจกแจง ทำให้เข้าใจง่ายว่า “สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง ...สังขารทั้งปวง
เป็นทุกข์ ...ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตาไม่เป็นไม่มีอัตตา”

ในพุทธพจน์ที่ตรัสแสดงหลักนี้เรียกแต่ละข้อว่า “ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา”
(ในภาษาไทยเรียกเป็น ธรรมธาตุ ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม) ส่วน “ไตรลักษณ์” เป็น
คําที่ใช้กันในคัมภีร์ตั้งแต่ชั้นอรรถกถาลงมา และในอรรถกถานั้น บางทีเรียกว่า
“สามัญลักษณะ” ในฐานะเป็นลักษณะร่วม ที่มีแก่สิ่งทั้งหลายเป็นสามัญเสมอ
เหมือนกัน คือ ทุกอย่างที่เป็นสังขตะ เป็นสังขาร ล่วนไม่เที่ยง คงทนอยู่มิได้
เสมอเหมือนกันทั้งหมด ทุกอย่างที่เป็นธรรม ไม่ว่าสังขตะคือสังขาร หรืออสังขตะ
คือวิสังขาร ก็ล้วนมิใช่ตน ไม่เป็นอัตตา เสมอกันทั้งสิ้น

เพื่อความเข้าใจง่าย ๆ จะแสดงความหมายของไตรลักษณ์ (The Three
Characteristics of Existence) โดยย่อ ดังนี้

๑. อนิจจตา (Impermanence) ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน
ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อม และสลายไป

๒. ทุกขตา (Stress and Conflict) ความเป็น ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการ
เกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่
ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้น
ไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง
หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วย และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไป
อยากเข้าไปยึดด้วยตัณหา

๓ อนัตตา (Soullessness หรือ Non-Self) ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่
ตัวตน ความไม่มีตัวตนจริงแท้ที่จะเป็นเจ้าของครอบครองสั่งบังคับให้เป็นไปอย่างไรๆ ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2021, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งทั้งหลายทั่วไป มีอยู่เป็นไปในรูปของกระแส ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ อันสัมพันธ์
เนื่องอาศัยกัน เกิดดับสืบต่อกันไปอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดสาย จึงเป็นภาวะที่ไม่เที่ยง
เมื่อแต่ละสิ่งแต่ละส่วนที่สัมพันธ์กัน เกิดดับ ไม่คงที่ และเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่อาศัย
ก็ย่อมมีความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง และแสดงถึงความบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่ในตัว
และทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปกระแสที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ขึ้นต่อเหตุ
ปัจจัยเช่นนี้ ก็ตาม ไม่ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ก็ตาม ก็มีภาวะที่เป็นอย่างนั้นๆ ตามธรรมดา
ของมันอยู่แล้ว จึงย่อมไม่เป็นไม่มีตัวตนอะไร ที่เหมือนกับมาแฝงมาซ้อนมาคุม ดัง
เป็นเจ้าของครอบครองสั่งบังคับให้เป็นไปอย่างไรๆ ได้ตามที่ปรารถนา

ในกรณีของสัตว์บุคคล ให้แยกว่า สัตว์บุคคลนั้นประกอบด้วย ขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่มี
สิ่งใดอื่นอีก นอกเหนือจากขันธ์ ๕ เป็นอันตัดปัญหาเรื่องที่จะมีตัวตนเป็นอิสระอยู่ต่างหาก

จากนั้นหันมาแยกขันธ์ ๕ ออกพิจารณาแต่ละอย่างๆ ก็จะเห็นว่า ขันธ์ทุกขันธ์ไม่เที่ยง
เมื่อไม่เที่ยง ก็เป็นทุกข์ เป็นสภาพบีบคั้นกดดันแก่ผู้เข้าไปยึด เมื่อเป็นทุกข์ ก็ไม่ใช่ตัว
ตน ที่ว่าไม่ใช่ตัวตน ก็เพราะแต่ละอย่างๆ ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนของมันเอง
อย่างหนึ่ง เพราะไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นของของสัตว์บุคคลนั้นแท้จริง (ถ้าสัตว์บุคคล
นั้นเป็นเจ้าของขันธ์ ๕ แท้จริง ก็ย่อมต้องบังคับเอาเองให้เป็นไปตามความต้องการได้
และไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพที่ต้องการได้ เช่น ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บป่วย เป็นต้น)
อย่างหนึ่ง

พุทธพจน์แสดงไตรลักษณ์ในกรณีของขันธ์ ๕ มีตัวอย่างที่เด่น ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็น อนัตตา หากรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ จักเป็น อัตตา (ตัวตน) แล้วไซร้ มันก็จะ
ไม่เป็นไปเพื่อ ทั้งยังจะได้ตามปรารถนาในรูป ฯลฯ ในวิญญาณว่า “ขอรูป...ขอเวทนา
...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้น
เลย” แต่เพราะเหตุที่รูป ฯลฯ วิญญาณ เป็นอนัตตา ฉะนั้น รูป ฯลฯ วิญญาณ จึงเป็น
ไปเพื่ออาพาธ และใครๆ ไม่อาจได้ตาม ในรูป ฯลฯ วิญญาณ ว่า “ขอรูป...ขอเวทนา
...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย”

“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความเห็นเป็นไฉน?”
“รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?” (ตรัสถามทีละอย่าง จนถึง วิญญาณ)
“ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข?”
“เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเฝ้าเห็นสิ่งนั้นว่า
นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา?”
“ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อย่างใด
อย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอก หยาบหรือละ
เอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยอัน
ถูกต้อง ตามที่มันเป็นว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2021, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


มีปราชญ์ฝ่ายฮินดูและฝ่ายตะวันตกหลายท่าน พยายามแสดงเหตุผลว่าพระพุทธเจ้า
ไม่ได้ทรงปฏิเสธ อัตตาหรือ อาตมัน ในชั้นสูงสุด ทรงปฏิเสธแต่เพียงธรรมที่เป็น
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างเช่นในพระสูตรนี้เป็นต้น ทรงปฏิเสธ ทุกอย่างว่าไม่ใช่อัตตา
เป็นการแสดงเพียงว่า ไม่ให้หลงผิดยึดเอาขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เพราะอัตตาที่แท้จริง
ซึ่งมีอยู่นั้น ไม่ใช่ขันธ์ ๕ และยกพุทธพจน์อื่นๆ มาประกอบอีกมากมาย เพื่อแสดงว่า
พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธเฉพาะธรรมที่เป็นปรากฏการณ์ต่างๆ ว่าไม่ใช่อัตตา แต่ทรง
ยอมรับอัตตาในขั้นสูงสุด และพยายามอธิบายว่า พระนิพพาน มีสภาวะอย่างเดียวกับ
อาตมัน หรือว่านิพพานนั่นเอง คือ อัตตา เรื่องนี้ ถ้ามีโอกาสจะได้วิจารณ์ในตอนที่เกี่ยว
กับนิพพาน

ในขั้นนี้ แค่ชี้หลักไว้ง่ายๆ คือ ความจริงก็ชัดเจนอยู่ทุกเวลาว่า สิ่งทั้งหลายมีสภาวะของ
มันเองอยู่แล้ว จึงย่อมมีอัตตาไม่ได้ และสิ่งทั้งหลายจะมีอยู่เป็นอยู่ตามภาวะของมันอย่าง
นั้นๆ ได้ ก็ต้องไม่มีอัตตา (ถ้ามีอัตตา สิ่งทั้งหลายก็ดำรงสภาวะของมันอยู่ไม่ได้ คือเป็น
อยู่เป็นไปตามภาวะของมันที่เป็นอย่างนั้นๆ ไม่ได้)

ส่วนในที่นี้ขอกล่าวสั้นๆ เพียงในแง่จริยธรรมว่า ปุถุชน โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรม
มาในระบบความเชื่อถือเกี่ยวกับเรื่องอาตมัน ย่อมมีความโน้มเอียงในทางที่จะยึดถือหรือ
ไขว่คว้าไว้ให้มีอัตตาในรูปหนึ่งรูปใดให้จงได้ เป็นการสนองที่แฝงอยู่ในจิตส่วนลึกที่ไม่รู้ตัว
เมื่อจะต้องสูญเสียความรู้สึกว่ามีตัวตนในรูปหนึ่ง (ชั้นขันธ์ ๕) ไป ก็พยายามยึดหรือคิด
สร้างเอาที่เกาะเกี่ยวอันใหม่ขึ้นไว้ แต่ตามหลักพุทธธรรมนั้น มิได้มุ่งให้ปล่อยอย่างหนึ่ง
เพื่อไปยึดอีกอย่างหนึ่ง หรือพ้นอิสระจากที่หนึ่ง เพื่อตกไปเป็นทาสอีกที่หนึ่ง

อาการที่สิ่งทั้งหลายมีอยู่ในรูปกระแส มีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นปัจจัยสืบต่อกัน และมี
ลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างไร ยังจะต้องอธิบายด้วยหลักปฏิจสมุปบาท
ต่อไปอีก ความจึงจะชัดยิ่งขึ้น

คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์
ขอยกเอาหลักธรรมนิยามที่แสดง หรือสามัญญลักษณ์ ๓ อย่าง มาตั้งเป็นหัวข้ออีกครั้งหนึ่ง
เพื่ออธิบายให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ตามแนวหลักวิชาที่มีหลักฐานอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ ดังนี้

๑. สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
๒. สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์
๓. ธรรม ทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา

สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เรียกตามคำบาลีว่า เป็นอนิจจ์ หรืออนิจจะ แต่ในภาษาไทยนิยมใช้
คำว่า อนิจจัง ความไม่เที่ยง ความเป็นสิ่งไม่เที่ยง หรือภาวะที่เป็นอนิจจ์หรืออนิจจัง นั้น
เรียกเป็นคำศัพท์ตามศัพท์บาลีว่า อนิจจตา ลักษณะที่แสดงถึงความไม่เที่ยง เรียกเป็น
ศัพท์ว่า อนิจจลักษณะ

สังขารทั้งหลายเป็น ทุกข์ ในภาษาไทย บางทีใช้อย่างภาษาพูดว่า ทุกขัง, ความเป็นทุกข์
ความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ความเป็นสภาวะมีความบีบคั้นขัดแย้ง หรือภาวะเป็นทุกข์นั้น
เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า ทุกขตา, ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ เรียกเป็นศัพท์ว่า
ทุกขลักษณะ

ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา, ความเป็นอนัตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน หรือภาวะที่เป็นอนัตตา
นั้น เรียก เป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า , ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นอนัตตา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า

ในหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา นั้น มีข้อที่ควรทำความเข้าใจ
และอธิบาย เพิ่มเติม ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร