วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 04:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
ภาวะที่เดิมทีเรารู้สึกว่านี่คือเรา แต่ปรากฎว่ามันชักจะไม่ใช่นี่หว่า...หง่ะ

อะไรอย่างเงี๊ยะ...ใช่ป่าว...คะ

คือแบบว่า ตอนนั้น เอกอนตระหนักแก่ใจประมาณนั้น


ไบกอนๆ ไปที่กระท่อมพ่อหม้ายช่วยหาเหาใส่หัวที ง่ายกว่าหาจิตหลายเท่าไปๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เอรากอน เขียน:
ภาวะที่เดิมทีเรารู้สึกว่านี่คือเรา แต่ปรากฎว่ามันชักจะไม่ใช่นี่หว่า...หง่ะ

อะไรอย่างเงี๊ยะ...ใช่ป่าว...คะ

คือแบบว่า ตอนนั้น เอกอนตระหนักแก่ใจประมาณนั้น


ไบกอนๆ ไปที่กระท่อมพ่อหม้ายช่วยหาเหาใส่หัวที ง่ายกว่าหาจิตหลายเท่าไปๆๆ :b32:


:b14: :b10: :b10:

คนอะไร...อยู่ดีก็อยากมีเหา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 00:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 13:59
โพสต์: 50

อายุ: 0
ที่อยู่: ท่องไปดุจ..นอแรด

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สภาวะธรรมอันเป็น ธรรมชาติของสัตว์ทั้งหลาย นำสัตว์เข้าสู่ภพ มีอยู่

เรียกจิตบ้าง..ใจบ้าง ธาตุรู้บ้าง..
เป็นสังขตะธรรม อันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง มีคูหาคือรูปกายในกามาวจรภพ ที่เรียกว่ามนุษยโลกนี้บ้างเป็นที่อาศัย

อนุมานตามภาษาว่า มีลักษณะเป็นนามธรรม

สัขตะธรรม หรือธรรมชาติของสภาวะดังกล่าว คือขันธ์ 4 เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้สำเร็จเป็นจิต อันได้แก่
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์

สังขตะธรรม หรือธรรมชาติของสภาวะดังกล่าว คือ จิตและเจตสิก(พฤติจิต)เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้สำเร็จเป็นจิต

สังขตะธรรมดังกล่าว เนื่องจากเป็นสังขตะธรรม พระพุทธองค์จึงทรงตรัสสอนให้เห็นชัดได้ด้วยปฏิจสมุปปาทาธรรม

สังขตะธรรมดังกล่าว มีรูปกายเป็นที่อาศัย จึงทำให้เกิดความแบ่งแยกความรู้เกี่ยวกับ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และผัสสะต่างๆขึ้นมา และสังขตะธรรมนั่นเอง คืออายตนะภายใน

และขออธิบายการทำงานอย่างหยาบๆดังนี้

จิตนี้ถ้าเปรียบก็จะเป็นเหมือนหัวหน้างานที่ทำงานได้ด้วยตนเอง มีองคาพยพต่างๆ เรียกว่าเจตสิกเป็นตัวขับเคลื่อนแห่งจิตนั้น ไปตามความรู้ความต้องการของหัวหน้างาน

การขับเคลื่อน การแสดงออก พฤติ ต่างๆนั้น เรียกว่า เวทนาบ้าง สัญญาบ้าง สังขารบ้าง โดยมีอายตนะรองรับที่เหมาะที่สมทั้งสิ้น

เมื่อจิตยังมีเหตุคือ ราคะ โทสะ โมหะยังไม่สิ้น จิตและเจตสิก จึงแสดงตัวในภพต่างๆ เป็นความยึดมั่นถือมั่น เพราะด้วยอำนาจแห่งความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง เรียกว่า อวิชชา

ความยึดมั่นในบุญ ความยึดมั่นในบาป ความยึดมั่นในอเนญชา อันเป็นสังขาร เจตนา กรรมของจิตที่จิตเข้าถึงอยู่จึงปรุงแต่งจิตให้แสดงตัวในภพนั้นๆ

ตราบใดที่ความยึดมั่นถือมั่นดังนี้ยังประกอบอยู่กับจิต จิตจึงอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ตลอดไป

ที่เราปฏิบัติอบรมจิตใจ ก็เพื่อละความยึดมั่นถือมั่น ต่อสภาวะนี้คือจิตนี้เอง โดยอบรมจิตด้วยสมถะวิปัสสนา นั่นเอง

เพราะเหตุไร
เพราะ ความสละวาง ความยึดถือว่า รูป เป็นตน
แม้สละวางกระทั่ง ความยึดถือว่า จิต เป็นตน เป็นวัตถุที่พึงยึดถือได้ เช่นกัน

สติปัฏฐาน4ที่แท้จริงก็จะเริ่มจากตรงนี้..
คือการระลึกอยู่รู้อยู่ ถึงความไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่เพ่งเล็งอยากได้ อยากมี อยากเป็น สละวางทุกสิ่ง
โดยมีสติระลึกอยู่รู้อยู่เช่นนั้น โดยมีกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งก็คือขันธ์ 5 ทั้งหลายเป็นที่ตั้งนั่นเอง



...สภาวะธรรมอันนี้เป็นสังขตธรรมหรือครับ
...ไม่ใข่ของเดิมที่มีอยู่ดังเช่นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หรอกหรือครับ
...ถ้าขันธ์4ปรุงขึ้นมาแถมเป็นอายตนะภายในแล้วเวลาธาตุแตก
...สภาวะนี้จะเป็นอย่างไร
ครับ
...ขอบคุณที่ชี้แนะ





...ไม่ว่าธรรมส่วนใด..หากสำคัญว่าตนได้เสวย..
..เป็นอันผิดทั้งนั้น..

...หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต...

.....................................................
"..หลักของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่การพูดกันเฉย ๆ
หรือด้วยการเดา..หรือการคิดเอาเอง
หลักของพระพุทธศาสนาที่แท้จริงคือ
การรู้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงนั่นเอง
ถ้ารู้เท่าทันตามความเป็นจริงนี้แล้ว
การสอนก็ไม่จำเป็น..แต่ถ้าไม่รู้ถึงความเป็นจริงอันนี้
แม้จะฟังคำสอนเท่าใด ก็เหมือนกับไม่ได้ฟัง!!!"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 02:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชิวว์ เขียน:
...สภาวะธรรมอันนี้เป็นสังขตธรรมหรือครับ
...ไม่ใข่ของเดิมที่มีอยู่ดังเช่นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หรอกหรือครับ
...ถ้าขันธ์4ปรุงขึ้นมาแถมเป็นอายตนะภายในแล้วเวลาธาตุแตก
...สภาวะนี้จะเป็นอย่างไร


ธาตุ 2 สังขตะธาตุ อสังขตธาตุ
ธาตุที่ มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
ธาตุดับแห่งเหตุปัจจัย


ธาตุ 3 รูปธาตุ อรูปธาตุ นิโรธธาตุ
รูปธาตุ อรูปธาตุ ---->สังขตะธาตุ
นิโรธธาตุ----> อสังขตธาตุ


ธรรม 2 สังขตธรรม อสังขตธรรม
รูป นาม --->สังขตธรรม
นิพพาน ---> อสังขตธรรม

รูปขันธ์ นามขันธ์4--->สังขตธรรม สังขตธาตุ
นิพพาน--->อสังขตธรรม อสังขตธาตุ

ธาตุ คือ ธรรม
เวลาธาตุแตก --- ไม่มีในพุทธพจน์ มีแต่ความดับเหตุปัจจัย

เช่นขณะดับขันธปรินิพพาน ในระหว่างคือออกจากฌาน4 แล้วทรงดับขันธปรินิพพาน คือดับขันธ์ 4
โดยไม่ไล่เรียงลำดับขันธ์อย่างที่ปรากฏในคำสอนของอาจาริยาวาทในภายหลัง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 23 พ.ค. 2010, 02:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 05:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 13:59
โพสต์: 50

อายุ: 0
ที่อยู่: ท่องไปดุจ..นอแรด

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ชิวว์ เขียน:
...สภาวะธรรมอันนี้เป็นสังขตธรรมหรือครับ
...ไม่ใข่ของเดิมที่มีอยู่ดังเช่นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หรอกหรือครับ
...ถ้าขันธ์4ปรุงขึ้นมาแถมเป็นอายตนะภายในแล้วเวลาธาตุแตก
...สภาวะนี้จะเป็นอย่างไร


ธาตุ 2 สังขตะธาตุ อสังขตธาตุ
ธาตุที่ มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
ธาตุดับแห่งเหตุปัจจัย


ธาตุ 3 รูปธาตุ อรูปธาตุ นิโรธธาตุ
รูปธาตุ อรูปธาตุ ---->สังขตะธาตุ
นิโรธธาตุ----> อสังขตธาตุ


ธรรม 2 สังขตธรรม อสังขตธรรม
รูป นาม --->สังขตธรรม
นิพพาน ---> อสังขตธรรม

รูปขันธ์ นามขันธ์4--->สังขตธรรม สังขตธาตุ
นิพพาน--->อสังขตธรรม อสังขตธาตุ

ธาตุ คือ ธรรม
เวลาธาตุแตก --- ไม่มีในพุทธพจน์ มีแต่ความดับเหตุปัจจัย

เช่นขณะดับขันธปรินิพพาน ในระหว่างคือออกจากฌาน4 แล้วทรงดับขันธปรินิพพาน คือดับขันธ์ 4
โดยไม่ไล่เรียงลำดับขันธ์อย่างที่ปรากฏในคำสอนของอาจาริยาวาทในภายหลัง

...ถ้าอย่างนั้นถือได้ว่าสวาธรรมอันนี้เป็นสังขตธรรมครับ
...เพราะตัวจิตนี้มีอวิชชา กิเลสอาสวะ เกิดร่วมด้วย
...ถามใหม่เวลาตายนะครับ ขันธ์ทั้ง4หมดภาระหน้าที่ หมดเหตุปัจจัยไปแล้ว
...ตัวจิตอันนี้ จะอยู่อย่างไร
...ขอบคุณที่ชี้แนะ

.....................................................
"..หลักของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่การพูดกันเฉย ๆ
หรือด้วยการเดา..หรือการคิดเอาเอง
หลักของพระพุทธศาสนาที่แท้จริงคือ
การรู้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงนั่นเอง
ถ้ารู้เท่าทันตามความเป็นจริงนี้แล้ว
การสอนก็ไม่จำเป็น..แต่ถ้าไม่รู้ถึงความเป็นจริงอันนี้
แม้จะฟังคำสอนเท่าใด ก็เหมือนกับไม่ได้ฟัง!!!"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเคยบ่อยๆที่ใช้วิธีนึกถึงเทวดามาเป็นการฝึกกรรมฐาน

จุดประสงค์คือให้เกิดปิติ

ถูกต้องหรือเปล่าผมไม่ทราบ

ผมกำลังจะบอกว่า

จิตเกิดดับกี่ครั้ง จิตเป็นอย่างไร จิตคืออะไร

เป็นเรื่องการวิเคราะห์ เป็นวิชาการ จะรู้หรือไม่รู้ก็ไม่เป็นไร

ในการปฏิบัติธรรม

ผมใช้แต่ รูลึก ทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุข เท่านั้น

ตามให้ทันความรู้ลึก ไม่ให้เผลอ บางครั้งยาก บางครั้งง่าย ไม่แน่นอน

ปกติของคน จะมีความฟุ้งซ่าน ซึมเศร้า กลัดกลุ้ม รำคาญใจอยู่เป็นนิจ

การตามทันรู้ถึงต้ตตนของสิ่งเหล่านี้จนหลุดพ้นได้

คือความรู้แจ้งเห็นจริงในความคิดผม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชิวว์ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ชิวว์ เขียน:
...ถ้าอย่างนั้นถือได้ว่าสวาธรรมอันนี้เป็นสังขตธรรมครับ
...เพราะตัวจิตนี้มีอวิชชา กิเลสอาสวะ เกิดร่วมด้วย
...ถามใหม่เวลาตายนะครับ ขันธ์ทั้ง4หมดภาระหน้าที่ หมดเหตุปัจจัยไปแล้ว
...ตัวจิตอันนี้ จะอยู่อย่างไร


คำถามนี้ คงต้องรอ อีกสักระยะเวลา แล้วจะมาตอบ นะครับถ้าเป็นไปได้
:b6: :b6:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 13:59
โพสต์: 50

อายุ: 0
ที่อยู่: ท่องไปดุจ..นอแรด

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ชิวว์ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ชิวว์ เขียน:
...ถ้าอย่างนั้นถือได้ว่าสวาธรรมอันนี้เป็นสังขตธรรมครับ
...เพราะตัวจิตนี้มีอวิชชา กิเลสอาสวะ เกิดร่วมด้วย
...ถามใหม่เวลาตายนะครับ ขันธ์ทั้ง4หมดภาระหน้าที่ หมดเหตุปัจจัยไปแล้ว
...ตัวจิตอันนี้ จะอยู่อย่างไร


คำถามนี้ คงต้องรอ อีกสักระยะเวลา แล้วจะมาตอบ นะครับถ้าเป็นไปได้
:b6: :b6:



....หุ..หุ..

...ถ้าขันธ์แตกไปแล้ว...ไม่ต้องมาตอบผมก็ได้ครับ
...เกรงใจ...

.....................................................
"..หลักของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่การพูดกันเฉย ๆ
หรือด้วยการเดา..หรือการคิดเอาเอง
หลักของพระพุทธศาสนาที่แท้จริงคือ
การรู้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงนั่นเอง
ถ้ารู้เท่าทันตามความเป็นจริงนี้แล้ว
การสอนก็ไม่จำเป็น..แต่ถ้าไม่รู้ถึงความเป็นจริงอันนี้
แม้จะฟังคำสอนเท่าใด ก็เหมือนกับไม่ได้ฟัง!!!"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 22:01
โพสต์: 3

อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


ชิวว์ เขียน:
ขอโอกาสแสดงความเห็นถึงเรื่อง
...สภาวะธรรมที่มีอยู่...อันหนึ่งครับ

บางคนเรียกจิตบ้าง..ใจบ้าง..ผู้รู้บ้าง..จิตหนึ่งบ้าง..ธาตุรู้บ้าง..อะไรอีกต่างๆ
...มีลักษณะเป็นนามธรรม..ไม่เป็นสังขาร..ไม่อยู่ในขันธ์5..ไม่อยู่ในปฏิจสมุปบาท..ไม่อยู่ในอายตนะใดๆ แสดงตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ถูกบดบังด้วยสังขารความคิดปรุงต่างๆ
..ในที่นี้ขออนุญาตเรียกว่าจิต..
และขออธิบายการทำงานอย่างหยาบๆดังนี้

จิตนี้ถ้าเปรียบก็จะเป็นเหมือน..สิ่งๆหนึ่งที่เป็นที่รองรับ..เป็นที่ทำงานของตัวปรุงแต่งทั้งหลายทางบาลีน่าจะเรียกว่า..เจตสิก..
เป็นที่รับส่งข้อมูลของขันธ์5และอายตนะทั้งหลาย..เป็นตัวภพของ..อวิชา....กรรม
..การปรุงแต่งเกิดเป็นสังขารนี้จึงมีอยู่ตลอดเวลา..เพราะมีปัจจัยที่ใหม่ๆถูกส่งผ่านมาทาง อายตนะทั้งภายนอกภายใน และ ขันธ์5มาให้ปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา
อันเก่าดับไปอันใหม่เกิดมา..เอาอันนี้ไปรวมอันนั้นวุ่นวายไปหมด..แต่มันก็เป็นหน้าที่ของมัน..
..สังขารที่เกิดขึ้นมาก็แบ่งอย่างหยาบๆเป็น3ทางคือ ทางดี ทางขั่ว และกลางๆ ..สังขารเหล่านั้นแสดงตัวกลับมาทางขันธ์5ในรูปแบบต่างๆ..
วนเวียนไปมาอยู่อย่างนี้ ไม่รู้ต้นรู้ปลาย..
แต่ตัวจิตนี้เป็นเพียงสิ่งที่รองรับ..สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เท่านั้น..เป็นผู้ดู..ผู้รู้เท่านั้นไม่มีสิทธ์มีเสียงอะไร
.
.

...ที่เราปฏิบัติอบรมจิตใจ กันแทบเป็นแทบตายก็เพื่อย้อนเข้ามาให้ถึงต้นตอของมันก็คือ ตัวจิตนี้เอง ที่เราเอาสติแนบไปกับพุทโธๆไม่ให้ไปส่งส่ายหาอารมณ์อื่น หรือกรรมฐาน40 หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ หรือพิจารณาไตรลักษ์ ตามแต่จริตนิสัยของแต่ละคน


ก็เพื่อ
จะย้อนไปถึงต้นตอคือตัวจิตที่มันเป็นที่เกิดดับของสังขารทั้งหลายจริงๆ..เป็นตัวภพของอวิชชา กิเลสอนุสัยจริงๆ ..ไปดูจิตเห็นจิตจริงๆ..การฆ่ากิเลสจริงๆ
สติปัฏฐาน4ที่แท้จริงก็จะเริ่มจากตรงนี้..

ถ้าหากว่า..พิจารณาจนปล่อยได้แม้กระทั่งผู้พิจารณาและตัวจิตได้จริงๆแล้ว

...จะเหลืออะไร..????????


..เหมือนก๋วยเตี๋ยวชามหนึ่ง..ตกลงพื้นแตกดัง..เพล้ง!!!!!..มันจะเป็นยังไง



....มันก็ตัวใครตัวมัน...เท่านั้นเอง..


...โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน...

....เป็นความเห็นส่วนบุคคล...


...แล้วความเห็นของคุณ..คิดว่าสภาวะธรรมนี้มีจริงหรือไม่..หรือคลาดเคลื่อนอย่างไร..


..หรือเป็นเป็นแค่เพียง..นิทานหลอกเด็กเรื่องนึง!!!!!....


หรือว่า..ความคิดและการอธิบาย..ของท่าน ไม่ใช่นิทานเรื่องหนึ่ง ล่ะคะ ?
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาติครับ

สภาวะต่างๆที่ปรากฏ มันเปลี่ยนรูป ลักษณะต่างๆในขณะที่ทำปฏิกิริยากับสิ่งแวดล้อม
ตอบสนองความเป็นเหตุเป็นผลกัน แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองใดๆ
เราไม่อาจจะรู้ได้โดยทางอายตนะ ว่ามันเป็นความมีอยู่หรือไม่ใช่ความมีอยู่
หากเราลองหยั่งลงไป ว่ามันคืออะไร เราจะตกอยู่บนความพิดพลาดทันที

สิ่งที่ปรากฏต่างๆนั้น ดูเอาว่า มีอะไร ไปรู้เห็น อยู่ในสิ่งที่ปรากฏอันนั้น เท่านั้น

รู้ สภาวะต่างๆที่ปรากฏอยู่ ให้แจ้งชัด ตามความเป็นจริง ด้วยทางแห่งพระพุทธเจ้า
ลด ละการแสดงหา หรือตามชื่อเรียกขาน ความใดๆ ในสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น
ละการแสดงหา ที่ตั้งอยู่ ที่เกิดขึ้น ลักษณะต่างๆของสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น

ขอบคุณครับ

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 13:59
โพสต์: 50

อายุ: 0
ที่อยู่: ท่องไปดุจ..นอแรด

 ข้อมูลส่วนตัว


ผงธุลีดิน เขียน:
ขออนุญาติครับ

สภาวะต่างๆที่ปรากฏ มันเปลี่ยนรูป ลักษณะต่างๆในขณะที่ทำปฏิกิริยากับสิ่งแวดล้อม
ตอบสนองความเป็นเหตุเป็นผลกัน แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองใดๆ
เราไม่อาจจะรู้ได้โดยทางอายตนะ ว่ามันเป็นความมีอยู่หรือไม่ใช่ความมีอยู่
หากเราลองหยั่งลงไป ว่ามันคืออะไร เราจะตกอยู่บนความพิดพลาดทันที

สิ่งที่ปรากฏต่างๆนั้น ดูเอาว่า มีอะไร ไปรู้เห็น อยู่ในสิ่งที่ปรากฏอันนั้น เท่านั้น

รู้ สภาวะต่างๆที่ปรากฏอยู่ ให้แจ้งชัด ตามความเป็นจริง ด้วยทางแห่งพระพุทธเจ้า
ลด ละการแสดงหา หรือตามชื่อเรียกขาน ความใดๆ ในสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น
ละการแสดงหา ที่ตั้งอยู่ ที่เกิดขึ้น ลักษณะต่างๆของสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น

ขอบคุณครับ


...อนุโมทนา..
...ของจริง..นิ่งเป็นใบ้..

.....................................................
"..หลักของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่การพูดกันเฉย ๆ
หรือด้วยการเดา..หรือการคิดเอาเอง
หลักของพระพุทธศาสนาที่แท้จริงคือ
การรู้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงนั่นเอง
ถ้ารู้เท่าทันตามความเป็นจริงนี้แล้ว
การสอนก็ไม่จำเป็น..แต่ถ้าไม่รู้ถึงความเป็นจริงอันนี้
แม้จะฟังคำสอนเท่าใด ก็เหมือนกับไม่ได้ฟัง!!!"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 14:54
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่ผมทราบมานะ เมื่อกำหนดสมาธิในอริยาบทใดอริยาบทหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น นั่ง ยืน เดิน นอน โดยส่วนมาก บุคคลโดยทั่วไปจะกำหนดไปที่ลมหายใจ ออกและเข้า โดยใช้สติหรือจิตไปจับอยู่กับลมหายใจนั้นเพื่อให้รู้ ส่วนจิตโดยหน้าที่คือประตูการรับรู้เท่านั้น รับรู้ทางไหน ก็ทางทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ส่วนเจตสิกเป็นต้นเหตุของการปรุงแต่ง ว่าเราชอบใจหรือไม่ชอบใจ
ถ้าทาง รูป นาม ก็จะได้ตามขันณ์ ๕ คือ
รูป คือ รูป ที่เกิดจากสมุติฐาน ๔ คือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ
เวทนา ความรู้สึก ร้อน เย็น เจ็บ สบาย สุข ทุกข์
สัญญา ความจำในเรื่องราวต่างๆ
สังขาร รูปลักษณะที่เป็นตัวรู้
เวทนา สัญญา สังขาร คือ เจตสิก
วิญญาญ คือ จิต เป็นการรวมเอาอารมณ์ที่มากระทบทั้งภายนอกและภายใน
จิต กับ เจตสิก เป็นของคู่กับ เมื่อจิตเกิดขึ้น เจตสิกก็เกิดขึ้นพร้อมกัน และดับไปพร้อมกัน เกิดดับและก็เกิดดับ ด้วยความรวดเร็ว เรียกว่าสันสติ ถ้าเราทำสมาธิจนมองเห็นหรือตามทันสันสติเราก็จะสามารถระงับอวิชชาที่จะเกิดขึ้นได้

ผิดถูกอย่างไรขออภัยด้วยครับ อนุโมทนา


แก้ไขล่าสุดโดย ประยุทธ์ เมื่อ 25 พ.ค. 2010, 19:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่การไปให้ค่าให้ความหมายกันขึ้นมาเอง
เมื่อมีการให้ค่าให้ความหมาย สภาวะที่เรียกว่า สภาวะโดยอนุมาน จึงเปลี่ยนไป

แต่เมื่อใดที่ไม่ไปให้ค่าให้ความหมาย
สภาวะย่อมดำเนินไปตามสภาวะและจบลงด้วยตัวของสภาวะเอง

รูป นาม หรือสิ่งต่างๆที่ให้ความหมายขึ้นมา มีไว้เพื่อใช้ในการสื่อสาร
มีไว้ในการศึกษา แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อยึดว่าจะต้องอย่างงั้นอย่างงี้

ต้องอย่างงั้น ต้องอย่างงงี้
ล้วนเป็นเพียงแค่ความคิดที่เกิดขึ้น อาจจะจากโดยสัญญาที่ได้เรียนรู้มา
อาจจะจากการพิจรณาที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ
แต่ทุกอย่างล้วนเป็นเพียง ความคิด

ถ้าเมื่อใดไปให้ค่าให้ความหมายในรูปหรือนาม หรือสิ่งต่างๆก็ตาม
สภาวะของรูป นาม หรือสิ่งต่างๆจะเปลี่ยนไปทันที

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร