วันเวลาปัจจุบัน 15 ม.ค. 2025, 12:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b46: :b44: :b46: ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อโต หรือ “พระศรีอริยเมตไตรย”
[พระประธาน : พระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก]
วัดอินทรวิหาร (พระอารามหลวง) เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


“หลวงพ่อโต” หรือ “พระศรีอริยเมตไตรย” พระพุทธปฏิมากรยืนปางอุ้มบาตร วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2410 ก่อด้วยอิฐถือปูน หากดำเนินการการก่อสร้างไปได้เพียงครึ่งองค์ สูงเพียงพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ก็สิ้นชีพิตักษัย ณ ศาลาใหญ่ วัดบางขุนพรหมใน เป็นพระยืนอุ้มบาตรที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าท่านได้สอนยืนและเดินได้ที่นั่น

ต่อมา พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ซึ่งร่วมสร้างหลวงพ่อโต ร่วมกับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) มาแต่ต้น ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2463 พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) มีอายุ 91 ปี พรรษาที่ 70 ชราภาพมากแล้ว จึงได้ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านจึงมอบฉันทะให้ พระครูสังฆบริบาล (แดง) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ช่วยบูรณปฏิสังขรณ์ต่อจากเดิม ซึ่ง พระครูกัลยานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) ได้เขียนบันทึกไว้เกี่ยวกับการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งมีปรากฏในจารึกศิลาว่า

“ศุภมัสดุพระพุทธศาสนกาลล่วงแล้วได้ 2463 ปีวอก โทศก (จ.ศ. 1282) พระครูสังฆบริบาล (แดง) ได้ลงมือทำการปฏิสังขรณ์เมื่อเดือน 11 ณ วันพฤหัสบดี แรม 1 ค่ำ ประวัติเดิมของพระครูสังฆบริบาล อุปสมบทที่แขวงตะนาว เมื่ออุปสมบทแล้วได้มาสร้างวัดเข่ชั้นบันไดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แล้วได้มาศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัย ณ สำนักวัดบวรนิเวศ ในบารมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส 5 พรรษา เมื่อเสด็จสิ้นพระชนม์ จึงได้มาทำการปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปองค์โตนี้ พร้อมด้วยเจ้าฟ้า ทายก ทายิกา ราษฎร จนถึงกาลบัดนี้สิ้นเงินรายได้รายจ่ายในการปฏิสังขรณ์ 5 หมื่นเศษ”

หากดำเนินก่อสร้างสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน อินฺทสโร) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระอินทรสมาจาร” ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2470 และได้จัดให้มีงานสมโภชเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 11 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ เปิดงานสมโภชองค์หลวงพ่อโต

ในหนังสือ “ประวัติหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ปี พ.ศ. 2490” ได้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อโต ของพระครูอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) ไว้ว่า

“ถึงปีชวด พ.ศ. 2467 พระครูอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) เมื่อครั้งยังเป็น พระครูสังฆรักษ์ ย้ายมาจากวัดปรินายกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ได้จัดการสร้างพระโตต่อมา โดยเป็นประธานบอกบุญเรี่ยไรจากประชาชนทั่วไป ผู้ช่วยเหลือที่เป็นกำลังสำคัญของท่านพระครูอินทรสมาจารที่ควรกล่าวให้ปรากฏคือ เจ้าคุณและคุณหญิงปริมาณสินสมรรถ พระประสานอักษรกิจ สิบเอกอินทร์ พันธุเสนา และนางพลัด พันธุเสนา พระครูอินทรสมาจารทำการก่อสร้างอยู่ 4 ปี จึงสำเร็จสมบูรณ์ (สิ้นเงินประมาณ 10,000 บาท)”


รูปภาพ

รูปภาพ

มีต่อ >>>>>

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้มีการปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมคือ เมื่อปี พ.ศ. 2481 ได้ทำประภามณฑล (พระรัศมี) ประดับองค์หลวงพ่อโต และประดับกระเบื้องโมเสกทองคำ 24 เค ที่พระพักตร์ พระเศียร และพระหัตถ์ และได้เปลี่ยนโมเสกใหม่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2509 เนื่องจากของเดิมหมองคล้ำและชำรุด

พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีอัญเชิญโมเสกทองคำขึ้นประดับเป็นรูปอุณาโลม ณ พระนลาฏองค์หลวงพ่อโต

พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นสถิต ณ ยอดพระเกศองค์หลวงพ่อโต และทรงปลูกหน่อพระศรีมหาโพธิ์

อย่างไรก็ตามต่อมามีการบูรณปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อโต ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

กล่าวสำหรับวัตถุมงคลที่เกี่ยวเนื่องด้วย “หลวงพ่อโต” ที่พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ที่สร้างขึ้นเป็นพิมพ์หนึ่งในจำนวนหลากหลายพิมพ์ของหลวงปู่ภู จนฺทเกสโร เป็นพระเครื่องเนื้อปูนปั้นผสมผง ที่กล่าวกันว่ามีส่วนผสมของผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ผสมอยู่ด้วย จึงกล่าวได้ว่า พระเครื่องของหลวงปู่ภูใช้แทนพระสมเด็จฯ ได้เป็นอย่างดี

พระเครื่องพิมพ์อุ้มบาตร มีพุทธลักษณะทรงห้าเหลี่ยม องค์พระปฏิมากรประทับยืนบนอาสนะบัว ภายในซุ้มกรอบ 5 เหลี่ยม ด้านหลังองค์พระเครื่องเรียบปราศจากอักขระใดๆ

อย่างไรก็ตาม มีเหรียญปั๊ม “พระศรีอริยเมตไตรย” ที่น่าสนใจยิ่งของพระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ซึ่งมีความเป็นมาคือ เมื่อปี พ.ศ. 2467 ที่พระอินทรสมาจารย์ (เงิน อินฺทสโร) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูสังฆรักษ์ ทำการก่อสร้างพระศรีอริยเมตไตรย์ “หลวงพ่อโต” สืบต่อจากที่คั่งค้างอยู่ เป็นเวลา 4 ปีจึงแล้วเสร็จ และมีงานสมโภชเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ทางวัดได้จัดให้มีงานนมัสการและปิดทองพระโต ในเดือนมีนาคม และกำหนดเป็นเทศกาลประจำปีสืบมา

ต่อเมื่อปี พ.ศ. 2521 ภายหลังอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสถิต ณ ยอดพระเกศองค์ “หลวงพ่อโต” การจัดงานประจำปีจึงเปลี่ยนไปเป็น งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และปิดทองหลวงพ่อโต สันนิษฐานว่าในการสมโภชเมื่อปี พ.ศ. 2471 นั้น ได้มีการสร้าง “เหรียญพระเครื่อง” ขึ้นมาด้วย ซึ่งเป็นที่เชื่อถือกันว่า เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นทันในช่วงพระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ยังมีชีวิตอยู่ และต้องร่วมปลุกเสกด้วยอย่างแน่นอน

รูปภาพ

รูปภาพ
เหรียญวัตถุมงคล “หลวงพ่อโต”


เหรียญรุ่นดังกล่าวนี้ มีด้วยกัน 2 แบบพิมพ์ เป็นเหรียญปั๊มรูปเสมา มีหูในตัว เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง แบบแรกนั้น ด้านหน้าเป็นรูปจำลองพระศรีอริยเมตไตรย “หลวงพ่อโต” ประทับยืนปางอุ้มบาตรบนอาสนะฐานบัวคว่ำบัวหงาย ขอบเหรียญแกะเป็นลวดลายกระหนกสวยงาม ด้านหลังพื้นเหรียญเรียบ ปรากฏข้อความอักษร 3 บรรทัด ว่า “พระศรีอารย์ ยืนโปรดสัตว์ วัดอินทรวิหาร”

ส่วนแบบที่สอง ประทับยืนปางอุ้มบาตรบนอาสนะฐานบัวหงาย ภายใต้ฉัตร 7 ชั้น ขอบเหรียญแกะเป็นลวดลายสวยงาม ด้านหลังพื้นเหรียญเรียบ ปรากฏข้อความอักษร 5 บรรทัด ว่า

“พระศรีอารย์ ยืนโปรดสัตว์ ให้พ้นทุกข์ วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ”

เป็นเหรียญเก่าอันน่าเก็บสะสมในทำเนียบ “เหรียญพระพุทธ”


:b8: รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก...
(๑) หนังสือ ประวัติหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ปี พ.ศ. 2490
วัดอินทรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
(๒) หนังสือ ประวัติวัดอินทรวิหารและองค์หลวงพ่อโต


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดอินทรวิหาร
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1928

ประมวลภาพ “วัดอินทรวิหาร” กรุงเทพมหานคร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=19915

ไหว้หลวงพ่อโตรับวันมาฆะ ที่ “วัดอินทรวิหาร”

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19891

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: อนุโมทนาด้วยครับ..ท่านwebmaster :b8:
รูปภาพ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2017, 08:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 753

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2018, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร