วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 18:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2024, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1688632241739.jpg
FB_IMG_1688632241739.jpg [ 31.09 KiB | เปิดดู 1288 ครั้ง ]
องค์ที่ ๘ ตัณหา

ตัณหา เป็นปัจจัยแก่ อุปาทาน คือ อุปาทานจะปรากฏเกิดขึ้นได้ก็เพราะมีตัณหา
เป็นปัจจัย ตัณหามีลักขณาทิจตุกะดังนี้
เหตุลกฺขณา เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง เป็นลักษณะ
อภินนฺทนรสา มีความยินดีติดใจในอารมณ์ ภูมิ ภพ เป็นกิจ
อติตฺตภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่อิ่มในอารมณ์ต่างๆ เป็นผล
เวทนาปทฏฺฐานา มีเวทนาเป็นเหตุใกล้
ัในบทก่อน ตัณหาที่เป็นปัจจยุบันนธรรมของเวทนานั้น ได้แก่ ตัณหา ๓ หรือ ๖
หรือ ๑๐๘
ในบทนี้ ตัณหาที่เป็นปัจจัยช่วยอุปการให้เกิดอุปาทานนั้น ก็ได้แก่ตัณหา ๓ หรือ ๖
หรือ ๑๐๘ นั่นเอง
อุปาทาน ที่เป็นปัจจยุบันนธรรมของตัณหานี้ ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน
ทิฏฐะปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน มีอธิบายโดย่อดังต่อไปนี้
๑. กามุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในในวัตถุกามทั้ง ๖ มี รูปารมณ์เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่
โลภเจตสิก
๒. ทิฏฐุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในการเห็นผิด มีนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓. มิจฉาทิฏฐิ
๖๒ และ อันตัคคาหิกทิฏฐิ ๑๐ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่นอกจาก สีลัพพตทิฏฐิ และ
สักกายทิฏฐิ
๓. สีลัพพตุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในการปฏิบัติที่ผิด มีการปฏิบัติ เยี่ยงโค และ
เยี่ยงสุนัข เป็นตัน องค์ธรรมได้แก่ สีลัพพตทิฏฐิ
๔. อัตตวาทุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในวันธ์ ๕ ของตนและทั้งของผู้อื่นว่าเป็นตัว
เป็นตนเป็นบุคคลเป็นเราเป็นเขา องค์ธรรมได้แก่ สักกายทิฏฐิ

ในข้อ ๑ กามุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง ๖ นั้น เรียกกันว่า
กามุปาทาน ๖ ได้แก่ รูปกามุปาทาน, สัททามุปาทาน, คันธกามุปาทาน, รสกามุปาทาน,
โผฏฐัพพกามุปาทาน และ ธัมมกามุปาทาน

ในข้อ ๒ ทิฏฐุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในความเห็นผิดนั้น
ก. นิยตมิจฉาทิฏฐิ หรือบางทีก็เรียกว่า มิจฉัตตนิยตะนั้นมี ๓ ได้แก่
(๑) อเหตุกทิฏฐิ มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่กำลังปืนไปอยู่นั้น ไม่ได้อาศัยเนื่อง
มาจากเหตุแต่อย่างใด (ไม่เชื่อเหตุ, อธิจจสมุปนิกทิฏฐิ ๒)
(๒) นัตถิกทิฏฐิ มีความเห็นว่าการที่สัตว์ทั้งหลายกระทำอะไร ๆ ก็ตาม ผลที่จะได้
รับนั้นย่อมไม่มี (ไม่เชื่อผล อุจเฉททิฏฐิ ๗)
(๓) อกริยทิฏฐิ มีความเห็นว่าการที่สัตว์ทั้งหลายกระทำกิจการต่าง ๆ นั้น ไม่
สำเร็ยเป็นบุญหรือปืนบาปแต่อย่างใดทั้งสิ้น (ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผล, สัตตทิทิฐิฐิ ๔)
ข. มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ซึ่งจำแนกเป็นสาขาใหญ่ได้ ๒ สาขา คือ ปุพพันตกับปิกทิฏฐิ
๑๘ และ อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2024, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ไม่เชื่อเหตุในอดีต มี ๑๘ คือ
(๑) สัสสตทิฏฐิ ๔ เห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยง (อกริยทิฏฐิ)
(๒) เอกัจจสัสสตเอกัจจอสัสตตทิฏฐิ ๔ เห็นว่าอัตตาและโลกบางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง
(๓) อันตามันติกทิฏฐิ ๔ เห็นว่าโลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด
(๔) อมราวิกเขปีกทิฏฐิ ๔ ความเห็นชัดส่ายไม่ตายตัว จะว่าใช่ก็ใม่เชิง จะว่าไม่ใช่ก็ไม่เชิง
(๕) อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒ เห็นว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ไม่มีเหตุ
(อเหตุกทิฏฐิ)

อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ไม่เชื่อผลในอนาคต มี ๔๔ คือ
(๑) สัญญีวาททิฏฐิ ๑๖ เห็นว่าอัตตาไม่เสื่อมสลาย ตายแล้วมีสัญญา
(๒) อสัญญีวาททิฏฐิ ๘ เห็นว่าอัตตาไม่เสื่อมสลาย ตายแล้วไม่มีสัญญา
(๓) เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฏฐิ ๘ เห็นว่าอัตตาไม่สื่อมสลาย ตายแล้วมีสัญญา
ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่เชิง
(๔) อุจเฉททิฏฐิ ๗ เห็นว่าตายแล้วสูญ (นัตถิกทิฏฐิ)
(๕) ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ ๕ เห็นว่าพระนิพานมีในปัจจุบัน (คือ ๕. ว่ากามคุณ
๕ เป็นพระนิพพาน, ๒. ว่าปฐมฌาน, ๓. ว่าทุติยฌาน, ๔. ว่าตติยฌาน, ๕. ว่าจตุตถฌาน
เป็นพระนิพพาน)

ค. อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความเห็นที่ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมซึ่งตรงกันเข้ามกับ
กัมมัสสกคาปัญญา ที่รู้เห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน อันตัคคาหิกทิฏฐิ มี ๑๐ ได้แก่
(๑) นตฺถิ ทินฺนํ เห็นว่าการทำบุญไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
(๒) นตฺถิ ยิฎฐํ เห็นว่าการบูชาต่าง ๆ ไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
(๓) นตฺถิ หุติ เห็นว่าการเชื้อเชิญต้อนรับต่าง ๆ ไม่ได้ผล
(๔) นตฺถิ สุกตทุกฺตานํ กมฺมานํ ผลํ วิปาโก เห็นว่าการทำดีและทำชั่ว ไม่ได้รับ
ผลทั้งทางตรงหรือทางอ้อมแต่อย่างใด
(๕) นตฺถิ อยํ โลโก เห็นว่า โลกนี้ไม่มี (ผู้ที่จะมาเกิด ไม่มี)
(๖) นตฺติ ปโร โลโก เห็นว่า โลกหน้าไม่มี (ผู้ที่จะไปเกิด ไม่มี)
(๗) นตฺถิมาตา เห็นว่า การทำดีทำชั่วต่อมารดา ไม่ได้รับผลในภายหน้า
(๘) นตฺถิ ปิตา เห็นว่า การทำดีทำชั่วต่อปิตา ไม่ได้รับผลในภายหน้า
(๙) นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา เห็นว่าสัตว์นรก เปรต เทวดา พรหม นั้น ไม่มี
(๑๐) นตฺถิ โลเก สมณพราหฺมณา สมฺมาปฏิปนฺนา เห็นว่าสมณพราหมณ์ที่ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบในโลกนี้ ไม่มี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2024, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ในข้อ ๓ สีลัพพตุปาทาน ที่ประพฤติปฏิบัติเยี่ยงโคเยี่ยงสุนัข เป็นต้นนั้น ก็เพราะ
มีความเห็นผิดโดยสำคัญไปว่า การที่เราเป็นลูกหนี้ ไม่มีเงินและไม่สามารถที่จะหาเงินไปใช้
หนี้ได้ แต่ถ้าได้ยอมมอบตัวเราให้เจ้าหนี้ใช้การงานแทน ก็ย่อมปลดเปลื้องหนี้สินได้ ข้อนี้ฉันใด
การที่เราได้กระทำบาปกรรมไว้มากมาย ถ้ายอมตัวกระทำการให้ได้รับความลำบาก เช่น
เดียวกับสัตว์ดิรัจฉานก็คงจะเปลื้องปลดบาปกรรมได้ ฉันนั้น มีความเห็นผิดเช่นนี้ จึงทำตน
ให้ใด้รับความลำบากเยี่ยงโคเยี่ยงสุนับ ใช้หนี้เสียแต่ในชาตินี้ ชาติหน้าจะได้ไม่ต้องไปเกิดเป็น
สัตว์คิรัจฉาน
ในข้อ ๔ อัตตวาทุปาทาน ติดใจยึดมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน ก็คือมั่นใน สักกายทิฏฐิ
นั่นอง ซึ่งจำแนกรายระเอียดไปตามขันธ์ ๕ จึงเป็นสักกายทิฏฐิ ๒๐ ดังต่อไปนี้
(๑) รูปขันธ์ เห็นว่า รูปเป็นตน ตนเป็นรูป รูปอยู่ในตน ตนอยู่ในรูป
(๒) เวทนาขันธ์ เห็นว่า เวทนาเป็นตน ตนเป็นเวทนา เวทนามีอยู่ในตน ตนมีอยู่
ในเวทนา
(๓) สัญญาขันธ์ เห็นว่า สัญญาเป็นตน ตนเป็นสัญญา สัญญามีอยู่ในตน ตนมี
อยู่ในสัญญา
(๔) สังขารขันธ์ เห็นว่า สังขารทั้งหลายเป็นตน ตนเป็นสังขาร สังขารทั้งหลาย
มีอยู่ในตน ตนมีอยู่ในสังขาร
(๕) วิญญาณขันธ์ เห็นว่า วิญญาณเป็นตน ตนเป็นวิญญาณ วิญญาณมีอยู่ในตน
ตนมีอยู่ในวิญญาณ
บุคคลทั่วไป ยกเว้นพระอริยเจ้าแล้ว ย่อมมีสักกายทิฏฐิด้วยกันทั้งนั้น จึงว่า สักกาย
ทิฏฐิที่ป็นทิฏฐิสามัญ มีแก่บุคคคลที่ไปทั่วหัวหน้ากัน และก็สักกายทิฏฐินี่แหละที่ เป็นพืชพันธุ์
ของมิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร