วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 13:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: เมื่อวานนี้, 11:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


กิจในอริยสัจจ์ ๔ (หน้าที่อันจะพึงทำต่ออริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง, ข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง จึงจะชื่อว่ารู้อริยสัจหรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว
๑. ปริญญา (การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ ตามหลักว่า ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ ทุกข์ควรกำหนดรู้ คือ ควรศึกษาให้รู้จักให้เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง ได้แก่ การทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตของปัญหา
๒. ปหานะ (การละ เป็นกิจในสมุทัย ตามหลักว่า ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ สมุทัยควรละ คือ กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ได้แก่การแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา
๓. สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ นิโรธควรทำให้แจ้ง คือ เข้าถึง หรือบรรลุ ได้แก่การเข้าถึงสภาวะที่ปราศจากปัญหา บรรลุจุดหมายที่ต้องการ
๔. ภาวนา (การเจริญ เป็นกิจในมรรค ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ มรรคควรเจริญ คือ ควรฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย ได้แก่การลงมือแก้ไขปัญหา

ในการแสดงอริยสัจจ์ ก็ดี ในการปฏิบัติธรรมตามหลักอริยสัจจ์ ก็ดี จะต้องให้อริยสัจจ์แต่ละข้อ สัมพันธ์ตรงกันกับกิจแต่ละอย่าง จึงจะเป็นการแสดงและเป็นการปฏิบัติโดยชอบ ทั้งนี้ วางเป็นหัวข้อได้ดังนี้
๑. ทุกข์ เป็นขั้นแถลงปัญหาที่จะต้องทำความเข้าใจและรู้ขอบเขต (ปริญญา)
๒. สมุทัย (เป็นขั้นวิเคราะห์และวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหา ซึ่งจะต้องแก้ไขกำจัดให้หมดสิ้นไป (ปหานะ)
๓. นิโรธ เป็นขั้นชี้บอกภาวะปราศจากปัญหา อันเป็นจุดหมายที่ต้องการ ให้เห็นว่าการแก้ปัญหาเป็นไปได้ และจุดหมายนั้นควรเข้าถึง ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จ (สัจฉิกิริยา)
๔. มรรค เป็นขั้นกำหนดวิธีการ ขั้นตอน และรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติในการลงมือแก้ปัญหา (ภาวนา)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: เมื่อวานนี้, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย สมุจเฉทปหานะ

ก็การละธรรมทั้งหลายมีสังโยชน์เป็นด้วยอริยมรรคญาณ อย่างที่มัน
หมุนกลับอีกไม่ได้ เหมือนกับการทำลายตันไม้ที่ถูกสายฟ้าฟาดฉะนั้น การละอย่างนี้นั้น
ชื่อว่า สมุจเฉทปหานะ ซึ่งท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรหมายถึง ได้กล่าวไว้ว่า ก็สมุจ
เฉทปหานะย่อมมีแก่โยคาวจรผู้เจริญขยามิมรรค (มรรคที่ให้ถึงความสิ้นคือนิพพาน) อัน
เป็นโลกุตตระ"ดังนี้.
ในบรรดาปหานะทั้ง ๓ ดังกล่าวมานี้ ในปหานกิจนี้ทำนประสงค์เอาสมุจปหานะ
อย่างเดียว แต่เพราะเหตุในส่วนเบื้องตันแห่งโยคีนั้น แม้วิกขัมภนะและตทังค-
ปหานะ ก็มีมรรคเป็นจุดมุ่งหมายนั้นเอง เพราะเหตุนั้น โดยปริยายนี้ แม้ปหานะทั้ง ๓ ก็
พึงทราบว่า เป็นกิจแห่งมรรคญาณ เพราะว่าแม้สิ่งใดที่ท่านผู้ปลงพระชนม์พระราชาฝ่าย
ปฏิปักษ์แล้วเสวยราชสมบัติ ได้กระทำไว้ก่อนแต่เสวยราชสมบัติ ทั้งหมดย่อมกล่าวได้ว่า
"สิ่งนี้ ๆ พระราชาได้ทรงทำแล้ว" ทีเดียว.

อธิบาย สมุจเฉทปหานะ

อสนิวิจกฺก๋ แปลว่า สายฟ้า. คำว่า การละอย่างนั้น ท่านอาจารย์
กล่าวถึงการทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้เป็นธรรมดา. มรรคใดย่อมถึงความสิ้นไป คือความ
ดับไปแห่งกรรมและกิเลส หรือแห่งสังขารทั้งหลายแม้ทั้งปวง เหตุนั้น มรรคนั้นชื่อว่า
ขยคามี (ถึงความสิ้นไป) ได้แก่ อริยมรรค. แม้เมื่อเนื้อความสำเร็จด้วยศัพท์ว่า โลกุตตระ
ท่านใช้ศัพท์ว่า ขยคามี เพื่อพรรณนาถึงคุณ. อวธารณะว่า สมุจุเฉทปุปหานเมว ท่านกล่าว
ถือเอาความโดยตรง.
บทว่า ตทตฺถาเนว แปลว่า มีสมุจเฉทปหานนั้นเป็นจุดมุ่งหมายนั่น เอง. ด้วยเหตุ
นั้น ท่านอาจารย์กล่าวความที่วิกขัมภนปหานและตทังคปหานเป็นองค์แห่งมรรค เพราะเว้น
จากวิกขัมภนปหานและตทังคปหานนั้น มรรคก็ไม่สำเร็จ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า บทว่า ตทตฺถาเนว
ความว่า มีมรรคเป็นจุดหมายนั้นเอง
ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์ย่อมแสดงความที่วิกขัมภนปหาน และตทังคปหานเหล่า
นั้นเป็นกิจแห่งมรรคนั้น เพราะความที่มีมรรคนั้นเป็นจุดมุ่งหมาย ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์
จึงกล่าวคำว่า เพราะเหตุนั้น ดังนี้เป็นต้น ท่านอาจารย์ประสงค์จะแสดงเนี้อความนั้นแหละ
ด้วยอุปมา จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านผู้ปลงพระชนม์พระราชาผ่ายปฏิปักษ์ ดังนี้ หลาย
บทว่า ยมฺปิ ตโต ปุพฺเพ กตํ แปลว่า สิ่งใดที่ได้กระทำไว้ก่อนได้ราชสมบัติ เป็นต้นว่า การ
ยึดชายแดนและการทำลายป้อมเป็นต้น. พึงทราบว่า ย่อมกล่าวได้ว่า "สิ่งนี้ ๆ พระราชา
ได้ทรงทำแล้ว" ทีเดียว ฉันใด วิกขัมภนปหานและตทังคปหานแม้อันโลกิยญาณให้สำเร็จ
แล้วในก็กล่าวด้วยความเป็นกิจแห่งมรรค ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจสมุจเฉทปหา
ฉันนั้น เพราะความที่มีมรรคนั้นเป็นจุดมุ่งหมาย และเพราะควานที่วิกขัมภนปหาน และ
สมุจเฉทปหานเหล่านั้น ตกไปในความสืบต่อของมรรคนั้น.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร