วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 13:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2022, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




wave-sea-blue-nature-power-splash.jpg
wave-sea-blue-nature-power-splash.jpg [ 139.23 KiB | เปิดดู 643 ครั้ง ]
นิสสยปัจจัย
ธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง
ปัจจยธรรม หมายถึง รูปวัตถุหรือรูปกายอันเป็นส่วนสำคัญและเป็นที่อาศัยของจิตวิญญาณไ ด้แก่วัตรูป ๖ ซึ่งประกอบด้วยจักขุ, โสตะ, ชิวหา, กายะ, และหทัยวัตถุ
ปัจจยุบันนธรรม ได้แก่ การรับรู้สิ่งที่มาสัมผัสอารมณ์ ๖ ประการคือ การเห็น, การได้ยิน, การได้กลิ่น, การรู้รส, การรับรู้ทางกายสัมผัส และการเข้าใจ(การรับรู้ทางใจ)

ลักษณะการเกิดขึ้นของการรับรู้ทั้ง ๖ ประการที่ได้กล่าวมานี้เป็นไปในลักษณะของการอาศัยอวัยวะรูปส่วนที่เป็นฐานรองรับ(วัตถุ)ซึ่งเป็นเสมือนบ้านที่ตั่งที่อาศัยของตนนั่นเอง

การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์เช่นการเห็นเป็นต้นโดยอาศัยวัตถุรูปของใครของมันเช่น การเห็น(จักขุวิญญาณ)เกิดได้ เพราะอาศัยจักขุปสาท การได้ยินเกิดขึ้นได้เพราะอาศัย โสตปสาท ดังนี้เป็นต้นก็การเกิดปรากฏการณ์แห่งสภาวะความเช่นนี้ท่านเรียกว่าการเกื้อกูลในรูปแบบของความเป็นนิสสยปัจจัย

ประสาทตาดี จึงทำให้มองเห็นชัด ก็ตานี่แหละ แม้จะเป็นกรรมชรูปที่เป็นผลมาจากกรรมในอดีตชาติ แต่ก็ยังต้องมีความเกี่ยวดองกับจิตใจอยู่ เช่นหากคนเราเกิดความโกรธ จิตใจก็จะขุ่นมัวส่งผลให้วัตถุรูปเช่นจากกลุ่มประสาทมีลักษณะขุ่นมัวแดงก่ำ ไม่ใสสะอาดซึ่งสามารถเป็นเหตุให้เรามองสิ่งต่างๆได้ไม่ชัดตรงกันข้ามหากจิตใจเรามีเมตตา กรุณาต่อสัตว์ ทั้งปวงอำนาจแห่งเมตตาธาตุอันเป็นธาตุแห่งความเย็นก็จะแห่กระจายไปสู่รูปธาตุทั้งปวงเป็นเหตุให้ธาตุคือจักขุประสาทเย็น ไปสู่วิถีจิตอื่นๆ และใสสะอาดปราศจากมลทินบุรีในดวงตาเป็นธาตุนำมาซึ่งการเห็นรูปอารมณ์ชัดเจนและส่งพลังความสงบร่มเย็นนั้นให้ไปสู่วิถีจิตอื่นนๆ อันเป็นเหตุแห่งความสงบ สุขร่มเย็นทั้งตนเองและผู้อื่นได้ในที่สุด

แม้ในกรณีของการได้ยินเสียงเป็นต้นก็เพิ่งทราบโดยทำนองเดียวกันนี้แล
ในส่วนของหทยวัตถุรูปนั้น เพิ่งทราบว่า ในพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านอธิบายว่า คือเลือดจากส่วนในของหัวใจแต่ในตามหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เขาบอกว่า หทยวัตถุ ก็คือสมอง

จะอย่างไรก็ตามในเวลาที่คนเราเกิดอาการเหนื่อยใจอ่อนเพลียทางจิตใจจะเห็นได้ว่าทั้งการไหลเวียนของเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจและอาการปวดสมองต่างก็พากันแสดงออกมาให้เห็นเมื่อเลือดหัวใจผ่องใสหรือสมองปลอดโปร่งก็จะส่งผลให้เกิดความนึกคิดที่ปลอดโปร่งโล่งสบายเช่นกัน

เนื่องจากว่าจะ จุกขุปสาทรูแ เป็นต้น ล้วนเป็นรูที่มีความบอบบางและละเอียดมากจึงทำให้ได้รับการกระทบกระเทือนง่ายชำรุดเสียหายง่ายเหมือนกับ คำพังเพย ที่เผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของดวงตา และหูไว้ว่า ตาคือดวงใจ ความปราชัย คือการเสียหู

ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้ท่านทั้งหลาย จงตระหนักถึงความสำคัญของอวัยวะเหล่านี้ มิให้ได้รับการกระทบต่อเดือนเกิดความชำรุดเสียหาย อย่างเด็ดขาด แม้ในปสาทรูปที่เหลือก็พึงทราบว่ามีความสำคัญไม่แพ้กันเพราะถ้าหากเกิดความผิดปกติ บกพร่องทางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ชื่อว่าเป็นคนไม่สมประกอบ อาจเป็นคนที่ไม่ได้มาตรฐานของความเป็นมนุษย์ได้

หากเราทั้งหลายสูญเสียเลือดในหัวใจนั้นไซร้ ก็จะกลายเป็นคนบ้าแต่ถ้าหากสมองไม่ทำงาน
ก็ไม่ต่างอะไรกับคนตาย
สุดท้ายนี้ขอให้ท่านทั้งหลาย จงตระหนักถึงความสัมพันธ์ของวัตถุรูป อันเป็นนิสสยปัจจัยทั้งหลายเหล่านั้น โดยการให้ความรักความทะนุถนอมบำรุงรักษาอย่าให้เจ็บไข้ได้ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บใดๆเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร