วันเวลาปัจจุบัน 19 มิ.ย. 2025, 07:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2025, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8571


 ข้อมูลส่วนตัว




นักธุรกิจหนุ่มผู้หงุดหงิดแบกรับความเครียด.jpg
นักธุรกิจหนุ่มผู้หงุดหงิดแบกรับความเครียด.jpg [ 34.32 KiB | เปิดดู 1322 ครั้ง ]
๓. เข้านิโรธสมาบัติได้ในภพไหน ?

[๘๗๑] ปัญหากรรมข้อว่า เข้าได้ในภพไหน ?
ตอบว่า ในปัญจโวการภพ.
เพราะเหตุไร ?
เพราะนิโรธสมาบัตินั้นมีการเข้าไปโดยตามลำดับเป็นสภาพ อนึ่ง การเกิดขึ้นแห่ง
ปฐมฌานเป็นต้น ย่อมไม่มีในจตุโวการภพ เพราะเหตุนั้น จึงไม่สามารถเข้าในจตุโวการ-
ภพนั้น แต่เกจิอาจารย์ย่อมกล่าวว่า "เพราะไม่มีวัตถุ"

(๘๗๑] (๓๖๕) ถามว่า ท่านกล่าวว่า ในปัญจโวการภพ ดังนี้ ไว้เพราะเหตุไร,
แม้ในจตุโวการภพก็ได้อนุปุพพสมาบัติตามควรด้วยอำนาจของอรูปฌานมิใช่หรือ ? ตอบว่า
ได้ก็จริง แต่การเข้าสมาบัตินั้นไม่เรียกว่า อนุปุฟพสมาบัติ เพราะเป็นแต่เอกเทศ. ท่าน
อาจารย์เมื่อจะแสดงว่า ก็ท่านเรียกว่า อนุปุพพสมาบัติด้วยอำนาจสมาบัติ ๘ นั่นเอง จึง
กล่าวว่า การเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานเป็นต้น ย่อมไม่มี. คำว่า เพราะไม่มีวัตถุ ความว่า ท่าน
อาจารภ์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า เพราะไม่มีหทัยวัตถุ อธิบายว่า ก็เพราะไม่มีวัตถุ กล่าวคือ
กรชกาย. ก็คำว่า บุคคลจะพึงเข้านีโรสมาบัติได้ในอรูปภพไซร้ บุคคลก็จะก็พึงเป็นผู้ไม่มี
บัญญัติ เป็นเหมือนกับปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เพราะความไม่มีจิตและ
เจตสิก และเพราะความไม่ธรรมอะไร ๆ อื่น บุคคลนี้จะพึงถูกเรียกว่า เข้านิโรธสมาบัติ
เพราะอาศัยอะไรกัน หรือสำหรับนี้โรธสมาบัตินี้จะคิดเรื่องวัตถุอะไรกันล่า. เพราะความ
ขาดแคลนแห่งอวัยวะนั่นเอง จึงไม่มีการเข้าอรูปสมาบัติในอรูปภพ.

๔. เข้าเพื่ออะไร ?
[๘๗๒] ปัญหากรรมว่า เข้าเพื่ออะไร ?
ตอบว่า ท่านระอาในความเป็นไปและความแตกแห่งสังขารทั้งหลาย จึงเป็นผู้ไม่
มีจิตในทิฏฐธรรมนั่นเทียว เข้าด้วยประสงค์ว่า "เราจักถึงนิโรธ นิพพาน อยู่เป็นสุข ดังนี้

๔. เข้าเพื่ออะไร ?
(๘๗๒] สองบทว่า สงฺขารานํ ปวตฺติเภเท ความว่า ในความเกิดขึ้นและในความ
แตกไปทุก ๆ ขณะแห่งสังขตธรรมทั้งหลาย, อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ในความจำแนกความ
เป็นไปแห่งสังขตธรรมเหล่านั้น ซึ่งต่างโดยประเภทมีกุศลเป็นต้น อันถูกความเป็นทุกข์ ๓
ประการ เบียดเบียนแล้ว. ความเป็นแห่งทุกข์แห่งสังขารแม้ได้อยู่ในรูปธรรมทั้งหลาย ก็
ย่อมถึงความเป็นอัพโพหาริก เพราะความปราศจากจิตและเจตสิก. คำว่า ระอา คือ หน่าย.
คำว่า ถึงนิพพาน คือ เหมือนบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน. คำว่า เป็นสุข คือ ไม่มีทุกข์.

อัพโพหาริก หมายถึง ไม่ควรอ้างเป็นกฏเกณ์ วินัย เช่น ผู้กินอาหาร
ซึ่งด้วยเหล้าเพื่อฆ่าคาวไม่นับว่ากินเหล้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร