วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 13:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2021, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการปฏิบัติที่จัดเป็นระบบ

พุทธพจน์ที่แสดงหลักการปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน มักเป็นไปในรูปของคำสอนให้พิจารณาสภาว
ธรรมอย่างที่ได้ยกมาอ้างไว้แล้วข้างต้น หากจะแสดงลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติ ที่จะเรียกได้
ว่าเป็นระบบ ก็เป็นเพียงการแสดงขั้นตอนอย่างกว้างๆ

พุทธพจน์แนวนี้ ที่นับว่าละเอียดที่สุด และพบบ่อยที่สุด ก็คือ คำสอนแสดงความก้าวหน้าในการ
ประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุ ตั้งแต่ออกบวช จนบรรลุอาสวักขย

อีกแนวหนึ่ง ที่นับว่าใกล้เคียง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงเองบ้าง พระสาวกแสดงบ้าง เป็นครั้งคราว
คือ แนวจรณะ ๑๕ และ วิชชา ๓

นอกจากนี้ ก็มีแต่ที่แสดงเพียงลำดับหัวข้อ เป็นชุดๆ เช่น วิสุทธิ ๗ วิสุทธิ ๙ เป็นต้น

การที่เป็นอย่างนี้ สันนิษฐานได้ว่า แบบแผน และรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติ
คงเป็นเรื่องที่ท่านทำและนำสืบๆ กันมา ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ตามกระบวนวิธีที่อาจารย์สั่งสอน
และฝึกหัดศิษย์ นอกจากนั้น รายละเอียดปลีกย่อยก็ย่อมแตกต่างกันไป ตามกลวิธีของอาจารย์
ต่างสำนักกันด้วย ประเพณีปฏิบัติคงดำเนินมาเช่นนี้ จนถึงยุคของพระอรรถกถาจารย์ ท่านจึง
ได้นำเอาแบบแผนและรายละเอียดบางส่วนของขั้นตอนการปฏิบัติเหล่านั้น มาเรียบเรียงบันทึก
ไว้ในคัมภีร์ ดังตัวอย่างที่เด่น คือ ใน วิสุทธิมัคค์

คัมภีร์วิสุทธิมัคค์ นอกจากแสดงลำดับขั้นตอนและแบบแผนการฝึกด้านกิจกรรมภายนอกแล้ว ยัง
แสดงลำดับขั้นของความเจริญก้าวหน้าภายใน คือการที่ปัญญาแก่กล้าขึ้นเป็นระดับๆ จนตรัสรู้
อย่างที่เรียกลำดับฌานด้วย เค้าโครงทั่วไปของการปฏิบัติ ท่านถือตามหลักการของไตรสิกขา
แล้วขยายออกตามแนววิสุทธิ ๗ ส่วนขั้นตอนของความเจริญปัญญาภายใน (วิปัสสนาญาณ)
ท่านขยายความจากเนื้อหาบางส่วนในคัมภีร์ ปฏิสัมภิทามัคค์

ในที่นี้ จะแสดงระบบการปฏิบัติ ที่สรุปตามแนวของคัมภีร์วิสุทธิมัคค์นั้น ซึ่งแสดงได้เป็นขั้นตอน

เบื้องแรก พึงเข้าใจความหมายของคำศัพท์สำคัญก่อน

วิสุทธิ แปลว่า ความหมดจด คือความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ หมายถึง ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์
ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือนิพพาน จำแนกเป็น ๗ ขั้น
ดังจะแสดงต่อไป

ปริญญา แปลว่า การกำหนดรู้ หรือทำความรู้จัก หมายถึง การทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ โดยครบถ้วน
หรือรอบด้าน แบ่งเป็น ๓ ขั้น คือ

๑) ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก คือ รู้ตามสภาวลักษณะ ได้แก่ รู้จักจำเพาะตัวของสิ่งนั้น ตามสภาวะ
ของมัน เช่นรู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนาคือสิ่งที่มีลักษณะเสวยอารมณ์ นี้คือสัญญา สัญญาคือสิ่งที่
มีลักษณะกำหนดได้หมายรู้ ดังนี้เป็นต้น (รู้ว่าคืออะไร)

๒) ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา คือรู้ด้วยปัญญาที่หยั่งลึกซึ้งไปถึงสามัญลักษณะ
ได้แก่ รู้ถึงการที่สิ่งนั้นๆ เป็นไปตามกฎธรรมดา โดยพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา เช่นว่า เวทนาและสัญญานั้น ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวตน
เป็นต้น (รู้ว่าเป็นอย่างไร)

๓) ปหานปริญญา กำหนดรู้ถึงขั้นละได้ คือ รู้ถึงขั้นที่ทำให้ถอนความยึดติด เป็นอิสระจากสิ่ง
นั้นๆ ได้ ไม่เกิดความผูกพันหลงใหล ทำให้วางใจ วางท่าที และปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้อง
เช่น เมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นๆ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว ก็ละนิจจสัญญา เป็นต้น ในสิ่งนั้นๆ ได้ (รู้ว่า
จะทำอย่างไร)

วิปัสสนาญาณ แปลว่า ญาณในวิปัสสนา หรือญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็น
วิปัสสนา ได้แก่ ความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็น
จริง ทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ได้ แบ่งเป็น ๙ ขั้น ดังจะแสดงต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร