วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2022, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-Meditation-PNG-Image.png
Gautama-Buddha-Meditation-PNG-Image.png [ 409.16 KiB | เปิดดู 360 ครั้ง ]
๑๓๓
โค้ด:
ตตฺถ สทฺธินทริยํ กตฺถ ทฏฺฐพฺพํ โสตาปตฺติยงฺเคสุ. วินินฺทฺริยํ กตฺถ ทฏฺฐพฺพํ
จตูสุ สมฺมปฺปธาเนสุ.  สตินฺทฺริยํ กตฺถ ทฏฺฐพฺพํ. จตูสุ สติปฏฺฐาเนสุ. สมาธินฺทฺริยํ กตฺถ
ทฏฺฐพฺพํ จตูสุ ฌาเนสุ. ปญฺญินฺทฺริยํ  กตฺถ ทฏฺฐพฺพํ. จตูสุ อริยสจฺเจสุ เอวํ เสโขสพฺเพหิ
กุสเลหิ ธมฺเมหิ อปฺปมตฺโต วุตฺโต ภควตา อนาวิลตาย มนสา เตนาห ภควตา มนสานาวิโลสิยา"หิ


ถามว่า : ในอินทรีย์เหล่านั้น สัทธินทรีย์พึงทราบ(ว่าเป็นใหญ่ในวิสัยของตน)ได้ที่ไหน
ตอบว่า : ในขณะบรรลุกระแสอริยมรรคทั้ง ๔ (มรรค ๔)

ถามว่า : วิริยินทรีย์พึงทราบได้ที่ไหน
ตอบว่า : ในสัมมัปปธาน ๔ (วิริยะเป็นสัมมัปปธานทั้ง ๔ )

ถามว่า : สตินทรีย์พึงทราบได้ที่ไหน
ตอบว่า : ในสติปัฏฐาน (สติเป็นสติปัฏฐาน ๔)

ถามว่า : สมาธินทรีย์พึงทราบได้ที่ไหน
ตอบว่า : ในรูปฌาน ๔ (เอกัคคตาเป็นองค์ฌาน)

ถามว่า : ปัญญินทรีย์พึงทราบได้ที่ไหน
ตอบว่า : ในอริยสัจ ๔ (สัมมาทิฏฐิเป็นอริยมรรค)

โดยประการดังนี้ พระเสกขะผู้ไม่ประมาทแล้วในกุศลธรรมทั้งปวง พระผู้มีพระภาค
ตรัสสรรเสริญว่าเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว สมจริงดังพระพุทธดำรัสว่า

"มีใจไม่ขุ่นมัว"

พระอริยบุคคลผู้บรรลุมรรคนั้นต้องมีอินทรีย์ ๕ สมดุลย์กัน กล่าวคือ ศรัทธาเสมอกับปัญญา
และวิริยะเสมอกับสมาธิ ส่วนสติเป็นธรรมที่ปรับวิริยะกับสมาธิให้สมดุลย์กัน เพื่อมิให้เกิด
ความฟุ้งซ่านเพราะวิริยะมากกว่าสมาธิ หรือเกิดความง่วงเหงาซึมเซา เพราะสมาธิมากกว่าวิริยะ
อย่างไรก็ตามอินทรีย์ ๕ เหล่านี้มีกำลังมากในวิสัยของตนในแต่ละขณะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2022, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. ศรัทธินทรีย์ มีกำลังมากในขณะบรรลุมรรคทั้ง ๔ กล่าวคือ
ผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระอริยะบุคคลใยแต่ละมรรคนั้นเป็นผํมีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างแท้จริง
เหมือนเสาเขื่อนที่ปักลงดินอย่างมั่นคง พระอริยะบุคคลเหล่านั้นมีพระพุทํเจ้าแนะนำตนเป็นศาสดา
มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง และมีพระอริยสงฆ์เป็นผู้ประพฤติธรรม แม้ท่านจะไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม
ก็รู้ว่าตนเป็นพระอริยะบุคคล และไม่นับถือบุคคลอื่นเป็นศาสดา

๒. วิริยินทรีย์ มีกำลังมากในสัมมัปปธาน ๔ เพราะเป็นความเพียรที่มุ่งมั่นเพื่อละอกุศลและสั่งสม
กุศลในกระแสจิตของตน

๓. สตินทรีย์ มีกำลังมากในสติปัฏฐาน ๔ เพราะทำให้จิตรับรู้สภาวธรรมปัจจุบัน โดยไม่มี
สมมุติบัญญัติ ตัวเรา ของเรา บุรุษ หรือสตรี

๔. สมาธินทรีย์ มีกำลังมากในรูปฌาน ๔ เพราะบรรลุอัปปนาสมาธิ ความจริงแล้ว รูปฌาน ๔ ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จัดเป็นสมาธินทรีย์และสัมมาสมาธิ ส่วนรูปฌาน ๔ ที่ไม่เป็นบาทของวิปัสสนา ไม่นับเข้าในเรื่องนี้ นอกจากนั้น แม้มรรคจิตของบุคคลผู้ออกจากปาทกฌาน คือ ฌานที่เป็นบาทของวิปัสสนา ก็มีองค์ฌานในรูปฌานนั้นๆ ประกอบร่วมกับมรรคจิต ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สมาธินทรีย์มีกำกำลังมากในรูปฌาน ๔

อย่างไรก็ตาม ข้อความนี้กล่าวไว้โดยอุกกัฏฐนัย คือกล่าวไว้สูงสุด แม้อุปจารสมาธิที่เป็นบาทของวิปัสสนา และวิปัสสนาขณิกสมาธิที่กำลังเสมอกับอุปจารสมาธิ ซึ่งเรียกโดยอ้อมว่าเป็นอุปจารสมาธิ โดยสทิสูปจาระ คือ สำนวนที่กล่าวถึงสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ก็นับว่าเป็นสมาธินทรีย์ และสัมมาสมาธิ เพราะทำให้จิตหมดจดปราศจากนิวรณ์และอยู่ใกล้อัปปนาคือมรรคผล

อนึ่งพระพุทธองค์ตรัสรูปฌาน ๔ ไว้ในที่นี้ เพราะในพระสูตรต่างๆ มักแสดงรูปฌาน ๔ เพราะรูปฌาน ๔ เป็นบาทของอภิญญาที่มักกล่าวไว้ต่อจากรูปฌาน ๔ ดังนั้น พระมหากัจจายนะจึงกล่าวถึงรูปฌาน ๔ ไว้จามนิเทศของสัมมาสมาธิในสติปัฏฐานสูตร อย่างไรก็ตาม อรูปฌานก็เป็นของวิปัสสนาได้เล่นเดียวกัน

๕. ปัญญินทรีย์ มีกำลังมากในอนิยสัจ ๔ เพราะเป็นอริยสัจ ๔ เป็นปรมัตถธรรม อย่างสูงสุด ผู้ที่บรรลุในพระศาสนานี้ก็คือผู้ที่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔นั่นเอง ดังที่พระพุทธวจนะว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริง
เธอย่อมรู้แจ้งอะไร ๆตามความเป็นจริง เธอย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริงว่า อุปาทานขันธ์ ๕ นี้
เป็นทุกข์ตัณหานี้นี้คือเหตุแห่งทุกข์ นิพพานนี้คือความดับทุกข์ อริยมรรคนี้คือทางแห่งความดับทุกข์

"บุคคลเหล่าใดเจริญอริยสัจ ๔ ที่พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระปัญญาอันลึกซึ้งตรัสไว้ดีแล้ว
แม้ว่าท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้เพลิดเพลินอย่างมากอยู่ แต่ท่านก็จะไม่เกิด ในชาติที่ ๘ อีก
ข้อนี้เป็นรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร