วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 18:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2022, 04:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




Meditation-Free-PNG-Image.png
Meditation-Free-PNG-Image.png [ 59.67 KiB | เปิดดู 664 ครั้ง ]
ฌานปัจจัย
ฌานคือพลังแห่งความเพ่งพินิจ พิชิตความสำเร็จ

ปัจจยธรรม ธรรมที่เป็นองค์ฌาน ๕ ประการคือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข.เอกัคคตา
ปัจจยุปันนธรรม การทำหน้าที่หรือการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างใจ
ทุ่มเททุกสัตส่วนทั้งกายและใจ

ณาน คือ การกระทำการเพ่งด้วยใจจดจ่อในสิ่งที่ตนกระทำอยู่ บางคน
คิดว่าการเหาะเหินเดินอากาศหรือดำดินเท่านั้นเป็นฌาน นั่นเป็นการเข้าใจผิด

ในการทำงานด้วยความเอาใจใส่และมีใจจดจ่อต่องานนั้น พึงทราบว่ามีสภาวธรรมที่ได้ชื่อว่า
เป็นองค์ฌานอยู่ ๕ ประการคือ

(๑) วิตก ทำหน้าที่ตรึกหรือวางแผนในการทำงาน
(๒) วิจาร ทำหน้าที่พิจารณาทบทวนเกี่ยวกับงานที่ทำ
(๓) ปีติ มีความปลาบปลื้มยินดีในงานที่ทำ
(๔)สุขเวทนา มีความสุขในงานที่ทำ
(๕)เอกกัคคตา ทำหน้าที่ควบคุมให้จิตใจมีความนิ่งอยู่แต่ในงานนั้นเพียงงานเดียว

สภาวะ ทั้ง ๕ นี้รวมเรียกว่า "ฌาน" แต่หากแยกเรียกที่ละอย่างก็จะเรียก ว่า "องค์ฌาน"
ธรรมดาว่าจิตใจของคนเรานั้นควบคุมยาก จากอารมณ์นั้นสู่อารมณ์นี้ เป็นธรรมชาติที่แล่นไปสู่อารมณ์ต่างๆแทบจะไม่มีการหยุดนิ่ง ซึ่งหากสภาวธรม เรียกว่า "ฌาน" นั้นมีกำลังน้อยกว่าก็จะไม่สามารถควบคุมจิตให้ตั้งมั่นอยูในอารมณ์เดียวได้ หากจิตไม่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ก็จะกลายเป็นคนจับจดยรดที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงได้

ขึ้นชื่อว่าคนบ้า ย่อมไม่อาจทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จได้ แม้แต่กินข้าวยังกินให้หมดจานไม่ได้ เดี๋ยวทำโน่น เดี๋ยวทำนี่ ทำไปเรื่อยเปื่อยเพราะจิตใจไร้การควบคุมฉันใด เด็กที่เป็นโรคออทิสติก ย่อมไม่อาจจะอยู่นิ่งๆ
ฉันใด ลิงเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยชอบอยู่นิ่งๆ ปีนจากต้นนี้ไปสู่ต้นโน้นฉันใด จิตใจของ คนเราทั่วๆไปนั้นก็ไม่แตกต่างจากบุคคลเหล่านั้น ความจริงแล้วจิตของคนนั้น
ยิ่งกว่าจิตของลิงเสียอีก คือในเวลาหนึ่งๆ นั้น ลิงสามารถปืนป่ายได้แค่จากกิ่งไม้หนึ่งไปสู่กิ่งไม้หนึ่งเท่านั้น ส่วนจิตของคนนั้นสามารถรับอารมณ์ ๕ อย่างได้ในชั่วพริบตา

หากคนเราทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันก็จะทำให้คนๆ หนึ่ง เมื่อยล้า มากเกินอาจจะไม่สามารถที่จะเสร็จงานใดงานหนึ่งได้ เพราะความเป็นจริงแล้วในเวลาหนึ่งๆ คนเราควรทำงนให้เสร็จเพียงอย่างเดียว งานนั้นก็จะเสร็จเรียบร้อย สมบูรณ์ ท่านทั้งหลายจึงควรทำงานตามแนวทางของโบราณที่ท่านสอนฝากเรา เอาไว้ว่า "กินทีละคำ ทำทีละอย่าง"

สุดท้ายนี้ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีความสามารถในการทำงานอย่างมีสมาธิจดจ่อ เพื่อความสำเร็จแห่งงานนั้นทุกท่านทุกคนเทอญ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร