วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 13:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2021, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


มรรค ในฐานะหลักปฏิบัติที่เนื่องด้วยสังคม

“ดูกร อานนท์ ความมีกัลยามิตร มีกัลยาณสหาย ชอบคบหากัลยาณชนนี้ เท่ากับเป็นพรหม
จรรย์ทั้งหมดทีเดียว เพราะว่า ผู้มีกัลยาณมิตร...พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ เขาจักยังอริยอัษฎางคิก
มรรคให้เกิดมี เขาจักกระทำได้มากซึ่งอริยอัษฎางคิกมรรค”

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพพนิมิต ฉันใด ความมีกัล
ยาณมิตร ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอริยอัษฎางคิกมรรคแก่ภิกษุ ฉันนั้น”

พุทธพจน์นี้ แสดงถึงการยอมรับความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ในฐานะสภาพ
แวดล้อมทางสังคม ว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะชักนำและส่งเสริมให้เกิดมีการประพฤติ
ปฏิบัติหลักธรรมในพระพุทธศาสนา แสดงให้เห็นว่า ระบบการดำเนินชีวิต ระบบจริยธรรม หรือ
ระบบการประพฤติปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เนื่องด้วยสังคม ไม่แยกต่างหากจาก
สังคม

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความ
ถึงพร้อมด้วย โยนิโสมนสิการ (การทำในใจโดยแยบคาย หรือการรู้จักคิดพิจารณาตามสภาวะ
และเหตุผล) ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอริยอัษฎางคิกมรรคแก่ภิกษุ ฉันนั้น
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือจักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งอริยอัษฎาง
คิกมรรค”

พุทธพจน์นี้ ให้ความคิดว่า แม้ว่าปัจจัยทางสังคมจะมีความสำคัญมาก แต่ก็ต้องไม่มองข้าม
ความสำคัญของปัจจัยภายในตัวบุคคล ปัจจัยที่ดีงาม ทั้งทางสังคม และภายในตัวบุคคล
ต่างก็สามารถเป็นจุดเริ่ม ซึ่งทำให้เกิดความประพฤติปฏิบัติ และการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้
ความจริง ทั้งสองอย่างนั่นแหละ ย่อมช่วยหนุนและเสริมซึ่งกันและกัน

หลักการนี้แสดงว่า การปฏิบัติชอบ หรือชีวิตที่ดีงาม เกิดจากการปรุงผสมผสานปัจจัยทางสัง
คมและปัจจัยภายในตัวบุคคลเข้าด้วยกัน และการก้าวหน้าไปในมรรคาแห่งความดีงามสู่จุด
หมายแห่งชีวิต จะเป็นไปได้อย่างสัมฤทธิ์ผลมากที่สุด หากได้อาศัยปัจจัยสองอย่างนี้คอยอุด
หนุนค้ำชูกันอยู่เรื่อยๆ ไป

แต่พึงสังเกตว่า มีข้อเน้นพิเศษสำหรับปัจจัยทางสังคม คือ ความมี กัลยาณมิตร ซึ่งพิเศษกว่า
ปัจจัยภายในตัวบุคคลที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ กล่าวคือ ท่านยกให้ปัจจัยทางสังคมนั้น มีค่า
เท่ากับการปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ ทั้งหมดทีเดียว ทั้ง
นี้เพราะว่า สำหรับมนุษย์ทั่วไปโดยส่วนใหญ่ การปฏิบัติชอบ หรือชีวิตที่ดีงาม หรือมรรคาแห่ง
อารยชนนั้น จะตั้งต้นขึ้นได้ ก็ด้วยอาศัยปัจจัยทางสังคม

ปัจจัยดีงามทางสังคมนั้น เป็นทั้งเครื่องจุดชนวนความรู้จักคิดที่เรียกว่าโยนิโสมนสิการในเบื้อง
ต้น และเป็นเครื่องประคับประคองคอยเสริมเติมและกระตุ้นโยนิโสมนสิการนั้นในระหว่างก้าว
เดินคืบหน้าต่อๆ ไป

ทั้งนี้ จะมียกเว้นก็เฉพาะแต่อัจฉริยบุคคล ซึ่งมีจำนวนน้อยเหลือเกิน ที่จะก้าวเดินไปได้ตลอด
ปลอดโปร่ง ด้วยปัจจัยภายในตัวบุคคลอย่างเดียวล้วน คือสามารถริเริ่มโยนิโสมนสิการขึ้นเอง
แต่ต้น โดยไม่ต้องมีปัจจัยทางสังคมมาช่วยชักจูง และสามารถปลุกโยนิโสมนสิการขึ้นมาใช้ได้
เรื่อยไป โดยไม่ต้องอิงอาศัยปัจจัยทางสังคมพุทธพจน์นี้จึงตรัสไว้เพื่อมุ่งหมายประโยชน์แก่คน
ส่วนใหญ่ ผู้มีอินทรีย์ในระดับเฉลี่ยทั่วๆ ไป

เรื่องปัจจัยทางสังคม และปัจจัยภายในตัวบุคคลนี้ เป็นเรื่องใหญ่ ที่จะกล่าวถึงโดยเฉพาะต่อไป
อีกข้างหน้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร