วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 03:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 23:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ส.ค. 2010, 20:44
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


หลักแห่งการปฏิบัติธรรม ๕ ประการ
๑. ศีล ด้วยการทำตนให้สงบ ระวังความชั่วทางกาย - ใจ
๒. สมาธิ ต้องฝึกจิต อบรมจิตให้ระงับความวิตกฟุ้งซ่าน
๓. ปัญญา ต้องศึกษาลักษณะจิตด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ในหลักแห่งความจริง
๔. วิมุตติ ต้องเข้าใจลักษณะแห่งจิต ที่พ้นจากเพลิงทุกข์ ว่าเป็นอย่างไร
๕. วิมุตติญาณทัสสนะ ต้องศึกษาถึงความรู้จักตน ว่าอย่างไรจึงรู้แน่
กายสุจริต วจีสุจริตต มโนสุจริต
หัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ๓ ประการได้แก่
๑.ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
๒.ทำความดีให้ถึงพร้อม
๓.ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส
พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้พระอริยสงฆ์จำนวน ๑๒๕๐ รูปที่ต่างมาประชุมโดยพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
ในวันเพ็ญเดือน ๓ (วันมาฆบูชา) เรียกว่า "โอวาทปาติโมกข์ " อันถือเป็นข้อธรรมที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหลาย
ฆราวาสธรรม ๔
คือธรรมสำหรับการครองเรือนในชีวิตของบุคคลทั่วไปได้แก่
๑. สัจจะ คือ พูดจริงทำจริงและซื่อตรง
๒. ทมะ คือ ฝึกหัดแก้ไขปรับปรุง
๓. ขันติ คือ อดทนตั้งใจและขยัน
๔.จาคะ คือ เสียสละ
ธรรมคุ้มครองโลกมี ๒ อย่างคือ
๑.หิริ คือ ความละอายใจในการทำบาป
๒.โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวผลของการทำชั่ว
อิทธิบาท ๔ หรือธรรมที่ช่วยให้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์ได้แก่
๑. ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่
๒. วิริยะ คือ ความเพียร
๓. จิตตะ คือ เอาใจฝักใฝ่ ไม่วางธุระ
๔. วิมังสา คือ หมั่นตริตรอง พิจารณาเหตุผล
สัมมัปปาธาน ๔
๑. พยายามเพื่อจะไม่ให้เกิดอกุศลกรรม คือ บาปเกิดในตน
๒. พยายามเพื่อจะละอกุศลธรรม คือ บาปที่เคยเกิดขึ้นแล้วในตน
๓. พยายามเพื่อจะเจริญกุศลธรรม คือ บุญให้มีในตน
๔. พยายามเพื่อรักษากุศลธรรม คือ บุญที่เกิดขึ้นแล้วในตนให้มีอยู่
ข้อแรกคือ ให้ระวังทวารหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ข้อที่เหลือ คือ ต้องขับไล่ของเก่า คืออย่าไปแยแส
ไม่ต้องรำพึง เพียงแต่เจริญสติ
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้วได้แสดงปฐมเทศนาโปรดแก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ (ผู้ที่เคยอุปัฏฐากปรนนิบัติพระองค์มาได้แก่ โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ) เป็นครั้งแรก มรรคอันมีองค์ ๘ นี้เป็นข้อปฏิบัติแบบสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ทรงโปรดแก่เหล่าปัญจวัคคีย์
มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
๑.สัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่การเห็นในอริยสัจ ๔ คือ
- ทุกข์ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (สมุทัย)
- ความดับทุกข์ (นิโรธ)
- ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มรรค)
๒.สัมมาสังกัปปะ คือดำริชอบ ได้แก่
- ดำริที่จะออกจากกาม (เนกขัมมะ)
- ดำริในการไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น
- ดำริในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓.สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ ได้แก่การเว้นจากวจีทุจริต ๔ คือไม่ประพฤติชั่วทางวาจาอันได้แก่
- ไม่พูดเท็จ (มุสาวาทา)
- ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ปิสุณาย วาจาย)
- ไม่พูดคำหยาบคาย (ผรุสาย วาจาย)
- ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ (สัมผัปปลาปา)
๔.สัมมากัมมันตะ คือทำการงานชอบโดยประกอบการงานที่ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศีลธรรม
และเว้นจากการทุจริต ๓ อย่างได้แก่
- การเบียดเบียนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (ปาณาติบาต)
- การลักขโมย และฉ้อฉลคดโกง แกล้งทำลายผู้อื่น (อทินนาทาน)
- การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร)
๕.สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีวิตชอบได้แก่ การเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด การประกอบสัมมาอาชีพคือ
- เว้นจากการค้าขายเครื่องประหารมนุษย์และสัตว์
- เว้นจากการค้าขายมนุษย์ไปเป็นทาส
- เว้นจากการค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร
- เว้นจากการค้าขายน้ำเมา
- เว้นจากการค้าขายยาพิษ
๖.สัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ ๔ ประการได้แก่
- เพียรระวังมิให้บาปหรือความชั่วเกิดขึ้น
- เพียรละบาปหรือความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว
- เพียรทำกุศลหรือความดีให้เกิดขึ้น
- เพียรรักษากุศลหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่
๗.สัมมาสติ คือระลึกชอบได้แก่ การระลึกวิปัฏฐานได้แก่ การระลึกในกาย เวทนา จิต และธรรม ๔ ประการคือ
- พิจารณากาย ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบายหรือไม่สบาย พิจารณาลมหายใจเข้าออก
- พิจารณาเวทนา ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ มีราคะ โทสะ โมหะหรือไม่
- พิจารณาจิต ระลึกได้ว่าจิตกำลังเคร้าหมองหรือผ่องแผ้ว รู้เท่าทันความนึกคิด
- พิจารณาธรรมให้เกิดปัญญา ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในใจ
๘.สัมมาสมาธิ คือตั้งใจชอบ ทำจิตให้สงบระงับจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ให้มีอารมณ์แน่วแน่เป็นอันเดียว เพื่อให้จิตจดจ่อ
ไม่ฟุ้งซ่าน หาอารมณ์อันไม่มีโทษให้จิตยึด จะได้ไม่พร่าไปหลายทางได้แก่ การเจริญฌานทั้ง ๔ คือ
- ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑
- ทุติยฌาน หรือฌานที่ ๒
- ตติยฌาน หรือฌานที่ ๓
- จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔
เคล็ดลับการเป็นพหูสูต ๕ อย่าง
๑.ฟังมาก หรือศึกษาเล่าเรียนมาก
๒.จำมาก คือหมั่นสังเกตจดจำสิ่งต่างๆที่เห็นมา เรียนมา
๓.ท่องจนคล่องขึ้นใจ คือจำได้โดยไม่ต้องนึกคิด
๔.เจนใจ คือการคิดจนสร้างมโนภาพในใจขึ้นได้ทันที
๕.ทะลุปรุโปร่ง คือนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาพิจารณาเป็นข้อสรุป อธิบายต้นสายปลายเหตุได้อย่างถูกต้อง
อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการได้แก่
๑.ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒.สิ่งที่ได้ฟังแล้ว ย่อมชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น
๓.บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔.ทำความเห็นให้ตรง
๕.จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
ไม่ได้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นโอวาทที่ท่านธนัญชัยเศรษฐีได้ให้ไว้กับนางวิสาขาก่อนออกเรือน ซึ่งถือว่าเป็นข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับสตรีทั่วไป จึงได้นำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้
ขออนุโมทนาด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น หากทำได้ย่อมเข้าถถึงอริยมรรค เป็นพระอริยบุคคลแน่นอน
เราจะน้อมรับทุกข้อมาปฏิบัติ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2010, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




Lotus251.jpg
Lotus251.jpg [ 30.19 KiB | เปิดดู 2649 ครั้ง ]
ธรรมะสำหรับคนดี

ธรรมะทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้าทุกสิงทุกอย่างสำเร็จแล้วด้วยใจ
>> เพื่อความสุขแห่งชีวิต
>> เพื่อดวงจิตที่สะอาดและปราศจากความเศร้าหมอง
>> การพิมพ์หนังสือธรรมะเป็นอนุสรณ์และรำลึก นอกจากเป็นการจัดทำสิ่งซึ่งเป็นประโยชน์ที่ยืนนานแล้ว ยังเป็นการบำเพ็ญธรรมทาน คือการให้ธรรมะ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญว่าเป็นทานอันยอดเยี่ยมด้วย ผู้ปฎิบัติเช่นนี้ได้ชื่อว่า มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ธรรม อันจะอำนวยประโยชน์สุขที่แท้จริงแก่ตน
การให้ธรรมะ การให้ทั้งปวง การรับธรรมะ และนำไปปฎิบัติย่อมชนะการรับทั้งปวงเช่นกัน
>> หนังสือเรื่องธรรมะสำหรับคนดี อันเป็นธรรมะที่ให้ระลึกถึงความจริงแห่งชีวิต คนเราเกิดมาครั้งหนึ่ง สิ่งที่สำคัญที่ควรปฏิบัติยิ่งในชีวิต คือ การทำกรรมดีและเป็นคนดี การที่เรามีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเช่นนั้นเองจึงมีคำกล่าวว่า "เราทั้งหลายมีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา มีกรรมเป็นของตนเองต้องเป็นไปตามกรรมที่ทำไว้ ข้าพเจ้าได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง "ธรรมะสำหรับคนดี"ขึ้นในครั้งนี้เพื่อประโยชน์ของทุกท่าน จักพ้นกับความทุกข์ทางจิตใจและร่างกาย อันเป็นที่อาศัยที่ธรรมชาติให้ยืมมา เพื่อให้ท่านได้ใช้ประโยชน์จากสังขารร่างกายให้มีค่าที่สุด และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็จะได้คืนธรรมชาติเขาไป เพราะร่างกายของเราทุกคน ธรรมชาติให้ยืมมา ในขณะเดียวกันท่านได้ทำความดีในธรรมชาติที่ให้มาหรือยัง

ด้วยความปรารถนาดี
ข้าพเจ้าเห็นว่า มนุษย์เราเกิดมาชาติหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สิ่งที่ควรทำมากเป็นอันดับแรกคือ " การทำความดี " การที่จะเป็นคนดี มีเส้นทางได้หลายเส้น ทางที่ให้เลือกสุดแล้วแต่ว่าจะเลือกทางสายใดสุดแล้วแต่ใจของท่านทั้งหลายเถิด "มันอยู่ที่ใจ"
ธรรมะทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จแล้วด้วยใจ "มันอยู่ที่ใจ"

การทำบุญในแต่ละครั้งเมื่อเราทำไปแล้ว ผลที่ได้รับ คือทำให้ "ใจเป็นสุข" เราพอใจที่จะทำอะไร เพื่อให้ผู้อื่นมีความสุขก็เป็นการทำบุญด้วยเช่นกันดังนั้นการทำบุญจึงไม่มีใครบังคับใคร มันอยู่ที่ใจของแต่ละบุคคล บางคนทำบุญมาก บางคนทำบุญน้อยก็ไม่เป็นไรเพราะผลที่ได้มันอยู่ที่ใจ ใจเราเป็นสุขก็พอใจแล้ว

บุญอยู่ที่ใจ

บุญคือความสุข ความดีใจ ความปลื้มปิติ ความสบายใจ ความสบายกาย ความปกติ ความพอใจ ความเยือกเย็น ความว่าง ความไม่มีอะไร ความไม่คิดอะไร ความเป็น "ปรมัตถ์ " มันเกิดขึ้นตามกฎของ "อิทิปปัจจยตา" คือกฎของธรรมชาติเพราะสิ่งนี้จึงมี "ปรมัตถธรรม" จะนำไปที่นั่น เดินไปตามทาง ไม่มีไปทางบวก ไม่ไปทางลบ มันเป็นสายกลางของมันไปอย่างนั้นนั่นแหละ ที่ว่าไปโดยธรรมชาติโดยแท้
อาจเป็นคนสงสัยว่าคำว่า "ปรมัตถ์" คืออะไร ปรมัตถ์คือความว่าง ความไม่มีอะไร ความจริง ความไม่จริง คิดหรือไม่คิด ดี หรือไม่ดี ไม่ต้องคิด มันเป็น "สุญญาตา" ความไม่มีตัว ความไม่มีตน ความว่าง ศูนย์ นี่แหละ "ปรมัตถ์" ปรมัตถ์ ดี ชั่ว ก็เหมือนกัน กุศล อกุศลก็เหมือนกัน อะไรที่เป็นคู่ๆ มันเป็นสังขารเท่ากัน เป็นการปรุงแต่งเท่ากัน ยึดมั่นมันก็เกิดทุกข์ และสุข

จึงสรุปว่า เดินไปตามทาง ปรมัตถ์ ถูกต้องที่สุดแล้ว.....ว่าง.....ไม่มีอะไร.....ศูนย์.....สุดท้าย.....ทุกอย่าง.........."อยู่ที่ใจ"

ดังนั้นการทำบุญ หมายถึง สิ่งที่เราปฎิบัติแล้ว เกิดความสบายใจ ต้องสบายแบบปรมัตถ์......จึงจะได้บุญ
คนเราเกิดมา เมื่ออยู่ร่วมกันเป็นสังคม ไม่ว่าจะสังคมเล็ก สังคมใหญ่ สังคมเมือง หรือสังคมชนบท แม้กระทั่งครอบครัว เราก็เรียกว่า สังคม สังคมแต่ละกลุ่มดังกล่าวมาแล้วจะอยู่ได้โดยปราศจาก ความรักเป็นไม่มี ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก รักของลูกๆที่มีต่อพ่อแม่ ลูกศิษย์กับอาจารย์ อาจารย์กับลูกศิษย์ เพื่อนกับเพื่อน พี่กับน้อง หรือแม้กระทั่ง ชายกับหญิง บุคคลดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น จึงอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่ทำลาย หรือไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน ก็เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นมีความรักให้กันและกัน ในวันใดวันหนึ่ง บุคคลดังกล่าว อาจมีสิ่งใดก็ตามที่ทำให้บุคลเหล่านั้นทะเราะกันไม่รักกันและเกลียดซึ่งกันและกัน เนื่องจาก ขัดผลประโยชน์ หรืออะไรก็แล้วแต่ หากถึงเวลานั้นจริงๆ หากใครให้อภัย ไม่โกธร ไม่เกลียด ไม่ถือสา อีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่คิดสตางค์ คือ "ให้ด้วยใจ" ทุกอย่างก็ยุติลงด้วยดี ในทางตรงกันข้าม หากถือโทษโกธรอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ร่ำไป เมื่อไรก็ไม่หายโกธรอีกฝ่าย ถือว่าบุคคลนั้น หาได้มอบรักแท้ให้คนที่รักก็หาไม่ ความรักแบบนี้ เป็นความรักที่ผสมไปด้วยความทุกข์ใจไม่เป็นสุข ตรงกันข้ามกับรักแท้ รักแท้ก็หวังให้คนที่เรารักมีความสุข ไม่โกธร ไม่เกลียดอีกฝ่าย ถึงแม้ว่า อีกฝ่ายจะทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ เสียใจ แต่พร้อมที่จะให้อภัย และให้ความรักเสมอต้นเสมอปลาย

ดังนั้นเราจึงเรียกว่า รักแท้คือการให้ ให้อภัย ในกรณีที่อยากให้คนที่เรารักมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ เราก็สามารถที่จะมอบความรักที่เป็นสิ่งของแทนความรักได้ เช่น ให้อาหาร ยารักษาโรค เป็นต้น นี่ก็ถือว่า ความรักคือการให้ด้วยเช่นกัน

ดังนั้นจึงสรุปว่า ความรักคือการให้ ให้อะไรก็ได้ที่จะทำให้คนที่เรารักมีความสุข ใจเราก็เป็นสุขด้วย ในทำนองเดียวกันคนที่เรารักก็ได้มอบความรักให้เราด้วยเช่นกัน คือ น้อมรับความรักจากฝ่ายตรงข้ามด้วยความเต็มใจ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ คำพูด หรือการแสดงออก เราก็เรียกว่า การแสดงความรักด้วยนั่นเอง จึงถือว่า คนเราหากอยู่ด้วยกันในสังคม ควรมอบความรักให้กันและกัน ต้องเป็นรักแท้ด้วย สังคมจึงจะอยู่ด้วยความสงบสุข ไม่ทะเราะเบาะแว้งอิจฉาริษยา ซึ่งกันและกัน โลกก็เต็มไปด้วยสวนดอกรักบานสะพรั่งเป็นบรรยากาศที่น่ารื่นรมณ์ยิ่งนัก เกิดแก่เจ็บตายเป็นเช่นนั้นเอง อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิดมันเป็นเช่นนั้นเอง

"ห้ามไม่ได้".....ห้ามไฟไม่ให้มีควัน ห้ามคนท้องแก่ใกล้คลอดไม่ให้เกิด ห้ามคนไม่ให้อายุมาก ห้ามคนหนุ่มโดยไม่ต้องแก่ เด็กไม่ให้เป็นผู้ใหญ่ก็เป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างเป็นไปตามโดยธรรมชาติ อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด อย่าไปห้าม ถึงห้ามก็ห้ามไม่ได้ มันเป็นไปตามกฎของธรรมชาติมันเป็นเช่นนั้นเอง อะไรในโลกนี้ เป็นไปก็ด้วยคำว่า " เป็นเช่นนั้นเอง"

ที่มา :: โดยท่านพระครูไพศาล สุตาคม เจ้าอาวาสวัดดอนแก้ว อำเภอสารภี จ.เชียงใหม่
ที่มา :: Oknation tongue tongue

กราบอนุโมทนาบุญกับผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรอย่างสูงทุกท่านค่ะ tongue tongue

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร