วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ย. 2024, 04:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 14:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยมีประสบการณ์ทำสมาธิวันละประมาณ 1ชม.ต่อเนื่องเป็นเวลา1เดือน จึงอยากจะอธิบายเพื่อขอคำชี้แนะ ติเตือนค่ะ ก่อนอื่นขอบอกก่อนเลยว่า ณ ช่วงเวลาที่ปฏิบัติไม่ได้มีความรู้สึกยินดีกับทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแนวที่รู้สึกว่ามันพิเศษ นอกจากยินดี และรับรู้ภายใต้ความสงบ อารณ์ตอนนั้นนิ่งแทบจะไม่มีเรื่องใดมากระทบจนทำให้จิตกระเทือน เช่นหากตกใจ ใจมันกระตุกแวบเดียว เหมือนมันรู้มาพร้อมๆกันก็หยุด ไม่ติดใจสงสัย ซึ่งปกติต้องใจสั่นอะไรตามมา มันดับเร็วมาก ช่วงนั้นมีความรู้สึกเบื่อหน่ายการใช้ชีวิตเป็นกำลังมาก กระตุ้นจิตใจตลอดเวลา อยากบวช อยากมุ่งหน้าปฏิบัติ ต้องการความสงบ เพราะถ้าอยู่ณจุดนี้มันมีผลกระทบหลายอย่างทำให้จิตไม่สงบเต็มที่ ใจมันไม่อยากจะเบียดเบียนสิ่งใดก็ตาม หาอาหารการกินบางทีเราเป็นแม่บ้านพยายามหลีกเลี่ยงเพราะอยากถือศิล5ให้ครบยังรู้สึกว่าอยู่ตรงนี้ลำบาก-ไม่รู้ว่าเกิดจากเรื่องมากเกินไปรึเปล่า-อีกอย่างจิตมันคอยนึกถึงคำภาวนาพุธโธหรือสลับกับแค่รู้ลมเข้าออก มันเกิดขึ้นเกือบตลอดเวลาแม้แต่เคลิ้มจะตื่นเหมือนมันตื่นขึ้นมาพร้อมกันเลย-หมกหมุ่นเกินใหม-อีกเช่นมองเห็นอะไรคิดถึงเป็นธรรมะตลอดจิตจะคอยบอกคอยแยกแยะเช่นเห็นบ้านรถของใดๆที่เคยชื่นชมกลับมองเป็นของธรรมดา มองแล้วทบทวนย้อนคิดถึงหาเหตุตั้งแต่มันเริ่มเกิด เก่า แก่ทรุดโทรมจนผุพังหายไป และอย่างวันหนึ่งมองดูพระอาทิตยขึ้นพอคิดว่าสวยปุ๊บ มันเหมือนมีสายใยอะไรสักอย่างเหนี่ยวดึงใจไว้ไม่ให้หลงในคำนั้น มันเป็นชั่ววินาทีแต่มันรู้สึกจริงนะ อธิบายยาก อย่างได้ยินเพลงเพราะ มันเห็นช่วงเวลาระหว่างที่เราจะวางเฉยหรือไปวิ่งตามอารมณ์นั้นๆ-เหมือนคนบ้ารึเปล่า-เพราะช่วงที่ปฏิบัติจะชอบอยู่สงบนึกถึงแต่ลมหายใจคือจะว่ากลัวก็ไม่ใช่แต่จะพยายามรักษาระดับจิตให้สงบอยู่เนื่องๆ เหตุหนึ่งเพราะมันคิดเกือบตลอดที่เราจะเผลอ ว่าความตายมันอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาจึงต้องระวังรักษาตัวแลจิตไม่ให้ก่อกรรมขึ้นทั้งกายวาจาใจ-มันมากเกินไปรึเปล่า-ก่อนหน้าเคยทรมานกันโรคร่างกายหาหมอหลายที่ก็ไม่ดีขึ้นไม่มีโรคบ่งชี้ ยิ่งปวดตานี่หมอยอมแพ้หาสาเหตุไม่ได้ส่งตรวจทุกอย่างก็แล้ว แต่มาปฏิบัตินี่หายหมดจริงๆ ไม่มีเจ็บไข้ ไม่มีอยากหรือไม่อยาก ขี้เกียจนั่นนี่ไม่มี ทรงอารมณ์เฉยๆอยู่เรื่อยๆ เหมือนตื่นตลอดเวลา มันเหมื่อนคนสดชื่นอิ่มใจแม้หลังตื่นคือรู้ตัวปุ๊บลุกปั๊บ เพราะปกติ2ทุ่มจะเข้านอนไม่ง่วงนะ แต่พอรู้ว่าหมดหน้าที่ระหว่างวันแล้วก็อยากปฏิบัติต่อ ทั้งลูก2และสามีเปิดทีวีวิ่งกันวุ่นวาย ไม่มีความรู้สึกรำคาญ นอนปุ๊ปกำหนดจิต คือก่อนนอนนี่จะใช้วิธีกำหนดลม+กับนึกถึงเปลวเทียน(เป็นความชอบแบบที่พยายามหลีก แต่ก็ยังอดไม่ได้ยังเอามาใช้ตอนนี้อยู่ พอหลังจะมองเห็นจริงๆไฟลุกพรึบๆ ก็จ้องไปบวกกับภาวนาด้วยจนหลับไป บางทีก็ตัวหมุนๆลอยๆถ้าได้ถึงตรงนี้ก็จะแผ่เมตตา และรู้ไปเรื่อยๆจนหลับ ท่านอนนี่จะตะแคงเอามือข้างหนึ่งหนุน ไม่เอาหมอน เท้าเหยียดตรงมืออีกข้างวางแนบลำตัว ใหม่ก็ฝืนลำบากหน่อยตื่นกลางดึกปวดแขนชามาก แต่สักพักถึงเช้าท่าเดียวเลยไม่เป็นไร ทีนี้นึกจะตื่นเวลาไหนตี4ตีห้า กี่นาทีตรงเป๊ะ อีกเรื่องตื่นเช้าจะลุกมาไหว้พระ อธิษฐานแล้วแผ่เมตตาเป็นประจำ พอเริ่มอธิฐานปุ๊ปจะเกิดความยินดีปลาบปลื้มขนลุกชันซาบซ่านภายในกาย น้ำตาไหลเออ เป็นจนกว่าเราจะหยุดเลย อาการอย่างนี้จะเกิดอีกเมื่ออ่าน/ฟังธรรมะบางประโยค,แผ่เมตตา,ชื่นชมยินดีเมื่อรู้เห็นใคร ไม่ว่าจะทำบุญหรือทำสิ่งดีๆ-เรียกว่าปิติรึเปล่า ทำไมมันเกิดขึ้นแรงและง่ายเหลือเกิน-แล้วอีกอารมณ์หนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันที ไม่ว่าตอนนั้นจะทำอะไรเช่นพอทรุดนั่งปุ๊บก็มาทันที คือจะรู้สึกสุขมาก อิ่มใจ เห็นสิ่งรอบกายแต่เหมือนอารมณ์ว่างเปล่าไร้ สภาวะใดๆ มันเป็นอารมณ์สุขที่สุดที่เคยสัมผัสมาจริงๆ ทุกครั้งที่เกิดก็จะหยุดเคลื่อนไหว ประคองจิตให้รู้อาการนั้นอย่างสงบ แต่จะเป็นแค่2-3นาทีก็หยุดไป-อันนี้คืออะไรคะ- อารมณ์นี้ยังตามมาหลังจากห่างการปฏิบัติมาเป็นครั้ง แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว มันเป็นปิติตัวหนึ่งรึเปล่าเพราะช่วงที่ปฏิบัติ จะรักษาสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ขอใช้คำว่าแทบตลอดเวลา แต่ว่าอารมณ์นี้ มันสุขมากๆ สุขแบบไม่หลง เหมือนสุขกับความว่าง แต่เราก็จะแค่หยุดมองและปล่อยให้มันผ่านไป-หรือควรทำตัวอย่างไร-เคยนั่งสมาธิ,อ่านหนังสือหรือตั้งใจทำอะไรสักอย่างก็จะเกิดอารมคล้ายๆกัน ตัวจะเบาๆหมุนๆไม่รู้ทิศหรือตัวใหญ่พองขึ้น และพอเกิดขึ้นก็จะยังทำอะไรต่อไปโดยก็กำหนดรู้ไปด้วย ต่างกันที่สุขละเอียด กว่ากัน และที่แปลกอีกเรื่องมักจะเห็นภาพแวบมา สถานที่บ้าง คนบ้าง แล้วก็จะได้พบเจอจริง บางทีเห็นก่อน ไม่กี่นาทีก็บังเอิญได้เจอ ลางสังหรก็แม่นด้วย เช่นเดี๋ยวใครจะมา จะว่าอะไร แบบลางสังหรนะคะไม่ได้เป็นเรื่องเป็นราว อีกอย่างเวลาโต้ตอบกับใครไม่ว่าเรื่องใดเคยรู้หรือไม่เคยรู้ ก็สามารถพูดให้เหตุผลกับเขาได้หมด อัศจรรย์มากไม่ต้องมีการเตรียมคิดหาคำตอบเหตุและผลมันพรั่งพรูออกมาเหมือนดังสายน้ำไหล(ไม่รู้จะเปรียบยังไง) สุดท้ายนี้ขอขอบคุณท่านที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ด้วยค่ะ ถ้ายังอยู่ณ อารมนั้นคงไม่มีหลายๆคำถามมารบกวน เพราะตอนนั้นมันแทบจะไร้ความคิดนึกอยากใดๆ แต่จนถึงวันนี้ ห่างมาหลายเดือน ได้ย้อนไปคิดแล้วเกิดความสงสัยขึ้น ว่ามันแปลกและมีความผิดพลั้งประการใด สิ่งที่ทำถูกต้องใหม ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างกับจิตใจที่มากเหลือเกินในช่วงเวลา1เดือน มันดูเหมือนเราจะสงบมากเกินไป เข้าถึงธรรมะมากเกินไป หรือเราพยายามทำให้มันเกิดรึเปล่า ระหว่างที่ปฏิบัตินั้นก็เตือนตัวเองอยู่ตลอดเหมือนกันนะ แต่ก็ยังไม่แน่ใจ เพราะแม้แต่ความชอบในสุขก็ยังเป็นกิเลส เผื่อมีตัวไหนที่เรามองไม่เห็น เพราะยังไงก็คิดว่าทุกอาการที่เกิด เราจะคอยตามรู้และดูมันอย่างสงบ ความอยาก ใดๆไม่มี ในตอนนั้น นอนจากอยากบวช,อยากถือศิล,อยากปฏิบัติให้มากเพื่อลดการก่อกรรมทางกาย วาจา ใจ อยากไปให้ถึงพระนิพพาน ลืมบอกไปว่าคำอธิษฐานที่ทำหลังไหว้พระเช้า,ก่อนนอน,นั่งสมาธิ คือขออำนาจพระรัตนตรัย ช่วยหนุนนำบุญกุศลใด ในชาติใดสูงสุดที่ข้าพเจ้าเคยได้ปฏิบัติถึงมาช่วยส่งผลให้ข้าพเจ้าได้สัมผัสเข้าถึงจุดนั้นได้โดยเร็วเพื่อส่งผลการปฏิบัติให้ก้าวหน้าไปตามมรรค แห่งพระพุทธองทรงสอน ให้ได้ถึงพระนิพพานในชาตินี้เถิด อย่าได้หลงผิดทางใดเลย และวิธีนั่งสมาธิ ก็จะนึกอธิฐาน,แผ่เมตตาและกำหนดพุทโธ วันใดจิตฟุ้งมาก ก็จะเอาหลักธรรมคำสอนมาท่องวนไปมาด้วย จิตก็จะสงบส่วนมากก็กฏไตรลักษณ์ สงบในที่นี้ก็คือจะหายใจละเอียดขึ้นตัวเบาตัวหมุน นี่บ่อยๆกะตัวใหญ่พองขึ้น หลังจากนั้นจะหยุดและจะเห็นแสงจ้าและเปลี่ยนมาเป็นขาวนวลตอนนี้ลมจะเบาลงมาก จนเหมือนไหลเข้าออกเอง จิตสบาย รับรู้เสียงทุกอย่างเบาลง เราก็จะกำหนดรู้ดูเรื่อยๆแบบอารมจะเฉยๆ สักพักจะรูสึกอึดอัดแน่นไปทั้งร่าง จะเริ่มหายใจไม่สุด คือหายใจเข้ายาวนานมากๆ หรือออกนานมากๆ และพอเหมือนแน่นจนสุดละวูบเดียวก็สบายเบา เฉย ลมละเอียดมาก แต่ยังรู้สึกทางจิตตอนนี้จะมีแสงส่องมาจ้าขึ้นมากๆอีกละก็จะมาขาวนวลสว่างไสวกว่าเดิม แล้วก็จะเริ่มแวบคิดหรือรู้ลม วนมาปิติ วนมาแสง มาอึดอัด มันเป็นอย่างนี้อยู่เรื่อย ไม่ก้าวหน้าเลยใช่ใหมคะ ทำไม่ถูกรึเปล่าช่วยแนะนำด้วยค่ะ ด้วยเหตุนี้ด้วยถึงมาคิดว่าตัวแปลกต้องมีสิ่งผิดพลาด เพราะสมาธิไม่เห็นจะก้าวหน้าแต่อารมทางธรรมดูจะเกินจริง เพราะอ่านประสบการจากคนอื่น เขาเห็นนู่นนี่ พระพุทธรูปบ้าง,ตัวเองบ้าง หูดับกายดับบ้างได้เข้าฝึกมโมยิทธิบ้าง สมาธิเขาก้าวหน้าดี แต่ก็ยังพูดคิดถึงคนรัก อยากเที่ยว อยากไปอยากได้อะไรในทางโลกอยู่ แต่ทำไมสมาธิเราไม่เห็นจะก้าวหน้าแต่ด้านอารมณ์สงบเหลือเกิน แค่คิดก็ดับเสียแล้ว ไม่รู้จะอธิบายยังไงตรงนี้ แต่ณ เวลานี้ เมื่อไม่ได้ปฏิบัติต่อ ทุกอารมที่เคยได้ก็หายไปด้วยค่ะ กลับมาเป็นตัวตนเดิมรัก โลภ โกรธ หลงเหมือนเดิม แต่จิตตั้งมั่นในบุญมากขึ้น พยายามมากขึ้น ต่างกับตอนปฏิบัติ จิตมันเป็นของมันเองจบแค่นี้ค่ะ หากผิดพลั้งประการใดขอขมาโทษด้วยนะคะ และขอคุณแห่งสิ่งศักสิทธ์คุ้มครองทุกท่านด้วยค่ะ 


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2014, 22:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
คุณ idea เจริญสมาธิและปัญญามาตามธรรมชาติได้ดีพอสมควรแล้วแต่ห่างอาจารย์หรือที่ปรึกษาที่รู้จริงถึงจริงไปนิดหนึ่ง คงเพราะมีภาระครอบครัว

ถ้าสามารถจัดเวลาให้ตนเองได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างต่อเนื่องสัก 10 วันหรือมากกว่าภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของครูบาอาจารย์คุณจะได้เดินเข้าทางของสติปัฏฐาน 4 หรือมรรคมีองค์ 8 ตรงๆ แล้วทำนิพพานให้แจ้งได้รวดเร็วทันชาตินี้แน่ๆ เพราะอธิษฐานขอไว้เยอะแล้ว แรงบุญก็ส่งแล้ว เหลือแต่ลงมือปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่องให้นานพอสักนิดธรรมก็ปรากฏ

ถนัดทำพุทโธมาก่อนให้ลองไปที่วัดดอยธรรมเจดีย์ อาจารยแบน

หรือจะไปต่อยอดเจริญปัญญา กับอาจารย์ปราโมทย์ ปราโมชโช ที่ศรีราชา ก็ได้นะครับ
:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มันเป็นยังเองครับ จขกท. ขณะนั้นๆ รู้สึกยังไง เป็นยังไง พึงกำหนดรู้ [ว่าในใจ] ยังงั้น ตามที่รู้สึก ตามที่มันเป็น ทันทุกๆขณะ เมื่อจิตละเอียดขึ้นๆ จะเห็นความแปรเปลี่ยนของสรรพสิ่งรวมทั้งความรู้สึกนึกคิด แล้วสิ่งที่เป็นเหมือนเงาของความคิด เช่นแสงสีนั่นนี่ก็จะหมดไป หมดสิ้นก็จากการกำหนดรู้เท่าทันนี่แหละ เหลือแต่ความรู้สึกนึกคิดล้วนๆ ที่พร้อมจะทำงานในหน้าที่ อยู่กับโลกกับสังคมอย่างรู้เท่าทัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ idea ....
ตอบคำถามสักนิสสส

ความสงบ มันหายไปใช่ไหมครับ?

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
คุณ idea ....
ตอบคำถามสักนิสสส

ความสงบ มันหายไปใช่ไหมครับ?



นี่คือความคิดของคนที่เห็นชีวิตเป็นชีวิตสำเร็จรูป ชัดเจนมากๆ ซึ่งบ่งถึงว่า ไม่เข้าใจขั้นการพัฒนาจิต ปาดโธ่่ มันต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่ลงมือทำปุ๊บสงบปั๊บ ตกฟากปุ๊บ เป็นอริยบุคคลปั๊บ :b32:





เช่นนั้น นี่คือแบบอย่างการฝึกจิต :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่คือลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ แต่มิใช่หมายความว่า เป็นอย่างนี้มาแต่ในท้องแม่หรือตั้งแต่ตกฟากนะ :b32: ไม่ใช่ๆ บัณฑิตชนจะต้องค่อยๆฝึกหัดพัฒนาไปทีละเล็กละน้อยถูกทาง และขณะที่ฝึกหัดพัฒนานั้น ก็มิใช่จะง่ายดายเหมือนปอกกล้วยสุกเข้าปากนะ :b9:


ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ


คือการฝึกปรือเพื่อเสริมสร้างคุณภาพ และสมรรถภาพของจิต ดังนั้น สมาธิซึ่งเป็นเป้าหมายของอธิจิตตสิกขานั้น จึงหมายถึงภาวะจิตที่มีคุณภาพ และมีสมรรถภาพดีที่สุด


จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณภาพดี มีสมรรถภาพนั้น มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้


1. แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนกระแสน้ำ ที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทิศทาง เดียวย่อมมีกำลังแรงกว่าน้ำ ที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป


2. ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระ หรือ บึงน้ำใหญ่ ที่มีน้ำนิ่ง ไม่มีลมพัดต้อง ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว

3. ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่นละอองที่มีก็ตกตะกอนนอนก้นหมด

4. นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย

ไวพจน์ที่แสดงความหมายของสมาธิคำหนึ่ง คือ เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว แต่ถ้าว่าตามรูปศัพท์ จะเห็นลักษณะของจิตที่คล้ายกับในข้อแรก

จิตที่มีสมาธิขั้นสมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่ง สมาธิถึงขั้นฌาน พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า จิตพร้อมด้วยองค์ ๘ (อัฏฐังคสมันนาคตจิต) องค์ ๘ นั้น ท่านนับจากคำบรรยายที่เป็นพุทธพจน์นั่นเอง กล่าวคือ

๑. ตั้งมั่น

๒. บริสุทธิ์

๓. ผ่องใส

๔. โปร่งโล่ง เกลียงเกลา

๕. ปราศจากสิ่งมั่วหมอง

๖. นุ่มนวล

๗. ควรแก่งาน

๘. อยู่ตัว ไม่วอกแวกหวั่นไหว


จิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้ เหมาะแก่การนำเอาไปใช้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเอาไปใช้งานทางปัญญา พิจารณา ให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด หรือใช้ในทางสร้างพลังจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่กล่าวมานี้ ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วย ก็คือ ความ "ควรแก่งาน" หรือ ความเหมาะแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา ก็คือ งานทางปัญญา อันได้แก่ การใช้จิตที่พร้อมดีเช่นนั้น เป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรม ให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง


สมาธิที่ถูกต้อง ไม่ใช่อาการที่จิตหมดความรู้สึก ปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โปร่งโล่ง หลุดออกจากสิ่งบดบังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ตื่นอยู่ เบิกบาน พร้อมที่จะใช้ปัญญา


พึงพิจารณาพุทธพจน์ต่อไปนี้


"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการต่อไปนี้ เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง ๕ ประการ กล่าวคือ กามฉันท์...พยาบาท...ถีนมิทธะ...อุทธัจจกุกกุจจะ...วิจิกิจฉา...
"ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ที่เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญา อ่อนกำลังแล้ว จักรู้จักประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักประจักษ์แจ้ง ซึ่งญาณทัศนะอันวิเศษ ที่สามารถทำให้เป็นอริยะ ซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์สามัญ ด้วยปัญญาที่ทุรพลไร้กำลัง ข้อนี้ ย่อมมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้



"เปรียบเหมือนแม่น้ำที่เกิดบนภูเขา ไหลลงเป็นสายยาวไกล มีกระแสเชียว พัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปได้ บุรุษเปิดปากเหมืองออกทั้งสองข้างของแม่น้ำนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น กระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำนั้น ก็กระจาย ส่ายพร่า เขวคว้าง ไม่แล่นไหลไปไกล ไม่มีกระแสเชียว และพัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปไม่ได้...

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ idea ....
ตอบคำถามสักนิสสส

ความสงบ มันหายไปใช่ไหมครับ?

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
คุณ idea ....
ตอบคำถามสักนิสสส

ความสงบ มันหายไปใช่ไหมครับ?



เช่นนั้น ก็บอก จขกท.ไปซี่ขอรับ เมื่อความสงบหายไป แล้วเรามีวิธีการให้ความสงบมันกลับมาได้อย่างไร ก็บอกเขาไปตามที่ตนเองรู้ :b1:

แต่ถามหน่อย ความหมายคำว่า ความสงบเนื่ย ได้แก่ องค์ธรรมตัวไหน เอางี้ก่อน :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ คุณจขกท

คำอธิบายยาวมากอาจจะเก็บประเด็นตอบได้ไม่หมด เอาเป็นภาพรวมแล้วกัน..ขาดตกบกพร่องก็ขออภัย ขอเล่าประสบการณ์...เอาไปเป็นข้อมูลประกอบผลการปฏิบัติของคุณจขกท นะคะ

จากที่เล่ามา อาการทั้งหมด..ที่เกิดเป็นผลจากกำลังของสมาธิไปกดข่ม ความโลภ โกรธ หลง ไว้ชั่วคราว ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าสมาธินั้นอยู่ในระดับใด หรือที่เขาเรียกกันว่าสมาธิระดับ ฌาน 1 2 3 4 ซึ่งจะทำให้จิตใจมีความเข้มแข็งแตกต่างกัน มีคุณภาพจิตที่แตกต่างกันสมาธิในระดับฌานขึ้นไปถ้ามีการฝึกฝนพัฒนาอย่างต่อเนื่องผู้นั้นจะมีจิตใจมั่นคง สุขุม มีความสุขอยู่ภายใน(ไม่ต้องพึ่งพิงความสุขจากภายนอกก็สุขได้) มีความสงบเป็นพื้นอารมณ์ ....
อาการทั้งหมดที่คุณจขกท เล่ามานี้ตัวเราเองก็เคยประสบมาก่อน ...ซึ่งตอนนั้นยังไม่ค่อยมีความเข้าใจเรื่องวิปัสสนาสักเท่าไรเวลานั่งสมาธิจึงมุ่งหวังแต่ผลสูงสุดของสมาธิคือ ความสงบตั้งมั่น (เอกัคคตารมณ์) หรืออารมณ์ฌานเท่านั้น...ซึ่งที่สุดก็คือความว่างเปล่า...ว่างอยู่อย่างนั้น...ซึ่งเราเองก็ไม่เข้าใจว่าต้องทำอะไรต่อไป...รู้แต่ว่าจิตใจนี้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วจะเรียกว่าจิตใจมีคุณภาพมากขึ้น มีสติเกิดได้รวดเร็วและต่อเนื่อง ความคิดปรุงแต่งไปใน โลภะ โทสะ โมหะ ลดลง ความเสาะแสวงหาความสุขจากภายนอกลดลง ...จิตใจมันมีความสุขและปิติหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา...แต่เมื่อสมาธิเสื่อมลง (ไม่ได้นั่งสมาธิติดต่อกันเป็นเวลาต่อเนื่อง..ระยะเวลาขึ้นอยู่กับแต่ละคน) จิตใจก็จะเริ่มกลับคืนสู่สภาวะปกติ....

เมื่อเราเริ่มเข้าใจว่ากำลังของสมาธิไปกดข่มกิเลสไว้ชั่วคราวเท่านั้น...ก็เริ่มมาศึกษาการเจริญวิปัสสนา ควบคู่ไปกับการนั่งสมาธิก็เริ่มเข้าใจเรื่องรูปนาม ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย และกฎไตรลักษณ์ ดังนั้นในการนั่งสมาธิทุกครั้งจะไม่คาดหวังว่าจะต้องเข้าถึงอารมณ์ฌาน ต้องสงบ..จะเอาสงบให้ได้...เราต้องเรียนรู้ว่ารูปนามมีความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร...มีสติระลึกรู้ตามดูสภาวะที่เกิด ขึ้น หมดไป อยู่ตลอดเวลา ....สมาธิก็จะเกิดขึ้นมาได้เอง...
สิ่งที่สำคัญในการปฏิบัติธรรม เราต้องรู้ว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้เป้าหมายเราต้องการอะไร เพื่อจะได้กำหนดวิธีการที่ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ ถ้าเราต้องการละกิเลสเป็นการชั่วคราว การฝึกจิตภาวนา ก็รำงับได้ในระดับหนึ่งขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิและการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องของเรา แต่ถ้าต้องการละกิเลสเป็นการถาวร ก็ต้องเป็นวิปัสสนา แต่ทั้งนั้นทั้งนี้วิปัสสนาก็ต้องอาศัยกำลังของสมาธิเป็นบาทฐานด้วยเช่นกัน...ถ้าเราเข้าใจก็จะปฏิบัติได้ถูกตรงตามวัตถุประสงค์....

อนึ่ง เห็นคุณจขกท กล่าวถึงกฎไตรลักษณ์ ไม่ทราบว่ามีความเข้าใจในกฎไตรลักษณ์มากน้อยเพียงใด ...แต่จะบอกว่ารูปนามมีความเป็นไปตามเหตุปัจจัยและตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์ ถ้าดูไตรลักษณ์เป็นก็จะเห็นได้ตลอดเวลาแม้กระทั่งในขณะทำสมาธิในความอยากสงบ อยากได้สภาวะที่พึงปรารถนาของเรา...ก็เป็นตัณหาที่ตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์เช่นกัน...หรือแม้แต่อารมณ์ของจิตที่รับรู้ซึ่งปิติ...สุข...ก็เปลี่ยนแปลงไปในที่สุดเช่นกัน...

ประสบการณ์ในการปฏิบัติทางสมาธิเป็นเรื่องของจิตใจ ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เพราะประสบการณ์ ทางจิตและคุณภาพของจิตใจแต่ละคนไม่เท่ากัน..ไม่เหมือนกัน..ดังนั้นไม่จำเป็นว่าคนนี้เป็นแบบนี้ เราจะต้องเป็นแบบนั้น เช่น บางคน มีนิมิตแปลกๆ เห็นผี เทวดา สวรรค์ อะไรทำนองนี้ ก็ไม่แปลกถ้าเราจะไม่เห็นเหมือนเขา เพราะตัวเราเอง (หมายถึงตัวปลีกวิเวกเอง) ก็ไม่มีประสบการณ์แบบนั้นมีแต่นิมิตที่เป็นเมฆหมอก แล้วก็แสงสว่างไสว เท่านั้น แต่ที่สำคัญเราต้องรู้ว่านิมิตแบบไหนเป็นไปเพื่อความสงบตั้งมั่นของจิต...

สรุป คุณจขกท ควรฝึกทำวิปัสสนาให้เจริญขึ้น ทำให้มากขึ้น เมื่อปล่อยวางได้มากขึ้นจิตใจจะสงบเอง...ในที่นี้สงบจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้มากขึ้นโดยอาศัยความรู้ที่เกิดจากปัญญา...ซึ่งจะแตกต่างกันมากจากการกดข่มด้วยกำลังของสมาธิ...

เจริญในธรรมค่ะ :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว





วิดีทัศน์ถามตอบ-ปัญหาธรรมะ-รายการ "ธรรมะ..ปุจฉา"
http://www.watmaheyong.org/index.php/vi ... s-ans.html

http://www.youtube.com/watch?v=RvyAhk_S518#t=43

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่จขกทเล่าประสบการณ์มา ก็แลจะมีความสงบจิตสงบใจดี

แต่พอเข้าสู่กระแสธรรม ก็ไม่สงสัย ว่าทำไมเราพบอาการต่างๆกันเพราะเหตุอะไร

ถ้าเอาประสบการณ์ผมตอบ ผมก็รู้ในระดับเท่าที่ประสบการณ์จะมี

มิติของการพิจารณาธรรมก็สำคัญ คือเราไม่จำเป็นต้องมุ่งเน้นเรื่องการมองภาพ การปรากฎขึ้นของภาพ แล้วเห็นภาพแปรเปลี่ยนสภาพ สลายไปต่อหน้า อันนี้ไม่ใช่การรู้สภาวะของทุกขัง อนิจจัง อนัตตาของผู้ปฎิบัตินะครับ

ความอึดอัดนั่นเรียกสภาวะของทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แต่จขกทมองสภาวะนี้เป็น ไม่สงบไป หรือ ไม่ตั้งมั่นไป

ความพองโตเรียกสัญญา หรือความจำได้หมายรู้ คือธรรมชาติของคนจะมองสิ่งของหรือตนเองเป็นมิติเดียว

คนต้องมีแขนขา ต้องมีกระดูก ต้องสูงประมาณเท่านี้ ต้องมีลำใส้ ต้องมีสีผิว ต้องมีดวงตา เวลาตายต้องดูเละอย่างนั้นอย่างนี้ คือมองเป็นมิติเดียว เห็นสิ่งต่างๆมิติเดียว

ลองสังเกตุดูต่างมิติครับ จะเห็นว่าจริงๆสิ่งที่เราเห็นเราคิดว่าใช่ กลับแฝงไปด้วยความหมายของธรรมที่แท้จริง

จะเห็นตัวคนจริงๆ จะรับรู้สภาวะจริงๆของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต. แม้สิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ไม่มีสภาพที่ต่างกันกับเราเลย จะต่างเฉพาะมีใจครอง และไม่มีใจครอง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 15:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกคำตอบ ด้วยความยินดีซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่งค่ะ ที่ผ่านมาไม่เคยคิดจะเล่าเรื่องการปฏิบัติให้ใครฟัง ด้วยรู้สึกว่าคงไม่มีใครเข้าใจ จึงค่อยเก็บเล็กผสมน้อยทดลองปฏิบัติมาเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าถูกผิดรึเปล่า วันนี้จึงรู้สึกยินดีเหมือนได้รู้จักมิตรสหายทางธรรมมีพื้นที่ให้คำชี้แนะ
ครั้งแรกมาเห็นหลายๆคำตอบ มีข้ออยากถามอยากตอบต่อมากมาย แต่ก็หยุดคิดว่า จะค่อยเก็บมาถามกับอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันต่อไปดีกว่า ถ้าจะไม่เป็นการรบกวนเกินไป เพราะขณะนี้ประมานได้อาทิตย์หนึ่งกำลังเริ่มต้นปฏิบัติใหม่ รอบนี้หวังว่าจะพยายามฝ่าอุปสรรคต่างๆที่จะต้องเกิดขึ้นมากมายหลายอย่างๆที่เคยเจอ ที่หากปารถนาจะหลุดพ้นธรรมข้อใด มักได้เจออย่างหนักตลอดจนไม่สามารถรักษาใจให้ทรงไว้ได้ จึงรู้ว่าเราจะอ่อนหรือมากไปในธรรมข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้เลย
ขอคำชี้แนะต่อผู้ไม่รู้คนหนึ่งคนนี้ที่มีความตั้งใจจะปฏิบัติให้ได้ในทางที่ถูกที่ควรด้วยนะคะ แล้วเดี๋ยวจะขอกลับมาเล่าประสบการปฏิบัติที่ผ่านมาอีกนิดหนึ่งค่ะ เผื่อจะเอาไว้ดูว่าจริตเป็นยังไง จะได้ช่วยแนะนำถูกค่ะ ขอบอกตรงๆค่ะ ที่พูดว่าหลักธรรมคำสอน ไม่ได้รู้มากมายอะไรเลย เหมือนเห็นๆเฉพาะหัวข้อผ่านๆมาบ้างแค่นั้นเอง ขอบคุณทุกความเมตตาอีกครั้งค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2014, 10:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป้าหมายของการนั่งทำสมาธิ คืออะไรคะ ใจมันชอบอยากปฏิบัติแต่ที่ --คุณปลีกวิเวกบอกมาถึงเป้าหมายคือการปฏิบัติเพื่ออะไร ก็ฉุกคิดและนึกไม่ออกค่ะว่าตัวเองมีเป้าหมายเพื่ออะไร ด้วยส่วนตัวรู้จักอยากทำสมาธิด้วยการอ่านหนังนิยายของคุณ ทมยันตีเรื่องฌาน ตอนนั้นอายุ15เอง เนื้อเรื่องจะนำเสนอตัวเอกให้นั่งสมาธิด้วยรูปแบบต่างๆ ทั้งกำหนดลม,กสินอื่นๆ เราก็นึกสนุกทำตามก็ทำเกือบจะทุกแบบไปเรื่อยเลย นั่นเป็นจุดเริ่มต้นสิบกว่าปีมาแล้ว อารมณ์ที่พอจดจำได้ก็คือหลักๆจะกำหนดลมหายใจก่อน พอสงบก็ชอบกำหนดน้ำให้รู้สึกเหมือนค่อยๆเพิ่มระดับจนเหมือนรู้สึกถึงได้จิงๆท่วมตัว,กำหนดคำว่า ว่างเปล่าไร้ตัวตน ว่างๆอย่างเดียว,กำหนดดวงแก้วจนเห็นจิงๆได้ดวงโตๆ อารมตอนนั้นน่าจะนิ่งนานกว่าเพราะนั่งได้นานๆหลายชม.บางทีเกือบจะทั้งคืนเลยเป็นประจำ ไม่ทราบระยะเวลานานเท่าไหร่ ความรู้สึกรู้เห็นจิตคนอื่นคิดอะไร ชัดเจนมาก แต่ก็ไม่คิดว่าตัวพิเศษอะไร ไม่สนอะไร ตอนนั้นไม่มีความรู้ไม่เคยได้ยินเรื่องหลักธรรมคำสอนเลย ออกจะติดสมาธิเพราะทำแล้วสบาย สงบ ก็ชอบนั่งนาน พอผ่านมาโตเป็นผู้ใหญ่ย้อนระลึกไปถึงว่า เราเคยนั่งแล้วได้ความสงบสบาย ก็จะนั่งบ้างเป็นครั้งครา นั่งก็จะสู้กับเวทนาเจ็บแข้งขาเพราะไม่ได้ทำบ่อย ไปเรื่อยจนเกิดปิติสบาย อารมนิ่งนานผ่านไปเสียงเบาลงจนแทบไม่ได้ยิน ก็จะออก ทีนี้ลุกเดินตัวเบาชนิดที่เหมือนไม่รู้สึกเท้าติดพื้นเลย อิ่มใจไปอีกเป็นชม. จนมาล่าสุดที่เขียนมาเล่าตอนต้น เริ่มทำจิงจังต่อเนื่องเป็นเดือน ทำควบคู่กับการเกิดข้อสงสัย เปิดหาประสบการคนอื่น หลักธรรมคำสอน พอเห็นมากอ่านมากรูปแบบอารมหลายๆอย่างจึงไม่เหมือนเดิม เกิดขึ้นเหมือนที่เล่ามาตอนต้น ทำแล้วเกิดความจับไม่นิ่งกับอารมไหนเลย ทีนี้ อยากจะถามว่า หากเรานั่งสมาธิแล้ว อารมแบบไหนที่นักปฏิบัติควรจะได้ เพื่อเหมาะกับการจะต้องเจริญวิปัสสนาต่อไป แล้วตอนนี้เริ่มปฏิบัติมาได้สักอาทิตย์แล้วก็จะใช้วิธีเหมือนเดิมนั่งประมาน1ชม. อารมที่ได้เหมือนเดิมวนไปวนมาการเข้าถึงความสงบไม่นาน และหลังการปฏิบัติระหว่างวันเราเริ่มมีการเตือนตัวเองให้ระลึกถึงลมหายใจเป็นครั้งครา แต่อารมตัวเบา สงบ สบาย(มีความชอบใจ) ตัวหมุนๆ(ปิติรึเปล่า)เริ่มมาหลายครั้งระหว่างวัน มาก็จะกำหนดรู้แต่เป็นไม่นาน ไม่น่าจะถึงนาที (ขณะนี้เหมือนคนเริ่มใหม่ ไม่ค่อยมีสติ ฟุ้งซ่านเป็นส่วนมาก) ควรหรือไม่ที่จะคิดถึงอารมนั้นขึ้นมาเอง ซึ่งบางทีคิดว่าทำได้ ตอนเราเริ่มนั่งสมาธิเลยเพราะยังไม่เคยทำ ปกติจะปล่อยให้เกิดเอง แล้วถึงจะจับเอาอารมนั้นเฝ้าดู แต่มักเป็นตอนที่ต้องอยู่กับคนอื่น ประเดี๋ยวเขาเข้ามาพูดหรือกังวลว่าเขาจะเข้ามา สุดท้ายนี้ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติสำเร็จแด่ทุกท่านด้วยเถิด หากเขียนผิดพลั้งประการใด ขอโทษด้วยค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2014, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
เป้าหมายของการนั่งทำสมาธิ คืออะไรคะ ใจมันชอบอยากปฏิบัติแต่ที่ --คุณปลีกวิเวกบอกมาถึงเป้าหมายคือการปฏิบัติเพื่ออะไร ก็ฉุกคิดและนึกไม่ออกค่ะว่าตัวเองมีเป้าหมายเพื่ออะไร ด้วยส่วนตัวรู้จักอยากทำสมาธิด้วยการอ่านหนังนิยายของคุณ ทมยันตีเรื่องฌาน ตอนนั้นอายุ15เอง เนื้อเรื่องจะนำเสนอตัวเอกให้นั่งสมาธิด้วยรูปแบบต่างๆ ทั้งกำหนดลม,กสินอื่นๆ เราก็นึกสนุกทำตามก็ทำเกือบจะทุกแบบไปเรื่อยเลย นั่นเป็นจุดเริ่มต้นสิบกว่าปีมาแล้ว อารมณ์ที่พอจดจำได้ก็คือหลักๆจะกำหนดลมหายใจก่อน พอสงบก็ชอบกำหนดน้ำให้รู้สึกเหมือนค่อยๆเพิ่มระดับจนเหมือนรู้สึกถึงได้จิงๆท่วมตัว,กำหนดคำว่า ว่างเปล่าไร้ตัวตน ว่างๆอย่างเดียว,กำหนดดวงแก้วจนเห็นจิงๆได้ดวงโตๆ อารมตอนนั้นน่าจะนิ่งนานกว่าเพราะนั่งได้นานๆหลายชม.บางทีเกือบจะทั้งคืนเลยเป็นประจำ ไม่ทราบระยะเวลานานเท่าไหร่ ความรู้สึกรู้เห็นจิตคนอื่นคิดอะไร ชัดเจนมาก แต่ก็ไม่คิดว่าตัวพิเศษอะไร ไม่สนอะไร ตอนนั้นไม่มีความรู้ไม่เคยได้ยินเรื่องหลักธรรมคำสอนเลย ออกจะติดสมาธิเพราะทำแล้วสบาย สงบ ก็ชอบนั่งนาน พอผ่านมาโตเป็นผู้ใหญ่ย้อนระลึกไปถึงว่า เราเคยนั่งแล้วได้ความสงบสบาย ก็จะนั่งบ้างเป็นครั้งครา นั่งก็จะสู้กับเวทนาเจ็บแข้งขาเพราะไม่ได้ทำบ่อย ไปเรื่อยจนเกิดปิติสบาย อารมนิ่งนานผ่านไปเสียงเบาลงจนแทบไม่ได้ยิน ก็จะออก ทีนี้ลุกเดินตัวเบาชนิดที่เหมือนไม่รู้สึกเท้าติดพื้นเลย อิ่มใจไปอีกเป็นชม. จนมาล่าสุดที่เขียนมาเล่าตอนต้น เริ่มทำจิงจังต่อเนื่องเป็นเดือน ทำควบคู่กับการเกิดข้อสงสัย เปิดหาประสบการคนอื่น หลักธรรมคำสอน พอเห็นมากอ่านมากรูปแบบอารมหลายๆอย่างจึงไม่เหมือนเดิม เกิดขึ้นเหมือนที่เล่ามาตอนต้น ทำแล้วเกิดความจับไม่นิ่งกับอารมไหนเลย ทีนี้ อยากจะถามว่า หากเรานั่งสมาธิแล้ว อารมแบบไหนที่นักปฏิบัติควรจะได้ เพื่อเหมาะกับการจะต้องเจริญวิปัสสนาต่อไป แล้วตอนนี้เริ่มปฏิบัติมาได้สักอาทิตย์แล้วก็จะใช้วิธีเหมือนเดิมนั่งประมาน1ชม. อารมที่ได้เหมือนเดิมวนไปวนมาการเข้าถึงความสงบไม่นาน และหลังการปฏิบัติระหว่างวันเราเริ่มมีการเตือนตัวเองให้ระลึกถึงลมหายใจเป็นครั้งครา แต่อารมตัวเบา สงบ สบาย(มีความชอบใจ) ตัวหมุนๆ(ปิติรึเปล่า)เริ่มมาหลายครั้งระหว่างวัน มาก็จะกำหนดรู้แต่เป็นไม่นาน ไม่น่าจะถึงนาที (ขณะนี้เหมือนคนเริ่มใหม่ ไม่ค่อยมีสติ ฟุ้งซ่านเป็นส่วนมาก) ควรหรือไม่ที่จะคิดถึงอารมนั้นขึ้นมาเอง ซึ่งบางทีคิดว่าทำได้ ตอนเราเริ่มนั่งสมาธิเลยเพราะยังไม่เคยทำ ปกติจะปล่อยให้เกิดเอง แล้วถึงจะจับเอาอารมนั้นเฝ้าดู แต่มักเป็นตอนที่ต้องอยู่กับคนอื่น ประเดี๋ยวเขาเข้ามาพูดหรือกังวลว่าเขาจะเข้ามา สุดท้ายนี้ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติสำเร็จแด่ทุกท่านด้วยเถิด หากเขียนผิดพลั้งประการใด ขอโทษด้วยค่ะ

การปฏิบัติ ตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งปัจจุบันที่เล่ามานี้
คือ สมาธิที่ได้จากความฟุ้งเป็นหลักใหญ่ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ
ยิ่งปฏิบัติไป ก็จะแป๊กเหมือนตอนต้น เหมือนงูกินหาง
ความสงบที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยความอยากเวทนาคือสุขที่เกิดเป็นตัวหล่อเลี้ยง

เป็นการปฏิบัติที่ขาดสติขาดปัญญา อาศัยเพียงตั้งมั่นในอารมณ์ถ่ายเดียว

การปฏิบัติธรรม ในพระศาสนานี้ไม่ใช่การจับเจ่าเฝ้าอารมณ์ เรียกว่าจิตตภาวนา
แต่ต้องประกอบด้วย ความเพียร สติ ปัญญา และสมาธิ องค์ประกอบสี่ประการนี้ตลอดเวลา
ปิติที่เกิดขึ้นก็จะไม่ปรากฏเหมือนดังกับปิติที่เกิดจากการจับเจ่าเฝ้าอารมณ์

การกำหนดรู้ ที่บอกมาจึงไม่ใช่การกำหนดรู้ แต่เป็นการทำสัญญาให้ปรากฏ ห่างไกลจากการรู้จักว่า สติ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร