วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 00:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


สิกขาบทของพระสงฆ์ มี ๒ กลุ่ม
๑. ปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
๒. อภิสมาจาร มีหลายพันข้อ ว่าด้วยมรรยาทและโคจร เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดความเลื่อมใส เพื่อให้คนที่เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น.

----------------------------------
ภิกษุ ท.! สิกขาบทร้อยห้าสิบสิกขาบทนี้ ย่อมมาสู่อุทเทส ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ
อันกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบท
เหล่านั้น. ภิกษุ ท.! สิกขาสามอย่างเหล่านี้มีอยู่ อันเป็นที่ประชุมลงของ
สิกขาบททั้งปวงนั้น. สิกขาสามอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? คือ อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา. ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล สักขาสามอย่าง อัน
เป็นที่ประชุมลงแห่งสิกขาบททั้งปวงนั้น

ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์
ในสมาธิ ทำ ให้บริบูรณ์ในปัญญา. เธอยังล่วงสิขาบทเล็กน้อยบ้าง และต้อง
ออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะ
เหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น
เพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อยและการต้องออกจาอาบัติเล็กน้อย
เหล่านี้.

ส่วน สิกขาบทเหล่าใดที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่
พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกชาบททั้งหลาย.

ภิกษุนั้น ได้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญา-วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.

- ติก. อํ. ๒๐/๓๐๑/๕๒๘.
-----------------------------
ภิกษุนั้น ผู้ออกบวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาฏิโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร (อภิสมาจาร), มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทาน
ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย, มาตามพร้อมแล้วด้วยกายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล,
มีอาชีวะบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
ประกอบสติสัมปชัญญะ มีความสันโดษ.

-มหาลิสูตร สีล.ที. ๙/๒๐๐/๒๕๕
---------------------------
ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ มีการทำตามสิกขาเป็น
อานิสงส์, มีปัญญาเป็นยอด, มีวิมุตติเป็นแก่นสาร, มีสติเป็นอธิปไตย.

ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีการทำตามสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็น
อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้, สิกขาที่เนื่องด้วยอภิสมาจาร เราบัญญัติ
แล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดความเลื่อมใส เพื่อให้คนที่
เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น. สิกขาที่เนื่องด้วยอภิสมาจาร เราบัญญัติแล้ว
แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดความเลื่อมใส เพื่อให้คนที่
เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น, ในลักษณะอย่างใด ๆ, สาวกนั้นก็เป็นผู้ทำตาม
สิกขานั้น ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย, ในลักษณะอย่างนั้น ๆ .

อนึ่ง สิกขาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบด้วยประการทั้งปวง.
สิกขาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแล้วแก่สาวก
ทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบด้วยประการทั้งปวง, ในลักษณะ
อย่างใด ๆ , สาวกนั้นก็เป็นผู้ทำตามสิกขานั้น ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย สามาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ในลักษณะอย่างนั้น ๆ.

ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็นอย่างนี้แล.

-มหาสาโรปมสูตร มู.ม. ๑๒/๓๗๓/๓๕๒.
----------------------------------
แล้วศีล ๒๒๗ มาจากไหน???

ที่จริงแล้วศีล ๒๒๗ มาจากคำของสาวกรุ่นหลัง (จะพบในอรรถกถาแปล เล่มที่ ๔๖-๙๑) (ไม่พบใน ๔๕เล่ม)
โดยเอา ปาฏิโมกข์ (๑๕๐ ข้อ) + อภิสมาจาร (๗๗ ข้อ) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

๑. ปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ
๒. เสขิยะกัณฑ์ ๗๕ ข้อ - อภิสมาจาร
---๒.๑ สารูป ๒๖ ข้อ
---๒.๒ โภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ ข้อ
---๒.๓ ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ
---๒.๔ ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
๓. อนิยตกัณฑ์ ๒ ข้อ - อภิสมาจาร
-------------------------------
เห็นใด้ชัดว่า
๑. ศีล ๒๒๗ มาจากคำของสาวกรุ่นหลัง ควรละเสีย ไม่ควรสืบทอดต่อไป
๒. พระพุทธเจ้าให้สวดปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ ทุกกึ่งเดือน ควรสืบทอดต่อไป

ก็ให้ท่านผู้เจริญทั้งหลายพิจารณาเองเถิดว่า "จะเชื่อคำพระพุทธเจ้าหรือเชื่อคำสาวกรุ่นหลัง"

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2009, 10:01
โพสต์: 200

โฮมเพจ: http://www.watpanonvivek.com/
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ปัญญาน้อย ..งง..ครับ..งง.. :b20: :b20:

.....................................................
พอใจในสิ่งที่ตนมีตนได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


จะตั้งนิกายใหม่เหรอจ๊ะ ห่มสีชมพูไม๊ อิอิ รูปภาพรูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


มีประเด็นที่ต้องค้นคว้ากันเพื่อความกระจ่างครับ ขอถามเป็นข้อๆ ดังนี้

BlackHospital เขียน:
สิกขาบทของพระสงฆ์ มี ๒ กลุ่ม
๑. ปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์


๑๕๐ ข้อ หมายถึงอะไรบ้างครับ เช่น หมวดนี้มีเท่านี้ หมวดนั้นมีเท่านั้น อยากรู้แบบนี้

อ้างคำพูด:
๒. อภิสมาจาร มีหลายพันข้อ ว่าด้วยมรรยาทและโคจร เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดความเลื่อมใส เพื่อให้คนที่เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น.


อันนี้พอรู้บ้าง ไม่ถาม

อ้างคำพูด:
----------------------------------
ภิกษุ ท.! สิกขาบทร้อยห้าสิบสิกขาบทนี้ ย่อมมาสู่อุทเทส ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ
อันกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบท
เหล่านั้น. ภิกษุ ท.! สิกขาสามอย่างเหล่านี้มีอยู่ อันเป็นที่ประชุมลงของ
สิกขาบททั้งปวงนั้น. สิกขาสามอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? คือ อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา. ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล สักขาสามอย่าง อัน
เป็นที่ประชุมลงแห่งสิกขาบททั้งปวงนั้น
- ติก. อํ. ๒๐/๓๐๑/๕๒๘.
-----------------------------


พอทราบไหมครับตรัสพรรษาที่เท่าไร เพราะถ้าตรัสพรรษาที่ ๔๕ ก็อาจมี ๑๕๐ สิกขาบทได้
แต่ถ้าตรัสพรรษาที่ ๓๐ อีก ๑๕ พรรษาจะไม่มีภิกษุทำเรื่องให้ต้องบัญญัติเลยเหรอ น่าคิดครับ

อ้างคำพูด:
แล้วศีล ๒๒๗ มาจากไหน???

ที่จริงแล้วศีล ๒๒๗ มาจากคำของสาวกรุ่นหลัง (จะพบใน อรรถกถาแปล เล่มที่ ๔๖-๙๑) (ไม่พบใน๔๕เล่ม)
โดยเอา ปาฏิโมกข์ (๑๕๐ ข้อ) + อภิสมาจาร (๗๗ ข้อ) ดังรายละเอียดต่อไปนี้


ผมอ่านเจอบัญญัติเรื่องเสขิยวัตร ในมหาวิภังค์ พระวินัยปิฎก พบเรื่องการถ่ายหนักเบา การบ้วน
น้ำลายลงในน้ำ และทรงมีพุทธบัญญัติไว้ ตามด้วยอนุบัญญัติอีก เรื่องนี้แสดงว่าไม่ได้ทรงบัญญัติเอง
ไช่ไหมครับ

อ้างคำพูด:
๑. ปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ

(ข้อนี้ถามแล้ว)
อ้างคำพูด:
๒. เสขิยะกัณฑ์ ๗๕ ข้อ- อภิสมาจาร
---๒.๑ สารูป ๒๖ ข้อ
---๒.๒ โภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ ข้อ
---๒.๓ ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ
---๒.๔ ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
๓. อนิยตกัณฑ์ ๒ ข้อ - อภิสมาจาร


ข้อ ๒และข้อย่อยของข้อ ๒ อ่านเจอต้นบัญญัติและทรงบัญญัติสิกขาบท(ในมหาวิภังค์พระวินัยบัญญัติ เล่ม ๒
ผมก็สงสัยซิว่าตกลงพระพุทธเจ้าท่านบัญญัติเองหรือไม่)
อนิยต ผมพบเรื่องพระอุทายีนั่งในที่ลับกับนางวิสาขา จนเป็นเหตุให้ทรงบัญญัติอนิยตสิกขา ๒ ข้อ(มหาวิภังค์
พระวินัยปิฎก เล่ม ๑)
-------------------------------
อ้างคำพูด:
เห็นใด้ชัดว่า
๑. ศีล ๒๒๗ มาจากคำของสาวกรุ่นหลัง ควรละเสีย ไม่ควรสืบทอดต่อไป
๒. พระพุทธเจ้าให้สวดปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ ทุกกึ่งเดือน ควรสืบทอดต่อไป

ก็ให้ท่านผู้เจริญทั้งหลายพิจารณาเองเถิดว่า "จะเชื่อคำพระพุทธเจ้าหรือเชื่อคำสาวกรุ่นหลัง"

:b8: :b8: :b8:


อย่าเพิ่งรีบให้ละครับ ต้องให้แน่ใจ ว่าไม่ได้ตรัสไว้จริง นักปราชญ์ทางศาสนาเยอะแยะ และการทำสังคายนา
ยุคต้นๆพระอรหันต์ก็ยังมีเยอะอยู่ (ตามความเข้าใจผม) ถ้าสิ่งเหล่านี้เท็จ ท่านคงนำออกแล้ว หรือว่าสิ่งเหล่านี้
ไม่ถูกต้อง ท่านคงแก้หรือระบุแล้วว่า ไม่ไช่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ เป็นสาวกบัญญัติ เป็นต้น หรืออีกประการหนึ่ง
เรายังเสี่ยงเกินไป (ตามความเข้าใจผม) ที่จะตัดสินใจละทิ้ง

พอดีผมเพิ่งอ่านนวโกวาท ท่านบอกว่าสิกขาบทที่มีในพระปาฏิโมกข์ คือ ปาราชิก ๔ .....
ผมนับได้ ๒๒๗ พอดีเลย

อย่างไร ถ้าว่างลองอธิบายหน่อยครับ สงสัยจริงๆเลย

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้า ไม่เคยสอน ศีล 227 ข้อ ถูกต้อง แต่คุณทำให้คนเข้าใจผิดแล้วเพราะการเขียนของคุณ ศึลทั้ง 227 ข้อ พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้บัญญัติขึ้นหรือสร้างขึ้น เพื่อให้ภิกษุ ผู้เป็นปุถุชน และยังไม่สามารถบรรลุธรรม หรือเข้าใจในธรรม ได้ใช้เป็นข้อฝึกตน บังคับตน บังคับควบคุมจิตใจ ความคิด ฯลฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณครับท่านกามโภคี และท่านBuddha
สำหรับคำถาม ข้อแนะนำ และต้องขอโทษถ้าทำให้เข้าใจผิดในบางส่วน
-------------------------

สิกขาบทของพระสงฆ์ มี ๒ กลุ่ม ซึ่งพระพุทธเจ้าบรรญัตเอง ได้แก่
๑. ปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
๒. อภิสมาจาร มีหลายพันข้อ ว่าด้วยมรรยาทและโคจร เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดความเลื่อมใส เพื่อให้คนที่เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น.

พระพุทธเจ้าให้รักษาทั้งสองกลุ่ม(ปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ+อภิสมาจาร มีหลายพันข้อ) โดยเคร่งคัดดังพระสูตรต่อไปนี้

ภิกษุนั้น ผู้ออกบวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาฏิโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร (อภิสมาจาร), มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย, มาตามพร้อมแล้วด้วยกายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล,
มีอาชีวะบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
ประกอบสติสัมปชัญญะ มีความสันโดษ.

-มหาลิสูตร สีล.ที. ๙/๒๐๐/๒๕๕
---------------------------

ส่วนเรื่องช่วงเวลาว่าตรัสพรรษาที่เท่าไร่ คงจะไม่มีนัยย์อะไร ดังพระสูตรต่อไปนี้

ภิกษุ ท.! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
จนกระทั่งถึงราตรี ที่ตถาคตปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ,
ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด
ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็น
ประการอื่นเลย.
ภิกษุ ท. ! (อนึ่ง) ตถาคตกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น, ทำอย่างใดกล่าวอย่างนั้น.

-อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.

--------------------------
ขอย้ำว่า ศีล ๒๒๗ มาจาก ปาฏิโมกข์ (๑๕๐ ข้อ) + อภิสมาจาร (๗๗ ข้อ) ซึ่งจัดกลุ่มตามความเห็นของสาวกรุ่นหลัง
--------------------------

กระผมขอถามกลับว่า ทำไมต้องเป็น ๒๒๗ ข้อ ทำไมไม่เป็น ๓๐๐ ๕๐๐ ๖๑๓.......อันนี้ก็ควรพิจารณาเช่นกันนะครับ
------------------------
ขอบพระคุณครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


BlackHospital เขียน:
ภิกษุนั้น ผู้ออกบวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาฏิโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร (อภิสมาจาร), มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย, มาตามพร้อมแล้วด้วยกายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล,
มีอาชีวะบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
ประกอบสติสัมปชัญญะ มีความสันโดษ.

-มหาลิสูตร สีล.ที. ๙/๒๐๐/๒๕๕
---------------------------


ตรงนี้อ่านอย่างไรก็ไม่ได้แปลว่าศีล ๒๒๗ ข้อไม่ได้มาในพระปาฏิโมกข์ ผมอาจเข้าใจยากหรือเป็นคน
ไม่ได้ศึกษามาดี แ่ต่อ่านแล้วเข้าใจว่า ให้รักษาวินัยให้ดี และที่สำคัญทำให้รู้ว่า มารยาทและอโคจร(อภิสมาจาร)
ตามที่คุณกล่าวนั้น มีขึ้นในสมัยยังทรงพระชนม์อยู่ ทำให้คิดได้อีกว่า ถ้าพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่
ใครจะกล้าที่จะบัญญัติมรรยาทและอโคจร(อภิสมาจาร)ได้นอกจากพระพุทธองค์ เพราะท่านสารีบุตรเถระ
เคยทูลถามพระองค์เรื่องสมัยเสื่อมของศาสนายุคพระพุทธเจ้าต่างๆมีพระโกนาคมพุทธเจ้าเป็นต้น พระองค์ตอบ
มูลเหตุไม่มีการปาฏิโมกข์ พระสารีบุตรท่านเสนอว่าถึงเวลาที่จะมีปาฏิโมกข์ในวาระนี้ได้แล้ว พระพุทธองค์ยัง
ทรงห้ามว่าไม่ไช่กาล และไม่ไช่สิ่งที่ท่านพระสารีบุตรเองจะพึงกำหนด และท่านพระกัจจายนะยังต้องฝาก
สามเณรมาทูลขอพุทธานุญาตเรื่องรองเท้า ๒ ชั้น และการบวชด้วยสงฆ์น้อยรูปเลย แล้วใครจะกล้ากำหนด
อโคจรและมรรยาท(อภิสมาจาร)ซึ่งเป็นพระวินัยแทนพระพุทธองค์ได้เล่าครับ

อนึ่งตามพุทธพจน์ที่คุณยกมานั้น มีบาลีว่า

โส เอวํ ปพฺพชิโต สมาโน ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ อาจารโคจรสมฺปนฺโน อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสวี สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ กายกมฺมวจีกมฺเมน สมนฺนาคโต กุสเลน ปริสุทฺธาชีโว สีลสมฺปนฺโน อินฺทฺริเยสุ
คุตฺตทฺวาโร สติสมฺปชฺชาโน สมนฺนาคโต สนฺตุฏฺฺโฐ ฯ


ปาติโมกฺขสํวโรสํวุโต สังวร และ สำรวมในพระปาฏิโมกข์
อาจารโคจรสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจร (อาจาร ความประพฤติ-โคจร ที่ควรข้องเกี่ยว,ควรไป)
อาจาระ และ โคจร จัดเป็นอภิสมาจารก็ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีในพระปาฏิโมกข์ เพราะอภิสมาจาร
หมายถึงการประพฤติสมควรยิ่ง ท่านเน้นให้มุ่งหมายว่ารู้จักมรรยาทและที่ที่ควรมากกว่า ไม่ไช่มุ่งหมายให้แยกว่า
ข้อนี้ๆเป็นปาฏิโกข์หรือไม่เป็นปาฏิโมกข์ ลองดูอันนี้ครับ

โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะ
บ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ
เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์
จึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอถ่าย
อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ จริงหรือ?
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ถ่าย
อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส
แล้ว ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ.


(พระวินัยปิฎก เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ทุติภาค ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕ เสขิยวัตรข้อ ๗๕)

แล้วอันนี้อะไรครับ อาบัติทุกกฎ และคำว่า "พึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้"
นี่ล่ะครับคือสวดปาฏิโมกข์หรือทบทวนสิกขาบททุกกึ่งเดือน ตกลงว่าอาบัติทุกกฏ หรือข้อบัญญัติเสขิยวัตรที่ผมยก
มานี้ไช่หนึ่งใน "อภิสมาจาร (๗๗ ข้อ) ซึ่งจัดกลุ่มตามความเห็นของสาวกรุ่นหลัง" หรือเปล่า ทำให้สงสัยว่า
ถ้าไม่ไช่แล้วคุณกล่าวถึงกลุ่มไหน แต่ถ้าไช่ที่คุณกล่าวว่าไม่ไช่ปฏิโมกข์ แล้วที่ปรากฏในมหาวิภังค์คืออะไร


BlackHospital เขียน:
ส่วนเรื่องช่วงเวลาว่าตรัสพรรษาที่เท่าไร่ คงจะไม่มีนัยย์อะไร ดังพระสูตรต่อไปนี้

ภิกษุ ท.! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
จนกระทั่งถึงราตรี ที่ตถาคตปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ,
ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด
ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็น
ประการอื่นเลย.
ภิกษุ ท. ! (อนึ่ง) ตถาคตกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น, ทำอย่างใดกล่าวอย่างนั้น.

-อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.

--------------------------


ท่านตรัสยืนยันความเข้ากันได้ระหว่างข้อสิกขาบทว่าไม่มีขัดกันเอง ข้อธรรมว่าไม่มีขัดกันเอง ข้อธรรมและข้อวินัย
ไม่มีขัดกัน ไม่ได้ชีให้เห็นว่า อภิสมาจาร (๗๗ ข้อ)ที่คุณว่านั้นไม่มีในปาฏิโมกข์เลย

BlackHospital เขียน:
ขอย้ำว่า ศีล ๒๒๗ มาจาก ปาฏิโมกข์ (๑๕๐ ข้อ) + อภิสมาจาร (๗๗ ข้อ) ซึ่งจัดกลุ่มตามความเห็นของสาวกรุ่นหลัง
--------------------------


ถูกครับ ตรงจัดกลุ่มภายหลัง เพราะพระพุทธองค์ท่านปรินิพพานแล้วจึงได้ทำปฐมสังคายนา สังคายนาก็คือ
การร้อยกรองคำสั่งและคำสอน(สังคีติ) ก็จัดกลุ่มกันตอนนั้นครับ แต่ครั้งแรกนั้นสาวกรุ่นแรกเลยครับ
ไม่ไช่รุ่นหลัง ใช้วิธีการแบ่งหมวดหมู่เป็นปิฎกๆไป จากนั้นก็แบ่งฝ่ายภิกษุผู้ที่ต้องจำแต่ละปิฏกไว้ สังคายนาชั้นหลังๆถึงได้เริ่มจดจารลงเป็นลายลักอักษร และถ้าไม่จัดกลุ่ม ก็ไม่มีหลักจำ ไม่เป็นลำดับ สืบค้นกันไม่ได้ แต่
ก็ไม่ได้หมายความว่า การจัดกลุ่มโดยสาวกรุ่นหลังทำให้อภิสมาจาร (๗๗ ข้อ)ที่คุณว่าไม่มาในพระปาฏิโมกข์

BlackHospital เขียน:
กระผมขอถามกลับว่า ทำไมต้องเป็น ๒๒๗ ข้อ ทำไมไม่เป็น ๓๐๐ ๕๐๐ ๖๑๓.......อันนี้ก็ควรพิจารณาเช่นกันนะครับ
------------------------
ขอบพระคุณครับ
:b8: :b8: :b8:


ง่ายๆเลยครับ เพราะทรงปรินิพพานก่อน ถ้าทรงพระชนม์อยู่ ไม่ไช่แค่ที่คุณถามผมหรอกครับ อาจเป็นพันๆข้อ
ก็ได้ พระสมัยพุทธกาลก็ไช่หยอกที่ไหน อ่านดีๆครับ ห้ามข้อนี้ปั๊บ เลี่ยงบาลีศรีธนนชัยเลย ลองดูซิครับ ในมหา
วิภังค์ สนุกดี ห้ามเสพเมถุนคน ก็ไปเสพกับลิง ห้ามคนห้ามสัตว์ เสพกับศพอีก ห้ามทุกทาง ก็ให้หญิงทำเอง
บอกว่าไม่ได้ทำ ผู้หญิงทำ เลี่ยงไปสนุกเลย

ต้องเข้าใจอย่างนี้ครับ วิธีการบัญญัติสิกขาบทของพระพุทธเจ้า ไม่บัญญัติล่วงหน้าครับ ถ้าไม่มีเหตุไม่ทรงบัญญัติ
การที่ถามว่าทำไมต้องเป็น ๒๒๗ ทำไมไม่เป็น ๓๐๐ ๕๐๐ ๖๑๓ เพราะว่าไม่มีเหตุ ถ้ามีเหตุก็ทรงบัญญัติ
พระองค์ไม่กำหนดว่า ศาสนานี้ต้องมีศีลจำนวนเท่านี้เท่านั้นเป็นธง ทรงอาศัยเหตุ และจะบัญญัติตามเหตุไป
เรื่อยๆ ลองคิดดูครับ อุดช่องมิดเลย ช่องว่างแทบไม่มีให้เลี่ยงบาลีได้เลย ซึ่งต่างจากกฎหมายทางโลก กำหนด
กันไว้ล่วงหน้ามากกว่าเหตุที่จะเกิด เป็นไงครับ รูเบ่อเร่อเลย และแม้ทรงจะมีพุทธานุญาตให้เพิกถอน หรือใส่
เข้า ก็ยังไม่ได้ทำกันครับ เพราะตระหนักในพระพุทธองค์ ก็เลยมีเท่าที่เรารู้กัน

ข้อมูลเหล่านี้ผู้สนใจหาดูได้จากพระไตรปิฎก มหาวิภังค์ทั้ง ๒ ภาคครับ ตรงไหนถ้ามีข้อความว่า ทรงบัญญัติ
สิกขาบท อันนั้นแหละครับทันพระพุทธเจ้า ทรงห้ามเอง และอันนั้นแหละครับ มีมาในพระปาฏิโมกข์

อนึ่ง อย่าได้ตระหนักว่าอันใดมาในปาฏิโมกข์หรือไม่มา พึงดำริว่า ถ้าข้อห้ามเป็นไปเพื่อความสง่างามของ
พระศาสนา เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นของสาวกผู้ปฏิบัติตาม อันนั้นแหละครับเป็นธรรม เป็นวินัย นอกจากนั้น
หาไช่ไม่
เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้

ขอคุณมากครับคุณ BlackHospital การสนทนาของคุณกับผมจักมีประโยชน์มากครับ สิ่งใดผมแสดงหรือ
อธิบายผิดพลาดไป ก็ขอได้ท้วงติง เพราะเหนือสิ่งอื่นใดในใจผมนอกจากพระรัตนแล้ว ก็คงหามีไม่

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแจมนะครับ
เท่าที่สังเกตุมานะครับ การพูดการโต้ตอบในเรื่องนี้ไม่ทราบว่าเราใช้พระไตรปิฎก ฉบับไหนเหรอครับ ของใคร ชุดไหนเหรอครับ เช่น ของมหานิกายหรือของเถรวาท เพราะถ้าไม่ใช่อันเดียวกันแล้วมาตอบกันชี้แจงกัน มันก็เป็นการพูดการตอบ คนละเรื่องเดียวกัน หาข้อยุติคงลำบากครับ

แล้วทีนี้ฉบับที่เป็นมาตรฐานและใกล้เคียงกับต้นฉบับ(ยังคงข้อความเดิมมากที่สุดหนะครับ) คือ ชุดไหนหรือของใครหรือครับ ขอถามหน่อยครับ เป็นวิทยาทานครับ

ในความคิดของผมนะครับ ถึงจะมหานิกายหรือเถรวาทก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์สำหรับคนที่ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติตามและเพียงพอที่จะทำให้บรรลุธรรมตามพระพุทธองค์ได้

ส่วนตัวเลข 227 หรือ 150 อะไรนี่ผมคิดว่า มันแค่หัวข้อใหญ่เท่านั้นแต่ลายละเอียดต้องมากกว่านี้แน่ๆ เพราะแค่ขนาดศีล 5 ยังมีลายละเอียดซะสุดยอดเลย เช่น

องค์ประกอบที่ทำให้ศีลขาด (ศีล ๕ ) พระไตรปิฎกเล่ม ๓๙ หน้า ๓๖ (ฉบับ ๙๑ เล่ม ของ มมร.)

ปาณาติบาต มีองค์ ๕ คือ (ฆ่าสัตว์)
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญญี สำคัญว่า สัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. วายมติ พยายาม
๕. เตน มรติ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

อทินนาทาน ก็มีองค์ ๕ เหมือนกัน คือ (ลักทรัพย์)
๑. ปรปริคฺคหิตํ ของมีเจ้าของหวงแหน
๒. ปรปริคฺคหิตสญญี สำคัญว่าของมีเจ้าของหวงแหน
๓. เถยฺยจิตฺตํ มีจิตคิดจะลักขโมย
๔. วายมติ พยายาม
๕. เตน อาทาตพฺพํ อาทานํ คจฺฉติ ลักของได้มาด้วยความพยายามนั้น

กาเมสุมิจฉาจาร นั้นก็มี องค์ ๔ คือ ประพฤติผิดในการร่วมเพศ (เล่ม ๗๕ หน้า ๒๙๑)
๑. อคมนียวัตถุ สิ่งที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง
๒. ตสมึ เสวนจิตตํ มีจิตคิดเสพในสิ่งที่ไม่ควรเกี่ยวข้องนั้น
๓. เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ
๔. มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนํ การยังอวัยวะเพศให้ถึงอวัยวะเพศ

มุสาวาท ก็มีองค์ ๔ เหมือนกัน คือ (โกหก)
๑. มุสา เรื่องเท็จ
๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดเท็จ
๓. วายาโม พยายามเกิดแต่จิตนั้น
๔. ปรวิสํวาทนํ พูดเท็จต่อคนอื่นและเขารู้เรื่องเท็จ

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ก็มีองค์ ๔ คือ (ดื่มน้ำเมา)
๑. สุราทีนํ อญฺญตรํ ของมึนเมามีสุราเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
๒. มทนียปาตุกมฺยตาจิตฺตํ จิตคิดอยากจะดื่มของมึนเมา
๓. ตชฺชํ วายามํ อาปชฺชติ ความพยายามเกิดแต่จิตนั้น
๔. ปีเต จ ปวิสติ ดื่มเข้าไปในลำคอ


ถ้าจะให้ศีลแค่ 5 ข้อให้บริสุทธิ์บริบูรณ์นี่ก็หนักหนาเอาเรื่องครับเพราะแค่คิดก็ผิดแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สวัสดียามเช้าครับคุณบัวฯ
บัว 4 เหล่า เขียน:
ขอแจมนะครับ
เท่าที่สังเกตุมานะครับ การพูดการโต้ตอบในเรื่องนี้ไม่ทราบว่าเราใช้พระไตรปิฎก ฉบับไหนเหรอครับ ของใคร ชุดไหนเหรอครับ เช่น ของมหานิกายหรือของเถรวาท เพราะถ้าไม่ใช่อันเดียวกันแล้วมาตอบกันชี้แจงกัน มันก็เป็นการพูดการตอบ คนละเรื่องเดียวกัน หาข้อยุติคงลำบากครับ


ปัจจุบัน ในประเทศไทยหรือสยาม พม่า ลาว ลังกา พระภิกษุส่วนมากใช้หลักคำสอนของเถรวาท เถรวาทนั้นสืบ
ต่อพระธรรมและวินัยจากการปฐมสังคายนาเรื่อยมา เริ่มจากมุขปาฐะ(ท่องจำด้วยปาก)แล้วเริ่มมีการจดจารกันใน
ราวสังคายนาครั้งที่ ๓ เป็นต้นมา จึงเป็นที่มาของคำว่า เถรวาท(พระเถระกล่าว,พระเถระบอก)สำหรับในประเทศ
ไทยเอง มีพระพุทธศาสนาหลายนิกาย เช่น มหานิกายธรรมยุติกนิกาย มหายาน อนัมนิกาย เป็นต้น ที่ยังใช้หลักของเถรวาทก็ มหานิกาย กับ ธรรมยุติกนิกาย
พระไตรปิฎกนั้น เป็นคัมภีร์ชั้นแรก ต้องถืออย่างนั้นเลย ส่วนคัมภีร์ที่เราต้องอ้างอิงกันเพื่ออธิบายความ ก็เป็น
คัมภีร์เช่น อรรถกถา ฎีกา อนุฏีกา ทีปนีต่างๆ นี้ถือเป็นชั้นหลัง แต่ก็ไช่ว่าจะพึ่งพิงการตีความอธิบายความ
ของคัมภีร์ชั้นหลังไม่ได้ เนื่องด้วยคัมภีร์ชั้นหลังนี้ ผู้รจนาเองก็เป็นเถรวาท คือส่วนมากที่เถรวาทนำมาประกอบ
ในการอธิบายความนั้นก็จะเป็นคัมภีร์ที่รจนาด้วยพระเถระในหมู่เถรวาท และที่สำคัญในยุคอรรถกถานั้น ผู้รจนา
มีทั้งภิกษุที่เป็นอริยะแล้ว บางท่านอาจไม่เป็นพระอริยะก็มี แต่ส่วนมากก็ทรงภูมิมีปิฎก ๓ เป็นต้นทั้งนั้น
ในความเห็นส่วนตัวผมเอง คัมภีร์หรือพระไตรปิฏกที่สืบทอดด้วยเถรวาทนั้น ถือว่าไกล้เคียงความจริงที่สุดแล้ว
ไม่ว่าในส่วนวินัยหรือธรรมปฏิบัติ


บัว 4 เหล่า เขียน:
แล้วทีนี้ฉบับที่เป็นมาตรฐานและใกล้เคียงกับต้นฉบับ(ยังคงข้อความเดิมมากที่สุดหนะครับ) คือ ชุดไหนหรือของใครหรือครับ ขอถามหน่อยครับ เป็นวิทยาทานครับ


ของเถรวาทครับ จัดว่าไกล้เคียงที่สุด มีการสืบทอดที่สืบค้นกันได้ แต่ต้องยอมรับกันว่า คงไม่มีอะไรที่จะมาครบ
ได้แน่ เพราะเหตุเป็นพันๆปีแล้ว พวกเราก็คงต้องเลือกหยิบเอาแต่ละอย่างที่เห็นว่าถูกว่าควร โดยใช้หลักตัดสิน
พระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ถึงวิธีการ คำว่าเห็นนะครับ ไม่ได้หมายถึงดูเฉยๆ ข้อที่เราหยิบมานั้นต้อง
เห็นโดยปัจจักต์ครับ คือเห็นโดยกับปัญญาเฉพาะเลย ไม่ไช่อนุมานตามที่คนนั้นหรือคนนี้สอนหรือแสดง

บัว 4 เหล่า เขียน:
ในความคิดของผมนะครับ ถึงจะมหานิกายหรือเถรวาทก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์สำหรับคนที่ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติตามและเพียงพอที่จะทำให้บรรลุธรรมตามพระพุทธองค์ได้
ส่วนตัวเลข 227 หรือ 150 อะไรนี่ผมคิดว่า มันแค่หัวข้อใหญ่เท่านั้นแต่ลายละเอียดต้องมากกว่านี้แน่ๆ เพราะแค่ขนาดศีล 5 ยังมีลายละเอียดซะสุดยอดเลย เช่น


อนุโมทนาครับ ในส่วนนี้ผมเห็นว่ามีประโยชน์มากถ้าเราคิดและทำในเพราะความคิดนี้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณครับท่านกามโภคี
การสนทนากับท่านผู้รู้ อย่างท่านกามโภคี มีประโยชน์ และมีประเด็นให้พิจารณาต่อได้อีกมากมาย
-------------------------
สิกขาบทของพระสงฆ์ มี ๒ กลุ่ม ซึ่งพระพุทธเจ้าบรรญัตเอง ได้แก่
๑. ปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ย่อมมาสู่อุทเทส ทุกกึ่งแห่งเดือน
๒. อภิสมาจาร มีหลายพันข้อ ว่าด้วยมรรยาทและโคจร เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดความเลื่อมใส เพื่อให้คนที่เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น.

ขอย้ำว่า สิกขาบทของพระสงฆ์ ทั้ง ๒ กลุ่ม พระพุทธเจ้าทรงบรรญัตเอง
-------------------------
กระผมจะการบเรียนถามต่อไปว่า
1. ถ้าอย่างนั้น ปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ย่อมมาสู่อุทเทส ทุกกึ่งแห่งเดือนตามที่พระพุทธเจ้าบรรญัตนั้น ควรปฏิบัติต่อไปอย่างไร???

2. หรือว่า จะไม่ทำตามที่พระพุทธเจ้าบรรญัต โดยการเอา สิกขาบท ๒๒๗ มาสู่อุทเทส ทุกกึ่งแห่งเดือน ถ้าอย่างนี้แล้ว จะไม่เป็นการเพิ่มพระวินัยหรือครับ


ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุเสื่อมของพระสัทธรรม ดังพระสูตรต่อไปนี้
---------------------------
การเป็นอยู่ที่ไม่เสื่อม

ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันให้มากพอ อยู่เพียงใด,
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักพร้อมเพียงกันเข้าประชุม จักพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม จักพร้อมเพียงกันทำ กิจที่สงฆ์จะต้องทำอยู่เพียงใด,
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลยอยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว,
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด,
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.


ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ภิกษุพวกที่เป็นเถระ มีพรรษายุกาล บวชนาน เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ และตนจักต้องเข้าใจว่าต้องเชื่อฟังถ้อยคำของท่านเหล่านั้น อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่ลุอำนาจแก่ตัณหา ซึ่งเป็นตัวเหตุก่อให้เกิดภพใหม่ ที่เกิดขึ้นแล้ว อยู่เพียงใด,
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักมีใจจดจ่อในเสนาสนะป่า อยู่เพียงใด,
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักเข้าไปตั้งสติไว้อย่างมั่นเหมาะว่า
“ทำไฉนหนอ ขอเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ซึ่งมีศีลเป็นที่รักยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุขเถิด” ดังนี้ อยู่เพียงใด,
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น

ภิกษุ ท.! ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมเจ็ดประการเหล่านี้ ยังคงดำรงอยู่ได้ในภิกษุทั้งหลาย และพวกเธอก็ยังเห็นพ้องต้องกันในธรรมเจ็ดประการเหล่านี้ อยู่เพียงใด.
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลยอยู่เพียงนั้น.
- สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๑/๒๑.
-----------------------------
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 18:25
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
จะตั้งนิกายใหม่เหรอจ๊ะ ห่มสีชมพูไม๊ อิอิ รูปภาพรูปภาพ


นิกายใหม่อะไรล่ะครับ การไม่ทำในสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติตะหากที่เรียกว่า ตั้งนิกายใหม่ มีอยู่ให้เห็นทั่วไปอย่างมหายานเป็นต้น การที่เราหันมาศึกษาพุทธวัจน์กันให้ดีๆ ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร ท่านห้ามอะไร ท่านสอนอะไร เราเป็นสาวกก็ไม่ควรบัญญัติเพิ่มหรือตัดออกไป

อย่างที่เจ้าของกระทู้นำมาลงให้อ่านนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเราจะได้รู้กัน เรามักจะได้ยินแต่ศีล 227 ข้อ แต่พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนศีล 227 ข้อที่ให้พระสวดทุกกึ่งเดือน แต่จริงๆ แล้วมีแค่ 150 ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงให้พระสวดทุกกึ่งเดือน

ปัญหาส่วนในนึงในแวดวงพุทธก็คือไม่ได้ศึกษาพุทธวัจน์ให้ดีๆ กันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 18:25
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างพระพุทธเจ้าทรงให้นำศีลแค่ 150 ข้อมาสวด ทำไมต้องไปเติมในสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติด้วยอันนี้ผมก็ไม่เข้าใจ

ศีลทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่พระท่านต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว แต่ท่านเจ้าของกระทู้คงหมายถึงเฉพาะการนำศีลปาฏิโมกมาสวดทุกกึ่งเดือน ซึ่งท่านให้สวดแค่ 150 ข้อ แต่พระท่านมาสวดเกินที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่นต้องขอบคุณก่อน การสนทนาครั้งนี้ทำให้ผมได้อ่านในสิ่งที่ไม่เคยอ่าน ได้รู้ในสิ่งที่ไม่ได้รู้
เพราะผมต้องรื้อความรู้เก่าๆที่เกือบลืม บางอย่างลืมก็ต้องค้น ดีที่ยังพอจำได้ลางๆ เลยค้นได้ไม่ยาก
นี่เองทำให้ผมได้ทบทวนและได้อ่านเรื่องอื่นๆไปโดยปริยาย

BlackHospital เขียน:
-------------------------
กระผมจะการบเรียนถามต่อไปว่า
1. ถ้าอย่างนั้น ปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ย่อมมาสู่อุทเทส ทุกกึ่งแห่งเดือนตามที่พระพุทธเจ้าบรรญัตนั้น ควรปฏิบัติต่อไปอย่างไร???


ตามที่คุณเข้าใจว่า เป็นข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ทั้งเบื้องต้นและนอกนี้นั้น(อภิสมาจารที่คุณบอก) ถูกครับ
ผมรับ และประเด็นว่า อภิสมาจาร(ที่คุณบอก) เป็นปาติโมกข์หรือไม่ อันนี้ตอบว่าเป็นครับ
คือมาในปาติโมกข์แน่ แต่เข้าใจว่าสมัยนั้นคงอุเทสกันแค่สิกขาบทใหญ่ คือ ๑๕๐ ข้อ คงไม่ได้สวดกันหมด
เหมือนสมัยนี้ ก็เลยอาจเข้าใจได้ว่ามีสิกขาบทคือศีลแค่ ๑๕๐ ข้อ ทั้งที่จริงแล้วที่ปรากฏในพระไตรปิฎกมีถึง
๒๒๗ ข้อ
ข้อปฏิบัตินั้นไม่ยากครับ แต่คณะสังฆ์จะทำแบบคุณกับผมเข้าใจกันหรือเปล่า คือถือตามนี้ครับ ๒๒๗ ข้อไป เวลาสวดทุกกึ่งเดือน สะดวก ๑๕๐ ข้อก็เอาเท่านั้นไป สะดวก ๒๒๗ ข้อก็เอาเท่านั้นไป เพราะต่างก็มีเหตุผลใช้ได้
(เสียด้วย) แต่สมัยนี้ ท่านคงคิดว่า ไม่สวดเดี๋ยวลืม สวดเลย ชั่วโมงเดียวจบ ไม่นาน (จริงๆจะมีกี่รูปฟังรู้เรื่องก็ไม่รู้ เอานวโกวาทมาท่องให้ฟังแบบภาคไทย จะเข้าใจได้แทบทุกรูปเลย) มีที่น่ากลัวกว่าประเด็นนี้คือ บางที่
บางวัด สวดแค่เดือนละครั้งเอง

ต่อจากนี้ของแถมครับ ผมคิดว่าคุณเองก็คงเข้าใจ แต่ไม่ใช่หมายความว่าของผมตรงประเด็นเสมอนะครับ
อาจมีผิดกันได้
ปาติโมกข์(ปาฏิโมกข์)ที่ปรากฏมี ๒ อย่าง
๑.อาณาปาติโมกข์ หมายถึงข้อบัญญัติห้ามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงห้ามไว้
๒.โอวาทปาติโมกข์ อันนี้เข้าใจไม่ยากครับ หมายถึงธรรมทั้งหมดที่แสดงเพื่อความหลุดพ้น

อาณาปาติโมกข์ หมายถึง สิกขาบทคือศีลที่ภิกษุใดละเมิด ต้องอาบัติชื่อนี้ๆ มีทั้งหมด ๗ คือ
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒
นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔
เสขิยวัตร ๗๕ อธิกรณะสมถะ ๗ (ข้อนี้ผมคิดว่าเป็นข้อปฏิบัติเมื่อมีคดีทางวินัยเกิดขึ้นนะครับ
แต่ที่เป็นวินัยด้วยเพราะ ถ้าชำระนอกวิธีนี้ผู้ชำระคดี ต้องอาบัติ)
รวมเป็น ๒๒๗ พอดี


ที่กล่าวถึงปาติโมกข์ ๑๕๐ หมายถึงสิกขาบทคือศีลนี่ละครับ แต่เอาเฉพาะที่สำคัญ ๑๕๐ ข้อ
ปาราชิก ๔ (ขาดจากภิกษุภาวะ) สังฆาทิเสส ๑๓ (อยู่กรรมจึงพ้นได้)
นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ (ต้องสละจึงพ้นอาบัติ) ปาจิตตีย์ ๙๒ (แสดงอาบัติ,หมายถึงการทำความดีตกไป,ศรัทธาตก)
ปาฏิเทสนียะ ๔ (ข้อนี้เกี่ยวกับการเอื้อเพื้อปัจจัย ๔,แสดงอาบัติพ้น) อธิกรณสมถะ ๗
รวม ๑๕๐ ข้อพอดี

ส่วน อนิยต ๒ และ เสขิยวัตร ๗๕ นั้น ท่านยังไม่จัดเข้าในอาบัติเบื้องต้น หรือสิกขาเบื้องต้น เพราะส่วนมากเป็นเรื่องควรหรือไม่ควร มรรยาท(อย่างที่คุณบอก) เช่น อนิยต การนังในที่ลับหูลับตากับมาตุคาม ถ้ารักษาวินัยเคร่งครัด ก็ไม่อาบัติอะไร แต่ท่านให้ปรับตามที่รับ ถ้าไม่มีอะไรก็ปรับน้อยที่สุดทุกฏ(ทำไม่ดี)ไป เพราะไม่สมควรสมณะสารูป เรียกว่าอโคจร(แบบคุณว่านั่นแหละ) เสขิยวัตรก็เช่นกัน เรื่องเลิกผ้า เรื่องล้างบาตร(เรื่องไม่สมควรทางมรรยาทซะส่วนมาก)
ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปาติโมกข์ ๑๕๐ นั้น เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ทรงหมายถึงว่า เมื่อบวชก็ต้องศึกษาหรือต้องทำความเข้าใจก่อนเลย คือต้องเข้าใจ และรักษาให้ดีด้วย ส่วนนอกนี้เป็นเรื่องมรรยาทหรือสิ่งบังควรไม่บังควร ไว้ค่อยรู้ค่อยศึกษาไป ทั้งที่จริงแล้วทรงบัญญัติไว้ทุกข้อครับ แต่ทรงปรีชาเรื่องใดควรก่อนควรหลัง เรื่องใดควรรีบศึกษาเข้าใจก่อน ท่านจึงแสดงว่า เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ และผมเชื่อว่า ทรงมีปรีชาญาณในอนาคตว่า ข้ออนิยตและเสขิยวัตรนั้น อาจไม่สมควรตอนนี้ แต่ภายหน้าอาจสมควรก็ได้ เช่นเสขิยวัตรข้อหนึ่งว่า ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่ผู้สวมรองเท้า(โบราณเรียกเขียงเท้า) ลองคิดดูซิครับ สมัยนี้อนุโลมกันหมดข้อนี้ ไม่มีใครถือเป็นสาระเลย แต่กับ ๑๕๐ ที่เป็นเบื้องต้นนั้น ดูอย่างไรก็ไม่สามารถอนุโลมได้เลย เรียกว่าถ้าละเมิดหนึ่งใน ๑๕๐ ข้อ สมณะสารูปเสียเลยอย่าแรง มีพุทธพจน์ทรงวินิฉัยไว้น่าสนใจครับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทำพอประมาณในสมาธิ ...ในปัญญา เธอก็ย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจากอาบัติ(คือแสดงอาบัติ)บ้าง
ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุอะไร เหตุว่าไม่มีใครกล่าวความอภัพ
(คือไม่อาจบรรลุโลกุตรธรรม) เพราะการล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการออกจากอาบัตินี้
แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้แน่
ที่จะได้ตรัสรู้ในข้างหน้า


ตรงนี้ท่านจัดเป็น ๒ หมู่เลย หมู่เล็กน้อยกับหมู่เบื้องต้น
สิกขาบทเล็กน้อยท่านตรัสว่า สามารถล่วงกันได้ ปลงกันบ่อย และไม่ห้ามโลกุตรธรรม หมายถึงปกติต้องอาบัติติดอยู่ ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่สิกขาบทเล็กน้อยสามารถปลงออกได้ง่ายและปฏิบัติบรรลุได้ ส่วนสิกขาบท ๑๕๐ เบื้องต้นนั้นการที่จะละเมิดนั้นอาจยากกว่าด้วย เนื่องเพราะส่วนใหญ่มีเวลาพิจารณาก่อนทำ และทั้งวิธีการพ้นอาบัติก็ไม่ไช่แค่ปลงออก บางอย่างต้องสละ บางอย่างต้องขอเป็นญัตติสงฆ์เลย(เช่นข้อรับเงินรับทอง) เมื่อยุ่งยากปานนี้ท่านเลยต้องเน้นให้
ระวังมาก เพราะจะเนิ่นช้าต่อโลกุตระ เช่นสังฆาทิเสส ต้องแก้กันหลายๆวัน จะบรรลุธรรมก็ไม่ได้ ติดอยู่ ลองเทียบกับเสขิยวัตรซิครับ ปลงไม่ถึง 5 นาที พ้นแล้ว ปฏิบัติต่อได้ไม่ติดขัดเรื่องโลกุตระ อีกประการหนึ่งครับ เบื้องต้น ๑๕๐ ข้อนั้นแสดงความสันโดษแท้ทีเดียว คือถ้ารักษาระวังได้ เป็นฐานของสมาธิจริงๆ ส่วนสิกขาบทเล็กน้อยนั้น รักษาบ้าง ผิดบ้างก็ไม่ถึงกับทำให้ฐานสมาธิดีขึ้นมาก หรือเลวลง (เพราะบางท้องที่ประเพณีไม่ว่ากล่าวเรื่องมรรยาทบางอย่าง เช่นฉี่ในน้ำบางที่ไม่ถือ ถึงรู้ว่าพระฉี่ในน้ำก็ไม่เป็นไร) ส่วน ๑๕๐ ข้อนั้น ทำให้มักน้อย สันโดษได้ดีจริงๆ

BlackHospital เขียน:
2. หรือว่า จะไม่ทำตามที่พระพุทธเจ้าบรรญัต โดยการเอา สิกขาบท ๒๒๗ มาสู่อุทเทส ทุกกึ่งแห่งเดือน ถ้าอย่างนี้แล้ว จะไม่เป็นการเพิ่มพระวินัยหรือครับ


[b]ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุเสื่อมของพระสัทธรรม ดังพระสูตรต่อไปนี้
---------------------------
การเป็นอยู่ที่ไม่เสื่อม
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว,
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด,
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

- สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๑/๒๑.
-----------------------------
:b8: :b8: :b8:


ข้อนี้ไม่ไช่การเพิ่มพระวินัยครับ พระวินัยเท่าเดิม(ปกติก็มากอยู่แล้ว เพิ่มมารุงรังรุ่งริ่งทำไม) อธิบายพระสูตร
ก่อน
ตามพระสูตรหมายถึงการบัญญัติวินัยหรือสิกขาบทคือศีลเพิ่มขึ้นมากครับ แต่การนำเอาข้อที่เกินกว่า ๑๕๐ มาสู่
อุเทสนั้น เป็นการเพิ่มวิธี หรือดัดประเพณีครับ ไม่ไช่เพิ่มข้ออาบัติหรือวินัย(เพราะการบัญญัติศีลหรืออาบัติเป็น
ธรรมเนียมพระพุทธเจ้าครับ)สมัยนี้เองศีลยังไม่มีใครเพิ่มเลย มหาเถระสมาคมออกกฎพระยังต้องอ้างอาศัย
อำนาจตาม พรบ.คณะสงฆ์เลยครับ ไม่มีพระบัญญัติว่าให้นำมาสู่อุเทส ๑๕๐ ข้อ เกินกว่านั้นต้องอาบัติ......
ไม่มีครับ ก็เลยเป็นการเพิ่มในส่วนประเพณีไป ตามพระสูตรข้อนี้อ่านจนสุดวรรค ผมก็อ๋อ หมายถึงเพิ่มศีลเพิ่ม
ข้อวินัย(สังเกตคำว่า "จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว" ตรงนี้ทำให้ต้องวินิฉัยว่า สิ่งที่ไม่เคยบัญญัติและไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว เป็นบัญญัติคำเดียวกัน คำว่าสิกขาบทที่บัญญัติก็หมายเอาศีลที่บัญญัตินั่นเอง)
ประเด็นการเพิ่มอุเทสมานั้น ผมคิดว่า เพิ่มประเพณีครับ ไม่ไช่เพิ่มวินัย หรือ ศีล ตามความหมายข้อนี้

ขอบคุณอีกครั้งครับ เหมาะใจจริงๆ ได้คุยซักถามกันตามประเด็นที่มีประโยชน์มาก ผมได้อ่านได้ค้นคว้า
ได้รื้อความทรงจำเก่าๆอีกมากเลย เพราะคุณอนุเคราะห์แท้ๆ ประโยชน์ทั้งประเด็นนี้และประโยชน์ประเด็นอื่นอีก
.............สาธุ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร