วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 14:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2022, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




Doraemon-PNG-Image-Background.png
Doraemon-PNG-Image-Background.png [ 200.99 KiB | เปิดดู 411 ครั้ง ]
๕๖๘
ทัสสนะและภาวนา
โค้ด:
ตตฺถ กตมํ ทสฺสนญฺจ ภาวนา จ.

ถามว่า : ในสาสนปัฏฐาน ๒๘ นั้น ทัสสนะและภาวนา คืออะไร
โค้ด:
ปยฺจ ฉินฺเท ปญฺจ ชเห"ติ อิทํ ทสฺสนํ  ปญฺจ จุตฺตริ ภาวเย ปญฺจสงฺคาติโค
ภิกขุ โอฆติณฺโณติ วุจฺจตี"ติ อยํ ภาวนา. อิทํ ทสฺสนญฺจ ภาวนา จ.

ตอบว่า : คือพระดำรัสนี้ว่า ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องสูง ๕ เป็นทัสสนะ

พระดำรัสนี้ว่า พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุพ้นเคื่องผูกพัน ๕ อย่างได้แล้ว จึงได้ชื่อว่า
ผู้ข้ามห้วงกิเลส เป็นภาวนา
ข้อนี้เป็นทั้งทัสสนะและภาวนา

(สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ คือ กามราคะ ปฏิฆะ สักกายทิฏฐิ สีลัพพตปรามาส และวิจิกิจฉา
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
เครื่องผูกพัน ๕ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ)

กามคุณ (อ่านว่า กา-มะ-คุน, กาม-มะ-คุน) ในพระพุทธศาสนาหมายถึง สิ่งที่น่าปรารถนา
ชวนให้รักชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดยินดี มี ๕ ชนิด คือ รูป (สิ่งที่ตามองเห็น) เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กายสัมผัส) กามคุณ ๕ นี้เป็นอารมณ์ คือสิ่งที่ยึดดึงใจให้ปรารถนา
ให้รักใคร่ เป็นต้น จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กามารมณ์" แปลว่า อารมณ์คือกามคุณ
ไม่ได้หมายถึงอารมณ์ทางเพศเพียงอย่างเดียว


กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ คือ รูป ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ.... เสียงทั้งหลาย
อันจะถึงรู้แจ้งได้ด้วยโสตะ.... กลิ่นทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยฆานะ.... รสทั้งหลาย
อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยชิวหา.... โผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่
น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะอันน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่
เป็นที่ตั้งแห่งความกำ หนัด มีอยู่, ภิกษุ ท.! อารมณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ หาใช่กามไม่;
ห้าอย่างเหล่านี้ เรียกกันว่า กามคุณ.

กิเลสโคจฉกะ

ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยกิเลสธรรมเหล่านั้น เว้นกิเลสธรรมเหล่านั้นเสีย คือ
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็น กิเลส.
[๘๐๙] ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?
ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากกิเลสธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภท
ที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจรรูป ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า
ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร