วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 23:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2022, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐๗
ความประมาทมี ๒ อย่าง คือ มีตัณหาเป็นมูล และมีอวิชชาเป็นมูล
ความประมาทที่มีอวิชชาเป็นมูล คือความประมาทที่มีความไม่รู้ซึ่งหุ้มห่อสัตว์แล้ว
ทำให้ไม่รู้สภาวะที่ควรรู้ว่า ขันธ์ ๕ มีความเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา

ความประมาทที่มีตัณหาเป็นมูล มี ๓ อย่าง ตือความประมาทที่เกิดแก่บุคคลผู้แสวงหาสมบัติ
ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ความประมาทที่มีการรักษาสมบัติที่เกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุ และความประมาท
ที่มีการใช้สอยสมบัติที่เกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุ

ความประมาททั้ง ๔ อย่างนี้ ความประมาทด้วยอวิชชา ๑
ความประมาทด้วยตัณหา ๓ มีอยู่ในโลกในบรรดาความประมาทเหล่านั้น
หมู่นามเป็นปทัฏฐานแก่อวิชชา หมู่รูปเป็นปทัฏฐานแก่ตัณหา

ถามว่า : ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

ตอบว่า : เพราะผูกพัน(ด้วยตัณหา)มีอยู่ในรูปธรรม ส่วนความหลงไม่รู้จริง
ในนามธรรม(ดำรงอยู่ในเหล่าสัตว์ เพราะผัสสะเป็นต้นมีสภาพละเอียดยิ่ง และรู้ได้ยาก)

ในเรื่องนั้น หมู่รูป คือ รูปขันธ์ หมู่นาม คือ นามขันธ์ ๔ เหล่านี้รวมเป็นขันธ์ ๕
ถามว่า : ขันธ์ ๕ ชื่อว่า มีอุปาทาน ด้วยอุปาทานอะไร
ตอบว่า : ขันธ์ ๕ ชื่อว่าอุปาทาน ด้วยตัณหาและอวิชชา

ตัณหาจัดเป็นอุปาทาน ๒ คือ กามุปาทาน และสีลัพพตุปาทาน
ส่วนอวิชชาจัดเป็นอุปาทาน ๒ คือ ทิฏฐุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน

ขันธ์ที่เป็นอุปาทาน ๔ เหล่านี้ เป็นทุกขสัจ อุปาทาน ๔ เป็นสมุทยสัจ ขันธ์ ๕ เป็นทุกขสัจ
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่เวไนยชนเหล่านั้น เพื่อการกำหนดรู้และการละ คือ เพื่อการ
กำหนดรู้ทุกขสัจและการละสมุทยสัจ

[ในพากย์ก่อนท่านแสดงปทัฏฐานของวิริยั สมาธิ และปัญญา บัดนี้ กล่าวพากย์นี้เพื่อแสดง
การเวียนไปสู่ธรรมเสมอกันฝ่ายกิเลส โดยตัณหาและอวิชชา เสมอกับความประมาท
ซึ่งจำแนกออกเป็น ๒ อย่าง

๑. ความประมาทที่ตัณหาเป็นมูล
๒. ความประมาทที่มีอวิชชาเป็นมูล

หลังจากนั้น ได้จำแนกตัณหาและอวิชชาเป็นอุปาทาน ๔ แล้วกล่าวขันธ์ ๕ เป็นธรรมที่
ควรกำหนดรู้(ปริญเญยยธรรม)ส่วนอุปาทาน ๔ เป็นธรรมที่ควรละ(ปหาตัพพธรรม)

คำว่า อญฺญาเณน(ความไม่รู้) คือ ความหลงที่ปกปิดลักษณะ(ลักษณะพิเศษ)
และสามัญญลีกษณะ(ลักษณะทั่วไป)ของรูปนาม

คำว่า ตณฺหาย รูปกาโย ปทฏฺฐานํ(หมู่รูปเป็นปทัฏฐานแก่ตัณหา)เพราะบุรุษและสตรีย่อม
ยินดีพอใจในรูปร่างของชนต่างเพศ ดังพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในจิตตปริยาทานสูตร ว่ารูปสตรี
ครอบงำจิตของบุรุษ และรูปบุรุษครอบงำสตรี]

https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/ ... 20&A_=2668

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2022, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


ในเรื่องนั้นความประมาทมีตัณหาเป็นมูล เหตุย่อมแสวงหาเพื่อสมบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ย่อมรักษารักษาสมบัติที่เกิดขึ้นแล้ว และย่อมกระทำการบริโภค การละความประมาทคือความ
คุ้มครองจิตด้วยการกำหนดรู้(ความยินดีเป็นต้น) ชื่อว่า สมถะ

ถามว่า : สมถะนั้นมีได้ด้วยอุบายอย่างไร
ตอบว่า : เมื่อใด บุคคลรู้เห็นตามความน่ายินดีแห่งกามทั้งหลายโดยความเป็นสักว่าความน่ายินดี
(ไม่ใช่ บุคคล เรา ของเรา)รู้เห็นโทษ ความต่ำทราม และความเศร้าหมองแห่งกาม
โดยสักว่าเป็นโทษรู้เห็นความหลุดพ้นโดยสักว่าความหลุดพ้น รู้เห็นความหมดจด และรู้
อานิสงส์ในการสลีดออกจากกาม เมื่อนั้น สมถะมีได้ด้วยอุบายนี้

ครั้นสมถะนั้นมีอยู่ ปัญญา(ซึ่งปัญญาเกิดร่วมกับสมถะ) ชื่อว่า วิปัสสสา
ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ คือ สมถะและวิปัสสนา ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยการภาวนา เมื่อ
สมถะและวิปัสสนาทั้ง ๒ เจริญอยู่ ธรรมทั้งสองคือตัณหาและอวิชชา ย่อมถูกทำลาย
เมื่อธรรมทั้งหลายถูกทำลายอยู่ อุปาทาน ๔ ย่อมดับ ความดับแห่งภพย่อมมีเพราะความดับ
แห่งอุปาทาน ความดับแห่งชาติย่อมมีเพราะความดับแห่งภพ ชรา มรณะ ความเศร้าโศก
ความรำคาญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจย่อมดับเพราะความดับแห่งชาติ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้ ๆ

โดยประการดังนี้ สัจจะ ๒ อย่างแรก เป็นทุกข์และสมุทัย สมถะและวิปัสสนาเป็นมรรค
การดับภพเป็นพระนิพพาน เหล่านี้เป็นสัจจะ ๔ สมจริงดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
เธอทั้งหลายจงริเริ่ม จงริเริ่ม จงก้าวหน้า เป็นต้น

[ธรรมไม่เสมอกันฝ่ายโวทาน คือ สมถะและวิปัสสนาที่ตรงกันข้ามกับความประมาท คือ
การคุ้มครองจิตที่จัดเป็นสมถะ และปัญญาที่เกิดร่วมกับสมถะที่จัดเป็นวิปัสสนา

เมื่อท่านแสดงการเวียนไปสู่ธรรมไม่เสมอกันฝ่ายโวทานแล้ว ได้กล่าวถึงเหตุแห่งการบรรลุ
สมถะด้วยคำว่า ยทา ลานาติ กามานํ อสฺสาทญฺจ อสฺสาทโต (บุคคลรู้เห็นความน่ายินดีแห่ง
กามสักแต่ว่าเป็นความน่ายินดี) เป็นต้น ในที่สุดได้จำแนกสัจจะ ๔ ว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ตัณหา
อวิชชา เป็นสมุทัย ความดับแห่งภพเป็นนิโรธ ส่วนสมถะและวิปัสสนา เป็นมรรค

คำว่า กามานํ (กาม) คือ กิเลสกาม และวัตถุกาม
คำว่า อาทีนวํ (โทษ) โทษของกามที่ตรัสไว่ใสพระบาลีว่า กามมีความน่ายินดีน้อย มีความทุกข์มาก
มีความคับแค้นใยมาก มีโทษมาก
คำว่า วีมํสา (ปัญญาใคร่ครวญ)หมายถึงวิปัสสนาปัญญา ที่หยั่งเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง
ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ ดังพระพุทธดำรัสว่า
สมาหิโต ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยถาภูตํ ปชานาติ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีจิตตั้งมั่นย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริงๆ]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2022, 05:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เมื่อรากปราศจากอันตรานมั่นคงอยู่ ต้นไม้ที่ถูกตัดแล้วย่อมกลับ งอกขึ้นมาได้ ฉันใด
เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาไม่ได้ ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้น บ่อยๆ ฉันนั้น

ถามว่า : ตัณหานุสัยนี้ คือ ตัณหาประเภทไหน
ตอบว่า : คือ ภวตัณหา (ความพอใจในภพ) นั้น คือ อวิชชา เพราะภวตัณหามีอวิชชาเป็นปัจจัย
กิเลสทั้ง ๒ คือ ตัณหาและอวิชชานี้ เป็นอุปาทาน ๔ ขันธ์ที่มีอุปาทาน ๔ เหล่านี้ เป็นทุกข์สัจ
อุปาทาน ๔ เป็นสมุทยสัจ ขันธ์ ๕ เป็นทุกขสัจ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่เวไนยชนเหล่านั้น
เพี่อกำหนดรู้และการละ คือ เพื่อการกำหนดรู้ทุกขสัจและการละสมุทยสัจ

บุคคลย่อมถอนตัณหานุสัยด้วยธรรมนั้นชื่อว่า สมถะ บุคคลย่อมอดกลั้นอวิชชา
อันเป็นปัจจัยแก่ตัณหานุสัยด้วยธรรมใด ธรรมนั้นชื่อว่า วิปัสสนา
ธรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ คือ สมถะและวิปัสสนา ย่อมถึงการบริบูรณ์ด้วยการภาวนา
ผลของสมถะ คือ เจโตวิมุตติ (สมาธิในมรรค) เพราะคลายกำหนัด ผลของวิปัสสนา คือ
ปัญญาวิมุตติ(ปัญญาในมรรค) เพราะคลายอวิชชา

โดยประการดังนี้ สัจจะ ๒ อย่างแรก เป็นทุกข์และสมุทัย สมถะและวิปัสสนาเป็นมรรค
วิมุตติทั้ง ๒ เป็นนิโรธ เหล่านี้เป็นสัจจะ ๔ สมจริงดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
เมื่อปราศจากอันตรายมั่นคงอยู่ ต้นไม้ที่ถูกตัดแล้วย่อมกลับงอกขึ้นได้ ฉันใด เป็นต้น

[ในที่นี้ท่านตั้งตัณหาเป็นหลัก แล้วแสดงว่าปทัฏฐานของตัณหา คือ ภวตัณหา หมายถึง
ความพอใจในภพ ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภวนิกันติ หลังจากนั้นได้แสดงการเวียน
ไปสู่ธรรมเสมอกันและธรรมที่ไม่เสมอกัน ตามลักษณะของสัจจะ ๔ คือ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ตัณหาเป็นสมุทัย วิมุตติทั้ง ๒ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน เป็นนิโรธ
ส่วนสมถะและวิปัสสนา เป็นมรรค ในบรรดาสัจจะ ๔ เหล่านี้ นิโรธและมรรค เป็นธรรม
ไม่เสมอตัณหา ส่วนทุกข์และสมุทัยเป็นธรรมที่เสมอตัณหา]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร