วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 05:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2022, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว




1619195418_59823_url.jpeg
1619195418_59823_url.jpeg [ 95.14 KiB | เปิดดู 625 ครั้ง ]
สายลับ = นันทีราคะในกามคุณ ๕

พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงภยันตรายอีกอย่างหนึ่ง คือสายลับ
หมายความว่า สายลับหรือศัตรูภายใน หมายถึง นันทีราคะ คือ ความ
เพลิดเพลินยินดีในกามคุณ ๕ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
กล่าวคือคนทั่วไปมักเข้าใจว่าเรามีคนที่ไม่ชอบ จึงสำคัญว่าบุคคลเหล่านั้น
เป็นศัตรูของเรา แต่ความจริงแล้วเรามีสายลับที่เป็นศัตรูภายในอยู่ในใจ
ของเรา นั้นก็คือ นันทีราคะ ความเพลิดเพลินยินดีในกามคุณ ๕

ทุกคนมักรู้สึกพอใจที่ได้เห็นรูปสวย ได้ยินเสียงเพราะ ได้ดมกลิ่น
หอม ได้ลิ้มรสอร่อย ได้รับสัมผัสที่ตนชอบใจ ในทุกขณะที่รู้สึกเพลิดเพลิน
พอใจกามคุณ ซึ่งแปลว่า "เครื่องผูกคือกาม" หมายถึง โซ่ตรวนที่ชาวโลก
ยินดีพอใจ


เมื่อเรารู้สึกพอใจเครื่องผูกเหล่านี้ ก็เหมือนถูกสายลับหรือศัตรู
ภายในทำร้ายจิตใจ นันทีราคะคือตัณหาที่พอใจกามคุณ ๕ ตัณหานี้เป็น
ตัวการหรือเป็นเหตุแห่งทุกข์ที่ทำให้เหล่าสัตว์ต้องเวียนว่ายตายเกิด
ต่อไปไม่รู้จักจบสิ้น จัดเป็นสมุทยสัจ คือ ความจริงอันเป็นเหตุแห่งทุกข์
นอกจากคนทั่วไปที่มักยินดีพอใจกามคุณทั้ง ๕ แล้ว บางคนอา
คิดว่าเราไม่อยากเกิดอีก ไม่ยินดีที่จะเกิดอีก แต่เมื่อถึงเวลาใกล้เสียชีวิต
อารมณ์ ๓ อย่าง อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งย่อมปรากฎในขณะนั้น ได้แก่
กรรมอารมณ์ กรรมนิมิต คตินิมิต และด้วยความยึดติดผูกพันในอารมณ์
ทั้ง ๓ อย่างเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์โลกย่อมไปเกิดอีกในภพต่อไป

กรรมอารมณ์

กรรมอารมณ์ หมายถึง อารมณ์ที่เราได้เคยทำสิ่งนั้นๆ ซึ่งปรากฏ
เหมือนเรากำลังทำสิ่งนั้นอยู่อีกครั้งหนึ่ง เช่น คนที่ฆ่าวัวหรือฆ่าหมูอยู่
เป็นประจำ อาจรู้สึกว่าเขากำลังฆ่าสัตว์อยู่ คนที่ใส่บาตรถวายสังฆทาน
เป็นประจำ จะรู้สึกเหมือนว่าตนเองกำลังทำสิ่งนั้นอยู่

กรรมอารมณ์ดังกล่าวจะเป็นกรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตามที่มา
ปรากฎเป็นนิมิตในขณะนั้น เหมือนเรากำลังทำสิ่งนั้นๆ อยู่ และจิตของ
บุคคลผู้ใกล้ตายก็จะรับเอากรรมอารมณ์ดังกล่าวเป็นอารมณ์ไว้ แล้ว
ได้ดับลง ต่อจากนั้นก็จะมีปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นรับเอากรรมอารมณ์นั้นเป็น
อารมณ์ แล้วไปเกิดในภพต่อไปด้วยแรงกรรมตามสมควร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2022, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว




13736bb9db374a34e8799d6f7cf91217.png
13736bb9db374a34e8799d6f7cf91217.png [ 184.95 KiB | เปิดดู 210 ครั้ง ]
กรรมนิมิต
อารมณ์ประการที่ ๒ คือ กรรมนิมิต แปลว่า "เหตุของกรรมหรือ
อุปกรณ์ของกรรม " หมายถึง อุปกรณ์ในการทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว เช่น
คนที่ฆ่าสัตว์อยู่เสมออาจเห็นอาวุธที่ตนใข้ฆ่า เช่น เห็นมืดที่ใช้ในการฆ่า
ป็นต้น ถ้าเป็นบุคคลส่บาตรอยู่เป็นประจำ อาจเห็นอาหารที่ตนถวาย
เห็นบาตรพระหรือชีวรพระก็ได้ เหล่านี้นับเป็นกรรมนิมิต และเบีอจิต
ของคนใกล้เสียชีวิตรับเอากรรมนีมิตนั้นไว้เป็นอารมณ์ ก็จะเกิดบฏิสนธิ
จิตต่อมา แล้วไปเกิดในภพต่อไปด้วยแรงกรรมที่ดีหรือไม่ดีดังกล่าว

คตินิมิต

อารมณ์ประการที่ ๓ คือ คตินิมิต แปลว่า "เหตุของภพภูมิที่จะ
ไปเกิด" เช่น ผู้ที่จะตกนรกมักเห็นเปลวไฟ ผู้ที่จะไปเกิดเป็นเทวดา
มักเห็นวิมาน เป็นต้น หรือผู้ที่จะไปเกิดเป็นมนุษย์มักเห็นครรภ์มารดา
หรือเปลเด็ก เป็นต้น คนที่จะเกิดเป็นเปรตหรือสัตว์ดิรัจฉาน มักเห็นภูเขา
แม่น้ำ หรือลำธารที่ตนจะไปเกิด สิ่งนี้คือคตินิมิต จัดว่าเป็นอารมณ์ที่เบีน
เหตุของภพภูมิที่เราจะไปเกิด

ดังนั้น ทุกคนจึงรับเอาอารมณ์ หรือนิมิตตังกล่าวที่มาปรากฎทาง
ทวาร ๖ ตามสมควรเป็นอารมณ์ แล้วปฏิสนธิจิตย่อมเกิดขึ้นต่อมา เรา
ไม่อาจปฏิเสธอารมณ์เหล่านั้นได้เลย พระพุทธองค์ตรัสว่าเหมือนภูเขา
ใหญ่ เกิดเงาของภูเขาท่วมทับพื้นดินอยู่ในเวลาเย็น พื้นดินไม่อาจปฏิเสธ

เงาของภูเขาได้" บุคคลผู้ใกล้เสียชีวิตก็เช่นเดียวกัน พวกเขารู้สึกยินดี
พอใจกับอารมณ์ที่มาปรากฎในขณะนั้น เปรียบได้กับคนที่จมน้ำอยู่ หาก
มีไม้หรือสิ่งใคลอยผ่านมา เขาจะจับไว้แบ่นทันที และด้วยอารมณ์ที่มา
ปรากฏนั้นนั่นเอง บุคคลย่อมไปเกิดในกพต่างๆ ด้วยอำนาจของความ
ยินดีพอใจที่เรียกว่า นันทีราคะ ซึ่งพอใจอารมณ์ที่มาปรากฎในขณะนั้น

ด้วยเหตุดังกล่าว นันทีราคะนี้จึงเหมือนสายลับหรือศัตรูภายใน
ข็งซ่อนเร้นอยู่ในใจของเรา ทำให้เราต้องเวียนว่ายตายกิดต่อไป ต้องเกิด
แก่ เจ็บ และดาย แม้เราไม่อยากเกิดก็ต้องเกิด เมื่อเกิดมาแล้วไม่อยาก
มาก็ต้องแก่ เมื่อแก่แล้วไม่อยากตายก็ต้องตาย อยากมีความสุขกายสุขไจ
แต่ก็ต้องประสบกับความทุกข์กายบ้าง ทุกข์ใจบ้าง ดังนี้เป็นตัน จึงอาจ
กล่าวได้ว่าทุกข์ต่างๆในภพชาติมีสาเหตุมาจากศัตรูภายในคือนันทีราคะนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร