วันเวลาปัจจุบัน 19 มิ.ย. 2025, 07:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2025, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8571


 ข้อมูลส่วนตัว




ai-generated-8686711_1280.jpg
ai-generated-8686711_1280.jpg [ 207.87 KiB | เปิดดู 1889 ครั้ง ]
ประโยชน์ในการกำหนดอุทยัพพยญาณซ้ำ

[๗๓๔] หากมีคำถามว่า ทำความเพียรในอุทยัพพยญาณซ้ำมีประโยชน์อะไร ?
ตอบว่า มีประโยชม์ที่จะได้กำหนดลักษณะ เพราะอุทยัทยัทยญาณในหนหลังเป็น
ญาณเศร้าหมองไปด้วยอุปกิเลส ๑๐ ไม่อาจกำหนดลักษณะ ๓ ตามสภาพที่เป็นจริงได้
อุทยัพพยญาณที่พ้นจากอุปกิเลส ย่อมอาจ เพราะเหตุนั้น จึงควรทำความเพียรในอุทยัพ-
พยญาณนี้ซ้ำเพื่อกำหนดลักษณะ.
(๗๓๔] (๒๗๕) อาจารย์ผู้ท้วงผู้ไม่หยั่งรู้เนื้อความที่ทำให้แจ้งด้วยคำวิเสสนะว่า
ที่พ้นจากอุปกิเลส ดังนี้ ได้ถามว่า ทำความเพียรในอุทยัพพยญาณซ้ำมีประโยชน์อะไร.

ในคำนั้น บทว่า กิมตฺถิโย แปลว่า มีประโยชน์อะไร คือไม่มีประโยชน์ อธิบายว่า เปรียบ
เหมือนหุงต้มของที่สุกแล้วไม่มีประโยชน์ เพราะเป็นสิ่งที่บังเกิดแล้วก่อนนั่นเอง. อีกอย่าง
หนึ่ง ท่านอาจารย์ผู้ใคร่จะให้เข้าใจความข้อนั้น ด้วยอำนาจการรับของเหตุแห่งการกำหนด
ลักษณะเป็นต้นนั่นแหละ จึงถามว่า มีประโยชน์อะไร ด้วยอำนาจต้องการจะตอบ. คำว่า
มีประโยชน์ที่จะได้กำหนดลักษณะ ความว่า มีประโยชน์ที่จะได้พิจารณาโดยถูกต้องซึ่ง
ลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น. ท่านอาจารย์เมื่อจะแสดงเหตุในคำนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
เพราะอุทยัพพยญาณ ดังนี้. ถ้าจะมีผู้สงสัยถามว่า ก็ชื่อว่า อุทยัพพยญาณ ย่อมเห็นความ
เกิดขึ้นและความเสื่อมไปของสังขารทั้งหลายเท่านั้น หาเห็นลักษณะ ๓ มือนิจจลักษณะ
เป็นต้นไม่ การกำหนดลักษณะ ๓ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น จะมีได้ด้วยอุทยัพพยญาณนั้น
ได้อย่างไร ?
ตอบว่า ก็ข้อนี้ไม่พึงเห็นอย่างนี้ว่า อุทยัพพยญาณมีลักษณะ ๓ เป็นอารมณ์.
ก็เมื่อแทงตลอดความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแล้ว อนิจจลักษณะย่อมเป็นธรรมชาติขัดเจน
ปรากฏ ต่อจากนั้นแม้ลักษณะนอกนี้ก็เป็นธรรมชาติชัดเจนปรากฎ เพราะสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่ง
นั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็เป็นอนัตตา. อีกอย่างหนึ่ง อาการที่มีแล้วไม่มี อาการ
ที่ถูกบีบคั้นอยู่เนือง ๆ และอาการที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจ ย่อมเป็นอาการชัดเจนยิ่ง ด้วยการ
จับเอาความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ความที่ความประกอบ
อยู่ในอุทยัพพยญาณ มีประโยชน์ที่จะกำหนดลักษณะ ๓ โดยความเป็นเหตุ ไม่พึงทราบโดย
ความพร้อมหน้า คำว่า ในหนหลัง คือในหนหลังจากมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ด้วยว่า
อุทยัทพยญาณนั้น แม้เป็นธรรมชาติคม เฉียบแหลม เป็นไปแล้ว เพราะความเป็นเหตุเกิด
ขึ้นแห่งอุปกิเลส มิโอภาสเป็นต้น ก็เป็นธรรมชาติที่ไม่เฉียบแหลมเลย เพราะเศร้าหมอง
ไปด้วยอุปกิเลสมีทิฏฐิเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ปัญญาเศร้าหมอง
ไปด้วยอุปกิเลส ๑๐ ไม่อาจกำหนดลักษณะ ๓ ตามสภาพที่เป็นจริงได้.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร