วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 22:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2024, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8588


 ข้อมูลส่วนตัว




1727912355855.jpg
1727912355855.jpg [ 155.08 KiB | เปิดดู 1490 ครั้ง ]
๙. อุปนิสสยปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัยนี้ จำแนกออกได้เป็น ๓ คือ
ก. อารมณ์ชนิดที่เป็นอธิบดีด้วย เป็นที่อาศัยอันมีกำลังอย่างแรงกล้าด้วย ช่วย
อุปการะให้เกิดปัจยุบบันนธรรมขึ้น อย่างนี้เรียกว่า อารัมมณูนิสสยปัจจัย
ข. ธรรมที่เป็นที่อาศัยอันมีกำลังอย่างแรงกล้าด้วย และช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันน
ธรรมเกิดขึ้นโดยไม่มีระหว่างคั่นด้วย อย่างนี้เรียกว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัย
ค. ธรรมที่เป็นที่อาศัยอันมีกำลังอย่างแรงกล้า โดยอำนาจแห่งสภาพของตนเอง ไม่
เกี่ยวข้องด้วยอำนาจแห่งอารัมมณปัจจัย และอนันตรปัจจัยเลย อย่างนี้เรียกว่า ปกตูป
นิสสยปัจจัย

อนึ่ง ปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยที่ให้เกิดปัจจยุบบันธรรมได้มากกว่าปัจจัยอื่นๆ
องค์ธรรมก็มากมายหลายอย่าง จนถึงกับใต้ชื่อว่า มหาเทสปัจจัย ดังบาลีในอภิธัมมัตถ
วิภาวินีฎีกาแสดงว่า ปจฺจมหาปเทโส เหส ยทิทํ ปกตูปนิสฺสโย ซึ่งแปลว่า ปกตูปนิสสย
ปัจจัยนี่แหละ เรียกว่า ปัจจัยมหาปเทส

อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

อารัมมณูปนิสสยปัจจัย คืออารมณ์ที่มีกำลังมาก ให้เกิดปัจจยุบบันธรรม หมายความว่า
อารมณ์นั้นแรงมาก ชัดเจนมาก หรือหนักหน่วงมาก เป็นปัจจัยให้เกิดจิต เจตสิก
เช่นพนะนิพพานเป็นอารมณ์ แรงกล้าให้เกิดโลกุตตรจิต เป็นต้น อารมณ์ของอารัมมณู-
ปนิสสยปัจจัยก็เหมือนกับอารัมมณาธิปติปัจจย ต่างกันที่อารัมมณาธิปติปัจจัย
หมายเอาอารมณ์ที่ดีที่น่าพอใจมากเป็นอติอิฏฐารมณ์ จัดว่าเป็นอธิบดีอารมณ์ เหตุ
นี้เององค์ธรรมของปัจจัยทั้งสองจึงไม่ต่างกัน ส่วนที่ต่างกันก็ที่กำลังและ
ความสามารถที่เป็นประธานปัจจัยนั้นๆเท่านั้น
ความต่างกันของอารมณ์ ๓ อย่าง

๑.อารัมมณปัจจัยคือสักแต่ว่าเป็นอารมณ์ที่ดีและไม่ดี
๒. อารัมมณาธิปติปัจจัย คือเอาแต่เฉพาอารมณ์ที่ดีๆที่น่าพอใจ
๓.อารัมมณูปนิสสยปัจจัย คือเอาอารมณ์ที่สำคัญด้วยแลัเป็นที่อาศัยมีกำลังมาก
อารัมมณูปนิสสยปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมดนี้เหมือนกับ
อารัมมณาธิปติปัจจัยทุกประการ ฉะนั้นขอให้ดูที่อารัมมณาธิปติปัจจัยนั้ยนั้น

อนันตรูปนิสสยปัจจัย

อนันตรูปนิสสยปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมดเหมือนกับ
อนันตรปัจจัยทุกประการ ฉะนั้นขอให้ดูที่ ปัจจัยนั้น

ปกตูปนิสสยปัจจัย

๑. ปกตูปนิสสยะ มีความหมายว่า การอิงอาศัยที่มีกำลังอย่างแรงกลัานั้น เป็น
ไปอย่างปกติตามธรรมดาของสภาพธรรมนั้น ๆ เอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2024, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8588


 ข้อมูลส่วนตัว


๒.ประเภท บัญญัติ นาม รูป เป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบัน
๓. ชาติ เป็นปกตูปนิสสยชาติ ซึ่งมี ๒ ประเภท คือ สุทธปกตูปนิสสย-
ชาติ และ มิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมชาติ
สุทธปกตูปนิสสยชาติ หมายความว่า จิต เจตสิก ที่เกิดก่อน ๆ และรูปญัญญัติ
ที่มีกำลังมาก (พลวะ) นั้นช่วยอุปการะแกจิต เจตสิก ที่เกิดทีหลัง
มิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมชาติ หมายความว่า กุศลกรรมอกุศลกรรม
ที่มีกำลังมาก (เว้นมัคคเจตนา) นั้นช่วยอุปการะแก่ วิบากนามชันธ์
๔. กาล เป็น ปัจจุบัน อดีต อนาคต และ กาลวิมุตติ
๕. สัตติ มีชนกสัตติแต่อย่างเดียว
๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดก่อน ๆ, รูป ๒๘
และบัญญัติ ที่เป็นชนิดที่มีกำลังมาก (บัญญัตินั้นเว้น อสุภบัญญัติ, กสิณบัญญัติ, โกฏ-
ฐาสบัญญัติ, อานาปานบัญญัติ. อากาสบัญญัติ, นามบัญญัญัติ เป็นต้น)
องค์ธรรมของปัจจยุบบัน ได้แก่ จิต ๘๙ เจดสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง
องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ รูปทั้งหมด
๗. ความหมายโดยย่อ ปกตูปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลจิต ๒๐ (เว้นอรหัตตมัคคจิต ๑) ที่มีกำลังอย่าง
แรงกล้าเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยนั้น เป็นปกตูปนิสสย
ปัจจยุบบัน เช่น
สัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา อันได้แก่ มหากุสลจิต ๘ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
กุสลจิต ๒๑ คือ การบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา ที่เกิดขึ้นจากกุศลที่เป็นปัจจัยนั้นตาม
ควรแก่การกระทำนั้น ๆ เป็นปกตูปนิสสสยปัจยุบบัน
มหากุสล ที่เจริญสมถภาวนา เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ฌานจิตที่เกิดขึ้นเพราะ
การเจริญภาวนานั้น เป็นปกตูปนิสสยปัจยุบบัน
ฌานจิตเบื้องต่ำ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ฌานจิตเบื้องสูงไปตามลำดับเป็นปกตุป-
นิสสยปัจจยุบบัน
มหากุสลในอธิฏฐานวิถีที่ปรารถนาจะให้อภิญญาจิตเกิด เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
ปัญจมฌานกุสลจิตที่ให้อภิญญากุสลจิตเกิดขึ้นนั้น เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2024, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8588


 ข้อมูลส่วนตัว


มหากุสลที่เจริญวิปัสสนาภาวนา เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย มัคคจิตที่เกิดขึ้นเพราะ
การเจริญภาวนานั้น เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน
มัคคจิตเบื้องต่ำ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย มัคคจิตเบื้องสูงไปตามลำดับ เป็นปกตูป
นิสสยปัจจยุบบัน
มัคคจิต เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ มีอัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ อันได้แก่
ปัญญาในมหากุสล เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล โลกียกุสลจิต ๑๗ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้าเป็นปกตูป
นิสระปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ที่เกิดโดยอาศัยกุสลนั้น เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน เช่น
อาศัย สัทธา คือ สุตะ จาคะ ปัญญา ในโลกียกุสลจิต ๑๗ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ทำให้เกิดมี ราคะ ทิฏฐิ มานะ โมหะ และ
โทมนัส ขึ้นได้ อกุสลจิตที่เกิดขึ้นเพราะหตุดังกล่าวนี้แหละเป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลจิต ๒๑ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็นปกตูป-
นิสสยปัจจัย วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน เช่น
สัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในกุสลจิต ๒๑ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้าเป็นปกตู-
นิสยยปัจจัย ย่อมทำให้เกิด ทุกข์กาย สุขกาย และผลสมาบัติ อันได้แก่ กายวิญญาณจิต ๒
ผลจิต ๔ เป็นปกตูปนิสสยปัจจุบบัน

มหากุสลเจตนา ๘ ในอดีตภพ นับถอยหลังตั้ง
แต่ชาติที่ ๒ เป็นต้นไป มหัคคตกุสล
เจตนา ๙ ในอดีตภพ เฉพาะชาติที่ ๒ และมัคคเจตนาในชาตินี้เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
กุสลวิบากจิต ๒๙ คือ อเหตุกกุวลวิบาก ๘ มหาวิบาก ๘ มหัคคตวิบาก ๙ และผลจิต ๔
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน

อรหัตตมัคคจิต ๑ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็นปกตูปนิสยยปัจจัย การเข้าฌานสมา-
บัติ อันได้แก่ มหัคคกิริยาจิต ๙ ก็ดี, การพิจารณาสังขาร โดยความเป็น อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา อันได้แก่ มหากิริยา ๘ ก็ดี, การบรรลุปฏิสัมภิทาญาณ อันได้แก่
ปัญญาในมหากิริยาก็ดี และอภิญญากิริยาจิต ๑ ก็ดี เหล่านี้เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน
มัคคจิต ๔ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ผลจิต ๔ เป็นปกตูปนิสลยปัจจยุบบัน
(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลจิต ๑๒ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้าเป็นปกตูปนิสสย-

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2024, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8588


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัยอกุสลจิต ๑๒ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน ข้อนี้มีรายละเอียดมากมาย แต่รวมได้ความว่า
อาศัย ราคะ โทสะ โมหะ มานะ เป็นต้น อันได้แก่ อกุสลจืต ๑๓ หรือ
อกุสลกรรมบถ ๑๐ ประการ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ก่อให้เกิด
ทุจริตทางกายกรรม ๓ ทางวจีกรรม ๔ ทางโนกรรม ๓ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๓ นั่นเอง
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล อกุสลจิต ๑๒ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้าเป็นปกตูนิสสย
ปัจจัย กุสสจิต ๒๑ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน เช่น
มี ราคะ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า ปรารถนาภพที่ดี (ภวสมฺปตฺติ) ปรารถนาทรัพย์
สมบัติ (โภคสมฺปตฺติ)อันได้แก่ โลภมูลจิต นั่นเอง เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย จึงทำทาน
รักษาศีล เจริญภาวนา อันได้มหากุลลจิต ๘ ก็ดี ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
อันได้แก่มหัคคตกุสลจิต ๙ ก็ดี ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น อันได้แก่ รูปาวจรปัญจมฌานกุสล
อภิญญาจิต ๑ ก็ดี ยังมัคคให้เกิดขึ้น อันได้แก่ มัคคจิต ๔ ก็ดี เหล่านี้ล้วนแต่เป็น ปกตูป-
นิสสยปัจจยุบบัน ทั้งนั้น

อาศัย โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า ประกอบอกุสลกรรมแล้ว
อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย มีความปรารถนาจะลบล้างผลของกรรม
นั้น ๆ จึงทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ ดังนี้ เป็นปกตูปนิสสย-
ปัจจยุบบัน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลจิต ๑๒ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็น
ปกตูปนิสสยปัจจัย วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน เช่น
บุคคลที่อาศัย โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และความปรารถนาในภวสมบัติ โกค-
สมบัติ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ย่อมทำให้
เกิดทุกข์กาย สุขกาย ก็ดี เกิดผลจิต ๔ ก็ดี เกิดอกุสลวิบากจิต ๗ ก็ดี เหล่านี้เป็นปกตูป-
นิสสยปัจจยุบบัน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ และ รูป ๒๘ เป็น
ปกตูปนิสสยปัจจัย วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน เช่น
ความสุขกาย ความทุกข์กาย อุตุ อาหาร เสนาสนะ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยช่วย
อุปการะแก่ ความสุขกาย ความทุกข์กาย ผลสมาบัติ (คือผลจิต ๔) เหล่านี้เป็นปกตูป-
นิสสยปัจจยุบบัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2024, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8588


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลจิต ๔ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย สุขสหคตกายวิญญาณ เป็นปปกตูปนิสสยปัจจ-
ยุบบัน
พระอรหันต์ อาศัยความสุขกาย หรือทุกข์กาย ตลอดจนความเย็น ความร้อน
อาหาร ที่อยู่อาศัย อันเป็นที่สบายและไม่สบาย เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ย่อมยังสมาบัติ
ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น, ย่อมเข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว อันได้แก่ มหัคคตกิริยาจิต ๙ ย่อม
พิจารณาสังขารโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันได้แก่ มหากิริยา ๘ เป็นปกตูป-
นิสสยปัจจยุบบัน

(๘) อพยากตะเป็นปัจจัยมากตร วิบากจิต ๓๕ (เว้นอรหันตตผล ๑) กิริยาจิต ๒๐
รูป ๒๘ เป็นปกตูปนิสสยะปัจจัย กุสลจิต ๒๑ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน เช่น

อาศัยความสุขกาย ทุกข์กาย อุตุ อาหาร เสนาสนะ อันเป็นที่สบาย เป็นปกตูป
นิสสยปัจจัย สัทธา ได้แก่ สัทธาเจตสิก ๑, คือ ได้แก่ วีรตีเจตสิก ๓. สุตะ ได้แก่ ปัญญา
เจตสิก ๑, จาคะ ได้แก่ อโลภเจตสิก ๑, ปัญญาได้แก่ ปัญญาเจตสิก ๑ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็น
ปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน

อาศัยความสุขกาย ทุกข์กาย อุตุ อาหาร เสนาสนะ อันเป็นที่สบายเป็นปกตูป
นิสสยปัจจัย จึงทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังมัคคให้เกิดขึ้น อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบัน

(๙) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล โลกียวิบากจิต ๓๒ อาวัชชนจิต ๒ รูป ๒๘
เป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ เป็นปกตูปนิสสสยปัจยุบบัน

อาศัยความสุขกาย ทุกข์กาย อาศัย อุตุ อาหาร เสนาสนะ เป็นปกตูนิสสย
ปัจจัย จึงกระทำทุจริตธรรม คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐ มีกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ มโน
ทุจริต ๓ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ นั่นเอง เป็นปกรูปนิสลยปัจยุบบัน
๘.ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๒ ปัจจัยเท่านั้น คือ
๑. ปกตูปนิสสยปัจจัย
๒.นานักขณิกกัมมปัจจัยยุบบัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร