วันเวลาปัจจุบัน 23 พ.ค. 2024, 10:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2023, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1699162253447.jpg
1699162253447.jpg [ 101.71 KiB | เปิดดู 815 ครั้ง ]
ฌานปัจจัย

ฌานปัจจัย เป็นปังจัยที่ ๑๗ ในปัจจัย ๒๔ และ เป็นปัจจัยที่ ๓๐
ในปัจจัย ๕๒

อุทฺเทส ฌานปจฺจโย เพราะมีการเพ่งและเผา เป็นปัจจัย

ฌานปัจจัย หมายถึงธรรมที่มีการเข้าไปเพ่งอารมณ์หรือเผาธรรม
ที่เป็นปฏิปักษ์ของตน เป็นเหตุให้เกิดผลขึ้น เพราะคำว่า ฌาน แปลว่า
เพ่ง หรือเผา คำว่า เพ่งหมายถึงเพ่งอารมณ์ให้จิตอยู่กับอารมณ์นั้นไม่ให้
ซัดสายไปที่อื่น ถ้าเป็นอารมณ์ธรรมดาที่เป็นกุศล อกุศล ก็เพ่งรูปารมณ์
เป็นต้น แต่ถ้าเป็นอารมณ์ที่เกี่ยวกับสมถภาวนา ก็เพ่งปฐวีกสิณหรือ
ปฏิภาคนิมิต เป็นต้น เพราะผานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน
ลักขณูปนิชฌาน

อารัมมณูปนิชฌาน เพ่งอารมณ์เป็นสำคัญ เช่นเพ่งอารมณ์มี
ปฐวีกสิณเป็นต้น

ลักขณูปนิชฌาน เพ่งลักษณะเป็นสำคัญ มีอนิจจังเป็นต้น
อารมณ์ที่เกี่ยวกับวิปัสสนาภาวนา ถ้ามัคผลเห่งพระนิพพานก็หมายถึงเพ่ง
ลักษณะที่เป็นสันติสุขโดยแท้ที่เรียกว่า ตถลักขณะ

ส่วนคำว่า เผา หมายถึงเผาปฏิปักษ์ธรรม คือเผาธรรมที่มีสภาวะ
ตรงกันข้ามกับตนมีก็เลสนิวรณ์เป็นต้น เช่นกุศลเกิดขึ้นมีการให้ทานก็เผา
มัจฉริยะความตระหนี่ไม่ให้เกิดขึ้น หรือกุศลที่เป็นโสมนัสก็เผาอุทธัจจะ
กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจไม่ให้เกิดขึ้น คือธรรมที่เป็นกุศลเกิดขี้น
ย่อมทำกิจทั้งเห่งและเผา เพราะกุศลเกิดขึ้นจะต้องมีกิจละอกุศลด้วย
เช่นมหากุศลกิดขึ้นก็เผาอกุศลเป็นตทังคปหาน มหัคคตกุศลเป็น
วิกขัมภนปหาน มัคกุศลเกิดขึ้นก็เผาอกุศลเป็นสมุจเฉทปหาน ส่วนอกุศล
เกิดขึ้นมีแต่การเพ่งอย่างเดียวไม่มีการเผา เพราะอกุศลเผากุศลไม่ได้
เนื่องจากอกุศลมีกิจที่จะต้องละให้หมดไป
เช่นของหายเกิดโทมนัส
เสียใจ ก็นึกถึงของที่หาย
เพ่งเป็นอารมณ์อย่างเดียว แม้เกิดความเสียใจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2023, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1698566992967-removebg-preview (1).png
ei_1698566992967-removebg-preview (1).png [ 120.38 KiB | เปิดดู 1324 ครั้ง ]
ทำให้เร่าร้อนก็ไม่เรียกว่าเผา เพราะคำว่า เผา ต้องหมายถึงเผาธรรมเป็น
ปฏิปักษ์ต่อตน อกุศลเผาอกุศลด้วยกันไม่ได้ เพราะฉะนั้นอกุศลจึงมีแต่การ
เพ่งอย่างเดียวไม่มีการเผา อกุศลจึงเป็นฌานปัจจัยได้เพราะมีการเพ่งอารมณ์
ส่วนวิบากกับกิริยาก็เป็นฌานปัจจัยได้เพราะมีการเพ่งอารมณ์แต่ไม่มีการ
เผาเหมือนกับอกุศล

ฌานเมื่อว่าโดยประเภทมี ๗ คือ วิตก วิจาร ปีติ โสมนัส โทมนัส
อุเบกขา และเอกัคคตาเมื่อว่าโดยสภาวปรมัตถ์แล้วได้แก่ เจต สิก ๕
ดวง คือ วิตก วิจาร ปีติ เวทนา และเอกัคคตา ดังพระบาลีว่า
อารมฺมณูปนิชฺฌานโต ปจฺจนิกฌาปนโต วา ฌานํ (ธรรมที่เพ่งอารมณ์
ธรรมนั้นเรียกว่า ฌาน)

ในบรรดาองค์ฌานทั้ง ๕ วิตกเป็นองค์ฌานที่สำคัญที่สุด ถ้าจิตใด
ปราศจากวิตก จิตนั้นไม่เรียกว่า ฌาน ด้วยเหตุนี้ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ จึง
ไม่เรียกว่า ฌาน เพราะไม่มีวิตก ทวิปัญจวิญญาณเป็นจิตที่มีกำลังอ่อน ไม่
มีการเข้าไปเพ่งอารมณ์เลย ทวิปัญจวิญญาณรับอารมณ์ได้ ก็เพราะอาศัย
ปัจจัย ๔ ที่เป็นเหตุประจวบเกิดขึ้นประชุมพร้อมเพรียงกัน ทวิปัญจวิญญาณ
จึงเห็นได้เป็นต้น ในทวิปัญจวิญญาณแม้จะมีเวทนา มีเอกัคคตา แต่ก็ไม่
นับว่าเป็นองค์ฌาน เพราะฌานจะต้องมีวิตกเป็นประธาน เป็นองค์ธรรมที่
สำคัญที่สุด ในการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์นั้นๆ ที่เรียกว่า เพ่งอารมณ์
เพราะฉะนั้นจิตใดไม่มีวิตก จึงไม่นับว่าเป็นฌาน

ฌานปัจจัยมีอำนาจทำให้สัตว์ทั้งหลายกระทำกิจต่าง ๆได้มั่นคง
ตรงต่ออารมณ์ตามความประสงค์ทุกประการ
ฌานปัจจัยเป็นปัจจัยประเภท นามเป็นปัจจัยแก่นามรูป ทำได้ ๒
กิจ คือชนกกิจและอุปถัมภกกิจ ที่เป็นชนกกิจเช่น วิตกยกจิตขึ้นเพ่งอารมณ์
ถ้าเป็นอุปถัมภกกิจก็ช่วยอุดหนุนให้สหชาตธรรมอื่นๆ เข้าไปเพ่งในอารมณ์
เดียวกันด้วย ด้วยเหตุนี้ในการทำอะไรก็ตามทางกายวาจาใจ ถ้าหากไม่มืองค์
ฌานทำหน้าที่เพ่งอารมณ์หรืออุดหนุนการกระทำนั้นๆ ก็จะทำจิตไม่มั่นคง
เช่นการพูด ถ้าวิตกมีกำลังอ่อน ก็พูดเลอะเลือนไม่ได้เรื่อง เป็นต้น
เพราะฉะนั้น ฌานปัจจัยย่อมทำหน้าที่อุดหนุนอุปการะปัจจยุบันธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณูปณิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน ปัจจัยและ
ปัจจยุบันเกิดร่วมพร้อมกัน จึงเป็นปัจจุบันกาล เป็นสหชาตชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2023, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1697750704495-removebg-preview (1).png
ei_1697750704495-removebg-preview (1).png [ 73.16 KiB | เปิดดู 1324 ครั้ง ]
สรุป ฌานปัจจัย

ฌานปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยการเพ่งอารมณ์ หรือเผาธรรมที่เป็น
ปฏิปักษ์ต่อตน ฌานปัจจัยต้องเกิดกับจิตที่มีกำลัง มีวิตกประกอบ เพราะ
ฌานปัจจัยต้องมีวิตกเป็นที่สุด จิตใดไม่มีวิตก เช่น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐
ไม่มีวิตกประกอบ จึงไม่นับว่าเป็นฌานปัจจัย แม้อเหตุกจิตที่เหลืออีก ๘ ดวง
จะมีวิตกประกอบได้แต่ก็มีกำลังเพียงเล็กน้อย เพราะเป็นจิตที่ไม่ประกอบ
ด้วยเหตุ จึงได้แต่เพ่งอารมณ์อย่างเดียว ก็เป็นฌานปัจจัยได้ เพราะมีวิตก
ประกอบ

ฌานปัจจัยที่เกิดกับกุศลย่อมมีกิจทั้งเพ่งและเผา คือเพ่งอารมณ์ให้
กุศลเจริญขึ้น และเผาอกุศลให้หมดไป แต่ถ้าเกิดกับอกุศลก็มีแต่การเพ่ง
อย่างเดียว คือเพ่งอารมณ์ให้อกุศลเกิดมากแต่ไม่มีการเผากุศล เพราะอกุศล
ไม่มีกิจละกุศลให้หมดไป ส่วนที่เกิดกับอัพยากตะก็มีแต่การเพ่งอย่างเดียว
เหมือนกัน เพราะวิบากเกิดขึ้นก็เพื่อเสวยผของกรรมส่วนกิริยาเกิดขึ้นก็
เพื่อทำจิตให้สำเร็จกิจการงานเท่านั้นทั้งวิบากและกิริยาไม่มีกิจที่จะต้องละ
หรือต้องเจริญ อัพยากะจึงเป็นจิตที่มีกำลังน้อยกว่กุศลและอกุศล

กุศลและอกุศล ชื่อว่าเป็นจิตที่มีกำลังมากที่สุด เพราะทำชวนกิจ
ต้องเสวยเสพอารมณ์หลายขณะ จิตที่เป็นกามชวนะตามปกติก็ต้องเกิดอย่าง
น้อย ๗ ขณะ ถ้าเป็นมหัคคตซวนะก็เกิดนับไม่ถ้วน เหตุนี้จิตที่ทำชวนะได้
จึงมีกำลังมากที่สุด

ฌานปัจจัย ที่มีองค์ฌาน ๕ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
องค์ฌานเหล่านี้ย่อมเกิดกับกุศลและอัพยากตะ แต่ถ้านับองค์ฌาน ๗ ก็
หมายความว่าเกิดได้ทั้งอกุศล กุศล อัพยากตะ เพราะเวทนามีโทมนัส

ฌานปัจจัย องค์ธรรมเป็นเจตสิก เพราะฉะนั้นปัจจัยนี้ย่อมเกิดพร้อม
กับจิต และยังเป็นปัจจัยแก่รูปด้วย คือในปฏิสนธิกาลก็เป็นปัจจัยให้เกิด
กัมมชรูป ในปวัตติกาลก็เป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูป เพราะฉะนั้นปัจจัยนี้นาม
เป็นปัจจัยแก่ามรูป ถ้าเกิดในภูมิที่ไม่มีรูป นามก็เป็นปัจจัยแก่นาม ปัจจัย
นี้จึงเป็นประเภทสหชาตชาติ และเป็นปัจจุบันกาล เกิดได้ทั้งปฏิสนธิกาล
และปวัตติกาล แม้จุติกาลก็เกิดได้ เพราะเป็นวิบากเหมือนกับปฏิสนธิ ปัจจัย
นี้ทำได้ทั้ง ๒ กิจ คือ ทำให้เกิดด้วยและอุปถัมภ์ด้วย ฌานปัจจัยมีอำนาจ
ทำให้สัตว์ทั้งหลายกระทำกิจต่าง ๆ ได้มั่นคงตรงต่ออารมณ์ ตรงตามความ
ประสงค์ทุกประการด้วยอำนาจขององค์ฌาน ๕ หรือองค์ฌาน ๗ เป็นปัจจัย
-จบฌานปัจจัย-

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร