วันเวลาปัจจุบัน 27 มี.ค. 2025, 03:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2024, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8546


 ข้อมูลส่วนตัว




1725601808957.jpg
1725601808957.jpg [ 59.64 KiB | เปิดดู 1282 ครั้ง ]
อุทยัพพยญาณ

สมรรถนะของวิปัสสนุเปกขา
ยา "ยทตฺติ ยํ ภูตํ, ตํ ปชหติ อุเปกฺขํ ปฏิลภตึ"ติ เถวมาคตา วิจินฺเน
มชฺฌตฺตภูตา อุเปกฺขา, อยํ วิปสฺสนุเปกฺขา นาม ฯเปฯ ปญฺญา เอว หิ สา
กิจฺจาวเสน ทฺวิธา ภินฺนา ยถา หิ ปุริสสฺส สายํ เคหํ ปวิฏฐํ สปฺปํ อชปททณฺฑํ
คเหตฺวา ปริเยสมานสฺส ตํ ถุสโกฎฐเก นิปนฺนํ ทิสุวา "สปฺโป นุ โช. โน"ติ
อวโลเกนตสฺส โสวตฺติกตตฺยํ ทิสฺวา นิพฺเพมติกสฺส "สนฺโป, น สปฺโป"ติ วิจินเม
มชฺณตฺตตา โหติ. เอวเมว ยา อารทฺธวิปสฺสกสฺส วิปสฺสนาญาเณน ลกฺขณตฺตเย
ทิฏเฐ สงฺขารานํ อนิจฺจภาวาทิวิจินเน มชฺฌตฺตตา อุปฺปชฺชติ, อยํ วิปสฺสนุเปกฺขา

(วิสุทธิ ๑/๑๗๕ภ๗๖) :

อุเบกขา ธรรมะที่เป็นกลางในการพินิจพิจารณาความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป๊นอนัตตา ซึ่งมาในพระบาลี มัชฌิมนิกายอุปริปัสนาสและอังอุตตรนิกายว่า
"สิงใดมีอยู่ สั่งใดเกิดขึ้น บุคคลย่อมละสิ่งนั้น ย่อมได้อุเบกขา" อุเบกขาชนิดนี้ชื่อว่า
วิปัสสนุเปกขา วิปัสสนุเปกขาและสังขารุเปกขาทั้งสองนั้นนับโดยองค์ธรรรมแล้ว
ได้แก่ตัวปัญญานั้นเอง แบ่งเป็น ๒ ประเภทตามอำนาจกิจหน้าที่ คือทำหน้าที่เป็น
กลางในการพิจารณาสามัญญลักษณะและเป็นกลางในสังขาร หมายความว่า
เปรียบเสมือนคนเห็นงูเข้าบ้านในยามเย็นแล้วถือค้อนหมายจะตีงูนั้นขณะที่ใช้สายตา
มองหางูตัวนั้น ก็เหลือบเห็นงูนอนขดอยู่ในกองแกลบ จึงพยายามมองเพื่อให้แน่ใจ
ว่าใช่งูแน่นอนหรือไม่ พอเห็นเส้นลายหนังงู จึงมั่นใจว่าต้องเป็นงูแน่นอน แล้วจึง
เกิดความเพิกเฉยในที่จะพิสูจน์ ว่าเป็นงูหรือมิใช่งู (เพราะไหนๆ ก็พราบแล้วว่า
นั้นคืองู จึงไม่ต้องดิ้นรนพิสูจน์เหมือนดังแต่ก่อน) ฉันใด ความเพิกเฉยหรือความ
เป็นกลางในการที่จะพิสูจน์ความเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นต้นของนักปฏิบัติผู้ได้เจริญ
วิปัสสนาจนเห็นไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนาญาณของตนแล้ว ก็ย่อมเกิดขึ้น ฉันขึ้น ฉันนั้น
อุเบกชาชนิดนี้ เรียกว่า วิปัสสนูเปกขา

ในกรณีที่เพิ่งเริ่มปฏิบัติ ฤ ญาณยังไม่แก่กล้า จึงไม่สามารถที่จะกำหนดแยกแยะ
รูปขันธ์และนามขันธ์ในปัจจุบันให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตทางขัดเจนได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2024, 04:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8546


 ข้อมูลส่วนตัว




8273bee8e18023de28383da727085a30_1725575725073_0.webp.jpg
8273bee8e18023de28383da727085a30_1725575725073_0.webp.jpg [ 142.38 KiB | เปิดดู 1226 ครั้ง ]
เพราะฉะนั้น ฉันทราคะคือความยินเพลิดเพลินในขันธ์เหล่านั้น ว่าเป็นนิจจะ สุขะ
และอัตตา จึงยังมีปรากฎอยู่ แต่เมื่อใดสัมมสนญาณแก่กล้าแล้ว จึงจะไม่ต้อง
คร่ำเคร่งใสใจกำหนดจนเกินไป เพียงแต่กำหนดไปตามปกติก็สามารถทราบอย่าง
ประจักษ์แจ้งว่า นามรูปในปัจจุบันที่ตนกำลังกำหนดอยู่นี้เป็นสิ่งไม่เที่ยงเป็นทุกข์
ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา และฉันทราคะดังกล่าวก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นอีก
นี้เป็นวิธีการกำหนดฉันทราคะโดยที่ไม่ต้องคร่ำเคร่งใส่ใจกำหนดมากจนไป
และได้ชื่อว่าเป็นการละนามรูปไปในตัวด้วย รวมทั้งชื่อว่าวิปสวนุเปกขาด้วย

พึงทรายว่า นักปฏิบัติที่สามารถกำหนดพิจารถมาแยกแยะนามรูปที่ตนกำหนด
หรือนามรูปภายนอก ซึ่งนำมาพิจารมาโดยการเปรียบเทียบกับปัจุบันให้เห็นเป็น
สิ่งที่อยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ไมาจำเป็นต้องไปคร่ำเคร่งใส่ใจกำหนดมากจนเกินไป
เพียงแต่ให้กำหนดไปตามตามปกติและโดยธรรมชาติที่สุด แล้ววิปัสสนุเปกขาซึ่งเป็น
ธรรมที่เห็นความเกิด-ดับหรือที่เรียกว่าเบื้องต้น-เบื้องปลายก็เกิตขึ้น หลังจากนั้น
อุทยัพพยญาณซึ่งทำหน้าที่เห็นความเกิดดับของนามรูปก็เกิดขึ้น ดังที่ท่านแสดงไว้
ในปฏิสัมภิทามรรคว่า
ปจฺจุปฺปนฺนานํ ธมฺมานํ วิปริณามานุปสฺสเน ปญฺญา อุทยพฺยพยานุปสฺสเน ญาณํ.

ปัญญาที่พิจารณารู้แจ้งซึ่งความแปรเปลี่ยนแท่งสภาวธรรมที่กำลังเกิดขึ้น
ชื่อว่าญาณที่รู้แจ้งความเกิดดับ
ทุกครั้งที่กำหนด ความเกิดของรูปจะประปรากฎผุดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรือเหมือน
ค่อยๆคืบคลานเข้ามาแวบๆแวบๆในจิตและความดับของรูปนั้นก็มาปรากฏในญาณ
หรือในจิตเหมือนกันมานั้น พอปรากฎเช่นนี้ ญาณที่เป็นตัวกำหนดความเกิดตัว
ก็คือ อุทยัพพยญาณ

ชาตํ รูปํ ปจฺจุปฺปนฺนํ ตสฺส นิพฺพจฺติลกฺขณํ อุทโย, วิปริณามลกฺขณํ วโย.
อนุปสฺสนา ญาณํ.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร