วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 10:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2016, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ

ผสฺสปจฺจยา เวทนา
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา


เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา


ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน


อุปาทานปจฺจยา ภโว
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ


ภวปจฺจยา ชาติ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ


ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน


เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2016, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจสี่


ภิกษุทั้งหลาย !
ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้


สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?


สี่อย่าง คือ
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์


ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์


ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


และความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์




ภิกษุทั้งหลาย !
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์


เป็นอย่างไรเล่า ?


ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ


ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์




ภิกษุทั้งหลาย !
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์


เป็นอย่างไรเล่า ?


ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก
อันประกอบด้วยความกำหนัด

เพราะอำนาจแห่งความเพลิน
มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่


( กามตัณหา )
ตัณหาในกาม

( ภวตัณหา )
ตัณหาในความมีความเป็น

( วิภวตัณหา )
ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น


ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์




ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


เป็นอย่างไรเล่า ?


ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป
โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง
ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด


ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์




ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์


เป็นอย่างไรเล่า ?


หนทางอันประเสริฐ
ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้


( ความเห็นชอบ )
สัมมาทิฏฐิ

( ความดำริชอบ )
สัมมาสังกัปปะ

( การพูดจาชอบ )
สัมมาวาจา

( การงานชอบ )
สัมมากัมมันตะ

( การเลี้ยงชีพชอบ )
สัมมาอาชีวะ

( ความเพียรชอบ )
สัมมาวายามะ

( ความระลึกชอบ )
สัมมาสติ

( ความตั้งใจมั่นชอบ )
สัมมาสมาธิ


ภิกษุทั้งหลาย !
อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์




ภิกษุทั้งหลาย !
เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง



ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้


พวกเธอพึงทำความเพียร
เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า นี้เป็นทุกข์


นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์


นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์


นี้เป็นทางดำเนินให้ถึง
ความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2016, 01:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน



walaiporn เขียน:


ผัสสะ

ผสฺสปจฺจยา เวทนา
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา


เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา


ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน


อุปาทานปจฺจยา ภโว
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ


ภวปจฺจยา ชาติ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ


ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน


เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2016, 01:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน




walaiporn เขียน:


อริยสัจสี่


ภิกษุทั้งหลาย !
ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้


สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?


สี่อย่าง คือ
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์


ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์


ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


และความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์




ภิกษุทั้งหลาย !
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์


เป็นอย่างไรเล่า ?


ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ


ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์




ภิกษุทั้งหลาย !
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์


เป็นอย่างไรเล่า ?


ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก
อันประกอบด้วยความกำหนัด

เพราะอำนาจแห่งความเพลิน
มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่


( กามตัณหา )
ตัณหาในกาม

( ภวตัณหา )
ตัณหาในความมีความเป็น

( วิภวตัณหา )
ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น


ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์




ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


เป็นอย่างไรเล่า ?


ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป
โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง
ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด


ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์




ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์


เป็นอย่างไรเล่า ?


หนทางอันประเสริฐ
ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้


( ความเห็นชอบ )
สัมมาทิฏฐิ

( ความดำริชอบ )
สัมมาสังกัปปะ

( การพูดจาชอบ )
สัมมาวาจา

( การงานชอบ )
สัมมากัมมันตะ

( การเลี้ยงชีพชอบ )
สัมมาอาชีวะ

( ความเพียรชอบ )
สัมมาวายามะ

( ความระลึกชอบ )
สัมมาสติ

( ความตั้งใจมั่นชอบ )
สัมมาสมาธิ


ภิกษุทั้งหลาย !
อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์




ภิกษุทั้งหลาย !
เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง



ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้


พวกเธอพึงทำความเพียร
เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า นี้เป็นทุกข์


นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์


นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์


นี้เป็นทางดำเนินให้ถึง
ความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2016, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การกระทำเพื่อดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน



๑. โยนิโสมนสิการ

การกำหนดรู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
(ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)



๒. สมถะ(สัมมาวิมุติ)

ผลของการกำหนดรู้
จิตเป็นสมาธิชั่วขณะหนึ่ง(หยุดสร้างเหตุนอกตัว)
(สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ)

แต่ไม่ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่
คือ เป็นผู้ไม่ได้ฌาน

กล่าวคือ
สมถะเกิดก่อน(สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ)
วิปัสสนาจึงเกิดทีหลัง(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)



"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุติ
แต่ไม่ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างนี้แล ฯ"




"ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่"
แต่ว่าไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วย นามกาย"




"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป
และทำราคะ โทสะโมหะให้เบาบาง จะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น
และจะกระทำที่สุดทุกข์ได้

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างนี้แล ฯ"




๓. วิปัสสนา(ไตรลักษณ์)


ผลของการกำหนดรู้ กล่าวคือ

วิปัสสนาเกิดก่อน(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
สมถะจึงเกิดทีหลัง(สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ)





บุคลลเมื่อไม่กำหนดรู้(อโยนิโสมนสิการ)
เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่

ทำให้ไม่รู้ชัดใน ผัสสะ(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต)
และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ของคำที่เรียกว่า ผัสสะ
จึงไม่สามารถนำ "ผัสสะ" มากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้




ทำให้ไม่รู้ว่า เพราะอะไร สิ่งที่เกิดขึ้น
บางครั้ง มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

บางครั้ง ไม่มีผลกระทบทางใจ ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
แค่รู้ว่ามีเกิดขึ้นเท่านั้นเอง(รู้สึกเฉยๆ)

==================

เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่

ว่าด้วยผัสสะ

กล่าวในแง่ของ ปริยัติ

ภิกษุ ท. ! อาศัยตากับรูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางตา) ขึ้น,

อาศัยหูกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางหู) ขึ้น,

อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางจมูก) ขึ้น,

อาศัยลิ้นกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น) ขึ้น,

อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย) ขึ้น,

และอาศัยใจกับธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ) ขึ้น ;

ความประจวบกันแห่งสิ่งทั้งสาม (เช่น ตา รูป จักขุวิญญาณ เป็นต้น แต่ละหมวด) นั้น

ชื่อว่า ผัสสะ.



เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา
อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.

บุคคลนั้น เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่,

อนุสัยคือราคะ
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.

เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเศร้าโศก
ย่อมระทมใจ
คร่ำครวญ
ตีอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่,

อนุสัยคือปฏิฆะ
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.

เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข ถูกต้องแล้ว
ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย
ซึ่งความดับแห่งเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย,

อนุสัยคืออวิชชา
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.

ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ
ยังละอนุสัย คือ ราคะในเพราะสุขเวทนาไม่ได้,
ยังบรรเทาอนุสัย คือ ปฏิฆะในเพราะทุกขเวทนาไม่ได้,
ยังถอนอนุสัย คือ อวิชชาในเพราะอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้,
ยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว

จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรมนี้ ดังนี้ :
ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

– อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 28 ม.ค. 2017, 22:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2016, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
การกระทำเพื่อดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน



๑. โยนิโสมนสิการ

การกำหนดรู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
(ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)



๒. สมถะ(สัมมาวิมุติ)

ผลของการกำหนดรู้
จิตเป็นสมาธิชั่วขณะหนึ่ง(หยุดสร้างเหตุนอกตัว)
(สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ)

แต่ไม่ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่
คือ เป็นผู้ไม่ได้ฌาน

กล่าวคือ
สมถะเกิดก่อน(สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ)
วิปัสสนาจึงเกิดทีหลัง(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)








๓. วิปัสสนา(ไตรลักษณ์)


ผลของการกำหนดรู้ กล่าวคือ

วิปัสสนาเกิดก่อน(ผลของการโยนิโสมนสิการ/การกำหนดรู้)
สมถะจึงเกิดทีหลัง(สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ)






สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ


ให้กำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)
ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป ทางกาย วาจา
ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง


เมื่อกำหนดรู้เนืองๆ
อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา
ย่อมมีเกิดขึ้นตามความจริง

เป็นเหตุปัจจัยให้ จิตเกิดความเบื่อหน่ายในเหตุปัจจัยที่มีอยู่
จนถึงในที่สุด เบื่อหน่ายภพชาติของการเกิดที่มีอยู่
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

เมื่อกำลังของตัณหาลดลง
โลภะ โทสะ โมหะ ที่มีเกิดขึ้น
ย่อมไม่มีกำลังมากพอจนถึงขั้น
ที่จะปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา
แค่รู้ว่า มีความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้นเท่านั้นเอง
แต่ไม่นำมาเป็นอารมณ์จนถึงขั้นสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก





การเพียรละเหตุ ณ ปัจจุบัน


ความเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิดที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ
ย่อมส่งผลต่อจิตดวงสุดท้าย




สิ่งสำคัญ อยู่ตรงความเบื่อหน่ายนี่แหละ

หากเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด ตามความเป็นจริงแล้ว
ย่อมคลายกำหนัด





จิตดวงสุดท้าย

ชั่ววินาที หมดลมหายใจ
จิตจะไม่เอาอะไรมาเป็นที่ยึดเหนี่ยว
จิตเกิดการปล่อยวาง ตามความเป็นจริง



ไม่ใช่มีเกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วจบ
จะมีเกิดขึ้นซ้ำ เป็นการตอกย้ำ สภาวะจิตดวงสุดท้าย



ไม่ใช่ความเป็นนั่นนี่
แต่บ่งบอกถึง ภพชาติของการเกิดที่ยังมีอยู่




=================================

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้น ว่า
เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ จุติ
เป็นการอุปบัติ

อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้
มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบปฐมนิพพานสูตรที่ ๑


==================================



เป็นเหตุปัจจัยให้


วิโมกข์ มี ๓ อย่าง

อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์
สุญญตวิโมกข์


วิโมกขมุข มี ๓ อย่าง

อนิมิตตานุปัสสนา
อัปปณิหิตานุปัสสนา
สุญญตานุปัสสนา


มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 28 ม.ค. 2017, 22:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2017, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

------------------


"เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ"


หมายเหตุ;

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด








"เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ"

หมายเหตุ;

เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
ทำให้ไม่รู้ชัดในผัสสะตามความเป็นจริง

ทำให้ไม่รู้ว่า เพราะเหตุใด
สิ่งที่เกิดขึ้น จึงมีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

จึงสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
โดยมีตัณหาเป็นแรงผลักดัน ให้เกิดการกระทำ

โดยการปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง
กาย(กายกรรม)
ทางวาจา(วจีกรรม)
จึงกลายป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก





"เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ"

หมายเหตุ;

เพราะชาติ ได้แก่ การปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง
กาย(กายกรรม)
ทางวาจา(วจีกรรม)
จึงกลายป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้น



"จึงมี ชรา มรณะ"
กล่าวคือ โลกธรรม ๘

เหตุปัจจัยจาก ความไม่รู้ชัดในโลกธรรม ๘
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงว่า
เกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย

โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2017, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกธรรม ๘




โลกวิปัตติสูตร

[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉน คือ

ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภก็ดี ความเสื่อมลาภก็ดี ยศก็ดี ความเสื่อมยศก็ดี
นินทาก็ดี สรรเสริญก็ดี สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี

ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้จะมีอะไรแปลกกัน
มีอะไรผิดกัน มีอะไรเป็นข้อแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ



ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลาย
จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าลาภนั้น
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ความเสื่อมลาภ ... ยศ ... ความเสื่อมยศ ...
นินทา ... สรรเสริญ ... สุข ... ทุกข์

ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า

ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า
ทุกข์นั้นไม่เที่ยง
เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้ความเสื่อมลาภ ...แม้ยศ ... แม้ความเสื่อมยศ ...
แม้นินทา ... แม้สรรเสริญ ... แม้สุข ... แม้ทุกข์ ย่อมครอบงำจิตของเขาได้

เขาย่อมยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ย่อมยินดียศที่เกิดขึ้น ย่อมยินร้ายในความเสื่อมยศ
ย่อมยินดีสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในนินทา
ย่อมยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในทุกข์

เขาประกอบด้วยความยินดียินร้ายอย่างนี้
ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
อริยสาวกนั้น ย่อมตระหนักชัด ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
ลาภเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าลาภนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความเสื่อมลาภ ... ยศ ...ความเสื่อมยศ ... นินทา ... สรรเสริญ ...
สุข ... ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ

อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด ทราบชัดตามความจริงว่า
ทุกข์นี้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้ แม้ความเสื่อมลาภ ... แม้ยศ ... แม้ความเสื่อมยศ ...
แม้นินทา ... แม้สรรเสริญ ... แม้สุข ... แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้

ท่านย่อมไม่ยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ไม่ยินดียศที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ
ไม่ยินดีความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในนินทา
ไม่ยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในทุกข์
ท่านละความยินดียินร้ายได้แล้วเด็ดขาดอย่างนี้

ย่อมพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์


ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความแปลกกัน ผิดกัน
แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ






ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑
เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว
พิจารณาเห็นว่า มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้

ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์
ท่านขจัดความยินดีและยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่


อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี
ไม่มีความเศร้าโศกเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2017, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุป วิธีการกระทำเพื่อดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน



หัวใจของการปฏิบัติ




1. โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)
ได้แก่ การกำหนดรู้ในผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
และขณะทำความเพียร








2. สมถะ (สัมมาวิมุติ)
เป็นผลของการกำหนดรู้ในผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัยให้

สุญญตสมาธิ

อนิมิตตสมาธิ

อัปปณิหิตสมาธิ

มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง







3. วิปัสสนา/ไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ซึ่งเกิดจากการกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2017, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


บรรลุนิพพานในปัจจุบัน


๔. ธัมมกถิกสูตรที่ ๒
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าพระธรรมกถึก

[๓๐๓] พระนครสาวัตถี.
ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระธรรมกถึก พระธรรมกถึก ดังนี้
ภิกษุชื่อว่าเป็นธรรมกถึกด้วยเหตุเพียงเท่าไร
ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมด้วยเหตุเพียงเท่าไร?



พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ
หากว่า ภิกษุแสดงธรรม
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้
ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ธรรมกถึก.





หากว่า ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้
ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.





หากว่า ภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้
ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ได้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน.

จบ สูตรที่ ๔

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2017, 07:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2017, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7520

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
การเข้าถึงอริยสัจจ์4ด้วยสติปัญญาเจริญในธรรมของพระศาสดา
ตรงอริยมรรค8ถึงแล้วซึ่งความจริงที่กำลังปรากฏเป็นปัจจุบันขณะ
เพราะได้อบรมจิตจนเจริญสติปัญญาเพื่อเข้าถึงความจริงได้โดยลำดับ
นิพพานเข้าถึงได้โดยดับความไม่รู้ไม่เหลืออวิชชาพ้นทุกข์ด้วยหลุดพ้นโลก
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การกระทำเพื่อดับเหตุปัจจัยของภพชาติการเกิดปัจจุบัน
เขียนวิธีการกระทำไว้ในนี้ เกี่ยวกับ ทำไมต้องกำหนดรู้



viewtopic.php?f=1&t=53493&p=404630#p404630

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การอธิบายความเรื่อง


เหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน

การดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน

การกระทำเพื่อดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน


จบแต่เพียงเท่านี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการ สมาธิ วิปัสสนา สามอย่างที่ว่ามาเกิดขึ้นตามลำดับ หรือเกิดพร้อมกัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร