วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 20:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2024, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1734656675960-removebg-preview.png
ei_1734656675960-removebg-preview.png [ 118.76 KiB | เปิดดู 1460 ครั้ง ]
๑. เหตุปัจจัย

เหตู เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ตํสมุฎฐานานญฺจ รูปานํ เหตุปจฺจเยน ปจฺจโย.
เหตุทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับเหตุและแก่รูปทั้งหลายที่มีเหตุ
และธรรมที่ประกอบกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจเหตุปีจจัย

เหตุ แปลว่า เค้ามูล หรือ สิ่งที่ทำให้เกิดผล นอกจากนี้ยังแปลว่าข้อความ เรื่อง
ราว เรื่องต้น เรื่องที่เกิดขึ้น เครื่องก่อเรื่อง ก็ได้ เหตุมี ๔ อย่าง คือ
ก, เหตุเหตุ ได้แก่เหตุ ๖ คือ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
ข. ปจฺจยเหตุ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ อันเป็นเหตุในการเรียกชื่อของรูปขันธ์
ค.อุตฺตมเหตุ ได้แก่แก่ กุศลกรรม และ อกุศลกรรม อันเป็นเหตุให้เกิดกุศลวิบาก
และอกุศลวิบาก
ง. สาธารณเหตุ ได้แก่ อวิชชา อันเหตุให้เกิดสังขารธรรมทั่วทั้งหมด (ขันธ์ ๕)

๑. เหตุ ในเหตุปัจจัยนี้หมายถึง เหตุ ๖ อันได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
อโลภเหตุ อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ
๒. ประเภท เหตุปัจจัยอยู่ในประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปปัจจยุบบัน
๓.ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรม และปัจจยุบบัน
ธรรมนั้นเกิดขึ้นในจิตดวงเดียวกัน
๔.กาล เป็นการปัจจุบัน หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่าง
อุปาทะ ฐีติ ภังคะ คือ ยังไม่ทันดับไป
๕. สัตติ คือ อำนาจ เหตุปัจจัยนี้มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ
ชนกสัตติ มีอำนาจช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันธรรมเกิดขึ้นได้
อุปถัมภกสัตติ มีอำนาจช่วยอุปการะให้ปัจจจยุบบันนธรรมตั้งอยู่ได้
๖. องค์ธรรม มี ๓ อย่างคือ องค์ธรรมของปัจจัย องค์ธรรมของปัจจยุบบัน
และ องค์ธรรมของปัจจนิก (ปัจจนิก หมายความว่า ธรรมที่ไม่ใช่ผล คือไม่ใช่ปัจจยุบบัน)
ปัจจัยธรรม ได้แก่ เหตุ ๖ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
และ อโมหเหตุ
ปัจจยุบบันนธรรม ได้แก่ สเหตุกจิต ๗๑, เจตสิก ๕๒ (เว้นโมหเจตสิกที่ในโมห-
มูลจิต ๒), สเหตุกจิตตชรูป และ สเหตุปฏิสนธิกัมมชรูป
ปัจจนิกธรรม ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘, อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทะ), โมห-
มูลจิต ๒), สเหตุกจิตตชรูป, และ สเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป, พาหิรรูป. อาหารชรูป),
อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป และ ปวัตติกัมมชรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2024, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. ความหมายโดยย่อ เหตุปัจจัย มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ อันเป็น กุสลเหตุนั้น
เป็น เหตุปัจจัย กุสลจิต ๒๑ กับเจตสิกที่ประกอบ เป็นเหตุปัจยุบบัน
(๒)กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ อันเป็นกุสลเหตุ
๓ นั้นเป็นเหตุปัจจัย กุสลจิตตธรูป เป็นเหตุปัจยุบบัน
(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย กุสลเหตุ ๓ เป็นเหตุปัจจัย กุสล-
นามขันธ์ ๔ ได้แก่ กุสลจิต ๒๑ กับเจตสิกที่ประกอบด้วย และกุสลจิตตชรูปด้วย เป็น
เหตุปัจจยุบบัน
(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อันเป็นอกุสลเหตุ ๓
นั้นเป็นเหตุปัจจัย อกุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ กับเจตสิกที่ประกอบ เป็น
เหตุปัจจยุบบัน
(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลเหตุ ๓ นั้นเป็นเหตุปัจจัยอกุสลจิตตชรูป
(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลเหตุ ๓ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
อกุสลนามขันธ์ ๔ ด้วย อกุสลจิตตชรูปด้วย เป็นเหตุปัจยุบบัน
(๗) อพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ อันเป็น
อพยากตเหตุ ๓ เป็นเหตุปัจจัย สเหตุวิบากจิต ๒๑, สเหตุกกิริยาจิต ๑๗, สเหตุกวิบาก
จิตตชรูป, สเหตุกกิริยาจิตตชรูป, สเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นเหตุปัจจยุบบัน (ถ้าเป็น
ใน จตุโวการภูมิ ปัจจยุบบันนธรรมก็ต้องเว้น รูป)
อนึ่ง เมื่อกล่าวถึงจิต จะต้องแสดงเจตสิกที่ประกอบด้วยเสมอไป แต่ในที่นี้บางแห่ง
ไม่ได้แสดงเจตสิกด้วย เพราะอยากจะตัดให้สั้นเข้า และเห็นว่าย่อมจะเข้าใจกันอยู่โดยทั่วไป
แล้วว่า เมื่อมีจิต ก็ต้องมีเจตสิกประกอบอย่างแน่นอน ดังนั้นแม้ในบทต่อ ๆ ไปจะกล่าวถึง
จิตเฉย ๆ ก็ขอให้นึกเห็นถึงเจตสิกที่ประกอบด้วยเสมอไป

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๒ ปัจจัย คือ
๑. เหตุปัจจัย ๒. สหชาตาธิปติปัจจัย ๓. สหชาตปัจจัย
๔. อัญญมัญญปัจจัย ๕. สหชาตนิสสยปัจจัย ๖. วิปากปัจจัย
๗. สหชาตินทริยปัจจัย ๘. มัคคปัจจัย ๙. สัมปยุตตปัจจัย
๑๐. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย ๑๑. สหชาตัตถิปัจจัย ๑๒. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร