วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 05:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2022, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว




1656246394023.jpg
1656246394023.jpg [ 35.13 KiB | เปิดดู 729 ครั้ง ]
ความหมายของขันธ์ๆ

คำว่า ขันธ์ ในบาลีแปลว่า"กอง" เนื่องจาก รูป เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณ มีได้มีเพียงอย่างเดียว กล่าวคือ รูปนั้น
แบ่งออกเป็น ๑๑ อย่าง คือ รูปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ปัจจุบันบ้าง
รูปภายในบ้าง ภายนอกบ้าง รูปหยาบบ้าง ละเอียดบ้าง รูปทราม
บ้าง ประณีตบ้าง รูปใลบ้าง ใกล้บ้าง ตามกาลเวลา บุคคล และสถานที่
หมายความว่า รูปอดีด อนาคต และปัจจุบัน เป็นการจำแนกตามกาล
เวลา รูปที่เป็นภายในและภายนอก จำแนกตามสถานที่ว่าเกิดที่บตัาเรา
หรือเกิดกับผู้อื่น ส่วนรูปหยาบ ละเฮียด รูปพราม รูปดีประณีต รูปใกล้
หรือรูปใกล จำแนกตามบุคคล ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่ารูปชันธ์ คือกองรูป
และกองรูปนี้ได้ชื่อว่าอุปาทานขันธ์โดยมีคำว่า อุปาทาน นำหน้าเพื่อแสตงว่า
กองรูปดังกล่าวเป็นอารมณ์ของความยึดมั่นนั้นเอง แม้เวทนาขันธ์
เป็นต้นก็มีความหมายเดียวกันนี้

ความยึดมั่นนี้มีได้ด้วยตัณหาและทิฏฐิ กล่าวคือ ทุกขณะที่รับรู้
อารมณ์ทางทวาร ๖ ตัณหาที่ยินดีพอใจขันธ์ ๕ ย่อมเกิดขึ้น และทิฏฐิ
ที่เห็นผิดว่าเป็นตัวตนย่อมเกิดขึ้นเช่นกัน นอกจากนั้นอวิซซาก็เกิดร่วม
กับตัฒหาในทุกขณะ โดยอวิชชาทำหน้าที่ปิดบังโทษของตัณหาและทิฏฐิ
จึงทำให้ไม่เห็นโทษของกิเลสเหล่านี้


ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ด้วยเหตุดังกล่าว ในทางกันคารแห่งภพนี้มีอันตรายคือ ความแก่
ความเจ็บป่วย และความตายปรากฏอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าเราจะ
ไม่ยากแก่ก็ต้องแก่ ไม่อยากเจ็บป่วยก็ต้องเจ็บป่วย ไม่อยากตายก็ตาย
ไม่มีใคหลีกเยงจากทางกันดารแห่งภพไปได้ ตราบใดที่เรายังมี
ขันธ์ ๕ เหล่านี้อยู่ ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นอยู่เสมอ ดังพระพุทธดำรัสว่า
โย ภิกฺขเว รูปสฺส อุปฺปาโท ฐิติ อภินิพฺพตฺติ ปาตุภาโว,
ทุกชสเสโส อุปปาโท โรคานํ จิติ ชรามรณสส ปาตุภาโว."
"ภิกษุทั้งหลาย การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ บังเกิด ปรากฎของ
รูปนี้ เป็นการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ การตั้งอยู่แห่งโรค การปรากฎ
ของชรามรณะ
ข้อนี้หมายความว่า ทุกขณะที่เรามีรูป เวทนา สัญญา สังชาร
และวิญญาณ นับว่าเป็นช่วงประสบกับทุกข์อยู่ตลอดเวลา จะเห็นว่าเมื่อ
มีดวงตา เราใช้ดวงตาในการเห็น ขณะที่ดวงตามองเห็นสิ่งต่างๆ อาจพบ
กับสิ่งที่ไม่อยากเห็นบ้าง หรือในขณะใช้หูฟังเสียง ก็อาจได้ยินเสียงที่ไม่
ต้องการพัง จมูก สิ้น หรือสัมผัสทางกายก็เหมือนกัน แม้เราจะต้องการ
ได้รับเฉพาะสิ่งที่น่าชอบใจ ก็อาจได้กลิ่น ลิ้มรส หรือกระทบสัมผัสสิ่งที่
ตไม่ต้องการ นอกจากนั้น ดวงตาไม่ได้คงทนถาวรอยู่ตลอดไป เมื่ออายุ
มากขึ้นก็ฝ้าพางขมุกขมัว เกิดโรคตาบ้าง จึงกล่าวได้ว่าการให้เกิดของ
ขันธ์ ๕ เป๊นความเกิดขึ้นของทุกข์นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสอุปาทานขันธ์ ๕ ว่าเป็นของหนัก
ไว้ในพระสูตรนี้ว่า
กตโม จ ภิกฺขเว ภาโร "ปญฺจุปาทานกฺขนฺธาติสฺส
วจนียํ. กตเม ปญฺจ รูปูปาทานกฺขนฺโธ เวทนูปาทานกฺขนฺโธ
สญฺญุปาทานกฺขนฺโธ สงฺขารุปาทานกชนฺโธ วิญาณุปาทาน
ขนโธ. อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ภาโร
"อะไรเป็นของหนัก ควรตอบว่าคืออุปาทานขันธ์
(กองรูปนามอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น)+'ประการ อุปาทาน
ขันธ์ ๕ ประการมีอะไรบ้าง คือ
๑ รูปุปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนุป่าทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญุปาทวนขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔, สังขารุปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร
๕ วิญญาณุปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.)
อุปาทานขันธ์ ๕ นี้เรียกว่าของหนัก"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2022, 03:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว




373ea.jpg
373ea.jpg [ 30.62 KiB | เปิดดู 683 ครั้ง ]
สัตว์โลกทุกจำพวกประกอบด้วยขันธ์ ๕ คือ รูป เรทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ทั้ง ๕ ได้ประชุมกันขึ้นเป็นสิ่งที่มีชีวิต
ก็คือตัวตนเรานันเอง อย่างไรก็ตาม ชาวโลกมิได้คิดว่าขันธ์เหล่านี้เป็นของหนัก
แต่อย่างใด เพราะเมื่อถึงเวลากิน เราก็ใด้กิน ถึงเวลานอน เราก็ใด้นอน
ก็งเวลาเพลิดเพลินสนุกสนาน เราก็เพลิดเพลินสนุกสนาน จึงไม่คิดว่า
ขันส์ ๕ เหล่านั้นเป็นของหนัก

แม้เราจะต้องแบกขันธ์อยู่เช่นนี้ ก็ไม่คิดว่าเป็นของหนัก เพราะ
ถูกอวิชชาห่อหุ้มและถูกตัณหาเหนี่ยวรั้งไว้" อวิชชาและตัณหาทั้งสอง
อย่างนี้ทำให้หลงผิดว่าขันธ์ ๕ น่าเพลิดเพลินยินดี เราจึงไม่ได้คิดว่า
แบกของหนักไว้ และไม่ต้องการวางลง

อวิชชาเหมือนความมืดที่ปิดบังของที่มือยู่ในห้อง แม้ในห้องจะ
มีวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เราก็มองไม่เห็น เพราะถูกอวิชชาคือความมืดปิดบัง
ไว้ นอกจากนั้น เราก็ยังมีตัณหาคือมีความเพลิดเพลินยินดีต่อสิ่งที่ได้รับ
อยู่ตลอดเวลา หากเราได้รับสิ่งที่ดีอย่างหนึ่ง ก็ต้องกรให้สิ่งนั้นคงอยู่
ตลออดไป รวมถึงอยากได้สิ่งอื่นที่ดีกว่า เมื่ออวิชชาและตัณหาได้ห่อหุ้ม

และเหนียวรั้งเหล่าสัตว์ไว้เช่นนี้ คนทั่วไปจึงไม่รู้สึกว่าชันธ์ ๕ เป็นของหนัก
ดังพระพุทธดำรัสว่า
เอตํ มมํ, เอโสหมสมิ, เอโส เม อตตา"
"สิ่งนี้ของเรา สิ่งนี้เป็นเรา สิ่งนี้เป็นอัดตาของเรา"
ทุกขณะที่รับรู้อารมณ์ทางทวาร ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กา
และใจ ชาวโลกมักรู้สึกว่าสิ่งนี้ของเรา กล่าวคือ สภาวะเห็นนี้เป็นการด้
ของเรา ดวงตาหรือจักขุทวารก็เป็นของเรา หรือสิ่งที่เห็นนั้นเป็นบุคล
อื่นที่ไมใช่ตัวเราก็จริง แต่ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เราครอบครองอยู่ เราพอใจว่
สิ่งนี้เป็นของเรา ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นสภาวะเห็น ดวงตา หรือสิ่งที่พบเห็
คือรูปารมณ์ เราเข้าใจสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นของเราอยู่ตลอดเวลา

นอกจากนั้น เรายังเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นตัวเรา กล่าวคือ ตัวเราเป็น
องค์รวมของร่างกายทั้งหมด และเมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงเข้าใจว่าสิ่งนี้
เป็นอัตตาหรือเป็นตัวตนของเราอีกด้วย เมื่อเราเข้าใจว่าเป็นตัวตน จึง
แสวงหาสิ่งที่ยังไม่ได้และพยายามคุ้มครองสิ่งที่มีอยู่แล้วให้คงอยู่กับเา
ตลอดไป นี้คือลักษณะของอวิชชาและตัณหาที่ปิดบังโทษของขันธ์
ทำให้ไม่รู้เห็นความจริงว่าขันธ์เป็นของหนัก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2022, 04:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว




jyj.jpg
jyj.jpg [ 108.67 KiB | เปิดดู 671 ครั้ง ]
ขันธ์ ๕ เป็นของหนัก
ในสังยุตตนิกาย ข้นธวารวรรค" พระพุทธองค์ตรัสพระสูตรหนึ่ง
เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม ชื่อภารสูตร แปลว่า "พระสูตรว่าด้วยของหนัก"
หมายความว่า คนที่ใช้ศีรษะทูนของหนักไว้ ไม่ว่าจะเป็นของโดก็ดาม
เขาต้องได้รับความทุกข์ยากลำบากจากการแบกของหนัก" อย่างไรก็ตาม
เขาได้ดบกมันไว้ตลอดเวลา เพียงแบกไว้ชั่วขณะที่เขาทำงานเท่า
นั้น แต่ชาวโลกต้องแบกขันธ์ ๕ ไว้ตลอดเวลา เพราะเรามีรูป เวทนา สัญญา
สังชาร และวิญญาณ ซึ่งต้องดูแลรักษาตลอดเวลา

คนที่แบกของหนักนั้นอาจแบกไว้เป็นเวลาไม่นาน แต่คนที่
เตินทางอยู่ในวัฏฏสงสารนี้จำต้องแบกของหนักตั้งแต่เวลาที่เราอยู่ใน
ครรภ์มารดา กล่าวคือ มารดาก็ต้องบริโภคอาหารหรือเคลื่อนไหวร่างกาย
ให้หมาะสมกับลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ เมื่อเราคลอดมาแล้วยังดูแลตัวเอง
ไม่ได้ บิดามารดาต้องดูแลด้วยการป้อนข้าว ป้อนน้ำ และเปลี่ยนผ้าอ้อม
เป็นต้น ท่านดูแลตัวเราจนกระทั่งเจริญเติบใหญ่สามารถดูแลตัวเองได้
นับจากนั้นมา เราต้องดูแลขันธ์เหล่านี้ด้วยตัวเอง นอกจากนั้น บางคน
อาจต้องดูแลขันธ์ของคนอื่นอีก เช่น คนที่มีสามี ภรรยา หรือบุตรธิดา
ก็ยังต้องดูแลขันธ์ของบุคคลเหล่านั้นอีกด้วย


ปุถุชนแบกของหนักคือขันธ์ ๕ โดยไม่รู้ตัว แต่พระอรหันต์
ผู้กำจัดอวิตขาและตัณหาโดยเด็ดขาดย่อมเข้าใจได้ว่าเป็นของหนัก
จะเห็นได้ว่า พอขึ้นเราต้องทำความสะอาดร่างกาย ต้องล้างหน้า
แปรงพัน ชับถ่าย อาบน้ำ บริโภคอาหาร ดังนี้เป็นต้น

นอกจากนั้น เราต้องเปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอเพื่อให้ทายเมื่อย
เมื่อยืนนานก็มือยต้องเปลี่ยนมานั่ง พอนั่งเมือยแล้วก็ลุกขึ้นเดินพอ
เดินนานไปต้องมานั่งและในที่สุดก็ต้องนอนพักผ่อน ทั้งนี้เพื่อดูแลร้กษา
ร่างกายให้คงอยู่ต่อไปจนถึงเวลาสิ้นอายุขัย พระ อรหันต์มักดำริว่าร่างกาย
ของตนเหมือนคราบงู งูที่ใกล้จะลอกคราบมักรู้สึกอึดอัดต่อคราบเก่า
ของตน จึงต้องลอกหนังเก่าออกเพื่อให้เกิดหนังใหม่

ด้วยเหตุดังกล่าว พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ในภารสูตรนี้ว่า การ
หเว ปญฺจกฺขนฺธา* (ขันธ์ ๕ เป็นของหนักโดยแท้) ข้อความนี้สอดคล้อง
กับคำกล่าวของท่านพระสารีบุตรว่า
ฑยฺหมาโน ตีหคฺคีหิ ภเวสุ สํสรี อหํ
ภริโต ภวภาเรน คิรึ อุจฺจาริโต ยถา."
"เราถูกไฟ ๓ กองเผาอยู่ ท่องเที่ยวไปในภพ แบกของ
คือภพ เหมือนแบกภูเขาไว้"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2022, 06:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว




family-walking-large.png
family-walking-large.png [ 464.72 KiB | เปิดดู 592 ครั้ง ]
ความเห็นของท่านพระสารีบุตรและพระอรหันต์ทั้งหลาย คือ
การที่ท่านต้องแบกของหนักคือขันธ์ ๕ นี้เปรียบได้กับการแบกฎเขา
ทั้งลูกถึงอยากจะวางลงก็ว่างไม่ได้ ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องแบกหาม
ของหนักอันได้แก่ขันธ์ ๕ นี้อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะสิ้นชีวิต

นอกจากนั้น ขันธ์ ๕ เหล่านี้ดำเนินไปในสังสารวัฏอันยาวนาน
ละสังสารวัฏเปรียบได้กับทางกันดาร โดยทัวไปทางกันคารเป็นทาง
ขรุชระเดินลำบาก มีอันตรายมากมาย และมีสิ่งที่ช่วยชีวิตน้อยมาก ผู้ที่
ดินทางกันดารต้องพบอันตรายต่างๆ เช่น โจรผู้ร้าย สัตว์ดิรัจฉาน หรือ
อมนุษย์มียักษ์ เป็นต้น ถ้าโชคดีก็เดินทางผ่านพ้นทางกันดารได้ ถ้าโชค
ไม่ดีก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคอันตรายนานาประการ แต่ผู้ที่เดินทางอยู่ใน
ทางกันคารแห่งสังสารวัฏไม่อาจอยู่ดีมีสุข ไม่อาจอยู่รอดปลอดภัยพ้นไป
จากทางกันดารได้ ทางกันคารดังกล่าว คือ

ก. ชรา ความแก่ หมายความว่า หลังจากที่เราได้รับขันธ์ ๕ แล้ว
ดินทางอยู่ในทางกันดารแห่งภพ เราต้องพบกับความแก่อยู่ตลอดเวลา
ไม่อาจหลีกเสี่ยงไปได้ ไม่ว่าเราจะว่างแก่หรือไม่ว่างแก่ ก็ต้องแก่อยู่
ทุกวัน จะบอกว่าตอนนี้งานยุ่งมากเหลือเกิน ฉันยังไม่ว่างแก่ ก็ต้องแก่
ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบมันก็ต้องแก่ จะเห็นได้ว่า เด็กแก่ขึ้นทุกวัน ส่วน
ผู้ใหญ่แก่ลง เด็กที่เกิดมา ๑ วันก็ถือว่าแก่ ๑ วันเมื่อมีอายุ๑ ขวบ ก็แกใ
* ปี นั่นก็คือเวลาของเขาลดน้อยลง เชือกคือชราดีงชาวโลกไปสู่ความแก่
อยู่คลอดเวลา ขรานั้นหาได้ง่ายสำหรับคนหนุ่มสาว ความตายหาได้
ง่ายสำหรับคนมีชีวิตอยู่ เมื่อชราปรากฎชัดเขนขึ้น หนังของเราก็จะ

เหี่ยวย่น ฟันหัก ดวงตาฝ้าฟาง หูตึง ผมขาว หลังโก่ง เป็นต้น ลักษณะ
เหล่านี้เป็นลักษณะของชราในขณะที่มันปรากฏชัดเจน
ข. พยาธิ ความเจ็บป่วย จะเห็นได้ว่า บางครั้งเราเป็น
ปวดหัว ตัวร้อน ปวดฟัน ต้องไปหาหมอรักษา แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีใค
ที่สามารถจะประกันได้ว่าเราจะไม่เจ็บป่วยอีก ความเจ็บป่วยนี้เป็น
การแปรปรวนของธาตุในร่างกายซึ่งปรากฎในเวลาที่ธาตุแปรปรว
ค. มรณะ ความตาย ความตายนี้เป็นสิ่งที่พวกเราทั้งหลาย
กลัวมากที่สุด เพราะมันทำให้เราต้องพลัดพรากจากญาติมิตร พี่น้อง และ
ครอบครัวซึ่งเป็นที่รัก ทำให้เราต้องละทิ้งวัตถุสิ่งของทรัพย์สมบัติต่างๆ
และสิ่งที่สำคัญคือ เราเกิดความวิตกกังวลว่าชาติหน้าจะต้องไปเกิดใน
อบายภูมิ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนห่วงกังวลมากกว่าอย่างอื่น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร