วันเวลาปัจจุบัน 11 พ.ย. 2024, 08:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาหารหล่อเลี้ยงใจ

ท่านสาธุชน ผู้มีความสนใจธรรมทั้งหลาย,
การบรรยายประจำวันเสาร์ แห่งภาคมาฆบูชา เป็นครั้งที่ ๘ ในวันนี้อาตมาก็ยังกล่าวเรื่อง ปัญหาแห่งมนุษยภาพ ต่อไปตามเดิม,.แต่มีหัวข้อย่อยเฉพาะในวันนี้ว่า
"ความมีอาหารใจหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ"
....ท่านที่ยังไม่เคยฟัง เพิ่งมาฟังเป็นครั้งแรก อาจจะสงสัย หรืองงๆอยู่ ว่าเรื่องอะไร..?? ขอบอกกล่างให้ทราบว่า การบรรยายชุดมาฆบูชา ตลอดทั้งภาคนี้จะบรรยายเรื่อง ปัญหาแห่งความเป็นมนุษย์ส่วนที่เกี่ยวกับปัจจัย

ปัจจัยของมนุษย์มีสองฝ่าย
....มนุษย์แบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วน หรือว่า มนุษย์ประกอบอยู่ด้วยส่วน ๒ ส่วน, คือ ส่วนร่างกาย และ ส่วนจิต ส่วนร่างกายก็ต้องการปัจจัยไปตามเรื่องของร่างกาย,. ส่วนจิตก็ต้องการปัจจัยไปตามเรื่องของจิต ถ้าไม่ได้ปัจจัยอย่างถูกต้อง ครบถ้วนทั้ง ๒ เรื่อง ความเป็นมนุษย์ก็ไม่สมบูรณ์,. จะมีสมรรถภาพน้อย, หรือว่าจะไม่มีเลย, หรือจะประกอบอยู่ด้วยความยากลำบากต่างๆนาๆ จึงต้องจัดให้ได้รับปัจจัยเครื่องบำรุงครบถ้วนถูกต้องทั้ง ๒ ฝ่าย

....สำหรับ ฝ่ายร่างกาย นั้น ต้องการปัจจัย ๔ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยใช้สอย และ เครื่องบำบัดโรค เป็น ๔ อย่าง,. นี้ไม่ได้พูดเพราะเป็นเรื่องทางร่างกาย แต่จะพูดเรื่องทางฝ่ายจิต ซึ่งไม่ได้ต้องการอาหารชนิดนั้น,.มันเป็นฝ่ายจิต มันต้องการอาหารตามแบบของจิต, ต้องการปัจจัยอย่างอื่น, เราจึงบรรยายกันเฉพาะปัจจัยทางฝ่ายจิต.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ทีนี้บรรยายต่อๆ กัน เมื่อทางฝ่ายร่างกายมี ๔ ปัจจัย.,ฝ่ายจิตก็จะเรียกว่าปัจจัยที่ ๕ ปัจจัยที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ต่อไป, ถ้าฟังแล้วมันยุ่งก็เปลี่ยนเสียใหม่ก็ได้., เป็นปัจจัยทางฝ่ายจิตอย่างที่ ๑ ที่๒ ที่ ๓ ต่อไปอีกก็ได้, หรือจะเรียกเอามารวมกันให้หมดว่า บรรดาปัจจัยฝ่ายจิตทั้งหลายก็เรียกว่าปัจจัยที่ ๕ ไปทั้งหมดก็ได้., แต่ก็จะต้องพูดว่า ปัจจัยที่ ๕ อย่างที่ ๑ ปัจจัยที่ ๕ อย่างที่ ๒ ปัจจัยที่ ๕ อย่างที่ ๓ ถ้าจะพูดกันอย่างนี้แล้ว ในวันนี้เป็นปัจจัยที่ ๕ อย่างที่ ๘ เราได้บรรยายมาแล้ว ๘ ครั้ง แล้วทั้งครั้งนี้,ล้วนแต่เป็นปัจจัยฝ่ายจิตใจ.

.....ปัจจัยแก่จิตใจ อย่างปัจจัยที่ ๕ อย่างที่ ๑นั้น ก็คือ
...สิ่งประเล้าประโลมใจที่ประกอบไปด้วยธรรมะ
...ปัจจัยที่ ๕ อย่างที่ ๒ คือ
...ความแน่ใจ ในสิ่งที่ตนถือเอาเป็นที่พึ่ง
....ปัจจัยที่ ๕ อย่างที่ ๓ คือ
....ความรู้สึกแห่งมิตรภาพที่แวดล้อมอยู่
....ปัจจัยที่ ๕ อย่างที่ ๔ คือ
....ความเป็นอยู่อย่างถูกต้องโดย ไตรทวาร
....ปัจจัยที่ ๕ อย่างที่ ๕ คือ
....ความรู้ที่เพียงพอเท่าที่ควรจะรู้
....ปัจจัยที่ ๕ อย่างที่ ๖ คือ
....ความมีผู้นำในทางวิญญาน
....ปัจจัยที่ ๕ อย่างที่ ๗ คือ
.....ความมีสุขภาพอนามัยทางจิตอย่างเพียงพอ
.....ปัจจัยที่ ๕ อย่างที่ ๘ ในวันนี้ ก็คือ
......ความมีอาหารใจหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...ฝ่ายจิตต้องการอาหารหล่อเลี้ยงอย่างนี้ ในวันนี้เราก็มาถึง ปัญหาที่ ๘ สำหรับหล่อเลี้ยงจิต มีหัวข้อว่า ความมีอาหารใจหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ

อาหารใจหมายถึงปัจจัยฝ่ายจิต
...สำหรับอาหารใจในที่นี้ ระบุไปยังสิ่งที่เราเรียกกันว่าบุญ., เพราะฉะนั้นถ้าจะพูดอีกอย่างหนึ่ง ก็จะพูดว่า ความมีบุญหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ, แล้วก็พูดต่อไปอีกจนกว่าจะหมดภาคนี้ ด้วยเรื่องปัจจัยทางฝ่ายจิต เรื่องทั้งหมดนี้จึงได้ชื่อว่า ปัญหาแห่งมนุษยภาพ ที่เกี่ยวกับปัจจัย.
....มนุษย์เรามีปัญหาหลายอย่าง แล้ว ปัญหาที่เกี่ยวกับปัจจัย แล้วมันก็มีอยู่อย่างนี้ คือ ทางฝ่ายร่างกาย ถือกันว่ามีอยู่ ๔ อย่าง. ทางฝ่ายจิตนั้นไม่ได้พูดกันไว้อย่างแน่นอน อาตมาก็เลือกเอามาพูด ตามที่เห็นว่าควรเอามาพูดสักเท่าไหร่,หรืออย่างไร. ในวันนี้ก็จะพูดถึง ปัจจัยที่ ๘ ซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับบำรุงในฝ่ายจิตใจ
....ฝ่ายจิตใจต้องการอาหาร อาหารประเภทจิตใจ, ฝ่ายร่างกายก็ต้องการอาหารฝ่ายร่างกาย ประเภทร่างกาย,เมื่อได้ถูกต้องทั้ง ๒ ฝ่าย จึงจะมีความเป็นมนุษย์ที่หมดปัญหา., ตลอดที่ยังไม่ได้ครบถ้วน ก็เรียกว่ายังเป็นปัญหา คือความเป็นมนุษย์นั้นไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นที่น่าพอใจเลย.

....ทบทวนที่แล้วมานิดหน่อยก็ว่า ส่วนร่างกายนั้นแตกต่งจากส่วนจิตใจ ส่วนร่างกายมันเป็นโครงสร้างภายนอก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งจิตใจ คุ้มครองให้เรื่องฝ่ายจิตได้เป็นไปโดยสะดวก หรือปลอดภัย นี่ส่วนโครงสร้างภายนอกเป็นอย่างนี้ ตลอดถึงส่วนที่จะเคลื่อนไหวในทางฝ่ายร่างกาย.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝ่ายจิต-คิดนึกรวมวิญญาน-สติปัญญาด้วย.
ทีนี้ ส่วนจิต หรือทางด้านฝ่ายจิต นั้น จะต้องแยกออกเป็น ๒ อย่าง., คือ ฝ่ายจิต และ ฝ่ายวิญญาน.,
ฝ่ายจิต คือ เรื่องคิดนึก, สมรรถภาพแห่งการคิด การนึก เป็นเรื่องของจิต,
ส่วน วิญญานนั้น เป็นเรื่อง ความรู้ และ สติปัญญา


....ฝ่ายจิต เล็งถึงส่วนที่มันจะ เป็นตัวคิดนึกยืนโรงอยู่ สำหรับคิดนึก., ส่วน สติปัญญา นั้น เป็นอีกส่วนหนึ่ง แม้จะอาศัยจิตอยู่ เราก็ไม่ได้เรียกว่าเป็นจิต เรียกกันไปทีก่อนว่า เป็นเรื่องทางวิญญาน เรื่องทางวิญญานจึงเป็นสมบัติสูงสุดของมนุษย์เรา รับหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของชีวิต.
....เรื่องจิต กับเรื่อง วิญญาน นี้เอามา เรียกรวมกันเสียว่า เรื่องฝ่ายใจ., เราเลยได้เรื่อง ๒ เรื่อง คือเรื่องฝ่ายกาย และเรื่องฝ่ายใจ. เรียกเป็นบาลี หน่อยก็เรียกว่า เรื่องรูปเรื่องนาม กายกับใจ, หรือ รูป กับ นาม นี้ต้องไปด้วยกัน พอแยกออกจากกัน ก็เป็นอันว่าล้มเหลวหมด ไม่อาจจะตั้งอยู่ได้, ไม่อาจจะเป็นไปได้, ไม่อาจจะทำหน้าที่ใดๆ ๆด้.

กาย-ใจ โดยธรรมชาติแยกกันไม่ได้
....ฉะนั้น ขอให้มองเห็นตามที่เป็นจริง ในความรู้สึกของตนแต่ละคน ๆ ., กายกับใจต้องอาศัยกัน จนไม่อาจจะแยกเป็น ๒ สิ่ง, ที่มันจะต้องรวมเป็นสิ่งเดียวกันแม้ โดยนิตินัย คือทางคำพูด., เรา อาจจะแยกพูด เป็น ๒ สิ่ง คือกายสิ่งหนึ่ง,กับใจสิ่งหนึ่ง, แต่ โดยพฤตินัย ตามธรรมชาติที่แท้จริงนั้น มัน ไม่อาจจะแยกกันได้, พอแยกออกจากกัน มันก็หมดความหมายทั้ง ๒ อย่าง คือไม่มีสมรรถภาพใดๆเลย จึงควรเรียกรวมกันว่า กายใจ หรือ รูปนาม เป็นของสิ่งเดียว.,มีชื่อเรียกอย่างนั้น หรือว่ามันต้องแฝดกันอยู่เสมอไป.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำอธิบายแต่โบราณ เขาก็อธิบายไว้โดยอุปมา., แม้คนในปัจจุบันนี้ ก็ ควรจะได้ยินได้ฟัง
..อุปมานั้น ว่า., คนคนหนึ่งเป็นง่อยเดินไม่ได้ แต่มีสติปัญญาดี มันสมองดี นั้งอยู่ริมทาง. นี้คนอีกคนหนึ่งตาบอด., แต่ร่างกายใหญ่โตแข็งแรง ตาบอดเดินซมซานมาตามทางเพราะตาบอด, ไปสะดุดเอาคนง่อยตาดี ก็เลยไต่ถามกันว่าอะไรเป็นอะไร, อะไรเป็นอย่างไร ในที่สุดก็เข้าใจซึ่งกันและกันว่าเรา ๒ คนนี้ต้องรวมกัน.

ชายคนตาบอด รูปร่างแข็งแรงใหญ่โต ก็ยอมให้ชายร่างแคระแต่ตาดีนั้นขึ้นขี่อยู่บนบ่า รวมเป็นคนเดียวกัน แล้วก็ไปด้วยกัน., มันก็เลยไปได้, ไปไหนไปได้., เพราะเขารวมกัน คนง่อยตาดีขึ้นขี่บ่าคนตาบอดที่แข็งแรงก็เลยไปได้,ทำอะไรก็ได้,หาอาหารกินก็ได้ ได้เต็มที่.

....อุปมานี้ใช้กับร่างกายและใจ. ใจเหมือนกับคนง่อยตาดี, ร่างกายเหมือนกับคนแข็งแรงตาบอด อาศัยกันแล้วก็ไปด้วยกัน., ทำหน้าที่กันคนละอย่าง แล้วก็รวมกันเป็นของคนเดียวกัน, นี้เป็นเรื่องของคำว่า กายกับใจ เราต้องรู้จักมันในลักษณะอย่างนี้ แล้วก็พยายามทำให้สำเร็จประโยชน์.

กายกับจิตต้องการอาหารต่างกัน.
...เมื่อรู้เรื่องกายและเรื่องใจพอสมควรแล้ว ก็จะ มาดูส่วนที่เรียกว่าอาหาร., อาหารกายเป็นอย่างไร?อาหารใจเป็นอย่างไร?..
....กายเป็นวัตถุ กินอาหารอย่างวัตถุ และต้องการบริหารร่างกายในฐานะที่เป็นวัตถุ ส่วน จิตนั้นเป็นนามธรรม ต้องการอาหารอย่างนามธรรม, ต้องการบริหารตามแบบของนามธรรม, ต้องกายที่ดีเป็นเครื่องรองรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้..เรื่อง วิญญาน คือ สติปัญญา ก็ต้องการอาหาร คือความเจนจัดในทางวิญญาน ซึ่งเขาเรียกในเรื่องทางฝ่ายจิตนี้ว่า spiritual experience คือคามเจนจัดในทางฝ่ายวิญญาน ที่หาได้ทุกวันๆ ๆ,ได้ผ่านสิ่งใดไป ก็มีความรู้ความจัดเจนในสิ่งนั้น, ต้องการสิ่งนี้ และมากเข้าๆ เพื่อเป็นอาหารของวิญญาน.
....สรุปความว่า กายก็กินข้าวปลาอาหาร เป็นอาหาร, จิตก็ต้องการการบริหารจิต ที่ถูกต้อง เป็นอาหาร, วิญญานก็ต้องกานความเจนจัดในเรื่องเกี่ยวกับวิญญาน ในชีวิตประจำวัน เป็นอาหาร, มันได้อาหารถูกต้องทั้ง ๓ ฝ่ายนี้แล้ว ก็เรียกว่า เพียงพอเกี่ยวกับอาหาร,
...เราอยากจะให้ ความเป็นมนุษย์หมดปัญหา จึงต้องรู้จักจัดปัจจัยให้แก่มัน, แต่เราจะมุ่งเรื่องฝ่ายจิต ฝ่ายวิญญานเป็นส่วนสำคัญ., เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ละเอียดประณีต แล้วมีความหมายลึกซึ้ง.
.....เหมือนอย่างว่า คนตาดีเป็นง่อยขี่อยู่บนหลังคนตาบอดแข็งแรง., คนตาดีเขาคอยสั่งให้คนตาบอดกระทำทุกอย่าง, ถ้าคนตาดีทำอะไรผิดพลาด มันก็พลาดไปหมด, คนตาบอดก็พลอยรับความผิดพลาดนั้นไปด้วย, นี่ ถ้าจิตมันทำผิดไปแล้ว ร่างกายก็พลอยได้รับความเสียหายด้วย, ฉะนั้นเราจะต้องให้ความถูกต้อง แก่ฝ่ายจิตใจ หรือฝ่ายวิญญานนั้น เป็นส่วนสำคัญ.


คนไม่สนใจเรื่องจิต-วิญญาน หลงแต่กาย
...เดี๋ยวนี้คนในโลกเขาไม่เห็นว่า เรื่องฝ่ายจิตฝ่ายวิญญานนั้นเป็นเรื่องสำคัญ., ไปสนใจกันแต่เรื่องทางกาย เป็นสุขสนุกสนานกันแต่เรื่องทางกาย., ฝ่ายจิตมันจึงทราม. ฉะนั้น ในโลกจึงเต็มไปด้วยปัญญาของคนจิตทราม.
....คนจิตทรามนี้ไม่ใช่มนุษย์ ไม่อยากเรียกว่ามนุษย์ เลยไม่มีโอกาสพูดว่ามนุษย์จิตทราม, ถ้าเป็นมนุษย์จริงจิตมันทรามไม่ได้ จิตมันสูงเสียเรื่อย, ทีนี้มันไม่เป็นมนุษย์ มัน เป็นแต่คน ก็มีโอกาสที่จะเป็นคนจิตทราม คือถูกหลอกหลอนอยู่ด้วยอารมณ์ของกิเลส, กำลังมีอยู่อย่างหนาแน่นทั่วไปในบัดนี้., แม้แต่เพียงป้ายโฆษณาตามข้างถนน เพื่อสิ่งเหล่านี้ ก็พอที่จะทำให้เด็กๆ ของเรามีจิตทรามหมดไปทั้งบ้านทั้งเมือง.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...ลูกเด็กๆ ของเรามีจิตทราม ไปทั้งบ้านทั้งเมืองเพราะป้ายโฆษณาแบบนี้., ไม่ต้องไปดู ไปฟัง ไปเล่นถึงโรงที่แสดงออก เพียงแต่เห็นป้ายโฆษณาข้างถนน ก็จิตทรามพอแล้ว., จนทุกคนนี้สนใจแต่เรื่องเนื้อหนัง, จะพูดทาง ภาษาศาสนา เขาเรียกว่า เรื่องเนื้อหนัง, พูดตรงกว่านั้น ก็เรียกว่า เรื่องกามารมณ์,พูดตรงกว่านั้นอีก ก็เรียกว่า เรื่องทางเพศ, เรื่องทางเพศนี้เป็นเรื่องฝ่ายเนื้อหนัง เป็นเรื่องฝ่ายร่างกายมันขึ้นอยู่กับฝ่ายร่างกาย.
.......อยากกจะแยกกันให้เป็นที่เข้าใจสักหน่อยว่า ถ้าเรื่องของ ความรักโดยบริสุทธิ์ เป็นเรื่องจิตใจ., ถ้าเป็น เรื่องของกามารมณ์ นั้นมัน เป็นเรื่องทางร่างกาย, ถ้าเป็นเรื่องของความรักบริสุทธิ์ อยากจะรวมเป็นอันเดียวกันโดยจิตใจ., ร่างกายไม่ต้องแตะต้องกันเลยก็ได้ ถ้ามันเป็นเรื่องของความรักบริสุทธิ์, แต้ถ้าเป็นเรื่องของกามารมณ์ แล้ว มันเป็นเรื่องของร่างกาย ต้องมีการแตะต้องทางร่างกาย อย่างเป็นบ้าเป็นหลัง


ต้องควบคุมฝ่ายกายให้อยู่ในอำนาจฝ่ายจิต.
....ฉะนั้นเรามารู้จักแยกเรื่องจิตกับเรื่องกายออกจากกันให้ได้ว่า เรื่องเนื้อหนังนั้น มันเป็นข้าศึกของธรรมะ ของฝ่ายความถูกต้อง เรียกว่าเป็นพญามาร., แต่ถ้าเป็นเรื่อง ความรักบริสุทธิ์ ไม่เกี่ยวกับเรื่องเนื้อหนังทางร่างกาย นี้มันก็ไม่ใช่กิเลส., มันก็ไม่ใช่พญามาร.,
....ขอให้รู้จักส่วนกาย-จิตอย่างถูกต้อง และควบคุมมันให้ได้., เราจะให้อาหารในส่วนจิต ส่วนวิญญานให้เพียงพอ ให้ถูกต้อง ให้เป็นจิตที่สามารถควบคุมร่างกายได้, อย่าให้ร่างกาย หรือเรื่องทางฝ่ายกายนั้น ขึ้นมาเป็นใหญ่ ข่มขี่เรื่องทางจิตทางวิญญาน.
....นี้กายก็ต้องการอาหารอย่างกาย ใจก็ต้องการอาหารอย่างใจ., เราต้องหาเลี้ยงคนทั้ง ๒ คน ., คนตาบอดแข็งแรงนั้น ก็ต้องกินอาหาร, คนง่อยตาดีที่ขี่อยู่บนหลังก็ต้องกินอาหาร, ดีแต่ว่าเขาเป็นคน เขากินอาหารอย่างเดียวกัน., เดี๋ยวนี้ กายกับใจไม่ได้กินอาหารอย่างเดียวกัน ก็ต้องแยกกันให้อาหารอย่างถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 11:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาหารของใจคือบุญ
.....เมื่อร่างกายกินอาหาร คือ ปัจจัย ๔ ., จิตใจจะต้องการอาหารอะไร?.. อาตมาพูดรวม ๆ เอาเสียเลยในวันนี้ว่า อาหารของใจนั้น เราเรียกว่า บุญ, บุญที่แท้จริงป็นอาหารของจิตใจ ทำให้จิตใจสบาย สงบเย็น เจริญงอกงาม ซึ่งก็จะได้ว่ากันต่อไปโดยละเอียด.
....แต่รู้ไว้เสียก่อนว่า คำว่า "บุญ" เป็นที่แท้จริงก็มี ,ที่ไม่จริงคือปลอมก็มี, ถ้าเอาบุญปลอมมาให้จิตกินเข้าไป จิตใจจะต้องเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่งแหละ เหมือนที่เราเข้าใจผิดไปหลงใหลเอาเรื่องกามารมณ์มาเป็นอาหารแก่จิตใจ.
.....คำว่า ใจ นี้ รวมทั้งเรื่อง จิตล้วนๆ และเรือง สติปัญญาของจิตที่เรียกว่า วิญญานนั้นด้วย เรียกว่า ใจ.
....คำว่า "บุญ" นี้ เป็นอาหารหล่อเลี้ยงได้อย่างกว้างขวาง หล่อเลี้ยงร่างกายก็ได้., ถ้ามีบุญร่างกายก็สบายดี, หล่อเลี้ยงจิตก็ได้, ถ้ามีบุญจิตก็ปรกติดี หล่อเลี้ยงวิญญานก็ได้ ถ้าบุญมันมี สติปัญญามันก็เจริญกว้างขวาง และรุ่งเรือง นี่บุญมันดีอย่างนี้ ถ้าบุญแท้จริง ก็เป็นอาหารเลี้ยงกายก็ได้ เลี้ยงจิตก็ได้ เลี้ยงวิญญานก็ได้ แต่อาตมาแยกเอามาในวันนี้ ในฐานะเป็นอาหารของใจ.


รู้จักลักษณะของบุญให้ถูกต้อง
....คำว่า"บุญ" ได้ยินกันทั่วไป บางคนก็ชอบเอามากๆ เสียด้วย., แต่อาจจะยังไม่รู้ว่า บุญนั้นคืออะไรก็ได้., ฉะนั้นเรามา รู้จักคำว่าบุญกันเสียบ้าง พอสมควร.
.....คำว่า"บุญ" นั้น ถ้า เป็นชื่อของเหตุ ก็คือ การกระทำที่ให้เป็นบุญ., เช่น เราเรียกว่า ทำบุญ ๆ ทำบุญนี้ทำสิ่งใดให้เกิดบุญ บุญนั้นก็คือการกระทำเช่นนั้นเอง ในฐานะที่เป็นเหตุ บุญในฐานะที่เป็นเหตุ คือเครื่องกระทำที่เรียกกันว่าทำบุญ.
....ถ้า บุญเป็นชื่อของผล นี้มันก็จะอีกอันหนึ่งแล้ว ผลคือความสุข, บุญที่เป็นชื่อของผล คือความอิ่มใจ,ทำให้จิตใจอิ่มเอม ฟู ,ฟูขึ้นเลย กระทั่งเดือดพล่าน,กระทั่งฟุ้งซ่านก็ได้, บุญที่เป็นเครื่องอิ่มใจนี้, อันนี้ผิดพลาดได้ เป็นอันตรายได้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 12:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.......นี้ บุญ อีกความหมายหนึ่งว่า เป็นเครื่องชำระบาป นี้ไม่เกี่ยวกับ สบายใจหรือฟูใจ ,หลอกให้ใจมันตื่นเต้น เพลิดเพลิน.,แต่ว่า ทำให้ใจสะอาด,บุญเป็นเคื่องล้างบาป,ทำใจให้สะอาด.,ส่วนนี้ ไม่มีทางจะผิดพลาดได้ คือไม่อาจจะเป็นอันตราย.
....บุญที่ว่าเป็นความสุข ความฟูใจ สบายใจ อันนั้น มีทางที่จะผิดพลาด, และเป็นอันตรายได้, ส่วน บุญที่เป็นเครื่องชำระบาปนี้ ไม่มีทางที่จะเป็นอันตรายได้.,จึงเกิดมีบุญขึ้นมา ๒ ชนิด, ระวังให้ดี บุญชนิดไหน จะสร้างปัญหาขึ้นมา., บุญชนิดไหนจะไม่สร้างปัญหาเลย.
.....ฉะนั้นถ้าเราจะพูดว่า อันตรายจากบุญ ก็หมายถึงบุญชนิดที่เมาได้., บุญชนิดที่เมาได้ ก็ คือบุญที่ทำให้ฟูใจ สบายใจ นั่นแหละ, เมาได้เหมือนกับกินของเมา,บุญชนิดนี้เป็นอันตรายได้ เพราะว่ามันมีรสอร่อยสูง., ถ้าเรียกตามบาลีก็ว่า มีอัสสาทะสูง เสน่ห์ความอร่อยดึงดูดใจมันสูง บุญชนิดนี้จึงเมาได้.
....เราระวังอย่าให้บุญเป็นไปในทำนองนี้., แต่ ให้บุญเป็นไปในทำนองชำระบาปอยู่เสมอไป, ถ้าปล่อยไปตามสัญชาตญานของสัตว์., สัตว์ก็ชอบบุญชนิดที่เมาได้ เพราะมันเอร็ดอร่อย เป็นเสน่ห์ยั่วยวนใจ, ส่วนบุญที่ล้างบาปนั้น ไม่มีใครชอบ จับมาอาบน้ำถูขี้ไคลนี้ ไม่ค่อยมีใครชอบ., แต่ถ้าจับมากินเป็นอาหารอร่อยๆ นี้ คนมักชอบ.
....ฉะนั้นต้องระวัง บุญชนิดหนึ่งเมาได้ และเป็นอันตราย., บุญชนิดหนึ่งไม่มีเมา เมาไม่ได้ไม่มีอันตราย, เมื่อปล่อยไปตามสัญชาตญานของสัตว์ คนทั้งหลายก็จะชอบบุญชนิดที่เมาได้เสมอไป.,ไม่ค่อยชอบบุญที่เป็นการล้างบาป.
....แล้วมักจะมีธรรมเนียมมาแต่โบรมโบราณ บุญที่เมาได้นั้น เขามักจะเอามาใช้เป็นเหยื่อล่อ, เอามาเป็นเครื่องมือจับคน เอามา., ก็สู่การทำบุญอีกนั่นแหละ เอาของที่เอร็ดอร่อยยั่วยวนใจของบุญมาล่อคน, จับคนเข้ามาวัด เข้ามาทำบุญ หรือ ทำอะไรตามที่เขาต้องการ.
....เดี๋ยวนี้ ในโลกที่มีการหลอกล่อกันอย่างนี้., เอาอบายมุขมาล่อให้คนทำบุญ, มันเป็นบุญชนิดที่เมาได้ มันก็หลอกล่อมาได้, ให้คนบริจาคเงินเท่าไหร่ๆ ก็ได้ด้วย การล่อกันด้วยบุญชนิดที่เมาได้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ถ้าพูดตามตรง ๆ ก็ต้องพูดว่า มันไม่ใช่บุญดอก ถ้ามันเมาได้ หรือ เป็นอันตรายย้อนหลังได้ ก็ ไม่ควรจะเรียกว่าบุญ., แต่เขาก็ได้เรียกว่าบุญ และได้เรียกกันมานมนานแล้ว, จึงขอเตือนแต่เพียงว่า ระวังๆ บุญชนิดที่เมาได้, อย่าไปเมาเข้า ก็แล้วกัน., สนใจแต่เรื่องบุญที่ชำระให้สะอาด., ชำระกายให้สะอาด,ชะระจิตให้สะอาด,ชำระวิญญานให้สะอาด, แล้ว อย่าให้ใครเอาบุญมาเป็นเหยื่อเกี่ยวเบ็ดล่อเรา ไปตามความต้องการของเขา.

การบำเพ็ญบุญอันถูกต้องนั้นคือชำระบาปได้.
....ทีนี้มาดูกันถึงเรื่อง การบำเพ็ญบุญ คือบุญที่เป็นเหตุ บุญในฐานะที่เป็นเหตุ คือการกระทำที่เรียกกันว่า ทำบุญ, การบำเพ็ญบุญ มีรูปร่างเหมือนกันก็ได้., บุญที่เมาได้, กับ บุญที่ไม่เมา, มันมีรูปร่างเหมือนกันก็ได้,แล้วมันก็ลำบากแก่คนที่ไม่มีความรู้เพียงพอ., คือบุญเพื่อให้อิ่มใจ เป็นสุขใจ กับบุญที่ชำระบาปนี่มันมีรูปร่างเหมือนกันก็ได้.
....แล้วมันยัง มีผลร่วมกันก็ได้ บุญอิ่มใจ มันก็อิ่มใจ.,แม้บุญชำระบาปให้ใจสะอาด มันก็ยังอิ่มใจเหมือนกัน, เต่ความอิ่มใจมาเป็นหลักนี้ ก็ยังไม่แน่นัก.,จะต้อง ดูที่ว่า มันล้างบาปหรือไม่ เสมอไป.
.....จะพูดกันถึงข้อที่ว่า มันมีรูปร่างเหมือนกัน แต่มันเป็นคนละชนิดก็ได้., เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา., แต่ละอย่างเหล่านี้ เรียกว่า บุญญกิริยาวัตถุ คือ ที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ.


ผลของบุญประเภทให้ทาน.
.....ทีนี้ดูให้ทานเป็นเรื่องแรกว่า ให้ทานแล้วก็อิ่มใจพอใจ ยินดีแก่ตัวเอง แล้วก็ไปสวรรค์, รู้สึกว่าเหมือนกับได้ไปสวรรค์ หรือเชื่อว่าได้ไปสวรรค์ อย่างนี้คือ บุญที่ทำให้เกิดความอิ่มใจ มีความหมายไปในทางอิ่มใจ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....นี้ถ้าจะให้เป็นไป ในทางล้างบาป ก็ต้องไปดูที่ว่า การให้ทานนั้นมันชำระล้างกิเลสที่เป็นเหหตุให้เห็นแก่ตัว, ความเห็นแก่ตัวนี้เรียกว่าบาป., ถ้าเราให้ทานอย่างถูกต้อง ทานนั้นก็จะช่วยชะระล้างความเห็นแก่ตัวหรือความตระหนี่ เป็นต้น, การให้ทานนี้มันก็เป็นบุญที่ชำระบาป.
.....ถ้าเอาแต่ความพอใจ สบายใจ ความเชื่อว่าจะได้ไปอยู่สวรรค์วิมาน บุญอย่างนี้มันก็เป็นเรื่องอิ่มใจ, แล้วก็ไม่ล้างบาป บางทีจะเพิ่มบาป คือเพิ่มความยินดีพอใจ ในสวรรค์หรือในกามารมณ์ ให้มันมากขึ้น,อย่างนี้มันก็ไม่ล้างบาป เพราะมันเพิ่มราคะ โลภะ อะไรมากขึ้น., แต่ถ้าว่า ทำบุญแล้ว ลดความเห็นแก่ตัว ลดความตระหนี่ อยู่ที่นี่ ในโลกนี้ ไม่ต้องไปสวรรค์ มันก็ล้างบาป, แล้วก็เป็นบุญที่ไม่เป็นอันตราย หรือควรจะพอใจ.

.....
ผลของบุญประเภทรักษาศีล
....ทีนี้มาดูที่การรักษาศีล, รักษาศีลแล้วพอใจ อิ่มใจ ยกมือไหว้ตัวเองได้ มันก็พอใจ สนุกสบายไปเลย มีปีติปราโมทย์เดือดพล่านไปเลย, นี่เป็นบุญที่ทำให้เกิดความอิ่มใจ โดยอาศัยการรักษาศีล
....ทีนี้อีกความหมายหนึ่ง ศีลนั้นจะล้างบาป., รักษาศีลแล้วกำจัดโทษอะไรได้บ้าง ., เรื่องฆ่า เรื่องลัก เรื่องประพฤติผิดในกาม เรื่องโกหก เรื่องอะไรก็สุดแท้ ที่ว่า รักษาศีลแล้วกำจัดได้, บุญที่เกิดมาจากศีลนี้ ก็กำจัดบาปหรือล้างบาปได้., ล้างกายให้สะอาด ล้างวาจาให้สะอาด., นี่ศีลนี้ก็ชำระบาป, แต่ถ้าเอากันเพียงว่าสบายใจ,หรือมากไปกว่านั้น., รักษาศีลอวดคน อย่างนี้ก็ไม่ชำระบาป,มันก็ให้ได้แต่ความสบายใจ ในความหมายที่แรก.


ผลของบุญในการเจริญภาวนา
....ทีนี้ การเจริญภาวนา ทำสมาธิภาวนา มันก็ ทำให้อิ่มใจได้., เพราะเชื่อว่า ได้ทำดี ได้ทำสิ่งที่ดี ได้ทำสิ่งที่สูงที่ประเสริฐ มันก็อิ่มใจได้, หรือถ้าถึงกับว่าอิ่มใจนี้ไปพรหมโลก หรือเป็นพรหมโลก อยู่ในความอิ่มใจ เพราะการทำสมาธิภาวนา นี้ก็อิ่มใจ., ถ้าหลงใหลในความเป็นเช่นนั้น มันก็ไม่ล้างบาป.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ฉะนั้น เราจะต้องดูให้ดีว่า แม้ การเจริญภาวนา ถ้า ทำเพื่ออวดคน ก็ดี ถ้า ทำเพื่อสบายใจ แปลกๆ นี้ก็ดี, หรือแม้ที่สุดแต่จะได้ไปพรหมโลกก็ดี ยังไม่ล้างบาป, มันเป็นเรื่องอิ่มใจ เช่นเดียวกับเรื่องอื่น ที่ทำให้เกิดความอิ่มใจ.
......ทีนี้เรา เจริญภาวนา เพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิ ก็ ล้าง นิวรณ์ทั้ง ๕ ออกไป สิ่งรบกวนจิตประจำวันคือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ๕ อย่างนี้เรียกว่านิวรณ์.
....ถ้าทำภาวนาประเภทสมถะ มันก็ล้างนิวรณ์ออกไป., จิตมันก็สะอาด, ถ้า เจริญภาวนา ในส่วนวิปัสสนา หรือปัญญา มันก็ กำจัดกิเลสออกไป กำจัดมูลเหตุของกิเลสออกไป กำจัดต้นตอของกิเลสทั้งหมดคืออวิชชาออกไป.,อย่างนี้ก็ ได้สติปัญญา ล้างทิฏฐิให้สะอาด.
....ทิฏฐิคือความคิดเห็น ของเรานั่นแหละ มันสกปรกได้., มีเครื่องล้างให้สะอาดได้ ด้วยการเจริญภาวนา, เมื่อมีการเจริญภาวนาในอันดับสูง คือปัญญาหรือวิปัสสนา ทิฏฐิของเราก็สะอาด,ความเป็นมนุษย์ของเราก็สะอาด.
.....ขอบอกกล่าวแยกออกไปอีกนิดหนึ่งว่า คำว่า "ทิฏฐิ" นี้สำคัญมาก อาจจะไม่ได้เคยสังเกตก็ได้, คนแต่ละคน หรือ ความเป็นมนุษย์ของคนแต่ละคน นั่น ก็คือ ทิฏฐิของคนคนนั้น นั่นเอง, คนไหนมีทิฏฐิอย่างไร นั้นก็คือความเป็นคนของคนคนนั้น,. ฉะนั้นคนคนหนึ่ง ก็ขึ้นอยู่กับทิฏฐิของตัว., จะโง่ จะฉลาด จะผิด จะอะไรอย่างไร มีทิฏฐิอย่างไร ชีวิตของคนนั้นจะเป็นอย่างไรนั้น.
.....นี่ไป ดูเสียให้เห็น เถิดว่า แต่ละคนนั้นเขามีทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ., แล้วชีวิตของเขาทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับทิฏฐิอันนั้นทั้งหมดทั้งสิ้น, ซึ่งมันเป็นความคิดความเห็น ความเชื่อ ความเข้าใจ ของเขา แล้วเขาก็ไปตามความคิด ความเห็น ความเชื่อ ของเขา.
.....ดังนั้น บุคคลิกภาพ หรือความเป็นบุคคลของเขา มันก็ขึ้นอยู่กับทิฏฐิของคนคนนั้นโดยเฉพาะ., แล้วมันก็ไม่เหมือนกัน ., บางคนเป็นสัมมาทิฏฐิ,บางคนก็มิจฉาทิฏฐิน้อย,แล้วมันยังแตกต่างกันตามแบบของทิฏฐิ จะพูดได้ตายตัวเลยว่า"ทิฏฐินั่นแหละคือบุคคลนั้น".


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....ฉะนั้น เราจะต้องเอามาล้างๆ ล้างให้ทิฏฐิสะอาด โดยอาศัยที่เรียก ภาวนา. การกระทำทางจิตที่เรียกว่า "ภาวนา" ในประเภทปัญญาภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา จะล้างทิฏฐิของคนนั้น, ก็คือล้างคนคนนั้น เพราะว่าคนคนนั้นกับทิฏฐิของเขานั้นมันคือสิ่งเดียวกัน,แล้วก็มีภาวนาเป็นเครื่องล้างทิฏฐิของเขา หรือล้างตัวเขาให้สะอาด บุญนี้สูงสุดเหลือประมาณ บุญคือการล้างทิฏฐิหรือสติปัญญานี้ให้สะอาด.
.....ถ้าเราพูดว่า สติปัญญา มันก็ต้องหมายความว่า มันสะอาดอยู่แล้ว., แต่ถ้าเราพูดว่า ทิฏฐิ นี้ มันยังเป็นกลางๆ อยู่,ทิฏฐิที่ถูกต้องมันจึงจะเป็นสติปัญญา, ถ้าเราทิฏฐิเฉยๆ มันสกปรกได้ มือมัว เป็นมิจฉาทิฏฐิได้., แล้วก็มีสิ่งที่จะแวดล้อมให้มืดมัว ให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ,คนเราจึงอยู่ด้วยทิฏฐิที่มืดมัว เอามาล้าง, ล้างด้วยสิ่งที่เรียกว่าบุญ บุญในอันดับสูง.


....(ทบทวนผลของทาน ศีล ภาวนา)
จะทบทวนอีกทีหนึ่งก็ได้ว่า...-
ทาน...ข้อแรก ข้อที่ ๑ บุญ คือการทำทานนี้ ก็ ทำให้อิ่มใจ มีความหมายเป็นไปในทางสวรรค์ หรือสิ่งที่เป็นที่น่ารักน่ายินดี อย่างนี้เรียกว่า บุญอิ่มใจ เกิดมาจากทาน.
.....ทีนี้ถ้าว่า ล้างความเห็นแก่ตัว ล้างความตระหนี่ อะไรได้ออกไปนี้ใจมันก็มีบาปน้อยลง., เพราะว่ามันกวาดล้างบาปออกไปเสียบ้าง., การให้ทานก็ชำระบาป ตามแบบของการให้ทาน ชำระความตระหนี่
....ทีนี้ ข้อที่ ๒,รักษาศีล อิ่มใจเหลือประมาณ ว่าได้ รักษาศีล หลงใหลในศีล แล้วเชื่อว่าเป็นบันไดแห่งสวรรค์,นี้ศีลก็ ให้ได้รับความอิ่มใจ เป็นบุญที่ทำให้จิตใจมันฟู มันพองขึ้นมา
....ทีนี้อีกทางหนึ่ง ศีลล้างความหยาบ ความสกปรก ทางกาย ทางวาจา ออกไปเสีย.,นี่ศีลมันล้างบาป อย่างนี้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...ทีนี้มาถึงข้อที่ ๓. ภาวนา ถ้าทำสมาธิภาวนา ก็ล้างนิวรณ์ที่รบกวนอยู่ ตลอดวันนี้ออกไป, สิ่งที่รบกวนจิตใจเราตลอดวันนั้น ก็คือ นิวรณ์ทั้ง ๕ อยู่ในรูปของ กามฉันทะ บ้าง,พยาบาท-หงุดหงิด ไม่ชอบบ้าง,ถีน-มิทธะ-หดหู่ละเหี่ยบ้าง,อุทธัจจกุกกุจจะ-ฟุ้งซ่านบ้าง, วิจิกิจฉา - ลังเล โลเล ไม่แน่ใจบ้าง, นี่มันรบกวนอยู่ตลอดวัน,ถ้าทำภาวนาประเภทสมาธิได้ มันก็ล้างอันนี้ออกไป ได้ความสะอาดแห่งจิต.
....นี้ถ้าทำ ภาวนาสูงขึ้นไป คือ วิปัสสนา หรือ ปัญญา มันก็ ล้างละเอียดลงไปลึกซึ้งลงไป,คือ ล้างกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ,ล้างมูลเหตุของกิเลส คือ อนุสัยแห่งโลภะ โทสะ โมหะ, แล้วก็ล้างอวิชชา,ซึ่งเป็นต้นขั้ว ที่รวมแห่งกิเลสทั้งหลายออกไป., ใจก็ปราศจากกิเลส ปราศจากอวิชชา สะอาดถึงที่สุด กลายเป็นพระอริยะเจ้าเข้าสู่ภาวะแห่งนิพพานเป็นต้นได้, นี้ถ้าบุญมันได้ทำหน้าที่ของมันถึงที่สุด คือล้างบาป ก็ไปนิพพานได้เหมือนกัน.
.....ทีนี้เราบำเพ็ญบุญโดยมากนี้ เพื่อสบายใจเสียโดยมาก., ไม่ได้บำเพ็ญบุญเพื่อล้างบาป, ฉะนั้นบาปมันก็หนาขึ้นได้ ทั้งที่มันสบายใจ สนุกสนาน พอใจอยู่เสมอ.,ยิ่ง เมาบุญ ด้วยแล้ว มันก็ยิ่งสนุกสนาน แต่ว่า บาปอาจจะหนาอยู่ข้างภายใต้ ก็ได้ระวังให้ดี ๆ.
......บุญมีความหมาย ๒ อย่างอย่างนี้ .,บุญชนิดหนึ่งให้ฟูใจอิ่มใจ, บุญชนิดหนึ่งล้างบาป ล้างจิตใจให้สะอาด, พูดให้มันสั้นเข้ามา ก็บุญชนิดหนึ่งมันไปกระตุ้นใจ ให้สนุกสนาน สำเริงสำราญ แต่ ไม่สะอาด, บุญอีกประเภทหนึ่งมันล้าง จับเอาหัวใจมาฟอกให้สะอาดเลยมันก็ได้ผล คือ ใจสะอาด.


อาหารใจควรเป็นบุญที่ชำระบาปได้.
...ลองคิดดูเถอะ บุญพวกไหนควรจะเป็นอาหารแห่งจิตใจ หรือความเป็นมนุษย์ของเรา? บุญที่ทำให้ฟูใจ อิ่มใจ เหมือนกับกินเหล้า กินของเมานั้น มันจะเป็นอาหารใจได้อย่างไร? มันก็เป็นอาหารได้ตามแบบนั้นแหละ,คือ อาหารตามแบบของคนเมา.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ทีนี้บุญ อีกชนิดหนึ่ง ล้างให้เกิดความสะอาดแก่จิตใจ นี้ทำให้จิตใจเจริญ ก็เรียกว่าอาหาร ในความหมายที่ให้เกิดผลดีขึ้นมา, นี่แหละ อาหารของใจ ที่จะเป็นอาหารถูกต้องแท้จริง ก็คือบุญชนิดที่ชำระบาป,ได้พูดมาแล้วตั้งแต่ต้นว่า บุญชนิดนี้เมาไม่ได้ ,มันเมาไม่ได้,กินเข้าไปเท่าไรมันก็ไม่เมาดอก เพราะมันคอยชำระจิตอยู่เสมอ.
.....นี้บุญอีกชนิดหนึ่ง ไปกินมันเข้ามันจะเมา แล้วมันจะติดเป็นเสพติด แล้วมันจะเมามากขึ้น .,เมาบุญจนไม่รู้ว่าจะทำกันอย่างไร แล้วมันคงจะยุ่ง, แล้วก็กำลังยุ่งอยู่ในโลกนี้ ในบ้านเมืองนี้อยู่แล้วด้วย,บุญชนิดที่เมาได้ทำให้ตกเป็นเหยื่อของคนอันธพาลได้.
....นี้เรียกว่า บำเพ็ญบุญ ด้วยทาน ก็ดี ด้วยศีล ก็ดี ด้วยภาวนา ก็ดี ถ้าเป็นเพียงฉาบฉวย มันก็สบายใจเป็นสุข.,เหมือนกับกินของเมาก็ได้,แต่ถ้า ทำอย่างถูกต้องแล้ว จะชำระให้สะอาด.,ชำระกายให้สะอาด,ชำระจิตให้สะอาด,ชำระวิญญานจิตใจให้สะอาด ให้สติปัญญาสะอาด,รวมทั้งทำให้ร่างกายนี้ก็สะอาด,ถ้าเป็นอยู่อย่างถูกต้องนี้แล้ว แม้แต่ร่างกายนี้ก็สะอาด,จิตก็สะอาด,แล้ววิญญาน คือทิฏฐิความคิดความเห็นก็ถูกต้องและสะอาด.
....ขอให้ระวังการทำบุญให้ดีๆ ให้มองเห็นชัดอยู่ว่ามันล้างบาป., อย่าเพียงแต่ว่าสุขใจ สบายใจ เอร็ดอร่อยแก่ใจ, เรียกว่าคนเขายังเป็นทาสของความเอร็ดอร่อยแก่อารมณ์ เขาก็ทำบุญเพื่อได้สิ่งนี้กันทั้งนั้นนะ,ถ้าอย่างนี้ไม่สะอาด แล้วจะไม่เป็นอาหารแก่จิตใจด้วย,จะเป็นอาหารหลอกๆ ให้ฟุ้งซ่านเสียเอง ไม่ใช่ความเจริญแห่งจิตใจที่แท้จริง ฉะนั้นเราจะ ต้องระวัง ระวังให้ดีที่สุดให้มากที่สุด ที่จะทำสิ่งที่เรียกว่าบุญ,คือ ทำให้เป็นสิ่งที่เป็นอาหาร หล่อเลี้ยงจิตหล่อเลี้ยงวิญญานได้จริงๆ.
....ทีนี้อยากจะพูดถึงคำว่าล้างบาปอีกสักหน่อย เพราะได้เน้นมามากแล้ว เรื่องทำบุญให้เป็นการล้างบาปถ้าทำบุญขอให้เป็นการล้างบาป., เพราะว่าแม้แต่การล้างบาปนี้ถ้าพูดรัวๆเร็วๆ มันก็กำกวมเหมือนกัน มัน ล้างบาปผิดๆ ก็ได้,วิธีผิดก็ได้.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron