วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 14:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2022, 11:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




a2bfd5378f.jpg
a2bfd5378f.jpg [ 76.71 KiB | เปิดดู 692 ครั้ง ]
วิปปยุตตปัจจัย
แม้ไม่ได้อยู่ร่วมกันแต่ก็ยังให้ความช่วยเหลืออุปการะกัน
ปัจจยธรรม รูปธรรมกับนามธรรม
ปัจจยุปันนธรรม นามธรรมกับรูปธรรม

การเกิดขึ้นแห่งนามธรรม โดยอาศัยวัตถุรูปมีจักขุวัตถุ เป็นต้น เป็นที่ตั้งแห่งการรับอารมณ์รูปทั้งหลาย ก็ดี การที่รูปธรรมทั้งหลายมีความเจริญเติบโตและ ตั้งมั่นเพราะอำนาจแห่งนามธรรม ก็ดี พระพุทธองฟค์ทรงเรียกว่า การทำอุปการะ แห่งวิปปยุตตปัจจัย

ในโลกของสิ่งมีชีวิต(หรือที่ในบางแห่งเรียกว่า "มีวิญญาณครอง") นั้น พึงทราบว่าการที่นามขันธ์การรับรู้(ญาณธาตุ) ทั้งหลายกล่าวคือจิตและเจตสิก
จะเกิดขึ้นได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย และหทัยวัตถุ ซึ่งส่วนของร่างกายเหล่านี้ท่านเรียกว่า วัตถุรูป เช่น ตา ก็เรียกว่า จักขุวัตถุ หู เรียกว่า โสตวัตถุ ดังนี้ เป็นต้น เมื่อได้อาศัยวัตถุรูปเหล่านี้ แล้วจิตซึ่งเป็นนามธรรมจึงจะสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ(รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ) ซึ่งเรียกว่า "อารมณ์" ได้

ในขณะเดียวกัน การที่รูปกายทั้งหลายเหล่านั้น สามารถดำรงตั้งมั่นอยู่ได้ อย่างไม่แตกสลายง่ายๆ นั้น ก็เป็นเพราะอิทธิพลหรืออำนาจหรือได้รับการ ช่วยเหลือเกื้อกูลจากนามธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง

แม้ว่ารูปกับนามจะเป็นสภาวะที่ไม่ได้สัมปยุตกัน(ไม่ได้เกิดร่วมกัน) ก็ตาม แต่ทั้งสองก็ยังเป็นที่พึ่งพาต่อกันและกัน ต่างคนต่างก็ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน

นามก็อยู่ในส่วนนาม รูปก็อยู่ในส่วนรูป ไม่ปะปนกันไม่คาบเกี่ยวกันสภาวะ ของนามกับรูปนั้นแตกต่างกัน แต่ถึงกระนั้นทั้งสองก็ยังต้องรับบทเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน

ในการเห็นรูปด้วยตานั้น พึงทราบว่าตา(จักขุวัตถุ) เป็นอวัยวะที่ไม่สามารถ มองเห็นรูปได้ตามลำพัง เป็นเพียงแค่วัตถุ(เครื่องรองรับ) เท่านั้น แต่ผู้ที่เห็น รูปารมณ์ได้จริงๆ คือจิตใจที่เป็นประเภทจักชุวิญญาณ ดังนั้น การมีตาอย่งเดียวจึงมิได้หมายความว่าจะสามารถมองเห็นรูปารมณ์ได้ ตาก็ต่างหาก รูปารมณ์ ก็ต่างหาก ต่างคนต่างอยู่คนละสัดคนละส่วน ไม่ใช้ชีวิตก้าวก่ายของกันและกัน เพียงแต่ทำประโยชน์ให้กันและกันเท่านั้น คล้ายกับรส ๖ ชนิด หวาน ขม เปรี้ยว ฝาด เผ็ดและเค็ม ที่ถูกปรุงไว้ในแกงถ้วยเดียวกัน ต่างก็ช่วยกันทำหน้าที่ให้รสชาติ ของตนๆ เพื่อให้ได้รสเลิศขึ้นมาเท่านั้น รสทั้ง ๖ เหล่านั้นไม่ได้ทำให้แกงกลายเป็น รสใดรสหนึ่งแต่อย่างใด เปรี้ยวก็ต่างหาก หวานก็ต่างหาก แกงถ้วยนั้นจึงจะถูกขนานนามว่า แกงเปรี้ยวหวาน ดังนี้ เป็นต้น ฉันใด

แม้ความเป็นวิปปยุตตปัจจัย ก็พึงทราบว่ามีสภาพเป็นเช่นนั้นเหมือนกันคือ อาศัยในบ้านเดียวกันแต่เป็นคนละคนกัน และต่างก็เป็นที่พึ่งของกันและกันได้แม้จะเป็นธรรมคนละชนิดกันก็ตาม นี้แหละคือการทำอุปการะแห่งวิปปยุตปัจจัยในคัมภีร์อนันตนยสมันตมหาปัฏฐาน

สุดท้ายนี้ ขอให้เราท่านทั้งหลาย ซึ่งแม้จะไม่ได้เป็นคนชนชาติเดียวกันหรือเชื้อสายวงศ์ตระกูลเดียวกัน ก็จงมีมตตากรุณาช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างไร้พรมแดนเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร