วันเวลาปัจจุบัน 19 ม.ค. 2025, 19:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2024, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8441


 ข้อมูลส่วนตัว




hearth1.jpg
hearth1.jpg [ 19.5 KiB | เปิดดู 1259 ครั้ง ]
หทัยวัตถุ ๑
[๔๔๐] หทัยวัตถุ มีความเป็นที่อาศัยแห่งมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุเป็น
ลักษณะ มีการรองรับธาตุเหล่านั้นแหละเป็นรส มีการยกธาตุเหล่านั้นแหละเป็นปัจจุปัฏ"
ฐาน อาศัยโลหิตอันมีประการที่ได้กล่าวไว้แล้วในกายคตาสติกถา อันภูตรูปทั้ง ๔ ซึ่งมี
หน้าที่ค้ำจุนเป็นต้นกระทำอุปการะ อัน อุตุ จิต และอาหารอุปถัมภ์อยู่ อันอายุตามรักษา
ให้สำเร็จความเป็นวัตถุแห่งมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ และแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วย
ธาตุทั้ง ๒ นั้นตั้งอยู่ภายในหัวใจ.

[๔๔๐] (๑๖) ถามว่า ข้อว่า หทัยวัตถุ มีความเป็นที่อาศัยแห่งมโนธาตุ และ
มโนวิญญาณธาตุเป็นลักษณะ
นี้ จะพึงเข้าใจได้อย่างไร ? ตอบว่า พึงเข้าใจได้พระ
บาลีอันเป็นที่มา และโดยข้อยุตติพระบาลีอันปืนที่มา มีอาทิอย่างนี้ว่า : นโนธาตุธาตุและ
มโนวิญญาณธาตุย่อมอาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นเป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย แก่มโน
มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุนั้น. ถามว่า
ถ้าเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ตรัสหทยวัตถุใหญ่นั้นไว้ในรูปกัณฑ์เล่า ? ตอบว่า การไม่
ตรัสไว้ในรูปกัณฑ์นั้นมีเหตุอื่น ก็เหตุอื่นนั้นคืออะไร ? คือ ความต่างแห่งเวทนา เหมือน
อย่างว่า วิญญาณทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น มีจักขุเป็นต้นเป็นที่อาศัยโดยส่วนเดียว
ฉันใด มโมวิญญาณมีททัยวัตถุเป็นที่อาศัยโดยส่วนเดียวฉันนั้น หามิได้.

ก็เทศนาถึงทุกะ มีวัตถุทุกะเป็นต้น เป็นไปด้วยอำนาจนิสสิตโวหาร โดยนัยเป็นต้น
ว่า รูปเป็นวัตถุแห่งจักขุวิญญาณก็มี รูปไม่เป็นวัตถุแห่งจักขุวิญญาณก็มี ดังนี้ แม้เมื่อ
กล่าวทุกะเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า รูปเป็นวัตถุแห่งมโนวิญญาณก็มี ดังนี้ ด้วยอำนาจแห่ง
วิญญาณ แม้มีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยโดยส่วนเดียว ก็จะไม่สำเร็จอารัมมณทุกะเป็นต้น ที่มี
คุณอันสมควรแก่วิญญาณนั้น เพราะไม่อาจจะกล่าวได้ว่า รูปเป็นอารมณ์แห่งมโนวิญญาณ
ก็มี รูปไม่เป็นอารมณ์แห่งมโนวิญญาณก็มี ฉะนี้. ทุกะว่าด้วยวัตถุและอารมณ์จะพึงมีคติ
ต่างกันไป เพราะฉะนั้น จะไม่พึงเป็นเทศนาที่เป็นเอกรส และการแสดงเทศนาที่เป็นเอก
รส เป็นอัธยาศัยของพระศาสดาในพระศาสนานี้ เพราะฉะนั้น จึงมิได้ตรัสหทัยวัตถุไว้ใน
รูปกัณฑ์นั้น พึงเห็นว่า ไม่ใช่เพราะได้อยู่.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2024, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8441


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนความสมควรพึงทราบอย่างนี้. ธาตุ ๒ มีอุปาทายรูปซึ่งเป็นนิปผันนรูปเป็นที่
อาศัยในปัญจโวการภพ. ในปัญจโวการภพนั้น เพราะแสดงถึงความเป็นไปของอายตนะ
ทั้งหลายมีรูปายตนะเป็นต้นและของโอชา แม้อยู่ภายนอกจากรูปที่เนื่องด้วยอินทรีย์ ความ
ที่มีอุปาทายรูปซึ่งเป็นนิปผันนรูปนั้นเป็นที่อาศัย จึงยังไม่สมควร เพราะแสดงธาตุทั้งสอง
อยู่ในสันดาน แม้ที่เว้นจากอินทรีย์ทั้งสองนั้น แม้ของอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ ความที่มี
อุปาทายรูปซึ่งเป็นนิปผันนรูปนั้นเป็นที่อาศัยจึงยังไม่สมควร กิจอย่างอื่นแม้ของชีวิตินทรีย์
ก็ยังมี เหตุนั้น ความที่มีอุปาทายรูปที่มีอุปทรูปซึ่งเป็นนิปผันนรูปนั้นเป็นที่อาศัย จึงยังไม่สมควรอยู่
นั่นเอง เหตุนั้น โดยปริเทสนัยจีงรู้กันว่า หทยวัตถุเป็นที่อาศัยแห่งมโมธาตุและมโมวิญ
ญาณธาตุเหล่านั้น เพราะอาจจะกล่าวได้ว่า ธาตุทั้งสองนี้มีอุปาทายรูป
เป็นที่อาศัยในปัญจโวการภพ เพราะสภาวะมีความเป็นไปเนื่องอยู่กับรูป ด้วยว่า ธรรมชาติ
ใด ๆ มีความเป็นไปเนื่องอยู่กับรูป ธรรมธาตินั้น ๆ พึงเห็นได้ว่า มีอุปาทายรูปอันเป็น
นิปผันนรูปเป็นที่อาศัย เหมือนจักขุวิญญาณธาตุ. ก็คำที่ทำให้ต่างว่า ในปัญจไวการภพ
ท่านกระทำด้วยอำนาจมโนวิญญาณธาตุ ส่วนมโนธาตุไม่มีในจตุโวการภพเลย. ท้วงว่า
ก็ต้องเป็นเหตุที่ผิดกันละ เพราะให้สำเร็จความเป็นอินทรีย์และเป็นที่อาศัย ? แก้ว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2024, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8441


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ต้อง เพราะมีความเกี่ยวพันกันที่เห็นได้. ความเกี่ยวพันกันที่เห็นได้นี้ ได้แก่การที่วัตถุ
ของธาตุทั้งสองมิได้กระทำตามของคนโง่และคนฉลาดเป็นต้น เหมือนอย่างจักขุวิญญาน
ข้อนี้จะเห็นได้ดังที่มิได้ตรัสความที่หทัยวัตถุนั้นไว้เป็นอินทรีย์
ความที่ททัยเป็นปัจัยไว้ในพระบาลีด้วยเหตุนั้น ความที่หทัยวัตถุและอินทรีย์เป็นที่อาศัย
กล่าวคือ การกระทำตานธออททัยวัตถุนั้น ย่อม
เกี่ยวพันกัน ท้วงว่า หทัยวัตถุและอุปาทายรูปเป็นที่อาศัยองธาตุทั้งสอง ขอยกไว้ แต่
หทัยวัตถุนี้และอุปาทายรูปมีกรรมเป็นสมุฏฐาน มีกิจแน่นอนโดยเฉพาะ จะรู้ได้อย่างไรว่า
ตั้งอยู่ในหทัยประเทศนั่นเอง ?

แก้ว่า รู้ได้เพราะความเป็นรูปอันเป็นวัตถุ เหมือนอย่างจักขุอันมีกรรมเป็นสมุฏฐาน
เพราะความเป็นรูปอันเป็นวัตถุนั้นแหละ จึงชื่อว่า มีกิจแน่นอนโดยเฉพาะ. ก็บทว่า เพราะ
ความเป็นรูปอันเป็นวัตถุ มีความว่า เพราะความเป็นที่อาศัยของวิญญาณ ย่อมรู้ว่าหทัยวัตถุ
นี้แหละตั้งอยู่ในหทัยประเทศนั้น เพราะเมื่อบุคคลใส่ใจทำให้มีประโยชน์ รวบรวมไว้ด้วยจิต
ทั้งหมด คิดอะไร ๆ อยู่หัวใจก็จะเหนื่อย. บทว่า ธาตุเหล่านั้นแหละ ได้แก่ มโนธาตุและ
มโนวิญญาณธาตุนั่นนั่นแหละ.
ชื่อว่า อุพฺพาหนปจฺจุปฏฺฐานํ แปลว่า มีการบรรทุกไว้เป็น ปัจจุปัฏฐาน ด้วยอรรถ
ว่า เข้าไปตั้งไว้เฉพาะเหมือนยกขึ้นเบื้องบนขนไปอยู่ เพราะความเป็นที่อาศัย. คำที่เหลือ
มีนัยได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร