วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 06:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2021, 04:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8584


 ข้อมูลส่วนตัว


คนมีปัญญา แม้แต่ทุกข์ ก็เห็นคุณค่า และใช้ประโยชน์ได้

ความจริง ตอนนี้ ถึงเวลาที่จะพูดเรื่องคุณและโทษของความสุข แต่ขอพูดเรื่องทุกข์แทรกคั่นเสียก่อน เพราะผ่านทุกข์แล้วจะได้มีแต่สุข และทุกข์นั้นก็มีทั้งคุณและโทษที่ควรจะพูดเช่นกัน

ทุกข์นั้น เราไม่ชอบ เพราะมันบีบคั้น ทำให้อึดอัด ติดขัด คับข้อง นี้คือความหมายของทุกข์ จึงเป็นธรรมดาว่า คนเจอทุกข์ ย่อมไม่ชอบใจ แต่คนมีโยนิโสมนสิการ สามารถเอาประโยชน์จากทุกข์ได้ ทำได้อย่างไร

บอกแล้วว่า ทุกข์เป็นสภาพบีบคั้น เมื่อมันบีบคั้น คนก็อึดอัดขัดข้อง จึงทำให้เขาดิ้นรนเพื่อให้หลุดให้พ้นไป ถ้าเขารู้จักดิ้น นอกจากมีความเป็นไปได้มากว่าเขาจะหลุดพ้นไปได้แล้ว การดิ้นรนนั้น ก็จะทำให้เขาเข้มแข็ง ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในการดิ้นรนหาทางนั้น มีการพัฒนาขึ้นไปในด้านต่างๆ มากทีเดียว

ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า มนุษย์ที่มีจิตมีใจ รู้จักคิดได้นี้ ถ้าวางจิตใจถูกต้องและคิดถูกทาง ก็ดีไป แต่ถ้าวางจิตใจผิด และคิดเขวไป นอกจากไม่หลุดพ้นแล้ว ยังจะซ้ำเติมตัวเองอีกด้วย

ยกตัวอย่าง คนเกิดมาจนข้นแค้น หรือตกทุกข์ได้ยาก ถ้าวางจิตใจไม่ถูกต้อง และไม่รู้จักคิด มัวนั่งจับเจ่าเศร้าใจทอดอาลัยอยู่ ก็คือเอาทุกข์นั้นมาทับถมตัวเอง ก็ยิ่งจมลงไป

ทีนี้ ถ้าคนนั้นวางใจถูก และดิ้นรนเพียรพยายามแก้ปัญหา รู้จักคิดหาทาง ก็สามารถผ่านพ้นทุกข์นั้นไป และอาจจะประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ก็ได้

การดิ้นรนให้พ้นจากทุกข์ที่บีบคั้นนี้ บางทีถึงกับเป็นระบบของสังคมก็มี เอาง่ายๆ ก็ได้แก่ระบบแข่งขันของสังคมตะวันตก ที่กำลังแผ่ขยายไปครอบงำโลกทั้งหมด เป็นโลกาภิวัตน์นี่แหละ

ระบบแข่งขัน ก็คือเอาทุกข์มาบีบ ทำให้คนต้องดิ้น และระบบแข่งขันนี้ซ้อนไว้กับระบบตัวใครตัวมัน คือปัจเจกชนนิยมอย่างเข้ม เมื่อดิ้นรนไป ก็หวังพึ่งใครไม่ได้ด้วย ทำให้มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวและใช้พลังเต็มที่ จึงทำให้คนเข้มแข็ง และต้องเร่งรัดขวนขวายกระตือรือร้นตลอดเวลา

นี่ก็คือทำให้ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และก็ได้ผลคือเจริญก้าวหน้าสมหมาย แต่จะเป็นความเจริญที่พึงปรารถนาแค่ไหน และการดิ้นรนแบบนี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ก็ไว้ค่อยว่ากันอีกที

อย่างไรก็ตาม ความไม่ประมาทที่เกิดจากถูกบีบคั้นในระบบแข่งขันทำให้ต้องกระตือรือร้นดิ้นรนกันนี้ ยังเป็นเพียงความไม่ประมาทเทียม เป็นเรื่องภาวะดิ้นรนจากความบีบกดที่มาถึงจิตใจเท่านั้น ไม่ใช่ความไม่ประมาทที่เกิดจากปัญญา จึงพ่วงปมปัญหาเอาไว้มากมาย ทั้งทางจิตใจ เช่นความเครียด และทางสังคม ที่ขาดความสัมพันธ์เชิงน้ำใจ เป็นต้น เป็นเรื่องที่ยังต้องแก้ปัญหากันอย่างหนักต่อไป

แต่เอาเถิด มนุษย์ที่ไม่ประมาท ถึงอย่างไรก็ยังดีกว่ามนุษย์ที่จมอยู่กับความลุ่มหลงมัวเมา

บางทีผู้นำสังคมก็ต้องใช้ หรือแม้แต่สร้างความไม่ประมาทเทียมนี้ขึ้น เพื่อให้คนลุกขึ้นมากระตือรือร้นขวนขวายบ้าง ดีกว่าจะปล่อยให้จมอยู่ในความประมาท จับเจ่านอนคุดคู้ ไม่รู้จักคิดจะไปไหนหรือจะทำอะไร

เป็นอันว่า เราจะต้องให้คนรู้จักใช้ประโยชน์จากความทุกข์ คือเมื่อทุกข์บีบคั้นให้ดิ้นรนขวนขวาย ก็ทำให้เกิดความเข้มแข็ง แล้วการที่มีทุกข์ ก็คือเกิดปัญหา ซึ่งทำให้หาทางแก้ไข

เมื่อพยายามแก้ไขปัญหา เราก็จะได้พัฒนาตัวเอง ด้านที่หนึ่งซึ่งเป็นหัวใจ ก็คือได้พัฒนาปัญญา กว่าจะแก้ปัญหาได้เสร็จ ผ่านลุล่วงไป ก็ได้ปัญญามากมาย

พร้อมกันนั้นก็ได้พัฒนาทั้งด้านกาย ด้านวาจา และด้านจิตใจ เช่น พฤติกรรมก็คล่องขึ้น จิตใจก็เข้มแข็ง มีสติ มีสมาธิดีขึ้น เป็นต้น สารพัด อะไรต่ออะไรก็มากันใหญ่

เพราะฉะนั้น ทุกข์จึงใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ และเราก็จะต้องเอาประโยชน์จากทุกข์ให้ได้ นี่แหละ ท่านจึงให้หลักว่า คนมีปัญญา แม้เจอปัญหาประสบทุกข์ ก็สามารถมีความสุขได้ ถึงแม้อยู่ท่ามกลางทุกข์ ก็ต้องรู้จักมีความสุขได้ด้วย

เป็นอันว่า เอาประโยชน์จากทุกข์ให้ได้ ทุกข์ก็จะมีทางเป็นคุณ ดังว่ามานี้

https://www.watnyanaves.net/th/book-reading/22/2

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร