วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 06:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2022, 02:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




263603-qgdtxd-1.n.jpg
263603-qgdtxd-1.n.jpg [ 92.42 KiB | เปิดดู 722 ครั้ง ]
อินทริยปัจจัย
ธรรมที่เป็นใหญ่ให้การอุปการะ

ปัจจยธรรม มีอยู่ ๒ ฝ่ายคือรูปอินทรีย์ ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และ รูปชีวิตอินทรีย์ นามอินทรีย์ ได้แก่ นามชีวิตอินทรีย์ จิต เวทนา และศรัทธา เป็นต้น
ปัจจยุปันนธรรม ความตื่นตัวในการรับอารมณ์ กล่าวคือ การได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และสัมผัส ความสำเร็จแห่งการงาน อันเป็นผลมาจากจิตใจที่ เข้มแข็ง ความสำเร็จแห่งการทำบุญกุตลเช่น การให้ทาน เป็นต้น อันเนื่องมาจากความมีศรัทธาที่แรงกล้า การทำงานอันเป็นหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพพระพุทธองค์ทรงเรียกว่า เป็นการทำอุปการะแห่งอินทริยปัจจัย ยกตัวอย่างในประเทศหนึ่งๆ จะมีกลไกการปฏิบัติหน้าที่ที่รัฐได้มอบหมายให้โดยแบ่งเป็นภาคหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวง ทบวง กรม ฯลฯ ซึ่งในแต่ละหน่วยงานจำเป็นต้องรับผิดชอบภาระงานของตนๆ ไป เช่นกระทรวงพานิชย์ก็รับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงศึกษาธิการก็รับผิดชอบเรื่องการศึกษาของประชาชน ในประเทศ กระทรวงกลาโหมก็รับผิดชอบเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ดังนี้ เป็นต้น ซึ่งถ้าหากต่างคนต่างก็ปฏิบัติหน้าที่ของตนๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีโดยไม่มีการเข้ามายุ่งเกี่ยวก้าวก่ายซึ่งกันและกันแล้วไซร้ ก็คงจะทำให่ ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง เป็นเหตุให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีความสุขทั้งกาย และใจ ตรงกันข้ามหากหน่วยงานที่มีอยู่ไม่ค่อยจะเอาใจใส่ในงานของตน มัวแต่ไปเพ่งเล็ง ก้าวก่ายกิจการของหน่วยงานอื่น ผลที่จะติดตามมาก็คือความล้มเหลวความทุกข์ยากก็จะเกิดแก่ประชาชนในประเทศนั้น

ในส่วนของหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความมันคงชาชนในประเทศนั้น นับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอิทธิพลและมีอำนาจมากที่สุด
ซึ่งหากใช้อำนาจโดยพลการเข้าไปก้าวก่ายกิจการของหน่วยงานอื่นๆ ก็ขอมาซึ่งความหายนะแก่ประเทศชาติได้ ซึ่งในโลกนี้ ก็ย่อมมีประเทศดังกล่าวอยู่อีกมาก นี้ก็ถือว่าเป็นการนำเอาอินทริยปัจจัย(อำนาจบาตรใหญ่)ไปใช้อย่างผิดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์แก่บุคคลอื่น

ขอให้เราท่านทั้งหลายจงมองตนเอง เป็นเหมือนกับประเทศๆ หนึ่ง
ว่าทุกสัดส่วนในร่างกายของเรานั้นต่างก็ได้ทำหน้าที่ของตนๆ เช่น ตา ซึ่งเรียกว่าจักขุนทรีย์ ก็ทำหน้าที่ของตนกล่าวคือ การเห็นเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่มืหน้าที่ในการได้ยิน เป็นต้น แต่อย่างใด ส่วนหู ซึ่งเรียกว่า โสตินทรีย์ ก็ทำหน้าที่เฉพาะการได้ยินเท่านั้น
มิได้ทำหน้าที่อย่างอื่นใดแม้ในส่วนของอินทรีย์อื่นๆ เช่น จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็พึงทราบว่าต่างก็ทำหน้าที่ของตนๆ เท่านั้น

แต่อย่างไรก็ตาม หากอินทรีย์ทั้งหลายที่ว่านี้มีการทำงานโดยบิดเบือนก็อนจก่อให้เกิดความเสียหายได้ เช่น ขณะที่ตาเห็นแต่บอกว่าไม่เห็น หรือทั้งๆ ที่ไม่เห็น แต่กลับบอกว่าเห็น ทั้งๆ ที่หูได้ยินแต่กลับบอกว่าไม่ได้ยิน หรือทั้งๆ ที่ไม่ได้ยิน แต่กลับบอกว่าได้ยิน ดังนี้ เป็นต้น การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการใช้สอยอินทริยปัจจัยในทางที่ผิด ผลที่ตามมาก็คือทุกข์

อนึ่ง นอกจากการใช้สอยปัจจัยข้างต้นแล้วยังมีการใช้สอยอินทริยปัจจัย ที่เกี่ยวกับนามธรรมอีก เช่นศรัทธาและปัญญา สมาธิและวิริยะ ซึ่งอินทรีย์ เหล่านี้ จักต้องใช้ด้วยความระมัดระวังหากสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีมากเกินไปก็จะทำให้สิ่งหนึ่งอ่อนลง เช่น หากมีศรัทธา(สัทธินทรีย์) มากเกินก็จะทำให้บุคคลนั้นเชื่อจนงมงาย
อย่างไร้ความคิด ปราศจากสติปัญญา แม้ในส่วนของปัญญา(ปัญญินทรีย์)ก็เดียวกัน คือถ้าหากมีมากเกิน ก็จะทำให้คิดมาก ตรึกมาก เป็นเหตุให้ไม่ค่อยที่จะ เชื่อสิ่งใดง่ายๆ แม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ควรเชื่อก็ตาม ทำให้กลายเป็นคนมีทิฏฐิสูงเป็นคนขวางโลกคอยแต่จะขัดคอคนอื่นอยู่ร่ำไป

ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้เราทั้งหลาย จงควบคุมและปรับสภาพอินทรีย์เหล่านั้นให้มีความเสมอภาคและเป็นไปในทิศทางที่ดี เป็นเหตุให้นำมาซึ่งคุณูปการแก่ทั้งตนเองและผู้อื่นเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร