วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 20:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 20 ธ.ค. 2024, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1733226136197-removebg-preview.png
ei_1733226136197-removebg-preview.png [ 230.14 KiB | เปิดดู 1369 ครั้ง ]
๒. อารัมมณปัจจัย

๑. อารมณ์ หมายถึงอารมณ์ทั้ง ๖ อันได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์
รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และ ธัมมารมณ์
อารมณ์ทั้ง ๖ นี้ ได้กล่าวโดยละเอียดพอควรแล้วในปริจเฉทที่ ๓ จึงจะไม่กล่าวซ้ำ
ในที่นี้อีก ขอให้ทบทวนดูที่ปริจเฉท ๓ นั้น
๒. ประเภท บัญญัติ นาม รูป เป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบัน
๓. ชาติ เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้น ได้แก่ อารมณ์นั่นเอง
๔. กาล เป็นได้ทั้ง อดีต อนาคต ปัจจุบัน และกาลวิมุตติ
๕. สัตติ มีอำนาจทั้ง ๒ อย่าง คือ ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ
๖. องค์ธรรม
องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ อารมณ์ ๖ คือ จิต ๘๙, เจทสิก ๕๒, รูป ๒๘ ที่
เป็น ปัจจุบัน อดีต อนาคต และ นิพพาน, บัญญัติ ที่เป็นกาลวิมุตติ
องค์ธรรมของปัจจยุบบัน ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒
องท์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ รูปทั้งหมด คือ จิตตชรูป. ปฏิสนธิกัมมชรูป.
พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป. อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมชรูป
๗. ความหมายโดยย่อ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลที่ตนได้บำเพ็ญมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน
รักษาศีล เจริญกุสลฌาน กุลลอภิญญา หรือ มัคคจิต เหล่านี้เป็นต้น อันได้แก่กุสลจิต
๒๑ นี่แหละ เป็นอารัมมณปัจจัย กุสลนามชันธ์ ๔ ที่นึกถึงหรือที่พิจารณารณากุศรธรรรม
นั้น ๆ เป็นอารัมมณปัจจยุบบัน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล นึกถึง โลกียกุสล ๑๙ ที่ให้บำเพ็ญมาแล้วก็อาจเกิด
ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ หรือโทมนัสขึ้นได้ โลกียกุสลจิต ๑๗ นั่นแหละเป็น
อารัมมณปัจจัย อกุสลจิตที่เกิดขึ้นเป็นอารัมณปัจจจจยุบบัน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลได้แก่กุสลจิต ๒๑ เป็นอารัมมณปัจจัย
อพยากตะ ได้แก่ ตทาลัมพนะ ๑๑, กามกิริยา ๑๐ (เว้นปัญจทวาราวัชชนจิต ๑), วิญญา
ณัญจายตนะ วิบาก ๑ กิริยา ๑, เนวสัญญานาสัญญายตนะ วิบาก ๑ กิริยา ๑, กิริยา-
อภิญญา ๑ เป็นอารัมมณปัจจยุบบัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสต์ เมื่อ: 20 ธ.ค. 2024, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


กุสลกามชวนจิต เป็นอารัมมณปัจจัย ให้เกิดตทาลัมพนะ ๑๑ เป็นอารัมมณ
ปัจจยุบบัน
อรหัตตมัคคจิต เป็นอารัมมณปัจจัย ให้เกิด มหากิริยาจิต (ในปัจจเวกขณะ)
เป็นอารัมมณปัจจยุบบัน
พระอรหันต์ พิจารณากุศลต่าง ๆ ที่เคยทำไว้แต่ก่อน ๆ ก็ดี พิจารณากุสลโดย
ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ดี ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ที่หน่วงมาเป็นอารมณ์นั้น
เป็นอารัมมณปัจจัย มหากิริยาจิต ที่พิจารณาธรรมเหล่านั้นเป็นอารัมมณปัจจยุบบัน
พระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา พิจารณากุศลจิตที่เกิดแล้วแก่ตนและผู้อื่นและที่จะเกิด
ต่อไปภายหน้า กุศลหน้านี้เป็นอารัมมณปัจจัย กิริยาอภิญญาจิตที่พิจารณากุศลเหล่านั้น
เป็นอารัมมณปัจจยุบบัน
อากาสานัญจายตนกุสลใด ที่เกิดมาแม้ในภพนี้ หรือภพก่อน เป็นอารัมมณปัจจัย
วิญญาณัญจายตนวิบาก หรือ วิญญาณัญจายตนกิริยา เป็นอารัมมณปัจจยุบบัน
อากิญจัญญายตนกุสลจิต ที่เกิดมาแล้วในภพนี้หรือภพก่อน เป็นอารัมมณปัจจัย
เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก หรือ เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา เป็นอารัมมณ
ปัจจยุบบัน
กุสลจิต เป็นอารัมมณปัจจัย มโนทวาราวัชชนจิต เป็นอารัมมปัจจยุบบัน
(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลที่ตนได้กระทำมาแล้วนั้นเป็นอารัมมปัจจัย
ก็สามารถทำให้เกิดอกุสลจิต โลภโกรธ หลง เป็นอารัมมณปัจจยุบบันขึ้นได้
(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล อกุสล ๑๒ เป็นปัจจัยให้เกิดมหากุสล หรือ อภิญญ~
กุสลได้ เป็นต้นว่า
พระเสกขบุคคล พิจารณาอกุสลที่ละได้แล้วและอกุสลที่ยังคงเหลืออกุสลนี่แหละเป็น
อารัมมณปัจจัย มหากุสลที่พิจารณากุสลเหล่านั้น เป็นอารัมมเมปัจจยุบบัน
พระเสขบุคคลและปุถุชน พิจารณาอกุสลโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อกุสลนั้นเป็น อารัมมณปัจจัย มหากุสลที่พิจารณาอกุสลนั้นเป็นอารัมเปัจยุบบัน
พระเสกขบุุคคลและปุถุชน ผู้ได้อภิญญาเจโตปริยญาณ พิจารณารู้อกุสลจิตที่เกิด
ขึ้นใน อดีต อนาคต ปัจจุบัน ทั้งของตนและของผู้อื่น อกุสลนั้นป็นอารัมมณปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 21 ธ.ค. 2024, 04:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


อภิญญากุสลจิตเป็นอารัมมณปัจจยุบบัน
(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นอารัมมณปัจจัย
อพยากตะ ได้แก่ ตทาลัมพนะ ๑๑, กามกิริยาจิต ๑๐ (เว้นปัญจทวาราวัชชนจิต ๑) และ
อภิญญากิริยาจิต ๑ เป็นอารัมมณปัจจยุบบัน เช่น
พระอรหันต์ พิจารณากิเลสที่ละแล้วก็ดี ที่เคยเกิดมาแต่ก่อน ๆ ก็ดีกิเลสเหล่านั้น
เป็นอารัมมณปัจจัย กิริยาจิตที่พิจารณากิเลสนั้น ๆ เป็นอารัมมณปัจจยุบัน
พระอรทันต์ พิจารณาอกุสลจิต ๑๒ ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ทั้งของตนและ
ของอื่นเป็นอารัมมณปัจจัย อภิญญากิริยาจิตใดที่รู้กุสลนั้น ๆ เป็นอารัมมณปัจจยุบบัน
อกุสลจิต ๑๒ ที่เป็นอารมณ์ของอภิญญากิริยานั้นเป็นอารัมนปัจจัย อภิญญากิริ-
ยาจิต ๑ อาวัชชนจิต ๑ (คือมโนทราราวัชชนจิต) ที่พิจารณาอกุสลจิตใด เป็นอารัมมณ-
ปัจจยุบบัน
(๗) อพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อพยากตะที่เป็นอารัมมณปัจจัย ได้แก่
วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐, รูป ๒๘ และนิพพาน อพยากตะที่เป็นอารัมมณปัจจ-
ยุบบันนั้นได้แก่ กามวิบาก ๒๓, กามกิริยา ๑๑, วิญญาณัญจายตนกิริยา ๑, เนวสัญญา-
นาสัญญายตนกิริยา ๑, อภิญญากิริยา ๑ และผลจิต ๔ เช่น
อรหัตตผลจิตก็ดี นิพพานก็ดี เป็นอารัมมณปัจจัย มหากิริยาจิตที่พิจารณาอรหัตต
ผลจิต หรือพิจารณานิพพาน โดยปัจเจเวกขณะ เป็นอารัมมณปัจจับบัน
นิพพานที่เป็นอารมณ์ของผลจิต เป็นอารัมมณปัจจัย ผลจิต ๔ ดวง มโนทวารา-
วัชชนจิต ๑ ดวง เป็นอารัมณปัจจยุบบัน
วัตถุรูปทั้ง ๖, อารมณ์ทั้ง ๖, โลกียวิปากจิต ๓๒, กิริยาจิต ๒๐ ทั้งของตนและ
ของผู้อื่น เป็นอารัมมณปัจจัย มหากิริยาจิตของพระอรหันต์ที่พิจารณาอารมณ์เหล่านั้น
โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตดา เป็นอารัมณปัจจยุบบัน
รูป เสียง วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ ที่เป็นอารมณ์ของอภิญญาจิตเป็น
อารัมมณปัจจัย อภิญญากิริยา ๑ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้นของพระอรหันต์ที่รู้อารมณ์
เหล่านั้น เป็นอารัมมณปัจจยุบบัน
อากาสานัญจายตนกิริยา และอากิญจัญญายคนกิริยา เป็นอารัมมณปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 21 ธ.ค. 2024, 04:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณัญจายตนกิริยา และเนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา เป็นอารัมมณปัจจยุบบัน
(ตามลำดับ)
ปัญจารมณ์ เป็นอารัมมณปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เป็นอารัมมณปัจจุยุบบัน
วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐, รูป ๒๘ ที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓ ทั้งของตนและของคนอื่น
เป็นอารัมมณปัจจัย มโนทวาราวัชชนจิต เป็นอารัมมณปัจยุบบัน
(๘) อยาก เป็นปัญหา กุศล วิบากจิต ๓๕(เว้นอรหันตผล) กิริยาจิต
๒๐. รูป ๒๔, นิพพาน เป็นอารัมมณปัจจัย มหากุสล ๘. มัคคจิต ๔ และอภิญญากุศล ๑
เป็นอารัมมณปัจจยุบบัน เช่น
ผลเบื้องต่ำ ๓ ก็ดี นิพพาน ก็ดี เป็นอารัมมบัจจัจจัย มหากุสลจิตของพระเสกข-
บุคคล ที่พิจารณา (ปัจจเวกขณะ) อารมณ์เหล่านั้น เป็นอารัมณปัจจุยุบบัน
นิพพาน เป็นอารัมมณปัจจัย โคตรภู หรือ โวทาน คือ มหากุสลญาณสัมปยุตต
ก็ดี มัคคจิต ๔ ที่กำลังกิดขึ้นนั้น ก็ดี เป็นอารัมมณปัจจยุบบับ
วัตถุ ๖, อารมณ์ ๑, โลกียวิปากจิต ๓๒, กิริบาจิต ๒๐ ที่เกิดขึ้นแก่ตนเองหรือของผู้
อื่นในกาลทั้ง ๓ เป็นอารัมณปัจจัย มหากุสลที่พิจารณาอารมณ์นั้น ๆ เป็นอารัมมณ
ปัจจยุบบัน
พระเสกขบุคคลและปุถุชน พิจารณา รูป เสียง วิปากจิต กิริยาจิต ด้วยอภิญญา-
กุสล อารมณ์เหล่านี้เป็นอารัมมณปัจจัย อภิญญากุสลจิตที่รู้เห็นอารมณ์เหล่านั้นเป็น
อารัมมณปัจจยุบบัน
(๙) อพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ อกุสล วัตถุ ๖, อารมณ์ ๖, โลกียวิบากจิต ๓๒
กิริยาจิต ๒๐, รูป ๒๘ ของตนเองและของผู้อื่นในกาลทั้ง ๓ เหล่านี้เป็นอารมณ์เมื่อใด เมื่อ
นั้นก็เป็นอารัมมณปัจจัย ทำให้อกุสลจิตมีโลภะเป็นต้นเกิดขึ้นได้ อกุสลจิตที่เกิดขึ้นเพราะ
อารมณ์เหล่านั้น เป็นอารัมมณปัจจยุบบัน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑. อารัมมณปัจจัย ๒, อารัมมณาธิปติปัจจัย
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสยปัจจัย ๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย ๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย. ๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร