วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 07:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2024, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8581


 ข้อมูลส่วนตัว




illustration-guru-purnima-celebrated-by-hindus-buddhists-thank-their-teachers-ai-generated_852336-14345 (1) (1).jpg
illustration-guru-purnima-celebrated-by-hindus-buddhists-thank-their-teachers-ai-generated_852336-14345 (1) (1).jpg [ 126.39 KiB | เปิดดู 1092 ครั้ง ]
โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น ไม่นับเป็นองค์

โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ และ อุปายาสะ ๕ ประการนี้ไม่นับเป็นองค์
แห่งปฏิจจสมุปปาท เพราะว่าธรรมเหล่านี้เป็นเพียงผลของชาติเท่านั้น ชรา มรณะ ก็เป็น
แต่เพียงผลของชาติเช่นเดียวกัน แต่นับว่าเป็นองค์แห่งปฏิจจสมุปปาทด้วย ก็ด้วยเหตุว่าเมื่อ
มีชาติ คือความเกิดปรากฏขึ้นมาแล้ว จะไม่มีความแก่ความเสื่อมโทรมและความตายติดตาม
มาตัวนั้นเป็นไม่มีเลย เมื่อมีชาติก็ต้องมีชรานีมรณะเป็นของเน่นอน แต่ว่าเมื่อมีชาติแล้ว
อาจไม่มี โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ และอุปายาสะ เลยก็ได้ เช่นพรหมบุคคล
เป็นต้น เพราะรรรม ๕ ประการนี้ย่อมต้องเกิดพร้อมกับโทสจิต พรหมบุคคลผู้ข่มโทสจิตได้
ไม่เกิดโทสจิตเลย ดังนั้นจึงมี โสกะ ความเศร้าโศก. ปริ้เทวะ ความบ่นพร่ำรำพัน ทุกขะ
ความทุกข์กาย, โทมนัสสะ ความเสียใจ และอุปายาสะ ความคับแค้นใจ แต่อย่างใดเลย

โสกะ

ลักขณาทิจตุกะของโสกะ คือ
อนฺโตนิชฺฌานลกฺขโณ มีการเผาอยู่ภายใน หรือมีความเดือดร้อนใจเป็นลักษณะ
เจโตปรินิชฺฌายนรโส ทำให้จิตเต็มไปด้วยความเดือดร้อน เป็นกิจ
อนุโสจนปจฺจุปฏฺฐาโน มีความโศกเศร้าอยู่เนื่อง ๆ เนื่องจากความพิบัติที่ตนประสบ
อยู่นั้น เป็นอาการปรากฏ
โทสจิตฺตุปุปาทปทฎธาโน มีโทสจิตตุปฺปาท เป็นเหตุใกล้
โสกะ คือความโศกเศร้านี้ องค์ธรรมได้แก่ โทมนัสเวทนาที่ประกอบกับโทสะ อัน
เกิดจาก พยสนะ อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๕ อย่างนี้ คือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2024, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8581


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. ญาติพยสนะ ความพิบัติไปแห่งญาติ หมายถึงมิตรสหายด้วย
๒. โภคพยสนะ ความพิบัติไปแห่งทรัพย์สมบัติ ตลอดจนยศศักดิ์ด้วย
๓. โรคพยสนะ ถูกโรคภัยเบียดเบียน
๔. สีลพยสนะ ความเสียศีล ศีลที่รักษาอยู่นั้นขาดไป
๕. ทิฏฐิพยสนะ. ความเห็นที่ถูกต้องนั้นพิบัติไป มีความเห็นผิดเกิดขึ้น ทำให้สูญเสีย
สัมมาทิฏฐิไป

ปริเทวะ

ปริเทวะ คือการร่ำไห้พิไรรำพัน องค์ธรรมได้แก่ จิตตชวิปัลลาสสัททะที่เกิดขึ้น
โดยมีการร้องไห้บ่นพร่ำรำพัน เพราะอาศัย พยสนะ ๕ นั้นเป็นสาเหตุลักขณาทิจตุกะของ
ปริเทวะ คือ

ลาลปฺปนลกฺขโณ มีการพิลาปรำพัน เป็นลักษณะ
คุณโทปริกิตฺตนรโส มีการพร่ำถึงคุณและโทษ เป็นกิจ
สมฺภมปจฺจุปฏฺฐาโน มีจิตวุ่นวาย ไม่ตั้งมั่น เป็นอาการปรากฏ
โทสจิตฺตชมหาภูตปทฏฺฐาโน มีมหาภูตรูป ที่เกิดจากโทสจิต เป็นเหตุใกล้

ทุกขะ

ธรรมชาติใดที่ทำลายความสุขกาย ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ทุกข์, สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมอดทนให้ยากต่อเวทนาใด เวทนานั้นชื่อว่า ทุกข์, เวทนาที่อดทนได้ยาก ฉะนั้นชื่อว่า
ทุกข์ ได้แก่ กายิกทุกขเวทนา คือ ทุกข์กาย ลักขณาพิจทุกะของทุกข์ คือ
กายปีฬนลกฺขณํ เหตุการถนเบียดเบียนร่างกาย เป็นลักษณะ
ทุปฺปญฺญานํ โทมนสฺสกรณรสํ มีการทำให้โกรธ เสียใจ กลุ่มใจ กลัว เกิดขึ้นแก่ผู้ที่มีปัญญา
น้อย เป็นกิจ
กายิกาพาธปจฺจุปฏฺฐานํ มีความป่วยทางกาย มีอาการปรากฎ
กายปสาทปทฏฺฐานํ มีกายปสาท เป็นเหตุใกล้

ความทุกข์กายนี้นอกจากบียดเบียนร่างกายแล้ว ยังสามารถเบียดเบียนจิตใจอีกด้วย
กล่าวคือ เมื่อร่างกายไม่สบายแล้ว ก็ย่อมจะทำให้กลุ่มใจ เสียใจไปด้วย ดังนั้นจึงจึงจัดว่า
ทุกข์กายนี้เป็นทุกข์พิเศษ ซึ่งจำแนกได้เป็น ๗ คือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2024, 15:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8581


 ข้อมูลส่วนตัว


๑, ทุกขทุกข ได้แก่ กายิกทุกขเวทนาและเจตสิกทุกขเวทนา ที่เรียกว่าทุกขทุกข์
เพราะเมื่อว่าโดยสภาพ ก็มีสภาพเป็นทุกข์ ว่าโดยชื่อ ก็มีชื่อเป็นทุกข์
กายิกทุกขเวทนา ได้แก่ ทุกขสหคตกายวิญญาณ ๑ เจดสิก ๗
เจตสิกทุกขเวทนา ได้แก่ โทมนัสสหคตจิต ๒ เจตสิก ๒๒
๒. วิปริณามทุกฺข ได้แก่ กายิกสุขเวทนา และเจตสิกสุขเวทนาที่เรียกว่า วิปริณาม
ทุกข์ เพราะสภาพของสุขทั้ง ๒ นี้จะต้องวิปริตแปรปรวนไป เมื่อแปรปรวนไปแล้วก็เป็นเหตุให้
กายิกทุกข์ และ เจตสิกทุกข์เกิดขึ้น
กายิกสุขเวทนา ได้แก่ สุขสหคตกายวิญญาณ ๑ เจตสิก ๗
เจตสิกสุขเวทนา ได้แก่ โสมนัสสหคตจิต ๖๒ เจตสิก ๔๗
๓. สงฺขารทุกฺข ได้แก่อุเบกขาเวทนา และจิต เจตสิก รูป ที่เว้นจากทุกขทุกข์
และวิปริณามทุกข์ ซึ่งกล่าวแล้วในข้อ ๑ และ ๒ นั้น ที่เรียกว่าสังขารทุกข์ เพราะถูกเบียด
เบียนโดยความเกิดดับอยู่เป็นนิจ
๔. ปฏิจฺฉนฺทุกฺข หรือ อปากฏฺทุกอย่างข ได้แก่ความทุกข์ที่ปกปิด หรือความทุกข์ที่
ไม่ปรากฏอาการให้ผู้อื่นเห็นได้ เช่น ปวดท้อง ปวดฟัน ปวดหู ปวดศีรษะ หรือความไม่สบายใจ
อันกิดจาก ราคะ โทสะ เป็นต้น ความทุกษ์เหล่านี้ผู้อื่นไมาสามารถจะรู้ใด้ นอกจะ
สอบถามหรือเจ้าตัวจะบอกเล่าให้ทราบ
๕. อปฺปฏิจฺฉนฺนทุกฺข หรือ ปากฏฺทุกฺข ได้แก่ความทุกข์ที่ไม่ปกปิดคือเปิดเป็นเผย หรือ
เป็นความทุกข์ที่ปรากฏอาการให้ผู้อื่นเห็นได้โดยไม่ต้องสอบถามไม่ต้องให้เจ้าตัวบอก
เช่นความเจ็บปวดที่เกิดจากบาดแผลถูกตีถูกฟันแขนขาดขาขาด เป็นง่อย เหล่านี้เป็นต้น
๖. ปริยายทุกข ได้แก่ วิปริณามทุกข์ และสังขารทุกข์ที่กล่าวแล้วในข้อ ๒ และ ๓
นั่นอง ที่เรียกว่า ทุกโดยบริยายนั้น ก็เพราะทุกข์เหล่านี้ไม่ใช่เป็นตัวทุกข์โดยตรง แต่เป็น
ที่เกิดแห่งทุกข์ต่าง ๆ อีกทีหนึ่ง
๗. นิปฺปริยายทุกฺข ไม่ใช่ทุกข์โดยปริยาย แต่เป็นตัวทุกข์โดยตรงทีเดียว อันได้แก่
ทุกขทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสะ
อีกนัยหนึ่ง จำแนกว่า ทุกข์กายนี้มี ๙ โดยนับแยก กายิกทุกข์ และเจตสิกทุกข์
ออกไปว่าเป็น ๒ จึงเป็นทุกข์กาย ๙ ประการ
ในทุกข์กาย ๗ ประการนี้ ข้อ ๑ ทุกขทุกข์, ข้อ ๒ วิปริณามทุกข์, ข้อ ๓ สังขารทุกข์
และข้อ ๖ ปริยายทุกข์ นั้น ถ้าจะกล่าวอย่างสามัญให้เข้าใจง่าย ๆ ก็ว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2024, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8581


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขทุกข์ ได้แก่ ธรรมที่เกิดพร้อมกับ ทุกขเวทนา
วิปริณามทุกข์ ได้แก่ ธรรมที่เกิดพร้อมกับ สุขเวทนา
สังขารทุกข์. ได้แก่ ธรรมที่เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา
ปริยายทุกข์. ได้แก่ ธรรมที่เกิดพร้อมกับ สุขเวทนา และอุเบกบาเวทนา
ซึ่งจะต้องวิปริตผันแปรกลับไปเป็นทุกข์อีก.

โทมนัสสะ

ทุมนสฺสภาโว โทมนสฺสํ สภาพที่เป็นเหตุใจคอไม่ดี ชื่อว่า โทมนัส ให้แก่ เจตสิกทุกขํ
คือ ทุกข์ใจ ลักขณาทิจตุกะของโทมนัส มีดังนี้
จิตฺตปีฬนลกฺขณํ มีการเบียดเบียนใจ เป็นลักษณะ
มโนวิฆาตนรสํ. มีการทรมานใจ เป็นกิจ
มานสํพฺยาธิปจฺจุปฎฺธานํ มีความไม่สบายใจ เป็นอาการปรากฏ
หทยวตฺถุ ปทฎฺธานํ มีหทยวัตถุ เป็นเหตุใกลั
เหตุที่ทำให้เกิดโทมนัสนั้นมีหลายประการ แต่ส่วนมากย่อมเนื่องมาจาก อปฺปิเยหิ
สมฺปโยโค ได้ประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ และ ปีเยหิ วิปฺปโยโค พลัดพรากจากสิ่งที่ชอบใจ

อุปายาสะ

ภุโส อายาสนํ อุปายาโส ความลำบากใจเป็นอย่างยิ่ง ชื่อว่า อุปายาสะ ได้แก่
โทสเจตสิก ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย พยสนะ ๕ นั้นอย่างกย่างหนึ่ง ลัขณาทิจตุกะของ
อุปายาสะ คือ
จิตฺตปริทหนลกฺขโณ มีการเผาจิตอย่างหนัก เป็นลักษณะ
นิตฺถุนนรโส มีการทอดถอนใจ เป็นกิจ (หมดอาลัยตายอยาก)
วิสาทปจฺจุปฏฺฐาโน มีกายและใจขาดกำลังลง เป็นอาการปรากฏ
หทยวตฺถุ ปทฎฺฐาโน มีหทยวัตถุ เป็นเหตุใกล้

อุปายาสะ ความลำบากใจเป็นอย่างยิ่งนี้ บางทีก็ว่า ความคับแค้นใจซึ่งมีความโสก
เศร้าที่เผาหัวใจอย่างท่วมทันจนแห้งผาก น้ำตาตกในร้องไห้ไม่ออกนิ่งขรึมซึมไปไม่พูดจา
เพราะนั้นรู้ว่าจะพูดหรือปรับทุกข์อย่างใด จึงจะสมกับความคับแค้นใจที่ตนให้รับนั้น เป็นเหตุ
ให้ร่างกายซูบซีดผ่ายผอม เป็นอันตราย แก่กายและใจเป็นที่สุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ลุงหมาน และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร