วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ย. 2024, 23:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่ศรี มหาวีโร
พระผู้มากล้นด้วยบุญบารมี


วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

:b49: :b50: รวมคำสอน “หลวงปู่ศรี มหาวีโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=50228

:b50: งานพระราชเพลิงสรีระสังขาร “หลวงปู่ศรี มหาวีโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=41937

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)
วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง)
บ้านป่ากุง ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด


รูปภาพ

ความนำ
สิ่งที่ควรเข้าใจก่อนอ่าน

หนังสือ “หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระผู้มากล้นด้วยบุญบารมี” นี้ จัดทำขึ้นเนื่องในวาระพิเศษตามโอวาทของท่านที่ว่า

“เหตุน้อย ผลน้อย...เหตุมาก ผลมาก...เหตุพิเศษ ผลก็พิเศษ”

๑. เหตุพิเศษ...เพราะความลึกซึ้งเคารพเลื่อมใสในองค์หลวงปู่ศรี ผู้เป็นพระมหาเถระผู้เฒ่าปูนปลายปัจฉิมวัย รูปร่างสันทัด ผิวดำแดง เป็นคณาจารย์ผู้ทรงไว้ซึ่งวัตรปฏิบัติอันงดงามยิ่ง มีสานุศิษย์มากมาย มีวัดสาขากว่า ๑๔๕ วัด ศิษย์รุ่นสุดท้ายของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จะมีอายุครบ ๙๐ ปี

๒. เหตุพิเศษ...เนื่องในวาระฉลองพระเจดีย์หิน รูปแบบจำลองจากเจดีย์บูโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งคณะศิษย์ยานุศิษย์สร้างถวายหลวงปู่ศรี มหาวีโร

๓. เหตุพิเศษ....เพราะประวัติของท่านถูกทับถมด้วยกาลเวลาอันยาวนาน ท่านได้สร้างคุณประโยชน์ทางด้านศีลธรรมและจิตใจไว้มากมาย เช่น มหาเจดีย์ชัยมงคล เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติคุณอริยสาวกและเพื่อความรุ่งโรจน์โชตนาการแห่งพระพุทธศาสนา จึงเป็นวาระพิเศษอย่างยิ่งที่จะนำชีวประวัติอันสมบูรณ์งดงามออกสู่สาธารณชนเพื่อเป็นทิฏฐานุคติ* ที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ถือปฏิบัติตาม

----------------------------------------------------------
* ทิฏฐานุคติ คือ การดำเนินตามสิ่งที่ได้เห็นแบบอย่าง, ตัวอย่าง, การทำตามอย่าง, ทางดำเนินที่ได้มองเห็น เช่น พระผู้ใหญ่ประพฤติตนชอบ ก็เป็นทิฏฐานุคติของพระผู้น้อย



ดินแดนภาคอีสานนับได้ว่าเป็นดินแดนพุทธธรรมตำนานพระอริยเจ้าผู้ทรงคุณประเสริฐอย่างแท้จริง ผืนแผ่นดินแห่งนี้มีตำนาน ประเพณี วัฒนธรรม สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่ามากมาย แต่ทั้งหมดนี้ล้วนมีแนวโน้มมาจากพระพุทธศาสนาและพระกรรมฐานสายป่ามีส่วนช่วยในการหล่อหลอม

รูปภาพ

รูปภาพ
จากซ้าย : ๑. ญาท่านพันธุโล (ดี) ๒. ท่านเจ้าคุณอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต)
๓. ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
๔. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ๕. พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
๖. ท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ)


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระผู้ทรงสถาปนาคณะธรรมยุติกา ขณะยังทรงผนวชอยู่ออกแสวงหาวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมได้สัทธิวิหาริกเป็นชาวอีสานที่สำคัญยิ่ง ๒ รูปคือ ญาท่านพันธุโล (ดี) และญาท่านเทวธัมมี (ม้าว) ตั้งวงกรรมฐานที่วัดสุปัฏนารามและวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) จังหวัดอุบลราชธานี

สมัยต่อมา ญาท่านเทวธัมมี (ม้าว) ได้สัทธิวิหาริกคือ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) นักปราชญ์เมืองอุบลฯ

สมัยต่อมาอีก ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย็ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้ศิษย์สืบทอดวิปัสสนาธุระคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ)

เมื่อถึงสมัยท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ท่านได้ศิษย์องค์สำคัญอย่างยิ่งคือ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ทำให้กำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระกว้างขวางยิ่งขึ้น

ท่านพระอาจารย์มั่นนี้เองได้ศิษย์สำคัญองค์หนึ่งคือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม สืบทอดสายทางธรรมปฏิบัติกรรมฐานมาเรื่อยจนถึงยุคพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) และจนมาถึงพระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) อันนับได้ว่าเป็นกรรมฐานร่วมสมัยในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙


ถิ่นอีสานเป็นสถานที่แห้งแล้งอดอยากกันดาร จึงทำให้คนอีสานดิ้นรนต่อสู้และอดทน แต่ด้วยอาศัยพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีพระอริยสงฆ์ธุดงค์ธรรมยาตราโปรดเทศนาสั่งสอนนั่นเอง จึงทำให้แผ่นดินอีสานที่เคยแห้งแล้งกลับชุ่มเย็นขึ้นและน่าอยู่น่าอาศัยมากขึ้น ซึ่งมีคำกล่าวจากคนที่มายังอีสานว่า “แม้อีสานจะแห้งแล้ง แต่คนอีสานไม่เคยแล้งน้ำใจ”

พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เคร่งพระธรรมวินัย อาศัยอยู่ตามป่าตามเขา มักจะเกิดและพำนักอยู่ในผืนแผ่นดินถิ่นแดนอีสานนี้แทบทั้งนั้น

เดิมทีโคตรเหง้าเหล่ากอของคนอีสานนับถือผี บวงสรวงบูชายัญเป็นอาจิณ ไม่ใส่ใจในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต นี้เอง ได้นำกองทัพธรรมกรรมฐานเที่ยวจาริกเทศน์อบรมสั่งสอนให้ผู้คนหายจากความหลงงมงาย ละทิ้งจารีตประเพณีที่ผิดๆ หาเหตุผลมิได้ หันหน้าเข้าหาพระธรรมคำสอนอันเป็นทางดำเนินสู่แก่นแท้ความจริงแห่งชีวิต

หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านเป็นพระอริยสาวกอีกรูปหนึ่งที่ก้าวเดินตามรอยบาทพระศาสดาและพระบูรพาจารย์โดยไม่ย่อท้อ เมื่อท่านสอนตนเองได้ดีเยี่ยมแล้ว ก็ออกเที่ยวธรรมยาตรากรีฑาทัพธรรมออกอบรมสั่งสอนประชาชนชาวอีสานที่หลงงมงาย ให้คลายความหลงงมงาย หันหน้าเข้าหาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็นสรณะที่พึ่งที่แน่นอน ดังพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพ และมนุษย์ทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย! จงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ทั้งถ้อยคำและความหมายให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสน้อยก็มีอยู่ สัตว์พวกนี้ หากไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้รับ ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักรมีเป็นแน่”

เดิมทีศาลเจ้าพ่อ ผีปู่ตา ผีฟ้า ผีไทย ผีแถน ผีปอบ ผีเทวดา เป็นต้น ที่มีอยู่มากมายตามหัวไร่ปลายนา คุ้งน้ำ ชายป่า เชิงเขา เงื้อมถ้ำริมผา ที่ชาวอีสานเคารพนับถือ ถูกทำลายศรัทธาลงด้วยพลังจิตและธรรมอันแกร่งกล้าของพระกรรมฐาน กลิ่นธูปควันเทียนของบุคคลผู้ลุ่มหลง ที่เคยพวยพุ่งกรุ่นไหม้นบไหว้ผีมาเป็นเวลายาวนาน บัดนี้ดับมอดศรัทธาลงแล้ว

จากถิ่นฐานบ้านของผีได้กลายเป็นวัดวาอารามกรรมฐาน ผู้คนที่เคยหวาดผวากลัวในอำนาจแห่งผี บัดนี้ได้กลัวบาปกลัวกรรมชั่วแล้ว มือที่เคยนบไหว้ผี มาบัดนี้ได้นบไหว้ยึดมั่นในคุณพระรัตนตรัยแล้ว แผ่นดินที่เคยแห้งแล้งกลับเจริญงอกงามมีสง่าราศี ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นได้นี้ ส่วนหนึ่งมาจากความดีของพระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านพาคณะธุดงค์ธรรมยาตรายกพลธรรมไปทั่วทุกหัวระแหงที่ว่าผีดุดุ!!! ท่านได้ชัยชนะในสิ่งเร้นลับเหล่านี้ จนได้ชื่อลือกระฉ่อนภาคอีสานว่า “หลวงปู่ศรีผีย้าน” ท่านได้สละในสิ่งที่ชาวโลกสละได้โดยยากคือ บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัติ ออกบวชตามเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ใจจะยังอาลัยเสียดายอยู่ แต่ด้วยบุญญาบารมี น้ำใจของท่านจึงปล้ำ เป็นที่สุด นี้อาจเรียกได้ว่า “ใจถึงปรมัตถ์”

ที่ผู้เขียนยกสิ่งเหล่านี้ขึ้นมากล่าวก็ด้วยเห็นว่า ลูกหลานอีสานอยู่ดีมีสุขขึ้นมาได้จนถึงทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งก็ด้วยอาศัยธรรมะจากพระป่าเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงกายและใจมาโดยตลอด

ภาคอีสานจึงเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติ กลิ่นไอของพระธรรมแผ่ปกคลุมไปโดยทั่ว ซึ่งภาคอื่นๆ ประเทศอื่นๆ เขาไม่มี ชนทั้งหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศจึงต้องมาแสวงบุญยังภาคอีสาน คนอีสานจึงควรมีมโนสำนึกรักหวงแหน วัดวาอาราม เสนาสนะป่า คำสอนของครูบาอาจารย์ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และควรร่วมมือร่วมใจกันเชิดชูบูชา ถนอมรักษาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในภาคอีสานเอาไว้ให้จงได้

หนังสือเล่มนี้นอกจากจะนำเสนอ ประวัติ คติธรรม ปฏิปทา พระธรรมเทศนาของหลวงปู่ศรี มหาวีโร แล้ว มองอีกด้านหนึ่งที่ซ่อนลึกอยู่ภายในนั้นก็คือ จิตวิญญาณแห่งความเป็นคนภาคอีสานที่มีอารยธรรมเป็นปัจเจกะในศาสตร์และศิลป์ อันเป็นจินตลีลาแห่งความดีงาม แผ่นดินอีสานจึงเป็นปฏิรูปเทศ ที่บุพเพกตบุญญตาชน ได้ร่วมกันสรรค์สร้างเป็นมรดกตกทอดจนถึงพวกเราผู้เป็นลูกหลานเหลน

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ย่อมสรุปได้ว่า เป็นเพราะพระธรรมเทศนาของพระป่ากรรมฐานอันเป็นธรรมของจริงบริสุทธิ์สุดส่วนนี้เอง ได้แผ่ไปจารึกฝังลึกหล่อหลอมจิตใจให้คนอีสานมีแนวโน้มเป็นเช่นนั้น

คณะผู้จัดทำ
๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๘


----------------------------------------------------------
๑. “ใจปล้ำ” ภาษาอีสาน หมายถึง ผู้เป็นนักเสียสละ กล้าได้ กล้าเสีย
๒. “ใจถืงปรมัตถ์” หมายถึง ใจถึงพระนิพพาน
๓. ธรรมชาติ คือ ที่เกิดแห่งกรรมหรือสภาพที่ทรงไว้ซึ่งความจริง
๔. ปฏิรูปเทศ คือ สถานที่หรือทำเลเหมาะแก่การสร้างคุณงามความดี
๕. บุพเพกตบุญญตาชน คือ ชนผู้เคยสร้างคุณความดีมาในกาลก่อน


รูปภาพ

ปฐมบท
ความเป็นมาในการจัดทำประวัติ

เมื่อต้นปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ คณะศิษย์ของพระเดชพระคุณพระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) นำโดยหลวงพ่อทองอินทร์ กตปุญโญ และคณะศรัทธาที่มีความเคารพบูชา เลื่อมใสในมรรคปฏิปทาของหลวงปู่ศรี มหาวีโร มีความประสงค์ในการจัดทำหนังสือ ชีวประวัติ คติธรรม ปฏิปทา จุดประสงค์เพื่อเป็น “อาจาริยบูชา” เนื่องในวาระฉลองอายุครบ ๙๐ ปี และพิธีเปิดเจดีย์หินที่สร้างถวายบูชาคุณหลวงปู่ศรี มหาวีโร ณ วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง)

...จุดประสงค์เพื่อจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาในเมืองสยาม ที่พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้ารูปหนึ่ง ดำรงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัย มีประวัติอันเลิศล้ำ

...เพื่อเป็นเนติแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง ได้ประพฤติปฏิบัติตาม อันจะยังประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จ

...เพื่อเป็นทางเกษมจากโยคะ เพราะว่าปฏิปทาของหลวงปู่ศรี มหาวีโร นั้นบ่งชี้ให้เห็นว่า ผู้ใดก็ตามพากเพียรพยายามประพฤติปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนอยู่ โลกก็ไม่พึงว่างจากพระอรหันต์

...เพื่อเป็นมรดกอีสานและยังเป็นการจรรโลงสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา

คณะศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ศรี ที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้น ได้มาอาราธนานิมนต์ข้าพเจ้า และบอกถึงเจตนาในการจัดทำชีวประวัติ คติธรรมและปฏิปทาของท่าน อันจะเป็นการจารึกเกียรติคุณและความดีงามของท่าน เพราะองค์ท่านเองก็เป็นหนึ่งในศิษย์สายกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่ทรงคุณธรรม จริยธรรม และทรงคุณค่าหาได้ยากยิ่งในแผ่นดินสยาม

ข้าพเจ้าจึงเดินทางไปที่นัดหมาย ณ วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๖ พร้อมด้วยคณะดำเนินงาน เพื่อกราบคารวะและขออนุญาตจากท่านอย่างเป็นทางการด้วยตนเอง และสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามเหตุสมควรเท่าที่จะหาได้ เมื่อถึงที่วัดป่ากุง ท่านเจ้าคุณพระราชธรรมานุวัตร ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นต้นๆ ขององค์หลวงปู่ ได้นำเข้าไปกราบท่านในห้องนอนที่จัดไว้ด้านศาลาปฏิคม ท่านเจ้าคุณได้กราบเรียนขอโอกาสท่านว่า

“หลวงปู่ ตอนนี้ก็อายุมากแล้ว ลูกหลานอยากจัดทำชีวประวัติเอาไว้ศึกษา เพื่อเป็นคติธรรมเป็นแบบอย่างแก่กุลบุตรสุดท้ายภายหลัง ครั้นเมื่อธาตุขันธ์แตกดับไปแล้ว โอวาทธรรมคำสั่งสอน ข้อวัตรปฏิบัติ ของดีๆ ที่ควรจะได้จารึกจดจำเป็นแบบอย่าง เพื่อความสามัคคี ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็จะถูกทอดทิ้งไป ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย ไปหาที่ไหนก็ไม่มี จะได้สมบูรณ์ดี ก็ในคราวที่หลวงปู่ยังมีธาตุมีขันธ์อยู่บริบูรณ์เท่านั้น กราบขอหลวงปู่จะอนุญาตให้เขาจัดทำได้หรือไม่ครับ”

หลวงปู่ศรี ท่านตอบเพียงสั้นๆ ว่า “อื้อ”

ท่านเจ้าคุณกราบเรียนย้ำถามท่านว่า “อื้อ หมายความว่าให้ทำใช่ไหม?”

หลวงปู่ศรีท่านก็ตอบสั้นๆ อย่างเดิม แต่เพิ่มคำที่ตรงความหมายว่า “อื้อ...เฮ็ดได้ (ทำได้)”

เมื่อท่านอนุญาตแล้ว ท่านเจ้าคุณฯ ก็หันมาพูดกับข้าพเจ้าว่า “คราวนี้สำเร็จเสียที พยายามทำกันมาหลายครั้งหลายหนแล้ว ก็ล้มเหลวกันไป ทำมาไม่รู้กี่รุ่นก็ไม่สำเร็จซักที เพราะทุกอย่างของหลวงปู่ ถ้าไม่อนุญาต ไม่มีทางทำสำเร็จได้” แล้วท่านก็ย้ำว่า “ผมว่าคราวนี้ต้องสำเร็จแน่ๆ”

เนื่องจากหลวงปู่ท่านสุขภาพไม่สู้จะดีนัก ครั้นเมื่อจะสัมภาษณ์ท่านก็เห็นว่าจะเป็นการรบกวนธาตุขันธ์ที่ชราภาพ ทั้งๆ ที่พระอาจารย์ทองอินทร์ซึ่งเป็นพระที่หลวงปู่ไว้ใจในกิจการงานทุกอย่าง พระอาจารย์วิกรม (เฒ่า) ซึ่งเป็นพระเลขา พระอาจารย์ถาวรซึ่งเป็นพระอุปัฏฐาก และศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาสได้ให้โอกาสเข้าหาท่านในเวลาสมควรได้เสมอ แต่โอกาสนั้นก็ไม่อำนวยเพราะว่าท่านชราภาพ คณะทำงานจึงตั้งการทำงานไว้ ๔ แนวทาง

๑. นำแถบเสียงเทศน์และหนังสือของท่านทั้งหมดมาศึกษา
๒. นำบันทึกของท่านที่เป็นลายมือ บทความ บทกลอน มาเทียบศึกษา
๓. เมื่อสรุปออกมาทั้งหมดแล้วยังไม่ได้เรื่อง วิธีสุดท้ายก็จะเข้าไปกราบเรียนถามท่านโดยตรง
๔. เดินทางไปสถานที่จริงทุกแห่งที่หลวงปู่เคยไป เพื่อศึกษาข้อมูลและสืบค้นให้ตรงตามความเป็นจริงให้มากที่สุด

ครั้นเมื่อข้าพเจ้าได้ฟังแถบเสียงของท่านเป็นภาษาอีสานทั้งหมดจำนวนหลายร้อยม้วน โดยเฉพาะแถบเสียงพระธรรมเทศนาที่ท่านแสดงเป็นภาษาอีสานโบราณล้วนๆ หาฟังได้ยากยิ่งนัก สำนวนโวหารใช้ภาษาไพเราะจับจิตจับใจ แสดงเรื่องแก่นแท้ของจิต การดักจิต มีเอกลักษณ์เฉพาะองค์ท่านเอง และอ่านบันทึกที่มีทั้งหมด จึงเป็นที่เบาใจว่าท่านได้จดบันทึกและเล่าเรื่องเก่าๆ ของท่านแทรกไว้ในขณะที่เทศน์เป็นอย่างดี จึงคิดว่าของดีมีคุณค่าอย่างนี้ ต้องรีบนำมาบันทึกไว้เป็นมรดก อันจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและกุลบุตรสุดท้ายภายหลัง ธรรมสมบัติอันล้ำค่าของพระผู้ทรงคุณค่านี้ ธรรมแท้จากพระแท้ ก็จะไม่สิ้นสูญหายวับไปกับกาลเวลา

จึงมีความมั่นใจว่าชีวประวัติ คดีธรรม และปฏิปทา อันน่าเลื่อมใสของท่าน ทางคณะทำงานน่าจะจัดทำได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลานานพอสมควรก็ตาม ย่อมเป็นสุดยอดแห่งความคุ้มค่า เพราะองค์ท่านก็คือ “เพชรน้ำงาม” ศิษย์รุ่นสุดท้ายในวงศ์กรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

...นี้เองคือปฐมบทแห่งการจัดทำหนังสือ “หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระผู้มากล้นด้วยบุญบารมี”



บทนำ

มนุษย์บุคคลผู้มีบุญอุบัติขึ้นแล้วในถิ่นชนบท...
...เป็นผู้อันสาวกบารมีญาณ กระตุ้นเตือนแล้วในเนกขัมมะ...
มรรค ๘ อริยสัจจ์ ๔ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดง
มีบุคคลเห็นตามได้แล้ว...
ความจริงแห่งชีวิตที่เร้นลับมายาวนาน ถูกเปิดเผยแล้ว...
ธรรมเภรีกึกก้องไปทั่วทุกทิศแล้ว...
พระมหาชัยมงคลเจดีย์อันยิ่งใหญ่ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายถูกสร้างขึ้นแล้ว
บุคคลผู้หลับใหลด้วยกิเลสนิทรา ถูกปลุกให้ตื่นแล้ว...
กลิ่นธูปควันเทียนที่เคยพวยพุ่งเพราะการนับถือภูตผี
บัดนี้ได้ดับมอดลงแล้ว
ดวงใจสาธุชนเบิกบานแล้วเพราะได้รับแสงสูรย์แห่งพระสัทธรรม...
กงล้อแห่งวัฏจักร วัฏจิต อันพาโลดแล่นไปในภพชาติน้อยใหญ่
บัดนี้ ถูกทำลายลงแล้ว...
พระผู้มีฉายานามว่า “เป็นผู้มากล้นด้วยบุญบารมี”
ศิษย์รุ่นสุดท้ายของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ปรากฏแล้ว...


:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

หลวงปู่ศรีเล่าประวัติ

ถิ่นฐานบ้านเกิด

รูปภาพ
ภาพบน : พระหลวงพ่ออ่อนสี กิจฺจญฺาโณ
บิดาของหลวงปู่ศรี
ภาพล่าง : แม่ชีเปี่ยง ไขสังเกต
พี่สาวของหลวงปู่ศรี


พระเทพวิสุทธิมงคล หรือหลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านเกิดในตระกูล “ปักกะสีนัง” เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๐ ตรงกันแรม ๘ ค่ำ เดือนหก ปีมะเมีย ณ บ้านขามป้อม ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เป็นบุตรของ นายอ่อนสี และ นางทุมจ้อย ปักกะสีนัง มีอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ มีพี่น้องรวมกัน ๑๑ คน ดังนี้

๑. ด.ช.ค่าง ปักกะสีนัง
๒. แม่ชีเปี่ยง ไขสังเกต
๓. นางเมือง ปักกะสีนัง
๔. ด.ช.ทา ปักกะสีนัง
๕. ด.ช.บุญจันทร์ ปักกะสีนัง
๖. พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร)
๗. ด.ญ.เสาร์ ปักกะสีนัง
๘. แม่ชีผัน ประจักโก
๙. อาจารย์หล้า ปักกะสีนัง
๑๐. จ.ส.ต.สอน ปักกะสีนัง
๑๑. นายพร ปักกะสีนัง


บรรพบุรุษเมืองวาปีปทุม

หลวงปู่ศรีเล่าเรื่องวาปีปทุมว่า “วาปีปทุมไม่มีภูเขาเลากา ไม่มีทิวผาเหวถ้ำ คนถิ่นแถวนี้เดิมย้ายถิ่นฐานมาจากทางย่านดอนมดแดง นครจำปาศักดิ์ พากันหอบลูกหอบหลานหนีภัยสงคราม ราชภัย และทุพภิกขภัยคือความอดอยากแร้นแค้น มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองวาปีปทุม

ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพยัคฆภูมิ ดินแดนเสือโคร่งเสือเหลือง มีป่าดงตลอดแนว คือ ดงบัง, กุดอ้อ, นาเชือก, ทอดยาวไปถึงนาดูน

ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นป่าดงครั่ง, ดงไม้ล่าว, ดงป่าแดง, ดงขมิ้น

ด้านตะวันออก เป็นป่าดงไม้เค็ง (ไม้นางดำ) ซึ่งเป็นพันธุไม้งาม

ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ของวาปีปทุมเป็นป่าดง โคกโจด, หวายาว, แดงเงาะ, โคกใหญ่ เป็นป่าดงดิบติดเขตเสือโก้ก ซึ่งเคยเป็นทางเสึอผ่าน คือระหว่างทางจากตำบลหนองไฮ ถึงตำบลเสือโก้กในปัจจุบัน

ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีป่าดงตลอดแนวคือ ดงเค็ง, ดงหนองแคนจรดดงใหญ่, โคกสีทองหลาง, โคกเท่อเล่อ, ดงขามป้อม (บ้านเกิดหลวงปู่ศรี)

ในสมัยเราเป็นเด็ก ตามลำห้วยหรือหนองบึงใหญ่ๆ ใกล้ๆ ราวป่า แถวถิ่นบ้านขามป้อม ในเวลาเช้าเย็นมักจะเห็นฝูงสัตว์ป่า ลิงค่าง บ่างชะนี หรือสัตว์ประเภทอื่นๆ พากันลงมากินน้ำกันเป็นประจำ”

รูปภาพ
บริเวณที่ตั้งบ้านเก่าของหลวงปู่ศรี

รูปภาพ
ยุ้งฉางบ้านเก่าของหลวงปู่ศรี

รูปภาพ
ผืนที่นาของหลวงปู่ศรี

รูปภาพ
วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวอีสาน
จากซ้าย : อิ้วฝ้าย, ขิดฝ้าย, กวักไหมใส่เชิงอัก, ฟืมต่ำหูก



บ้านขามป้อมถิ่นมาตุภูมิ

บ้านขามป้อมบ้านเกิดของเรา...ก็เหมือนบ้านชาวอีสานทั่วไป ตั้งอยู่ท่ามกลางท้องทุ่ง หน้านาปลูกข้าว หน้าหนาวปลูกผัก เสร็จจากฤดูทำนาก็ทำไร่ ทำไร่ฝ้าย ไร่ข้าวฟ่าง ถั่ว เผือก ปอ มัน นอกจากนั้นยังปลูกผักสวนครัวนานาชนิด สำหรับบิดาของเราทำงานหนักเอาเบาสู้ ปฏิบัติตามคำสอนบุรพชนอีสานที่ว่า “ลุกแต่ดึก ไปไฮ่ก่อนกา ไปนาก่อนไก่” ส่วนมารดานั้นก็เช่นเดียวกัน เป็นคนขยันไม่เกียจคร้าน เป็นแม่ศรีเรือน เมื่อว่างจากหน้านาท่านจะอิ้วฝ้าย ขิดฝ้าย กวักไหมใส่เชิงอัก ติดตั้งฟืม แล้วจึงต่ำหูก พ่อแม่ของเราเข้าลักษณะที่โบราณท่านว่า “ผัวถ่อเมียพาย ผัวหาบเมียหาม” ท่านทั้งสองทำงานทำบุญ “หัวเพรียงกัน” หมายความว่า หัวใจและหัวคิดพร้อมเพรียงกันในการทำหน้าที่การงาน ไม่เกี่ยงงอน แม้การบุญการกุศลก็ทำพร้อมเพรียงกันทำ ไม่เคยขัดข้องหรือหมองใจกัน

----------------------------------------------------------
๑. หมายความว่า ตื่นแต่เช้ามืด ไปทำไร่ก่อนที่กาจะออกจากรวงรัง ไปทำนาก่อนที่ไก่จะขัน
๒. อิ้วฝ้าย คือ การแยกฝ้ายออกจากเมล็ด
๓. อัก คือ โครงไม้โปร่งสำหรับม้วนเส้นไหม
๔. ฟืม คือ ไม้กระแทกมีซี่
๕. ต่ำหูก คือ ทอผ้า


รูปภาพ
แผ่นหินทรายแกะสลักที่เจดีย์หิน กล่าวถึงมารดาหลวงปู่ศรีสุบินนิมิต


มารดาสุบินนิมิต

พุทธศักราช ๒๔๕๙ ก่อนที่เราจะมาเกิด โยมมารดาของเราได้สุบินนิมิต (ฝัน) ว่า....

“ในราตรีดึกสงัด ได้ฝันเห็นดาวดวงหนึ่งมีแสงรัศมีเปล่งสุกสกาวโชติช่วงลอยเด่น ประหนึ่งว่าอยู่ในเมืองฟ้าเมืองสวรรค์ อร่ามงามยิ่ง หาที่ต้องติมิได้เลย

ในภาพแห่งความฝันนั้นยังเห็นเหล่าท่านผู้มีบุญประพฤติศีลธรรมอันดีงาม สงบเยือกเย็น ปรากฏเห็นเหล่าทวยเทพเหาะรายล้อมคารวะ เวียนไหว้ดวงดาวจรัสแสง งามเด่นนั้น

แล้วอีกไม่นานนักดาวดวงงามเด่นนั้นก็ลอยหมุนวนลงมาจากสรวงสวรรค์ มาสู่ท้องฟ้านภากาศ และลงสู่พื้นแผ่นดิน หล่นร่วงลงมาอยู่ตรงเบื้องหน้า สวยงามสดใสเกินที่จะกล่าว มารดาจึงรีบเอากระพุ่มมือทั้งสองยื่นออกรับ

ในฝันนั้นได้เกิดความปีติยินดียิ่งกว่าได้สมบัติใดๆ แม้ตื่นจากฝันปีตินั้นก็ยังคงปรากฏอยู่ ประหนึ่งว่าความฝันนั้นเป็นความจริง”



โหรผูกดวงทำนายชะตาชีวิต

เมื่อโยมแม่ฝันอย่างนั้น ด้วยความตื่นเต้นดีใจเป็นอย่างยิ่ง จึงนำความฝันอันเป็นมงคลนั้นไปเล่าให้ตากัญชากับยายแกะ ปู่สมบัติกับย่าแฮดฟัง และบอกเรื่องราวที่ตนตั้งครรภ์ ท่านเหล่านั้นจึงปรึกษากันเพื่อจะทำนายฝัน โดยตามหมอโหรในหมู่บ้านมาผูกดวง หมอโหรได้ทายชะตาราศีไว้ว่า

“ความฝันนี้เป็นฝันดีวิเศษนัก ไม่พึงปรากฏแก่ใครได้ง่าย ชะรอยจะเป็นบุญบันดาล พวกท่านจะได้คนเอกเป็นมิ่งมงคลมาเกิดในตระกูล “ปักกะสีนัง” จะต้องเป็นบุรุษรัตน์ชายชาติอาชาไนยเป็นแน่แท้ และจะได้ออกบวชมีชื่อเสียงโด่งดังกระฉ่อนไปทั่วทุกทิศ มีคนนับถือมากมาย ได้ก้าวเดินตามรอยบาทพระศาสดาสมกับเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส และได้สร้างขอบเขตสีมาอารามใหญ่โต”

และหมอโหรได้ทำนายต่อไปอีกนัยหนึ่งว่า

“อีก ๙ เดือนข้างหน้าตรงกับเดือนพฤษภาฯ เดือนหก ปีมะเมียมันเป็นปีม้า เด็กคนนี้จะตกคลอดออกจากครรภ์ ตามโหราศาสตร์โบราณ ท่านถือว่าขี่ม้ามาเกิด อันเป็นม้าอัศวเทพ มีนิสัยปรับตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เวลาดื้อจะดื้อสุดพรรณนา จะทำอะไรจะต้องทำให้ได้ เข้าใจคนเก่ง สุภาพเรียบร้อย ชอบช่วยเหลือคนอื่น ชอบทำอะไรที่ท้าทาย เป็นคนระห่ำ มักมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นเพื่อนมาก เกลียดคนไม่ตรงเวลาและไม่รักษาคำพูด เป็นคนซื่อสัตย์แต่ไม่ยอมเสียเปรียบ มีไหวพริบในการตกลงหรือเปลี่ยนใจในพริบตา”


คนมีบุญจะมาเกิด

ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องเหล่านั้น เมื่อได้ทราบคำทำนายเช่นนั้น ก็มีความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าโยมแม่ของเราได้เคยคลอดลูกออกมาเป็นผู้ชายหลายคน แต่ว่าตายหมด ท่านจึงคิดว่า “คราวนี้จะได้คนบุญมาเกิด จะต้องดูแลรักษาถนอมเลี้ยงระมัดระวังเป็นอย่างดี ในขณะตั้งครรภ์ต้องรักษาศีล ๕ ไหว้พระสวดมนต์ ทำบุญทำทานอย่าให้ขาด” แม้ขณะที่อยู่ในครรภ์ ญาติพี่น้องชาวบ้านต่างให้ความนับถือ โดยถือเหตุว่า “คนมีบุญจะมาเกิด”

หลวงปู่ศรีท่านกล่าวเน้นย้ำในเรื่องนี้ว่า “ด้วยเหตุนี้เมื่อเราเกิดแล้ว บิดามารดาและญาติฯ จึงรักเรามาก ไม่เคยดุด่าว่ากล่าวด้วยคำพูดอันหยาบ ตามใจทุกอย่าง เราทำอะไรผิดนิดผิดหน่อยคำน้อยก็ไม่เคยบ่น อยากได้อะไรบิดามารดาสรรหามาให้จนหมด ถึงวันพระวันสำคัญ ญาติพี่น้องชาวบ้านต่างหาดอกไม้มาบูชาเรา โดยถือเหตุว่า “คนมีบุญได้มาเกิดแล้ว”

รูปภาพ
แผ่นหินทรายแกะสลักที่เจดีย์หิน กล่าวถึงมารดาหลวงปู่ศรีนั่งสมาธิในป่าช้า


แม่นั่งสมาธิในป่าช้า

นี่เป็นเรื่องแปลกที่น่าคิดน่าพิจารณา ทางโลกอาจจะว่าแปลกประหลาดผิดเพี้ยนไปก็ได้ แต่ในทางธรรมเป็นเรื่องที่ชวนคิดพิจารณา ดังพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในหลักอิทัปปัจจยตาว่า

“เพราะมีเหตุอย่างนี้ จึงต้องมีผลอย่างนั้น หรือเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น”

ในขณะที่โยมแม่กำลังนอนอยู่กรรม (อยู่ไฟ) นั้น ในยามค่ำคืนดึกสงัดเดือนมืดสนิทไม่ทราบว่ามีอะไรมาดลจิตดลใจท่านให้เดินเข้าไปในป่าช้าเพียงคนเดียว พอถึงเวลารุ่งสาง โยมพ่อ ญาติพี่น้อง ตลอดจนชาวบ้านเกิดการโกลาหลกันใหญ่ว่า อีทุมจ้อย มันหายไปไส (หายไปไหน) ในห้องอยู่ไฟก็ไม่มี จะมีก็เพียงแต่ทารกตัวน้อยๆ นอนนิ่งอยู่ไม่ร้องไห้ ส่วนแม่ของมันหายไปไหน ต่างคนก็ต่างถามหา เที่ยวถามและค้นหากันจ้าละหวั่น มีบางคนเก่งในการสะกดรอยสัตว์ป่า จึงชี้ทางบอกว่า รอยเท้าอีทุมจ้อยมันไปทางป่าช้าอันเป็นป่าดงดิบโน้น คนทั้งหลายก็แห่กันเดินเป็นขบวนไปทางป่าช้าที่เผาศพ

เมื่อคนทั้งหลายพากันติดตามไป ภาพที่ปรากฏในป่าช้าเบื้องหน้านั้นคือ นางทุมจ้อย กำลังนั่งสมาธิอยู่ต่อหน้ากองฟอนที่เผาศพใหม่ๆ กลิ่นไอแห่งศพยังคุกรุ่นอยู่ กิริยาของนางสงบนิ่ง หน้าตาผ่องใส เหมือนไม่ใช่คนอยู่ไฟหรือคลอดมาใหม่ๆ โยมพ่อและญาติๆ จึงนำโยมแม่กลับบ้าน พร้อมกับคำถามที่เกิดขึ้นกับหัวใจทุกๆ คนว่า มันเกิดอะไรขึ้น ธรรมบันดลหรือ หรือว่าเทพบันดาล หรือว่าผีห่าซาตานดลใจ

...ถ้าหากธรรมบันดล ทำไมต้องมาในที่ชาวโลกเขาว่าเป็นอัปมงคล

...ถ้าหากว่าผีห่าซาตานนำไป ทำไมจึงไปนั่งสมาธิ

...ถ้าเป็นเทวดาดลใจ ทำไมต้องพามาป่าช้า อันเป็นป่าหนาทึบน่าสะพรึงกลัว มีสัตว์ร้ายๆ อาศัยอยู่ ซึ่งเป็นที่ผู้คนไม่สัญจรไปมา

“แล้วเกิดอะไรขึ้น” ต่างคนต่างซุบซิบซักถามโต้ตอบซึ่งกันและกันวุ่นวาย

เมื่อมีคนถามโยมแม่ทุมจ้อยท่านก็ไม่พูดว่าอะไร เพียงแต่บอกว่า

“กูก็ไม่รู้เหมือนกัน ถ้าพวกมึงอยากรู้ก็ไปถามผีป่าเทวดาเอาเด้อ”

เมื่อโยมแม่พูดอย่างนั้น ผู้คนก็เลิกถามกันไปเอง ด้วยเหตุนี้หลวงปู่ศรี มหาวีโร ในสมัยเป็นเด็กนั้น ท่านจึงเป็นที่พิศวง และเป็นที่จับตามองจากญาติพี่น้องและชาวบ้านที่มีความเชื่อนับถือเป็นประดุจเทพเจ้า ท่านจึงเป็นเด็กที่พิเศษที่สุดในหมู่บ้านนั้น แม้ท่านจะเจริญวัยเติบใหญ่ขึ้นโดยลำดับ แต่ความเชื่อของชาวบ้านที่ว่า “ท่านเป็นผู้มีบุญมาเกิด” นั้นก็ยังไม่จางหายไป

ทุกๆ คนต่างจับจ้องตาดูทารกน้อย เด็กน้อย เด็กชาย และนายศรีคนนี้มาโดยตลอดว่า อนาคตกาลข้างหน้าจะเป็นอย่างที่ปู่ย่าตายายให้โหรทำนายไว้บ้างหรือเปล่าหนอ


ใจกุศลเก็บดอกไม้ตามทุ่งนาไปถวายพระ

“...เราเป็นเด็กพ่อแม่ก็สอนให้ทำงานง่ายๆ ขี่ควายออกไปเลี้ยงตามท้องทุ่ง คอยเฝ้าดูมิให้มันไปเหยียบย่ำพืชไร่พืชสวนข้าวกล้าของชาวบ้าน ยามเย็นไล่ควายเข้าคอก ก่อไฟไล่ยุงให้มัน แล้วก็ช่วยพ่อแม่ตักน้ำหาบน้ำรดผัก สวนพริก สวนยาสูบ ฤดูทำนาช่วยหาบคอนต้นกล้าไปยังแปลงนาที่จะปักดำ ฤดูเก็บเกี่ยว เรียงฟ่อนข้าวมัดด้วยตอกนำขึ้นสู่ลานลอม ชีวิตในท้องทุ่งสนุกสนานตามฤดูกาลไม่น่าเบื่อ

...ตามท้องไร่ท้องนามีธรรมชาติดาษดื่น ยิ่งในปลายฝนต้นหนาวตั้งแต่เดือนยี่เรื่อยไปจนถึงเดือนสาม ป่าดงดอกไม้บานสะพรั่งไปทั่วป่า ส่งกลิ่นหอมหวนชวนให้เด็ดดม เช่น ดอกสมั่ง ดอกเล็บมือนางซ้อน ดอกพยอมดง ดอกสารภี ลำดวน คัดเค้า ดอกจิก ดอกรั่ง ดอกนมวัว ดอกนมแมว ดอกเหมือด ดอกกระถินป่า เป็นต้น ในฤดูที่ดอกไม้บาน เราและเพื่อนที่กำลังไล่ควายกลับบ้านในยามเย็น ต้องพากันแวะปีน โน้ม คว้า หักเอากิ่งที่มีดอกบานสะพรั่ง ถือติดมือกลับมาคนละกิ่งสองกิ่ง เพื่อให้พ่อแม่ได้บูชาพระในตอนเย็นและถวายพระในตอนเช้า เรามีนิสัยนึกในบุญกุศลเสมอ นี่คงเป็นเพราะบุญกรรมที่เคยทำในบุพเพชาติ


พ่อแม่รักมาก ตามใจเกือบไม่ได้ดี

...เรานี้มีความไม่พอใจกับพ่อกับแม่ เพราะว่าได้พิจารณาเห็นในสมัยที่ยังเป็นเด็กน้อยพ่อแม่ฮักหลาย (รักมากมาย) จึงเป็นการเสริมจิตใจให้เคยชินจนเป็นนิสัยสอนยาก ตอนหลังเมื่อมาสอนตนเองจึงสอนยาก เป็นเหตุให้คิดถึงว่า

“เป็นเพราะพ่อแม่ทำดีกับเราไว้มาก รักเรามาก ผู้คนก็รักเรามาก เข้าใจเรามาก เราจึงปล่อยใจไหลเลยไปตามกิเลสจนเคยชิน เป็นนิสัยเกือบจะไม่ได้ดี ถ้าหากว่าพ่อแม่ท่านดัดนิสัยของเราหนักๆ สักหน่อย เราคงไม่สอนยากถึงขนาดนี้” (อันนี้เราหวนระลึกในสมัยที่เราปฏิบัติธรรมสละตาย)

ที่พ่อแม่รักมากเพราะเราเป็นลูกชายคนเดียวที่เหลืออยู่ในขณะนั้น เป็นเด็กป่วยเป็นฝีดาษ ช่วงนั้นระบาดหนัก เกือบล้มเกือบตายอยู่หลายครั้งหลายคราว เรายังจำได้ไม่ลืมสมัยยังเป็นเด็กน้อยๆ พ่อแม่ก็เคยมีลูกผู้ชายแต่ว่าตายหมดเหลือแต่เราคนเดียว นอกนั้นมีแต่ลูกผู้หญิงเต็มไปหมด ในระยะอายุ ๕-๖ ปี เราเองเป็นเด็ก ป่วยหนักอาการปางตาย พ่อแม่ก็พยายามรักษา ในที่สุดก็หายป่วย

ด้วยความดีใจเป็นอย่างยิ่งพ่อแม่จึงเอากระโตก* (ขันโตก) มาให้นั่ง แล้วให้พวกพี่สาวน้องสาวเอาดอกไม้มากราบมาไหว้กัน อันนี้เราจำไม่เคยลืม พ่อแม่ของเรามีความเชื่อเป็นอย่างมากว่าเราเป็นบุคคลที่สำคัญ ลักษณะไม่เหมือนเด็กทั่วไป เมื่อเราโตขึ้นจะได้ดิบได้ดี จึงให้พี่น้องทั้งหมดเคารพ หลังจากกลับจากโรงเรียนพี่น้องก็จะไปกราบไหว้

----------------------------------------------------------
* กระโตกหรือขันโตก หมายถึง ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ทาด้วยชันผสมน้ำมันยาง แล้วใช้รักทาทับอีกชั้นหนึ่ง


รูปภาพ
ภาพอสุภกรรมฐาน เปรียบเทียบนิมิตในวัยเด็กของหลวงปู่ศรี มหาวีโร


นิมิตเห็นคนตายตั้งแต่เด็ก

ในขณะที่เป็นเด็กน้อยอยู่นั้น เมื่อนอนหลับลง จิตมันจะวิ่งลงเหมือนคนตกตึก แล้วไปปรากฏนิมิต เห็นคนล้มตาย เห็นซากศพ เห็นคนหัวขาดเป็นจำนวนมาก ศพคนตายนอนเกลื่อนกล่นทับถมกันเหมือนกองภูเขา น่าขยะแขยงน่าสะพรึงกลัวเป็นที่สุด จิตแสดงนิมิตให้เห็นเป็นอาการต่างๆ ว่า คราวไหนเกิด คราวไหนตาย เห็นร่างตัวเองเทียวเกิดเทียวตาย การเกิดแต่ละชาติ พ่อแม่ก็เปลี่ยนไปไม่ซ้ำกัน เปลี่ยนรูปร่างลักษณะไปเรื่อยๆ ประหนึ่งว่าเหล่าสัตว์โลกนี้ ผู้ที่ไม่เคยเกี่ยวข้องเป็นญาติพี่น้องกันไม่มีในโลก

บางทีผู้ที่เคยเกิดเป็นแม่เราในชาติปางก่อน ในชาติต่อมาก็มาเกิดเป็นเมียเรา บางทีพี่หญิงหรือน้องสาวก็เคยมาเกิดเป็นแม่เรา บางทีพ่อก็เคยมาเกิดเป็นลูกของเรา ภพชาตินี่ช่างวุ่นวาย ร้อยอันพันอย่างจริงๆ จิตนิมิตเห็นภพชาติต่างๆ ไม่รู้ว่าใครต่อใคร เกิดเป็นอะไรต่อมิอะไรบ้าง เป็นไปต่างๆ ยุ่งเหยิงวุ่นวายแต่กับการเกิดแก่เจ็บตาย

ปรากฏเห็นความเที่ยงแท้แน่นอนเพียงอย่างเดียวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้า จึงจะมีพ่อเดียวแม่เดียวจนกระทั่งท่านตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้

แต่สำหรับสัตว์โลกทั่วไปแล้วปนเปกัน เรื่องภพชาติที่อาศัยกิเลสและกรรมเป็นเครื่องนำทาง แต่สำหรับเหล่าสัตว์ที่มืดบอดแทบจะมองย้อนหลังไม่ออกว่าเคยเป็นอะไรต่อมิอะไร ใครบ้างหนอเคยเกิดเป็นลูกใคร หลานใคร เหลนใคร

บางทีผู้ที่เคยเป็นพ่อกลับมาเกิดเป็นลูก ก็ถูกผู้ที่เป็นลูกเฆี่ยนตีก็เท่ากับตีพ่อตัวเอง ว้าวุ่นสับสนวุ่นวายกันอย่างนี้ บางทีก็น่าหัวเราะ บางทีก็น่าร้องไห้ ไม่ทราบว่าจะหัวเราะหรือว่าจะร้องไห้ จิตเกิดสลดสังเวชสุดประมาณ เกิดความตื่นเต้นและตื่นกลัวในสิ่งที่จิตพบเห็นไปพร้อมๆ กัน

ในบางครั้งภาพนิมิตเหล่านั้นก็แสดงอาการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป จึงมักจะตื่นขึ้นมาในกลางดึก พ่อแม่ก็มาโอ้โลมให้นอน สอนให้สวดมนต์ จึงนอนหลับต่อไปได้อีก

เราจึงมาพิจารณาได้ตอนหลังที่ได้ปฏิบัติธรรมรู้เรื่องจิตใจแล้วว่า นี้มันเรื่องของสมาธิทั้งดุ้น เป็นสมาธิที่มีความรู้ แต่สติตามไม่ทันความรู้ สมาธิที่เป็นมาตั้งแต่เด็กจึงยังใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่ถ้าหากพ่อแม่ไม่ตามใจ คอยดัดนิสัย คอยดุด่าว่ากล่าวไม่ตามใจแล้วละก็ เราจะรู้เห็นธรรมะได้ตั้งแต่วัยเด็กและเข้าทางธรรมได้สนิทเร็วกว่านี้ และจะได้ดีเร็วขึ้นกว่านี้อีก ไม่เสียเวลาเนิ่นนาน ถ้าหากได้ครูบาอาจารย์ที่รู้จริงในทางธรรมมาอบรมสั่งสอน


เรียนโรงเรียนวัดบ้านขามป้อม

ถึงแม้เราจะเป็นเด็กบ้านนอก แต่ค่อนข้างจะเป็นโชคดีมากคนหนึ่ง ที่เกิดมามีบิดามารดามีสายตากว้างไกล สนับสนุนในการเรียนสม่ำเสมอ และโชคดีที่หมู่บ้านขามป้อมมีโรงเรียนประชาบาลระดับประถมศึกษาอยู่ในวัด ซึ่งหมู่บ้านอื่นเขาไม่มี เพื่อนหมู่บ้านอื่นต้องเดินทางรอนแรมมาเรียนที่โรงเรียนประชาบาล ในวัดบ้านเราเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร การเรียนก็ใช้ศาลาวัดเป็นที่เรียน ศาลาโล่งแจ้งไม่มีฝากั้น มองได้ไกลสุดสายตา มองเห็นทุ่งนาเขียวขจี เสียงกระดิ่งของวัวควายที่เดินเลาะเล็มหญ้า เสียงว่าวจุฬาติดธนู ดัง ดู ดู่ ดู๊ ดู่ ดู๊ ดู่ ดู๊ ดังแว่วมาเป็นระยะ เป็นเหมือนเสียงเพลงขับกล่อม เด็กๆ สนุกสนานในท้องนาป่าน้ำ

ถึงยามฝน ฝนก็สาด ศาลาไม่มีฝากั้น ถึงยามหนาวก็หนาวจับใจ เสื้อกันหนาวจะหาใส่ก็ไม่มี ถึงยามร้อนก็ร้อนจัดพยับแดดระยิบระยับ การเรียนเริ่มเรียนตั้งแต่ชั้นมูล ก ข ประถม ก กา จนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนคือชั้นประถม ๔


เป็นเด็กขี้ขลาดตาขาว

ในสมัยเป็นเด็กเราเป็นคนขี้ขลาดตาขาว เป็นจอมกลัวผีหลอก ตอนกลางวันแสกๆ พ่อแม่ใช้ให้เข้าไปเอากล่องข้าวอยู่ในบ้านในเรือน ไม่กล้าเข้าไปหรอก ย่องแล้วย่องอีก มองแล้วมองอีก กลัวเห็นผี กลัวผีเห็น คล้ายๆ ว่าผีมันแอบจ้องมองเราอยู่เพราะกลัวผีหลอก

ในเวลาค่ำคืนขึ้นลงบันไดบ้าน ก็ไม่กล้าขึ้นลงคนเดียวในเวลาค่ำคืนเพราะกลัวผีจับแข้งจับขา ก็จะไม่ให้เรากลัวได้อย่างไร ก็ในเวลานอนฝันเห็นตั้งแต่ผีหัวขาด ซากศพอยู่เสมอ

เราอายุ ๗ ปี ๘ ปี เป็นเด็กพ่อแม่พาไปวัดฟังเทศน์ฟังธรรม รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง แต่ก็ดีอย่างหนึ่งคือ เมื่อเข้าวัดกราบพระฟังเทศน์ฟังธรรมแล้ว กลับไปนอนที่บ้านก็นอนหลับฝันดี ฝันเห็นพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
ท่านพระครูโพธาพิทักษ์ (บุญมี อินฺทโชโต)
พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ศรีสมัยบวชเป็นสามเณร



บวชเณร

พ่อแม่เห็นนิสัยเราเป็นเช่นนั้น ท่านให้บวชเป็นเณรก็หลายครั้งหลายหน พ่อแม่ให้บวชเป็นสามเณรที่วัดบ้านขามป้อมนี้เอง โดยมีท่านพระครูโพธาพิทักษ์ วัดโพธาราม เป็นพระอุปัชฌาย์บวช แล้วก็ไปเรียนหนังสืออยู่ชั้นประถม บวช ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง ท่านบวชให้ไปอยู่กับครูบาที่วัดซึ่งเป็นญาติพี่น้องกัน เมื่อได้มาบวชเณร นิสัยทางศาสนาคงมีมาดั้งเดิม คนอื่นฝึกธรรมดา บวชธรรมดา แต่ว่าเราฝึกเอาจริงเอาจัง เริ่มมาฝึกใหม่ฝืนใหม่ เดิมเป็นคนขี้ขลาดตาขาว ขี้กลัว หลังจากบวชแล้ว พระท่านสอนให้พิจารณาแผ่เมตตา โอ้ย!...มันไม่รู้จักกลัวหละ คนตายก็ไม่รู้สึกกลัว


ไม่มีนิสัยในทางหลอกลวงคนอื่น

ในขณะเป็นสามเณรอยู่วัดบ้านขามป้อม พวกพระในวัดบางรูปฉลาดมีความรู้ พากันปั้มทำเหรียญกษาปณ์ปลอม (เงินปลอม) ข่าวแจ้งถึงตำรวจ เขาจึงเข้ามาไล่จับ พระเณรพากันวิ่งหนีหัวซุกหัวซุน พยายามพากันเอาไหและถังที่บรรจุเหรียญกษาปณ์ต่างๆ เหล่านั้นไปโยนทิ้งลงในสระน้ำตรงศาลาวัด (ปัจจุบันนี้เขาถมหมดแล้ว) เราเองไม่ได้ร่วมทำกับเพื่อนพระเณร มีแต่ยืนหัวเราะดูอยู่ ไม่ได้ร่วมไม้ร่วมมือกับเขา เพราะไม่มีนิสัยในทางหลอกลวงคนอื่น


เป็นเด็กชอบเล่นเป็นพระ

นิสัยของเราเป็นคนไม่ยอมใครง่ายๆ มาตั้งแต่ไหนแต่ไร แม้แต่เวลาเล่นในวัยเด็ก ถึงจะเป็นการเล่นแต่ก็ต้องเอาชนะให้ได้เสมอ สมัยก่อนวันศีลวันพระ เวลาเล่นตามประสาเด็กๆ ต้องเล่นเป็นพระ เอาผ้าพาดเฉลียงบ่าเหมือนพระห่มจีวรนั่งบนตั่งหรือเตียง แล้วจะให้พี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ แต่งขันหมากเบ็ง* มาทุกคน ยกมาถวายแสดงสมมา**คารวะ ถ้าไม่ทำ เราจะแกล้งจะร้องห่มร้องไห้ฟูมฟาย จนกระทั่งพวกเขาทำขันหมากเบ็งมาครบหมดทุกคน เสร็จแล้วจึงจะแกล้งให้พร ยถาสัพพีฯ เพราะเราเคยบวชเณรมาก่อนให้พรเป็น

เมื่อเลิกราการเล่นเรียบร้อยแล้ว เราจะมาแอบนั่งหัวเราะ พอใจภายหลังคนเดียว เพราะแกล้งพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ได้สำเร็จ

หลวงปู่ศรีท่านเล่าอย่างอารมณ์ดี ตอกย้ำว่า “โอ้ย! แต่ก่อนเรามันไม่ยอมใครง่ายๆ นะ เรานี่”

----------------------------------------------------------
* ขันหมากเบ็ง หมายถึง พานสำหรับใส่เครื่องสักการะ มีข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน จัด ๕ คู่ เรียกขันธ์ ๕, ๘ คู่ เรียกขันธ์ ๘ เย็บใบกล้วยติดกันเป็นแหนบเหน็บดอกไม้ธูปเทียนเข้า

** สมมา คือ การขอโทษ ขอให้ยกโทษ


:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


การศึกษา

เมื่อสึกจากสามเณรแล้ว โยมพ่อโยมแม่ได้นำเราไปฝากไว้ที่บ้าน คุณครูประจบ ประจิรณะ ในอำเภอวาปีปทุม เพื่อเข้ารับการศึกษาต่อชั้นประถม ๕ และประถม ๖ ซึ่งมีเฉพาะแต่ในตัวเมืองวาปีปทุมเท่านั้น ก่อนไปคุณตากัญชาได้อบรมสั่งสอนเราผู้เป็นหลานให้ตระหนักอยู่เสมอว่า

“ถ้าอยากรู้ว่ารสชาติของชีวิตว่าหนักหรือลำบาก สู้ทนกล้ำกลืนแค่ไหนนั้น ให้ลองไปอยู่กับคนอื่นบ้านอื่นที่เขาเหนือกว่าเรา มีสิทธิ์ว่ากล่าวข่มเรา เราไปอยู่กับเขาต้องเป็นคนรับใช้เขา ลำพังอยู่กับพ่อแม่ที่รักเราอย่างเดียว เราจะไม่มีวันได้ลิ้มรสหรือพบความทุกข์ยากลำบากใจอย่างแท้จริง หลานเอ๊ย!...จงรู้จักมุมานะพากเพียรเรียนวิชาเพื่อความก้าวหน้าสูงขึ้น ชีวิตที่ลำบากตั้งแต่ต้นจึงมักมีผลดีในบั้นปลาย ให้จดจำคำสอนของตาเอาไว้”

ครั้นสำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๖ ที่โรงเรียนประจำอำเภอวาปีปทุมแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ เราจึงได้โอกาสเข้าไปศึกษาต่อมัธยมปีที่ ๑-๒-๓ ที่จังหวัดมหาสารคาม

เรียนที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงประจำจังหวัดมหาสารคาม และอาศัยพักเป็นเด็กวัดอยู่กับพระที่วัดโพธิ์ในตัวจังหวัด มีความตื่นตาตื่นใจในชีวิตเมือง ได้เห็นรถยนต์ มีคนถีบจักรยานหนาตาขึ้น แต่ถนนหนทางแม้อยู่ในตัวจังหวัดก็ยังเป็นดินลูกรัง กรวดหินปนทราย

เป็นเด็กวัดต้องไหว้พระสวดมนต์ กวาดลานวัด ทำความสะอาดศาลา หิ้วปิ่นโตเดินตามหลังพระบิณฑบาต เชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน ใครไม่เชื่อฟังท่านก็ไล่ไปไม่ให้อยู่ หลวงปู่หลวงตาในวัดนั้นท่านจะสอนอยู่เสมอว่า

“เธอได้ทิ้งนาทิ้งไร่มาศึกษาเล่าเรียน จงตั้งใจเรียนจริง ให้ตื่นแต่ดึก (เช้า) ศึก (ษา) แต่หนุ่ม เรียนให้ได้เป็นเจ้าคนนายคน วายเมเถว ปุริโส เกิดเป็นชายต้องพยายามร่ำเรียนจนประสบความสำเร็จ เธอจงมีน้ำอดน้ำทน เข้มแข็ง มุ่งความก้าวหน้าจริงจัง โดยถือคติที่ว่า “มักง่ายได้ยาก ลำบากได้ดี”

หรือคำโบราณอีสานท่านสอนไว้ว่า “คั่นบ่ออกจากบ้าน บ่เห็นด่านแดนไกล คั่นบ่ไปหา เฮียนกะบ่มีความฮู้”

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ จบชั้นมัธยมปีที่ ๓ จากโรงเรียนสารคามพิทยาคม ตามความตั้งใจ


วัยหนุ่มแข็งแรงเกินบุรุษทั่วไป

ในเพศฆราวาสของหลวงปู่ศรีนั้น ท่านเป็นหนุ่มรูปร่างเพรียว ไม่อ้วนมะขามข้อเดียว ตันๆ กล้ามเป็นมัดๆ ชอบการชกมวยเป็นกีฬา ชกมวยชนะทุกครั้ง จนกระทั่งคนถิ่นแถบนั้นไม่มีใครกล้าขึ้นต่อกรด้วย เพราะใครขึ้นชกด้วยโดนน๊อกคาเวทีแทบทุกราย เกิดมาไม่เคยฆ่าสัตว์ ไม่กินของดิบ ไปทำไร่ไถนา เจอกบเขียดจับโยนออก ไม่เหยียบไม่ฆ่า พ่อแม่จับกบเขียดใส่ข้องใส่ตุ้มไว้ ก็แอบไปปล่อย วันศีลไปฟังเทศน์ฟังธรรม จำศีล สูบยา ไม่เคี้ยวหมาก ยาไม่เมาไม่สูบ เป็นคนหมั่นขยัน ทำการงานและร่ำเรียนหนังสือ ไม่เป็นคนขี้เล่น ไม่โกรธเคียดแค้น ทำอะไรทำจริง แข็งแรงเกินคน มีดตะขอขวานที่ใช้สำหรับฟันถางป่าท่านลับคมกริบ เช่น ถากถางฟันป่าปลูกฝ้าย ท่านทำคนเดียวได้มากกว่าคนงานทำถึง ๙ คน สามารถขุดบ่อน้ำได้วันละ ๓ บ่อ โดยลึกบ่อละ ๓ เมตร

มีที่นาหลายร้อยไร่ ในฤดูทำนาปลูกข้าว ดำนาเก่ง กล้ามัดแล้วดำเลย ไม่ตีตมออก (ไม่เอาโคลนตมออก)

ในฤดูเก็บเกี่ยว เพียงคืนเดียวตีข้าวได้ถึง ๙ วง ทำนาได้ข้าวปีละ ๔๐ หมื่น ปลูกยาได้ปีละ ๔๐ กระทอ ปลูกยาก็ได้มากกว่าคนอื่นๆ เป็นคนขยัน ทำกระบุงและตะกร้าโดยใช้ไม้ไผ่ สานยุ้ง จักสานตาเร้วเป็นหาบลูกใหญ่ ไม่ซื้อเลย จักสานเอง หาบน้ำเก่ง ตื่นดึกลุกเช้า ชอบอ่านหนังสือ

รูปภาพ

รับราชการครู

ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ สอบบรรจุครูได้ เริ่มรับราชการครูที่โรงเรียนวัดบ้านซาดฝางหัวเรือ ตำบลหัวเรือ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ย้ายมาสอนที่โรงเรียนหนองกุง ตำบลเสือโก้ก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ห่างจากอำเภอประมาณ ๒๕ กิโลเมตร พื้นที่เป็นป่าดงพงเปลี่ยว จะเข้าเมืองต้องใช้ม้าเป็นพาหนะในการเดินทาง


ลาออกจากครู/เป็นครูอีกครั้ง

เราเป็นครูน้อยแต่มากไปด้วยอุดมการณ์ ไม่ชอบให้ครูใหญ่มาบงการในสิ่งซึ่งไม่ชอบธรรม เราเป็นครูหนุ่มใหม่ๆ เลือดร้อน เป็นคนระห่ำเหมือนที่หมอโหรทายไว้ เมื่อเห็นกิริยาของครูใหญ่หยิ่งจองหอง ชอบใช้อำนาจเกินขอบเขต ไร้เหตุผลในการทำงาน ไม่เอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอนเด็ก ทำให้เกิดความอึดอัดใจ ขอย้ายก็ไม่ให้ย้าย จึงตัดสินใจลาออกจากราชการครูในปี ๒๔๘๓ ทำให้บิดามารดาเสียใจเป็นอย่างยิ่ง

ด้วยความที่เราเป็นผู้ทรนงในศักดิ์ศรี ความคิดจึงทอดยาวไปข้างหน้า ปรารถนาที่จะศึกษาต่อให้มีความรู้สูงขึ้น ได้นอนคิดถึงชีวิตที่ว่างงานอยู่เป็นเวลาหลายวัน ว่าชีวิตเราจะดำเนินไปทางไหนดี จึงคิดว่าการที่เราจะเข้าไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ คงจะเป็นการดี จึงเข้าไปลาท่านบิดาและมารดา คิดว่าเงินที่มีนิดหน่อยคงพอจะไปแสวงโชคข้างหน้าได้ จึงเดินทางด้วยเท้าข้ามป่าฝ่าดง รอนแรมไปกับเพื่อน ค่ำที่ไหนนอนที่นั่น จากวาปีปทุมถึงบรบือ จากบรบือมุ่งตรงสู่สถานีรถไฟบ้านไผ่ ได้ขึ้นรถไฟไอน้ำชั้นที่ ๓ ใช้ฟืนเป็นพลังหัวรถจักร เสียงดังฟืดฟาดๆ เย็นย่ำค่ำจึงถึงเมืองโคราช

เมื่อพักอยู่โคราชหนึ่งคืน ได้มีเวลานั่งคิดถึงชีวิตพร้อมทั้งพินิจพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านพ้นมา คิดถึงบิดามารดาผู้เคยถนอมเลี้ยง จึงตัดสินใจขึ้นรถหวนกลับบ้านขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม อีกครั้งหนึ่ง

การกลับมาคราวนี้ตั้งความหวังไว้ว่า จะทำให้บิดามารดาแช่มชื่นจิตใจสมกับที่ท่านรัก มาพักอยู่ที่บ้านได้ไม่นานนักจึงเดินทางไปสอบบรรจุครูที่จังหวัดร้อยเอ็ด ในจำนวนคนที่เข้าสอบ ๔๐-๕๐ คน เราสอบได้เป็นที่หนึ่ง จึงเดินทางกลับบ้านขามป้อมอันเป็นบ้านเกิดด้วยดวงใจที่ชื่นบาน อัตราเงินเดือนแต่เดิมที่เคยได้ ๘ บาท คราวนี้จะได้เพิ่มเป็น ๑๒ บาท ซึ่งนับว่ามากในสมัยนั้น


โรงเรียนที่หลวงปู่ศรีเคยเป็นครูสอน

ในขณะที่เดินทางด้วยเท้าจากจังหวัดร้อยเอ็ด กลับสู่ถิ่นมาตุภูมิด้วยความเหนื่อยเมื่อยล้า มีชาวนาคนหนึ่งขับเกวียนผ่านมา เราจึงถามเป็นทีเล่นทีจริงว่า “วัวและเกวียนนี้ขายมั้ยเพื่อน”

เขาตอบว่า “ถ้ากล้าซื้อก็กล้าขาย”

“ขายเท่าไหร่?”

“๑๒ บาท”

มองดูเงินในกระเป๋าแล้วมีเพียงพอ จึงควักเงินออกจ่ายในทันที กระโดดขึ้นขี่เกวียน ขี่เกวียนกลับบ้านอย่างสบายใจและสะใจที่ประสบความสำเร็จทางหน้าที่การงานอีกครั้งหนึ่ง

ในปี ๒๔๘๓ เป็นครูสอนที่โรงเรียนบ้านสวนจิก ตำบลปอภาร อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด (ปัจจุบัน ตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด)

ในปี ๒๔๘๕ ได้ย้ายไปเป็นครูสอนที่บ้านเหล่ากุดน้อย ตำบลปอภาร อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด (ปัจจุบัน ตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด)


ตำนานกล่าวขานถึงสหายครูทั้ง ๔

มีเรื่องเล่าว่าในอดีตสมัยที่ท่านหลวงปู่ศรีเป็นครู ท่านมีเพื่อนสนิท ๓ คนที่ฝากเป็นฝากตายได้ กิน ดื่ม เที่ยว ด้วยกัน คือ ครูนิยม ครูนาค ครูสิลา สหายครูทั้ง ๓ คนนี้มีนิสัยคล้ายกัน คือทำอะไรทำจริง ถ้าเที่ยวก็เที่ยวเสียจริงๆ ถ้ากินดื่มก็กินดื่มเสียจริงๆ แต่ทั้งหมดนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเสียหายและก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใด สหายครูทั้ง ๔ นี้เป็นที่ลือชื่อในถิ่นวาปีปทุมนี้เป็นอย่างมาก

เล่ากันว่า “ถ้าสหายครูทั้ง ๔ ได้เดินเข้าป่าฆ่างัว (วัว) หนุ่ม (หลวงปู่ศรี ท่านไม่ฆ่า) เพื่อเลี้ยงฉลองในเทศกาลประจำท้องถิ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง เดินกลับออกมา วัวนั้นคงเหลือแต่ซากโครงกระดูก ไม่เหลือเลือดเนื้อให้สัตว์ บุคคลที่ไหนได้กินต่อไปได้อีก”

สหายครูทั้ง ๔ ทำอะไรจึงเป็นที่สงสัยงงงันแก่ผู้คนถิ่นแถวนั้น และมักมีการซุบซิบนินทากันอยู่เสมอว่า “ครูพวกนี้มันครูหรือว่ามันเป็นผี ถ้าว่ากินก็กินเสียจริงๆ ถ้าว่าเมาก็เมาจนหัวทิ่มหัวตำ คลำทางกลับบ้านไม่ถูก ถ้าว่าทำงานก็ไม่รู้จักเข้าร่ม ตากแดดทำกันอยู่ทั้งวัน”

ตำนานเหล่านี้แม้นานมาแล้วก็ยังมีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานให้ลูกหลานฟังกันไม่รู้จบด้วยความชื่นชม

หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านเล่าว่า ในสมัยที่ท่านเป็นครูนั้น ท่านจะมีนิสัยแตกต่างจากเพื่อนครูคนอื่นบ้าง นั้นก็คือ นอกจากจะกิน ดื่ม ทำการงานจริงในทางโลกแล้ว แม้ในทางธรรมก็เอาจริงไม่เคยย่อหย่อน จิตใจฝักใฝ่ในทางพระพุทธศาสนาสม่ำเสมอ ในเวลาบ่าย ๔ โมง พระท่านตีโปงแลง* ถือเป็นเวลาเลิกสอนหนังสือเพื่อเข้าวัดฟังธรรม ชักชวนชาวบ้านร่วมกันสร้างพระไตรปิฎกถวายในหลายวัด วันพระโรงเรียนหยุด เข้าวัดจำศีล เราทำอย่างนี้อยู่ตลอดจนกว่าจะได้ออกบวช

----------------------------------------------------------
* โปง คือเครื่องตีบอกเหตุการณ์ต่างๆ และบอกเวลา ลักษณะคล้ายระฆังแต่เป็นไม้ แลง คือในเวลาเย็น


รูปภาพ
พิธีแต่งงานของชาวอีสาน


แต่งงาน

ปีพุทธศักราช ๒๔๘๕...เป็นธรรมดาของครูในสมัยนั้น ไปที่ไหนมีแต่คนเคารพนับถือ ยิ่งเรื่องหญิงสาวด้วยแล้ว เห็นครูผู้ชายมักจะชอบแอบมอง มีผู้หญิงที่รู้จักมากมาย ในที่สุดก็ปลงในความรักกับนางสาวสอน แสนยะมูล อายุ ๒๒ ปี ซึ่งเป็นลูกสาวของนายสุธรรมา แสนยะมูล และนางหล้า แสนยะมูล นายสุธรรมาเป็นนายฮ้อย* ที่มีชื่อเสียง มีที่ดินมาก มีควาย ๔๐ ตัว

การแต่งงานนั้นพ่อแม่และญาติพี่น้องทั้งสองฝ่ายเป็นคนจัดการ เรียกว่า “จับขม่อมจอมขวัญ” สินสอดที่เจ้าบ่าวนำไปแต่งเจ้าสาวจำนวน ๑๒ บาท ซึ่งเป็นเงินไม่น้อยในสมัยนั้น จึงแต่งงานอยู่กินกับนางสอนผู้เป็นภรรยา สร้างบ้านเรือนติดกับบ้านพ่อตาตามประสาแบบโลกทั่วๆ ไป สุขบ้างทุกข์บ้าง อดบ้างอิ่มบ้าง จนได้บุตรธิดาสืบสกุล ๔ คน เป็นชายหนึ่ง หญิงสาม

๑. คุณปันหยี จันทะโข
๒. คุณฉวี ปักกะสีนัง
๓. ด.ช.ทวี ปักกะสีนัง (เสียชีวิตแต่เยาว์วัย)
๔. คุณจำจิต มงคลมะไฟ

----------------------------------------------------------
* นายฮ้อย คือ หัวหน้า ประธาน ผู้ใหญ่ ผู้ที่คณะเลือกให้เป็นใหญ่ในเวลาไปซื้อขายต่างถิ่น เรียก “นายฮ้อย” คนอีสานสมัยโบราณมักจะไปค้าขายต่างถิ่น ในการไปแต่ละครั้งจะเลือกหัวหน้าหนึ่งคนเพื่อควบคุมและป้องกันภัยอันตราย



คำสั่งแม่ก่อนตาย

เรามีชีวิตเป็นอยู่เช่นนี้และได้ดีมีชื่อเสียง เป็นครูบาอาจารย์ มีคนเคารพนับถือ ส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งคือพ่อแม่ ก่อนที่แม่จะตาย ได้สั่งเสียเป็นเชิงอ้อนวอนรำพึงรำพันว่า

“ศรีเอ้ย!...แม่อยากให้ลูกบวชให้ จัก ๑๐ มื้อ ๑๕ มื้อ (วัน) ก็ได้ พอให้แม่ได้เพิ่ง (พึ่ง) บุญเพิ่งคุณ จะได้ไปดี ได้ไปสวรรค์ นำเพิ่น (เหมือนอย่างพ่อแม่คนอื่นที่ลูกบวชแล้วได้อาศัยเกาะชายผ้าเหลืองไปสวรรค์)”

เมื่อจบคำสั่งเสียของแม่แล้ว น้ำตาร่วง หัวใจเหมือนจะหลุดหล่นหายไปต่อหน้าต่อตา กุมมือแม่ไว้แน่น ซึ้งในน้ำใจของท่านที่รักเรายิ่งนัก จึงรีบรับปากแม่ว่าจะบ๋าบวช (บนบานว่าจะบวช) ให้แม่อย่างแน่นอน เอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และฟ้าดินเป็นพยานต่อหน้าแม่ทันทีว่า

“แม่ไม่ต้องห่วงดอกเด้อ ข้อยสิบวชให้แน่นอน ขอให้แม่เฮ็ด (ทำ) ใจให้ซำบาย (สบาย)” เมื่อเราพูดจบลง อีกไม่กี่วันแม่ก็สิ้นใจตาย จากนั้นจึงจัดงานเผาศพแม่อย่างวิจิตรพิสดารแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน จ้างคณะกลองยาวแห่แหนส่งสการ* ทั้งแห่ทั้งร้องไห้จนชาวบ้านตกอกตกใจ แปลกใจว่า ทำไมแม่ตายจึงแห่แหนประหนึ่งว่า “เป็นงานมงคล” ที่ทำเช่นนั้นไม่มีใครสามารถอาจรู้ได้ว่าเป็นเพราะเหตุใด จึงทำให้ผู้คนเกิดความสงสัยงุนงงมาจนทุกวันนี้ แต่ที่แท้จริง “เราเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาของสัตว์โลก”

น้ำตาเราที่ไหลจากใจที่สูญเสียช่างจดช่างจำไม่มีวันลืมเลือน สัจจะวาจาว่าจะบวช!...จะบวช!...นี้ ตามกระตุ้นเตือนหลอกหลอนอยู่ทุกวี่วัน นึกถึงภาพแม่ที่ขาดใจตายกับความหวังที่แม่ฝากไว้ จึงหมายใจว่าเราต้องสละการงานบ้านเรือนออกบวชให้ได้สักวันหนึ่งข้างหน้าอย่างแน่นอน

----------------------------------------------------------
* ส่งสการ คือ การทำพิธีเคารพศพ หามศพไปเผาหรือฝัง ทั้งทำบุญในป่าช้า



เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ตามคำสั่งแม่

ตามคตินิยมของชาวไทยนับเนื่องมาแต่โบราณกาล กุลบุตรใดที่มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ บิดามารดามักจะจัดให้อุปสมบทโดยมีความเชื่อถือกันว่า กุลบุตรจะมีความ “เป็นกุลบุตรได้สมบูรณ์” ต้องผ่านการอุปสมบทแล้ว มิฉะนั้นยังถือว่า “เป็นคนดิบอยู่” ก่อนจะไปมีครอบครัวเหย้าเรือนต้องบวชเรียนเขียนอ่านเสียก่อน ต้องบวชก่อนแล้วค่อยเบียด อย่าเบียดก่อนไปบวช

แม้ในขณะนั้นชาติบ้านเมืองยังคุกรุ่นอยู่ในภาวะสงคราม ชาติบ้านเมืองกำลังขาดครูและขาดกำลังทหาร แต่คำสั่งเสียของแม่ก็เร่งเร้าอยู่ข้างในเสมอ เร่งเร้าถึงการบรรพชาอุปสมบททุกค่ำคืน บางวันนอนน้ำตาไหล นึกๆ ไปว่า “เมื่อไหร่หนอ เราจะสลัดความอาลัยออกได้แล้วบวชให้แม่สักที นี้เราก็อายุ ๒๙ ปีแล้ว ควรจะหาโอกาสบวช พระพุทธเจ้าพระองค์ก็ออกบวชเมื่อคราวพระชนมายุ ๒๙ ปี พระองค์สละบุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัติอันมหาศาล ส่วนเราบวชเพื่อทดแทนบุญคุณข้าวป้อนจะไม่ได้เชียวหรือ”

วันหนึ่งเมื่อตัดสินใจได้แล้วจึงบอกภรรยาอันเป็นที่รักว่า ในชีวิตหนึ่งอยากจะขอบวชเข้าพรรษาสักครั้ง ภรรยาก็ยินดีอนุโมทนาด้วยไม่ขัดข้อง เงินทองและสมบัติที่มีก็มอบให้ภรรยาเก็บไว้ใช้ และได้มอบม้าคู่ใจให้แก่ไอ้โดนซึ่งเป็นน้องเมียด้วยความอาลัย แต่ซุกซ่อนความมุ่งมั่นไว้ภายใน โดยพูดว่า “ไอ้โดน มึงมานี่ อันม้าของกู กูยกให้มึงเด้อ ให้มึงเลี้ยงเอาขายเอา กูจะไปบวชสักปี ในชีวิตหนึ่งกูก็อยากบวชเข้าพรรษาสักครั้ง” คำสั่งลานั้นสังหรณ์ใจประหนึ่งว่า ท่านจะไม่กลับมาครองโลกครองเรือนอีก วาจาท่านเหมือนอาลัยอาวรณ์ แต่กิริยาที่จะได้บวชนั้นเหมือนปลาได้น้ำ เมื่อได้โอกาสอันสมควรก็เข้าไปกราบลาพ่อตาแม่ยาย ลาศึกษาธิการอำเภอเมืองร้อยเอ็ด ทั้งพ่อตาแม่ยายก็ห้าม ทั้งศึกษาธิการอำเภอก็ห้ามบวชอย่างเด็ดขาด เพราะชาติบ้านเมืองกำลังขาดกำลังครู ถ้าบวชก็ต้องลาออก เราจึงคว้ากระดาษมาเขียนใบลาออกต่อหน้าอย่างเด็ดขาดเช่นกัน

การบวชไม่ได้หวังว่าจะบวชตลอดชีวิต บวชเพื่อทดแทนคุณบิดามารดา บุพการี ครูบาอาจารย์ตลอดจนผู้มีพระคุณ ให้ได้รับผลบุญกุศลอันเกิดแต่อานิสงส์แห่งการที่เราบวช นอกจากนั้นการได้ศึกษาเล่าเรียนและดำรงตนอยู่ในพระธรรมวินัย ขณะครองเพศบรรพชิตอยู่ คงจักช่วยขัดเกลาจิตใจให้หมดจดดีงาม การที่เราประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีล กินในธรรม ย่อมบังเกิดเป็นความเจริญก้าวหน้าในเมื่อเวลาสึกออกมาดำรงชีวิตแห่งการเป็นฆราวาสสืบไป

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
พระโพธิญาณมุนี (คำ โพธิญฺาโณ) พระอุปัชฌาย์


ออกบวช

ด้วยอุปนิสัยแห่งสาวกบารมีญาณมากระตุ้นเตือน ประกอบกับด้วยความศรัทธาในพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ขอลาออกจากราชการเพื่อบรรพชาอุปสมบท

อุปสมบทที่ วัดราษฎร์รังสรรค์ บ้านป่ายาง ตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี

พระโพธิญาณมุนี (คำ โพธิญฺาโณ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูศิริธรรมธาดา เจ้าคณะอำเภอเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระครูสมุห์พันธ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์


เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ได้ฉายาว่า “มหาวีโร” แปลความหมายว่า “ผู้มีความหาญกล้ามาก” หรือแปลอีกนัยหนึ่ง “ผู้สามารถบุกเข้าไปทำลายกิเลสได้” (วีเรติ วิรยติ วีโร) อธิบายว่า ผู้มีความเพียรใหญ่ด้วยองค์ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเพียร อันประกอบด้วยองค์ ๔* ซึ่งเป็นเครื่องเสริมสร้างบารมี

----------------------------------------------------------
* ๑. สังวรปธาน เพียงระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อมไป


รูปภาพ

รูปภาพ
วัดป่าพูนไพบูลย์ อ.เมือง จ.มหาสารคาม (ปัจจุบันคือวัดประชาบำรุง)


ปีพุทธศักราช ๒๔๘๘
พรรษาที่ ๑
จำพรรษาที่ สำนักสงฆ์ป่าพูนไพบูลย์ (วัดประชาบำรุง)
อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม


ได้ปฐมอาจารย์

เมื่ออุปสมบทแล้วในปี ๒๔๘๘ เราก็เที่ยวสืบเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่จะมาอบรมสั่งสอน จึงได้ทราบข่าวว่า ท่านพระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม ซึ่งเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นผู้ที่มีภูมิจิตภูมิธรรม เป็นที่นับถือของผู้ที่นิยมปฏิบัติสมาธิภาวนา ท่านได้ธุดงค์จาริกมาพักอยู่ที่เสนาสนะป่าที่จังหวัดมหาสารคาม ตามคำสั่งของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม (วัดป่าพูนไพบูลย์ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม) เพื่อเผยแผ่หลักธรรมและหลักปฏิบัติของพระคณะกรรมฐาน


กองทัพธรรมกรรมฐาน

ขอย้อนกล่าวถึงเรื่องราวของกองทัพธรรมกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่นสักเล็กน้อย

ในยุคกรรมฐานเฟื่องฟู พ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้พิจารณาแล้วว่า ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม มีความรู้ทางจิตภาวนา สามารถเป็นขุนพลเอกแห่งกองทัพธรรมนำหมู่คณะกรรมฐานได้ ท่านพระอาจารย์สิงห์มีอุปนิสัยเป็นคนกล้าหาญ มีใจเด็ดเดี่ยว มีไหวพริบ ปฏิภาณว่องไว คล่องแคล่วแกล้วกล้า ฉลาดในการเทศนาธรรม ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาปฏิบัติ อุทิศตนและตั้งมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา ท่านพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่นจึงมอบหมายให้ท่านพระอาจารย์สิงห์ปกครองดูแลพระกรรมฐาน ส่วนพระมหาเถระทั้งสองขอแยกเดินรุกขมูลแสวงหาที่บำเพ็ญเพียรตามป่าตามเขา ท่านพระอาจารย์เสาร์ไปธุดงค์ประเทศลาว ส่วนท่านพระอาจารย์มั่นไปธุดงค์ทางภาคเหนือ

เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๗๒ พระอาจารย์สิงห์จัดให้พระฝ่ายกรรมฐานจำนวนหลายรูปที่มีความรู้ทางด้านจิตภาวนา แยกย้ายกันไปอยู่ตามสำนักจังหวัดต่างๆ เพื่อแนะนำสั่งสอนพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนในธรรมปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเทศนาสั่งสอนพุทธศาสนิกชนชาวอีสานให้ละมิจฉาทิฏฐิ เลิกการนับถือภูตผีปีศาจ หันมาตั้งมั่นอยู่ในพระไตรสรณคมน์ ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมในการศึกษาปฏิบัติกรรมฐานอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย พระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร ได้เดินทางตามคำบัญชาของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ให้เดินธุดงค์มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระที่จังหวัดมหาสารคาม ท่านเข้าพักสำนักสงฆ์ป่าพูนไพบูลย์ (ปัจจุบันคือวัดประชาบำรุง) อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (ท่านมรณภาพด้วยโรคฝีประคำร้อย ในปี ๒๔๙๑)

รูปภาพ

รูปภาพ
ถ่ายภาพเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๖


คันถธุระ วิปัสสนาธุระ

หลวงปู่ศรีสมัยครั้งยังเป็นพระใหม่ เมื่อได้ทราบข่าวเช่นนั้นก็กระหายใคร่ได้ใคร่สัมผัสพระธรรมกรรมฐานแท้ๆ จึงรีบเดินทางไปหาท่านพระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม และได้ปฏิบัติธรรมอยู่จำพรรษาร่วมกับพระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม ได้ปฏิบัติตามแนวทางที่ท่านพระอาจารย์คูณอบรมสั่งสอน เอาธุระในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด คือ

คันถธุระ การศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ ให้มีความรู้พระธรรมวินัย ดำรงรักษาตำราไว้มิให้เสื่อมสูญ จะได้เป็นแบบแก่ผู้ปฏิบัติ

วิปัสสนาธุระ ได้แก่ การศึกษาอบรมจิตใจตามหลักสมถะและวิปัสสนา เพื่อรู้แจ้งธรรมและกำจัดกิเลสออกจากจิตใจ

ธุระทั้งสองนี้พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงไว้ให้พระสาวกจดจำและนำไปประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จนสามารถกำจัดกิเลสรู้แจ้งธรรม ท่านผู้ตัดกิเลสได้เด็ดขาดสิ้นเชิงแล้ว เรียกว่า “พระอรหันต์” ย่อมเอาธุระจดจำพระพุทธวจนะและช่วยพระบรมศาสดาทำการอบรมสั่งสอนประชาชน


พระอาจารย์คูณยกธรรมท่านพระอาจารย์มั่นมาสอน

...และพระอาจารย์คูณได้สอนย้ำว่า...

“ท่านศรี...ขอให้ท่านตั้งใจประพฤติปฏิบัติ พระนิพพานอยู่ไม่ไกล ขอเพียงท่านไม่อาลัยเสียดาย ทุ่มเทชีวิตจิตใจ ถวายเป็นพุทธบูชา เบื้องต้นขอให้ท่านฝึกสติด้วยการบริกรรม ภาวนาว่า “พุทโธ” เอาพุทโธควบคุมจิต ระวังจิตและอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดกับจิต โดยระวังอารมณ์หรือสัมผัสภายนอก ไม่ปล่อยให้มายุ่ง มาสร้างภาพฝันภาพลวงกับอารมณ์ภายใน ให้เอาสติเป็นตัวนำทาง ควบคุมทุกขณะจิตทุกขณะคิด ให้เริ่มรู้จักกำหนดว่า จิตมีตัวสติคอยควบคุมที่สำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดในทางสมถภาวนา”

และผม (อาจารย์คูณ) เคยฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่น ท่านได้ภาษิตธรรมให้ฟังไว้ว่า...

“พระอรหันต์ไม่ได้ผุดขึ้นมาจากไหน ก็มาจากหัวใจของปุถุชน มาจาก ราคะ โทสะ โมหะ ถ้าหากใจปุถุชนนั้นพยายามบากบั่นฝึกปรือตนให้เดินตามมรรคาสัมมาปฏิบัติ พระอรหันต์ก็มาจากที่นั่น กลั่นกรองมาจากที่นั่น เหมือนดอกบัวมาจากขี้ตมขี้โคลนเน่าๆ เหม็นๆ แต่พอพ้นน้ำรับแสงอาทิตย์ แย้มบานเต็มที่ มีสง่าราศี ใครก็อยากได้อยากชม”

หลวงปู่ศรี เมื่อได้ฟังธรรมที่พระอาจารย์คูณแสดง เกิดจิตศรัทธาอย่างแรงกล้า ปฏิบัติแบบถวายชีวิต จิตสงบเกิดศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระอริยเจ้า และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต


พรรษาแรกนั่งสมาธิตลอดรุ่ง จิตเกิดแสงสว่าง

เราบวชพรรษาแรกก็เร่งความพากเพียรภาวนา นั่งภาวนาไป มันเจ็บมันปวดจะเป็นจะตาย อดทนสู้ก็ไม่ไหว หนักเข้าต้องงดการฉันอาหารให้ลดน้อยลง ตามธรรมดาฉันวันละ ๓๐ คำ หรือมากกว่านี้นิดหน่อย เราพยายามลดมันลง ลดลงมา ๒๐ คำ มันก็ยังไม่สงบ หนักเข้าลดลง ฉันวันละ ๑๐ คำ นั่งสมาธิได้ตลอดคืนยันรุ่ง ไม่ต้องพลิกขาแม้แต่ครั้งเดียว นั่งผ่านได้สบายๆ เมื่อผ่านไปได้แล้วก็จึงค่อยย้อนกลับมาฉันอาหารอย่างปกติ เมื่อฉันอย่างปกติ ถ้านั่งภาวนาผ่านทุกขเวทนาได้ก็ฉันอีก แต่ถ้าเมื่อเวทนามันขึ้นมาก็ลดลงอีก มีสติคอยสังเกตการณ์ตัวเองอยู่อย่างนั้น สุดท้ายแล้วเมื่อสติสมาธิเข้าที่เข้าทาง ฉันเต็มที่ก็ยังสามารถนั่งตลอดรุ่งได้ นั้นละ เราต้องหาวิธีการทดสอบตัวเองจนกว่าจิตใจจะพบกับความสงบ

ตอนอยู่วัดป่าพูนไพบูลย์นั้นเดินจงกรมได้ทั้งคืน นั่งก็นั่งได้ทั้งคืน จิตเกิดโอภาสแสงสว่าง ทุกขเวทนาที่มากหลาย เราจำเป็นที่จะต้องอาศัยความอดความทนเข้าต่อสู้ อดทนสู้ คิดเสียว่าทำสมาธิภาวนาลำบากเพียงแค่นี้ไม่พอที่จะทำให้เราตายได้

จึงคิดหาอุบายสอนใจตัวเองว่า “เรานั่งอยู่ในท้องแม่ แม่อุ้มท้องอยู่เป็นเวลา ๙-๑๐ เดือนไม่เห็นหนีไปไหนได้ ทำไมจึงอดทนอยู่ได้” คิดเช่นนี้จึงนั่งต่อสู้กัน

ผลสุดท้ายจิตวูบวาบลงคราวเดียว ทุกขเวทนาที่ว่าเผ็ดร้อนหายหน้าหายตาไปหมด ร่างกายเปรียบกันได้ดั่งเหล็กที่เผาไฟแดงๆ แล้วนำไปทิ้งใส่น้ำ จะมีเสียงดังจ๊าด! ๆๆๆ

ร่างกายเผาไหม้หมด มันเป็นของมันเอง ร่างกายจึงอยู่สบาย นั่งไปเท่าไหร่ทั้งคืนก็ได้ มิได้มีความเจ็บความปวด มันเกิดเองเป็นเอง เราก็มิได้ปรุงแต่ง มีแต่ตัวรู้ รู้เฉยอยู่...ของแปลกประหลาดภายในจิตใจเกิดขึ้นมาอย่างนี้ ทำให้เรามีศรัทธาเกินคาดเดา

ได้อุทานภายในใจว่า “เรื่องอย่างนี้ก็มีด้วยหรือ? เอ!...จิตของคนเป็นอย่างนี้ก็มีหรือ?”

เมื่อจิตสงบได้อย่างนั้นสบาย เบากายเบาจิตเป็นเวลา ๒-๓ วัน ไม่ฉันอะไรก็ได้ ไม่หิวกระหาย ของเหล่านี้จึงเป็นของแปลกประหลาดมหัศจรรย์ จิตสงบสว่างเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เกิดความเชื่อจริงๆ เลย เชื่อในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อแน่แล้วว่า บาปบุญ นรกสวรรค์ พรหมโลก พระนิพพานมีจริงแท้ ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่แน่ใจและไม่หวั่นไหว อัศจรรย์สายทางเดินแห่งกรรมของพระพุทธเจ้า พระอริยเจ้า

เราจึงมาคิดว่าเพราะเหตุนี้เองพระพุทธเจ้า พระอริยเจ้าท่านจึงอยู่ไหนก็อยู่ได้

...นี้เองจึงเป็นมูลเหตุให้เรามีแก่จิตแก่ใจที่จะก้าวเดินตามรอยบาทพระศาสดาพระอริยสงฆ์สาวก การบวชเดิมที่คิดว่าจะบวชเพียงชั่วคราวได้หายไปสิ้น จิตได้หมุนกลับทวนกระแสโลกเสียแล้ว


พ่อตาแม่ยายลูกเมียนิมนต์ให้สึก

พอบวชครบพรรษา พ่อตาแม่ยายและลูกเมียไปนิมนต์ให้สึก ก็ไม่สึก จึงดำริภายในใจว่า ลูกเมียที่อยู่เบื้องหลังเป็นเพียงภพชาติหนึ่งในหลายภพชาติที่เกิดตาย เอาเถอะเราจะหล่อเลี้ยงเขา ด้วยอรรถ ด้วยธรรม ด้วยคุณความดี ซึ่งจะเป็นเสบียงทางที่ยาวไกล ไม่ได้กินอิ่มแต่เพียงชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้น จะพึงกินอิ่มอีกในภพชาติต่อไปอีกด้วย ถ้าเราไม่ออกปฏิบัติกรรมฐานในคราวนี้ ก็ไม่มีคราวไหนอีกแล้วในชีวิตเราที่จะมีโอกาสได้ใกล้ชิดสนิทติดพันกับธรรมะอันอัศจรรย์สงบเย็น ก็มีร่มกาสาวพัสตร์คราวนี้เท่านั้น

พระพุทธเจ้าท่านสละโลกเป็นแบบอย่างให้เราแล้ว เราจะมาอาลัยเสียดายอะไร ธรรมะต่างหากเป็นของประเสริฐที่สุด มนุษย์เขาอยู่กันมาเป็นหมื่นๆ ปี เขาก็อยู่กันได้ ส่วนลูกเมียเรา เราออกไปสร้างคุณงามความดี ถ้าเขาเป็นผู้มีศีลธรรมก็ไม่น่าจะมาตำหนิเราตรงไหน ขาดเราเพียงคนเดียวโลกมันคงไม่แตกสลายพังทลายหรอก มีแต่มันจะเจริญขึ้นด้วยศีลธรรม

ส่วนลูกน้อย เขาก็คงเลี้ยงมันได้ ครอบครัวมิใช่ครอบครัวยากจนอะไร นกหนูปูปีก มันอยู่ในป่าในเขา มันก็ยังอยู่ของมันได้ ไม่เห็นมันสูญพันธุ์

อันความรักความอาลัยในบุตร ธิดา ภรรยา นั่นย่อมมี ถึงแม้น้ำตาจะตกใน แต่จิตใจนี้ปรารถนาเพียงพระนิพพานเท่านั้น เหมือนประหนึ่งจะพูดพร่ำรำพันกับตนเองว่า “ลูกเอ๋ย...เมียเอ๋ย...พ่อนี้ปรารถนาเป็นสาวกอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอให้พวกเจ้าพากันอนุโมทนาเถิด”

พระพุทธเจ้าทรงสละราชบัลลังก์ ข้าทาสบริวารมากหลาย และบุตรภรรยาอันเป็นที่รัก เพื่อโมกขธรรม อันเป็นธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ ซึ่งเป็นการเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ ในสมัยพระองค์เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ นามว่า เวสสันดร ยังให้ทานบุตรธิดาคือ กันหา ชาลี แก่พราหมณ์ เราไม่ได้สละอย่างยิ่งใหญ่อย่างนั้นสักหน่อย และไม่มีอะไรมากมายให้สละอย่างนั้นด้วย และเพียงออกบวชเล็กน้อยเพียงแค่นี้ ยังจะเอานั้นเอานี้มาเป็นอุปสรรคขวางทางแล้วเราจะเดินอย่างไร


เดินทางไปหาพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม

เมื่อพิจารณาได้อย่างนี้แล้ว จึงตัดสินใจที่จะหนีเข้าป่าเข้าเขาเร่งปฏิบัติกรรมฐานตามที่ท่านพระอาจารย์คูณสั่งสอน และหวังใจว่าถ้าจิตใจเราสงบบ้างแล้ว จะเข้าหาฝากตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ผู้ซึ่งมีชื่อกระฉ่อนเรื่องความดี ความเด็ดเดี่ยว และเรื่องธรรมที่ท่านบรรลุจนเป็นพระอรหันต์ ซึ่งใครๆ ก็ตามที่พบท่านแล้ว ทราบข่าวว่าต้องยอมสิโรราบกราบไหว้ในคุณธรรมและความเป็นคนจริงของท่าน

การปฏิบัติที่สำนักสงฆ์พูนไพบูลย์ก็ราบรื่นสมาธิดี แต่ก็ด้วยเหตุว่ายังอยู่ใกล้บ้านเกิดญาติๆ มาเยี่ยมเยือนได้ง่าย ถูกรบกวนรบเร้าให้สึกไปครองชีวิตฆราวาสอยู่บ่อยๆ การอยู่ในสถานที่เช่นนี้เป็นอุปสรรคต่อสมาธิภาวนา ทางเดินเพื่ออริยมรรคอริยผลไม่สะดวก จึงคิดว่าควรจะแอบหนีเดินธุดงค์ไปตามป่าตามเขา ไปหาท่านพระอาจารย์สิงห์ ศิษย์ผู้ใหญ่ของท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าแสนสำราญ จังหวัดอุบลฯ ศึกษาวัตรปฏิบัติให้ธรรมแก่กล้าขึ้นไปกว่านี้ ถ้ารีบไปหาท่านพระอาจารย์มั่นตอนนี้ต้องถูกท่านขับไล่หนีอย่างแน่นอน เพราะทราบจากท่านพระอาจารย์คูณว่า ท่านพระอาจารย์มั่นไม่รับใครเป็นสานุศิษย์ง่ายๆ คนที่ใจเด็ดเดี่ยวเท่านั้นจึงจะเป็นลูกศิษย์ท่านได้ แล้วพระใหม่อย่างเรายังไม่ประสีประสาเรื่องพระธรรมวินัย ถ้าเข้าไปหาท่านอาจเข้าไปกระทบกระเทือนธรรมภายในท่านได้ และอาจเป็นเหตุให้เราไม่ได้อยู่อาศัยศึกษาธรรมกับท่าน จึงตัดสินใจลาพระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม เที่ยวธุดงค์ซอกซอนตามป่าตามเขา ผ่านป่าช้างป่าเสือ ลุถึงเสนาสนะป่าแสนสำราญ จังหวัดอุบลฯ

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม


ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙
พรรษาที่ ๒
จำพรรษาที่ วัดป่าแสนสำราญ
อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี


ศึกษาวัตรปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์สิงห์

ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ท่านปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก เป็นเสมือนองค์แทนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ข้อกติกาสัมมาปฏิบัติ อันเป็นข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบสำหรับพระคณะกรรมฐาน ท่านปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่วัดป่าแสนสำราญ

พระภิกษุสามเณรที่อยู่ร่วมสำนักกับท่านก็มีเป็นจำนวนมาก ทุกท่านทุกรูปต่างตั้งอกตั้งใจปฏิบัติ เหมือนประหนึ่งว่าพระบรมศาสดามาแสดงธรรมเทศนาโปรดอยู่ทุกวี่วัน ไม่มีพระภิกษุสามเณรเดินเที่ยวเล่น พูดคุยเล่นอยู่ในบริเวณวัด มีแต่ท่ายืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด เป็นท่าประกอบไปด้วย สติ สมาธิ ปัญญา มองดูแล้ว ล้วนแต่ท่านผู้ทรงศีลทรงธรรม สะอาดหมดจดด้วยวัตรปฏิบัติ ใต้ร่มไม้ชายป่า กระท่อมน้อย เพิงหญ้าลานกลางแจ้ง มองไปทางไหนมีแต่พระสงฆ์สามเณรนั่งสมาธิ เดินจงกรม พิจารณาธรรมอยู่ทุกเช้าค่ำ เหมือนเครื่องจักรแห่งธรรมอันใหญ่กำลังหมุนวนไป เพื่อปราบปรามเหล่าสรรพกิเลสให้หลุดหล่นกระจัดกระจายออกจากกล่องดวงใจไปทีละชิ้นสองชิ้น...ช่างน่าอนุโมทนา

ในเวลาค่ำคืนเดือนมืดสนิท แสงเทียนจุดไว้เพื่อเดินจงกรม เป็นเสมือนแสงแห่งดวงดาวผู้ที่นั่งสมาธิก็ดับเทียน ไม่มีแม้แต่เสียงไอเสียงจาม เงียบสนิท ปรากฏแต่แสงเสียงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ไร้เสียงพูดคุยสนุกสนานอันเป็นการปล่อยตัวปล่อยใจ ต่างองค์ต่างคุยกับภาษาใจและภาษาธรรมภายใน สำรวมระวังไม่ให้จิตใจออกข้างนอก ประคองจิตให้อยู่ในกายแล้วพิจารณาธรรมบางประการที่อาจารย์บอกให้ ตามแต่จริตนิสัยของใครของมัน

วันคืนที่หมุนเวียนไปล่วงเลยไป ถูกหมุนกลับนับถอยหลังถึงวันเวลาที่จะเข้าสู่ประตูแห่งมรรคผลนิพพาน เวลาที่เคยกลืนกินชีวิตมนุษย์ที่หลับใหลชั่วกัปชั่วกัลป์มาบัดนี้กัดกร่อนหัวใจของพระกรรมฐานผู้พิจารณาธรรมไม่ได้แล้ว สายตาทอดไปทางใด แม้แต่ท่านผู้มักน้อยสันโดษในจีวร อาหาร บิณฑบาต เสนาสนะ ยารักษาโรค เราผู้เข้าไปถวายตัวเป็นศิษย์ใหม่ก็พลอยมีจิตใจฮึกเหิมที่จะปฏิบัติให้ได้อย่างท่านเหล่านั้นบ้าง

สำนักเสนาสนะป่าแสนสำราญแห่งนี้ มีครูบาอาจารย์กรรมฐาน ศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นแวะเวียนมาพักสนทนาธรรมกับท่านพระอาจารย์สิงห์เสมอ เช่น พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล, พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, ท่านพ่อลี ธมฺมธโร, พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม, พระอาจารย์ดี ฉนฺโน, พระอาจารย์ผั่น ปาเรสโก, พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล, พระอาจารย์เทสก์ เทสฺรงฺสี, พระอาจารย์ทอง อโสโก, พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร ฯลฯ

รูปภาพ

รูปภาพ
พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม


ข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของสำนักพระคณะกรรมฐาน

ท่านพระอาจารย์สิงห์ได้อธิบายข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงพระมหากรุณาสั่งสอนให้พระสาวกบำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้ถึงพร้อมบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท ด้วยสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฝึกจิตใจให้เป็นไปในกระแสแห่งอริยมรรคอริยผล จนกว่าจะเอาตนพ้นทุกข์ในวัฏสงสารได้จริงๆ

พระภิกษุสามเณรผู้มุ่งหวังมาบำเพ็ญในสำนักพระคณะกรรมฐาน

...ต้องเป็นผู้หวังพ้นจากทุกข์จริงๆ และหวังบำเพ็ญกิจของพระพุทธศาสนา จึงต้องสละความห่วงอาลัยในฆราวาสเหย้าเรือน ตลอดจนสละชีวิตเลือดเนื้อมาเพื่อทรมานตนให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร

...ต้องเป็นผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้าน มีขันติธรรม อดทนต่อความทุกข์ความยาก ความลำบากตรากตรำ ไม่หวั่นต่อเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเป็นผู้เห็นแก่พระศาสนาจริงๆ

...ต้องเป็นผู้มีน้ำใจอันซื่อสัตย์ต่อพระศาสนาแลครูบาอาจารย์ตลอดถึงหมู่คณะ อ่อนน้อมถ่อมตน ให้หมู่คณะว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนได้ในธรรมวินัย เมื่อมาอยู่ในหมู่คณะนี้แล้ว จะหลีกหนีไป ก็ไม่ลอบลักดักหนี ให้ร่ำลาครูบาอาจารย์ของตนก่อน เมื่อท่านอนุญาตแล้วจึงไป

...ต้องเป็นผู้สนใจใคร่ธรรม ใคร่วินัย แสวงหาวิโมกขธรรม สันติสุขในพระพุทธศาสนา และหวังเพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป

หลวงปู่ศรี ได้กล่าวย้ำว่า “ไปฟังเทศน์ท่านพระอาจารย์สิงห์ ไปฟังใหม่ๆ เหมือนกับว่าได้ฟังเทศน์พระพุทธเจ้า ท่านเทศน์ถูกใจเหลือหลาย แต่แล้วก็ได้อยู่กับท่านเพียงสามเดือน เพราะท่านกลับไปอยู่วัดป่าสาลวัน เมืองโคราช”

ต่อจากนั้นเลยไปวิเวกอยู่บ้านค้อหวางซึ่งเป็นวัดของเจ้าคุณอุบาลีฯ ไปเห็นหนังสือแล้วอ่านดูก็ถูกใจอีก ก็นึกว่าจะหายสงสัย ออกไปประพฤติปฏิบัติอย่างเต็มที่

พอรู้จักแนวทางในการประพฤติปฏิบัติกรรมฐานแล้ว จึงเดินเข้าป่าเข้าดงไปตามเรื่อง เดินเที่ยววิเวกข้ามป่าข้ามเขาไม่รู้กี่ลูกต่อกี่ลูก แต่แล้วก็ไม่วายคิดถึงท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต


ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐
พรรษาที่ ๓
จำพรรษาที่ วัดป่านาแกน้อย
ตำบลบ้านแก้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม


เข้าใกล้รัศมีธรรมท่านพระอาจารย์มั่น

หลวงปู่ศรีเล่าประวัติให้สานุศิษย์ฟังต่อไปอีกว่า...

เราได้เข้าใจหลักธรรมปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม แล้ว จึงลาครูบาอาจารย์จากเสนาสนะป่าแสนสำราญ มุ่งหวังทดสอบขันติธรรมไม่เหยียบย่ำอยู่กับที่ ออกปฏิบัติเพียงลำพัง เหมือนพระอริยสาวกทั้งหลายที่ท่านพ้นทุกข์ สองเท้าจึงก้าวเดิน ย่างผ่านป่า ผ่านเขา ท้องถ้ำ อดบ้างอิ่มบ้าง รอนแรมซอกซอนผ่านหมู่บ้านน้อยใหญ่ ที่อาศัยอยู่ตามเทือกเขาภูพาน วนเวียนท่องเที่ยวอยู่เขตสกลนคร นครพนม ในรัศมีธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

เมื่อเจอพระกรรมฐานศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น มักจะถามและสนทนาธรรมเสมอ และสิ่งที่ลืมไม่ได้นั้นก็คือ ถามเรื่องท่านพระอาจารย์มั่น พระแต่ละองค์ที่เล่าถึงเรื่องท่านพระอาจารย์มั่น ล้วนต้องยกมือสาธุการใส่หัวใส่กระหม่อมด้วยความเทิดทูนบูชา

สาธุ...ถึงความเป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย
สาธุ...เลื่อมใสในวัตรปฏิบัติ
สาธุ...ถึงความเด็ดเดี่ยว
สาธุ...ถึงความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ
สาธุ...ถึงความเก่งกาจเรื่องรู้วาระจิตผู้อื่น
สาธุ...ถึงความเป็นพระแท้
สาธุ...ใครไม่แน่จริง ไม่ดีจริง ไปอยู่กับท่านไม่ได้หรอก
และสุดท้าย สาธุ...เราพูดเรื่องท่านกันอยู่ตรงนี่ ท่านก็รู้

เมื่อพระที่เล่าพูดอย่างนั้น ใจเราก็หวิวๆ ขนลุกซู่ๆ ขึ้นมาเหมือนกัน อัศจรรย์ท่านผู้ทรงคุณธรรมล้ำลึก เราจึงเป็นเหมือนนกกา ส่วนท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ท่านเปรียบเหมือนนกเหยี่ยว การ้องกาๆๆๆ ร้องจะได้นานสักเท่าไหร่ ไม่นานเหยี่ยวก็บินร่อนโฉบเอาตับปอดไส้พุงของกาไปกินเรียบ

เราเพียงได้ยินกิตติศัพท์เกียรติคุณของท่านเท่านั้น ก็อดหวั่นไหวหวั่นเกรงในบารมีธรรมของท่านมิได้

รูปภาพ

รูปภาพ
ถ้ำพระเวส (วัดธรรมบรรพต) เป็นซอกถอดยาวไปตามแนวใต้ผา

รูปภาพ

รูปภาพ
ผาตระหง่านบริเวณถ้ำพระเวส (วัดธรรมบรรพต)


เที่ยวกรรมฐานที่ถ้ำพระเวส

ต่อจากนั้นก็ออกเดินทางต่อไปยังถ้ำพระเวส อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ก็เพราะสาเหตุว่า ถ้าเราจะไปเฝ้ากราบนมัสการและไปประพฤติปฏิบัติกับท่านพระอาจารย์มั่น เราต้องประพฤติปฏิบัติทดสอบตัวเราเสียก่อนว่าเราจะได้อะไรหรือไม่ได้อะไร เป็นการฝึกสติ จึงเร่งกันอย่างยิ่งยวดและหนักหน่วงในการออกไปปฏิบัติเพียงผู้เดียว ในคราวนั้นเป็นไป “แบบหัวล้านเกินครู” สถานที่แห่งนี้มีพระกรรมฐานมาปลีกวิเวกเสมอ เช่น สามเณรบุญนาค (พระอาจารย์นาค โฆโส) เจ้าคุณอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร ฯลฯ และมีหลายรูปที่มีคุณธรรมและวัตรปฏิบัติไม่เพียงพอ เกิดเป็นบ้าวิกลจริตสัญญาวิปลาส ชาวบ้านได้นำพระเณรที่ขึ้นมาอยู่แล้วเป็นบ้า ไปให้ท่านพระอาจารย์มั่นช่วยแก้จิตให้หลายรูปแล้ว ถ้าใครตั้งอกตั้งใจดีจะได้ประโยชน์ เทวดาเขาช่วย แต่ว่านอนปล่อยตัวปล่อยใจไม่ได้ เราไม่นอนทั้งวันทั้งคืน เอามันอยู่อย่างนั้น สอนตนเองว่า

“ถ้าจะมามัวเห็นความสุขในการนอน ความสุขในการกินนั้น เราจะอยู่ไม่ได้ เราต้องอยู่กับความเพียรภาวนา มีสติ มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว มีศรัทธา เชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธองค์อย่างเดียว ถ้าจะไปเชื่อแต่ใจตนเองที่ยังมีกิเลส มันก็แล้วเท่านั้นแหละ ไม่ได้เห็นอรรถเห็นธรรมหละคราวนี้ เราต้องเชื่อธรรมวินัยเท่านั้น”


จิตเกิดโอภาสแสงสว่าง

...เราอยู่คนเดียว ถ้ำสูงๆ ยาวๆ ประมาณ ๕ เส้น มีบันได ๑๒ ขั้น ทางกว้างเพียง ๑ เมตร อยู่ริมฝั่งเหว เอาไม้ไผ่กั้นไว้ เวลานอนก็นอนบนแคร่ไม้ไผ่ บริเวณป่ารอบๆ ถ้ำมีเสือตัวใหญ่วนเวียนอยู่ นอกจากเสือแล้ว ในเวลาค่ำคืนยังมีบ่างตัวใหญ่ๆ บินดังพึ่บพั่บๆ ครืนๆ ไปมาในเวลาค่ำคืนประมาณ ๖ ทุ่ม ระหว่างหัวเขาประมาณ ๑๐ เส้น ส่วนเราอยู่ในหุบเขาตรงกลาง เราจะยืน เดิน นั่ง นอน ทำสมาธิในท่าไหนก็ตามเสียงสัตว์ไพรจะวนเวียนไปมา

ในเวลาเช้าออกไปบิณฑบาต เดินบิณฑบาตก็เหมือนเดินจงกรม ทางตามป่าพอที่จะลอดตัวมุดตัวไปได้ หมูป่าก็มาก เสือก็มาก ไปกลับประมาณ ๑๐ กิโลเมตร กลับถึงถ้ำที่พักประมาณ ๑๑ โมงเช้า เราอยู่ที่นั้นเพียงลำพัง อาศัยสัตว์ มีเสือ เป็นต้น เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

ในขณะที่นั่งภายในถ้ำ จิตเกิดแสงสว่าง สว่างจนนึกว่าแสงพระอาทิตย์ปรากฏขึ้นในเวลาค่ำคืน สว่างจ้าทั้งๆ ที่เป็นเดือนดับ เรานั่งตั้งแต่ ๔ ทุ่มถึงตีหนึ่ง ก็นึกเอ๊ะ! ทำไมถึงสว่าง ทั้งๆ ที่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น แจ้งสว่างไปหมดถึงขนาดที่ว่าเดินจงกรมไม่ต้องมีไฟส่อง นี่มันเป็นเองเกิดขึ้นเอง ถ้าไม่เกิดแสงสว่างอย่างนี้ จิตเราก็ไม่ตื่น แสงสว่างนี้ไม่รู้ว่ามาได้อย่างไร ของเหล่านี้เป็นของแปลกประหลาดที่ปรากฏขึ้นมา ซึ่งเราเกิดมาไม่เคยพบเห็นสักครั้ง

เรื่องของจิตจึงเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าหากเรานำมาใช้ได้จะพบประโยชน์ใหญ่หลวง ถ้าหากเราทำจิตใจไม่ให้อยู่ในอำนาจของกิเลส ซักฟอกกิเลสออกไปได้ โอ้ย! สบาย

รูปภาพ
กุฏิหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ภายในถ้ำพระเวส (วัดธรรมบรรพต)


จิตเกิดสลดสังเวชน้ำตาร่วง

เมื่อจิตเป็นเช่นนั้นพิจารณาถึงผู้คน ก็ไม่เหมือนผู้คน เกิดความสลดสังเวช สงสารตัวเอง บางทีสงสารตัวเอง จนกระทั่งน้ำตาร่วงร้องไห้ ไม่มีใครสอนเราได้นอกจากตัวเราเอง ความมหัศจรรย์เหล่านี้ ถ้าเราไม่เห็นเองจะไม่มีวันเชื่อ เหมือนกับเสือ ถ้าพูดถึงเสือก็ไม่มีใครกลัว แต่เมื่อเจอเสือเข้าจังๆ จึงวิ่งป่าราบ วิ่งหนีชนต้นไม้แทบเป็นแทบตาย ถ้าพูดถึงเสือเฉยๆ ก็เป็นเพียงชื่อไม่มีใครกลัว ต่อเมื่อเจอตัวเสือเมื่อไหร่ เสือมีแต่จะวิ่งเข้าหากัดผู้คน นี้ก็เหมือนกัน เราได้ยินเพียงชื่อ เราก็ไม่รู้ว่ามันจะเกิดมาได้อย่างไร มันก็เกิดมาจากเหตุที่เราทำนั่นแหละ แต่เราไม่รู้จักเรื่องแห่งเหตุและเหตุแห่งเรื่อง


ป่วยเป็นไข้มาเลเรีย

เราไปอยู่เดือนเศษ ปฏิบัติเอง “แบบหัวล้านเกินครู” มุ่งมั่นปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานอย่างเดียว เกิดล้มป่วยและอาการก็หนักปางตายด้วยเป็นไข้มาเลเรีย เมื่อมันขึ้นแต่ละที ตัวหนาวสั่น อย่างแรง ฉันยาอะไรก็ไม่หาย จึงใช้สมาธิรักษา ปรากฏว่าได้ผล คือพอจิตสงบเป็นสมาธิแน่วแน่ อาการของโรคก็ไม่มี มันสู้สมาธิไม่ได้ แต่มันไม่ยอมถอย เราสู้กับมันอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานาน ๑ ปี ๑๑ เดือน พวกชาวบ้านแถวนั้นเขาตกใจ กลัวว่าจะได้หามศพเราลงจากถ้ำบนภูเขาเหมือนที่เคยหามศพพระรูปอื่นๆ มาแล้ว อาการของโรคชนิดนี้มันร้ายแรงมาก ในบางวันไปบิณฑบาตมาแล้วฉันไม่ได้ ไปบิณฑบาตไม่ได้ฉันอาหาร เราจึงใช้สมาธิสู้กับโรคอยู่อย่างนั้น

ชาวบ้านมานิมนต์ลงไปจากถ้ำ เพราะเขากลัวว่าเราจะตายและเป็นภาระให้เขา เราจึงลงจากถ้ำไปหลายวัน เมื่อย้อนกลับขึ้นมา จึงได้ทราบว่าพวกชาวบ้านใจบาปยิงเสือใหญ่ ตัวที่มันเฝ้าหน้าถ้ำตายไป พวกชาวบ้านเขามาเล่าให้ฟังว่าเสือใหญ่โดนยิงครั้งแรกยังไม่ล้ม ครั้งที่สองจึงล้ม พอมันล้มลงก็มีเสียงร้องไห้ดังระงมไปทั่วบริเวณ

พรานพวกนั้นเขาก็ใช้อุบายแก้ คือร้องไห้ตามเสียงนั้นไป นานพอสมควรเสียงร้องไห้นั้นจึงหยุด พวกเขาจึงเข้าไปนำร่างเสือออกมาได้ ภายหลังพวกเขาจึงเอาน้ำมันของเสือตัวนั้นมาถวายเราขวดบักใหญ่เลย เราก็ได้แต่ปลงธรรมสังเวชเท่านั้น...


หลวงปู่ศรีเล่าเรื่องสามเณรบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน

สามเณรบุญนาคท่านเคยมาภาวนาที่ถ้ำพระเวสนี้ เวลาท่านไป ไปแบบเราไปกับท่านไม่ได้เพราะท่านเด็ดเดี่ยว ธรรมกล้าหาญ ผู้ใดขอไปด้วยท่านไม่ห้าม แต่จะไปด้วยได้ไหมเท่านั้นแหละ ต้องต่างคนต้องอาศัยตัวเองนะอย่าไปหาพึ่งคนอื่น อันนั้นท่านไม่ได้เกี่ยวข้องกับใคร ปลุกก็ไม่ปลุกด้วยนะ เดินทั้งวัน ไปถึงที่พักก็ไปพักบนหลังเขาโน่น พอรู้สึกตัวขึ้นตอนไหนแต่งของได้แล้วไปเลย ไม่มีปลุกใคร ใครไม่ลุกก็แล้วแต่ เอาถึงขนาดนั้นนะท่านฝึกหัดใจ

ครั้งหนึ่งสามเณรบุญนาคและเพื่อนไปนอนอยู่บนข้างหลังเขา พอดีเสือตัวหนึ่งมานั่งเฝ้าอยู่ เพื่อนอีกคนยังนอน ยังนอนเฉยอยู่ สามเณรบุญนาคแต่งของเรียบร้อยก็เดินไป เสือนั่งเฝ้าอยู่ก็ไม่ปลุกกันเลย เดินหนีเที่ยวกรรมฐานต่อไปเฉยเลย ต้องพึ่งตนเอง ไม่ทราบว่าเสือกินแล้วหรืออย่างไร เที่ยวหากันก็ไม่เห็น ท่านเอาถึงขนาดนั้นนะ เพราะท่านปฏิบัติจริง สละโลกจริงๆ

บางครั้งก็ขึ้นไปเดินบนขอนไม้มองหาทาง ขอนไม้ไม่ใช่ขอนไม้ แต่มันเป็นงูใหญ่นะ ขนาดเท่าขอนต้นยางก็มีนะ งูตัวใหญ่ งูยาว เป็นเส้น ๒ เส้น ๓ เส้น ท่านชอบไปตอนกลางคืน ไปแบบไม่มีทาง จะไปทางไหนไปเลย เชื่อธรรมะเป็นหลัก เชื่อใจเจ้าของนั่นแหละ แต่ว่าสมาธิท่านกล้าหาญนะ ช้างเสืออะไรไม่มีทางกลัวเลย งูเงี้ยวเขี้ยวขอ เสือช้าง ไม่ได้เกี่ยวไปเลย ตั้งสติดีๆ แล้วไปได้ ไอ้เรื่องของใจนี่สำคัญยิ่ง


พระ ผี เทวดา

ที่ถ้ำพระเวส หากผู้ใดภูมิจิตภูมิธรรมไม่ถึงหรือถ้าคนทำไม่ดีพวกเขารู้หมด ถ้าใครทำไม่ดีแล้วยุ่งเลย ผู้ที่ได้ผลประโยชน์จากการมาปฏิบัติก็มาก ผู้ที่เกิดวิบัติจากการปฏิบัติผิดก็มีไม่น้อย เราเกิดป่วยเป็นไข้มาเลเรียอย่างหนัก จนชาวบ้านเขานิมนต์ลงมาอยู่ทางวัดป่าบ้านนาแกน้อย ในขณะนั้นหลวงพ่อผงขึ้นไปอยู่แทน หลวงพ่อผงได้ ๘ พรรษา ไปอยู่คืนแรกเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนาอยู่ไม่หยุด

...พอตกกลางคืนมา “ผง ผ้งๆ หนีๆ อย่ามาอยู่นี่” เสียงดังมาแต่ไกล ขนลุกซู่ๆ ขึ้นทันทีเลย อยู่ในป่าในเขาห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๔-๕ กิโลเมตร ใครจะไปรู้จักชื่อท่าน ท่านก็ไม่ยอมหนี เร่งภาวนา ทั้งนั่ง ทั้งนอน ทั้งเดินอยู่นั่น

คืนที่ ๒ เรียกมาอีก เสียงใกล้เข้ามา เสียงดังกว่าเดิมอีก “ผง ผงๆ หนี อย่ามาอยู่นี่ มันเคียงที่ไปที่มา (ขวางที่ไปที่มา)”

“เอ๊ะ...ใครหว่า?” หลวงพ่อผงขนลุกซู่ขึ้นแรงกว่าเดิมอีก

คืนที่ ๒ ท่านก็ไม่ยอมหนี ดันทุรังอยู่นั่นหละ เขามาเตือนสตินะ ท่านก็เร่งทำสมาธิภาวนา พอคืนที่ ๓ มาอีก คราวนี้เข้ามาถึงตัวเลย “ผง...หนี อย่ามาอยู่นี่” ว่างั้น กุมหักหอ (พยายามหักคอ) อึกอัก...สู้ตายกันใหญ่เลย พอรุ่งสางขึ้นมาเก็บกลดเก็บบาตรวิ่งหนีเตลิดเปิดเปิงลงเขาไปเลย

หลังจากนั้นท่านอาจารย์คำดี (พระทางจังหวัดยโสธร) ขึ้นไปอีก ไปอยู่ได้ ๖-๗ วัน เท่านั้นแหละ ชาวบ้านไม่เห็นมาบิณฑบาต ขึ้นไปดู เป็นไข้สลบไป ได้หามท่านลงมา

ชาวบ้านถิ่นแถวนั้น เมื่อเห็นพระธุดงค์มาที่ถ้ำ ก็จะคอยดูว่าจะอยู่ได้สักกี่วัน พระมาอยู่ที่นี่ไม่เป็นอย่างหนึ่ง ก็เป็นอย่างหนึ่ง ชาวบ้านเล่าว่าได้ขึ้นไปหามพระที่นอนสลบไสล ลงมาเป่าน้ำให้ฟื้นกันอยู่เรื่อยๆ

สมัยเราไปอยู่นั่น มีพระทางขอนแก่นนี่หละไปอยู่ ท่านเอาแม่ชีแม่ขาวไปด้วย ไปหาภาวนา พอตอนตะวันบ่ายไปแล้ว พากันอาบน้ำอาบท่า ถ้ำมันยาว ยาวประมาณ ๔-๕ เส้น ไปอยู่ตามหน้าผา พอค่ำมาเท่านั้นและภูเขางึบงับๆ เหมือนมันจะพังลงมาทับคน อยู่ไม่ได้เตลิดหนีไปในตอนกลางคืน พวกเจตนาไม่ดีเขาดูใจก็เห็นเลย

พอใกล้ฤดูเข้าพรรษา มีกลับคืนมาอีก ๖-๗ องค์ กลับคืนมาจะมาจำพรรษาเดือนนั้นเหลือ ๒ ตาย ๕ เฮี้ยนจริงๆ ภูมิเจ้าที่เขาอยากให้เป็นคนดี ถ้าเราทำดีเขาก็รู้และเคารพบูชา


เกือบเป็นสัญญาวิปลาส

...เราไปสัญญาผิดอยู่ครั้งหนึ่ง เดินจงกรมอยู่ ๕-๖ ทุ่ม เดือนมืดๆ เขาลูกนั้นก็ลอยฟู้บเข้ามาอยู่ใกล้ๆ ก้าวขาไปก็ถึง เอ๊ะ! ภูเขายังไง! ถึงจะไหลร่นเข้ามาหากันได้ เดินพิจารณาสังเกต ดูมันผิดปกติ ไม่ใช่น่า มันเป็นสัญญามาเตือน พิจารณาทดสอบดูก่อนน่า

...พิจารณาดูร่างกายตัวเอง กำหนดดูตามหัว ตามผม ตามฟัน ดูผิดปกติไปหมด อ้าว! สัญญาไม่ถูกแล้ว

...พิจารณาดูฟัน มันก็เท่าจอบ มันไม่ได้ใหญ่ปานนั้นน่า นึกอยู่ในใจสอนตัวเอง ถ้าเป็นของธรรมดามันก็ไม่ใหญ่ถึงปานนั้น

...พิจารณาดูแขน มันก็เท่าลำตาล มันไม่ได้ใหญ่ปานนั้น มันผิดปกติก็เลยไม่เชื่อมัน

...พิจารณาดูภูเขา มันวิ่งเข้ามาหากัน ถ้าหากเดินลงไปนั้นบันได ๑๒ ขั้นมีแต่หิน พลัดตกลงไปตายเท่านั้นแหละ สัญญาเชื่อมันไม่ได้

...พิจารณาดูความสว่างไสว สว่างโร่มาเลยนะ เหมือนกับแสงตะวัน มันจะสว่างอย่างไร เดือนมันข้างแรม เชื่ออยู่แต่ไม่เชื่อมาก เพราะว่าความสว่างมันเกิดขึ้นจากจิตใจเจ้าของ แล้วแต่มันจะทำไปหละ

...พิจารณาดูภูเขา เดี๋ยวภูเขาก็จะลั่นฮึบฮับๆ จะพังลงมาทับตายแล้ว ตายก็ตาม มันก็รู้จักอยู่ มันทำเหมือนเหลือเกิน แต่มันไม่ใช่


จิตนี่มันร้อยอย่างพันอย่างที่มันแสดงออกมา เรื่องของกิเลสทั้งนั้น ท่านจึงเรียกว่า สัญญาวิปลาส สัญญาไม่เที่ยง

ใจเรานี้แหละไม่เที่ยง มันทำให้คนหลง ไม่มีสติอยู่ไม่ได้แหละ จะดึงเจ้าของไปไหนก็ไม่รู้


หลวงปู่มั่นแก้สัญญาวิปลาส

พระรูปหนึ่งก็เกิดสัญญาวิปลาส พอจิตลงพึบเท่านั้นแหละทุกข์จะล้มจะตาย พิจารณาดูตัวเองน้ำตาไหล มองเห็นคนกำลังไถไร่ไถนา ก็วิ่งไปดึงแขนเขาออกมาจากคราดจากไถ นี่ ความสุขอยู่ที่นี่ จะพาไปดู เป็นบ้าถึงขนาดนั้นก็มีนะ เป็นพระนะ เราไม่เคยคิดเคยฝันว่ามันจะเป็น เวลามันเป็นมาแล้ว มันหากเป็นนะ ถ้าสติไม่พอ จะไม่รู้สึกฟ้ารู้สึกหมอกหรอก

ยังมีอีก พระรูปหนึ่งเป็นบ้า จิตมันพลิกแพล็บเดียวเท่านั้นแหละ หลงบ้าเลยคนเรา แก้อย่างไรก็ไม่หาย ชาวบ้านพาไปหาหลวงปู่ใหญ่หลวงปู่มั่น ที่วัดหนองผือนาใน สกลนคร ท่านแนะให้นิดเดียวเท่านั้นแหละ หายขาดเลย

มันไม่มีค่าอะไรเลยนะคนเรานี่ ผู้ไม่ได้ฝึกหัดอบรมจิตใจ ปล่อยมันไปมันก็ไปทั่ว เรื่องของสติกับข้อวัตรปฏิบัติ นี่เป็นเรื่องสำคัญ เอาแค่นี่แหละให้มันได้ กำหนดวันเวลา ยามไหนเวลาไหนต้องมาให้ได้ การฝึกสติให้มีความระมัดระวัง กลัวแต่มันจะผิดพลาด อันนี้เรียกว่าเป็นการฝึกสติตัวเอง ฝึกให้จิตใจเอาการเอางาน ให้จิตใจละเอียดถี่ถ้วน ตัวนี้แหละจะยังคนให้เป็นคน ถ้าตัวนี้ไม่มี จะเผอเรอเป็นโรคประสาทเป็นบ้าไปก็มากมาย แต่คนก็เห็นว่าเป็นเรื่องทำยาก มันจะยากอะไร ยากตรงที่เราฝืนมันสักหน่อย ให้ทำจนชำนิชำนาญเคยชิน จนเป็นนิสัย ฝืนบ้างตั้งแต่เริ่มแรกนี่แหละ เดี๋ยวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ว่ายุ่งว่ายาก เดือดร้อนตามแต่จิตใจจะหลอกไป เพราะเราเคยทำตามเขามาพอแล้ว ก็ต้องฝืนดูบ้าง ถ้าทำไปตามแบบเขา ก็อยู่อย่างนั้น อยู่กี่กัปป์กี่กัลป์ก็เหมือนเก่านั้นแหละ ไม่ปรับปรุงแก้ไข ไม่ว่าแต่งานภายนอกหรือในตัวของคนเราทุกวันนี้ มันก็อยู่ได้ด้วยการปรับปรุงแก้ไข เหมือนอย่างเขาพัฒนาบ้านเมือง การพัฒนามันก็ต้องแก้ต้องไข อันไหนพอเอาออก อันไหนพอเอาไว้ อะไรพอปรับปรุงใหม่ก็ต้องแก้ไป ลักษณะปรับปรุงจิตใจก็เหมือนกัน จะปล่อยไปตามอารมณ์ก็แล้วกัน แม้จะไปกอดขาพระพุทธองค์อยู่ ก็ไม่ได้ จับชายจีวรอยู่ ก็ไม่ได้ ท่านก็ว่าอยู่ไกลเหมือนเดิมนั่นแหละ ใจมันไปอยู่คนละทวีปโน่น ต้องให้จิตใจเลื่อมใสเชื่อในหลักเหตุหลักผล เชื่อในผลของกรรม เมื่อทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงๆ เจ้าของนี่แหละเป็นคนได้

เรื่องของพระพุทธศาสนา ท่านฝึกหัดเอาใจดวงเดียวนี่แหละ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ สอนเอาจิตใจดวงเดียวนี่แหละ ให้มันรู้จักว่าอันไหนดี อันไหนไม่ดี อันไหนควร อันไหนไม่ควร อันไหนควรละควรลด อันไหนควรบำเพ็ญสอนใจอันเดียวนี่แหละ


นิมิต

ต่อจากขั้นนี้ไปแล้วก็มีอีกขั้นหนึ่ง ก็เป็นขั้นพอๆ ปานกลาง ขั้นนี้ได้แก่ขั้นนิมิต คือ สมาธิ ถ้าหากเป็นสมาธิอีกหน่อยหนึ่ง ขั้นนี้ทำให้เราเพลิดเพลินลุ่มหลงให้สบายไป ติดอยู่ในความสุขบ้าง ติดอยู่ในปิติธรรมบ้าง เพลิดเพลินไปตามนิมิตต่างๆ คล้ายกับเขาฉายหนังให้ดู แต่แล้วก็เป็นเรื่องของตนทั้งเพ

นั่นแหละเรื่องของคนอื่นมีน้อย ถ้าหากเราเลยไปตามนิมิตต่างๆ เหล่านั้น ก็เรียกว่าห่างเหินจากสมาธิ

เรื่องนิมิตต่างๆ เป็นเรื่องของสังขารที่ปรับปรุงออกจากจิตใจ แต่ว่าสติตามจิตไม่ทัน มันก็ยกเรื่องให้เราออกไปข้างนอก แต่แล้วก็ไม่ใช่อย่างอื่น ความจริงก็เป็นเรื่องของจิตใจของเรามันปรุงแต่งออกไปนั้น ในตัวสังขารก็นึกว่าเป็นเรื่องอย่างอื่น บางทีก็เห็นเป็นตัวผีหลอก เห็นเป็นเสือ เป็นสัตว์ร้ายต่างๆ นึกว่ามันมาจากทางอื่น แท้จริงมันออกมาจากใจเรานี่เอง สิ่งเหล่านั้นมันขึ้นอยู่กับจริงนิสัยของแต่ละบุคคลซึ่งได้กระทำมาแต่ชาติก่อน

ถ้าใครมีจิตใจโหดเหี้ยมและเคยทำร้ายทำบาปทำกรรมมามาก มันก็มีนิมิตแต่เรื่องร้ายแรงทั้งนั้นแม้แต่จะฆ่าจะแกงกันอย่างนั้นตลอดเวลา

ถ้าหากใครได้สร้างกรรมชั่วมาน้อย และได้ประพฤติปฏิบัติมาบ้างแล้วแต่ก่อน ก็มีแต่นิมิตที่นิ่มนวล โดยมากมีแสงสว่าง แต่ก็มีนิมิต นิมิตหน่อยๆ ไม่ถึงกับจะทำให้เกรงกลัวอะไร ถึงแม้จะเกรงกลัว เราก็มีทางจะอดทนได้

อันนี้พูดถึงนิมิต เรื่องนิมิตก็เคยได้พูดให้ฟังมาแล้ว เคยประสบมามากต่อมาก ในระยะหกปีนี้ดูเหมือนจะมีนิมิตเกือบทุกวัน

ถ้าจะนำมาพูดให้ฟังในเวลาปีหนึ่ง จะหมดหรือไม่หมดก็ไม่ทราบ รู้จักเรื่องว่ามันเป็นเรื่องของสังขาร มันปรากฏออกจากจิต มันส่งไปข้างนอก มันลวงให้เราหลงอยู่นั่นแหละ บางรูปติดอยู่ตั้ง ๑๑ ปีก็มี ติดในเรื่องนิมิตต่าง ไปเที่ยวพรหมโลก เทวโลก ลงไปจนถึงอบายโลก ไปถึงพระนิพพานก็ไป ใครเป็นใครรู้เห็นหมด


สู้จนชนะ

คราวไปอยู่ถ้ำพระเวส วันไหนไปบิณฑบาต วันไหนฉันจังหัน ไม่นอนมันทั้งวันทั้งคืน ถ้าวันไหนไม่ฉันนั้น พักให้บ้างในตอนกลางวัน แต่ว่าเอาท่อนไม้ไผ่หนุนแทนหมอน หัวตกนั่นจะลุกขึ้นทันที ไม่หลับ สู้อยู่อย่างนั้น เอาไปเอามามันหากชนะมันหรอก แล้วทีนี้จิตใจมันลงง่ายนะ

นั่งสูบบุหรี่อยู่ มันก็ลงนะ ทีนี้ลืมตาอยู่ก็ตามใจจิตไปเลย ใจจิตอย่างไปว่างั้น (ท้าทายจิตใจที่มักส่งออกไปข้างนอก) ทำอย่างไรก็อยู่ได้ ถ้ามันได้ ไปแล้วไปง่ายนะ ใหม่ๆ มันต้องฝืน สู้กันถึงที่ ถ้าเราชนะ มันอยู่ใต้อำนาจของเราแล้ว มันง่ายละทีเนี้ย มันยากแต่ใหม่ๆ นี่แหละ ถ้าเลยตามเขาไม่หยุดมันก็ยากหน่อย เหมือนเด็กน้อยลูกหลาน ทำอะไรก็ทำตามใจหมด มันก็ดื้อ โตขึ้นมาก็ดื้อนั่นหละ อะไรพอห้ามก็ห้าม อะไรพอว่า ก็ว่า ไม่ผิดกันแล้วกับสอนเด็กน้อย สอนใจเจ้าของ นี่ให้พิจารณาดูบ้าง ใครอยากจะฝึกเจ้าของลองดู ไม่ใช่ว่าผู้ได้บวชมาแล้ว เอ้อ!...กูเป็นพระแล้วอยากทำอะไรก็ทำ เฉยอยู่เลยบางคน เป็นพระแต่ผ้าเหลือง ต้องแก้ใจนี่นะ เมื่อหนักเข้าทำเข้าๆ จนกว่ามันยอมเต็มที่

เราได้ปฏิบัติธรรมที่ถ้ำพระเวสเป็นเวลานานพอสมควร ฤดูกาลเข้าพรรษาใกล้เข้ามาแล้ว จึงลงจากถ้ำไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านนาแกน้อย อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม โดยมีพระอาจารย์จันทร์ (วัดหนองห่าง) เป็นหัวหน้าคณะ จนกระทั่งออกพรรษาจึงได้จาริกไปในเขตจังหวัดต่างๆ เช่น สกลนคร นครพนม และอุดรธานี เพื่อเดินตามรอยทางแห่งธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท


ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑
พรรษาที่ ๔
จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ
(วัดโนนนิเวศน์) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี


ตามรอยธรรมท่านพระอาจารย์มั่น

หลวงปู่ศรีเล่าประวัติต่อไปอีกว่า...

เมื่อเราออกจากถ้ำพระเวส อำเภอนาแก จังหวัดสกลนคร ก็เที่ยวจาริกไปตามถ้ำภูผาป่าเขาต่างๆ ในจังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จนกระทั่งจวนเข้าพรรษา จึงเข้าจำพรรษาที่เสนาสนะป่าเป็นที่ทิ้งศพโนนนิเวศน์ สถานที่แห่งนี้เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๓-๒๔๘๔ ท่านพระอาจารย์มั่นได้เคยมาพักจำพรรษา การเข้ามาจำพรรษาในอารามที่ท่านวางรากฐานไว้ไม่นานนัก รอยธรรม รอยมือ รอยวัตรปฏิบัตินั้นยังคงหลงเหลืออยู่ นับว่าเป็นสิริมงคลยิ่งนัก คงได้ความคิดสติปัญญาบางประการเป็นแน่แท้ หรืออย่างน้อยก็ย่อมเป็นการทดสอบตนเองก่อนจะเข้าไปยังสำนักของท่าน

มีพระรูปหนึ่งซึ่งเป็นศิษย์กรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่นเล่าให้ฟังว่า ในคราวที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่เสนาสนะป่าโนนนิเวศน์นี้ ศิษย์ติดตามอุปัฏฐากท่านพระอาจารย์มั่น ในครั้งนั้นคือ พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท การแสดงธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ๕-๖ วันท่านจะแสดงธรรมหนึ่งครั้ง ศิษย์สายกรรมฐาน เช่น พระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี, พระอาจารย์ขาว อนาลโย, พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ, พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล), พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร ฯลฯ ลงจากป่าจากเขามารับฟังมธุรสแห่งธรรมด้วยความหิวกระหายในธัมโมชปัญญา (โอชะอันเกิดแต่ธรรม) ใคร่ได้ใคร่ถึงธรรมที่ท่านพระอาจารย์มั่นแสดง ประหนึ่งว่าปลาขาดน้ำ เมื่อฝนมาชโลมรด ปลานั้นจะดีใจ และลิงโลดสักปานใด

“ท่าน (ศรี) เอ๊ย...” พระรูปนั้นกล่าวขึ้นพร้อมมีนัยน์ตาวาวด้วยปีติ

“ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านมักมีปกติแสดงธรรมเรื่องจิตล้วนๆ เช่นว่า ปัญญากับสติให้รู้เท่าทันกัน ทำจิตให้เสมอ อย่าขึ้นอย่าลง อย่าไปอย่ามา ให้รู้เฉพาะปกติของจิต ให้เห็นอยู่กับปัจจุบันธรรม อย่าส่งจิตไปอดีต อนาคต ธาตุ ๘๔,๐๐๐ ธาตุ ออกมาจากจิตหมด ให้เอากาย วาจา ใจ นี้ยกขึ้นมาพิจารณา อย่าเพิ่ม อย่าเอาออก ให้เห็นเป็นปกติ เมื่อใดก็ตามที่เราส่งจิตออกนอก เป็นมิจฉาทิฏฐิ ให้รู้เห็นอยู่ในกายและจิต เป็นสัมมาทิฏฐิ การแก้จิตใจให้แก้ปัจจุบัน เมื่อแก้ปัจจุบันได้แล้ว ภพทั้ง ๓ นั้นจะหลุดออกไปหมด ไม่ต้องส่งใจไปในอดีต อนาคต ให้ลบอารมณ์ภายนอกออกให้หมด จึงจะเข้าอารมณ์ภายในได้ เพ่งนอกเป็นตัวสมุทัย เป็นทุกข์ และเป็นตัวมิจฉาทิฏฐิ เพ่งในเป็นตัวสัมมาทิฏฐิ จะเป็นนักปฏิบัติต้องเด็ดเดี่ยวกล้าหาญที่สุด จึงจะรู้ธรรมเห็นธรรม”

นี้แหละท่าน คือหัวข้อธรรมโดยย่นย่อที่ท่านพระอาจารย์มั่นแสดง ช่างไพเราะจับใจไม่รู้ลืม สำหรับพระผู้พิจารณาธรรม และผมก็จำไม่ลืมจนเท่าทุกวันนี้


ท่านพระอาจารย์มั่นโปรดผีพระยาอุตรนคร (พระยาอุดร)

เมื่อเรื่องมาถึงวัดโนนนิเวศน์แล้ว ท่านหลวงปู่ศรีจึงเล่าเรื่องพระอาจารย์มั่นมาพักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าแห่งนี้ และที่หนองน้ำเค็มให้ฟังทันทีว่า เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นจะออกเที่ยวกรรมฐานเป็นนิสัย โดยเฉพาะโปรดสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ อย่างเช่นที่หนองน้ำเค็มที่คนเขาลือว่า “ผีดุมาก”

ท่านพระอาจารย์มั่นไปทรมานผีพระยาองค์หนึ่ง อยู่ดงหนองน้ำเค็ม ท่านพิจารณาดูแล้วเห็นว่า ถ้าไม่ไปทรมานแล้วเห็นท่าจะไม่ไหว ท่านจึงไปอยู่ดงหนองน้ำเค็มถึง ๙ เดือน

ฤดูแล้ง มีผีพระยาองค์หนึ่ง แต่ก่อนเป็นพระยาอุตรนคร เมืองอุดรเดิมมีชื่อเรียกว่า อุตรนคร พระยาองค์นี้มีทรัพย์สมบัติมากเลยฝังไว้ที่ดงหนองน้ำเค็ม พอตายลงก็เลยเป็นผีนั่งเฝ้านอนเฝ้า ตากแดดตากฝน เฝ้ามหาสมบัติที่อยู่อย่างนั้น ไม่รู้กี่ชาติกี่ภพ ไม่รู้กี่กัปกี่กัลป์มาแล้ว ดังนั้น ใครไปใกล้ก็ไม่ได้ ใครไปเอาฟืนก็ไม่ได้ ถูกขย้ำหลอกหลอนทันทีเลย หวงแหนไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง บรรดาสิ่งของต้นไม้ใบหญ้าในบริเวณนั้น

ท่านพระอาจารย์มั่นท่านจึงนั่งแผ่เมตตาจิตอยู่อย่างนั้น แต่แล้วผีเจ้าพระยานั้นก็หวงสมบัติอยู่เหมือนเดิม ในขณะที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่นั้น ผีนั้นเข้ามารบกวนเรื่อยๆ มาทำขึงขังๆ ท่านไม่สนใจอะไร ผลสุดท้ายมาแสดงท่าทางอย่างไรท่านก็ไม่กลัว ท่านแผ่เมตตาจิตให้เสมอ

ท่านสอนว่า “จะเอาไปทำไมของอย่างนี้ มันเป็นสมบัติของแผ่นดินของโลก จะเอาก็เอาไม่ได้หรอก เพราะไม่ใช่ของใครๆ ทั้งนั้น จะเอาไปทำไม แม้แต่ร่างกายก็ทิ้งไว้ในโลกในแผ่นดินนี้ ถ้าใครไปยึดมั่นถือมั่นเป็นอุปาทานก็เดือดร้อนวุ่นวายอยู่ตลอดกาล เพราะของเหล่านี้มันเป็นสมบัติของโลกมนุษย์ สมมุติขึ้นเฉยๆ”

เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นพร่ำสอนนานวันเข้า ผีพระยาอุตรนครจึงปลงใจในทรัพย์สมบัตินั้นได้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นอีก สุดท้ายจึงยอมยกสมบัตินั้นถวายท่านด้วยจิตศรัทธา พอละความยึดติดในสมบัตินั้น จิตวิญญาณจึงไปสู่สุคติ ไปสู่สวรรค์ หลังจากที่อยู่ที่นั้นมานานนับกัปนับกัลป์

ท่านเอ้ย !...หลวงปู่ศรีกล่าวเล่าด้วยเสียงภาษาอีสาน...

“เมืองอุดรเมื่อก่อนผีดุมาก สมัยหนึ่งกลางวันแสกๆ มีควายตู้ (ควายดื้อ) ตัวหนึ่งวิ่งผ่านกลางเมืองอุดร สมัยนั้นท่านอาจารย์เสาร์ท่านไปทรมานเอา เป็นควายวิ่งไปวิ่งมาหายไปเลย เฮี้ยนไม่เบา”

รูปภาพ
ผาน้ำย้อย บ้านโคกกลาง จ.ร้อยเอ็ด


เที่ยวธุดงค์ผาน้ำย้อยครั้งแรก

เมื่อออกพรรษาจากเสนาสนะป่าช้าโนนนิเวศน์แล้ว หลวงปู่ศรีท่านได้เล่าถึงการธุดงค์ของท่านต่อไปว่า...

ในปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้ธุดงค์มาทางแถวผาน้ำย้อย ถิ่นนี้เป็นดงเสือ ใต้ถ้ำผาน้ำย้อยมีแต่ขี้เสือเต็มไปหมด ชาวบ้านโคกกลางมีอยู่ ๑๕-๑๖ หลังคา นี้ไม่มีถนนหนทาง ต้องเดินเท้าเข้ามา เส้นทางที่เดินไปไม่มีแดดส่อง ถ้าเดินเดือนมีนา-เมษา มีแต่จักจั่น มันเยี่ยวใส่เปียกหมด ต้นไม้ก็ไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ แต่แล้วมันก็เปลี่ยนรูปมาอย่างนี้ ใครมาก็พอจะได้เป็นการกระตุ้นจิตใจเขาบ้างว่าเป็นเรื่องของพระพุทธศาสนา ที่พูดถึงง่ายๆ น้อยๆ ความจริงแต่ละคนต้องการหาความสงบสงัด เดี๋ยวนี้หาป่ายากแล้ว

ฉะนั้นเรื่องของป่าก็เกี่ยวข้องกับพระศาสนามาหลายยุคหลายสมัยหลายพระพุทธองค์มาแล้ว พระพุทธเจ้าก่อนๆ ก็เกี่ยวกับป่าทั้งนั้น จะได้ตรัสรู้ก็อยู่ในป่า เกิดก็เกิดอยู่ป่าอย่างพระพุทธองค์ของเรา ตลอดถึงนิพพานก็อยู่ในป่าเหมือนกัน

ป่าเกี่ยวข้องกับพระศาสนานี้มาก แต่ว่าเราก็อาศัยป่าเหมือนกัน แต่บางคนก็ทำลายบ้านเรือนก็อาศัยป่าไม้ ถ่านก็อาศัยป่าไม้ ที่อยู่ที่กินที่นั่งที่นอนมีแต่ป่า พอตายก็ยังเอาฟืนไปเผา ถ้ามันอ่อนๆ ก็เอามาแกงกิน อย่างหน่อไม้ เรียกว่ากินไม้นั้นแหละ ผักนางอาง หญ้ามากมายหลายอย่าง เรียกว่าอาศัยสิ่งเหล่านี้

แต่โดยมากไม่ค่อยอยากปลูกนะคนเรา ถือว่ามันเป็นของธรรมชาติ มันมีไม่อดอยาก อย่างมะไฟ มะแงวบนหลังเขา โดยเฉพาะคนแถวๆ นี้ปีนต้นไม้ไม่เป็น รอนกิ่งก็ไม่เป็น สอยไม่เป็น เป็นอย่างเดียวคือตัดโคนต้นมันเลย

ฉะนั้นป่ามันจึงเหลือไม่มาก ผักหวานก็มีแต่ตัด ขี้เกียจขึ้นเก็บ ตัดพอเสมอหัวเข่า บางครั้งก็เมตรหนึ่งนี่แหละ เดินไปเก็บไป เดินไปเลย นี้ประเพณีเขา มันไม่อดไม่อยากสมัยก่อน

ฉะนั้นป่าภูเขาอยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดก็มีแค่นี้แหละ อยู่ที่อื่นก็ใช้ไม่ได้ ไม่ค่อยมีน้ำ นี่เฉพาะเขตร้อยเอ็ด อย่างเขาอื่น อย่างกาฬสินธุ์ อย่างยิ่งแม่เผด แต่ก่อนช้างก็มาก บริเวณเหล่านี้เราเดินท่องเที่ยวธุดงค์ผ่านมาแล้วทั้งนั้น”

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต


ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒
พรรษาที่ ๕
จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน
อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
(ปัจจุบันวัดป่าภูริทัตตถิราวาส)


ใต้ร่มธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น

หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้เล่าประวัติของท่านต่อไปว่า

“เราได้ท่องเที่ยวไปวิเวกตามถ้ำตามผา ตามป่าตามเขาหลายลูกหลายหน่วย คงพอตัวแล้ว” ต้นปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ จึงตัดสินใจเดินทางจากภูเขาเขียว ดงมะอี่ จังหวัดร้อยเอ็ดฯ ไปยังอำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร มุ่งเร่งฝีเท้าผ่านป่าเขาด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว หวังเข้าไปหาท่านพระอาจารย์มั่นแต่เพียงผู้เดียว เพื่อเข้าไปกราบนมัสการฝากตัวเป็นศิษย์ใต้ร่มธรรมของท่าน ดังที่ใฝ่ฝันมานาน

เมื่อแรกเข้าไปถึง ท่านพระอาจารย์มั่นได้ถามว่า “เคยได้ไปอยู่ตามภูเขา ตามถ้ำตามป่าคนเดียวหรือยัง?”

กราบเรียนตอบท่านว่า “เคยไปบ้างอยู่ครับ”

“เคยไปเที่ยวกรรมฐานที่ไหนบ้างหล่ะ” ท่านถาม

“เคยไปอยู่ภูเขานี้บ้าง ถ้ำนี้บ้าง ก็เคยไปอยู่บ้างแล้วครับ” กราบเรียนตอนท่าน

“เอ้อ!...ก็พอมีสติอยู่บ้างเน๊าะ!” ท่านพระอาจารย์มั่นพูดเสียงเน้นๆ กังวาน นัยน์ตาน่าเกรงขามเป็นที่ยิ่ง

ส่วนทางเรานั้นแอบคิดในใจว่า “นี่...ขนาดเราได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ อย่างกล้าหาญนั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรมตลอดคืนยันรุ่ง ไปอยู่คนเดียวเสือร้องเฮ้ยๆ ฮ่งๆ อยู่ข้างๆ ก็ทำอยู่อย่างนั้นมาแล้วจนสุดแรงเกิด แทบล้ม แทบตาย”

แต่ท่านก็ยังว่า “พอมีสติอยู่บ้างเน๊าะ ถ้าอยู่คนเดียวได้จะต้องเป็นผู้มีสตินะ”

แล้วท่านก็ให้โอวาทซ้ำท้ายว่า “ผู้ที่จะมาศึกษาธรรมะกับเรา จะเป็นพระหรือโยมก็ตาม ขอให้เก็บหอกเก็บดาบ* เอาไว้ที่บ้าน ไม่ต้องนำติดตัวมาด้วย”

คำพูดของท่านผู้เป็นจอมปราชญ์ พูดเพียงเท่านั้น เราจึงเป็นเหมือนหิ่งห้อยกับแสงจันทร์ เหมือนพญาช้างกับแมวน้อย น้ำในขันกับน้ำในมหาสมุทร ฟ้ากับดิน ปัญญาญาณของท่านจึงไม่มีประมาณ ทะลุทะลวงดวงใจของเราทั้งหมดเป็นที่อัศจรรย์ ตั้งแต่นั้นมาจึงเริ่มตั้งความเพียร ให้หนักหน่วงกว่าเดิมเป็นเท่าทวีคูณ

----------------------------------------------------------
* เก็บหอกเก็บดาบ หมายถึงให้สำรวมกาย วาจา ใจ ที่เป็นพิษเป็นภัย คอยทิ่มแทงฟาดฟันคนอื่นซึ่งเป็นเสมือนหอกและดาบ



มอบกายถวายชีวิต/สัจจอธิษฐาน

ต่อจากนั้นก็ได้ฟังธรรมะของท่าน ก็ยิ่งติดใจอยู่ไม่หาย หาโอกาสประพฤติปฏิบัติอย่างเต็มที่ เอาชีวิตนี้แหละเป็นเดิมพัน ใจคิดอย่างนั้นนะ โดยมากก็ไปแต่ผู้เดียวนั่นแหละ เร่งเอาเสียให้เต็มแบบ จะได้เท่าไรอย่างไรก็ตาม ขอมอบกายถวายชีวิตต่อท่านแล้ว ส่วนอื่นเอาไว้นั่นก่อน ค่อยพูดกันทีหลัง

นี่แหละ ถ้าหากเราประพฤติปฏิบัติอย่างกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ทุ่มเทกำลังอย่างเต็มที่แล้ว มีทางได้ทุกรูปทุกนามทุกคน มิใช่ว่าจะได้เป็นบางผู้บางคน สิ่งเหล่านี้มันต้องขึ้นอยู่กับเหตุ เมื่อมีเหตุ...ผลต้องมี เหตุน้อย...ผลน้อย เหตุพอประมาณ...ผลพอประมาณ เหตุมาก...ผลมาก เหตุพิเศษ...ผลก็พิเศษ มันเป็นอย่างนั้น

เราอยู่กับหลวงปู่ใหญ่ปู่มั่น* ได้ตั้งสัจจอธิษฐานไว้ว่า “จะเร่งความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน”

ในที่สุดมันก็ได้รู้ได้เห็นธรรมตามลำดับ ไม่ว่าใครก็ตาม ถ้าตั้งใจก็ย่อมได้ ไม่ว่าผู้น้อยผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ ผู้หญิงผู้ชาย สมัยครั้งพุทธกาล เณรน้อยอายุ ๑๒ ปี ยังได้สำเร็จอรหันต์ มันอยู่ที่จิตใจ ส่วนคนน้อยคนใหญ่ก็เคยผ่านภพชาติ เคยเป็นเด็ก เป็นคนแก่มาด้วยกันทั้งนั้น เพราะเราสร้างร่างกายผ่านมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติแล้ว คนหนึ่งๆ นี้กองกระดูกใหญ่กว่าภูเขา

ธรรมะของพระพุทธเจ้ามิได้หายไปจากโลก ความศักดิ์สิทธิ์ก็มิได้หายไปจากโลกเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ประพฤติปฏิบัติ ถ้าหากเราปฏิบัติให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในตัวเรา หรือศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่อยู่ ก็เกิดจากการประพฤติปฏิบัติของเราทั้งนั้น มิใช่ขึ้นอยู่กับเวทมนต์กลคาถาหรือคาถาอาคมต่างๆ สร้างพลังของจิตใจให้เกิดขึ้น หรือมีสัจจวาจาในการประพฤติปฏิบัติ มันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเอง มันเป็นผลพลอยได้ทั้งๆ ที่เราไม่รู้จักเรื่องเลย มันต้องอยู่กับการปฏิบัติ ขอแต่เราเป็นคนจริงเสียอย่างเดียว ทำต้องทำจริง เมื่อตั้งสัจจะจะต้องทำให้มันได้ ตายก็ตาย รอดก็รอด ถ้าหากตั้งสัจจะไว้แล้ว นั่งสมาธิหรือจะประพฤติปฏิบัติเป็นแบบไหนแล้ว ไปทำลายสัจจะอย่างนั้น เป็นคนไม่จริงเลย เป็นคนหลอก ทำอะไรจึงไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ อย่างอยู่ถิ่นไหนแห่งใดเหมือนกันมันก็เกิดจากจิตใจของเรา เกิดไปจากการประพฤติปฏิบัติของเรา ว่าเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นผู้มีสัจจวาจา

----------------------------------------------------------
* คำว่า หลวงปู่ใหญ่มั่น เป็นคำที่หลวงปู่ศรีเรียกท่านพระอาจารย์มั่น



วัตรปฏิบัติต่อหลวงปู่มั่น/อดอาหาร

ปีที่เราไปอยู่กับท่านได้จับเส้นถวายท่านหลวงปู่ใหญ่หลวงปู่มั่นตลอดพรรษา คนอื่นจะไปจับเส้น ท่านห้าม จับเส้นตั้งแต่เวลา ๕ ทุ่ม ๖ ทุ่ม หรือตี ๒ มีบางครั้งถ้าท่านไม่บอกเลิกก็ไม่ต้องเลิก ปฏิบัติจริงๆ เพื่อหวังความดีงาม อยู่กับหมู่คณะมีหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต พระอาจารย์วัน อุตฺตโม และหลวงตามหาบัว ญาณสมปนฺโนเป็นพระผู้ดูแลหมู่คณะในครั้งกระนั้น

ในฤดูหนาว หลวงปู่มั่นท่านแก่เฒ่าแล้ว ร่างกายธาตุขันธ์มีอาการอาพาธด้วยโรคชรา เมื่อท่านเดินจงกรมต้องรีบนำเตาไฟไปตั้งเพื่อไล่ความเย็นในที่ใกล้ทางจงกรมต้องปฏิบัติอยู่อย่างนั้น เมื่อท่านกลับเข้าพักก็นำไปตั้งไว้ใต้ถุนกุฏิ หลวงปู่หล้าคอยเติมไฟ ส่วนเราตามขึ้นไปถวายการนวดเส้นจับเส้นบนกุฏิ

ในบางครั้งท่านเล่าเรื่องธรรมะให้ฟังว่า สติของท่านไม่เคยเผลอเลย ไม่เผลอทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งหลับและตื่น หมุนอยู่ตลอดเป็นอันเดียวกันกับจิต แนบสนิท ติดกันไปเลย จะเดินจะเหิน ทุกอิริยาบถ การพูดการจา การบิณฑบาต การขบฉัน สติไม่เคยเผลอเลยสักครั้งเดียว เราฟังแล้วก็อดที่จะอัศจรรย์ใจไม่ได้ อยากปฏิบัติให้ได้อย่างท่านบ้าง เมื่อเราคิดอย่างนั้น บางทีท่านก็กระแอม เหมือนบอกให้รู้ว่า

...อย่าคิดอย่างนั้นนะ ท่านศรี...ธรรมะจะเกิดขึ้นด้วยการคิดด้นเดาเอาไม่ได้ ธรรมะต้องเกิดขึ้นด้วยการลงมือทำด้วยตัวของเราเองเท่านั้น เมื่อท่านกระแอม สะกิดห้ามไม่ให้เราคิดอย่างนั้น เรายิ่งอัศจรรย์ใจไปแบบเลยเถิด เกินที่ท่านจะกระแอมมาสะกิดให้หยุดคิดได้อีก นี่แหละหนอปุถุชนกับพระอริยเจ้า ช่างต่างกันราวฟ้ากับดินเสียจริงๆ

ถึงแม้ว่าเราพยายามทำจิตใจให้เกิดความสงบ แต่พอนั่งไปมันเจ็บมันปวดจะล้มจะตาย หนักเข้าต้องมาลดละอาหารลง เหมือนที่เคยปฏิบัติมา เมื่อฝึกอย่างนี้อยู่บ่อยๆ ในที่สุด ฉันอิ่มเต็มที่ก็นั่งผ่านทุกขเวทนาได้ตลอด ต้องหาวิธีการทดสอบตัวเอง จนกว่าจิตใจจะเกิดความสงบ ทำกันขนาดนั้นจิตมันจึงยอมไม่ใช่ธรรมดา ผู้ที่หยาบก็หยาบมาก เราจึงรู้ว่าเราเป็นคนนิสัยวาสนาหยาบมาก แต่เราก็มอบชีวิตสู้ตายเลย เอาความตายเป็นเดิมพัน แต่มันก็ไม่เห็นตาย

ในที่สุดจิตก็พลิกคืนมา ถ้าธรรมะเข้าไปแทรกซึมภายในจิตใจ จิตอ่อนนิ่มไปเลย นั่งสมาธิตลอดคืนก็ไม่ง่วงเหงา ไม่ปวดไม่เจ็บ ไม่เหนื่อยล้า ถึงแม้ไม่ได้ฉันอาหาร ทุกขเวทนาทั้งหลายทั้งปวงมันหายหน้าหนีหมด...ไม่มีเลย มีแต่ความสุขความเบากายเบาใจ มีแต่ความสดชื่นเบิกบาน ร่างกายเบาเหมือนปุยนุ่น มันรุนแรงขนาดนั้นแหละเรื่องของจิต มิใช่จะฝึกหัดง่ายๆ แต่ว่าผู้ที่ง่ายก็มี ผู้ที่ยากก็มี แล้วแต่อุปนิสัยของแต่ละคน แต่โดยที่สุดแล้วมันก็ไม่เหลือวิสัยที่เราจะทำหรอก เอาจนกระทั่งได้


หลวงปู่มั่นสอน “ลิงติดตัง”

หลวงปู่ใหญ่ปู่มั่นนี้ ท่านไปสอนจนกระทั่งสมเด็จฯ สมเด็จฯ ท่านก็ไม่รู้ ท่านก็ไม่เชื่อ จะเชื่อได้อย่างไร เมื่อไม่เห็นเอง เราต้องอาศัยการกระทำมันจึงจะเกิดขึ้นได้

แม้ว่าองค์ท่านอายุได้ ๗๙ ปี บางวันท่านนั่งทั้งวันทั้งคืน บางครั้งก็สวดมนต์ ท่านสวดได้มาก ธรรมบทไหน มีธรรมจักรเป็นต้น ท่านสวดอยู่คนเดียว ไหว้พระสวดมนต์เช้าค่ำ ท่านสวดได้หมด

หลวงปู่มั่นท่านสอนว่า “ถ้าพูดให้มันฟังมันไม่เชื่อ เชื่ออยู่แต่ไม่ทำ ทำแต่ไม่เห็นได้ผล ถ้าเชื่อจริงๆ มันต้องทำได้สิ

แต่นี่มันฟังเล่นเฉยๆ มันไม่เห็นคุณค่าของพระศาสนา ไม่เห็นคุณค่าของธรรมะ”

หลวงปู่มั่นท่านเล่าว่า “ท่านไปอยู่บนเขา ป่วยหนัก ยิ่งป่วยท่านยิ่งนั่ง นั่งจนกระทั่งล้มลง ล้มลงท่านลุกขึ้นมานั่งใหม่ พอท่านรู้ขึ้นมาสว่างโร่เลย เสียงนกเสียงหนูร้อง รู้จักภาษาสัตว์หมด ดูซินกร้องท่านก็รู้ได้ สว่างโร่เลย”

อันนี้แหละเป็นตัวเหตุ เราจะอยู่เฉยๆ จะเกิดอรรถธรรมขึ้นมาเป็นไม่มีและมีไม่ได้ เหมือนเราหิวข้าว นั่งดูเฉยๆ จะอิ่มไม่ได้ เราต้องกินเท่านั้นถึงจะอิ่ม เราต้องลงมือกระทำ ใครๆ ก็เหมือนกัน

ท่านเคยสอนไว้อีกว่า จิตใจคนเราก็เหมือน “ลิงติดตัง” ลิงอยากไปจับตัง (ยางไม้เหนียว) จับแล้วยางเหนียวมันก็ย่อมติดมือ ติดมือแล้วก็เอามาติดตา ก็ตัวเองนั่นแหละทำตัวเอง คนอื่นไม่ได้ไปทำ พอติดตาแล้วมองไม่เห็น ไปไหนก็ไม่ได้ แล้วจะไปตำหนิใคร ตัวทำตัวเองทั้งนั้น ตัวเองฆ่าตัวเอง ตัวเองทำลายตัวเอง ติคนอื่นไม่ได้ หรืออย่างเกิดมารูปพรรณสัณฐานไม่สวย หรือเป็นง่อยเปลี้ยเสียขา จะหาว่าพ่อแม่ทำ ไม่ใช่ มันเป็นกรรมของเราเอง ทั้งนั้น เกิดจากกรรมที่เราได้สร้างไว้แต่ปางก่อนทั้งนั้น จะไปตำหนิใครไม่ได้ ตัวเองทำตัวเองทั้งนั้น เหมือนลิงติดตังนั่นแหละ ตัวเองทำตัวเอง

ก็คือใจนั่นเอง ลิงติดตังตัวนั้นก็คือใจหรือจิตเรานี้แหละ ใจมันสร้างความคิดขึ้นมาก็หลงความคิดตัวเอง สร้างอะไรก็หลงอันนั้น ตัวเองหลงตัวเอง ตัวเองบ้าเพราะตัวเอง ขณะเดียวกันผู้มีปัญญาท่านมองดู ท่านอยากหัวเราะเยาะเอาเป็นเรื่องขบขันไปเลย

รูปภาพ
พระอาจารย์มหาทองสุก สุจิตฺโต

รูปภาพ
พระอริยเวที (หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล)

รูปภาพ
พระปราจีนมุนีศรีอุทัยทิศคณาจารย์ (เพ็ง กิตฺติงฺกโร)

รูปภาพ
พระเทพวรคุณ (อ่ำ ภทฺราวุโธ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศีลวรคุณ
พระน้องชายของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : อาจารย์บุญตา แอนติค


รูปภาพ
พระธรรมวราลังการ (หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ)

รูปภาพ
พระเทพสุทธาจารย์ (หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน)


พระกรรมฐานมาคารวะหลวงปู่มั่น

ในสมัยหลวงปู่ใหญ่มั่น ท่านทำจริงจัง ต่างคนต่างเร่งประพฤติปฏิบัติไม่กลัวฝนกลัวแดด แม้มีฝนตกท่านก็เดินจงกรมอยู่อย่างนั้น โดยใจไม่ได้คำนึงถึงร่างกาย แต่ท่านเอาจิตใจเป็นหลัก ใจไม่ดีเราต้องทรมานมัน ปราบใจจนกระทั่งมันอยู่นิ่ง ต้องเป็นผู้กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ถ้าทำครึ่งๆ กลางๆ ในที่สุดก็ล้มเหลว เรารู้หรือไม่ว่า เราตามใจที่ว่ายากสอนยากมาซักกี่ภพกี่ชาติแล้ว

สมัยก่อนครูบาอาจารย์ เช่น ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล), พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม, พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล, พระอาจารย์มหาทองสุก สุจิตฺโต (พระครูอุดมธรรมคุณ), พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร, พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม, พระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี, ท่านพ่อลี ธมฺมธโร, หลวงปู่ขาว อนาลโย, ท่านเจ้าคุณอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล), ท่านเจ้าคุณปราจีนมุนีฯ (เพ็ง กิตฺติงฺกโร), ท่านเจ้าคุณเทพวรคุณ (อ่ำ ภทฺราวุโธ), ท่านเจ้าคุณธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต), ท่านเจ้าคุณธรรมวราลังการ (ศรีจันทร์ วณฺณาโภ), ท่านเจ้าคุณเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสมฺปนฺโน) ฯลฯ

เมื่อท่านเหล่านี้เข้ามากราบเยี่ยมอาการอาพาธ และสนทนาธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่น ท่านที่เป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นเหล่านี้ ท่านมักจะสอนเราว่า “ไม่ให้อยู่ในที่ดีๆ ให้อยู่ในร่มไม้ ชายป่า ชายเขา ถ้ำ เงื้อมผา ถ้าอยู่กุฏิดีๆ แล้วมันสนุกนอน มันไม่ยอมภาวนา ธรรมชาติของจิตมันหาทางสบายอยู่ถ่ายเดียว”

ฉะนั้นการฝึกหัดข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ต้องมีสติ คือการตั้งจิตตั้งใจนั่นแหละ แต่ก่อนท่านเข้าไปฝึกหัดอยู่ในภู ในเขา ในถ้ำ ขึ้นเหวไกลๆ อยู่ป่าช้างดงเสือไม่มีกลัว พวกเรากลัวถึงขนาดขาดสติแล้วไม่ได้เรื่องอะไรเลย เพราะพวกเราไม่ค่อยอยากฝึก ไปอยู่กับหมู่มันเพลิดมันเพลิน มันทะเยอทะยานเห่อเหิม ถ้าไปอยู่คนหนึ่งคนเดียว มันระวังมันกลัวตาย

รูปภาพ
(ซ้าย) หลวงปู่ขาว อนาลโย ได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระผู้เป็นดั่งเพชรน้ำหนึ่งแห่งวงกรรมฐาน”
(ขวา) หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระผู้มักน้อยสันโดษแห่งวงกรรมฐาน”



หลวงปู่มั่นให้ไปอยู่ในป่าในเขา

หลวงปู่ใหญ่ปู่มั่น ถ้าใครฝึกหัดยากท่านจะสั่งให้ไปอยู่ในป่า ในเขา ในถ้ำลึกๆ “ท่านนี้...ไปอยู่เขานั่นนะ ท่านรูปนี้...ถ้ำนั่นนะ”

ท่านจะชี้สั่งเลย แต่ให้ไปตามคำท่านสั่งนะ ถ้าไปที่อื่นแล้วมาพูดว่าไปอยู่ที่นั่นไม่ได้นะ เข้าวัดไม่ได้เลย ท่านห้ามเด็ดขาด ท่านอยากให้ได้สติ ถ้าไปอยู่อย่างนั้นมันจะได้ระมัดระวัง ความระมัดระวังนั่นแหละเป็นตัวสติ เป็นอะไรถึงระวัง ก็กลัวตายนั่นแหละ กลัวอันนั้นอันนี้อยู่นั่นแหละ อยู่กับความกลัว เอาความกลัวเป็นอาจารย์ใหญ่

เสือร้องอยู่ทางนั่น! ช้างก็ร้องอยู่ทางนี้!

ผีเจ้าป่าผีเจ้าเขาก็คอยหลอกหลอนอยู่ทางนั้น!

สังเกตดูแต่จิตใจตัวเอง หนักเข้าสติกับจิตมันก็เลยเข้าไปอยู่ใกล้ๆ กัน

“เอ้อ! ถ้าอย่างนั้นไปไหนไม่ได้หรอกเพราะมันกลัวตาย เอาความกลัวตาย เป็นตัวกดดัน เป็นอาจารย์ใหญ่ ถ้าไม่อย่างนั้นมันไม่ลงให้ มันไม่อยู่ให้ เอาอย่างนั้นก็มีนะ บางคนที่เป็นคนหยาบ”

เราก็เคยทรมานตัวเองอยู่ เพราะว่ามันฝึกหัดยาก ไปอยู่ในภูเขาขึ้นไปเดินจงกรมอยู่บนหลังภูโน้น มีเสือมีช้างอะไรไม่ได้รับรู้ ตั้งจิตอธิษฐานเดินจงกรม ไม่มีนาฬิกาก็ฟังเสียงนกร้องแมลงอะไรมันร้อง

ระยะนั้นเป็นช่วงเดือน ๓ เดือน ๔ จั๊กจั่นมันร้อง

“เอ้อ! นี่ค่ำแล้ว เริ่มตั้งแต่นี้แหละเดินจงกรม”

ทีนี่ก็นกแซงแซวร้องโน่นแหละถึงหยุด เดินมันอยู่อย่างนั้นไม่ยอมนั่งเด็ดขาด ถ้านั่งพักผ่อนผีภูเขาตัวไหนดุๆ มาหักคอมันเลย เรียกมาหมดภูเขาเลากาดักจิตใจไว้ถึงปานนั้นมันถึงจะอยู่ เดินจงกรมมันอยู่อย่างนั้นแหละ จนกว่านกแซงแซวมันจะร้อง เป็นสัญญาณว่าสว่างรุ่งสางแล้ว

นี่แหละการทรมานกาย ก็เป็นการทรมานจิต เดินจงกรมอยู่อย่างนั้นจนปลีแข้ง (น่อง) ปั้น (ตึง) หมด ยกขาไม่ขึ้น ไม่ขึ้นก็ค่อยๆ เดินเอา ไปไหนก็ไม่ได้ บางทีเสือก็จะมา พอสว่างมาหมู่กวาง หมู่ฟาน (เก้ง) เต็มอยู่ในป่า มันมาอยู่ตามที่ใกล้ๆ ก็มี เอาอย่างนั้นการฝึกทรมานตัวเอง


หลวงปู่มั่นให้ไปอยู่ถ้ำ

หลวงปู่ใหญ่หลวงปู่มั่นท่านสอนเด็ดขาดจริงๆ ถ้าถ้ำไหน ภูไหนมีเทวดา มีภูตผีปีศาจบ้าง โดยมากท่านจะบอกไปถ้ำนั้นแหละ ถ้าใครภาวนายาก “ไปอยู่นั่นซะท่าน” ท่านจะบอกให้ไปเอง ไปแล้วถ้าท่านบอกจะต้องไปนะ ถ้าท่านไม่บอกให้กลับมา จะกลับมาไม่ได้นะ

ถ้าไปแล้วเห็นไม่ถูกใจเจ้าของ เปิดหนีแล้วละก็ มาใกล้ท่านไม่ได้หละ บางแห่งเทพ เทวดาเขาเตือนไม่อยากให้นอน ให้เร่งสมาธิ เดินจงกรม นั่งภาวนา เหมือนอย่างอยู่ ถ้ำคำไฮนั่นอันนี้นอนไม่ได้เลย ถ้ำนี้ท่านอาจารย์มหาบัว เคยไปอยู่มาก่อนแล้ว

เราไปอยู่คนเดียวไปถ้ำคำไฮเดือนหนึ่ง แต่ว่าเป็นไข้นะ ฉันจังหันไม่ได้ ไปบิณฑบาตก็มองไม่เห็นทาง มันวิงเวียน แต่ว่าก็นอนบ้าง เวลานอนมันก็ไม่ยอมให้นอนนะ นอนอยู่ผู้เดียวนอนกลางวันก็ตาม กลางคืนก็ตาม ผีมันก็เอาหัวแม่มือมาจับหัวแม่ตีนนี่หละ กำแน่นๆ แล้วก็กระตุกเลย ต้องบอกผีว่า “เอ้า ให้นอนสักหน่อยก่อนนะ ให้นอนสักหน่อยก่อนมันกำลังเมื่อย” พอนอนเท่านั้น มันก็มากระตุกอยู่อีกอย่างนั้น หนักเข้าก็ไปเดินจงกรมอีก แต่ไม่กลัวนะไม่มีอะไรนะ มีแต่ฟากไม้ไผ่กว้างๆ ขนาดห้องนี้หละ

กลางวันมันก็มาดึง คิดในใจว่า “เอ๋! พวกเจ้าให้ข้าภาวนาดีแท้น้อ” ทำอยู่อย่างนั้นแหละ ใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยวดี

ที่พักมันเป็นฝาเพิงหมดนะ ๓ ข้าง มีฝาบังข้างหน้ามัดไว้ ยามกลางคืนเอาไม้ค้ำไว้ออกหมดเปิดออกทุกทาง สัตว์เสือร้ายอะไรมาก็มาเลย เสือจะมาดึงเอาลงไปกินก็มาเลย สูงประมาณเมตรกว่าอยู่กลางดง โน่นนะอยู่ฝั่งเหว มันไม่กลัวอะไรเลย กล้าหาญเด็ดเดี่ยว เดินได้หมด เดือน ๕ แดดร้อน กลางวันแสกๆ เดินจงกรมทั้งวัน พอบิณฑบาตมาฉัน มันมีบ้านอยู่ ๔ หลัง เขาใส่ข้าวปั้นเล็กๆ มาฉันพอดี มีอะไรก็ฉันไปตามมีตามได้ ฉันแล้วล้างบาตรแล้วลงจากกุฏิ เดินจงกรมจนกระทั่งหมดแสงตะวันจึงเลิก เดินอยู่นั่นจนหลังแดงหมด เดินหมดวัน (ทั้งวัน) กลางคืนก็มานั่งหมดคืนจนถึงเช้า เอาถึงขนาดนั้นนะมันถึงจะอยู่

ใจนี่ไม่ใช่ธรรมดานะ ไม่ได้พูดกับใครหละ อยู่คนเดียว พอได้กำลังบ้างอยู่นั่น ก็ดีอย่างหนึ่งมันนอนไม่ได้นอนไม่หลับ ถ้าหลับผีมันก็มาดึงขาเลย บางแห่งบางถ้ำก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ก็เป็นเครื่องเตือนของเราทั้งนั้น ถ้าไม่เอาถึงขนาดนั้นมันก็ไม่รู้สึก เรื่องของใจนี่ เมาอยู่แต่เรื่องของตัวเองนั้นแหละ ถ้าคิดดูชัด ๆ มันก็ทราบมันหนามากนะ คิดดูตัวเจ้าของถ้าไม่ฝึกหัดบ้าง ไม่พอที่จะเห็นหน้าเห็นหลัง สิ่งเหล่านี้หมู่เพื่อนก็ลองดู จะหนาจะบางก็คงรู้จักหรอก ลองฝึกสมาธิตั้งจิตกำหนดดู ก็รู้อยู่ในจิตตลอดเวลา มีสติกำหนดจดจ่อ แนบสนิทกับจิตใจอยู่นั่น การไปการมา การเดิน พอตื่นขึ้นมาตอนเช้าให้ตั้งสติไว้เลย ไปไหน มาไหนก็ให้รู้จัก นั่งอยู่ไหนก็ให้รู้จักเรื่องของเจ้าของตลอด เดินไปบิณฑบาตก็รู้อยู่อย่างนั้น กลับมาฉันก็ให้รู้อยู่ให้มันรู้ได้ตลอดวันลองดูซิ ไม่ให้ส่งใจไปทางอื่นรู้อยู่ในเรื่องของจิต ความคิด ความนึก ถ้ารู้อยู่ตลอดวันพอไปนั่งสมาธิ จิตลงเลยนะ เราไม่ได้นั่งหมดวันหมดคืนหรอก ตั้งความรู้ ให้รู้อยู่ภายในจิตใจนั่นหละ ลุกไปลุกมาจะเดินไปเดินมา ให้รู้อยู่ในใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้ส่งออกไปข้างนอก รู้ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นจนถึงตอนเย็นตอนค่ำ

ถ้าเทียบง่ายๆ เหมือนอย่างเด็กน้อยนี่ เด็กทารกทำอย่างไรมันก็ไม่นอน พามันไปเที่ยวแล้ว พามันทำโน่น ไปนั่น มานี่ พอมันล้าเต็มที่แล้วก็นอนหลับไปเอง เรื่องของใจก็เหมือนกัน ถ้ามันไม่ล้าแล้วมันจะไม่ยอมนะ ถ้ากำลังสดๆ ร้อนๆ จะไปนั่งละ โอ้ย! ปึ๋งๆ ปั๋งๆ ไปนั่นไปนี่แล้ว ทำอะไรทำให้ร่างกายอ่อนล้า จิตใจมันก็ล้าไปด้วย ทีนี้จิตใจมันก็ลงได้ เพราะสติเราคุมอยู่ไม่หยุด

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นพระมหาเถระที่ท่านพระอาจารย์มั่นไว้วางใจ
และได้รับมอบหมายให้ดูแลพระภิกษุสามเณรในยุคบ้านหนองผือ



หลวงปู่มั่นให้ไปอยู่คนเดียว/เปรียบเทียบผลการปฏิบัติ

หลวงปู่ใหญ่หลวงปู่มั่นท่านเคยสอนว่า

“ถ้าใครตั้งสติไม่ค่อยได้ ภูเขาที่ไหนมันลำบากท่านจะจัดให้ไปเลย อยู่ที่ไหนมันมีเทวดา มีภูตผีปีศาจมากๆ ท่านจะจัดให้ไปอยู่เลย ให้ไปเพียงคนเดียวไม่ให้ไปด้วยกันหลายคน”

ถ้าอยู่ตามธรรมดานี่ โอ๊ย! มันสนุกสนานเพลิดเพลินไปตามอารมณ์

การนอนท่านก็ห้ามไม่ให้นอนฟูกนอนเบาะจนเกินไป มันนอนดีเกินไป นอนอย่างไรมันก็นอนได้ นั่งอยู่มันยังน้อยได้ เรื่องของจิต แต่มันหาวิธีอยากให้นอน นอนจิตนอนใจแม้ไม่นอนสักครั้งทำงานอยู่ตลอดวันเวลา ถ้าหากมีสติมันก็ตื่นอยู่อย่างนั้นหละ อยากตื่นตอนไหนก็ได้ ไม่อยากตื่นก็ได้ ไม่นอนสักครั้งก็ไม่หิว รสชาติธรรมะมันเป็นของเลิศขนาดนั้นนะ แต่เราต้องประพฤติปฏิบัติจนได้ประสบการณ์ ถ้าหากมีศรัทธาเร่งในการประพฤติปฏิบัติอยู่ตลอด มันจะต้องเกิดขึ้นวันใดวันหนึ่ง เพราะมันเต็มรอบ มันได้สัดส่วน แล้วมันจะเป็นไปเอง เราไม่ได้ตกแต่งมันหรอก เราไม่ได้ปรารถนา เราไมได้อ้อนวอน มีการกระทำอย่างเดียว ถึงระยะมันก็เต็มของมัน คล้ายๆ กับเทน้ำใส่ขวดถึงระยะมันก็เต็มเอง

“คล้ายๆ กับผลหมากรากไม้ จะเป็นฟักทอง แตงไทย ก็ตาม ว่าแต่เราบำรุงเหตุคือ เอาใส่ดินที่มีปุ๋ย แล้วก็มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอด หนักเข้ามันเป็นของมันเอง ผลิตดอกออกผลมาเอง แล้วก็ใหญ่โตไปตามลักษณะอาการของมัน จะมีดอก มีผล ผลเล็กผลใหญ่ ตลอดจนถึงสุกเป็นเรื่องของเขาเอง เราไม่ได้ไปดึงไปถอดขึ้น อันนี้ฉันใดก็ดี

การประพฤติปฏิบัติ บำรุงแต่เหตุอย่างเดียว คือมีการกระทำ ผลมันไปเอง เราปลูกฟักแฟงแตงไทย ใครได้ไปแต่งดอกแต่งใบมัน มันไปของมันเอง ว่าแต่มีเหตุได้สัดส่วนของมัน มันงามเองเลย ลักษณะของจิตของสติก็เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าจะอยากได้ไวๆ ร้อนๆ เอาเลย อยากให้เป็นไวๆ คิดคาดคะเนไว้ก่อนว่าอยากให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อย่างนั้นทุกข์ใหญ่เลย เราจะไปแต่งเขาไม่ได้หรอก มีแต่สร้างเหตุ มันจะไปของมันเอง บางคนนั่งไปบ้างก็อยากเป็นนั่นเป็นนี่ อยากเห็นนั่นเห็นนี่ โอ๊ย! ก็แล้วเท่านั้นแหละ ตัวนี้แหละเป็นตัวกิเลสไปบังไว้ ขวางอยู่อย่างนั้นแหละ ตั้งไม่ได้ สร้างแต่เหตุอย่างเดียว มันจะเป็นอะไร ไม่เป็นอะไร ไม่ได้รับรู้ ข้ามีหน้าที่ทำ ส่วนจะเกิดขึ้นมันเป็นเรื่องของเขา การประพฤติปฏิบัติศีลธรรม จะไปคาดคะเนไว้ก่อนล่วงหน้าตั้งความอยากไปข้างหน้ามันจะขวางไว้เลย เหมือนกับเขากันรั้วไว้ ทำไปเลย เรามีหน้าที่ทำ ทำมากเท่าไหร่ก็ไม่ว่า พยายามทำ ทำให้มากๆ ไม่ต้องท้อถอย ผลมันหากเกิดขึ้นเองหรอก” หลวงปู่มั่นท่านพร่ำสอนอย่างนี้บ่อยๆ


หลวงปู่มั่นเทศน์สอนพญานาค

ขณะที่อยู่บ้านหนองผือ หลวงปู่ใหญ่ปู่มั่นท่านเล่าว่า

“มีพวกเทวดา อินทร์ พรหม นาค หรือพวกกายเทพกายทิพย์เหล่าอื่นมาไม่หยุด มาเป็นหมู่ๆ มาแล้วหัวหน้าจะสั่งนั่งพับเพียบกราบๆ พร้อมกัน แล้วก็อาราธนา เขาไม่ว่า พฺรหฺมา จ โลกา เหมือนพวกเราหรอก เขาสงสัยธรรมะข้อไหนก็ถามขึ้นเลย ถามแล้วท่านก็อธิบายให้ฟัง เขาจะมารายงานก่อนทีแรก ว่ามาจากทิศไหนเขาไหน มามีจำนวนเท่านั้นเท่านี้ วันนี้อยากมาฟังธรรมะหมวดนี้หมู่นี้ ก็จะว่ามาเลย ท่านเทศน์ให้ฟังจบแล้ว กราบพร้อมกันไปเลย เทศน์ให้เทวดาฟังนี่ง่าย ไม่เหมือนมนุษย์ขี้เหม็น” ท่านว่าอย่างนั้นแหละ

และท่านยังเล่าเรื่องน้องชายท่านในอดีตชาติ ตายไปเกิดเป็นพญานาค ที่ภูเขาบริเวณไม่ห่างไกลจากวัดหนองผือให้ฟังว่า

“แม้แต่น้องชายคนหนึ่งของท่านก็ยังมา อยู่เขาใกล้ๆ กันนั่นแหละ เป็นพญานาค หมอนี่เคยเป็นน้องชายมาชาติหนึ่ง มาฟังเทศน์ท่านนั่นหละ เห็นรอยอยู่ หมู่พระท่านปัดกวาดตอนเช้าก็เห็นรอยใหญ่ๆ อยู่ใต้ถุนกุฏิท่าน แต่ว่าท่านยังไม่ออกจากห้อง ท่านออกมาท่านก็บอกว่า “เมื่อคืนนี้พญานาคมาฟังเทศน์นะ” ท่านรู้จักถึงขนาดนั้นนะ คือมนุษย์เขาไม่รู้จักเรื่อง แต่เรื่องเหล่านี้เราก็เชื่ออยู่ ท่านแนะนำมา โอ้ย! อยู่กับท่านนาน แนะนำมาเป็นแนวทางให้นอบให้น้อมมาเป็นโยนิโสมนสิการ ใคร่ครวญดูถ้าเห็นว่าเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติยกระดับฐานะของจิตให้สูงขึ้นก็เป็นบุญเป็นกุศลของแต่ละบุคคล”


หลวงปู่มั่นท่านฟังเทศน์อยู่ตลอดเวลา

ครูบาอาจารย์ชั้นปรมาจารย์อย่างท่านหลวงปูใหญ่ปู่มั่น ท่านว่า

“ฟังเทศน์อยู่ตลอดเวลา เพราะว่าอายตนะทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันรับอยู่ตลอดเวลา มีแต่เขามาแสดงธรรมให้ฟัง

นี่ไม่จำเป็นจะต้องฟังอะไรมากมายก่ายกอง ฟังแล้วก็น้อมเข้าไปสอนจิตใจตัวเอง สอนเจ้าของเองนั่นหละ ทั้งๆ ที่ไม่รู้จักตัวมัน เรื่องของจิต เป็นการกระตุ้นเตือนจิตใจตนเองอยูตลอดเวลา มันก็ได้ประโยชน์

เราอย่าส่งไปตามอารมณ์ภายนอก ดึงมันเข้ามาหาตัวเจ้าของเอง เพราะว่าต้นเหง้าเค้ามูลมันอยู่กับตัวของเรา”


อันนี้ก็เรียกว่าวิธีฟังเทศน์ทั่วๆ ไป เพราะว่าเครื่องรับของเรามีอยู่ทุกๆ คน อายตนะภายในมี ภายนอกก็ต้องมีเท่าๆ กัน มีดีกับชั่ว ๒ อัน เรื่องของความไม่ดีเราก็พยายามลดละ เรื่องของความดีก็พยายามบำเพ็ญ ให้เกิดให้มีขึ้น มันก็หมดเท่านั้น

ฟังอยู่ตลอดเวลา ได้ยินอยู่ตลอดเวลา เห็นอยู่ตลอดเวลา รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ก็ล้วนแต่เป็นธรรมะ

เวลาเรานั่งสมาธิ สังเกตดูในร่างกาย จิตใจของเรา ก็เรียกว่า “ดูธรรม”

มันจะมีปฏิกิริยาแบบไหน แสดงขึ้นมาในร่างกาย เราก็รู้อยู่ทุกระยะ ถ้าหากมีสติกำหนดจดจ่อ ดูอยู่ในเรื่องของตัวเอง มันไม่ส่งไปทางอื่น เรื่องอารมณ์ทางนอกพักไปเสียก่อน ไม่ต้องเกี่ยว มารู้อยู่ในตัวของเราเอง เพื่อรวบรวมพลังของใจให้มันเป็นก้อนใหญ่สักหน่อยจนกว่ามันจะมีความสงบ

คำว่าสงบในที่นี้ สงบจากอารมณ์ภายนอก มาสังเกตดูอยู่ในปฏิกิริยาซึ่งแสดงออกทางกาย วาจา และจิตใจของเรา มารู้อยู่ในส่วนภายในอันนี้ ก็เรียกว่า “เป็นผู้ตั้งสติไว้”

สติคือความระลึกรู้ เป็นธรรมะชนิดหนึ่ง เป็นคู่ของใจ ประเภทรู้เหมือนกัน แต่ใจมันรู้ไปข้างหน้า มันไม่รู้ถอยหลัง ถ้าไม่มีกำหนดจดจ่อไว้

อุปมาเหมือนกับเรือ เรือไม่มีคนพายก็ไปตามเรื่องของมัน แต่ก็ไปได้เหมือนกัน ขวางลำไปตามเรื่อง เรือใหญ่ก็มีหางเสือ ถ้าหางเสือไม่ทำงาน มันก็ไปตามเรื่อง ขวางหน้าขวางหลังไปหละ ลักษณะมีสติคือ หางเสือทำงาน ไม้พายก็ทำงานตามหน้าที่ ทำให้เรือไปตามเป้าหมายที่เราต้องการ นี่ฉันใด

การตั้งสติ กำหนดกับจิต ก็คล้ายๆ ทำนองเดียวกันฉันนั้น

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
กุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส)
ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในปัจจุบัน


รูปภาพ

รูปภาพ
ภายในกุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส)

รูปภาพ
รูปปั้นหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส)

รูปภาพ
ทางเดินจงกรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หรือภูริทัตตจงกรม
ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=42584

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย (ปางชนะมาร, ปางสะดุ้งมาร)
ที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต กราบไหว้บูชาอยู่เป็นประจำ
เมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) จังหวัดสกลนคร
ฐานของพระพุทธรูปเป็นแท่นไม้ซึ่งท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้ประกอบขึ้นด้วยองค์ท่านเอง
ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ “อาคารพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ”
วัดป่าสุทธาวาส บ้านคำสะอาด ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร



อำนาจของ “พุทโธ”

...สมัยที่อยู่กับหลวงปู่ใหญ่ปู่มั่น มีเถ้าแก่คนหนึ่งเป็นคนกรุงเทพฯ ในระยะนั้นเป็นสงครามอินโดจีน เถ้าแก่นั้นก็จะมาฝึกสมาธิ มาสร้างพลังจิตใจให้เกิดขึ้น พอดีเขามาวางระเบิด ตึกของแกก็อยู่ในแผนที่เขาวางระเบิดนั้น ในขณะนั้นจิตแกเป็นสมาธิ ตึกสองข้างพังทลายไปหมด คนตายมากมายก่ายกอง ตึกของแกพอโย้เย้นิดหน่อย แกนั่งสมาธิ ไม่ได้ยินเสียงระเบิดนั้นเลย ทั้งที่เสียงระเบิดดังตูมตามสั่นสะเทือนไปทั่ว พอแกรู้สึกตัวขึ้นมาแล้วร้องโอ้โฮ...“พุทโธ นี่ดีจริงๆ” แกว่า หลังจากนั้นจึงได้รวบรวมสิ่งของเต็มรถ เอามาถวายให้ท่านพระอาจารย์มั่นบังสุกุลที่วัดป่าบ้านหนองผือ จังหวัดสกลนคร “เห็นอำนาจพุทธะจริงๆ” ว่างั้น “พุทธะตัวเดียวเท่านั้นแหละ” แกว่า

นี้แหละพลังของจิตใจเป็นของแปลก ถ้าหากเราระลึกถึงพุทโธบ้าง อารมณ์จะจ่ออยู่ในจุดนั้น นิ่งไม่ส่งหน้าสั่งหลัง มีพลังเกิดขึ้น พลังของจิตเป็นของสำคัญ ถึงแม้ว่าจะไปทำกิจอย่างอื่น ถ้าเรามีพลังของใจอย่างว่าแล้ว...เหวย!...พอที่จะเป็นอะไรก็ไม่เป็น สิ่งเหล่านี้เป็นของแปลกเหมือนกัน ครั้งพุทธกาลก็เคยมี และปัจจุบันก็เห็นประจักษ์อย่างที่กล่าวมาแล้ว


หลวงปู่มั่นท่านรู้หมด

ยกตัวอย่าง หลวงปู่ใหญ่ปู่มั่นท่านรู้นะ ใครไปทำอะไรอยู่แกไหน (มุมไหน) รู้หมด คนเอาของไปใช้แล้วลืมไว้ที่นั่นที่นี่ ท่านเห็นหมด ถ้าท่านรู้ว่าไปลืมไว้แล้ว ท่านเดินไปบายมาโลด (เก็บมาเลย) ท่านเห็นหมดเลยเรื่องข้างนอก ใจเป็นของวิเศษขนาดนั้นเลยนะ ไอ้เรามีแต่ควานหากัน ฟ้องร้องกันมะนึงทึงทืด (อีรุงตุงนัง) ฆ่ากันตายไปหลายแบบ สร้างแต่บาปแต่กรรมกันอยู่นั่นแหละ

รูปภาพ
แม่ชีนารี การุณ อริยสาวิกาผู้มองเห็นธรรม
ศิษย์อาวุโสของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต



แม่ชีรู้วาระจิต ระลึกชาติ

อันนี้ทุกคนก็พยายามประพฤติปฏิบัติ ให้มันรู้ให้มันเห็นดูซิ ไม่ว่าแต่พระเจ้าพระสงฆ์พวกฆราวาส ญาติโยมประพฤติปฏิบัติก็สามารถรู้ได้เช่นกัน อย่างเฒ่าแม่ชีนารี เขาไล่ออกจากวัดป่าสุทธาวาส นี่อายุร้อยกว่าปี นี่แกก็ไม่ได้จากอะไร ก็ได้จากคำว่า พุทโธๆ ตัวเดียวเท่านั้น ท่านอาจารย์สมออยู่อุดรฯ นี่แหละไปสอนให้ อยู่บ้านนอก แกก็เชื่อมั่นลงไปว่าให้เอาพุทโธ ทำงานอะไรก็เอาแต่พุทโธตัวเดียว จะกินข้าวกินน้ำทำการทำงานก็ทำอยู่อย่างนั่นแหละ เอาแต่พุทโธอยู่ไม่ได้หยุด ถึงระยะที่มันได้สัดได้ส่วนก็ลงปุ๊บทันที ลงวึ้บเลย ร่างกายพังออกหมดเหลือตั้งแต่ใจกับร่างกระดูก นั่นดูแต่ใจตัวเดียว ใจจะสว่างหรือไม่สว่างก็อยู่อย่างนั้นแหละ กินข้าวก็ไม่ได้ เอาคำข้าวเข้าปากมองเห็นก็เลยเกิดสะอิดสะเอียน จะอาเจียนออกอยู่จนกินข้าวไม่ได้ เลยมาหาท่านหลวงปู่มั่น ท่านเลยแนะนำใหม่ จึงค่อยพอกินข้าวได้ แต่ว่าปัญญายังไม่ค่อยเดิน แต่ผลสุดท้ายก็รู้หมด

ขนาดพระเจ้าพระสงฆ์ก็ยังได้ไปถาม คุณยายพิจารณาดูให้หน่อย จะภาวนาพอจะได้นั่นได้นี่บ้างไหม แกพิจารณาให้รู้จักหมดแหละ ใครได้ขั้นไหน อยู่ขั้นไหนรู้จักหมด ระลึกชาติในอดีตได้ว่า ตนเองเกิดเป็นผู้ชาย บวชเป็นพระเป็นอาจารย์ ตอนหลังเลยกลับมาเกิดเป็นผู้หญิง สาเหตุเป็นผู้หญิงแกเล่าให้ฟังหมด โน่นนะ ท่านรู้ถึงขนาดนั้นนะ ไม่ใช่เรื่องธรรมดานะ อาศัยพุทโธตัวเดียวเท่านั้นหละ ทำอยู่ไมหยุด เอาใจใส่อยู่เสมอ เรื่องเหล่านี้มันเป็นเรื่องทำได้จริงจังนะ ไม่ใช่สักแต่ว่าไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล สมัยนี้ก็ทำได้เหมือนกัน

ศาสนาท่านมอบไว้ในร่างกายและจิตใจของคน เมื่อเวลามีการประพฤติปฏิบัติ มันก็เกิดอยู่กับใจนั่นแหละ ตั้งแต่เราเกิดก็ยังเกิดได้ บรรดากิเลสทั้งหลายแหล่ เราไม่อยากให้มันเกิดมันก็ยังมาแทรกอยู่ มาจากไหน ความโกรธ ความโลภ ความหลง ความทะเยอทะยานเห่อเหิมร้อยอันพันอย่างมันก็เกิดขึ้นเลย ไม่ได้ไปเรียนมาจากไหน

เราต้องดำเนินการให้มันถูกตามแบบของพระพุทธองค์ที่ท่านสอนไว้ ถึงระยะได้สัดได้ส่วนมันก็เกิดขึ้นเอง มันเป็นของธรรมชาติอยู่แล้ว แต่เราผู้ไม่มีสติเต็ม พิจารณาใคร่ครวญมันก็ลงไปสู่อำนาจฝ่ายต่ำ ก็เลยถือว่าหมดมรรคหมดผลหมดระยะไปแล้ว ทุกวันนี้เข้าป่าเข้าดงภาวนาก็ไม่ได้อะไรหรอก หมดสมัยมรรคผลแล้ว หมดไปแต่นานแล้ว เรื่องที่ว่าหมดเวล่ำเวลาหมดครั้งหมดคราว อันนี้มันเป็นเรื่องของกิเลสมันล้อเลียนไปหรอก เขาล่อลวงอยู่ตลอดเราไม่รู้จักเรื่อง

บรรดาผู้ที่มาประพฤติปฏิบัติตั้งจิตตั้งใจมีศรัทธาเต็มที่ ได้มาบวชเป็นพระเป็นเณรมาประพฤติปฏิบัติเข้า พอจะเอาจริงจัง มันก็หากะเท่เล่ห์เหลี่ยมหลอกล่อไปทางอื่นอีก ก็หลงไปตามเรื่องของเขาแหละ มันเป็นอย่างนั้น ฉะนั้นการฝึกหัดสติท่านจึงจัดว่าเป็นของสำคัญจนกว่าจะให้มันเกิดปัญญารู้เท่าทันในเรื่องอารมณ์ต่างๆ ทั้งหลายแหละว่า อะไรเป็นอะไรต้องพิจารณาให้มันละเอียด พิจารณาให้มันชัดๆ ถ้าไม่อย่างนั้นมันจะหลงไปตามเล่ห์เหลี่ยมของเขาหมด สัตว์ทั้งหลายมันจึงมีมากในโลกอันนี้จนไม่อยากให้เกิด มันมากต่อมากเลี้ยงกันไม่ไหว ต้นไม้ทรัพยากรต่างๆ ก็ฉิบหายไปหมด ในน้ำเหนือดินค้นเอามาใช้จนจะหมดแล้ว คนมันมากต่อมาก แต่ถ้ามากมีศีลมีธรรมมันก็สบายแหละ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

หลวงปู่มั่นป่วยหนัก

หลวงปู่ใหญ่หลวงปู่มั่น ท่านป่วยหนักๆ เข้า เราเอายามาให้กินเท่าไรก็ไม่ได้เรื่อง ท่านก็จะไม่เอา กินไปดูซัก ๖-๗ วันไม่ได้เรื่อง ท่านหว่าน (โยน) เข้าป่า ข้าวก็ไม่ต้องกินมัน นั่งดูแต่จิตใจอย่างเดียว ยามป่วยไข้ท่านสอนว่า

“ใจดวงนี้สำคัญ ไม่ใช่ของง่ายนะ โรคภัยไข้เจ็บก็มากับใจที่หมุนเวียนเกิดแก่เจ็บตายนั่นแหละ ไม่อยากให้มีโรคก็ให้เอาชนะกิเลสที่อยู่กับใจ ต้องฝึกหัดทรมานอย่างหนักถึงค่อยจะรู้เรื่องของจิตใจ ใจของใครก็ฝึกหัดได้ทุกคนนั่นแหละ

นี่...นี่..เราถึงค่อยได้ฝึกหัด ได้มาบวชมาเรียน มาเรียนในจิตใจของตัวเอง บวชเป็นพระเป็นเณร บวชเป็นหลวงพ่อหลวงตาอะไรก็ตาม จะมาแก้เอาจิตใจตัวเองเท่านั้นแหละ อย่างอื่นอย่าไปเกี่ยว เกี่ยวก็เกี่ยวพอเป็นประเพณี แต่เร่งเข้าในจิตใจนี้ ถึงแม้จะนั่งคุยอยูกับเพื่อนก็ต้องดูในใจ ไม่ต้องดูอย่างอื่น นี่เรียกว่าเป็นการฝึกหัดอบรมในด้านจิตใจ”


โอวาทสุดท้าย-อนุปาทิเสสนิพพาน

เมื่อท่านป่วยมาได้ระยะหนึ่ง สิ่งหนึ่งที่มนุษย์จะต้องพบเจอเป็นประจำนิสัย นั้นก็คือการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก แต่การพลัดพรากนั้นมิใช่การพลัดพรากอย่างธรรมดา หากว่าเป็นการตายจากกัน การตายของท่านผู้ยิ่งใหญ่ มากล้นด้วยบุญญาบารมี อย่างเช่น หลวงปู่ใหญ่ปู่มั่น ย่อมยังความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงมาสู่ปวงพระกรรมฐานอย่างหาประมาณมิได้

หลวงปู่ใหญ่ปู่มั่นเทศน์ปีสุดท้ายวันมาฆบูชาเพ็ญเดือน ๓ ท่านเริ่มเทศน์ ท่านบอกว่า “เทศน์ซ้ำเฒ่านะ ต่อจากนี้ไปจะไม่ได้เทศน์ทำนองนี้อีกนะ” มีชาวบ้านหนองผือมานั่งฟังอยู่ข้างล่าง มีทั้งลูกเล็กเด็กแดง อุ้มนอนอยู่ที่ตัก เด็กไม่ร้องไห้ ไม่มีเสียงไอเสียงจาม ญาติโยมพระเณรไม่มีใครลุกหนีไปไหน แม้จะบ้วนน้ำลายก็ไม่มี นิ่งและเงียบ ประหนึ่งว่าโลกธาตุดับสนิทไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย จนกระทั่งท่านเทศน์จบ ท่านเทศน์ตั้งแต่ ๒ ทุ่ม จนถึง ๖ ทุ่ม

พอตกเดือน ๕ ท่านก็เริ่มป่วย จนกระทั่งเดือนอ้าย อาการของท่านหนักขึ้นเรื่อยๆ ท่านปรารภว่า “ผมไม่อยากมาตายอยู่ที่นี่ ถ้าตายที่นี่จะเป็นการกระเทือนและทำลายชีวิตสัตว์ไม่น้อย สำหรับผมตายเพียงคนเดียว แต่สัตว์ที่จะพลอยตายเพราะผมเป็นเหตุนั้นมีจำนวนมากมาย เพราะคนจะมามาก ทั้งนี้ไม่มีตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน นับแต่ผมบวชมามีแต่เมตตาสงสาร ได้แผ่เมตตาจิตอุทิศส่วนกุศลแก่สัตว์ไม่เลือกหน้าโดยไม่มีประมาณตลอดมา ผมทำไม่ลง อย่างไรขอให้นำผมออกไปตายที่สกลนคร เพราะที่นั้นเขามีตลาดอยู่แล้ว คงไม่กระเทือนชีวิตของสัตว์มากเหมือนที่นี่”

ศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของท่านคือ ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ และท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นต้น ประชุมตกลงกันว่า จะนำท่านไปยังวัดป่าสุทธาวาสตามดำริของท่าน โดยทำเสลี่ยงมีคนหามครั้งละ ๘ คน ผ่านบ้านห้วยบุ่น นาเลา คำแหว ทิดไทย โคกเสาขวัญ กุดก้อม และพักที่วัดกลางบ้านภู่

และที่วัดกลางบ้านภู่นี้เอง ท่านนั่งอยู่บนศาลาหลังคาเตี้ยๆ แล้วให้พระเปิดหน้าต่างออก มีผู้คนมานั่งกราบประนมมือออกันอยู่มากมาย บางคนก็น้ำตาไหลสะอึกสะอื้น ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวโอวาทครั้งสุดท้ายว่า “พวกญาติโยมที่พากันมามากๆ มาดูพระผู้เฒ่าป่วยหรือ ดูหน้าดูตาก็เป็นอย่างนี้หละ ญาติโยมเอ๋ย...ไม่ว่าพระหรือว่าคน สุดท้ายก็คือตาย

หัวหนึ่ง แขนสอง ขาสอง ความเกิด แก่ ตาย แท้ที่จริงเป็นตัวธรรม

...ได้มาเห็นอย่างนี้แล้วจงพากันนำไปพิจารณา เกิดมาแล้วก็แก่ เจ็บ ตาย

...ก่อนจะตาย ทานยังไม่ให้...ก็ให้ทานเสีย ศีลไม่เคยรักษา...ก็รักษาเสีย ภาวนายังไม่เคยเจริญ...ก็เจริญเสีย ทำให้มันพอ อย่าประมาท จะไม่เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา นั่นละจึงจะไม่เสียทีเสียท่าที่เกิดมาเป็นคน เท่านี้ละ พูดมากก็เหนื่อย”


หลังจากนั้นก็เดินทางมายังวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร และวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ เวลา ๐๒.๒๓ น. ท่านก็ดับขันธวิบากเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน

รูปภาพ
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พิจารณาคานหาม เตียง แคร่ไม้ไผ่ มุ้ง ฯลฯ
ที่เคยใช้ในคราวท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มาพักอาพาธที่วัดป่ากลางโนนภู่


รูปภาพ

รูปภาพ
“พิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พ.ศ. ๒๔๙๒”
ณ วัดป่ากลางโนนภู่ บ้านกุดก้อม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในปัจจุบัน
อาคารไม้ซึ่งเป็นกุฏิที่ท่านพระอาจารย์มั่นใช้พักในคราวอาพาธระยะสุดท้าย ๑๐ วัน
ก่อนที่องค์ท่านจะไปดับขันธวิบากเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานที่วัดป่าสุทธาวาส


รูปภาพ

รูปภาพ

:b50: (หมายเหตุ : ขณะที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อาพาธหนัก คณะศิษยานุศิษย์และชาวบ้านได้อาราธนาท่านขึ้นแคร่หามเคลื่อนขบวนจากวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๒ เวลา ๙.๐๐ น. ถึงวัดป่ากลางโนนภู่ บ้านกุดก้อม เวลาค่ำ ๒๑.๐๐ น. ได้พักที่วัดนี้เป็นเวลา ๑๐ วัน ท่านจึงสั่งให้ศิษย์ที่ใกล้ชิดนำท่านไปที่วัดป่าสุทธาวาส เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งเป็นวันเกิดของท่านพอดี ขบวนได้ออกเดินทางจากวัดป่ากลางโนนภู่ เวลา ๑๐.๒๐ น. มาถึงวัดป่าสุทธาวาส เวลา ๑๔.๓๐ น.

เมื่อมาถึงวัดป่าสุทธาวาสแล้ว จึงหามองค์ท่านขึ้นไปพักบนกุฏิรับรองที่เตรียมไว้แล้ว และดูแลให้ท่านนอนพัก แต่อาการท่านอ่อนเพลียมาก ท่านไม่พูดจาอะไรเลย เป็นเพียงแต่นอนหลับตามีลมหายใจเชื่องช้าแผ่วเบาและเคลื่อนไหวกายเล็กน้อยเท่านั้น ฝ่ายครูบาอาจารย์พระเณรในตอนนี้ต่างก็นั่งรายล้อมสงบอยู่ บางท่านก็คอยห้ามไม่ให้ส่งเสียงดังเพื่อรักษาความสงบ และคอยเตือนผู้คนประชาชนที่ทราบข่าวและหลั่งไหลเข้ามาในบริเวณวัดไม่ให้ส่งเสียง หรือเข้าไปใกล้รบกวนท่านที่พักผ่อนสงบอยู่นั้น

เวลาช่างผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน มันเคลื่อนคล้อยค่ำมืดลงทุกที จาก ๖ โมงเย็นเป็น ๑ ทุ่ม ๒ ทุ่ม ๓ ทุ่ม และ ๔ ทุ่ม ผ่านไปจนถึง ๖ ทุ่ม ตี ๑ ครึ่งกว่าๆ อาการขององค์ท่านพระอาจารย์มั่นที่นอนนิ่งอยู่บนที่นอนนั้นก็เริ่มผิดปกติเป็นไปในทางที่ไม่น่าไว้ใจ มีความอ่อนเพลียมากขึ้น ลมหายใจก็แผ่วเบามากและเบาลงๆ ตามลำดับอย่างน่าใจหาย ส่วนองค์กายของท่านนอนอยู่ในท่าครึ่งหงายตะแคงขวา ในที่สุดลมหายใจขององค์ท่านก็สิ้นสุดถึงแก่มรณภาพละสังขารไว้ให้แก่โลกได้พิจารณาโดยสงบ เพราะท่านได้ดับขันธวิบากเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ซึ่งตรงกับวันใหม่ วันศุกร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ เวลา ๐๒.๒๓ น. ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ในท่ามกลางคณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ซึ่งมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล) เป็นต้น สิริชนมายุรวมได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน พรรษา ๕๖ - น้องพลอย)


:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ฉันจังหันเช้าร่วมกับหลวงปู่ศรี มหาวีโร
ณ ศาลาหลังใหญ่ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส)
บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
ในงานวันคล้ายวันมรณภาพของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ครบปีที่ ๕๐
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๒



ปีพุทธศักราช ๒๔๙๓
พรรษาที่ ๖
จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านหนองผักตบ ตำบลปลาไหล
อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร (ปัจจุบันวัดป่าโนนตูม)


หลวงปู่มั่นนิพพานต่างคนก็ต่างไป

เมื่อถวายเพลิงศพท่านผ่านไปแล้ว พระกรรมฐานที่มีหลักใจมั่นคง ก็ปลงอนิจจังตามหลักสามัญญตา ส่วนพระกรรมฐานที่ขาดหลักใจ เป็นเรื่องยากที่จะปลงใจเช่นนั้นได้ จึงอยู่ในภาวะระส่ำระสายกระวนกระวายอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ต่างก็ซมซานตะเกียกตะกาย ระหกระเหินระเหเร่ร่อน ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นและจบลงในทิศทางใด

...เหมือนปุยนุ่นอยู่บนอากาศ ไม่ทราบจะปลิวว่อนไปตามแรงลมในทิศทางใด

...เหมือนเด็กน้อยไร้ญาติที่พ่อแม่เพิ่งตายจากไปได้ไม่นาน จะเอาความรู้ความสามารถ ที่ไหนมาปกครองตนเองได้

...เหมือนฟ้าดินถล่มต่อหน้าต่อตา จะรักษาชีวิตจิตใจไว้ได้อย่างไร

...เหมือนดั่งว่าใจจะละลาย จะประสานอย่างไรให้กลับมาเป็นดั่งเดิม

การนิพพานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ในคราวนั้น เป็นมหาวิปโยคสำหรับศิษยานุศิษย์ของท่านอย่างแท้จริง


สรุปความว่า พระเณรต่างองค์ก็ต่างไปตามครูบาอาจารย์ที่ตนศรัทธา โดยส่วนมากรายนั้น ก็ยังไม่ไปไกลจากเขตจังหวัดสกลนครและจังหวัดใกล้เคียง ส่วนเราเดินธุดงค์รอนแรมอยู่ตามเทือกเขาภูพาน หาที่สงบสงัดรักษาโรคใจอยู่เพียงลำพัง เทือกเขาภูพานนี้เป็นที่น่ารื่นรมย์สำหรับพระป่ากรรมฐาน เป็นดินแดนสร้างตำนานพระอริยเจ้าอย่างแท้จริง สำหรับเราแล้วเหมาะสำหรับใจที่กำลังว้าเหว่ เลื่อนลอย ซบเซาเหงาหงอย เมื่อคิดถึงหลวงปู่ใหญ่ปู่มั่นทีไร ก็ได้แต่รำพึงรำพันบ่นเพ้อภายในใจว่า

“ท่านหลวงปู่ใหญ่หลวงปู่มั่นนิพพานแล้ว กิเลสก็ยังมีอยู่ภายในจิตใจ ปัญหาธรรมที่มี ใครหนอจะช่วยแก้ไข ใครหนอจะช่วยตอบช่วยสอน ใครหนอจะช่วยดุช่วยด่าว่ากล่าวตักเตือน ช่วยปราบช่วยปราม บุคคลที่น่าเกรงขามและทรงคุณธรรมอย่างท่าน ที่ปราบปรามใจดวงคึกคะนองของเราให้หายพยศลดลง ก็คงหาได้ยากยิ่งนัก”

แต่สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นคำสอนสั่งก่อนท่านนิพพานนั้นก็คือ “ให้รักษาเอาแต่ใจ อย่าหนีจากรากฐาน คือผู้รู้ภายในจิตใจ ทำใจตนให้พ้นจากความวุ่นวาย ปิดตา ปิดหู ไม่ใส่ใจใคร ไม่ฟังใคร ใครจะว่าอะไรก็ว่าไป ปล่อยวางจากเรื่องนอกทั้งหมด” เราก็จับเอาแต่หลักอันนี้มาประพฤติปฏิบัติเสมอมา

รูปภาพ
หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม

รูปภาพ
พระอาจารย์วัน อุตฺตโม

รูปภาพ
พระอาจารย์แตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม


หนองผักตบ วาริชภูมิ

ผ่านจากเทือกเขาภูพาน ออกเที่ยวปลีกวิเวกภาวนาไปทางอำเภอกุดบาก มุ่งหน้าไปทางอำเภอวาริชภูมิ ตามรายทางที่ท่องเที่ยวตามป่าเขา ศิษย์กรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่นก็มีให้เห็นเสมอ เมื่อสนทนาธรรมก็จะพูดถึงเรื่องคุณธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น บางรูปที่มุ่งมั่นในการปฏิบัติแต่ยังไม่ได้เข้าไปอาศัยสำนักของท่าน ก็กล่าวตัดพ้อด้วยความเสียดายที่ไม่มีบุญวาสนาได้เข้าไปอยู่ในสำนักของท่าน

ฤดูกาลเข้าจำพรรษาใกล้เข้ามาแล้ว จึงท่องเที่ยวไปทางอำเภอวาริชภูมิ บ้านหนองผักตบ ทราบข่าวว่าสถานที่แห่งนี้เป็นป่าเป็นดอน มีต้นมะตูม ต้นไผ่ ฯลฯ มีครูบาอาจารย์ศิษย์สายท่านพระอาจารย์มั่นมาเที่ยวจำพรรษาและผ่านมาพักภาวนาเสมอ เช่น หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พระอาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์แตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม พระอาจารย์คำ สุมงฺคโล ฯลฯ

ส่วนเราเดินท่องตามป่าเขามามาก ร่างกายก็อ่อนล้าเต็มที จึงเข้าจำพรรษาที่หนองผักตบ ญาติโยมชาวบ้านมาทำกระต๊อบมุงหญ้าหลังเล็กๆ พอได้อยู่พักจำพรรษา ในปีนั้นมีพระ ๕ รูป ในพรรษานั้นเราป่วยด้วยโรคเหน็บชาอย่างรุนแรง ได้พ่อออก (อุบาสก) โสม นาคะอินทร์ เป็นผู้ปฏิบัติอุปัฏฐากทุกสิ่งทุกอย่าง


สละตาย

ในพรรษานั้นเราป่วยเป็นโรคเหน็บชา เท้าชาทั้งสองด้านแทบจะไม่รู้สึกเจ็บปวดใช้มือหยิกบริเวณเนื้อขาก็ไม่รู้สึกอะไรเลย มันด้านชาไปหมด หาหยูกยาอะไรก็ไม่มี จึงคิดได้ว่า

“เอายาที่ไหนมารักษามันก็คงไม่หาย เอายาที่เราหาอยู่ทุกวัน นั้นก็คือธรรมโอสถ”

จากนั้นจึงตกลงปลงใจตั้งสัจจะนั่งสมาธิ ขอโอกาสเพื่อนฝูงที่อยู่ร่วมกันว่า

“ผมจะนั่งสมาธิรักษาโรค จะกี่วัน กี่เดือน กี่ปีก็ตาม ถ้าโรคไม่หายผมจะไม่ออกจากสมาธิ ถึงแม้จะตายก็ตาม ก็ขอตายในท่านั่งสมาธิ น้ำไม่ดื่ม ข้าวไม่ิฉันตั้งใจนั่งสมาธิพิจารณาสังขารเพียงอย่างเดียว ทำสมาธิอย่างเดียวเท่านั้น”

ในขณะที่ปฏิบัตินั้นกำหนดจดจ่อ เร่งสติเข้าอย่างเต็มที่ เร่งสมาธิเข้าอย่างเต็มที่ พิจารณาว่าโรคมันอยู่ตรงไหนมุมใดของร่างกาย พิจารณาจนละเอียดถ้วนถี่ เมื่อพิจารณาธาตุขันธ์ส่วนต่างๆ จนละเอียดถี่ถ้วนด้วยสติปัญญาที่คล่องตัว เลือดลมที่เหือดแห้งไปก็กลับไหลเวียนผ่านส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยสะดวกทั่วถึง เราปฏิบัติแบบสละชีวิตเป็นเวลาไม่นานนัก เพียง ๓ วัน ๓ คืนเท่านั้น ในการปฏิบัติคืนแรกเรายกขาขึ้นเพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น ส่วนคืน ๒ และคืนที่ ๓ ไม่ได้ยกขา นั่งทีเดียวตลอดเลย

การตั้งสัจจะของเราไม่ได้ตั้งเพียง ๓ คืน แต่ตั้งไว้ว่าถ้าไม่หายจะไม่ยอมลุกจากที่ แต่พอถึงวันที่ ๓ ของการปฏิบัติโรคร้ายได้หายขาด จึงออกจากสมาธิ โรคเหน็บชาที่ว่าร้ายๆ ก็หายเป็นปลิดทิ้งจนถึงทุกวันนี้ เราปฏิบัติแบบสละตายไม่อาลัยในชีวิตนั่นแหละมันถึงได้ ของเหล่านี้มันต้องมีเหตุ จึงมีเรื่องเกิดขึ้น”

พระทุกวันนี้วิ่งเหนือวิ่งใต้หาแต่หยูกยา ถ้าหากว่าเราชำนิชำนาญในทางสมาธิ สมาธิก็สามารถแก้โรค ส่วนท่านผู้ใดถึงระยะที่จะต้องตายแล้ว เอายาอะไรมาแก้ก็ไม่ได้ ส่วนท่านผู้ใดที่ยังไม่ถึงระยะก็สามารถใช้สมาธิแก้โรคได้ ส่วนผู้ไม่มีสมาธิแม้ไม่ถึงวัยที่จะต้องตาย แต่ถ้าหากมีโรคร้ายเกิดขึ้น ก็มีอันต้องตายไปก่อนก็มี เพราะว่ามันเกี่ยวข้องกับบุพกรรมที่เคยทำมา

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2016, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔
พรรษาที่ ๗
จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าห้วยทราย
ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
(ปัจจุบันวัดป่าวิเวกวัฒนาราม)


ติดตามหลวงตามหาบัวออกธุดงค์

ปลายปี ๒๔๙๓-๒๔๙๔ เราได้ติดตามท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ธุดงค์ท่องเที่ยวกรรมฐาน เดินทั้งวันจนค่ำ แต่ว่าท่านไม่ได้สะพายของหนัก เราสะพายช่วยท่าน

แม้ลำบากแต่ก็เต็มใจเพราะคิดว่า “เรามาสู้สงคราม สงครามโลกแต่ไม่ใช่โลกข้างนอก โลกในตัวเรา ขันธ์โลก คือโลกขันธ์ห้า ถ้าผู้ใดชนะตนท่านเรียกว่า ดีกว่าชนะสงครามภายนอกหลายเท่า โลกที่เขาใช้อาวุธยุทธภัณฑ์ฆ่ากันเป็นอีกพวกหนึ่ง แต่ปัญหาของเรา โลกอันนี้ ขันธ์โลกสู้กับอำนาจฝ่ายต่ำที่มันดึงเราลงไปทางต่ำ ภาษาธรรมะท่านเรียกว่าเป็นกิเลส”

ในสมัยครั้งกระโน้น สมัยเมื่อไปอยู่ป่าอยู่เขา เราจะไปอาศัยอะไรๆ มันก็แสนจะยาก ต้องเอากระบอกไม้ไผ่แทนถ้วยแก้วและกาน้ำ ไปมาสะดวกดี ไม่ต้องระมัดระวังเพียงแต่รักษาเครื่องอัฐบริขารเท่านั้น อย่างอื่นไม่ต้องเกี่ยว หมายความว่าไปอย่างง่ายๆ ไม่ต้องกังวลในเรื่องอื่นๆ มาพิจารณาถึงตัวเรา นึกถึงใจเราให้มากขึ้น ถ้าเรามีสติจดจ่ออยู่ตลอด ไม่นานก็จะเกิดความสงบได้สติง่าย ในระยะนี้จำเป็นเหลือเกินที่เราจะพยายามให้มันเกิดขึ้น

รู้จักเรื่องของตัวเอง จึงจะมีความเมตตาสงสารตัวเองเกิดขึ้นในจิตใจของเรา ถ้าจิตใจรู้รสของธรรมะสักอย่างหนึ่ง พอคิดถึงการกระทำซึ่งเราได้กระทำมาตั้งแต่เรารู้เดียงสามาตลอดจนถึงปัจจุบันนี้ จะเกิดสงสารตัวเองจนน้ำตาไหลว่าการกระทำมาหรือความคิดความเห็นมาแต่ก่อน โอย!...น่าสลด น่าสังเวช ห่างกันเหมือนฟ้ากับดิน

เมื่อเราดำเนินจิตไปสูงเท่าไร ก็ยิ่งเห็นความเหลวแหลกของจิตใจที่มันเป็นมาแล้วแต่หนหลัง จิตใจก็หยั่งไปสู่ถึงคุณธรรมได้อย่างดูดดื่ม มีธรรมะมากเท่าไร จิตใจก็ยิ่งบริสุทธิ์ผุดผ่องมากขึ้นเท่านั้น

...เราได้ติดตามท่านอาจารย์มหาบัวธุดงค์ไปทางบ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร และได้อยู่จำพรรษา ๑ พรรษา

รูปภาพ

เมื่อเราตายให้หมู่เพื่อนพึ่งมหาบัว

ท่านพระอาจารย์มหาบัว ท่านอยู่ในวัยหนุ่ม ร่างกายแข็งแรง ปราดเปรียว ทำความเพียรเป็นแบบอย่างในทุกอิริยาบถ เป็นที่พึ่งอันมั่นคงของพระเณรเหมือนอย่างที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต สั่งลาก่อนปีที่ท่านจะนิพพานว่า “เมื่อเราตายให้หมู่เพื่อนพึ่งมหาบัว”

ท่านอาจารย์มหาบัว เข้มงวดกวดขันกับพระเณรที่ไปปฏิบัติกับท่านมาก ยามค่ำคืนท่านจะเดินตรวจพระเณรในวัดโดยไม่ใช้ไฟฉาย ตรวจดูว่า รูปไหนทำความเพียรเจริญสมาธิภาวนา รูปไหนไม่ทำความเพียรแผดเผากิเลส ถ้ามองเห็นจุดไฟอยู่ท่านจะไม่เดินเข้าไป ถ้ารูปใดดับไฟ ท่านจะเดินเข้าไปใต้ถุนกุฏิเงียบๆ แล้วกงเสียงว่า นอนหรือว่าปฏิบัติสมาธิภาวนา เพราะถ้านอนหลับ เสียงหายใจจะดังแรงแผ่วออกมา เพราะบรรยากาศยามค่ำคืน เงียบสงัด

ในสมัยนั้นสมถะสันโดษมาก กระโถนใช้กระบอกไม้ไผ่ เสนาสนะกุฏิกั้นด้วยใบตองและฟาง แม้กุฏิท่านอาจารย์มหาบัวเอง ก็ยังเป็นฟากมุงด้วยหญ้าคา ประตู หน้าต่างทำเป็นงวงฝาแถบตองผลักไปมา หรือเวิกออกแล้วก็ค้ำเอา

ข้อปฏิบัติที่ท่านถือเคร่งในยุคนั้น คือ ปฏิบัติอย่างหยาบๆ ห้ามนอนก่อน ๔ ทุ่ม ถ้าใครนอนก่อน ๔ ทุ่ม ต้องตื่นขึ้นมาทำความเพียรก่อนตี ๔ ถ้าผิดจากนี้ ได้ตักเตือนถึงสามครั้ง ถ้าทำไม่ได้ท่านจะไล่หนีจากวัดทันที

พระกรรมฐานยุคห้วยทรายโดยท่านอาจารย์มหาบัวเป็นผู้นำ ปฏิปทาถอดแบบมาจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ยุคหนองผือ ทุกกระเบียดนิ้ว ท่านตีและเข่นพระเณรโดยมิเห็นแก่หน้า พากเพียรเป็นอย่างมาก วันคืนที่ผ่านไปล้วนแต่ประกอบจิตภาวนาในอิริยาบถทั้ง ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน ประกอบความพากเพียรด้วยสติปัญญาตลอด

มองไปทางด้านใดเห็นพระเณรต่างเร่งความเพียรเหมือนว่าจะสิ้นกิเลสกันไปหมดทุกคน กิริยาแห่งความขี้เกียจขี้คร้านไม่มีให้เห็น ทุกรูปทุกนามต่างก็เร่งความเพียรเหมือนจะสิ้นกิเลสในวันนี้หรือพรุ่งนี้

เรื่องอาหารการขบฉัน ชาวบ้านเขามีอะไรเขาก็ถวายตามมีตามเกิด อย่างเช่น กบเขียดเพียงตัวเดียวแบ่งใส่บาตรพระเณรได้ถึง ๔ รูป มะเขือลูกเดียวเขาจะแบ่งใส่บาตรพระเณรได้ถึง ๔ รูป

ในยามแห้งแล้ง น้ำในบ่อก็เหือดแห้ง ต้องเดินไปตักถึง ๓ กิโลเมตร

น้ำปานะก็ได้อาศัยแก่นไม้ รากไม้ ตามธรรมชาติ ให้เณรนำมาต้มให้ฉัน นานๆ ทีจะมีน้ำอ้อยสักก้อนหนึ่ง

รูปภาพ
พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

รูปภาพ
หลวงปู่ศรี มหาวีโร กราบเยี่ยมหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร
องค์หลวงปู่ทั้งสองเคยอยู่จำพรรษาร่วมกัน
ณ วัดห้วยทราย (วัดป่าวิเวกวัฒนาราม) จ.มุกดาหาร



ป่วยเป็นไข้มาเลเรียเกือบตาย

บางปีพระเณรป่วยเป็นไข้มาเลเรียกันทั้งวัด หรือบางทีพระเณรทั้งวัดป่วยกันหมด คงเหลือแต่ท่านอาจารย์มหาบัวกับพระอีกรูปหนึ่ง เมื่อพระเณรป่วยกันหมด ท่านอาจารย์มหาบัว ท่านก็เป็นผู้ปัดกวาดลานวัดเอง ตักน้ำเอง ขัดถูศาลาเอง ตั้งน้ำใช้น้ำฉันเอง

ในสมัยนั้นหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านก็อยู่ที่นั่น มีเณรอยู่สององค์ อาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร ก็อยู่ที่นั่น

เราอยู่ที่ห้วยทราย ป่วยเป็นไข้มาเลเรียอย่างหนักและแทบจะเอาชีวิตไม่รอด ถึงกับผมร่วง ป่วยหนักเป็นเวลา ๒๒ เดือน อีก ๒ เดือนก็ครบ ๒ ปี จึงคิดว่า “ทำยังไงถึงจะหายไข้” จึงถามสามเณรเสนเล่นๆ ว่า “เณรน้อย เอ้อ! อะไรหนอ มันผิดไข้มาเลเรีย” (เป็นของแสลงกัน) เณรจึงตอบออกมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจว่า “มะพร้าวครับ” เพียงคำพูดของสามเณรน้อยนี้เท่านั้นแหละ จึงคิดว่า “ถ้าบิณฑบาตได้มะพร้าวจะกินให้มันตายไปเลย เพราะจริงๆ แล้วมะพร้าวกับไข้มาเลเรียเป็นของแสลงที่สุด”

ครั้นรุ่งเช้าขณะออกไปบิณฑบาตกับเพื่อน มองไปที่ต้นมะพร้าว มะพร้าวอ่อนทะลายใหญ่ๆ ก็ขาดตกลงมาเสียงดังตูม!! เหมือนดั่งผีหรือเทวดาฟ้าดินกลั่นแกล้ง ทะลายมะพร้าวที่ขาดตกลงมาลักษณะนี้ชาวบ้านเขาถือว่าเป็นเสนียดจัญไร เขาไม่เอาไปกินจึงนำมาถวายพระที่วัด แบ่งกันได้องค์ละ ๒ ลูก คิดว่า “วันนี่ละจะได้รู้กัน เราเป็นไข้ป่ามันทรมานมานานวัน ถ้าฉันมะพร้าวแล้วจะผิดสำแดง เราจะฉันเพื่อให้ผิดสำแดง” มะพร้าว ๒ ลูก เราฉันจนหมดเกลี้ยงเลย พอฉันเข้าไปเท่านั้นแหละ หน้ามืดแรงๆ ขึ้น แรงๆ ขึ้น ตัวสั่นเทิ้มไปทั้งกาย ชักกระตุกแหง๊กๆ ล้มลงทันที สลบไสลเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน

หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านเป็นหมอยาสมุนไพรแผนโบราณเก่า เห็นอาการของเราน่าเป็นห่วงอย่างนั้น ท่านจึงเอาช้อนงัดปากให้อ้าขึ้น แล้วกรอกยาลงไป เดชะบุญ! โรคนั้นไม่นานก็หายขาดอย่างน่าอัศจรรย์เหลือเชื่อ

ต่อจากนั้นก็ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติธรรมทั้งวันทั้งคืน ตั้งสัจจะไว้ว่า “ถ้านกแซงแซวยังไม่ร้อง ก็จะไม่ลุกจากอาสนะ และไม่ต้องเปลี่ยนอิริยาบถ ห้ามมิให้เปลี่ยนโดยเด็ดขาด นั่งอยู่ท่าใดก็ให้นั่งท่านั้น”

คือต้องการค้นหาอริยสัจจ์ หาทุกขเวทนาว่ามันจะมากสักเท่าไร ถ้าหากเมื่อถึงเวลาเราจะเป็นจะตาย มันยิ่งจะมากมายจนเกือบตายนั่นแหละ ดูจิตว่าเราจะอดทนสู้ได้หรือไม่ จะมีสติพินิจพิจารณาใคร่ครวญในเรื่องเหล่านั้นได้แค่ไหนเพียงใด เรียกได้ว่าเป็นการทดสอบตัวเอง แต่ว่าการนั่งเฉพาะกลางคืนก็ไม่เผ็ดร้อนสักเท่าไร เวลานั่งทั้งวันทั้งคืนและไม่ต้องฉันอาหาร เออ! อันนี้มันเผ็ดร้อนมากทีเดียว

ปฏิบัติอย่างเข้มงวด ๒๒ คืน คือจากตะวันตกดินจนรุ่งอรุณขึ้นเป็นวันใหม่ บางครั้งนั่งไม่ลุก ๖ วัน ๖ คืน บางครั้งนั่งสมาธิเฉพาะตอนกลางคืน ส่วนตอนกลางวันเดินจงกรมและช่วยหมู่เพื่อนทำงาน ส่วนอุบายธรรมต่างๆ ท่านอาจารย์มหาบัว เป็นผู้แนะนำพร่ำสอน

รูปภาพ
เสนาสนะสงฆ์ภายในวัดห้วยทราย (วัดป่าวิเวกวัฒนาราม) จ.มุกดาหาร

รูปภาพ
ทางเดินจงกรมภายในวัดห้วยทราย (วัดป่าวิเวกวัฒนาราม) จ.มุกดาหาร

รูปภาพ
สภาพป่าภายในวัดห้วยทราย (วัดป่าวิเวกวัฒนาราม) จ.มุกดาหาร

รูปภาพ
บ่อน้ำที่หลวงปู่ศรี มหาวีโร เคยใช้เมื่อตอนอยู่วัดห้วยทราย (วัดป่าวิเวกวัฒนาราม)


ค้นคว้าอริยสัจจ์

...จิตใจของเรามีหน้าที่ต้องคิดต้องนึก ต้องพิจารณาหาหนทางออก ทางที่จะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง สดชื่น เบิกบานนั้นยังมีอยู่ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ค้นคว้าเห็นไปตามหลักความเป็นจริงที่เรียกว่า อริยสัจธรรม หรือหาทางออกของจิตที่แนบเนียนที่สุด

จิตใจตัวนี้แหละเป็นผู้หลงแต่ผู้เดียว ไปยึดถือสิ่งต่างๆ ของทั้งหลายเหล่านั้นเป็นเครื่องใช้ เป็นปัจจัยอาศัยอยู่ชั่วระยะหนึ่ง นับแต่ร่างกายของเราออกไปทางนอก ทั้งหมดที่เกี่ยวกับ กาย วาจา ใจ ถือว่าเป็นเครื่องใช้ชั่วคราวทั้งสิ้น แต่ถ้าหากจิตใจไม่มีปัญญาก็เลยใช้ไม่เป็น เลยไปยึดไปหมายนึกว่าของจีรังยั่งยืนจนกระทั่งเดือดร้อนวุ่นวายตนเอง หนักทับถมตนเองอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา ถ้าจิตใจไม่เห็นเองมันไม่ยอมง่ายๆ หรอก เรื่องของจิตเคยเวียนว่ายตายเกิดมาอย่างโชกโชนแล้วในโลกก้อนนี้

เรื่องของธรรมะก็เหมือนกัน ถ้าหากไม่เข้าถึงจิตตราบใด มันก็ไม่รู้สึกตัว ไม่รู้จักตัวมันก็ไม่ยอมรับ ได้ยินแต่สัญญา (ความจำ) บอกว่าธรรมะเหล่านี้เป็นรูปนั้นวิธีนี้ ให้ผลแบบนั้นแบบนี้ ว่าก็ไม่เชื่อ ถ้าหากจิตยังไม่ได้ดูดดื่มรสของธรรมะก่อน มันต้องอาศัยความดูดดื่มรสของธรรมะ จิตใจเข้าถึงธรรมะ ธรรมะเข้าถึงจิตใจ ก็ถึงขั้นตัดสินใจตนเองได้ ตามหลักสัจธรรม หากไม่รู้เองเห็นเองแล้วเป็นไม่ยอมวางง่ายๆ (จิตไม่ละไม่วาง) ถ้าเทียบทางโลกง่ายๆ หมายความว่า คนอื่นว่าไม่ยอมเชื่อง่ายๆ อาจเชื่อบ้างแต่ไม่ลงถึงใจ คือไม่เห็นชัดเจน


จับถูกงูนึกว่าเป็นปลาไหล

เปรียบเทียบอย่างคนไปทอดแห งมลงไปในน้ำ จับถูกงูนึกว่าเป็นปลาไหล เลยจับจนแน่น พอยกขึ้นพ้นน้ำ รู้ว่าเป็นงู ไม่รู้ว่ามือมันวางตั้งแต่เมื่อไร ไม่ได้บอกให้มันวาง ใจมันสั่งให้มือวางตั้งแต่เมื่อไรไม่รู้เพราะกลัว ลักษณะของจิตก็เหมือนกัน ร่างกายก้อนนี้ถ้าหากไม่เห็นโทษหรือความสวยความงามซึ่งโลกนิยมกัน ยังไม่เป็นโทษเห็นภัยเกิดขึ้นกับจิตใจเองแล้ว มันไม่ยอมละไม่ยอมวางง่ายๆ (เช่นยึดมั่นถือมั่นในร่างกายหรือทรัพย์สิน) ติดแน่นอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่ยอมละไม่ยอมวางง่ายๆ ใครจะว่าอย่างไรก็ตาม แม้เราบอกให้มันฟังก็ไม่ยอม

ฉะนั้นบรรดานักปฏิบัติ มาต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ตามภัยธรรมชาติ ก็อยากให้รู้สึกสำนึกในจิตใจตัวเองว่า อยู่ในเมืองไปไหนก็ได้ ขึ้นแต่รถเรือไม่ได้ออกกำลัง นึกว่าเป็นความสุขอันหนึ่ง ถ้านอนสบายอยู่ก็นึกว่าเป็นความสุขอันหนึ่ง ความสุขในทางโลก อยู่ปราสาทวิมานสูงๆ เย็นสบายไม่ร้อนไม่หนาว มีที่นั่งนอนอ่อนนุ่ม มีเบาะมีฟูกใหญ่ก็นึกว่าดี แต่พระพุทธองค์ท่านเห็นว่าเป็นของไม่ดี เพราะเป็นสิ่งล่อจิตใจให้หลงยึดมั่นถือมั่นในของเหล่านั้นจนเกินไป อาหารที่มีรสชาติเอร็ดอร่อย กินวันละ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ก็ว่าสนุกมีความสุข แต่พระพุทธองค์ท่านห้ามไว้ เกรงว่าคนจะไปติดมัวเมาในสิ่งเหล่านี้จนเกินไป มิใช่ท่านหวงหรือตระหนี่แต่ประการใด แต่ท่านอยากรักษา (จิต) คน อยากทะนุถนอมให้ผู้ปฏิบัติได้บรรลุธรรมะ ไม่อยากให้ไปติดอยู่ในสิ่งของภายนอกเพียงแค่นั้น

เมื่อจิตใจเราหดตัวเข้ามาสู่ความสงบ มาพินิจพิจารณาถึงหลักความเป็นจริงเพราะว่า จิตวิญญาณเรานี้เวียนว่ายตายเกิดมานับกัปกัลป์ เขาจึงรู้ทุกสิ่งทุกอย่างดี ข้อสำคัญให้เราเข้าไปถึงจิตเท่านั้นแหละ มันจะนอกจะกล่าว หรือบางทียกเรื่องมาให้เห็นเลยคล้ายๆ เขามาฉายหนัง ชี้แจงมีคนพากย์ให้พร้อม เป็นเรื่องของเราตายในภพใดชาติใดเกิดมาเป็นคนชนิดใด แบบใด ตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร ต่อเนื่องกันไปเป็นสาย เป็นภาพยนตร์เรื่องชีวิตของเรา ความเป็นมาแต่ชาติก่อนปางหลัง

ถ้าจิตใจไม่เห็นโทษมันก็จะไม่ยอมสละ ไม่ยอมวางง่ายๆ แต่ต้องอาศัยสติ คือความระลึกรู้ ควบคุมดูแลอยู่ตลอดกาล รู้เท่าทันในเรื่องจิตอยู่ตลอดเวลา ในที่สุดมันลงเองหรอก พอลงไปบ้างแล้วมันเห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัยของมัน มันก็พยายามวางเข้าไป ไปนานๆ จนแยกออกจากกันได้

หลังจากนั้นต้องอาศัยปัญญาค้นคิดพินิจพิจารณาให้รู้เรื่อง พอขยับออกมาให้ห่างๆ หน่อย เรามองเห็นได้ชัด ถ้าไปแทรกอยู่กับเขามองไม่ใคร่เห็นหรอก ค่อยเห็นโทษไปเรื่อยๆ จิตใจก็วางมาเรื่อยๆ จนเข้าไปสู่ความสงบ พอรวบรวมพลังของจิตได้อย่างว่ามานี้ ปัญญามันเกิดขึ้นจากความสงบ อันนี้เป็นของที่แน่นอน แก้จิตใจได้ง่าย บอกแล้วมันยอมรับทันทีเลย เพราะว่ามันเห็น

ปัจจุบันนี้เรามองไม่ค่อยจะเห็นอะไรกัน เห็นแต่โลกปัจจุบันเห็นแต่ตาเนื้อ ถ้าเข้าไปถึงตาในแล้วละก้อ ไม่ต้องสอนกันยากหรอกทีนี้ จิตใจมันยอมรับเองว่ามันเป็นคนผิด ว่ามันเป็นผู้ผิดแต่ผู้เดียว สร้างสิ่งไม่ดีให้แก่ตนเองแล้วเดือดร้อนตัวเอง เดี๋ยวมันก็หดตัวเข้ามารวมเป็นสมาธิเรื่อย แล้วก็รู้ความจริงแท้มากขึ้นเรื่อย ยิ่งสลดสังเวชยิ่งขึ้น ความสงบก็เลยเป็นของธรรมดา ทำง่าย ถ้าหากพยายามฝึกหัดดัดแปลงเรื่อยๆ ไป มันก็เลยเป็นปกติจิต ไม่ต้องนั่งสมาธิมันก็สงบอยู่อย่างนั้นแหละ เป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา อยู่ในสมาธิขั้นพินิจพิจารณา ถ้าหากจะเข้าจิตขาดจากสิ่งเหล่านี้เราก็เข้าไปได้ แล้วก็ถอยออกมาอยู่จิตธรรมดา แต่ธรรมดาขั้นนี้ก็เป็นขั้นกลางๆ หรืออุปจารสมาธิ ถ้าถอยออกมาขั้นขณิกะ นี้มันก็อ่อนไป ไม่พอที่เห็นอรรถเห็นธรรมได้ง่าย ถ้าลงมาในจิตธรรมดา นี้ก็หยาบไป หันไปทางโลกเลย โดยมากท่านลงมาอยู่ในขั้นอุปจาระนี้แหละเป็นส่วนใหญ่ การพินิจพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องอยู่ในขั้นนี้ ถ้าเข้าไปสู่ขั้นลึกไปกว่านี้ อย่างอัปปนาสมาธิ ก็พิจารณาอะไรไม่ได้ คล้ายๆ กันว่าเข้าไปฝึก เข้าไปฝึกฝนให้จิตใจมีพลังกล้าแข็งที่จะพินิจพิจารณาธรรมะชั้นละเอียดได้ จนกว่าจะยกระดับของจิตออกจากภวังค์อันนี้ไปได้ ภวังค์ของจิตเป็นภพของจิต ภวังค์แปลว่า ภพ เพียงแต่ขณิกสมาธิก็เป็นภพของจิต อุปจาระก็เป็นภพของจิต อัปปนาก็เป็นภพ คือเป็นที่อยู่ ยังอยู่ในกรอบของโลกอยู่ โดยมากฤๅษีชีไพรท่านมักประพฤติปฏิบัติไปถึงขั้นนี้แหละ ก็เลยเห็นอยู่เพียงแค่นี้ มองไม่เห็นโลกที่ลึกลับไปกว่านั้น นอกจากพระพุทธองค์ผู้ทรงค้นคว้าพิจารณาจึงค่อยรู้เลยโลกเหล่านี้ไป เรียกว่า โลกุตรโลก

รูปภาพ
แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ


ห้วยทราย-ป่าดงมะอี่-ฝูงควายป่า

ขอย้อนพูดถึงชาวบ้านห้วยทราย...

ชาวบ้านห้วยทรายนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างดีมีความเคารพพระเณรเป็นอย่างมาก เป็นนักภาวนา ภาวนาจนรู้วาระจิตของผู้อื่น อย่างเช่น แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ ภาวนาเก่งถึงขั้นบอกได้เลยว่าพระองค์นี้คิดแบบนี้ พระองค์นั้นคิดแบบนั้น สำหรับพระแล้วจะน่ากลัวมาก เพราะถ้าทำไม่ดีจะทักขึ้นทันที

หลังจากออกพรรษาก็พากันเดินธุดงค์บุกป่าฝ่าดงใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ดงมะอี่”

มีเราเป็นหัวหน้า และพระอีก ๒-๓ รูป ในขณะที่เดินรอนแรมบุกป่าฝ่าเขาอันหนาทึบ เลาะไปตามหุบเขานั้น ได้เจอฝูงควายป่าฝูงใหญ่ เมื่อมันเห็นพระกรรมฐานจีวรออกสีดำคล้ำเดินมุดป่าโผล่ออกมาอย่างคล่องแคล่วมันเกิดความตกใจ พระก็เกิดความตกใจ ที่ต่างฝ่ายต่างโผล่ออกมาเจอกัน ด้วยสัญชาติญาณป้องกันตัว ฝูงควายป่ามันจึงวิ่งกรูเข้ามาหาพระ โยกเขาอันแหลมคมวิ่งตรงเข้ามาหวังจะขวิดให้ตาย พระ ๒-๓ รูปตกใจวิ่งเตลิดหนีหาที่กำบัง

ส่วนเราเมื่อเห็นดังนั้น จึงหันหน้าใส่ฝูงควายป่า แล้วก็ชักร่มกลดให้กางออก ฝูงควายป่าเมื่อวิ่งเข้ามาใกล้ เห็นร่มกลดกางออกเสียงดังพรึบ! ตกใจวิ่งเตลิดหนีเข้าป่า นี้นับว่าเป็นปัญญาบารมีของเรา

ผ่านเทือกเขาเตี้ยๆ สลับซับซ้อนเป็นเขตแดนรอยต่อ ๓ จังหวัด ระหว่างจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมุกดาหารและร้อยเอ็ด เป็นป่าดงดิบมากล้ำไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านลำห้วยวังนอง ห้วยพุงใหญ่ ห้วยเดื่อ ภูเขาหินเหล็กไฟ ภูจ้อก้อ ภูถ้ำปล่อง ภูถ้ำเม่น และภูเขาเขียว หรือที่เรียกกันในปัจจุบันนี้ว่า “เขาผาน้ำย้อย”

ยับยั้งอยู่ที่เขาผาน้ำย้อยเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว จึงแยกทางกันเที่ยววิเวกไปตามป่าเขา ส่วนเราเดินทางไปกราบคารวะหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ จังหวัดร้อยเอ็ด และได้ปฏิบัติอุปัฏฐากท่าน

ในชีวิตมีครูบาอาจารย์ที่เคารพมากที่สุด ๒ องค์ คือ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ


คำทำนายของท่านพระอาจารย์มั่น

ขอย้อนท้าวความหลังสักเล็กน้อย...ท่านพระอาจารย์มั่นได้เล่าในภายหลังว่า หลวงปู่บัวท่านได้โสดาบันตั้งแต่เป็นโยม แต่ให้หยุดภาวนาเสียก่อน เพราะวิถีจิตเพื่อมุ่งสู่ความหลุดพ้นยังเดินไม่ถูกทาง เดี๋ยวจะมีคนมาโปรด

ท้ายที่สุดแห่งภพชาติ หลวงปู่บัวได้สนทนาธรรมขั้นสูงกับหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ตามคำทำนายของท่านพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าแก้วชุมพล อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร หลวงตามหาบัวท่านแนะวิธีปฏิบัติให้ตอนเย็น พอตอนเช้าท่านก็จบกิจพรหมจรรย์เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา

ข้อความตอนหนึ่งที่หลวงปู่บัว เล่าถวายหลวงตาว่า...

“ผมจับอุบายธรรมที่ท่านอาจารย์แนะนำให้พิจารณา จิตเข้าปุ๊บเลย...เพราะแต่ก่อนมันไม่รู้เนี่ย (เข้าใจว่าตนเองสำเร็จแล้ว) ได้แต่เฝ้ากันอยู่นั้นเลย แสดงว่าตนเองสำเร็จเสร็จสิ้นก็อยู่อย่างนั้นเสีย

พอเอาอุบายธรรมที่ท่านอาจารย์แนะนำเข้าใส่ ปุุ้บๆ โห! ไม่นานเลย ปรากฏเหมือนกับ...คานกุฏิขาดยุบลงตูมลงพื้นทันที เหมือนกับว่าก้นกระแทกดินแต่ไม่เจ็บ ฮึบ! ทีเดียวเลย แต่จิตมันไม่กังวล เพราะมันไม่รู้สึกเจ็บปวดอะไร

ในขณะนั้น พอจิตพึบลงไปทีเดียวเท่านั้น นิ่ง...พอมันหายจากขณะนั้นแล้ว จิตก็รู้ตัว ออกมาข้างนอก มาก็รู้ว่า ที่ว่าคานกุฏิขาด...คือคานอวิชชาขาด โอ้โห...เวลานั้น มันพูดไม่ถูก เหมือนกับว่าเป็นคนละโลก ผมเลยไม่นอนทั้งคืน ผมกราบท่านอาจารย์ ทั้งคืนเลย กราบพระพุทธเจ้า กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์ กราบท่านอาจารย์ ตลอดทั้งคืนเลย ผมไม่นอนจนกระทั่งสว่าง ถ้าพูดตามแบบภาษาพระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า เสวยวิมุติสุข

อัศจรรย์ครูบาอาจารย์และพระธรรม เห็นคุณของท่านอาจารย์ เห็นจริงๆ เด่นชัดจริงๆ ถ้าไม่ใช่ท่านอาจารย์ ไปไม่ถึงไหน เดชะจริงๆ”


เมื่อหลวงปู่บัวเล่าถวายหลวงตาแล้ว ก็กราบหลวงตากราบแล้วกราบเล่าอยู่อย่างนั้น

นั้นเป็นความอัศจรรย์และธรรมโมชปัญญาของหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ที่มีต่อหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

สำหรับหลวงปู่บัวแล้ว ท่านไม่ได้เรียนเขียนอ่าน ท่านจึงเขียนหนังสือไม่ได้ อ่านหนังสือไม่ออก แต่ธรรมภายในของท่านลึกซึ้ง หลวงปู่บัวกันหลวงปู่ศรีมักไปไหนมไหนด้วยกันเสมอ หลวงปู่ศรีมีความเคารพในหลวงปู่บัวเป็นอย่างมาก ทั้งที่หลวงปู่ศรีเป็นครูมาก่อน นี่ก็เพราะท่านเคารพกันด้วยคุณธรรมนั่นเอง

:b50: :b49: :b50:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร