วันเวลาปัจจุบัน 04 ธ.ค. 2024, 23:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


กฏกติกา
สำหรับผู้ประกาศแจก
1. รายละเอียดสิ่งของที่จะแจก ไม่ว่าจะเป็นหนังสือธรรมะ หรือซีดี
2. อีเมล์/เบอร์โทร (ถ้าสะดวก) เพื่อการติดต่อ
3. จำนวนของสิ่งของที่จะแจก
4. กำหนดวันเวลาสิ้นสุดการแจกชัดเจน
5. เมื่อสิ้นสุดการแจก กรุณาปิด-ลบกระทู้ หรือแจ้งให้ผู้ดูแลทราบ

สำหรับผู้ขอรับ
1. กรุณาอ่านรายละเอียดข้อตกลงก่อนว่า ต้องลงชื่อขอรับในเว็บบอร์ดนี้ หรืออีเมล์ และเว็บไซต์ของผู้แจก
2. ชื่อ-ที่อยู่ ชัดเจน และเมื่อได้รับแล้ว กรุณาเข้ามาลบ หรือแจ้งผู้ดูแลลบชื่อท่านออก เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง
....



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2016, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2774


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) วัดมหาธาตุ


เรื่องเล่าวันพระ : เคล็ดลับของสมเด็จพระวันรัต
สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย)
เขียนเล่าเรื่องโดย...พระไพศาล วิสาโล


:b50: :b49: :b50:

พูดถึงสมเด็จพระวันรัต วัดมหาธาตุ
คนเฒ่าคนแก่ที่ใกล้ชิดวัดสักหน่อย
มักจะนึกถึง สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
ซึ่งเป็นผู้สนองงานคนสำคัญฝ่ายมหานิกาย
ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
แต่ที่จริงยังมีสมเด็จพระวันรัตอีกองค์หนึ่ง
ซึ่งเจ้าคุณสมเด็จเฮงถือเป็นอาจารย์
นั่นคือ สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย)

เมื่อเจ้าคุณสมเด็จฑิตล่วงสู่วัยชรา
ท่านได้มอบอำนาจการบริหารและการศึกษาของวัด
ให้อยู่ในมือของเจ้าคุณสมเด็จเฮง (ซึ่งตอนนั้นเป็นพระเทพเมธี) หมด
แต่แม้อายุถึง ๘๐ ปี ท่านก็ไม่หลง
มีอาจาระงดงาม เป็นที่เคารพนับถือของพระเณรในวัด


คราวหนึ่งมีพระหนุ่มขึ้นไปกราบเรียนถามท่านว่า
ท่านทำอย่างไรจึงมีศีลาจารวัตรและสติสัมปชัญญะบริบูรณ์แม้อายุปูนนี้แล้ว
แทนที่ท่านจะตอบ กลับเปรยขึ้นมาว่า
“หมู่นี้เวลาพระตีระฆัง หมาหอนกันแปลกเหลือเกิน
มหาสงครามในยุโรป (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) จะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าประชวร จะหายหรือไม่ ก็ไม่รู้ได้
ถ้าพระองค์ท่านเป็นอะไรไป
การพระศาสนาจะกระทบกระเทือนเพียงใด ก็เหลือที่จะเดาได้”


พระหนุ่มได้ฟังก็นึกว่า เจ้าคุณสมเด็จท่านจะเริ่มหลงเสียแล้วกระมัง
เพราะที่ท่านพูดมานั้นไม่เกี่ยวข้องกับคำถามที่ตรงไหน
แต่สักพัก ท่านก็หันมาแล้วพูดว่า
“ที่เธอถามฉันว่ามีกิจวัตรอันใดที่ช่วยค้ำจุนใจ
ให้ประพฤติพรหมจรรย์มาได้จนทุกวันนี้นั้น
ฉันจะบอกให้ ว่าฉันถือหลักอยู่ ๓ สูตร ท่องขึ้นใจอยู่เสมอ
ถ้าอยู่คนเดียวแล้ว เป็นต้องท่องเอาไว้
ท่องถอยหน้าถอยหลังได้โดยตลอด ถ้ามีแขกก็หยุดไว้
มีกิจอื่นต้องทำก็ทำ เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ เซ็นหนังสือ ตอบปัญหา
เมื่อหมดกิจแล้ว ท่องค้างไว้ที่ไหน ก็ท่องต่อไปจากนั้น
โดยรำลึกนึกตามข้อความนั้นไปตลอดเวลา”


:b44: สูตรทั้งสาม ได้แก่

๑) พระภิกขุปาฏิโมกข์ ท่านขยายความว่า
ท่านท่องพระปาฏิโมกข์เป็นนิจ
เพื่อตรวจตราดูว่าได้ล่วงสิกขาบทข้อใดบ้าง
เมื่อรู้ว่าผิดพลาด ก็ทรงจำไว้ แล้วนำไปปลงอาบัติ
ถ้าไม่ถือตามพระปาฏิโมกข์อย่างเคร่งครัด ก็เป็นพระอลัชชี
อยู่ในพรหมจรรย์ไม่ได้ ถึงอยู่ไปก็เป็นคนลวงโลก


๒) มูลกัจจายน์ หรือตำราภาษาบาลี
ท่านอธิบายว่า ท่านเรียนภาษาบาลีแบบเก่า อาศัยคัมภีร์นี้เป็นแม่บท
ที่รู้พระไตรปิฎกแตกฉานก็อาศัยคัมภีร์นี้
ท่านว่าท่านต้องท่องสูตรและแม่บทแห่งภาษาบาลีให้คล่องแคล่ว
หากมีพระรุ่นใหม่มาถามแล้วท่านตอบเขาไม่ได้
เขาก็จะหาว่าเจ้าคุณสมเด็จหลงแล้ว หรือความรู้สู้เขาไม่ได้แล้ว
ถ้าเขาเกิดความคิดเช่นนี้ จะเป็นบาปแก่เขาเพราะการไม่เคารพผู้ใหญ่

๓) มหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า สติปัฏฐานเป็นทางเอก
ที่จะช่วยให้เราพ้นจากวัฏสงสาร ที่ท่านมาบวชก็เพื่อทำตนให้พ้นทุกข์
ดังนั้น จึงท่องพระสูตรนี้เป็นประจำ พร้อมกับพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม
อยู่เป็นประจำ ท่านขยายความว่า ถึงแม้จะไม่ได้เป็นพระอริยบุคคล
แต่ท่านก็เพียรพยายามตามนั้นอยู่ตลอดเวลา
“ยศถาบรรดาศักดิ์ อัครฐาน เพียงช่วยให้ฉันบริหารงานพระศาสนา
เพื่อประโยชน์และความสุขของมหาชนเท่านั้น
แต่ฉันก็ไม่ลืมที่จะทำหน้าที่อนุเคราะห์ตัวเองด้วยเช่นกัน”


ท่านกล่าวกับพระหนุ่มว่า วัตรปฏิบัติดังกล่าวท่านทำเป็นประจำสม่ำเสมอ
จนบัดนี้จึงยังไม่หลงใหล โลกธรรมไม่อาจกล้ำกรายได้
ที่ผ่านมายังไม่เคยบอกใครเรื่องนี้ แต่เมื่อถูกถามจึงบอกให้รู้


เคล็ดลับดังกล่าวประทับแน่นในใจของพระหนุ่มรูปนั้น
กาลเวลาล่วงเลยมาหลายสิบปีจนพระหนุ่มได้กลายเป็นชายชรา
กลับไปครองเพศฆราวาสที่อุทัยธานีบ้านเกิด
เรื่องราวดังกล่าวคงจะหายไปพร้อมกับชีวิตของชายชราผู้นั้น
หากมิใช่เป็นเพราะมีชายหนุ่มคนหนึ่งมาสนทนาพูดคุยด้วย
ชายหนุ่มรู้เรื่องวัดวาอารามดี เมื่อคุยกันถึงเจ้าคุณสมเด็จเฮง
และเจ้าคุณสมเด็จฑิต ชายชราจึงเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง นั่นเป็นปี พ.ศ. ๒๕๐๗
เวลาผ่านไป ๑๔ ปี เรื่องนี้จึงได้ถูกถ่ายทอดเป็นข้อเขียนโดยชายหนุ่มผู้นั้น
ซึ่งเวลานั้นได้กลายเป็นนักเขียนชั้นนำแล้ว มีนามปากกว่า ส.ศิวรักษ์

๓๐ กว่าปีผ่านไป ทุกวันนี้คงแทบไม่มีใครรู้จักข้อเขียนชิ้นนั้นแล้ว
เพื่อไม่ให้เรื่องนี้สูญหายไป จึงขอนำมาเล่าซ้ำอีกครั้ง


รูปภาพ
สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ

:b50: :b49: :b50:

:: ประมวลภาพ “สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=50377

:: ประมวลภาพ “สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=50335

:: รวมคำสอน “พระไพศาล วิสาโล”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=42477


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2018, 15:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 718

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร