วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 11:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2011, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่พระพุทธองค์มักตรัสกับภิกษุว่า"เธอจงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด"คำนี้หมายความว่าอะไร และมีคุณอย่างไร?วานท่านผู้รู้ช่วยชี้แจง :b9:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2011, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
ที่พระพุทธองค์มักตรัสกับภิกษุว่า"เธอจงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด"คำนี้หมายความว่าอะไร และมีคุณอย่างไร?วานท่านผู้รู้ช่วยชี้แจง :b9:


ไม่ต้องดิ้นรนหาคำตอบเลย อ่านไปเรื่อยๆก็พอ เดี๋ยวมาตอบให้

:b12: :b12: :b12:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2011, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าเพิ่งตกลงใจว่าจะไม่ทำครับคุณขณะฯ ทำไปเถอะ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2011, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสติเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
เนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้
เรียกว่า สัมมาสติ.
(ที่มา- พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค วิภังคสูตร อริยมรรค ๘)
:b1: เดี๋ยวนี้ปฏิบัติ หลักๆแค่นี้แหละ วัดก็ไม่ค่อยเข้า เหล้ายาเลิกแล้ว เธ็คก็ไม่ได้ไป
ดูจิตดูกาย มีสติ ไม่ยินดี ยินร้าย ปล่อยวาง คงไม่ขวนขวายน้อยเกินไป สาธุ

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2011, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
:b1: เดี๋ยวนี้ปฏิบัติ หลักๆแค่นี้แหละ วัดก็ไม่ค่อยเข้า เหล้ายาเลิกแล้ว เธ็คก็ไม่ได้ไป
ดูจิตดูกาย มีสติ ไม่ยินดี ยินร้าย ปล่อยวาง คงไม่ขวนขวายน้อยเกินไป สาธุ


คุณขณะฯ ตรงที่แดงๆนั่นล่ะ ขวนขวายน้อย คือไม่ต้องทำอะไรมาก นอกจากการปฏิบัติเพียงเท่านี้ ก็
สามารถถึงฝั่งได้

ความหมายยังมีอีกครับ คำนี้คล้ายอีเดี้ยมของอังกฤษ กำลังคิดสถานะการณ์อยุ่ จะหาตัวอย่างประโยค
แบบไหนให้คุณขณะฯเก็ตง่ายๆ ไวๆ

:b8: :b12:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2011, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ รอฟัง อยากทราบจากผู้รู้เหมือนกันว่า ที่ว่าน้อย น้อยอย่างไง ถึงจะไม่น้อย (แต่ไม่มาก ) :b16:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2011, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 19:31
โพสต์: 169

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: ทำดี
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มที่ชอบ
ชื่อเล่น: เก็บเกี่ยว
อายุ: 0
ที่อยู่: ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่าหน้าจะหมายถึง ด้านการใช้ปัจจัย ๔ ของพระภิกษุมากกว่า มัง s006

.....................................................
รักษาที่ดีไว้ ก่อความดีใหม่ๆ ละๆๆชั่วต่อๆไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2011, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เก็บเกี่ยว เขียน:
ผมว่าหน้าจะหมายถึง ด้านการใช้ปัจจัย ๔ ของพระภิกษุมากกว่า มัง s006


ในความหมายนี้ก็ใช่เช่นเดียวกันครับ บางครั้งทรงเตือน หมายถึงว่าอย่ามัวไปวุ่นวายกับเรื่องการเป็นอยู่
ด้วยปัจจัย ๔ มาก แค่พอประมาณก็พอ เอาเวลาไปปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น

อนุโมทนาครับ :b8:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2011, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เธอจงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด หมายถึงเธอจงทำลายความต้องการให้สิ้นเถิด
เพราะเมื่อสิ้นความต้องการได้แล้วอย่างเด็ดขาด เธอก็จะเข้าถึงการเป็นอยู่ที่ไม่เหลือสิ่งใด
จะต้องการ และจะต้องขวนขวายอีก บนความไม่ต้องการสิ่งใด การขวนขวาย
เพื่อจะได้ เพื่อจะมี เพื่อจะเป็น ก็จะเย็นลง จะมีก็แต่เพียงการขวนขวายเพียงเพื่อประคอง
ธาตุขันธ์เท่านั้น

การเข้าถึงความสิ้นตัณหา จึงเป็นการเข้าถึงความเป็นผู้ขวนขวายน้อยครับ

ขอแสดงความคิดส่วนตัวด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2011, 22:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เก็บเกี่ยว เขียน:
ผมว่าหน้าจะหมายถึง ด้านการใช้ปัจจัย ๔ ของพระภิกษุมากกว่า มัง s006

:b8: :b8:

การอยู่การกิน...อย่าวุ่นวายมากเรื่อง..เสียเวลา...แค่พออยู่ได้...ก็พอ

การบำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้น...ขวนขวายให้มาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2011, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


จางบางลางเลือน เขียน:
เธอจงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด หมายถึงเธอจงทำลายความต้องการให้สิ้นเถิด


ใน คห. ผม ถ้าเป็นที่พระพุทธองค์ตรัสเตือนภิกษุ ก็ไกล้กับความเห็นของคุณมาก แต่ ในบางที่คำนี้ก็มีใช้
อีก ซึ่งทำให้ความหมายกว้างไปอีก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ใช้ เช่น

ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประณาม
ภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของข้าพระองค์ได้มีอย่างนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคจักทรงมีความขวนขวายน้อย
ประกอบตามธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ แม้เราทั้งหลายก็จักมีความขวนขวายน้อย
ประกอบตามธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ในบัดนี้.

พระพุทธองค์ทรงหมดกิเลสแล้ว ความหมายที่ว่าทำลายความต้องการให้สิ้น คงไม่เหมาะที่จะใช้ในที่นี้
ไหนๆก็พูดถึงคำนี้แล้ว มาช่วยกันจรรโลงให้ทั่วเลยครับ



จางบางลางเลือน เขียน:
ขอแสดงความคิดส่วนตัวด้วยครับ


ตามสบายครับ ผมว่าไม่ต้องขอ ยินดีที่จะอ่านความเห็นจากหลายๆท่านครับ

อนุโมทนาครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2011, 23:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองดูที่ความหมายตรงนี้อีกครับ สำนวนคำนี้มากจริงๆ แล้วแต่ที่ใช้จริงๆ ถ้าตามที่ จขกท โพสถาม
ความหมายก็ไปทางที่เพื่อนสมาชิกมี คห. โดยมาก

อันนี้นำมาฝาก เพราะจะเจอหลายที่เวลาอ่านพระไตรปิฎก

"เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพิจารณาอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราไม่ควรที่ประกาศธรรม ที่บรรลุได้โดยยาก ธรรมนี้ ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์ทั้งหลาย ผู้ถูกความยินดียินร้ายครอบงำ รู้ได้ง่ายเลย สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ถูก ราคะ ย้อมใจ ถูกกองความมืดห่อหุ้มไว้ ย่อมไม่เห็นธรรมที่เป็นไปทวนกระแส ที่ปราณีต ลึกซึ้ง ที่เห็นได้ยาก ละเอียด ได้เลย .... ดังนี้แล้ว ก็ทรงน้อมพระทัยไป (ทรงดำริ) เพื่อความเป็นผู้ขวนขวายน้อย ไม่ใช่เพื่อแสดงธรรม"

ในความหมายตรงนี้ บางท่านแปลว่า ทรงถอดใจ หรือ ทรงท้อที่จะสั่งสอน
การให้ความหมายแบบนี้ไม่ถูกต้องเลย ผมเคยฟังพระเทศน์ ก็ออกมาแนวนี้เหมือนกัน

ตรงนี้น่าจะมีความหมายว่า อยู่เฉยๆ ไม่ต้องสั่งสอนอะไร มีความสุขกับทิฏฐธรรมที่ค้นพบเอง

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2011, 23:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมก็เคยอ่านเจอหลายที่ในพระไตรปิฏกประมาณว่าท่านมักตรัสเตือนพระภิกษุที่มีความขวนขวายมากในกิจที่ไม่ใช่ของสงฆ์มากเกินไป อาจหมายถึงความสันโดษควรทำแต่พอดีในกิจของสงฆ์ไม่ทำในกิจที่ไม่จำเป็น หรือเป็นของฆาราวาส ประมาณนี้มังครับ :b16:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2011, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
ผมก็เคยอ่านเจอหลายที่ในพระไตรปิฏกประมาณว่าท่านมักตรัสเตือนพระภิกษุที่มีความขวนขวายมากในกิจที่ไม่ใช่ของสงฆ์มากเกินไป อาจหมายถึงความสันโดษควรทำแต่พอดีในกิจของสงฆ์ไม่ทำในกิจที่ไม่จำเป็น หรือเป็นของฆาราวาส ประมาณนี้มังครับ :b16:


ครับ ในความหมายนี้ก็ใช่ ใช้ในเชิงตำหนิ ถ้าเป็นสำนวนไทย คำนี้จะมีความหมายต่างๆ เช่น

อยู่เฉยๆ ไม่ต้องดิ้นรนมาก วางเฉยก่อน หยุด ไม่ต้องทำอะไรเกินพอดี ฯลฯ

น่าจะประมาณนี้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2011, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ขวนขวายน้อย พบในบาลีว่า อปฺโปสฺสุกฺก
ด้วยปัญญาและประสบการณ์ที่ยังน้อย ขอแปลตามความเข้าใจที่มี คำนี้น่าจะแปลว่า

ความเพียรอันเป็นเหตุเพิ่มขึ้น........น้อย

ตรง ........ ไมายถึงเราจะใส่อะไรไปก็ได้ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น ความเพียรอันเป็นเหตุเพิ่มขึ้นของปัจจัย
น้อย

การตีความหมายคำนี้ สุดแท้แต่ว่าอยู่ในประโยคลักษณะใด ก็ต้องอนุโลมไปตามลักษณะนั้น
ถ้าเป็นชาวมคธใช้เอง ดูเหมือนว่าจะไม่มีปัญหา เพราะเป็นภาษาเขาเอง ใช้ได้ครบสำเนียงและความหมาย
ก็ไม่เพี้ยนไป

ปล.อีกวันแล้วที่เช้าๆแบบอากาศเย็นๆ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร