วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2013, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน ๔ กับการดำเนินชีวิต

ปัจจุบันขณะ

หมายถึง เมื่อ ผัสสะมากระทบ เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย

กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ
ภิกษุทั้งหลาย ความระลึกชอบเป็นอย่างไร

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่


อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้


เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มากระทบ) เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้น) และภายใน (ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น)

หมายถึง มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ได้แก่ อดทน อดกลั้น กดข่มใจ ไม่ให้ไหลตามหรือคล้อยตามกิเลสที่เกิดขึ้น

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ได้แก่ รู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต




ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดอยู่ ในกาย ไม่ง้างมือ ง้างขา อ้าปาก หรือแม้กระทั่ง กิริยาอื่นๆออกไป
(พิจารณาเห็นกายในกายอยู่)

ไม่สร้างเหตุออกไป(กายกรรม วจีกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
(มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้)


เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้


เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มากระทบ) เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้น) และภายใน (ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น)




ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดอยู่ ในเวทนา(ความรู้สึกยินดี/ยินร้าย) ที่เกิดขึ้น
(พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนา ทั้งหลายอยู่)

ไม่สร้างเหตุออกไป(กายกรรม วจีกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
(มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้)



จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้



เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มากระทบ) เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้น) และภายใน (ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น)



ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดอยู่ ในอารมณ์/ความรู้สึก ที่เกิดขึ้น
เช่น จิตมีโทสะ(ความโกรธ) ก็รู้ว่า จิตมีโทสะ

จิตมีโลภะ(ความโลภ) ก็รู้ว่า จิตมีโลภะ

รวมทั้ง ความรู้สึกอื่นๆ ที่เกิดขึ้น

มี สติ สัมปชัญญะ รู้ชัดอยู่ใน สิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิต
(พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่)

ไม่สร้างเหตุออกไป(กายกรรม วจีกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
(มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้)


ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
เป็น ผู้มี ปกติ พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทงั้ หลายอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้



เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มากระทบ) เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้น) และภายใน (ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น)




ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดอยู่ ในความนึกคิด ที่เกิดขึ้น
(พิจารณาเห็นธรรม ในธรรม ทั้งหลายอยู่)

ไม่สร้างเหตุออกไป(กายกรรม วจีกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
(มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้)





อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ

ลักษณะอาการทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เรียกว่า ความระลึกชอบหรือ สัมมาสติ



สติ ได้แก่ ความรู้ตัว ก่อนที่ลงมือกระทำกิจ(วิตก)

สัมปชัญญะ ได้แก่ ความรู้สึกตัว ขณะที่กำลังทำกิจนั้นๆอยู่(วิจาร/จิตจดจ่อ)


เมื่อมี วิตก(สติ) วิจาร(สัมปชัญญะ) สมาธิย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย เป็นเหตุให้

สมาธิเกิดขึ้น ได้แก่ ความรู้ชัด ขณะที่กำลังทำกิจนั้นๆ


เมื่อมีทั้ง สติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ทำงานร่วมกัน เป็นเหตุให้เกิด สภาวะ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

กำลังสมาธิที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน แล้วแต่เหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่

เป็นเหตุให้ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีความตั้งมั่นอยู่ ไม่เท่ากัน(ขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิ ขณะนั้นๆ)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 16 ก.พ. 2013, 17:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2013, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่สุดแห่งทุกข์


พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงชักชวนภิกษุทั้งหลาย ด้วยธัมมิกถาอันเนื่องเฉพาะด้วยนิพพาน,
ได้ทรงเห็นว่าภิกษุทั้งหลายสนใจฟังอย่างยิ่ง

จึงได้ตรัส พระพุทธอุทานนี้ขึ้น ในเวลานั้น ว่า :-


นิสสิตัสสะ จะลิตัง
ความหวั่นไหว ย่อมมีแก่บุคคล ผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยแล้ว
(การสร้างเหตุ/มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม)

อะนิสสิตัสสะ จะลิตัง นัตถิ
ความหวั่นไหว ย่อมไม่มีแก่บุคคล ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว
(การไม่สร้างเหตุ)

จะลิเต อะสะติ ปัสสัทธิ
เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ปัสสัทธิ ย่อมมี
(มีเหตุ ย่อมมีผล/นิวรณ์ ๕ เหตุจาก มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ที่เป็นเหตุปัจจัยอยู่ เป็นเครื่องกั้น ไม่ให้จิตตั้งมั่น เมื่อไม่มีนิวรณ์ จิตย่อมตั้งมั่น)

ปัสสัทธิยา สะติ นะติ นะ โหติ
เมื่อปัสสัทธิมี ความน้อมไป ย่อมไม่มี
(เมื่อรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต การสร้างเหตุออกไป ย่อมไม่มี)

นะติยา อะสะติ อาคะติคะติ นะ โหติ
เมื่อความน้อมไปไม่มี การมาและการไปย่อมไม่มี
(ไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีผล)

อาคะติคะติยา อะสะติ จุตูปะปาโต นะ โหติ
เมื่อการมาและการไปไม่มี การเคลื่อน และการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี
(เมื่อไม่มีเหตุ ไม่มีผล /การเกิดภพชาติใหม่ ณ ปัจจุบัน ขณะ ย่อมไม่มี)

จุตูปะปาเต อะสะติ เนวิธะ นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเร
เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้นไม่มี อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้
ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
(ความดับภพ ได้แก่ นิพพาน)

เอเสวันโต ทุกขัสสะ
นั่น แหละ คือ ที่สุดแห่งทุกข์ละ

ขุ. อุ. ๒๕/๒๐๘/๑๖๑

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2013, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่สุดแห่งทุกข์


[๓๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี

ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระหลายรูป กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต นั่งประชุมกันอยู่ที่โรงกลม ได้เกิดการสนทนากันขึ้น ในระหว่างว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในปัญหาของเมตเตยยมาณพ ใน
ปรายนสูตรว่า

ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้งสองด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วงเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้ ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ส่วนสุดที่ ๑ เป็นไฉนหนอ ส่วนสุดที่ ๒ เป็นไฉน
อะไรเป็นส่วนท่ามกลาง อะไรเป็นเครื่องร้อยรัด ฯ


เมื่อสนทนากันอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑
เหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒
ความดับแห่งผัสสะเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่า ตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะ

และเหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะนั้น เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันเทียว ฯ


เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
อดีตเป็นส่วนสุดที่ ๑
อนาคตเป็นส่วนสุดที่ ๒
ปัจจุบัน เป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดอดีต อนาคต และปัจจุบันนั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล


ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันเทียว ฯ


เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
สุขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๑
ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๒
อทุกขมสุขเวทนาเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนานั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ


เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
นามเป็นส่วนสุดที่ ๑
รูปเป็นส่วนสุดที่ ๒
วิญญาณเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัด นาม รูป และวิญญาณนั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล

ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ


เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
อายตนะภายใน ๖
เป็นส่วนสุดที่ ๑
อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๒
วิญญาณเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ และวิญญาณนั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ


เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
สักกายะเป็นส่วนสุดที่ ๑
เหตุเกิดสักกายะเป็นส่วนสุดที่ ๒
ความดับสักกายะเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัดสักกายะ เหตุเกิดสักกายะ และความดับสักกายะนั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ


เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พวกเราทั้งปวงเทียวได้พยากรณ์ตามปฏิภาณของตนๆ มาเถิด เราทั้งหลายจักพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

แล้วจักกราบทูล เนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคจักทรงพยากรณ์แก่พวกเรา โดยประการใด เราทั้งหลายจักทรงจำข้อที่ทรงพยากรณ์นั้นไว้ โดยประการนั้น

ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย รับคำของภิกษุนั้นแล้ว ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูล การที่สนทนาปราศรัย ทั้งหมดนั้น แด่พระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำของใครหนอเป็นสุภาษิต พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำของเธอทั้งปวง เป็นสุภาษิตโดยปริยาย อนึ่ง เราหมายเอาข้อความที่กล่าวไว้ใน ปัญหาของเมตเตยยมาณพ ในปรายนสูตรว่า

ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้ง ๒ ด้วยปัญญา แล้วไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง
เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วงเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้ ฯ

เธอทั้งหลาย จงฟังข้อความนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑
เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒
ความดับผัสสะเป็นส่วนท่ามกลาง
ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะ

เหตุเกิดผัสสะ และความดับผัสสะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 368&Z=9442

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2013, 21:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
(มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้)


เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสังมีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้

:b27:
คุณwalaipornครับ.....การแปลว่า "มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้"....ตามที่คุณยกมานั้น น่าจะไม่ครบถ้วนตามบาลีที่ว่า....อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
:b10:
สังเกตตรงคำว่า..."สัมปชาโน สติมา"....ตรงนี้น่าจะแปลว่า....มีปัญญา..มีสติ..เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก

ความลึกซึ้งในการที่จะเอาความยินดียินร้ายออกจากใจได้นั้น มันมีอยู่ 2 ชั้น

ชั้นที่ 1 ใช้สติ ตัดความยินดียินร้าย........อย่างนี้เอาออกได้ชั่วคราว

ชั้นที่ 2 เอาสติรู้ทัน เอาปัญญารู้ทั่วถึง ในความยินดียินร้ายและผู้ที่ยินดียินร้าย.....ถอนความยึดถือในผู้ยินดียินร้ายออก....ความยินดียินร้ายก็ตกไปเพราะปราศจากผู้รับ....อย่างนี้จึงจะเป็นการเอายินดียินร้ายออกได้โดยถาวร

tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2013, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
เอาสติรู้ทัน เอาปัญญารู้ทั่วถึง ในความยินดียินร้ายและผู้ที่ยินดียินร้าย.....ถอนความยึดถือในผู้ยินดียินร้ายออก....ความยินดียินร้ายก็ตกไปเพราะปราศจากผู้รับ....อย่างนี้จึงจะเป็นการเอายินดียินร้ายออกได้โดยถาวร




ตราบใด ที่ยังมีกิเลส หรือสังโยชน์ ๑๐ ไม่มีทางหรอก

แล้วการหยิบยกประโยคใดๆมา ควรหยิบยกมาให้หมด อย่าเอาแค่ถูกใจ ตัวเอง


walaiporn เขียน:
เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้


เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มากระทบ) เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้น) และภายใน (ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น)

หมายถึง มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ได้แก่ อดทน อดกลั้น กดข่มใจ ไม่ให้ไหลตามหรือคล้อยตามกิเลสที่เกิดขึ้น

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ได้แก่ รู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต


ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดอยู่ ในเวทนา(ความรู้สึกยินดี/ยินร้าย) ที่เกิดขึ้น
(พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนา ทั้งหลายอยู่)

ไม่สร้างเหตุออกไป(กายกรรม วจีกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
(มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 16 ก.พ. 2013, 17:42, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2013, 22:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ทำ การสาธยายธรรม ตามที่ฟัง ได้เรียนมาโดยพิสดาร,
แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา.

ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด)
ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)....

เธอไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วย การเรียนธรรมนั้นๆ
ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น,
ประกอบตามซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจในภายในเนืองๆ.

ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)....
อํ. ปญฺจก. ๒๒/

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2013, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้


นี่คือยอดปรารถนาของผู้ต้องการความสุขแท้จริง

แต่เราๆหลายคนก็คงทราบกันว่าลำพังแค่มีสติเป็นครั้งคราวในชีวิตประจำวัน ไม่เพียงพอที่จะเอาความพอใจไม่พอใจออกได้

จึงอยากทราบว่ามีสติอย่างไร จึงจะนำไปสู่ผลแบบในข้อความ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2013, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
[code]

จึงอยากทราบว่ามีสติอย่างไร จึงจะนำไปสู่ผลแบบในข้อความ



มรรค ผล นิพพานค่ะ

โสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2013, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุ



walaiporn เขียน:
สติปัฏฐาน ๔ กับการดำเนินชีวิต

ปัจจุบันขณะ

หมายถึง เมื่อ ผัสสะมากระทบ เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย

กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ
ภิกษุทั้งหลาย ความระลึกชอบเป็นอย่างไร

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่


อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้


เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มากระทบ) เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้น) และภายใน (ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น)




ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดอยู่ ในกาย ไม่ง้างมือ ง้างขา อ้าปาก หรือแม้กระทั่ง กิริยาอื่นๆออกไป
(พิจารณาเห็นกายในกายอยู่)

ไม่สร้างเหตุออกไป(กายกรรม วจีกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
(มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้)


เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้


เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มากระทบ) เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้น) และภายใน (ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น)




ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดอยู่ ในเวทนา(ความรู้สึกยินดี/ยินร้าย) ที่เกิดขึ้น
(พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนา ทั้งหลายอยู่)

ไม่สร้างเหตุออกไป(กายกรรม วจีกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
(มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้)



จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้



เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มากระทบ) เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้น) และภายใน (ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น)



ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดอยู่ ในอารมณ์/ความรู้สึก ที่เกิดขึ้น
เช่น จิตมีโทสะ(ความโกรธ) ก็รู้ว่า จิตมีโทสะ

จิตมีโลภะ(ความโลภ) ก็รู้ว่า จิตมีโลภะ

รวมทั้ง ความรู้สึกอื่นๆ ที่เกิดขึ้น

มี สติ สัมปชัญญะ รู้ชัดอยู่ใน สิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิต
(พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่)

ไม่สร้างเหตุออกไป(กายกรรม วจีกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
(มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้)


ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
เป็น ผู้มี ปกติ พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทงั้ หลายอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้



เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มากระทบ) เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้น) และภายใน (ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น)




ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น

มีสติ สัมปชัญญะ รู้ชัดอยู่ ในความนึกคิด ที่เกิดขึ้น
(พิจารณาเห็นธรรม ในธรรม ทั้งหลายอยู่)

ไม่สร้างเหตุออกไป(กายกรรม วจีกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
(มีสติ นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้)





อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ

ลักษณะอาการทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เรียกว่า ความระลึกชอบหรือ สัมมาสติ



สติ ได้แก่ ความรู้ตัว ก่อนที่ลงมือกระทำกิจ(วิตก)

สัมปชัญญะ ได้แก่ ความรู้สึกตัว ขณะที่กำลังทำกิจนั้นๆอยู่(วิจาร/จิตจดจ่อ)


เมื่อมี วิตก(สติ) วิจาร(สัมปชัญญะ) สมาธิย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย เป็นเหตุให้

สมาธิเกิดขึ้น ได้แก่ ความรู้ชัด ขณะที่กำลังทำกิจนั้นๆ


เมื่อมีทั้ง สติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ทำงานร่วมกัน เป็นเหตุให้เกิด สภาวะ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

กำลังสมาธิที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน แล้วแต่เหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่

เป็นเหตุให้ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีความตั้งมั่นอยู่ ไม่เท่ากัน(ขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิ ขณะนั้นๆ)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2013, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผล


walaiporn เขียน:
ที่สุดแห่งทุกข์


พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงชักชวนภิกษุทั้งหลาย ด้วยธัมมิกถาอันเนื่องเฉพาะด้วยนิพพาน,
ได้ทรงเห็นว่าภิกษุทั้งหลายสนใจฟังอย่างยิ่ง

จึงได้ตรัส พระพุทธอุทานนี้ขึ้น ในเวลานั้น ว่า :-


นิสสิตัสสะ จะลิตัง
ความหวั่นไหว ย่อมมีแก่บุคคล ผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยแล้ว
(การสร้างเหตุ/มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม)

อะนิสสิตัสสะ จะลิตัง นัตถิ
ความหวั่นไหว ย่อมไม่มีแก่บุคคล ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว
(การไม่สร้างเหตุ)

จะลิเต อะสะติ ปัสสัทธิ
เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ปัสสัทธิ ย่อมมี
(มีเหตุ ย่อมมีผล/นิวรณ์ ๕ เหตุจาก มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ที่เป็นเหตุปัจจัยอยู่ เป็นเครื่องกั้น ไม่ให้จิตตั้งมั่น เมื่อไม่มีนิวรณ์ จิตย่อมตั้งมั่น)

ปัสสัทธิยา สะติ นะติ นะ โหติ
เมื่อปัสสัทธิมี ความน้อมไป ย่อมไม่มี
(เมื่อรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต การสร้างเหตุออกไป ย่อมไม่มี)

นะติยา อะสะติ อาคะติคะติ นะ โหติ
เมื่อความน้อมไปไม่มี การมาและการไปย่อมไม่มี
(ไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีผล)

อาคะติคะติยา อะสะติ จุตูปะปาโต นะ โหติ
เมื่อการมาและการไปไม่มี การเคลื่อน และการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี
(เมื่อไม่มีเหตุ ไม่มีผล /การเกิดภพชาติใหม่ ณ ปัจจุบัน ขณะ ย่อมไม่มี)

จุตูปะปาเต อะสะติ เนวิธะ นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเร
เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้นไม่มี อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้
ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
(ความดับภพ ได้แก่ นิพพาน)

เอเสวันโต ทุกขัสสะ
นั่น แหละ คือ ที่สุดแห่งทุกข์ละ

ขุ. อุ. ๒๕/๒๐๘/๑๖๑

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2013, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แจ้งนิพพาน



walaiporn เขียน:
ที่สุดแห่งทุกข์


[๓๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี

ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระหลายรูป กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต นั่งประชุมกันอยู่ที่โรงกลม ได้เกิดการสนทนากันขึ้น ในระหว่างว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในปัญหาของเมตเตยยมาณพ ใน
ปรายนสูตรว่า

ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้งสองด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วงเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้ ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ส่วนสุดที่ ๑ เป็นไฉนหนอ ส่วนสุดที่ ๒ เป็นไฉน
อะไรเป็นส่วนท่ามกลาง อะไรเป็นเครื่องร้อยรัด ฯ


เมื่อสนทนากันอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑
เหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒
ความดับแห่งผัสสะเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่า ตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะ

และเหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะนั้น เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันเทียว ฯ


เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
อดีตเป็นส่วนสุดที่ ๑
อนาคตเป็นส่วนสุดที่ ๒
ปัจจุบัน เป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดอดีต อนาคต และปัจจุบันนั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล


ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันเทียว ฯ


เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
สุขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๑
ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๒
อทุกขมสุขเวทนาเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนานั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ


เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
นามเป็นส่วนสุดที่ ๑
รูปเป็นส่วนสุดที่ ๒
วิญญาณเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัด นาม รูป และวิญญาณนั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล

ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ


เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
อายตนะภายใน ๖
เป็นส่วนสุดที่ ๑
อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๒
วิญญาณเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ และวิญญาณนั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ


เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
สักกายะเป็นส่วนสุดที่ ๑
เหตุเกิดสักกายะเป็นส่วนสุดที่ ๒
ความดับสักกายะเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัดสักกายะ เหตุเกิดสักกายะ และความดับสักกายะนั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ


เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พวกเราทั้งปวงเทียวได้พยากรณ์ตามปฏิภาณของตนๆ มาเถิด เราทั้งหลายจักพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

แล้วจักกราบทูล เนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคจักทรงพยากรณ์แก่พวกเรา โดยประการใด เราทั้งหลายจักทรงจำข้อที่ทรงพยากรณ์นั้นไว้ โดยประการนั้น

ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย รับคำของภิกษุนั้นแล้ว ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูล การที่สนทนาปราศรัย ทั้งหมดนั้น แด่พระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำของใครหนอเป็นสุภาษิต พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำของเธอทั้งปวง เป็นสุภาษิตโดยปริยาย อนึ่ง เราหมายเอาข้อความที่กล่าวไว้ใน ปัญหาของเมตเตยยมาณพ ในปรายนสูตรว่า

ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้ง ๒ ด้วยปัญญา แล้วไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง
เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วงเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้ ฯ

เธอทั้งหลาย จงฟังข้อความนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑
เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒
ความดับผัสสะเป็นส่วนท่ามกลาง
ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะ

เหตุเกิดผัสสะ และความดับผัสสะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 368&Z=9442

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2013, 20:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s006
asoka
อ้างคำพูด:
เอาสติรู้ทัน เอาปัญญารู้ทั่วถึง ในความยินดียินร้ายและผู้ที่ยินดียินร้าย.....ถอนความยึดถือในผู้ยินดียินร้ายออก....ความยินดียินร้ายก็ตกไปเพราะปราศจากผู้รับ....อย่างนี้จึงจะเป็นการเอายินดียินร้ายออกได้โดยถาวร



walaiporn
อ้างคำพูด:
ตราบใด ที่ยังมีกิเลส หรือสังโยชน์ ๑๐ ไม่มีทางหรอก

:b1:
"ผู้ยินดียินร้าย"......คือสังโยชน์ตัวที่ 1 คุณวลัยพรยังไม่รู้หรือครับ?
:b16:
ที่แสดงมาทั้งหมดนั้น อยากทราบว่า
1.กายในกาย...หมายถึงอะไร?

2.เวทนาในเวทนา หมายถึงอะไร?

3.จิตในจิต หมายถึงอะไร?

4.ธรรมในธรรม หมายถึงอะไร?

ยังไม่เห็นอธิบาย..กรุณาขยายความครับ
:b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2013, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

"ผู้ ยินดียินร้าย"......คือสังโยชน์ตัวที่ 1 คุณวลัยพรยังไม่รู้หรือครับ?


อย่าไปหลงยึดติดอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า "ผู้"

สภาวะของสิ่งที่เรียกว่า "ผู้" มีหลายระดับ

สภาวะอรหันต์เท่านั้น ที่หมดสิ่งที่เรียกว่า "ผู้"


asoka เขียน:
เอาสติรู้ทัน เอาปัญญารู้ทั่วถึง ในความยินดียินร้ายและผู้ที่ยินดียินร้าย.....ถอนความยึดถือในผู้ยินดียินร้ายออก....ความยินดียินร้ายก็ตกไปเพราะปราศจากผู้รับ....อย่างนี้จึงจะเป็นการเอายินดียินร้ายออกได้โดยถาวร


วิธีนี้ที่กล่าวอ้างมานี้ เป็นเพียงการกดข่มไว้ชั่วคราว

ตราบใด ที่ยังมีกิเลส หรือสังโยชน์ ๑๐ ไม่มีทางหรอก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2013, 08:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha2_resize.gif
buddha2_resize.gif [ 37.14 KiB | เปิดดู 5810 ครั้ง ]
asoka เขียน:


"ผู้ ยินดียินร้าย"......คือสังโยชน์ตัวที่ 1 คุณวลัยพรยังไม่รู้หรือครับ?


walaiporn
อ้างคำพูด:
อย่าไปหลงยึดติดอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า "ผู้"

สภาวะของสิ่งที่เรียกว่า "ผู้" มีหลายระดับ

สภาวะอรหันต์เท่านั้น ที่หมดสิ่งที่เรียกว่า "ผู้"


asoka....ถอนความยึดถือในผู้ยินดียินร้ายออก....หมายถึงถอน....สักกายทิฏฐินั่นเลยทีเดียว....จะเป็นความหลงยึดติดอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า "ผู้" ไปได้อย่างไร?


asoka เขียน:

เอาสติรู้ทัน เอาปัญญารู้ทั่วถึง ในความยินดียินร้ายและผู้ที่ยินดียินร้าย.....ถอนความยึดถือในผู้ยินดียินร้ายออก....ความยินดียินร้ายก็ตกไปเพราะปราศจากผู้รับ....อย่างนี้จึงจะเป็นการเอายินดียินร้ายออกได้โดยถาวร


อ้างคำพูด:
วิธีนี้ที่กล่าวอ้างมานี้ เป็นเพียงการกดข่มไว้ชั่วคราว

ตราบใด ที่ยังมีกิเลส หรือสังโยชน์ ๑๐ ไม่มีทางหรอก


asoka....การถอน"ผู้"ยินดียินร้าย หรือ สักกายทิฐิ จะเป็นเพียงการกดข่มไว้ชั่วคราว ได้อย่างไร
การเอาสติไปตัดผัสสะไม่ให้เกิดนั้นไซร้จึงจะเรียกว่าการกดข่ม..เพราะผัสสะเหล่านั้นไม่ได้เข้าไปสัมผัสกับความเป็น "ผู้" หรือสักกายทิฏฐิ ที่หลบซ่อนอยู่ในจิตปุถุชนทุกดวง...ผู้ภาวนาจึงไม่มีโอกาสได้ทันเห็น ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้มายาการของ "ผู้" หรือ "กู" หรืออัตตา หรือ สักกายทิฏฐิ ซึ่งเป็น"สมุทัย"คือสังโยชน์ข้อที่ 1 แล้วเขาจะถอนสังโยชน์ข้อนี้ออกได้อย่างไร?

ยังคงค้างเรื่อง
1.กายในกาย...หมายถึงอะไร?

2.เวทนาในเวทนา หมายถึงอะไร?

3.จิตในจิต หมายถึงอะไร?

4.ธรรมในธรรม หมายถึงอะไร?

ยังไม่เห็นอธิบาย..กรุณาขยายความครับ
:b27:
ที่ซักไซ้ไล่เรียงมานั้นหาใช่ประสงค์ขัดธรรมไม่ แต่ใคร่ให้ได้ข้อสังเกตในการเจริญสติปัฏฐาน 4
และสร้างมุมมองในการวิเคราะห์สติปัฏฐาน 4 อีกมุมหนึ่งซึ่งมุ่งจะเน้นให่เห็นว่า

"สัมปฌาโน" นั้นหาใช่ความหมายเพียงว่า...รู้ตัวทั่วพร้อมเท่านั้น...แต่หมายถึงองค์มรรคข้อที่ 1 และ 2 ของมรรค 8 ซึ่งเป็นตัวปัญญามรรคเลยทีเดียว ซึ่งมานำเอาสักกายทิฏฐิ คือความเห็นผิดเป็นกูเป็นเราออก
ไม่ใช่ สติ เป็นผู้เอาออก......สติเป็นเพียงผู้ช่วยและกองหนุนของปัญญา เป็นเพียงแม่ทัพเอกของธรรมราชา คือปัญญา
มิฉะนั้นแล้วพระบรมศาสดาคงจะไม่ได้รับการขนานพระนามว่า ..."ปัญญาธิกะพุทธเจ้า"...พระพุทธเจ้าผู้สำเร็จธรรมได้ด้วยปัญญา
:b8:
โปรดพิจารณากันดูนะครับ
:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2013, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามสบายเถอะ คุณอโสกะ

ไม่ว่าคุณจะรู้สึกนึกคิดอย่างไร นั่นก็เหตุปัจจัยของคุณ

แล้วที่ถามมาน่ะ ไม่เห็นจะต้องมาถาม อยากรู้อะไร ก็หาในกูเกิ้ลเองสิ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร