วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2025, 18:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2024, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




Screenshot_20240923_131646_TikTok.jpg
Screenshot_20240923_131646_TikTok.jpg [ 193.92 KiB | เปิดดู 1062 ครั้ง ]
๑๗. ปัญญาภูมินิทเทส
ยกธรรม ๒ ประการ เป็นยอด

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเมื่อตรัสกถาเกี่ยวกับวัฏฏะ ย่อมตรัสธรรม ๒ ประการ
ทรงกระทำให้เป็นธรรมชั้นยอด ~

คือ อวิชชาบ้าง ดังที่ตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาไม่
ปรากฏว่า "ก่อนแต่นี้อวิชชาไม่มี ครั้นภายหลังจึงมี' ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำนี้
ใคร ๆ ย่อมกล่าวไว้อย่างนี้ ก็และครั้นอวิชชามีสิ่งนี้เป็นปัจจัย ย่อมปรากฏ" ดังนี้.

คือ ภวตัณหาบ้าง ดังที่ตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวตัณหาไม่
ปรากฏว่า 'ก่อนแต่นี้ภวตัณหาไม่มี ครั้นภายหลังจึงมี' ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำนี้
ใคร ๆ ย่อมกล่าวไว้อย่างนี้ ก็และครั้นภวตัณหามีสิ่งนี้เป็นปัจจัย ย่อมปรากฏ" ดังนี้

(๕๔๔] ท่านแสดงนปุงสกลิงค์ไว้ว่า น อการณํ โดยมุ่งถึงศัพท์ว่า มูลการณะ,
ความเท่ากับ อการณา. ท่านอาจารย์เมื่อจะแสดงว่า ถ้าอวิชชาจะพึงเป็นธรรมไม่มีเหตุไซร้
พระสูตรก็จะพึงถูกคัดค้านด้วย จึงชักเอาพระสูตรมาว่า อาสวสมุทยา.

ปริยาย แปลว่า เหตุ ความที่อวิชชาเป็นธรรมชั้นยอดในกถาที่เกี่ยวกับวัฏฏะ
ก็คือความที่แม้กรรมซึ่งเป็นเหตุแห่งวัฏฎะเป็นตัวเหตุ. ในวัฏฏกถานั้น อวิชชาเป็นตัวเหตุแม้
ของภวตัณหา เพราะตัณหาเกิดขึ้นในภพที่ถูกอวิชชานั้นปิดบังโทษไว้ อวิขชาจึงเป็นธรรม
ขั้นยอดเป็นพิเศษ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นเหตุตั้งเดิม.

เพราะเงื่อนต้นที่ไม่ปรากฏ เว้นจากความเกิดขึ้น บุคคลก็จะยึดถือเอาว่าเป็นความ
เที่ยง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำนี้ใคร ๆ ย่อมกล่าว
ไว้อย่างนี้ เป็นต้น.

ด้วยเหตุนั้น เพราะไม่ปรากฏว่า ก่อนแต่นี้ความที่อวิชชาเป็นธรรมเคยเกิดขึ้น ย่อม
ไม่มี ท่านอาจารย์จึงแสดงความข้อนี้ไว้ว่า ท่านได้กล่าวความไม่ปรากฏของเงื่อนตันไว้.

เหตุผลที่ยกธรรม ๒ ประการ เป็นยอด
[๕๔๕] ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเมื่อหรัสกถาเกี่ยวกับวัฏฏะ ย่อม
สธรรม ๒ ประการนี้ ทรงกระทำให้เป็นธรรมขั้นยอด ?

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2024, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




b6f6e1d9b30baf9da08f499d9d4c1b26_0.jpeg
b6f6e1d9b30baf9da08f499d9d4c1b26_0.jpeg [ 174.8 KiB | เปิดดู 1057 ครั้ง ]
ตอบว่า เพราะธรรม ๒ ประการนี้ เป็นเหตุพิเศษแห่งกรรมที่ให้ถึงสุคติและทุคติ
จริงอยู่ เหตุพิเศษแห่งกรรมที่ให้ถึงทุคติ ก็ได้แก่ อวิชชา เพราะเหตุไร ? เพราะปุถุชนผู้ถูก
อวิชชาครอบงำแล้ว ย่อมเริ่มทำกรรมที่ให้ถึงทุคติมือเนกประการ มีปาณาติบาตเป็นต้น
ซึ่งทั้งไม่เป็นที่พอใจเลย เพราะเร่าร้อนไปด้วยกิเลส ทั้งนำมาซึ่งความพินาศแก่ตน เพราะ
ทำให้ตกไปในทุคติ อุปมาเหมือนโคที่กำลังจะถูกฆ่า ถูกความเหนื่อยหอบเพราะลนไฟให้
ร้อน และถูกไม้ค้อนทุบครอบงำแล้ว เริ่มดื่มน้ำร้อนแม้ไม่ชอบใจเลย และแม้นำมาซึ่ง
ความพินาศแก่ตน เพราะความกระสับกระส่ายด้วยความเหนื่อยหอบนั้น

ส่วนเหตุพิเศษแห่งกรรมที่ทำให้ถึงสุคติ ได้แก่ ภวตัณหา เพราะเหตุไร ? เพราะ
ปุถุขนถูกภวตัณหาครอบงำ ย่อมปรารภกรรมที่ให้ถึงสุคติเป็นอเนกประการ มีเว้นจาก
ปาณาติบาตเป็นต้น ซึ่งเป็นกรรมที่น่าชื่นใจ เพราะเว้นจากความเร่าร้อนคือกิเลส และเป็น
กรรมบรรเทาความทุรุนทุราย คือ ทุกข์ในทุคติของตน เพราะทำสุคติให้ถึงพร้อม อุปมา
เหมือนโคมีประการที่ได้กล่าวไว้แล้ว เริ่มทำการดื่มน้ำเย็นซึ่งมีรสน่ายื่นใจ และบรรเทา
ความเหน็ดเหนื่อยของตนด้วยความอยากในน้ำเย็น ฉะนั้น

(๕๘๕) (๑๑๔) เมื่อควรจะกล่าวถึงผลตามสำคับของหตุ คืออวิชชซาละตัณหา
การกล่าวว่า สุคติทุคติคามิใน ดังนี้ เพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับสัททลักษณะ คือหลักไวยากรณ์.
เพราะว่าในทวันทสมาส คำที่ได้รับยกย่องท่านวางไว้ข้างต้น. ได้ยินว่า พวกคนบ้าเถื่อน
ย่อมฆ่าวัว ทำให้เนื้อร่อนออกจากกระดูก โดยลนโคให้ร้อน ทุบตีปอย ๆ แล้วให้ดื่มน้ำร้อน
เพื่อมิให้เนื้อติตกระตูก. ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ลนไฟให้ร้อน.

ในคำนั้นมือธิบายว่า อุปมาเหมือนโคที่กำลังจะถูกฆ่า ย่อมเริ่มอยากจะดื่มน้ำตาม
ที่กล่าวไว้แล้ว เพราะความที่มันถูกความไม่รู้ครอบง่า ฉันใด ปุถุชนย่อมปรารภกรรมที่เป็น
เหตุให้ถึงทุคตินี้ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วเหมือนฉันนั้น

อนึ่ง โคที่กำลังจะถูกฆ่านั้น เห็นโทษในการดื่มน้ำร้อน ย่อมต้องการดื่มน้ำเย็น ด้วย
อำนาจแห่งความอยาก ฉันใด ปุถุชนก็เหมือนฉันนั้น เห็นโทษในกรรมที่เป็นหตุให้สุคติ
เพราะความที่อวิชชาไม่มีกำลังนัก ย่อมปรารภกรรมที่เป็นเหตุให้ถึงสุคติด้วยอำนาจแห่ง
ตัณหา. จริงอยู่ ในความทุกข์ ตัณหาย่อมคล้อยตามอวิชยา ในความสุข อวิชขาย่อมคล้อย
ตามตัณหา คือความทะยานอยาก.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร