วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 07:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2022, 06:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-615980210-612x612.jpg
istockphoto-615980210-612x612.jpg [ 64.16 KiB | เปิดดู 490 ครั้ง ]
๓๓๗
ถามว่า : การประมวลวิจยหาระในเรื่องนั้น คือ อะไร
ตอบว่า : ในเรื่องนั้น ความปรารถนามี ๒ ประการ คือ ความปรารถนาที่เป็นกุศล(ไม่มีโทษ)
และความปรารถนาที่เป็นอกุศล

ความปรารถนาที่เป็นอกุศล ย่อมยังเหล่าสัตว์ให้ไปสู่สงสาร
ความปรารถนาที่เป็นกุศล เป็นความปรารถนาซึ่งเป็นเหตุละ (อกุศลโดยละได้ชั่วขณะเป็นต้น)
ทำให้บรรลุนิพพาน

แม้"มานะ"ก็มี ๒ ประการ คือ มานะที่เป็นกุศล(ไม่มีโทษ)และมานะที่เป็นอกุศล
มานะที่เป็นกุศล(มานะที่มีกุศลเป็นปัจจัย) คือ มานะอันบุคคลอาศัยแล้วย่อมละมานะได้
มานะที่เป็นอกุศล คือ มานะอันบุคคลอาศัยแล้วย่อมก่อทุกข์

ความปรารถนาที่เป็นกุศล คือ ความปรารถนาที่เกิดแก่กุลบุตรผู้ปรารถนาอริยผลว่า เมื่อใดหนอ
เราจักกระทำให้แจ้งบรรลุธรรมอันสงบ(อริยผล) ซึ่งพระอริยะเจ้าทั้งหลายกระทำใหแจ้งบรรลุอยู่
โทมนัสใดย่อมเกิดขึ้นเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย โทมนัสนั้นชื่อว่าเนกขัมมสิตะ(โทมนัสอาศัย
การออกจากกาม) ความปรารถนา(ในอริยผล)นี้เป็นกุศล มีเจโตวิมุตติอันคลายกำหนัดเป็นอารมณ์
หรือปัญญาวิมุตติอันคลายอวิชชาเป็นอารมณ์

ตามปกติตัณหา คือ ความปรารถนา จัดเป็นอกุศล เพราะเป็นโลภะเจตสิกที่เพลิดเพลินกามคุณ
แต่ในที่นี้ท่านกล่าวว่าตัณหาเป็นกุศลโดยอ้อม เพราะปรารถนาบรรลุนิพพาน แล้ว เพียรปฏิบัติธรรม
ในบางขณะก็จัดเป็นตัณหาเช่นเดียวกัน ตัณหาในลักษณะนี้ควรเสพ เหมือนมานะที่แบ่งเป็น ๒ ประการ
โดยมานะที่ควรเสพจัดเป็นกุศลโดยอ้อม ด้วยความมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ในการบรรลุธรรม

ในมัชฌิมนิกาย สักกปัญหสูตร พระพุทธองค์ตรัสโทมนัสที่อาศัยการออกจากกามว่าควรเสพ
เพราะเป็นปัจจัยเพื่อละอกุศลและก่อให้เกิดกุศล โทมนัสดังกล่าวเกิดจากตัณหาที่ต้องการจะบรรลุ
อรหัตตผล แล้วปฏิบัติธรรมเป็นเวลานาน แต่ไม่อาจบรรลุได้ จึงเกิดความโทมนัสเสียใจ
ดังนั้น ตัณหาจึงเป็นธรรมที่ควรเสพโดยอ้อม ในเรื่องนี้ท่านจำแนกตัณหาออกเป็นกุศลเป็นต้น
เพระได้จำแนกตัณหาเป็นเหตุแห่งวิปัลลาสไว้ในเทสนาสัมปาตะแล้ว จึงจำแนกไว้นัยหนึ่งในที่นี้


อ่านชาดก พระมหาสีวะสอนธรรมเพื่อเทียบเคียง
viewtopic.php?f=66&t=56908

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร