วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 18:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยปกติของมนุษย์เรา ทุกๆ คนมีความเห็นเป็นของตัวเอง ไม่มีใครไม่มีความเห็นเป็นของตัวเอง นอกจากนั้น ทุกคนต่างก็มีความคิด, การพูด, มีพฤติกรรมการแสดงออก, ต้องดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด, การนึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, มีความพยายาม, และสุดท้ายก็มีความตั้งใจ เป็นเหมือนๆ กันทุกๆ คน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และนำความจริงมาบอกให้พวกเราทราบว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้หรือโลกใหนๆ ไม่ว่าจะเป็นจักรวาลนี้หรือจักรวาลใหนๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ ทุก อย่างเกิดขึ้นเพราะมีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งทำให้เกิดขึ้นมาด้วยกันทั้งนั้น

แล้วอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความตั้งใจ? พระพุทธองค์ตรัสว่า เพราะความพยายามทำให้เกิดความตั้งใจ, ความตั้งใจก็เกิดมาจากการระลึก, การระลึกก็เกิดมาจากการดิ้นรน, การดิ้นรนก็เกิดมามาจากพฤติกรรม, พฤติกรรมก็เกิดมาจากการพูด, คำพูดก็มาจากความคิด, และความคิดก็มาจากความเห็น

สรุปได้โดยย่อว่า ทุกชีวิตต่างก็ดำเนินชีวิตด้วยทางอันประกอบด้วยสภาวะแปดอย่างเหมือนกันทุกๆ คน ตามหลักของเหตุปัจจัย

หากจะแยกมรรแปด ออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ก็จะพบว่า ความเห็นและความคิด ก็คือ ปัญญานั่นเอง การพูด การกระทำ การดิ้นรนเอาตัวรอด ก็คือพฤติกรรมการใช้ชีวิต เรียกตามภาษาบาลีว่า ศีล สุดท้าย การระลึก พยายาม และตั้งใจ ก็คือ สมาธิ

พูดให้ง่ายเข้า คือ ปัญญาเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดศีล ศีลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิ หรือ ปัญญาเป็นพ่อ ศีลเป็นลูก สมาธิเป็นหลาน

โดยปกติ คนเกิดมาด้วยความเห็นที่ผิด (เพราะยังมีความเห็นผิดอยู่ คือ อวิชชา คนจึงยังต้องเวียนว่ายตายเกิด) การดำเนินชีวิตจึงเป็นไปตามแนวทางที่ไม่ถูกต้อง ตามเหตุปัจจัยที่พระพุทธองค์ได้แสดงให้เรารับรู้รับทราบโดยทั่วกัน ดังนั้น หากต้องการให้ชีวิตเกิดความสงบสุข ต้องรู้จักการสร้างความคิดเห็นที่ถูกต้องให้ได้ก่อน การดำเนินชีวิตก็จะเป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้องเองตามธรรมชาติ

จึงกล่าวได้ว่า ความเห็นเป็นประธานขององค์มรรค หรือองค์มรรค 7 ประการเป็นบริขารของความตั้งใจ

ผู้ที่ประกอบด้วยความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง ก็เรียกได้ว่า ชีวิตเดินไปตามทางที่ผิด หรือ เรียกเป็นภาษาบาลีว่า มิจฉามรรค

ผู้ที่ประกอบด้วยความคิดเห้นที่ถูกต้อง จึงเรียกว่า เดินทางไปตามที่ถูกถูก เรียกเป็นภาษาบาลีว่า สัมมามรรค

มรรคมีองค์แปด ถูกเรียกว่า เป็นทางสายกลาง เพราะเป็นการดำเนินชีวิตตามปกติของคนเรานั่นเอง การเจริญมรรคแปด จึงไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตในทางลบ แต่ละช่วยส่งเสริมให้ชีวิตประสบความสุขความเจริญ ทั้งในทางโลกและทางธรรม

แล้วอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความเห็น? พระพุทธองค์เฉลยว่า - เพราะการหลงไปตามความพอใจไม่พอใจที่เกิดการการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ร่วมกับความไม่ละอายเกรงกลัวต่อบาป เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความเห็นที่ผิด - เพราะการรู้เท่าทันตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตร่วมกับความละอายเกรงกลัวต่อบาปเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง

ความเห็นถูกนั้น ยังแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ความเห็นชอบเบื้องต้น และความเห็นชอบที่ดับทุกข์ได้

ความเห็นชอบเบื้องต้น (สัมมาทิฐิที่ยังมีอาสาวะ) คือ เชื่อว่า ชาตินี้มี ชาติหน้าก็ต้องมี ชาติที่แล้วมาก็ต้องมี บุญมีบาปมี ผลของบุญของบาปก็มี สัตว์นรก เปรต อสูรกาย เทวดา อินทร์ พรมหม มีจริงๆ ความเป็นพ่อมี ความเป็นแม่มี ความเห็นเหล่านี้ เป็นความเห็นที่ทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีได้ แต่อย่างไรก็ดี ยังไม่สามารถดับทุกข์ได้ถาวร

ความเห็นที่ดับทุกข์ได้ (สัมมาทิฐิที่เป็นอนาสวะ) คือ ความเห็นที่ว่า รูปที่มากระทบทางตาก็ดี เสียงที่ได้ยินทางหูก็ดี กลิ่นที่ได้รับทางจมูกก็ดี รสที่รับได้ด้วยลิ้นก็ดี สัมผัสที่รับทางการ และการคิดไปตามธัมมารมณ์ ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป เป็นธรรมชาติที่ต้องแตกสลาย มีการแปรปรวนตลอดเวลา ไม่สามารถคงสภาะเดิมได้ตลอดไป ไม่สามารถควบคุมได้ หรือสรุปเป็นคำๆ เดียวว่า ไม่เที่ยง สัมมาทิฐิแบบนี้ เรียกว่า สัมมาทิฐิที่นับเนื่องเป็นองค์อริยมรรค

การสร้างสัมมาทิฐิที่นับเนื่องเป็นองค์อริยมรรค ได้มาจากการฝึก เพราะคนทุกๆ คน ไม่มีสัมมาทิฐิแบบนี้มาก่อนเลย เรียกว่าการฝึกวิปัสสนา หรือเรียกย่อๆ ว่า การภวนา บ้างก็เรียกว่าการรู้เห็นที่ทำให้สิ้นอาสาวะ คือฝึกให้เห็นจริงตามจริง ต่อสิ่งที่เข้ามากระทบสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในขณะปัจจุบัน ให้เห็นตวามความเป็นจริงว่า มันไม่เที่ยงฯ ตัวเราก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ ตาย ฝึกให้เกิดความต่อเนื่อง และใช้ระยะเวลานาน (อย่างน้อยวันละหนึ่งชั่วโมง) จนจิตใจเราจดจำไว้เป็นฐานในการคิด ในที่สุด ความจริงที่เราสะสมไว้ จะทำให้เราเกิดความคิดเห็นเป็นอัตโนมัติว่า เออ… ไอ้ทั้งปวงนี้มันไม่เทียงจริงๆ ในที่สุดแล้วก็จะทำให้เราเกิดความเบื่อหน่ายและลดความยึดถือในสิ่งเหล่านั้นลงไป ทีละนิด จนหมดในเบื้องปลาย

เมื่อเราเห็นว่า ธรรมชาติทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลายเป็นธรรมดา จนติดเป็นนิสัย ความเห็นผิดที่ว่า สิ่งนี้เป็นของของเรา สิ่งนี้คือตัวเรา ฯ ก็จะหายไป ผลที่ปรากฏออกมาตรงกับเหตุที่เราทำคือ สร้างความเห็นถูก ผลก็คือความเห็นที่ผิดก็เป็นอันหายไป ผลของความเห็นที่เปลี่ยนไป ทำให้เราหมดความสงสัยในการฝึกปฏิบัติ หมดความสงสัยในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในที่สุด พฤติกรรมการดำเนินชีวิตก็จะเปลี่ยนไป เพราะความเห็นที่ถูกต้องนั้น จะพาเราดำเนินชีวิตในทางที่ถูกโดยอัตโนมัติ

ในภาษาบาลี เขียนย่อๆ ว่า โสดาบันละได้ 3 อย่าง คือ สักกายะทิฐิ (ความเห็นผิด) วิจิกิจจฉา (ความสงสัยในคำสอนฯ) และสีลพตปรามาส (การดำเนินชีวิตที่ผิดจากครรลองคลองธรรมที่ดีงาม)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระอัฉริยภาพที่สุดในโลก ซึ่งในโลกหนึ่งๆ จะปรากฎอัจฉริยะบุคคลแบบนี้เพียงหนึ่งท่านเท่านั้น ทรงพบสิ่งที่ยากที่สุด และนำมาถ่ายทอดจนเป็นสิ่งที่ง่าย ทรงสอนเรื่องยากยากที่สุดให้เป็นเรื่องง่ายได้ สาวกทั้งหลาย เมื่อได้สดับรับฟังธรรมอันประเสริฐ คือทางแห่งการดับทุกข์ ก็พากันบรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก

นักปราชราชบัณฑิตทั้งหลาย ถนัดเรื่องทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก พากันหลงไปตามอักขระพญัชนะ พากันไปติดบ่วงของมาร มืดมนหาที่สุดมิได้

ธรรมะของพระพุทธองค์มีไว้ให้พิสูจนญ์ มีไว้ให้ปฏิบัติ ไม่ได้มีไว้ให้วิจาร เพราะเป็นสิ่งที่ตรัสรู้ ไม่ได้มาจากการคิด หรือใช้ภาษาง่ายๆ ว่า พระสัมมาสัมพทธเจ้าทุกพระองค์คือพิธีกรของธรรมชาติ ที่เราเรียกกันว่า ศาสดา พระเจ้าจริงๆ ของพุทธศาสนา คือ ความจริง หรือ ธรรมชาติ หรือเรียกสั้นๆ ว่า ธรรม เพราะธรรมตั้งเจ้าชายสิทธถะเป็นพระพุทธเจ้า ธรรมตั้งสาวกทั้งหลายให้เป็นอรหันต์สาวก พระพุทธเจ้าโคตมะไม่ได้ตั้งใครให้เป็นอรหันต์เลย เป็นแต่ผู้บอกทาง สาวกทั้งหลายฝึกฝนเอาเองทั้งสิ้น

ความตายไม่น่ากลัวเท่าความเกิด ผู้ใดเห็นทางผู้นั้นก็จะถึงความไม่เกิดอีกต่อไป

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้คนทั้งหลาย เกิดมาไม่ได้พบสัตบุรุษ ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่มีความเข้าใจในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้น้อมไปปฏิบัติ ไม่สามารถดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง ต่างพากันมาวิจารคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บ้างถึงขนาดมาตกแต่งแก้ไข ตัด ต่อ เติม ตามความเข้าใจของตน พากันไปเขียนอธิบายพระไตรปิฏก พากันไปเรียนแต่คำอธิบายพระไตรปิฏก และพากันสรุปไปว่า ธรรมของพระพุทธองค์นั้นยากแสนยาก ไม่มีทางเข้าถึงได้ง่ายๆ ผู้ใดกล่าวเช่นนี้ ถือว่า ดูถูกพระพุทธเจ้าว่าโง่ บาปหนัก เพราะพระพุทธองค์สรุปหรือเฉลยสิ่งที่ยากให้ง่ายแล้ว

เพราะยังไม่เข้าถึงความเป็นจริงที่ว่า ความจริงแก้ไขไม่ได้ พระธรรมมีไว้เพื่อให้เรียนรู้ ให้ปฏิบัติตาม และไม่รู้ที่สุดของการแก้ไขธรรมวินัยว่ามีนรก มหานรกเป็นที่หมาย เมื่อท่านนำคำสอนที่ไม่ถูกต้องไปสอนต่อๆ ไปโดยไม่ได้ตรวจพิสูจญ์ให้ชัดเจน ไม่ได้ทดลองจนดับทุกข์ได้ด้วยตัวเอง แปลว่า ท่านให้สิ่งที่ไม่ดีกับคนอื่น สิ่งที่ท่านจะได้รับตอบกลับมาก็จะเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีทางเป็นอื่น

"ผลนั้นตรงกับเหตุเสมอ"

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 02:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
โดยปกติของมนุษย์เรา ทุกๆ คนมีความเห็นเป็นของตัวเอง ไม่มีใครไม่มีความเห็นเป็นของตัวเอง นอกจากนั้น ทุกคนต่างก็มีความคิด, การพูด, มีพฤติกรรมการแสดงออก, ต้องดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด, การนึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, มีความพยายาม, และสุดท้ายก็มีความตั้งใจ เป็นเหมือนๆ กันทุกๆ คน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และนำความจริงมาบอกให้พวกเราทราบว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้หรือโลกใหนๆ ไม่ว่าจะเป็นจักรวาลนี้หรือจักรวาลใหนๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ ทุก อย่างเกิดขึ้นเพราะมีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งทำให้เกิดขึ้นมาด้วยกันทั้งนั้น

แล้วอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความตั้งใจ? พระพุทธองค์ตรัสว่า เพราะความพยายามทำให้เกิดความตั้งใจ, ความตั้งใจก็เกิดมาจากการระลึก, การระลึกก็เกิดมาจากการดิ้นรน, การดิ้นรนก็เกิดมามาจากพฤติกรรม, พฤติกรรมก็เกิดมาจากการพูด, คำพูดก็มาจากความคิด, และความคิดก็มาจากความเห็น

สรุปได้โดยย่อว่า ทุกชีวิตต่างก็ดำเนินชีวิตด้วยทางอันประกอบด้วยสภาวะแปดอย่างเหมือนกันทุกๆ คน ตามหลักของเหตุปัจจัย

หากจะแยกมรรแปด ออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ก็จะพบว่า ความเห็นและความคิด ก็คือ ปัญญานั่นเอง การพูด การกระทำ การดิ้นรนเอาตัวรอด ก็คือพฤติกรรมการใช้ชีวิต เรียกตามภาษาบาลีว่า ศีล สุดท้าย การระลึก พยายาม และตั้งใจ ก็คือ สมาธิ

พูดให้ง่ายเข้า คือ ปัญญาเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดศีล ศีลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิ หรือ ปัญญาเป็นพ่อ ศีลเป็นลูก สมาธิเป็นหลาน

โดยปกติ คนเกิดมาด้วยความเห็นที่ผิด (เพราะยังมีความเห็นผิดอยู่ คือ อวิชชา คนจึงยังต้องเวียนว่ายตายเกิด) การดำเนินชีวิตจึงเป็นไปตามแนวทางที่ไม่ถูกต้อง ตามเหตุปัจจัยที่พระพุทธองค์ได้แสดงให้เรารับรู้รับทราบโดยทั่วกัน ดังนั้น หากต้องการให้ชีวิตเกิดความสงบสุข ต้องรู้จักการสร้างความคิดเห็นที่ถูกต้องให้ได้ก่อน การดำเนินชีวิตก็จะเป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้องเองตามธรรมชาติ

จึงกล่าวได้ว่า ความเห็นเป็นประธานขององค์มรรค หรือองค์มรรค 7 ประการเป็นบริขารของความตั้งใจ

ผู้ที่ประกอบด้วยความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง ก็เรียกได้ว่า ชีวิตเดินไปตามทางที่ผิด หรือ เรียกเป็นภาษาบาลีว่า มิจฉามรรค

ผู้ที่ประกอบด้วยความคิดเห้นที่ถูกต้อง จึงเรียกว่า เดินทางไปตามที่ถูกถูก เรียกเป็นภาษาบาลีว่า สัมมามรรค

มรรคมีองค์แปด ถูกเรียกว่า เป็นทางสายกลาง เพราะเป็นการดำเนินชีวิตตามปกติของคนเรานั่นเอง การเจริญมรรคแปด จึงไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตในทางลบ แต่ละช่วยส่งเสริมให้ชีวิตประสบความสุขความเจริญ ทั้งในทางโลกและทางธรรม

แล้วอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความเห็น? พระพุทธองค์เฉลยว่า - เพราะการหลงไปตามความพอใจไม่พอใจที่เกิดการการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ร่วมกับความไม่ละอายเกรงกลัวต่อบาป เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความเห็นที่ผิด - เพราะการรู้เท่าทันตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตร่วมกับความละอายเกรงกลัวต่อบาปเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง

ความเห็นถูกนั้น ยังแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ความเห็นชอบเบื้องต้น และความเห็นชอบที่ดับทุกข์ได้

ความเห็นชอบเบื้องต้น (สัมมาทิฐิที่ยังมีอาสาวะ) คือ เชื่อว่า ชาตินี้มี ชาติหน้าก็ต้องมี ชาติที่แล้วมาก็ต้องมี บุญมีบาปมี ผลของบุญของบาปก็มี สัตว์นรก เปรต อสูรกาย เทวดา อินทร์ พรมหม มีจริงๆ ความเป็นพ่อมี ความเป็นแม่มี ความเห็นเหล่านี้ เป็นความเห็นที่ทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีได้ แต่อย่างไรก็ดี ยังไม่สามารถดับทุกข์ได้ถาวร

ความเห็นที่ดับทุกข์ได้ (สัมมาทิฐิที่เป็นอนาสวะ) คือ ความเห็นที่ว่า รูปที่มากระทบทางตาก็ดี เสียงที่ได้ยินทางหูก็ดี กลิ่นที่ได้รับทางจมูกก็ดี รสที่รับได้ด้วยลิ้นก็ดี สัมผัสที่รับทางการ และการคิดไปตามธัมมารมณ์ ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป เป็นธรรมชาติที่ต้องแตกสลาย มีการแปรปรวนตลอดเวลา ไม่สามารถคงสภาะเดิมได้ตลอดไป ไม่สามารถควบคุมได้ หรือสรุปเป็นคำๆ เดียวว่า ไม่เที่ยง สัมมาทิฐิแบบนี้ เรียกว่า สัมมาทิฐิที่นับเนื่องเป็นองค์อริยมรรค

การสร้างสัมมาทิฐิที่นับเนื่องเป็นองค์อริยมรรค ได้มาจากการฝึก เพราะคนทุกๆ คน ไม่มีสัมมาทิฐิแบบนี้มาก่อนเลย เรียกว่าการฝึกวิปัสสนา หรือเรียกย่อๆ ว่า การภวนา บ้างก็เรียกว่าการรู้เห็นที่ทำให้สิ้นอาสาวะ คือฝึกให้เห็นจริงตามจริง ต่อสิ่งที่เข้ามากระทบสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในขณะปัจจุบัน ให้เห็นตวามความเป็นจริงว่า มันไม่เที่ยงฯ ตัวเราก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ ตาย ฝึกให้เกิดความต่อเนื่อง และใช้ระยะเวลานาน (อย่างน้อยวันละหนึ่งชั่วโมง) จนจิตใจเราจดจำไว้เป็นฐานในการคิด ในที่สุด ความจริงที่เราสะสมไว้ จะทำให้เราเกิดความคิดเห็นเป็นอัตโนมัติว่า เออ… ไอ้ทั้งปวงนี้มันไม่เทียงจริงๆ ในที่สุดแล้วก็จะทำให้เราเกิดความเบื่อหน่ายและลดความยึดถือในสิ่งเหล่านั้นลงไป ทีละนิด จนหมดในเบื้องปลาย

เมื่อเราเห็นว่า ธรรมชาติทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลายเป็นธรรมดา จนติดเป็นนิสัย ความเห็นผิดที่ว่า สิ่งนี้เป็นของของเรา สิ่งนี้คือตัวเรา ฯ ก็จะหายไป ผลที่ปรากฏออกมาตรงกับเหตุที่เราทำคือ สร้างความเห็นถูก ผลก็คือความเห็นที่ผิดก็เป็นอันหายไป ผลของความเห็นที่เปลี่ยนไป ทำให้เราหมดความสงสัยในการฝึกปฏิบัติ หมดความสงสัยในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในที่สุด พฤติกรรมการดำเนินชีวิตก็จะเปลี่ยนไป เพราะความเห็นที่ถูกต้องนั้น จะพาเราดำเนินชีวิตในทางที่ถูกโดยอัตโนมัติ

ในภาษาบาลี เขียนย่อๆ ว่า โสดาบันละได้ 3 อย่าง คือ สักกายะทิฐิ (ความเห็นผิด) วิจิกิจจฉา (ความสงสัยในคำสอนฯ) และสีลพตปรามาส (การดำเนินชีวิตที่ผิดจากครรลองคลองธรรมที่ดีงาม)



สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส
สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา
ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 23:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๑. มัคคสังยุต อวิชชาวรรคที่ ๑

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า.

[๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความเห็นผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบ ด้วยอวิชชา ความดำริผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นผิด เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด การงานผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด พยายามผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพผิด ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด ตั้งใจผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด

[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ การงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายามชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งใจชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกชอบ แล

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร