วันเวลาปัจจุบัน 22 ม.ค. 2025, 09:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2024, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8443


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1726377574974-removebg-preview.png
ei_1726377574974-removebg-preview.png [ 313.29 KiB | เปิดดู 1428 ครั้ง ]
แก้บทว่า สังขาร

[๕๙๒] คำว่าสังขารได้แก่ สังขาร ๖ ที่กล่าวว้โดยสังเขปในตอนต้นอย่างนี้ว่า
สังขาร ๓ มีบุญเป็นต้น สังขาร ๓ มีกายสังขารเป็นต้น ส่วนว่าโดยพิสดารในสังขารเหล่านี้
สังขารทั้ง ๓ เป็นเจตนา ๒๙ ดวง คือ
๑ มีเจตนา ๑๓ คือ กุศลเจตนาฝ่ายกามาวจร ๘ ที่เป็นไปด้วยอำนาจกุศล มีทาน
ศิล เป็นต้น และกุศลเจตนาฝ่ายรูปาวจร ๕ อันเป็นไปด้วยอำนาจภาวนาเท่านั้น ชื่อว่า
ปุญญาภิสังขาร.
๒ มือกุศลเจตนา ๑๒ ที่เป็นไปด้วยอ่านาจอกุศลกรรม มีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า
อปุญญาภิสังขาร และ
๓. กุศลเจตนาฝ่ายอรูปาวจร ๔ ที่เป็นไปด้วยอำนาจภาวนาเท่านั้น ชื่อว่า อาเนญ-
ชาภิสังขาร

ส่วนในสังขาร ๓ นอกนี้ กายสัญเจตนา ความเจาะจงทางกาย เป็นกายสังขาร
วจีสัญเจตนา
ความเจาะจงทางวาจา เป็นวจีสังขาร มโนสัญเจตนา ความเจาะจงทางใจ
เป็นจิตตสังขาร.
ติกะทั้ง ๓ นี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงความเป็นไปทางทวารแห่งอภิสังขาร มีปุญญา-
กิสังขารเป็นต้น โนขณะพยายามทำกรรม จริงอยู่ กุศลเจตนาฝ่ายกามาวจร ๘ ดวง ที่ยัง
กายวิญญัตติให้ตั้งขึ้นเป็นไปทางกายทวาร และอกุศลเจตนา ๑๒ ดวง ฉะนั้น จึงเป็นเจตนา
๒๐ ถ้วน ชื่อว่า กายสังขาร เจตนา ๒๐ ถ้วนเหล่านั้นแหละ ยังวจีวิญญัตติให้ตั้งขึ้นเป็นไป
ทางวจีทวาร จึงชื่อว่า วจีสังขาร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2024, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8443


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนอภิญญาเจตนาไม่เป็นปัจจัยแก่วิญาณต่อไป ฉะนั้น ท่านจึงไม่เอาในการ
ถือเอากายสังชารและวจีสังขารนี้ และอภิญญาเจตนาไม่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ฉันใด
แม้อุทธัจจเจตนาก็ไม่เป็น เหมือนฉันนั้น เพราะเหตุนั้น ถึงอุทธัจจเจตนานั้น ก็พึงคัด
ออกในความเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ แต่เจตนาทั้งปวงนั้นก็คงเป็นธรรมมือวิชชาเป็นปัจจัย
ก็เจตนา ๒๙ ทั้งหมดมานี่ ที่เกิดขึ้นในมโนทวารมิได้ยังวัญญัติทั้ง ๒ ให้ตั้งขึ้น จัดเป็น
จิตตสังขารแล
ติกะนี้ก็ผนวกเข้าติกะก่อนนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น ว่าโดยอรรถ
ก็พึงทราบความที่อวิชชาเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งอภิสังยาร มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น
นั้นเอ
[๕๙๒] (๑๒๕) คำว่า สังขารมีบุญเป็นต้น ได้แก่ อภิสังขารมีปุญญาภิสังขาร
เป็นต้น. ในคำว่าว่า ปุญญาภิสังขารนั้น มีวิฉัยดังนี้. ธรรมชาติชื่อว่า ปุญญาภิสังยารนั้น
มีวิเคราะห์ดังนี้ ธรรมชาติชื่อว่า ปุญญ เพราะมีความหมายว่า ชำระ คือทำสันดานของตน
ให้หมดจดจาผลของสิ่งที่มิใช่เป็นบุญ และจากความเศร้าหมองคือทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง
ย่อมทำบุญก็โดยมีอัธยาศัยใคร่ประโยชน์เกื้อกูลและความสุข เพราะฉะนั้น ธรรม-
ชาติชื่อว่า ปุญญ ก็เพราะมีความหมายว่า กระทําอัธยาศัยของผู้กาะทำให้เห็น ด้วยการยัง
ประโยชน์กื้อกูลและความสุขนั้นให้สำเร็จ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติชื่อว่า ปุญญ เพราะ
มีความหมายว่า ยังภพที่ควรบูชาให้บังเกิด. บุคคลผู้ยังความประสงค์ให้เต็ม และผู้ที่ยัง
ภพที่ควรบูชาให้เกิด ดังนี้ ก็พึงทราบว่า ชื่อว่า ปุญญ ตามนัยแห่งนิรุตติ. สภาวะชื่อว่า
อภิสงชาร โดยความหมายว่า ปรุงแต่ง แต่งผลของตนนั้นด้วย เป็นบุญด้วย เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่า ปุญญาภิสงฺขาร แปลว่า สภาพปรุงแต่งที่เป็นบุญ ธรรมชาติชื่อว่า อปุญญ
เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมชาติชื่อว่า ปุญฺญ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า อปุญญาภิสงุขาร
โดยปริยายต่างจากคำที่ได้กล่าวไว้แล้ว. ภพ ชื่อว่า ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะอยู่ไกลยิ่งแห่ง
ธรรมอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิ. ก็ธรรมใดย่อมปรุงแต่งภพที่ไม่หวั่นไหว เพราะเหตุนั้น ธรรม
นั้นชื่อว่า อาเนญชาภิสงขาร. ชื่อว่า กายสังขาร เพราะมีความหมายว่า เป็นสังขารที่กาย
ให้เป็นไปแล้ว หรือเพราะมีความหมายว่า สังขารที่เป็นไปทางกาย หรือเพราะมีความหมาย
ว่า กายสังขาร. แม้ในวจีสังขารและจิตตลังขารก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในสังขารทั้ง ๓ นั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2024, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8443


 ข้อมูลส่วนตัว


กถาว่าด้วยบทว่า เพราะอวิชขาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร

ติกะแรก ท่านอาจารย์ย์ถือเอาด้วยอ่านาจแห่งปริวิมังสนสูตร เป็นต้น จริงอยู่ ในที่นั้นมี
พระบาลีมาแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ปุญฺญญฺเจ สงฺขารํ อภิสงฺขโรติ ปุญญุปคํ โหติ วิญฺญาณํ
แปลว่า หากว่าบุคคลปรุงแต่งสังขารที่เป็นบุญ วิญญาณก็เป็นธรรมชาติเข้าถึงบุญ ติกะ
ที่ ๒ ท่านอาจารย์ถือเอาด้วยอำนาจวิภังคสูตร. จริงอยู่ ในที่นั้น พระผู้มิพระภาคตรัสว่า
ตโย เม ภิกฺขเว สงฺขารา กตเม ตโย ? กายสงฺขาโร วจีสงฺขาโร จิตฺตสงฺขาโร แปลว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขาร ๓ เหล่านี้ ๓ อะไรบ้าง ? คือ ๑ กายสังขาร ๒ วจีสังขาร
๓. จิตตสังขาร.

คำว่า ส่วนว่าโดยพิสดาร เป็นต้น เป็นคำอธิบายสังขารทั้งหลายมีปุญญาภิตั้งขาร
เป็นต้น โดยสรูปและโดยความต่าง. อันเป็นไปด้วยอำนาจภาวนาเท่านั้น คือไม่เป็นไปด้วย
อำนาจทานและศีล เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงแสดงบุญกิริยาวัตถุที่ได้อยู่ในปุญญาภิ-
สังขารนั้น. ก็เพราะอธิบายอย่างนี้ แม้เจตนาที่เป็นอรูป่าวจร ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า
ฮันเป็นไปด้วยอำนาจภาวนาเท่านั้น ส่วนอาจารย์เหล่าใดย่อมกล่าวว่า ด้วยศัพท์อันเป็น
อวธารณะว่า ภาวนาวเสเนว ท่านอาจารย์ย่อมห้ามเจตนาในอภิญญา. คำนั้นไม่ถูกต้อง
เพราะทำนปรารถนาความที่แม้เจตนาเหล่านั้นเป็นปุญญาภิสังขาร เหมือนอย่างในความที่
สังขารมือวิชชาเป็นปัจจัย เมื่อถือเอาเนื้อความโดยประกาอื่น การจะไม่รวมเอาอภิญญา
จิตตุปบาทไว้ในบุญกิริยาวัตถุนั่นเอง ก็ควรจะมี และคำว่า กุศลและบุญกิริยาวัตถุย่อมไม่
มี ดังนี้ ก็ไม่ถูกต้อง. ด้วย อาทิ ศัพท์ว่า ปาณาติปาตาทิ ท่านถือเอาอกุศลกรรมบถที่เหลือ
ลงจากกามาวจรกุศลเจตนาเท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้พึงเห็นว่า ท่านถือเอาแม้อกุศลธรรม
ไม่มีส่วนเหลือลง

คำว่า ส่วนในสังขารนอกนี้ ได้แก่ ในสังขารมีกายสังฆารเป็นต้น. เพื่อจะแสดง
ความเป็นไปทางทวารแห่งอภิสังขาร มีปุญญากิสังฆารเป็นต้น เมื่อเป็นไป ก็ย่อมเป็นไป
ทางทวารเหล่านี้. ท่านอาจารย์กล่าวคำว่า อภิญญาเจตนา เป็นต้น หมายถึงคำทักท้วงว่า
เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่า เจตนา ๒๐ ถ้วน. กุศลเจตนาและอกุศลเจตนา ที่ยังกาย-
วิญญัตติและวจีวิญญัตติให้ตั้งขึ้น ท่านก็เรียกว่า กายสังขารและวจีสังขารโดยแท้. เมื่อ
เป็นอย่างนี้ ก็ควรจะกล่าวความที่แม้อภิญญาเจตนาซึ่งเป็นกุศลเป็นไปแล้วอย่างนั้น เป็น
วจีสังขาร. บทว่า เอตฺถ โยค กายวจีสงขารคฺคหเณ แปลว่า ในการถือเอากายสังขารและ
วจีสังขารนี้บ้าง, โยค กายวจีสญเจตนาค์คหเณ แปลว่า ในการถือเอากายสัญเจตนา และ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2024, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8443


 ข้อมูลส่วนตัว


วจีสัญญาเจตนา คำว่าท่านจึงไม่ถือเอา คือท่านไม่ได้ถือเอาในอรรถกถาว่า อภิญญา
เจตนาไม่เป็นปัจจัยแกวิญญาณ
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรจึงไม่เป็น แม้อภิญญาเจตนานั้นก็เป็นกุศล และบายๆกเป็น
ธรรมดามิใช่หรือ ?

ตอบว่า ข้อนี้จริง แต่ว่าความที่อภิญญาจตนานั้น เป็นกุศลและเป็นวิบากธรรม
ท่านกล่าวไว้โดยความที่เป็นไปด้วยความพยายามของตน ในสันดานที่ยังมีตัณหาที่ยังตัด
ไม่ขาด หาใช่กล่าวไว้โดยข้อที่ยังวิบากให้เกิดขึ้นไป อนึ่ง อภิญญาเจตนานั้น เมื่อจะยัง
วิบากให้เกิดขึ้น ก็จะพึงยังวิบากที่เป็นรูปาวจรเท่านั้นให้เกิดขึ้น เพราะว่ากรรมที่เป็นไปใน
ภูมิอื่น ย่อมจะยังงิบากที่เป็นในในภูมิอื่นให้เกิดขึ้นก็หามิได้แล จะพึงยังวิบากที่มีอารมณ์
เหมือนกับตนและเป็นไปในฐานะ ๓ เท่านั้นให้เกิดขึ้น เพราะในจิตตุปปาทกัณฑ์ พระผู้มี
พระภาคตรัสรูปาวจรวิบากซึ่งมีอารมณ์เหมือนกับกรรมนั่นนั่นเอง

อนึ่ง รูปาวจรวิบากจะมีอารมเป๋เป็นกามาวจรเป็นต้นมีอยู่ ก็หามิได้ และอภิญญา
เจตนาจะมีอารมณ์เป็นกามาวจรเป็นต้นเท่านั้น ก็หามิได้ เพราะฉะนั้น จึงย่อมทำให้เข้าใจ
ว่าไม่ทำวิบากให้เกิดขึ้น. และอภิญญาก็เป็นอานิสงส์แห่งสมาธิในจตุตถฌาน ซึ่งโยคาวจรทำ
ให้เกิดยื่นในกสิณทั้งหลาย เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ภิกษุนั้นเมื่อจิตตั้งมันแล้วอย่างนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้น อภิญญาเจตนานั้นจึงเหมือนกับผลของสมาธิ และย่อมไม่ให้ผล เหมือนการ
ได้ปัจจัยในภพนั้น ซึ่งเป็นอานิสงส์ของทานและศีล เพราะฉะนั้น อภิญญาเจตนา
ย่อมไม่ทำวิบากให้เกิดขึ้นแล

และอภิญญาเจตนาไม่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ฉันใด แม้อุทธัจจเจตนาก็
ไม่เป็นเหมือนฉันนั้น นี่ควรพิจารณา เพราะพระผู้มีพระภาคทรงยกธรรมที่สหรคตด้วย
ฮูหลัจจะไว้แผนกหนึ่ง ตรัสไว้ว่า ญาณในวิบากของธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา
ก็การวิจารณ์นั้น ข้าพเจ้าได้วิจารณ์ไว้แล้วที่เดียวในกถาว่าด้วยอกุศล ในวรรณนาแห่งขันธ
นิทเทสในหนหลัง เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบตามนัยที่ได้วิจารณ์ไว้แล้วในที่นั้นนั่นแหละ
อีกประการหนึ่ง ในอธิการนี้ อาจารย์พวกหนึ่งย่อมกล่าวจำแนกคำใดไว้ มีความว่า
แม้ เพราะความไม่มีทีสสนะ (โสดาปัตติมรรค) และภาวนา (มรรคเบื้องบนอิก ๓] ทัสสนะ
และภาวนาก็จะพึงมีแก่ปุถุชนและเสียบุคคลเหล่าใด อกุศลที่ปุถุขนและเสขบุคคลเหล่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2024, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8443


 ข้อมูลส่วนตัว


กถาว่าด้วยบทว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
จะพึงอาจละได้ ในกาลที่ทัสสนะและภาวนานั้น เกิดขึ้นแก่ปุถุชนและเสขบุคคลนั้น
ย่อมเรียกได้ว่าเป็นอกุศลที่ทัสสนะจะพึงละ และว่าเป็นอกุคลที่ภาวนาจะพึงละ แต่เพราะ
ภาวนาไม่มีแก่ปุถุขนทั้งหลาย จึงไม่ต้องคิดถึงเรื่องอกุศลธรรมที่ภาวนาจะพึงละ ด้วย
เหตุนั้น อกุศลทั้งพลายที่เป็นไปอยู่แก่ปุถุชนเหล่านั้น แม้เป็น แม้เป็นธรรรมที่ไม่พึงละได้ด้วย
หัสสนะ ก็ไม่เรียกว่า ภาวนายปหาตัพพธรรม ธรรมที่ภาวนาจะพึงละ ถ้าจะพึงเรียกไซร้
ทัสสเนนปหาตัพพธรรม ก็จะพึงเป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย และ
อุปนิสสยปัจจัย แก่ภาวนายปหาตัพพธรรมบางเหล่า โดยปัจจัยบางอย่างในกาลบางคราว
ได้ ส่วนในปัฏฐาน ทัลสเนนปหาตัพพธรรม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นปัจจัยโดยปัจจัย
บางอย่างแก่ภาวนายปหาตัพพธรรมก็หามิได้

ส่วนอกุศลที่มีอยู่แก่เสขบุคคคคลที่จะพึงยาจละได้ด้วยภาวนา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
กาวนายปหาตัพพธรรม. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ธรรมที่ทัลสนะของเสขบุคคลจะพึงละได้
ก็ยังไม่เป็นธรรมที่น่าพอใจและน่ายินดียิ่งนัก เพราะความเป็นธรรมที่สละได้แล้ว เพราะ
ความเป็นธรรมที่คายได้แล้ว เพราะความเป็นธรรมที่หันไปแล้ว เพราะความเป็นธรรมที่
ละได้แล้ว เพราะความเป็นธรรมที่ลละคืนแล้ว เพราะความเป็นธรรมที่ละได้แล้วนั่นเอง
ธรรมที่เป็นเหตุแห่งโสมนัสและเป็นเหตุแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมไม่ยังโทมนัสและอุทธัจจะ
ให้เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ปหาตัพพธรรมเหล่านั้นจึงไม่เข้าถึงความเป็น อารัมมปัจจัย
อารัมมณาธิปติปัจจัย และความเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แห่งภาวนายปหาตัพพธรรมเหล่า
นั้น ก็พระอริยะผู้เข้าไปอาศัยกิเลสที่ละได้แล้ว ย่อมยังกิเลสมีราคะเป็นต้นให้เกิดขึ้นอีก
ก็หามิได้.

ข่อนี้ สมด้วยคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า กิเลสเหล่าใดอันโสดาปัตติ
มรรคละได้แล้ว บุคคลย่อมไม่มาอีก ย่อมไม่ย้อนมา ย่อมไม่กลับมาหากิเลสเหล่านั้น ฯลฯ
กิเลสเหล่าใดที่อรหัตตมรรคละได้แล้ว บุคคลย่อมไม่มาอีก ย่อมไม่ย้อนมา ย่อมไม่กลับมา
หากิเลสเหล่านั้น ก็อกุศลทั้งหลายที่ปุถุชนจะสามารถละได้ด้วยโสตาปัตติมรรค ก็หามิได้
จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า เป็นปัจจัยโดยปัจจัยอะไร ๆ ไม่ได้แพระอริยะบุคคลนอกนี้ เพราะ
พระผู้มีพระภาคตรัสความที่ทิฎฐิและวิจิกิจฉามีอุทธัจจะเป็นอารัมมณปัจจัยไว้ว่า บุคคล
ย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะปราภทิฏฐินั้น ย่อมเกิดราคะ ย่อมเกิดทิฏฐิ วิจิกิจฉา
อุทธัจจะ เพราะปรารภวิจิกิจฉา ย่อมเกิดวิจิกิจฉา ทิฏฐิ อัทธัจจะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2024, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8443


 ข้อมูลส่วนตัว


จะวินิจฉัยในพระบาลีนี้ต่อไป. คำว่า อุทธัจจะ พระผู้มีพระภาคตรัแหมายเอา
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ก็เพราะอธิบายอย่างนี้ในนิทเทสแห่งอธิปติบัติปัจจัย พระ
ผู้มีพระภาคจึงตรัสคำเพียงเท่านี้เองว่า เพราะกระทำทิฏฐืให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพลิดเพลินยินดี เพราะกระทำทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคาประเมิน ทิฏฐิ
ย่อมเกิด มิได้ตรัสว่า อุทธัจจะย่อมเกิด

เพราะฉะนั้น ในข้อที่ธรรมอันทัสสนะและภาวนาจะพึงละ พึงเป็นธรรมที่กล่าวไม่
ได้โดยความเป็อดีตเป็นต้น ความที่กรรนเช่นป็นธรรมที่ไม่เกิดขึ้นได้ จะพึงให้ถึงได้
ด้วยทัสสนะและภาวนาหล่านั้น ธรรมที่เป็นไปปุถุชนเหล่านั้นเล็งถึงทัสสนะ จะพึง
อาจละได้ด้วยทัสสนะนั้น ก็เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม. ที่เป็นไปอยู่ในเสขบุคคลเล็งถึง
ภาวนา จะพึงอาจละได้ด้วยภาวนานั้น ก็เป็นภาวนายปหาตัพพรรรม

ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ภาวนายปหาตัพพธรรม เว้นจากธรรมที่มีความเป็นไปร่วม
กัน ย่อมไม่ยังวิบากให้เกิด เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวความที่เจตนาในภาวนายปหาตัพพ.
ธรรม เป็นกัมมปัจจัยที่มีอยู่ในขณะต่างกัน แต่เพราะความที่ธรรมมีฉันทราคะเป็นต้น ใน
ภัณฑะของตน ซึ่งเว้นจากทัสสนะและภาวนาที่จะพึงเพ่งถึง อันเกิดอยู่ในปุถุขนทั้งหลาย
และกิเลสที่ตั้งอยู่เป็นอันเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ แห่งจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็น
ธรรมที่ยังเข้าไปตัดไม่ได้ ใคร ๆ จึงไม่อาจห้ามการยังวิบากให้เกิดขึ้นของธรรมที่มีความ
เป็นไปร่วมกันยังไม่หมดสิ้น เพราะฉะนั้น วิบากของธรรมที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ พระผู้มิ
พระภาศจึงตรัสไว้ในคัมภีร์วิภังค์

ถามว่า ถ้าอย่างนั้น อกุศลทั้งหลายที่เว้นจากทัสสนะและภาวนา ที่จะพึงเพ่งถึง
ก็จะต้องถึงความเป็นธรรมที่พูดไม่ได้ โดยความเป็นธรรมที่ทัสสนะก็ไม่ใช่ ภาวนา
จะพึงละ?

ตอบว่า ไม่ต้อง เพราะอัปปหาตัพพธรรม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมที่
หัสสนะก็ไม่ใช่ ภาวนาก็ไม่ใช่ จะพึงละ และเพราะความที่อกุศลทั้งหลาย ก็มีสภาพผิดไป
จากอัปปหาตัพพธรรม.
ถามว่า แม้อย่างนี้ ธรรมเหล่านั้นก็ต้องเป็นธรรมที่จะพึงพูดว่า "นวัตตัพพธรรม"
รรมที่จะพึงกล่าวไม่ได้ในติกะนี้ ?

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2024, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8443


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบว่า ไม่ต้อง เพราธอกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ในจิตตุปปาทกัณฑ์ ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยบททั้ง ๒ แล้ว. เหมือนอย่างว่าสังขตธรรม
ทั้งปวง ท่านลงเคราะห์ไว้เกี่ยวกับธรรม เพราะฉะนั้น ในอุปปันนติกะ ธรรมแม้ที่ไม่ได้ข
สงเคราะห์เกี่ยวกับกาลที่เป็นอดีต ท่านก็ไม่เรียกว่า นวัตตัพพธรรม เพราะไม่มีธรรมที่จะพึง
กล่าวไม่ได้อยู่ในธรรมที่ท่านถือเอาไว้ โดยความเป็นจิตตุปบาทและรูปธรรม ฉันใด แม้ใน
อธิการนี้ก็เหมือนฉันนั้น ความเป็นนวัตตัพพธรรม พึงทราบว่า ท่านมิได้กล่าวไว้เพราะไม่
มิธรรมที่จะพึงกล่าวไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้อยู่ในธรรมที่ท่านถือเอาโดยความเป็นจิตตุปบาท.
ก็ในที่ใดมีจิตตุปบาทบางดวงที่พึงกล่าวไม่ได้โดยการประกอบเข้า ในที่นั้นก็มีโกฏฐาสที่ ๔
ของธรรมเหล่านั้นอยู่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงจำแนกจิตตุปบาทที่ทรงจำแนก
แม้ในที่นั้นแล้ว ทำให้เข้าใจเหมือนอย่างในบทตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว ทำให้เข้าใจด้วยคำมีอาทิ
ว่า สียา นวฺตพฺพา ปริตฺตารมฺมณา แปลว่า ธรรมที่จะพึงกล่าวไม่ได้ว่าเป็นปริตตธรรม
ก็มี ตรัสไว้ในอุบปินมติกะเพราะไม่มีในธรรมนั้น ๆ แต่ในนี้มิได้ตรัสอย่างนั้น

ถามว่า อีกอย่างหนึ่ง มหาภูตรูป ๓ ไมรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า สัปปฏิมธรรม ธรรมที่
มีการกระทบกันได้ เพราะมีสภาพเหมือนกับสัปปฏิฆธรรมทั้งหลาย. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้
ว่า สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่มีการเห็นไม่ได้ แต่มีการ
กระทบได้.. มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น ฉันใด ธรรมที่เป็นไปอยู่แก่ปุถุชน
ทั้งหลายซึ่งมีสภาพเหมือนกับภาวนายปหาตัพพธรรม ก็ควรจะเรียกว่า ภาวนายปหาตัพพ
ธรรม เหมือนฉันนั้นหรือ ?

ตอบว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยความเป็นนวัตตัพพธรรม. และเมื่อเป็นอย่างนี้
ก็ย่อมเป็นอันได้เนื้อความข้อนี้ว่า ธรรมทั้งหลายแม้เป็นไปแก่ปุถุชนที่ภาวนาจะพึงละ เป็น
ต้นว่า ฉันทราคะในภัณฑะของตน เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ฉันทราคะเป็นต้น ในภัณฑะของ
บุคคลอื่นเป็นต้น. อนึ่ง ราคะก็เป็นอธิปติปัจจัยแก่ราคะและทิฏฐิ ส่วนมหาภูตรูป ๓ ใน
รูปธาตุก็มิใช่เป็นสัปปฏิฆธรรม คือธรรรมที่กระทบได้ใดยปรมัตถ์ เพราะมิใช่โผฏฐัพพะ ฉันใด
ธรรมทั้งหลายที่เว้นจากภาวนาที่จะพึงเล็งถึง เป็นไปอยู่ในหมู่ปุถุยน เป็นต้นว่า ฉันทราคะ
ในภัณฑะของตน ก็มีใช่ว่าเป็นภาวนายปหาตัพพธรรมโดยปามัตถ์ เหมือนฉันนั้น เพราะ
ฉะนั้น จึงมิได้ตรัสความที่ภาวนายปหาตัพธธรรมเป็นกัมมปัจจัย อันเป็นไปในขณะต่างกัน
อนึ่ง ทัสสเนนปหาตัพพธรรม ตรัสว่าเป็นปัจจัยโดยปัจจัยบางประการแก่ภาวนายปหาตัพพะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2024, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8443


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมก็หามิได้. แท้จริง กิเลสเหล่าใดซึ่งมีความเป็นธรรมที่โสตาปัตติมรรคจะพึงละเป็น
ปัจจัย กิเลสเหล่านั้นจะเป็นไปเหนือโสตาปัตติมรรคก็หามิได้. ส่วนสำหรับธรรม
ด้วยอุธัจจะ แต่มีความเป็นธรรมที่โสดาปัตติมรรคพึงละเป็นปัจจัย โสตาบัตติมรรคก็
กระทำหน้าที่เพียงความบกพร่องของธรรรมที่เป็นไปร่วมกันเท่านั้น ภาวะอะไร ๆ ที่จะถูก
โสตาปัตติมรรคให้ถึงความเป็นธรรมที่มีความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดาก็หามิได้ เพราะฉะนั้น
จึงตรัสความที่ธรรมสหรคตด้วยอุทธัจจะนั้น เป็นภาวนายปหาตัพพธรรมโดยส่วนเดียว
เพราะเหตุนั้น เมื่อมีธรรมที่เป็นไปร่วมกันของธรรมที่สหรคตด้วยอุทธัจจะนั้นเช่นนั้นนั่นเอง
การกล่าวถึงข้อที่ทำวิบากให้เกิดขึ้นก็ไม่ผิด และเมื่อไม่มีการกล่าวถึงข้อที่ไม่ทำวิบากให้เกิด
ก็ย่อมไม่ผิดเลย. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า คำทั้งหมดนี้นั้น เป็นเพียงวา
อัจฉริยบุรุษของท่านอาจารย์เหล่านั้น.

เพราะเหตุไร ?
เพราะธรรมที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็นภาวนายปหาตัพพธรรมโดยส่วนเดียว. ก็
เมื่อเป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ธรรมที่มรรคเบื้องบนสูง ๓ จะพึงละ คืออะไร
บ้าง ? คือจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ. ก็ถ้าคำนั้นเป็นคำที่น่าปรารถนาไซร้ แม้ใน
อธิการนี้ พระมีพระภาศเดิตรัสไว้ว่า ธรรมที่นาดเบื้องนสูง จะพึงสะโดยเฉพาะไม่มี
ดังนี้แล้ว ก็ควรจะตรัสว่า ธรรมที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นธรรมที่มรรคเบื้องบนสูง ๓ จะ
พึงละก็มี เป็นธรรมที่พึงกล่าวไม่ได้ก็มี เหมือนอย่างในอตีตารัมมณติกะได้ตรัสจำแนกไว้
โดยตรัสว่า ธรรมที่มีอารมณ์เป็นอนาคตโดยเฉพาะไม่มี. ก็ข้อยุตติใดที่ท่านอาจารย์ผู้จะทำ
คำนั้นให้สำเร็จประโยชน์ ได้กล่าวไว้ด้วยคำเป็นต้นว่า ถ้าอาจารย์ทั้งหลายจะพึงกล่าวไซร้
แม้ข้อยุตตินั้นก็ยังไม่เป็นอันยุตติ.

เพราะเหตุไร ?
เพราะภาวะที่ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และอุทธัจจะ อันมีอารมณ์ที่โสตาปัตติมรรคจะ
พึงละ เป็นธรรมที่ไสตาปัตติมรรคจะพึงละนั่นเอง ท่านได้ปรารถนาไว้แล้วแล
ส่วนคำใดที่ท่านอาจารย์กล่าวไว้ว่า จิตตุปบาทอันสหรคตด้วยอุทธัจจะ พระผู้มีพระ
ภาคตรัสไว้ในพระบาลี ด้วยศัพท์ว่า อุทธัจจะ ท่านกล่าวเป็นต้นเค้าไว้ มิได้อธิบายอุทธัจจะ
ในนิทเทศแห่งอธิปติปัจจัย เพื่อจะยังค่านั้นให้เป็นที่เข้าใจ แม้คำนั้นก็มิใช่เป็นคำต้นเค้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2024, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8443


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะในปัฏฐานทรงแสดงปาฐะที่ยังมีส่วนเหลือไว้ จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคทรง
กระทำการถือเอาเจโตปริยญาณในวิภังค์แห่งบทเหล่านี้ว่า ธรรมที่เป็นอดีตเป็นปัจจัยโดย
อารัมมณปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นปัจจุบัน ธรรมที่เป็นอนาคตเป็นปัจจัยโตยอารัมมณปัจจัยแก่
ธรรมที่เป็นปัจจุบัน มิได้ทรงยกธรรมแม้ที่ได้อยู่ในวิภังค์แห่งบทนี้ว่า ธรรมที่เป็นปัจจุบัน
เป็นปัจจัยโดยอารัมมณ์ปัจจัยแก่ธารมที่เป็นปัจจุบัน.

เมื่อภาวนายปหาตัพพธรรมในวิบาก ก็ควรจะพิจารณาการเข้าถึงความเป็นธรรมที่
เป็นไปร่วมกันของทัสสเนนปหาตัพพธรรม.

ถามว่า ธรรมชาติที่โสตาปัตติมรรคจะพึงละ ย่อมเข้าถึงความเป็นธรรมที่เป็นไป
ร่วมกันของธรรมชาติที่มรรคเบื้องบนสูง ๓ จะพึงเกี่ยวกับฐานะเพราะทานและศีลเป็นต้น
สามารถให้วิบากแก่การเกิดขึ้นนั่นเอง เหมือนอย่างอวิชชาเป็นต้น หรือเมื่อกรรมให้ปฏิสนธิ
เหมือนอย่างกิเลสเล่า ?

ตอบว่า ในข้อนี้มีข้อที่จะควรพูดถึงอยู่บ้าง คือถ้าเบื้องตันฝ่ายแรก ธรรมชาติที่
มรรคเบื้องบนสูง ๓ จะพึงละ อันเป็นไปอยู่ในสันตานของเลยบุคคล ก็จะต้องเป็นกิริยา
เพราะมีธรรมที่ใสตาปัตติบรรคจะพึงละ ได้ละไปแล้ว เหมือนอย่างทานที่เป็นไปในสันดาน
ที่มีอวิชชา ตัณหา และมานะ ละได้แล้วเป็นต้น ถ้าเป็นฝ่ายที่ ๒ แม้ธารมที่มรรคเบื้องบน
สูง ๓ จะพึงละนั้น ก็ต้องเป็นธรรมที่โลดาบัตติมรรคจะพึงละ เพราะความไม่เป็นไปล่วง
สภาวะที่จะไปสู่อบาย เพราะฉะนั้น เมื่อธรรมที่สหรคตด้วยอุทธัจจะจะให้วิบากได้ ตามนัย
ที่ได้วิจารณ์ไว้แล้วในหนหลังนั่นเอง บัณฑิตก็ควรจะทราบข้อวินิจฉัยความในที่นี้ โดยไม่ผิด
ไปจากพระบาลีและอรรถกถา.

บทว่า สาปิ โยค อุทฺธจฺจเจตนาปี แปลว่า ถึงอุทธัจะเจตนานั้น คำว่า ในความ
เป็นปัจจัยแกวิญญาณ คือ ในความเป็นปัจจัยแก่วิบากวิญญาณที่สมบูรณ์. หากจะต้องคัด
ออก ท่านอาจารย์กล่าวไว้ว่า เจตนา ๒๐ ถ้วน ดังนี้เพราะเหตุไร เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์
เมื่อจะแสดงเหตุของคำนั้น จึงกล่าวว่า แต่เจตนาทั้งปวงนั้นก็คงเป็นธรรมมีอวิชชาเป็น
ปัจจัย.
ท่านอาจารย์ย่อมแสดงความที่แม้อภิญญาเจตนาก็เป็นปัจจัยด้วย ถ้าอย่างนั้น ก็
ควรจะกล่าวว่าเป็น ๒๑ ดวง กับอภิญญาเจตนา แต่ท่านมิได้กล่าวไว้ เพราะการไม่กล่าว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2024, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8443


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างนั้นมีเหตุดังได้กล่าวไว้แล้ว ก็การที่ไม่ได้กล่าวอย่างนั้น เป็นเหตุของการที่ไม่ได้กล่าว
นอกนี้ เพราะฉะนั้น ท่านเล็กถึงเหตุอันในการที่ไม่กล่าวเจตนาอันหนึ่งซึ่งมีรูปเสมอกัน
จึงมิได้กล่าวเจตนาอันหนึ่งไว้ ท่านอาจารย์ย่อมแสดงภาวะที่ไม่พึงจะกล่าวแม้ของเจตนา
ที่ได้กล่าวไว้แล้วด้วยเหตุนั้น.

(๑๒๖) คำว่า ติกะนี้ ได้แก่ ติกะที่กำหนดด้วยกายสังขารเป็นข้อต้น. คำว่า ติกะ
ก่อน ได้แก่ ติกะที่กำหนดด้วยปุญญาภิสังขารเป็นข้อต้น. คำว่า ผนวกเข้า คือ ผนวกถ้อย-
คำเข้า จริงอยู่ ปุญญาภิสังขารอันแจกเป็นฝ่ายเจตนาฝ่ายกามาวจร ๔ ดวง เป็นกาย-
สังขารของบุคคลผู้เว้นจากกายทุจริตก็มี เป็นวจีสังยารของบุคคลผู้เว้นจากวจีทุจริตก็มี.
เจตนาทั้ง ๑๓ ตวง ที่เกิดขึ้นในมโนทวาร ย่อมเป็นปุญญาภิสังขารและเป็นจิตตสังยาร.
แม้อปุญญาภิสังขารเป็นกายสังขารก็มี ในขณะที่เป็นไปด้วยอำนาจกายทุจริต เป็นจิตตสังขาร
ในณะที่เป็นไปด้วยอำนาจวจีทุจริต เป็นจิตตสังขารและเป็นอเนญชาภิสางขารก็มี
ในขณะที่เว้นทวารทั้ง ๒ เป็นไปในมโนทวาร ติกะที่ ๒ ย่อมผนวกเข้ากับติกะแรกนั่นเอง
ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ว่าโดยอรรถ ก็พึงทราบ
ความที่อวิชชาเป็นปัจจัยด้วยอำนาจแห่งอภิสังขาร มีปุญญาภิสังขารเป็นต้นนั่นเอง.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร