วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 03:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2022, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




1658811303428.jpg
1658811303428.jpg [ 60.23 KiB | เปิดดู 669 ครั้ง ]
นัตถิปัจจัยกับวิคตปัจจัย
ปัจงยธรรม จิตที่เกิดขึ้นดวงก่อนๆ
ปัจจุยุปันนธรรม จิตที่เกิดขึ้นดวงหลังๆ
หลังจากที่จิตดวงก่อนๆ ไม่มีปรากฏอยู่และดับหายไปแล้วจึงทำ ดวงหลังๆ สามารถกิดขึ้นได้นั้น พระพุทธองค์ทรงเรียกว่าการทำอุปการะแห่งนัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัยซึ่งเป็นปัจจัยที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย(ปัจจัยที่ ๒ฃ-๒๒)

ในการเห็นสิ่งต่างๆ ด้วยตา(หรือตามที่สำนวนอภิธรรมเรียกว่า"การเห็นรูปารมณ์ด้วยจักชุริญญาณ) นั้นพึงทราบว่า เมื่อรูปารมณ์(สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา)
มากระทบกับจักซุปสาท ก็จะทำให้วิถีจิต(กลุ่มจิตที่เกิดตามลำดับ) ก็เริ่มปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยเริ่มที่ อาวัชซนจิต เกิดขึ้นเพื่อพิจารณารูปารมณ์นั้นเมื่อ
อาวัชชนจิตดับ ก็จะเป็นโอกาสของสันตีรณจิต ซึ่งเป็นจิตที่ทำหน้าที่ตรวจตราไตร่ตรองอารมณ์นั้น เสร็จแล้วจิตดังกล่าวก็ดับ เมื่อจิตดังกล่าวดับไปแล้ว จึงเกิด
จักวิญญาณจิต ที่เป็นดังสภาวะรู้รูปารมณ์(หรือที่ทางโลกเขาเรียกกันว่า"เห็นๆเป็นลำดับถัดไป"

ภาพแห่งการดับของจิตดวงก่อนๆและการเกิดขึ้นแห่งจิตดวงหลังๆ ดังที่ยกมานี้และเป็นลักษณะของนัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย

(ก็ถ้าหากจิตดวงก่อนเกิดขึ้นแล้วไม่ดับไปไซร้โอกาสที่จิตดวงหลังๆจะเกิดขึ้นก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ การดับหายไปจากจิตดวงก่อนๆ นั้น ได้ชื่อว่าเป็นโอกาสสำหรับจิตดวงหลังๆ อุปมาเหมือนกับเมื่อไม่มีแสงไฟ ความมืดก็จะคืบคลานเข้ามาแทนที่ นี่เป็นลักษณะของนัตถิปัจจัย ส่วนลักษณะของวิคตปัจจัยนั้น เปรียบเสมือนกับการเกิดขึ้นแห่งแสงจันทร์ภายหลังการดับไปแห่งแสงอาทิตย์]

เราลองมาสรุปภาพความเป็นอัตถิ- อวิคต นัตถิ และวิคตปัจจัย แบบง่ายๆ ดูจะเห็นได้ว่า สมมุติว่าคนๆ หนึ่งเป็นผู้มีอำนาจและก็ใช้อำนาจนั้นอยู่(ซึ่งหากใช้ โดยความเป็นธรรม ก็จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งตนเองและบุคคลอื่นๆ)

แต่ถ้าใช้โดยไม่เป็นธรรม มุ่งเอาแต่ประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง ก็จะทำให้ผู้คนทั้งหลายพบกับความทุกข์ยากลำบาก นี่เป็นลักษณะของการเกิดผลดีผลเสียแห่ง
อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย ก็ถ้าหากว่าบุคคลผู้มีอำนาจดังกล่าวได้สละอำนาจแก่ บุคคลอื่นผู้คู่ควรแก่การได้รับ จนตัวเองไม่มีอำนาจหลงเหลืออยู่แล้ว ซึ่ง
เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาแทนที่ตนซึ่งบุคคลผู้ได้รับการถ่ายโอนอำนาจก็ย่อมมีโอกาสและมีอำนาจในการทำงานอย่างเต็มที่

ก็และการเกิดขึ้นแห่งนัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัยนั้นก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน กับการเปิดโอกาสโดยการสละอำนาจให้บุคคลผู้เหมาะสมตามที่กล่าวมาข้างต้น
นี้แล

ในโลกนี้ ยังมีกลุ่มคนผู้มีอำนาจบางกลุ่มที่ต่อหน้าประชาชีแล้วทำเป็นเหมือนได้ทำการมอบอำนาจให้แก่ประชาชน แต่ความจริงแล้วพวกเขาคือกลุ่มอำนาจในที่ลับสายตาของชาวโลกนี้ก็เป็นลักษณะของนัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัยเช่นกัน

สุดท้ายนี้ขอให้ท่านทั้งหลายจงสามารถผสานวัฒนธรรมอัตถิปัจจัยกับอวิคตปัจจัย นัตปัจจัยกับวิคตปัจจัยและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างบูรณาการผสานทั้งฝ่ายโลกิยะและโลกุตตระเถิด

ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน
จบ
พระอาจารย์นันทสิริบรรยาย
อาจารย์ จำรูญ ธรรมดา แปล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร