วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 01:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2022, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว




depositphotos_25507997-stock-photo-sesame-oil-oil-in-a.jpg
depositphotos_25507997-stock-photo-sesame-oil-oil-in-a.jpg [ 57.2 KiB | เปิดดู 654 ครั้ง ]
สัมปยุตตปัจจัย
มีความเกี่ยวข้องกันก็ต้องช่วยเหลือกัน
ปัจจยธรรม นามขันธ์ (กลุ่มนามธรรม) ซึ่งประกอบด้วยเวทนา สัญญา เป็นต้น
ปัจจยุปันนธรรม นามขันธ์ ซึ่งประกอบด้วย สัญญา สังขาร วิญญาณ และเวทนา เป็นต้น
หากเรานำวัดถุ ๔ ประการคือ เนย น้ำอ้อย น้ำมันงา และน้ำผึ้ง มาตั้งไฟอ่อนๆ กวนให้เข้ากัน เราก็จะได้เภสัชชนิดหนึ่งเรียกว่า "จตุมธุ" ซึงป็น ของพระสัมมาสัมพุทยเจ้า ซึ่งเมือเป็นจตุมธุแล้ว รสแห่งวัตถุ ๔ อย่างก็เป็นเมือนรสหนีงเดียวฉันใด แม้ในการรับอารมณ์ของจิตหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น เราก็แทบจะแยกไม่ออกว่านี่คือเวทนา (ตัวเสวยความรู้สึก) นี่คือสัญญา (ตัวบันทึกอารมณ์) นี่คือสังขาร (ตัวจัดแจงหรือปรุงแต่ง)
หรือนี่คือวิญญาณตัวรับอารมณ์ ทั้งๆ ที่นามขันธ์ทั้ง ๔ เหล่านี้ล้วนแต่ทำงาน หรือทำหน้าที่ของตน ไม่ยุ่งเกี่ยวหน้าที่ของกันและกัน แต่เนื่องจากทั้งหมด รวมตัวกันทำงานเกี่ยวกับอารมณ์เดียวกัน จึงยากที่จะแยกสัตติ (ศักยภาพ) ของธรรมแต่ละอย่างเหล่านั้นได้ ก็และการที่นามธรรมเหล่านั้นอยู่ (เกิด) ร่วมกันแล้วต่างคนต่างให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงเรียกว่า
"การทำอุปการะแห่งสัมปยุตตปัจจัย"

ในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น จะต้องมีผู้นำคอยเป็นผู้ให้นโยบายและจะต้องมีผู้ตรวจตราประกันคุณภาพของงานนั้นด้วย และจะต้องมีผู้คอยจดบัน
รายละเอียดขั้นตอนของการทำงานด้วย ยิ่งถ้าหากมีคนคอยกระตุ้นเตือนอยู่ด้วย แล้วก็จะทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน แม้ในเรื่องของความเป็นสัมปยุตตปัจจัยของกลุ่มนามธรรมทั้งหลาย ซึ่งมีความละเอียดลึกซึ้งรู้ได้ยากนั้น ก็พึงทราบตามอุปมาข้างต้นนี้แล

ในสังคมมนุษย์นั้น เราทุกคนรู้อยู่แล้วว่า ต่างคนต่างมีหน้าที่ของตนๆ ซึ่งหากทุกคนรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนๆ แล้วไซร้ก็จะได้ชื่อว่าเป็นการช่วยเหลือ
ผู้อื่นด้วย แต่หากไม่เอาใจใส่หน้าที่ของตน มัวแต่ไปยุ่งกับการงานของผู้อื่น ก็อาจจะเป็นการรบกวนผู้อื่นได้ อาจเป็นเหตุทำให้งานล่าช้าไม่เสร็จตามเวลาได้ ซึ่งทำให้ เพิ่มค่าใช้จ่ายสูงขึ้นอีกเท่าตัว

ยกตัวอย่างในการอยู่กันเป็นครอบครัวหนึ่งนั้น หากสามีภรรยาต่างช่วยกันทำงาน ผัวหาบเมียคอน ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนอย่างไม่บกพร่องแล้วไซร้ครอบครัวนั้นก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข นี้แหละเป็นลักษณะแห่งอุปการะของ สัมปยุตตปัจจัย

สุดท้ายนี้ขอให้ท่านทั้งหลาย จงอยู่ร่วมกันอย่างไม่เอาเปรียบกันและกันรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตนๆ เทอญ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร