วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 12:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2010, 13:49
โพสต์: 26

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




O85329291 copy.jpg
O85329291 copy.jpg [ 301.26 KiB | เปิดดู 9529 ครั้ง ]
สุภาษิต แปลว่า ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี, ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้

พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม

เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต / พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์) ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น

พุทธศาสนสุภาษิต "หมวดความประมาท"

ปมาโท รกฺขโต มลํ ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา
เย ปมตฺตา ยถา มตา ผู้ประมาท เหมือนคนตายแล้ว
ปมาเทน น สํวเส ไม่ควรสมคบด้วยความประมาท
ปมาทมนุยุญฺชนฺติ พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา คนพาลมีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาท
เต ทีฆรตฺตํ โสจนฺติ เย ปมชฺชนฺติ มาณวา คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
ยาวเทว อนตฺถาย ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย,
มันทำสมองของเขาให้เขว, ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย
โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต
เอกาหฺ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู้ตั้งร้อยปี,
ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวประเสริฐกว่า
โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโต ว จนฺทิมา เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง
เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
ยญฺหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ อกิจฺจํ ปน กยีรติ
อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ
เมื่อเขาถือตัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ
พหุมฺปิ เจ สํหิต ภาสมาโน
น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ
น ภาควา สามญฺญฺสฺส โหติ หากกล่าวพุทธพจน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท
ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ก็ไม่มีส่วนแห่งสามัญญผล
เหมือนคนเลี้ยงโค คอยนับโคให้ผู้อื่นฉะนั้น


อปฺปมตฺตา น มียนฺติ ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
อปฺปมาทรตา โหถ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐฺ รกฺขติ ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํ อณํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือ เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น
อปฺปมาทรโต ภิกขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย นิพพานสฺเสว สนฺติเก ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือ เห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว
อวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ
ชาติชรํ โสกปริทฺทวญฺจ อิเธว วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วไปเที่ยวไป เป็นผู้รู้ พึงละชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้
อุฏฺฐฺานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญฺญฺตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2010, 13:49
โพสต์: 26

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




e31.jpg
e31.jpg [ 136.84 KiB | เปิดดู 9523 ครั้ง ]
พุทธศาสนสุภาษิต คำแปล
น หึสนฺติ อกิญฺจนํ ไม่มีอะไรเลย ไม่มีใครเบียดเบียน
สุขิโน วตารหนฺโต ท่านผู้ไกลกิเลส มีความสุขจริงหนอ
สกิญฺจนํ ปสฺส วิหญฺญมานํ คนมีห่วงกังวล ย่อมวุ่นวายอยู่
ยาวเทวสฺสหู กิญฺจิ ตาวเทว อขาทิสํ ตราบใด ยังมีชิ้นเนื้อคาบไว้นิดหน่อย ตราบนั้น ก็ยังถูกกลุ้มรุมยื้อแย่ง
หิรญฺญํ เม สุวณฺณํ เม เอสา รตฺตินฺทิวา กถา
ทุมฺเมธานํ มนุสฺสานํ อริยธมฺมํ อปสฺสตํ พวกมนุษย์ผู้อ่อนปัญญา ไม่เห็นอริยธรรม สนทนาถกเถียงกันทั้งวันทั้งคืน แต่ในเรื่องที่ว่า เงินของเรา ทองของเรา
อตีตํ นานุโสจนฺติ นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ
ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ เตน วณฺโณ ปสีทติ ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส
โสจํ ปณฺฑุกิโส โหติ ภตฺตญฺจสฺส น รุจฺจติ
อมิตฺตา สุมนา โหนฺติ สลฺลวิทฺธสฺส รุปฺปโต มัวเศร้าโศกอยู่ก็ซูบผอมลง อาหารก็ไม่อยากรับประทาน ศัตรูก็พลอยดีใจ ในเมื่อเขาถูกลูกศรแห่งความโศกเสียบแทงย่ำแย่อยู่
อนาคตปฺปชปฺปาย อดีตสฺสานุโสจนา
เอเตน พาลา สุสฺสนฺติ นโฬว หริโต ลุโต ชนทั้งหลายผู้ยังอ่อนปัญญา เฝ้าแต่ฝันเพ้อถึง สิ่งที่ยังไม่มาถึง และ หวนละห้อยถึงความหลังอันล่วงไปแล้ว จึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือนต้นอ้อสดที่เขาถอนขึ้น ทิ้งไว้ในกลางแดด
โย อตฺตโน ทุกฺขมนานุปุฏฺโฐ ปเวทเย ชนฺตุ อกาลรูเป
อานนฺทิโน ตสฺส ภวนฺติ มิตฺตา หิเตสิโน ตสฺส ทุกฺขี ภวนฺติ ผู้ใดพอใครถามถึงทุกข์ของตน ก็บอกเขาเรื่อยไป ทั้งที่มิใช่กาลอันควร ผู้นั้นจะมีแต่มิตรชนิดเจ้าสำราญ ส่วนผู้หวังดีต่อเขาก็มีแต่ทุกข์
ลาโภ อลาโภ ยโส อยโส จ นินฺทา ปสํสา จ สุขํ จ ทุกฺขํ
เอเต อนิจฺจา มนุเชสุ ธมฺมา มา โสจิ กึ โสจสิ โปฏฺฐปาท ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะโศกเศร้าไปทำไม
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2010, 13:49
โพสต์: 26

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธศาสนสุภาษิต หมวดที่ 7 "หมวดความโกรธ"
พุทธศาสนสุภาษิต คำแปล
โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
โกโธ สตฺถมลํ โลเก ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
โกธํ ปญฺญาย อุจฺฉินฺเท พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา
โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺยํ นิคจฺฉติ ผู้เมามึนด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์
ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย
อนตฺถชนโน โกโธ ความโกรธก่อความพินาศ
ทุกฺขํ สยติ โกธโน คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น
ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2010, 13:49
โพสต์: 26

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธศาสนสุภาษิต หมวดที่ 8 "หมวดการชนะ"
พุทธศาสนสุภาษิต คำแปล
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ รสแห่งธรรมะ ย่อมชนะรสทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
ชิเน กทริยํ ทาเนน พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
ชยํ เวรํ ปสวติ ผู้ชนะ ย่อมก่อเวร
อสาธํ สาธุนา ชิเน พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี
อกฺโกเธน ชิเน โกธํ พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติ ความชนะใดที่ชนะแล้วไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นดี
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ความยินดีในธรรมะ ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ. ความชนะใดที่ชนะแล้ว กลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2010, 13:49
โพสต์: 26

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธศาสนสุภาษิต หมวดที่ 11 "หมวดตน-การฝึกตน"
พุทธศาสนสุภาษิต คำแปล
อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตนอยู่เป็นนิจ
อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี
ลพฺภา ปิยา โอจิตฺเตน ปจฺฉา ตระเตรียมตนให้ดีเสียก่อนแล้ว ต่อไปจะได้สิ่งอันเป็นที่รัก
ยทตฺตครหิ ตทกุพฺพมาโน ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น
สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว
สทตฺถปสุโต สิยา พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน
นาญฺญํ นิสฺสาย ชีเวยฺย ไม่พึงอาศัยผู้อื่นยังชีพ
กลฺยาณํ วต โภ สกฺขิ อตฺตานํ อติมญฺญสิ ท่านเอ๋ย ! ท่านก็สามารถทำดีได้ ไยจึงมาดูหมิ่นตัวเองเสีย
สนาถา วิหรถ มา อนาถา จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง
ปเรสํ หิ โส วชฺชานิ โอปุนาติ ยถาภุสํ
อตฺตโน ปน ฉาเทติ กลึว กิตวา สโฐ โทษคนอื่นเที่ยวกระจาย เหมือนโปรยแกลบ แต่โทษตนปิดไว้ เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2010, 13:49
โพสต์: 26

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธศาสนสุภาษิต หมวดที่ 20 "หมวดศีล"
พุทธศาสนสุภาษิต คำแปล
สีลํ โลเก อนุตฺตรํ ศีล เป็นเยี่ยมในโลก
สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ ศีลพึงรู้ได้เมื่ออยู่ร่วมกัน
สีลํ ยาว ชรา สีลํ ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา
สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี นักปราชญ์พึงรักษาศีล
สญฺญมโต เวรํ น จียติ เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น
สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี
สีลํ กิเรว กลฺยาณํ ท่านว่าศีล เป็นความดี
โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุสฺสีโล อสมาหิโต เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย สีลวนฺตสฺส ฌายิโน ผู้ไม่มีศีล ไม่มั่นคง ถึงจะเป็นอยู่ตั้งร้อยปี , ส่วนผู้มีศีล เพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่า
น เวทา สมฺปรายาย น ชาติ นปิ พนฺธวา สกญฺจ สีลสํสุทฺธํ สมฺปรายสุขาวหํ เวทมนต์ ชาติกำเนิด พวกพ้อง นำสุขมาให้ในสัมปรายภพไม่ได้ ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงนำสุขมาให้ในสัมปรายภพได้
อุนฺนฬสฺส ปมตฺตสฺส พาหิราสสฺส ภิกฺขุโน สีลํ สมาธิ ปญฺญา จ ปาริปูรึ น คจฺฉติ เมื่อภิกษุมีมานะ ประมาทแล้ว มีความหวังในภายนอก ศีล สมาธิ และ ปัญญา ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร