วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2024, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




f68816d458d82cf41601bcc1713b193d.jpg
f68816d458d82cf41601bcc1713b193d.jpg [ 59.3 KiB | เปิดดู 948 ครั้ง ]
อธิบาย กรรม ๔ อย่าง อีกนัยหนึ่ง

[๖๘๖] กรรม ๔ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. ครุกกรรม กรรมหนัก.
๒. พหุลกรรม กรรมหนา.
๓. อาสันนกรรม กรรมที่ทำเวลาใกล้ตาย.
๔. กฏัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าเป็นอันทำ.
ในบรรดากรรม ๔ อย่างนั้น กรรมที่เป็นกุศลหรือเป็นอกุศลก็ตาม ในกรรมหนัก
หรือไม่หนัก กรรมใดหนัก ได้แก่ เป็นกรรมที่มีมาตุฆาตเป็นต้น หรือเป็นมหัคคตกรรมก็ตาม
กรรมหนักนั้นย่อมให้ผลก่อน.
เช่นเดียวกัน แม้ในบรรดาพหุลกรรม กรรมหนา และอพหุลกรรม กรรมไม่หนา
กรรมใดเป็นกรรมหนา คือ ความเป็นผู้มีศีลดี หรือครามเป็นผู้มีศีลเลว กรรมนั้นเหละย่อม
ให้ผลก่อน.
กรรมใดที่ชื่อว่า อาสันนกรรม กรรมที่ทำเวลาใกล้ตาย คือกรรมที่ระลึกในเวลาใกล้
ตาย เพราะกรรมใดที่คนใกล้ตายสามารถระลึกได้ เขาย่อมเกิดด้วยกรรมนั้นนั่นเทียว.
ส่วนกรรมพันไปจากกรรม ๓ เหล่านี้ ได้อาเสวนะบ่อย ๆ ชื่อว่าเป็น กฏัตตาวปน
กรรม
เมื่อกรรมทั้ง ๓ นั้นไม่มี กฏัตตาวาปนกรรมนั้นย่อมชักปฏิสนธิมาได้
กรรม ๔ อย่าง อีกนัยหนึ่ง
[๖๘๖] (๒๒๔) คำว่า กรรมใดหนัก ความว่า กรรมใดเป็นอกุศลมีโทษมาก เป็น
กุศลมีอานุภาพมาก. คำว่า กรรมใดหนา ความว่า กรรมใดหนา คือได้กระทำเนือง ๆ เสพ
จนคุ้น. คำว่า ที่ระลึกในเวลาใกล้ตาย ความว่า ที่ระลึกได้ในกาลใกล้ต่อความตาย ด้วย
ความเป็นกรรมชัดเจน ข้อนี้ สมกับคำที่ได้กล่าวไว้ว่า คำที่จะพึงกล่าวในกรรมที่ทำไว้ใน
เวลาใกล้ตายย่อมไม่มี. ด้วยคำว่า ได้อาเสวนะบ่อย ๆ นี้ ท่านอาจารย์ย่อมทำเนื้อความ
ให้ต่างไปจากความที่กล่าวไว้ว่า กรรมใดหนา ย่อมห้ามทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเหมือนกัน
เพราะย่อมรับการฉุดมาสู่ปฏิสนธิได้. ก็ท่านกล่าวกรรม ๕ อย่าง มีครุกกรรมเป็นต้น เนื่อง
ด้วยเป็นกรรมให้เกิดปฏิสนธิ.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2024, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ในบรรดากรรม ๔ อย่างนั้น ครุกกรมย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นทั้งหมด. จริงอย่าง
นั้น กรรมนั้นท่านจึงกล่าวว่า ครุกกรรม. เมื่อครุกรรมไม่มี พหุลกรรมย่อมให้ผล เมื่อ
พหุลกรรมนั้นไม่มี อาสันนกรรมย่อมให้ผล แม้เมื่ออาสันนกรรมนั้นไม่มี กรรมที่ทำไว้ในชาติ
ก่อนที่กล่าวว่า กฎัตตาวาปนกรรม ย่อมให้ผล. ก็บัณฑิตพึงทราบความแรงและไม่แรงใน
พหุลกรรม อาสันนกรรม และกรรมที่กระทำไว้ก่อนบ้าง คือความต่างแห่งกรรมชั่ว จาก
กรรมชั่ว จัดเป็นกรรมดี ความต่างแห่งกรรมดี จากกรรมดี จัดเป็นกรรมชั่ว กรรมที่ทำไว้
ก่อนเป็นต้น จากกรรมที่ทำไว้มาก และจากกรรมใหญ่ จัดเป็นกรรมน้อย.

กรรมที่แรงอันเหตุนั้นๆตั้งไว้ ย่อมให้ผลก่อน คือโดยที่กรรมอันเริ่มวิบากไว้ เพราะ
ความที่กรรมอันเป็นปฏิปักษ์ยังไม่ครบถ้วน โดยที่ทำให้เกิดวิปฏิสารเป็นต้น ด้วยการระลึก
ถึงพหุลกรรม หรือกรรมที่เหลือจะให้ผลในภพต่อ ๆ ไป ยังมีความต่างแห่งความเปลี่ยน.
แปลงแห่งความสืบต่อ เพราะเป็นกรรมที่ยังไม่สิ้นไป. ในเรื่องนี้มีเสนาบดีชื่อ อลาตะ ทาส
ชื่อ พีชกะ และพระราชกัญญาพระนามว่า รุจา ในมหานารทกัสสปชาดกเป็นตัวอย่าง.

จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
ดูกรอานนท์ ในบุคคล ๕ จำพวกนั้น บุคคลที่เป็นผู้มักทำปาญาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นผิดในโลกนี้ เมื่อเขาตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้
เป็นอันว่าเขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อน ๆ หรือในกาลภายหลัง หรือ
ว่ามีมิจฉาทิฏฐิที่ตนยึดไว้มั่นคงในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น เมื่อเขาตายไป จึงเข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้ทำปาญาติบาต ฯลฯ มีความ
เห็นผิดในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้ ในชาติหน้า หรือใน
ชาติต่อไป.

ดูกรอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่เป็นผู้มักทำปาปาณาติบาติบาตฯ
มีควานเห็นผิดในโลกนี้ เมื่อเขาตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสรรค์นี้ เป็นอันว่าเขา
ทำกรรมดีที่ให้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อน ๆ หรือในกาลภายหลัง หรือว่ามีสัมมาทิฏฐิ
ที่ตนยึดไว้อย่างมั่นคงในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น เมื่อเขายไป จึงเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้ทำปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้นั้น
เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้ ในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2024, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่เว้นชาดจากปาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบในโลกนี้ เมื่อเขาตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสรรค์นี้ เป็นอันว่าเขา
ทำกรรมดีที่ให้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อน ๆ หรือในกาลภายหลัง หรือว่ามีสัมมาทิฏฐิ
ที่ตนยึดไว้อย่างมั่นคงในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น เมื่อเขาตายไป จึงเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ ก็แหละบุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นขอบในโลก
นี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้ ในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป.
ดูกรอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบในโลกนี้ เมื่อเขาตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้
เป็นอันว่าเขากระทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ในกาลก่อน ๆ หรือในกาลภายหลัง
หรือว่ามีมิจฉาทิฏฐิที่ตนยึดไว้อย่างมั่นคงในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น เมื่อเขาตาย
ไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็แหละบุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต
ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้ ในชาติ
หน้า หรือในชาติต่อไป ดังนี้.
จะพูดมากไปทำไม อันนี้เป็นวิสัยของมหากรรมวิภังคญาณแห่งพระตถาคตเท่านั้น
ซึ่งเข้าใจความที่กรรมนั้น ๆ ให้ผลก่อนหลังกันด้วยเหตุนั้น ๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร