วันเวลาปัจจุบัน 29 ก.ค. 2025, 04:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พบคอลัมน์ที่อธิบาย "บุญ" "สมานฉันท์" ที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เขียนเผยแผ่

ทางหนังสือพิมพ์ 3 ตอน ตั้งชื่อว่า "ช่วยกันนำพาประเทศไทย" ตอนที่ 3 ลงเมื่อลง 4 ก.ค. พึงทำ

ความเข้าใจความหมายคำว่า บุญ กับ สมานฉันท์

:b48: :b48: :b48:

ช่วยกันนำพาประเทศไทย (1)

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

ชวนกันสรรอนาคต สมานฉันท์ และสามัคคี ชนิดไหนที่ขณะนี้ต้องการ

ทำอย่างไรความสามัคคีจะเกิดขึ้นได้ เราบอกว่าความสามัคคีคือความพร้อมเพรียงกัน การมารวมกำลัง

ร่วมกันทำการที่ดีงามเป็นประโยชน์ แต่จะรวมกันได้อย่างไร มองลึกลงไปก็ต้องมีเหตุปัจจัย

เหตุปัจจัยอย่างหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งบอกได้ง่ายก็คือ ศรัทธา อย่างญาติโยมมีศรัทธาในพระสงฆ์ ใน

พระศาสนา ก็ไปรวมกัน ไปร่วมกันทำบุญ หรือไปช่วยงานช่วยการที่วัด นี่ก็เกิดความสามัคคี

นอกจากศรัทธา ธรรมะคือคุณสมบัติในตัวเราอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ ก็คือ ฉันทะ ที่แปลว่า ความพอใจ

ใฝ่ปรารถนา หมายถึงพอใจใฝ่ปรารถนาจะทำอะไรบางอย่างที่มองเห็นว่าดีงาม

คนเรานี้ ถ้าพอใจชอบใจอยากได้อะไรอันเดียวกัน ก็อาจจะเกิดปัญหา ต้องแย่งชิงทะเลาะกัน ทำให้แตก

สามัคคี แต่ถ้าพอใจอยากจะทำอะไรที่ดีงามตรงกัน ลงเป็นอันเดียว ก็จะเกิดความสามัคคี ความพอใจนี้

ทางพระเรียกว่า "ฉันทะ" อาการที่ประสานกัน เสมอกัน ลงกัน ตรงกัน ท่านเรียกว่า "สมานะ"

ทีนี้ ถ้ามีฉันทะคือความพอใจใฝ่ปรารถนาจะทำนั้น ตรงกัน เสมอกัน ลงกัน ร่วมกัน เป็นสมานะ

ก็เรียกว่า "สมานฉันทะ" ก็คือ คำว่า สมานฉันท์ นั่นเอง

เราจะมีความสามัคคีกันดีได้ ก็โดยมีสมานฉันท์ ถ้ามีสมาน ฉันท์แล้ว เราก็จะสามัคคีกันแน่นแฟ้น

การที่ญาติโยมชาวศรีประจันต์มีความสามัคคี ดังที่แสดงออกมาอย่างน้อยในวันนี้ ก็เป็นตัวอย่างของ

ความมีสมานฉันท์นี่แหละ ญาติโยมมีสมานฉันท์คือมีความพอใจใฝ่ปรารถนาอะไรที่ตรงลงเป็นอันเดียว

กัน ลองขุดค้นให้เจอสิว่า เอ๊ะ ที่เรามาสามัคคีกันคราวนี้ เรามีตัวฉันทะอะไรหนอ ที่สมานกันจับอันนั้น

ให้ได้ คือฉันทะที่ร่วมกัน ความพึงพอใจใฝ่ปรารถนาที่เป็นอันเดียวกัน อันนี้แหละคือแกนของความ

สามัคคี

ทีนี้ ความพอใจใฝ่ปรารถนาอันดีที่ร่วมกัน ก็มี 2 แบบ คือ ความพอใจบางอย่าง เช่น ความชื่นชมใน

คุณงามความดี สิ่งที่ดีงาม เมื่อชื่นชมเหมือนกันไป ใจเราก็รวมกันเป็นสามัคคีจริง เพราะว่าความพอใจ

ที่ตรงกันนั้นมายึดเหนี่ยวใจให้รวมกันได้

แต่ฉันทะที่ทำให้เกิดความสามัคคีแบบนี้ เป็นความสามัคคีที่ค่อนข้างหยุดนิ่ง สามัคคีอยู่เฉยๆ ก็เลยอาจ

จะไม่ก้าวไปไหน

ทีนี้ ฉันทะที่จะทำให้เกิดสามัคคีที่มีพลังยิ่งใหญ่ ทำให้เกิดความ ก้าวหน้าได้ ต้องเป็นฉันทะที่แท้ คือ

ความพอใจใฝ่ปรารถนาจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง โดยมีใจใฝ่ปรารถนาเลยต่อไปถึงจุดหมาย คือ เรามอง

เห็นจุดหมายอะไรสักอย่างหนึ่ง เมื่อเราใฝ่ปรารถนาจุดหมายนั้นแล้ว เราก็อยากจะทำการเพื่อให้ถึงจุด

หมายนั้น ตัวนี้แหละจึงจะเป็นฉันทะที่แท้จริง คือ ความพอใจใฝ่ปรารถนาที่จะทำ (ไม่ใช่แค่พอใจเฉยๆ)

ถ้าอยากทำการเพื่อให้บรรลุจุดหมายอย่างหนึ่งขึ้นมา คราวนี้ละก็มันจะเป็นพลังซึ่งทำให้เกิดความสามัคคี

ชนิดที่ไม่ใช่หยุดนิ่ง แต่เป็นการรวมตัวรวมกำลังกันเพื่อทำการอะไรอย่างหนึ่ง คือเป็นความสามัคคี

ที่พร้อมด้วยความมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าไป ในการทำอะไรต่ออะไรที่จะให้เจริญก้าวไปสู่ความสำเร็จ

บรรลุจุดหมายที่ต้องการนั้น

เราต้องการสมานฉันท์แบบนี้ ประเทศชาติของเราก็ต้องการสมานฉันท์แบบนี้มาก

ประเทศไทยไม่ใช่ต้องการสมานฉันท์เฉพาะที่ภาคใต้หรอก ญาติโยมพูดกันนักว่าทำอย่างไรจึงจะให้เกิด

สมานฉันท์ที่ภาคใต้

ปัญหาภาคใต้เราคิดแก้ไขในเรื่องสมานฉันท์กันมาตั้งนานแล้ว ก็ยังไม่สำเร็จสักทีเพราะที่จริง

ปัญหาที่แท้ไม่ใช่แค่ไม่สมานฉันท์กันที่ภาคใต้ แต่ปมใหญ่อยู่ที่คนไทยไม่สมานฉันท์กันในเรื่องภาคใต้

นอกจากนั้น เราไม่ต้องไปรอ เพราะสมานฉันท์นั้นต้องใช้ทุกที่ทุกเวลา แล้วอย่าลืมแง่มุมของสมานฉันท์

อย่างที่บอกเมื่อกี้ อย่าเอาแค่สมานฉันท์แบบหยุดนิ่ง ไม่ใช่ว่าพอใจใฝ่ปรารถนาสิ่งที่ดีงาม แล้วชื่นชม

พอใจรวมใจกันได้แค่สามัคคีอยู่นิ่งๆ เฉยๆ แต่ต้องรวมกำลังรวมใจแบบมีจุดมุ่งหมายและใฝ่จะทำอย่างที่

ว่าแล้ว คือ จะทำการนี้เพื่อให้ลุถึงจุดหมายนั้น

ถ้าสมานฉันท์อย่างนี้ ความสามัคคีจะมีพลังที่แท้จริง เราจะมุ่งมั่นเดินหน้าไปได้ เราต้องการความ

สามัคคีแบบนี้

โดยเฉพาะเวลานี้ สังคมประเทศชาติ เราก็รู้กันอยู่ว่ามีปัญหามาก ต้องมีการแก้ไขพร้อมกันไปกับการ

สร้างสรรค์ เพราะฉะนั้น เราจะต้องมีสมานฉันท์กันให้มาก

อย่ามองข้ามสมานฉันท์ ในการทำบุญขั้นพื้นฐาน

http://www.khaosod.co.th/view_news.php? ... B5TUE9PQ==

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.ค. 2010, 16:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วยกันนำพาประเทศไทย (2)

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


เราพูดกันเรื่อยมาถึงความสามัคคี ครั้นถึงตอนนี้เกิดมีคำว่า สมานฉันท์ เราก็นิยมพูดกันเกร่อ จนบางที

แทบจะลืมความสามัคคี ทั้งที่เอาเข้าจริงคำว่า "สมานฉันท์" มีความหมายแค่ไหน เราก็ไม่ชัดเจนเลย

ที่จริง "สมานฉันท์" เป็นคำเก่า อาตมาก็เลยอยากจะเล่าเรื่องให้ฟัง จะได้มองเห็นว่ามันเป็นคำที่

แสนจะเก่าแก่ และสมานฉันท์ที่สำคัญก็คือสมานฉันท์ที่ทำให้มาร่วมสามัคคีกันทำบุญ

ในที่นี้จะเล่าให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง เรียกง่ายๆ ว่าเรื่องกำเนิดพระอินทร์ โยมรู้จักพระอินทร์กันทุกท่าน

พระอินทร์ก็เกิดจากสมานฉันท์นี่แหละ ถ้าไม่มีสมานฉันท์ก็ไม่มีพระอินทร์

ถ้าเป็นญาติโยมเก่า ๆ ก็น่าจะรู้เรื่องของพระอินทร์นี้ว่าตามคติพระพุทธศาสนาพระอินทร์เกิดมาอย่างไร

ก็เลยมาทบทวนเรื่องเก่ากันหน่อย

ได้บอกเมื่อกี้ว่าพระอินทร์นี่เป็นเรื่องที่เกิดจากสมานฉันท์ และเป็นการมาสมานฉันท์กันในการทำบุญ

เรื่องเป็นอย่างไร คำในบาลีนั้นบอกความหมายของสมานฉันท์ชัดเลย และขอให้โยมสังเกตหรือ

วิเคราะห์ดูด้วยว่า บุญในเรื่องนี้ คือ อะไรบ้าง

ในคัมภีร์ท่านเล่าไว้ว่า มีคนหนุ่ม 33 คน เอาละสิ พอเริ่มเรื่องก็ขอแทรกนิดหนึ่ง คือให้สังเกตว่า

คำว่า "33" นี่แหละ เป็นที่มาของคำว่า ดาวดึงส์ ที่เป็นชื่อสวรรค์ของพระอินทร์

อธิบายหน่อยว่า "33" นั้น เป็นภาษาบาลีว่า "เตตฺตึส" (อ่านว่า เตตติงสะ) แล้ว เตตฺตึส ก็มาเป็น

"ตาวตึส" (ไทย = ดาวดึงส์; บางทีเรียกว่า ไตรตรึงษ์ ซึ่งเป็นรูปที่เพี้ยนมาจากคำสันสกฤต) ในคน

หนุ่ม คือมาณพ 33 คนนี้

คนหนึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ (ชื่อนายมฆะ) ส่วนอีก 32 คนก็เป็นเพื่อนๆ ในชุมชนเดียวกัน

มาณพหรือชายหนุ่ม 32 คนนี้ได้มีสมานฉันท์กับพระโพธิสัตว์ (คำบาลีว่า "เตตฺตึส ชนา โพธิสตฺเตน

สมานจฺฉนฺทา") ในการทำงานบำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชน เพื่อทำชุมชนนั้นให้ดีงาม รื่นรมย์ ร่มรื่น

และร่มเย็น ปลอดภัย มีความสะดวกในการที่จะทำกิจกรรมการงานต่างๆ ที่จะให้เกิดความเจริญงอกงาม

และอยู่กันร่มเย็นเป็นสุข เมื่อจะมาร่วมงานกันนายมฆะที่เป็นผู้นำก็ให้ทุกคนรักษาศีล 5 เช่น ไม่ตุกติก

ในเรื่องเงินทอง ไม่ดื่มสุรา เป็นต้น แล้วมาณพ 33 คนนั้น ซึ่งมีสมานฉันท์ ก็พร้อมใจกันเที่ยวทำกิจกรรม

บำเพ็ญประโยชน์

ขอให้สังเกตว่า กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์นั้นท่านใช้คำว่า "บุญ" ดังข้อความภาษาบาลีในคัมภีร์ว่า

"ปุญฺญานิ กโรนฺตา วิจรนฺติ" แปลว่า (มาณพ 33 คนนั้น) "เที่ยวทำบุญกันอยู่" คนกลุ่ม 33

คนนี้เที่ยวทำบุญอะไรกันบ้าง และเที่ยวทำบุญกันอย่างไร ขอให้ญาติโยมฟังนะความหมายของ

การทำบุญเพื่อจะได้เข้าใจความหมายของการทำบุญชัดเจนขึ้นบ้าง แล้วก็เป็นบุญอย่างสำคัญ ที่ทำให้

มาณพ 33 คนนั้นไปเป็นเจ้าสวรรค์แห่งดาวดึงส์

"บุญ" นี่คืออะไร มาณพเหล่านี้ตื่นแต่เช้า ก็ถือมีด ขวาน และอุปกรณ์อื่นๆ แล้วพากันไปสำรวจดู

หนทางสัญจรที่ไหนขรุขระไม่เรียบร้อยก็ช่วยกันขุด ช่วยกันถากถาง ช่วยกันปราบ ช่วยกันปรับให้เป็น

ถนนที่เรียบราบสม่ำเสมอ เพื่อให้คนเดินทางไปมาได้สะดวก ที่ไหนติดขัดมีลำธารสายน้ำกั้นก็สร้าง

สะพานข้ามไป ที่ไหนขาดแคลนน้ำก็ขุดสระน้ำให้ ตลอดจนสร้างศาลา เป็นที่พักคนเดินทางบ้าง

เป็นที่คนมาประชุมกันบ้าง หรือเป็นที่ทำกิจกรรมต่างๆ ดังนี้เป็นต้น

เมื่อมาณพ 33 คนเป็นหลักในการทำบุญเหล่านี้แล้ว ต่อมาคนอื่นๆ ก็มาร่วมแรงร่วมใจมากขึ้นๆ

เช่น ทางฝ่ายสตรีก็เข้ามาช่วย เมื่อคนหนุ่มพวกนี้ไปสร้างศาลาที่พักคนเดินทาง กลุ่มผู้หญิงก็ไป

ช่วยกันปลูกต้นไม้ จัดสวน ตกแต่งบริเวณ เป็นต้น เลยกลายเป็นว่าชุมชนของเขาทั้งร่มเย็นมีความสงบ

สุข และน่ารื่นรมย์ด้วย

จากนั้นมาณพ 33 คนนี้ก็ขยายงานไปบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ชุมชนอื่น ที่หมู่บ้านอื่นๆ ต่อไปอีก

นี้คือการทำบุญ ที่ท่านเล่าเรื่องไว้ชัดเจนในคัมภีร์ เป็นบุญขั้นพื้นฐานเลยทีเดียว แต่บางทีญาติโยม

ก็ลืมกันไป

เวลาจะทำบุญเรามักนึกกันแต่ในขั้นล้ำลึกข้ามชีวิตประจำวัน เอาแค่ว่าไปทำบุญที่วัด ไปถวาย

ภัตตาหาร อะไรต่างๆ กับพระ แต่บุญแบบต่างๆ ในคัมภีร์แท้ๆ เราไม่เอามาคิดพิจารณาให้ครบถ้วนทั่ว

ถึง ทำให้เกิดช่องว่างในการทำบุญ เราจะไปทำบุญที่วัด ไปถวายภัตตาหาร เป็นต้น ได้ดีจริง

ก็ต่อเมื่อบ้าน หมู่บ้าน ชุมชนของเรานี้อยู่ในภาวะที่ดีด้วย ถ้าเราจัดทำหมู่บ้าน ชุมชนของเราให้ดี

เป็นสัปปายะ อยู่กันผาสุก มีความสงบเรียบร้อยดีแล้ว เราก็พร้อมที่จะไปทำบุญที่วัด ไปเลี้ยงพระ เป็นต้น

ได้อย่างไร้กังวล เรียกว่าสามารถก้าวไปในบุญกุศลได้อย่างมั่นคงและมั่นใจ

แต่ถ้าที่บ้านและในชุมชนสับสนวุ่นวาย ทั้งขุ่นข้องและขัดข้อง เวลาไปทำบุญที่วัด ไม่ว่าจะรักษาศีล

หรือจะเจริญจิตตภาวนาและปัญญาภาวนา ก็ถูกความระแวงหรือหวาดกังวล เป็นต้น ตามมากวน

คอยขัดคอยถ่วงไว้ เลยก้าวไปในบุญ คือ ในการปฏิบัติที่เป็นบุญขั้นสูงขึ้นไปได้ยาก หรือไปไม่ไหว

จึงอย่ามองข้ามบุญขั้นพื้นฐานที่ท่านสอนไว้นี้

http://www.khaosod.co.th/view_news.php? ... B5Tnc9PQ==

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.ค. 2010, 16:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2010, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วยกันนำพาประเทศไทย (3)

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


ถ้าเราจัดทำบุญขั้นพื้นฐานไว้ดี เวลาไปวัด พระท่านสอนธรรมะแนะนำให้เราประพฤติชอบ อยู่กันดี

ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ช่วยกันสร้างสรรค์ชุมชนของเรา นี่ก็คือให้ทำบุญกันชัดๆ เลย เป็นการย้ำ

เป็นการหนุนและเสริมการทำบุญของเราให้หนักแน่นยิ่งขึ้นอีก คือให้มั่นแน่วอยู่ในทางของบุญนั่นเอง

คนไทยชอบทำบุญแล้ว ถ้าศึกษาบุญด้วย จะเยี่ยมยอด การทำบุญขั้นพื้นฐานนี้

บางทีเราก็ไม่ได้นึกถึง คอยจะมองข้ามไปเสีย ที่จริงก็คือการพัฒนาชีวิต พัฒนาสังคม ในทางที่ถูกต้อง

อย่างบริสุทธิ์ใจนั่นเอง

บุญของมาณพ 33 คน ที่มีมฆมาณพเป็นผู้นำนี้ ถ้าใช้ภาษาปัจจุบัน ก็คือการมาช่วยกันพัฒนาหมู่บ้าน

พัฒนาชุมชนนั่นเอง
แต่ภาษาเก่าเรียกว่า "ทำบุญ" คือ การเห็นแก่ประโยชน์สุขร่วมกัน ของตนเอง

และของผู้อื่น ของส่วนรวม ของชุมชน ของหมู่บ้าน แล้วมาช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์ มาสร้างสิ่ง

สาธารณูปโภค ทำสิ่งที่จะช่วยให้เกิดความร่มเย็นปลอดภัย

นอกจากความเป็นอยู่สัปปายะด้านวัตถุแล้ว ที่ขาดไม่ได้ก็คือ การชักชวนชักนำกันให้ประพฤติดีปฏิบัติ

ชอบ ไม่ก่อความเดือดร้อนเบียดเบียนกัน แต่ให้เกื้อกูลกัน พูดสั้นๆ ว่า ให้ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ดังที่ท่าน

เล่าไว้ในเรื่องนี้ด้วยว่า มาณพ 33 คนนี้ ได้ช่วยแนะนำชักจูงคนที่ติดยาเสพติด กินเหล้าเมายา ให้ละเลิก

และชวนให้ตั้งตนอยู่ในศีล ในธรรม

นี่แหละ บุญนี้คลุมไปหมด ตั้งแต่ในบ้านไปจนถึงทั้งสังคม ตั้งแต่เรื่องวัตถุไปจนถึงเรื่องนามธรรม ทั้งทาง

จิตใจและปัญญา

เพราะฉะนั้น เราจะต้องหันกลับมาทบทวนความหมายของคำว่า "บุญ" กันให้ชัด อย่างน้อยก็มองบุญ

ให้กว้างขวางทั่วถึง ถ้าทำบุญกันอย่างนี้ละก็ ชีวิต ครอบครัว หมู่บ้าน สังคม จะดีงามมีความสุขแน่นอน


ถึงเวลาจะเอาคำตรัสของพระพุทธเจ้ามาเป็นข้อสรุป สำหรับตรวจสอบการทำบุญขั้นพื้นฐานของเรา

ขอให้ดูพุทธพจน์ต่อไปนี้

"ชนเหล่าใด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน โรงบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย

บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงาม ทั้งคืนทั้งวัน ตลอดทุกเวลา ชนเหล่านั้น ตั้งอยู่ในธรรม

ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้เดินทางสวรรค์"


เอ่ยมาแล้วว่า มาณพ 33 คนนี้ ตื่นเช้าขึ้นมาก็ "ปุญฺญานิ กโรนฺตา วิจรนฺติ" แปลว่า เที่ยวทำบุญกันไป

คือเที่ยวทำความดี หรือเที่ยวบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ถ้าสังคมไทยเอาใจใส่ไม่ละเลยการทำบุญแบบนี้กัน

แล้วเอาไปประสานกับบุญชั้นลึกเข้าไปที่เราชอบทำกันอยู่แล้ว ชีวิตและสังคมก็จะดีงามร่มเย็นเป็น

สุขอย่างแท้จริง

คนไทยเราชอบทำบุญกันนัก ก็ดีอยู่ แต่มักทำไปโดยไม่รู้เข้าใจแม้แต่ว่าบุญ คือ อะไร บุญเป็นอย่างไร

จึงน่าเสียดายอย่างยิ่ง ถ้าคนไทย ชอบทำบุญ และชอบศึกษาบุญด้วย คนไทยและสังคมไทยจะดีเลิศ

ประเสริฐยอดเยี่ยม


สาระของเรื่องกำเนิดพระอินทร์ที่เล่ามานี้ ก็คือ ความใฝ่ปรารถนา ต่อความดีความงามความรื่นรมย์ร่ม

เย็นและประโยชน์สุข ที่จะทำให้เกิดขึ้นแก่ชุมชน เป็นต้น ที่เรียกว่า ฉันทะ ซึ่งคนเหล่านี้มีเสมอเหมือนกัน

เรียกว่า สมาน กัน เป็นสมานฉันท์แล้ว ก็ทำให้เกิดความสามัคคีมีกำลัง ชนิดที่มาร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน

ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์

สมานฉันท์แบบที่ว่านี้แหละ ทำให้เกิดงานเกิดการที่เป็นการสร้างสรรค์อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาให้

สงบจากการทะเลาะวิวาท ให้คนเลิกรบราฆ่าฟันก่อการร้ายกันเท่านั้น แต่มันก้าวไปไกลกว่านั้น

โดยทำให้เกิดการกระทำในทางก่อกุศลคือก่อการดีด้วย

นอกจากนั้น เมื่อคนมีสมานฉันท์ในการทำบุญขั้นพื้นฐานได้แล้ว เขาก็จะขยายออกไปมีสมานฉันท์

ในเรื่องราวกิจการในระดับและขอบเขตที่กว้างใหญ่ขึ้นไป เช่น ในระดับชาติได้ แต่ตรงข้าม ถ้าแม้แต่

ในเรื่องพื้นฐานแค่ประโยชน์สุขแห่งชุมชนของตน คนก็ยังไม่มีสมานฉันท์ ไม่เคยได้ฝึกกัน จะหวังให้เขา

มีสมานฉันท์ขั้นใหญ่กว้าง ก็คงจะหวังได้ยาก

สมานฉันท์เป็นเรื่องของการที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ควรพูดถึง สมานฉันท์

อยู่แค่จะแก้ปัญหาการทะเลาะ วิวาท แต่ต้องพูดถึงการที่จะรวมกำลังสามัคคีในการสร้างสรรค์ประโยชน์

สุขความดีงามและความเจริญก้าวหน้าต่อไป

เอาละ เป็นอันว่าจบเรื่องนี้ไปตอนหนึ่งว่า มาณพ 33 คนนี่แหละ ตายแล้วก็ได้ไปเกิดในสวรรค์

และเรียกสรรค์ชั้นนี้ว่า ดาวดึงส์ คือสวรรค์ชั้น 33 คน โดยตัวพระโพธิสัตว์ที่เป็นหัวหน้าก็ไปเป็น

พระอินทร์หรือท้าวสักกะ

http://khaosod.co.th/view_news.php?news ... B3TkE9PQ==

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.ค. 2010, 09:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2010, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ศึกษาความหมายคำว่า บุญ ต่อ

ตอน "พระเจ้าอโศกใช้ทรัพย์และอำนาจทำบุญอะไร ?"

viewtopic.php?f=7&t=33105

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2010, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7520

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b12:
...ข้าพเจ้าลี้ภัยทางโลก...หลบไปพักผ่อนมาเจ้าค่ะ...
...ท่านกรัชกายได้ไปสนทนาธรรมที่บ้านธัมมะรึยังเจ้าคะ...
...หรือเข้าไปศึกษาเว็บบ้านธัมมะได้อะไรดีๆมาเล่าสู่กันฟังบ้างสิ...
:b16:
:b4: :b4:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 12 ก.ค. 2010, 09:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2010, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:


...ข้าพเจ้าลี้ภัยทางโลก...หลบไปพักผ่อนมาเจ้าค่ะ...
...ท่านกรัชกายได้ไปสนทนาธรรมที่บ้านธัมมะรึยังเจ้าคะ...
...หรือเข้าไปศึกษาเว็บบ้านธัมมะได้อะไรดีๆมาเล่าสู่กันฟังบ้างสิ...


โลกเกิดอะไรขึ้นหรือขอรับ แล้วไม่หลบที่ไหนมาจึงพ้นจากโลกได้ล่ะขอรับ

เข้าไปฟังมาบ้างครับ แต่ฟังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ กรัชกายคงบุญน้อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2010, 11:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7520

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
อ้างคำพูด:
โลกเกิดอะไรขึ้นหรือขอรับ แล้วไม่หลบที่ไหนมาจึงพ้นจากโลกได้ล่ะขอรับ

เข้าไปฟังมาบ้างครับ แต่ฟังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ กรัชกายคงบุญน้อย

:b8:
...ทำไมประมาทจิตผู้รู้ว่าบุญน้อย...บุญมากและประเสริฐแล้วที่ได้อัตภาพมนุษย์...
...การฟังต้องน้อมด้วยธรรมโยนิโสมนสิการและหลักกาลามสูตรสิบนั่นน่ะลึกซึ้งมาก...
...เพราะฟังที่เชื่อด้วยความรู้ที่เข้าใจธรรม...จะแตกต่างจากการจดจำธรรมดาลิบลับ...
...ความเข้าใจขณะที่ฟังคือปัญญาของจิตดวงนั้น...เมื่อไม่ได้ฟังก็ลืมแล้วว่าเป็นสภาพธรรม...
...จึงต้องฟังเพื่อเป็นพหูสูตคือฟังแล้วเกิดปัญญารู้ตามก็จะดับความไม่รู้คืออวิชชาขณะนั้น....
...แม้การบรรลุธรรมในครั้งพุทธกาลก็คือฟัง ณ ขณะนั้นแล้วได้บรรลุธรรม ณ ขณะจิตนั้นๆ...
...เพราะแสดงความจริงที่ผู้รู้รู้ตามแล้วไม่เปลี่ยนแปลงความจริงนั้น...เป็นสัจจญาณ...
:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2010, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การฟังต้องน้อมด้วยธรรมโยนิโสมนสิการและหลักกาลามสูตรสิบนั่นน่ะลึกซึ้งมาก...


ทำไงหรือขอรับ โยนิโสมนสิการ ทำไม่เป็นอยากทำได้บ้าง :b3:

ที่ว่ากาลามสูตรลึกลึกซึ้ง ลึกยังไงขอรับ :b20:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2010, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7520

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b1:
...หลักกาลามสูตรสิบเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง...ผู้รู้ที่รู้ความจริงที่เกิดจริงๆตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง...
...ตั้งแต่พระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ เมื่อบรรลุความจริงนั้น...
...ไม่มีท่านผู้รู้ที่เข้าไปทูลถามพระองค์อีกเพราะเมื่อรู้ความจริงประจักษ์ด้วยตนเองมาแล้วนั้น...
...เพราะไม่ได้เชื่ออย่างไม่ลืมหูลืมตา...สักว่าเชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า...แต่ทรงแสดงให้เกิดผู้รู้...
...ที่เป็นปัจจัตตัง...รู้ได้เฉพาะตน...เพราะรู้ตามจริงของสภาพธรรมที่เป็นอนัตตาจริงๆ...ไม่ได้เห็น...
...เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสิ่งของ...แต่เห็นเป็นสภาพเกิด-ดับนับไม่ถ้วนด้วยการบรรลุสภาพรู้ที่จิตขณะเห็น...
...เป็นความรวดเร็วของการเห็นการเกิด-ดับของจิตที่เหนือจิตของปุถุชนที่เห็นในแบบธรรมดาที่มีแต่กิเลส...
:b20:
...เพราะทรงสอนให้ใช้ปัญญา 3 ระดับคือ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา...
...ขั้นที่หนึ่งคือให้ฟังด้วยปัญญาคือฟังอย่างตั้งใจ ขั้นที่สองคิดไตร่ตรองตามสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาแล้ว...
...เมื่อฟังจนเข้าใจและได้ใคร่ครวญไตรตรองจนทราบเหตุคือสมุทัยด้วยเหตุผลที่ไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว...
...เพราะพระธรรมที่แจกแจงโดยละเอียด...ไม่ว่าจะเป็นพิจารณาขันธ์ห้า กายไม่สะอาด รูป-นาม(กาย-จิต)...
...ทรงอธิบายทุกอย่างโดยละเอียดโดยแยบคายให้เห็นว่าที่เห็นเป็นคนนี่แยกเป็นอวัยวะแล้วคนก็ไม่มี...
...ก็เพราะมายึดมั่นถือมั่นในสภาพเกิด-ดับที่เห็นผิดว่าเป็นกลุ่มก้อน...ก็สภาพเกิด-ดับตลอดเวลา...
...ที่ตถาคตแยกออกด้วยการเห็นโดยละเอียดของจิตแล้ว...ไม่เหลืออะไรให้ยึดเป็นตัวตนได้เลย...
...เพราะก้อนนี้ที่เกิดดับที่มายึดถือไว้ไม่ตั้งอยู่ได้นานเกิดแล้ว ดับแล้ว ไม่เหลือสิ่งเดิมให้จับต้องได้...
...ก็คือความไม่เที่ยงที่ทรงแสดงว่าเป็นอนิจจังนั่นเอง...แต่ด้วยความไม่รู้ที่กิเลสปิดบังความจริง...
...เกิดอวิชชาครอบงำทำให้ไม่เห็นความไม่เที่ยงนั้น...เห็นแต่เป็นกลุ่มก้อนจึงยึดทำให้เกิดทุกขัง...
...เพราะที่ทรงแสดงว่าเพราะไม่เที่ยงจึงทุกข์แต่ความจริงคือสิ่งที่ไม่เที่ยงเกิด-ดับไม่เหลือนั้นเป็นอนัตตา...
:b16:
...ขั้นที่สามคือการน้อมนำเข้าสู่จิตจนเข้าใจแล้วจึงนำไปปฏิบัติพิสูจน์ความจริงด้วยตนเองเท่านั้น...
...ทรงสอนและแสดงความเชื่ออีกสิบประการให้เห็นประโยชน์ของการโยนิโสมนสิการคือน้อมใส่ใจ...
...และปฏิบัติด้วยตนเอง...ทรงแสดงว่าตถาคตสรรเสริญการปฏิบัติบูชามากกว่าอามิสบูชา...
...แต่ก็ไม่คววรขาดอามิสบูชา...ซึ่งเป็นข้อแรกในสิบข้อของบุญกิริยาวัตถุสิบ...ถึงตอนนี้คิดอะไรอยู่...
...ลองคิดไตร่ตรองดูสิว่า...พระองค์ไม่ได้บอกว่าให้เชื่อพระองค์โดยไม่ปฏิบัติ...แต่ยังทรงแสดงว่า...
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว
จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
:b20:
:b44: :b44:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 13 ก.ค. 2010, 11:01, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร