วันเวลาปัจจุบัน 27 ธ.ค. 2024, 01:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2024, 04:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8375


 ข้อมูลส่วนตัว




illustration-guru-purnima-celebrated-by-hindus-buddhists-thank-their-teachers-ai-generated_852336-14345 (1) (1).jpg
illustration-guru-purnima-celebrated-by-hindus-buddhists-thank-their-teachers-ai-generated_852336-14345 (1) (1).jpg [ 123.28 KiB | เปิดดู 742 ครั้ง ]
จำแนกกรรม ๔ อย่าง

[๖๘๕] ในบรรดากรรมและวิบากนั้น กรรมมี ๔ อย่าง คือ ~
๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติปัจจุบัน.
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติถัดไป.
๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติถัดต่อไป.
๔. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผลแล้ว.
อธิบาย กรรม ๔ อย่าง

ในบรรดากรรม ๔ อย่างนั้น ชวนเจตนาดวงแรก เป็นกุศลก็ตาม เป็นอกุศลก็ตาม
ในจิต ๗ ดวง ในชวนวิถีเดียวกัน ชื่อว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
นั้นให้วิบากในอัตภาพนี้เท่านั้น แต่เมื่อไม่อาจอย่างนั้น ก็จะกลายเป็นชื่อว่า อโหสิกรรม ไป
ด้วยอำนาจติกะนี้ว่า "อโหสิกรรม ได้แก่ วิบากของกรรมไม่ได้มีแล้ว วิบากของกรรมจักไม่มี
ส่วนชวนเจตนาดวงที่ ๗ ที่ยังผลให้สำเร็จ ชื่อว่า อุปปัชชเวทนียกรรม อุปบัยชเวท-
นียกรรมนั้นให้วิบากในอัตภาพถัดไป เมื่อไม่สามารถอย่างนั้น ก็จะกลายเป็นชื่อว่า อโหสิ-
กรรมไป ตามนัยที่ได้กล่าวแล้วนั่นแหละ. ชวนเจตนา ๕ ดวง ในระหว่างชวนเจตนา ๒ ดวง
นั้น ชื่อว่า อปราปริยเวทนียกรรม อปราปริยเวทนียกรรมนั้นได้โอกาสเมื่อใด ในอนาคต
ย่อมให้วิบากเมื่อนั้น เมื่อความเป็นไปแห่งสงสารยังมีอยู่ ย่อมไม่ชื่อว่าเป็นอโหสิกรรม.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2024, 04:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8375


 ข้อมูลส่วนตัว




8baea75401c29648289f113af8515bf9.jpg
8baea75401c29648289f113af8515bf9.jpg [ 54.73 KiB | เปิดดู 738 ครั้ง ]
กรรม ๔ อย่าง

(๖๘๕] อัตภาพปัจจุบันที่ประจักษ์เรียกว่า ทิฏฐธรรม กรรมมีอันจะพึงพึงเสวยใน
อัตภาพปัจจุบันนั้น ชื่อว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมมีผลอันจะพึงเสวยใช้ในลำดับต่อจาก
ปัจจุบันภพไป ชื่อว่า อุปปัชชเวทนียกรรม.
บทว่า อปราปริยาเย ในภพต่อ ๆ ไป ความว่า ในการเปลี่ยนอัตภาพ คือในการเวียน
อัตภาพเป็นอย่างอื่น โดยเป็นอัตภาพปัจจุบัน อัตภาพถัดจากปัจจุบัน และอัตภาพอนาคต.
คำว่า อโหสิกรรม คือกรรมที่ได้มีแล้วนั่นเอง วิบากของอโหสิกรรมนั้นไม่ได้มี, เป็น
กรรมที่ควรกล่าวอย่างนี้ว่า "มีอยู่ หรือ จักมี". ชวนเจตนาดวงแรกที่ถึงความเป็นธรรมชาติ
มีกำลัง เพราะความเป็นธรรมชาติถูกปฏิปักษ์ครอบงำไม่ได้ และเพราะความเป็นธรรมชาติ
มีความพิเศษ อันได้แล้วด้วยความต่างแห่งปัจจัย เป็นธรรมชาติพิเศษเป็นไปด้วยอำนาจ
อภิสังขารเบื้องต้นเช่นนั้น ให้ผลในอัตภาพนั่นเอง ชื่อว่า ทิฏฐธรรมเวทนียา แปลว่า ให้ผล
ในปัจจุบัน.

ก็เจตนานั้นจัดเป็นชวนเจตนาดวงแรก เพราะเป็นไปด้วยอำนาจวิธีแห่งอุปการะใน
สภาวะที่ประกอบด้วยคุณวิเศษ ในความสืบต่อแห่งขวนะที่มีกำลังโดยประการที่กล่าวแล้ว
และเพราะเป็นกรรมที่มีวิบากน้อยด้วยการไม่ได้อาเสวนะ ยังไม่จัดเป็นกรรมที่เล็งถึงสภาวะ
ที่มีอยู่ในปวัตติกาลและที่เล็งถึงการได้โอกาส เหมือนอย่างขวนเจตนา ๒ ดวงนอกนี้ เพราะ
เหตุนั้น จึงเป็นเหมือนเพียงดอกไม้ในที่นี้ทีเดียว ย่อมให้ผลแต่เพียงเป็นวิบากในปวัตติกาล.

คำว่า แต่เมื่อไม่อาจอย่างนั้น ความว่า ชื่อว่า การให้วิบากของกรรมย่อมมีได้เพราะ
ความพร้อมเพรียงแห่งปัจจับอื่นมีอุปธิและปโยคะเป็นต้นนั่นเอง เพราะเหตุนั้น เมือไม่อาจ
ให้วิบากในอัตภาพนั้น เพราะความไม่มีปัจจัยอื่นมีอุปธิและวิบากเป็นต้นนั้น คำว่า ที่ยังผล
ให้สำเร็จ คือที่ยังผลมีการให้ทานเป็นต้น และมีปาณาติบาตเป็นต้นให้สำเร็จ. ท่านอาจารย์
กล่าวว่า ชวนเจตนาดวงที่ ๗ ดังนี้ เพื่อจะเฉลยคำถามว่า ก็เจตนานั้นคือเจตนาอะไร. ก็
เจตนาทีให้สำเร็จลงนั้นเป็นธรรมชาติได้คุณวิเศษตามนัยที่กล่าวแล้ว และได้อาเสวนะจาก
ชวนเจตนาดวงก่อน ๆ ให้วิบากอัตภาพถัดไป ชื่อว่า อุปปัชชเวทนียกรรม. ด้วยคำว่า
เมื่อความเป็นไปแห่งสงสารยังมีอยู่ นี้ ท่านอาจารย์ย่อมแสดงว่า เมื่อไม่มีความเป็นไป
แห่งสงสาร อุปปัชชเวหนียกรรมย่อมตั้งอยู่ในฝ่ายอโหสิกรรม เพาระไม่มีโอกาสให้ผล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร