วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 05:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2013, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


พระองค์ตรัสว่า "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
ซึ่งหาความเป็นเรา เป็นคนอื่น เป็นบุคคล เป็นสัตว์ เป็นหญิง เป็นชาย มิได้
บังคับบัญญชามิได้ คน สัตว์ ชาย หญิง เป็นเพียงสมมุติ ถ้าเพิก คน สัตว์
อันเป็นสมมุติออกไปเสียแล้ว ก็เหลือแต่ธรรม

กล่าวคือ จะเหลือแต่สังขารอันเป็นปัจจัยเท่านั้น และสังขารเหล่านี้เอง
ทรงจำแนกแล้ว บัญญัติเรียกว่า ขันธ์ ๕ บ้าง อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง
ทั้งนี้ก็เพื่อความเหมาะสมตามอัธยาสัย จริต อินทรีย์ กิเลส ของสัตว์ที่มีความแตกต่างกันออกไป
เพื่อสัตว์ทั้งหลายพิจารณาเห็นความเป็นจริงของสังขารเหล่านั้น เมื่อรวมแล้วความว่าเป็นกองทุกข์ทั้งสิ้น

หากจะถามว่า ทุกข์ทั้งหลายมีความเกิดเป็นต้นเหล่านี้ เป็นของใคร ใครเป็นผู้เกิด ใครเป็นผู้แก่ ใครเป็นผู้ตาย ฯลฯ
ก็คงได้รับคำตอบว่า ทุกข์ทั้งหลาย มีความเกิดเป็นต้น ว่าโดยปรมัตถ์แล้วไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์
ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย เป็นเพียงสภาวะ "นิสสตะ นิสชีวะ สภาวา" แต่ทว่าเป็นของสังขารทั้งหลาย
ที่ทรงบัญญัติ ที่เรียกว่าขันธ์ ๕ เป็นต้นนั่นเอง ไม่ใช่ของใครอื่น

แม้พระองค์เองค์เองก็ตรัสว่า "สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา" โดยสังเขปอุปาทานขันธ์ ๕
เป็นตัวทุกข์ดังนี้ ความว่า ทุกข์ทั้งหมดประชุมกันที่อุปาทานขันธ์ ๕ รวมลงที่อุปาทานขันธ์ ๕ มีอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นที่ตั้งเป็นที่อาศัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2013, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉะนั้น เพื่อความเข้าใจข้อนี้ ให้กระจ่างมากขึ้น
ก็ควรทราบเรื่องเกี่ยวกับ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้บ้างตามสมควร

คำว่า "ขันธ์" ซึ่งก็แปลว่า "กอง. หมวด. หมู่. กลุ่ม. คณะ" ประชุมกัน มี ๕
๑. รูปขันธ์ (กองรูป)
๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา)
๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา)
๔. สังขารขันธ์ (กองสังสังขาร)
๕. วิญญาณขันธ์(กองวิญญาณ)
ธรรมชาติพวกหนึ่ง รวมแล้วมีลักษณะกี่อย่างก็ตาม แต่ทว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง
ต่างก็มีลักษณะย่อยยับทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไป เพราะปัจจัยที่มีความเย็น ความร้อน เป็นต้น
ทรงอาศัยลักษณะที่เหมือนกัน กล่าวคือ ภาวะที่มีอันต้องย่อยยับไปเพราะปัจจัยอันนี้
รวมธรรมชาตินี้เข้าด้วยกัน แล้วตรัสเรียกว่า "รูปขันธ์ - กองรูป" ได้แก่มหาภูตรูป ๔ มี ธาตุดิน
ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และรูปที่เหลืออันอาศัยอยู่กับมหาภูตรูปเหล่านี้ มี สี เสียง กลิ่น รส เป็นต้น
สำหรับสิ่งมีชีวิต ย่อมประชุมลงเป็นร่างกาย ปรากฎเป็นอวัยวะน้อยใหญ่ของสัตว์ทั้งหลาย
สำหรับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ย่อมประชุมกันอยู่ ปรากฏเป็น ภูเขา ต้นไม้ แผ่นดิน แม่น้ำ เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2013, 10:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16:
ถ้าเราไปพยายามอธิบาย ปรมัตถบัญญัติที่เรียกว่า "อนัตตา" นั้นมันจะยิ่งยากและสับสนมากขึ้นเรื่อยๆ
เหมือนคนที่พยายามจะอธิบาย "ความเค็ม" ให้กับคนที่ไม่เคยสัมผัสความเค็มได้เข้าใจ

ทางที่ถูกต้องเราควรอธิบายวิธีที่บุคคลจะสามารถเข้าไปสัมผัสสภาวะ "อนัตตา" ให้ละเอียดชัดเจน และง่าายต่อการปฏิบัติ จะดีกว่า เพราะผู้ที่เข้าใจวิธีการโดยทฤษฎีแล้ว...เมื่อนำมาลงมือปฏิบัติ ไม่ช้านานเกินรอ เขาก็จะได้สัมผัสสภาวะ อนัตตา และถึงบางอ้อ ด้วยตนเอง

วิธีที่จะเข้าไปสัมผัสและรู้จักสภาวะ อนัตตานั้น มีครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งสอนไว้เป็นบทท่องจำให้ลูกศิษย์ท่องว่า


:b37: :b37: :b36: :b36: :b38: :b38:
งานและหน้าที่ของชาวพุทธ
สำรวมกายใจมานิ่งรู้ นิ่งสังเกต
ปัจจุบันอารมณ์ จนละความเห็นผิดว่า
กาย ใจ นี้ เป็นอัตตาตัวกู ของกู
พอกพูนความเห็นถูกต้อง ว่ากาย ใจ นี้
เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู ทุกวัน เวลา นาที วินาที
ที่ระลึกได้และมีโอกาส


หัวใจวิปัสสนาภาวนา
ใจปัญญาอย่ายอมใจเป็นกู นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ
มิยอมถอย ถ้าสู้ได้ ทนได้ ไม่ตะบอย
กู จะถอยหรือตายดับ ไปจากใจ

เมื่อ กู หรือ อัตตา ถอยหรือ ตาายดับไปจากใจ บุคคลผู้ปฏิบัตินั้นจะได้สัมผัสสภาวะอนัตตาที่ใจของเขาเอง และเข้าใจอนัตตาอย่างซาบซึ้งด้วยตัวของเขาเอง

:b27: :b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2013, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b16:
ถ้าเราไปพยายามอธิบาย ปรมัตถบัญญัติที่เรียกว่า "อนัตตา" นั้นมันจะยิ่งยากและสับสนมากขึ้นเรื่อยๆ
เหมือนคนที่พยายามจะอธิบาย "ความเค็ม" ให้กับคนที่ไม่เคยสัมผัสความเค็มได้เข้าใจ

ทางที่ถูกต้องเราควรอธิบายวิธีที่บุคคลจะสามารถเข้าไปสัมผัสสภาวะ "อนัตตา" ให้ละเอียดชัดเจน และง่าายต่อการปฏิบัติ จะดีกว่า เพราะผู้ที่เข้าใจวิธีการโดยทฤษฎีแล้ว...เมื่อนำมาลงมือปฏิบัติ ไม่ช้านานเกินรอ เขาก็จะได้สัมผัสสภาวะ อนัตตา และถึงบางอ้อ ด้วยตนเอง

วิธีที่จะเข้าไปสัมผัสและรู้จักสภาวะ อนัตตานั้น มีครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งสอนไว้เป็นบทท่องจำให้ลูกศิษย์ท่องว่า


:b37: :b37: :b36: :b36: :b38: :b38:
งานและหน้าที่ของชาวพุทธ
สำรวมกายใจมานิ่งรู้ นิ่งสังเกต
ปัจจุบันอารมณ์ จนละความเห็นผิดว่า
กาย ใจ นี้ เป็นอัตตาตัวกู ของกู
พอกพูนความเห็นถูกต้อง ว่ากาย ใจ นี้
เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู ทุกวัน เวลา นาที วินาที
ที่ระลึกได้และมีโอกาส


หัวใจวิปัสสนาภาวนา
ใจปัญญาอย่ายอมใจเป็นกู นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ
มิยอมถอย ถ้าสู้ได้ ทนได้ ไม่ตะบอย
กู จะถอยหรือตายดับ ไปจากใจ

เมื่อ กู หรือ อัตตา ถอยหรือ ตาายดับไปจากใจ บุคคลผู้ปฏิบัตินั้นจะได้สัมผัสสภาวะอนัตตาที่ใจของเขาเอง และเข้าใจอนัตตาอย่างซาบซึ้งด้วยตัวของเขาเอง

:b27: :b11:

การที่เราจะอธิบาย สภาวะของปรมัตถ์
ที่แท้จริงได้นั้นเราก็ต้องอาศัยบัญญัติขึ้นเพื่อสื่อสารกัน
ว่าอย่างนี้ คือ อย่างนี้ เป็นอย่างนั้น เป็นต้น

ถ้าไม่บัญญัติออกมาเป็นคำสอนเพื่อให้เกิดความเข้าใจแล้ว ย่อมไม่มีใครรู้ได้เลย
เพราะคำพูดที่สื่อสารกันนั้นก็ถูกบัญญัติขึ้นมาเรียกชื่อนั้นๆ เช่น ความเค็ม รู้ได้ทางลิ้น
พูดออกมาเพื่ออธิบายความเค็ม สิ่งที่พูดก็เป็นบัญญัติ ผู้ฟังก็ไม่สามาถที่จะรู้ความค็มอยู่ดี
แต่ถ้าจะรู้ความเค็มได้นั้นก็ต้องอาศัยการปฏิบัติ คือเข้าไปได้ชิมเอง เมื่อความเค็มปรากฎ
บัญญัติว่าเค็มก็หายไป

ดังมีคำว่า "อนัตตาปรากฏ อัตตาก็หายไป" ความจริงแล้วความเป็นอนัตตานั้น
เขาปรากฎอยู่ตลอดเวลา แต่เพราะเรามีจิตที่วิปลาสไปจากความจริง ไม่เข้าใจ
จึงเข้าใจได้ว่ามันเป็น อัตตา ฉะนั้นในขั้นแรกเราต้องอาศัยบัญญัติก่อน
อุปมาเหมือนว่าเราจะข้ามฝากก็ต้องอาศัยเรือ เมื่อถึงฝั่งแล้วเรือก็หมดหน้าที่ เช่นกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2013, 11:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อัตตา หิ อัตตโน นาโถ....ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

อัตตนา โจทธัตตานัง ....ตนพึงกล่าวโจดโทษตน..

อือิ....มาป่วนอนัตตาลุงหมานเล่น...
:b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2013, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อัตตา หิ อัตตโน นาโถ....ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

อัตตนา โจทธัตตานัง ....ตนพึงกล่าวโจดโทษตน..

อือิ....มาป่วนอนัตตาลุงหมานเล่น...
:b13: :b13: :b13:

ดีแล้ว คำว่า "ตนเป็นเป็นที่พึ่งแห่งตน" ส่วนมากมักคิดไปว่า "ตัวตน" ที่เป็น "อัตตา"
แท้จริงแล้วในหลักพระพุทธศาสนาจะปฏิเสธตัวตน ไม่มีตนเข้ามาเกี่ยวข้อง
ถ้าหากมีตนเข้าเกี่ยวข้องก็จะมีอุปาทานเข้ายึดว่ามีตัวตนทันที่
พระองค์สอนให้ละตัวตนซึ่งเป็นที่ยึดของ ตัณหา อุปาทาน

ฉะนั้นคำว่า "อัตตาหิ อัตตาโนนาโถ" แปลว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนั้น
"ตน"ในที่นี้มีตนอยู่ ๒ ตน ตนแรกนั้นท่านหมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา
ว่าโดยย่อก็ได้แก่ มรรค ๘ เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง มิให้ตกล่วงไปในอบายภูมิ
ส่วนตนหลังนั้น ท่านหมายถึง ขันธ์ ๕ ที่ปรากฎอยู่ในโลกนี้

แต่ในทางโลกทั่วๆ ไปมักใช้ไปในทางที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
นั้นหมายถึงว่าเราต้องพึ่งตัวเราเอง ฉะนั้นแล

อัตตนา โจทธัตตานัง ....ตนพึงกล่าวโจดโทษตน..
ตนในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ นี้พึงสำรวมระวังอินทรีย์มี จักขุนทรีย เป็นต้น
ตนหลัง ได้แก่ อกุศลที่กำลังเกิด เพียรละไม่ให้เกิด และที่ยังไม่เกิดก็เพียรมิให้เกิดขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงหมาน เมื่อ 29 มิ.ย. 2013, 14:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2013, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติพวกหนึ่ง รวมแล้วมีลักษณะกี่อย่างก็ตาม
แต่ทว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่างก็มีลักษณะเสวยอารมณ์
ทรงอาศัยลักษณะที่เหมือนกัน กล่าวคือภาวะที่เสวยอารมณ์อันนี้
รวมธรรมชาติพวกนี้เข้าด้วยกัน แล้วตรัสเรียกว่า "เวทนาขันธ์ - กองเวทนา"
ได้แก่ ความรู้สึกเป็นสุขในเวลาที่ได้อิฎฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่น่าปรารถนา
ความรู้สึกที่เป็นทุกข์ในเวลาที่ได้อนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา
และความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุขในเวลาที่ได้รับอารมณ์ปานกลาง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2013, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติพวกหนึ่ง รวมแล้วมีลักษณะกี่อย่างก็ตาม
แต่ทว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่างก็มีลักษณะจำอารมณ์
ทรงอาศัยลักษณะที่เหมือนกัน กล่าวคือ ภาวะที่จำอารมณ์อันนี้
รวมธรรมชาติพวกนี้เข้าด้วยกัน แล้วตรัสเรียกว่า "สัญญาขันธ์ - กองสัญญา"
ได้แก่ ความจำได้หมายรู้ต่างๆ คือจำ รูปร่างสัณฐาน รูปทรง จำสีต่างๆ มีสีเขียว
สีแดงเป็นต้น ได้ จำชื่อต่างๆ ได้ และในขณะเดียวกัน ก็หมายรู้การกระทำประการต่างๆ กันในอารมณ์
ที่ได้เห็นที่ได้ยินแล้วเป็นต้น เพื่อเป็นเครื่องหมายแก่การจำอีกในภายหลัง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2013, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติพวกหนึ่ง รวมแล้วมีลักษณะกี่อย่างก็ตาม แต่ทว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง
ต่างก็มีลักษณะปรุงแต่งทั้งหลายประเภทที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ที่เรียกว่าสังขตธรรม
ทรงอาศัยลักษณะที่เหมือนกัน แล้วตรัสเรียกว่า "สังขารขันธ์ - กองสังขาร"
ได้แก่นามพวกหนึ่ง ที่เกิดร่วมกับจิต ยกเว้นเวทนาและสัญญาเสีย ก็ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ
เมตตา กรุณา สติ ปัญญา เป็นต้นซึ่งปรุงแต่งจิตให้มีประการต่างๆผิดแปลกแตกต่างกันออกไป
(คำว่าสังขารที่แปลว่าปรุงแต่ง หากมาในคำว่า สังขารขันธ์ นี้ ก็หมายถึงนามธรรม
ตามประการที่กล่าวมาแล้ว มาในคำว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ก็หมายเอากรรมดี
กรรมชั่ว หากมาในคำว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ก็หมายเอาสิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นทั้งหมด
หรือขันธ์ ๕ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ใครศึกษาพึงกำหนดแยกแยะให้ดี)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2013, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติพวกหนึ่ง รวมแล้วมีลักษณะกี่อย่างก็ตาม แต่ทว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง
ต่างก็มีลักษณะรู้แจ้งอารมณ์ คือ คิด รับรู้ รับทราบอารมณ์ต่างๆ
มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรม
ทรงอาศัยลักษณะที่เหมือนกัน กล่าวคือ ภาวะที่รับรู้แจ้งอารมณ์อันนี้
รวมธรรมชาตินี้เข้าด้วยกัน แล้วตรัสเรียกว่า "วิญญาณขันธ์ - กองวิญญาณ"
ได้แก่วิญญาณ ๖ มี จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ เป็นต้น
วิญญาณนี้ก็ได้แก่จิตของสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เพราะท่านกล่าวว่า " วิญฺญาณํ จิตฺตํ มโนติ เอกํ "
แปลว่า " คำว่า วิญญาณ จิต มโน ว่าโดยสภาวะ ก็เป็นอันเดียวกัน" ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2013, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




5315-1.jpg
5315-1.jpg [ 33.76 KiB | เปิดดู 5597 ครั้ง ]
ขันธ์ ๕ ตามที่กล่าวมานี้ เมื่อเป็นไปกับอาสวกิเลส
เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานคือความยึดมั่น
มีความยึดมั่นว่า "เรา" ว่า "ของเรา" เป็นต้น
หรือเป็นที่ยึดมั่นแห่งกิเลส จึงเรียกว่าอุปาทานขันธ์ ๕

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2013, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


สมจริงดังที่ตรัสว่า "กตเม จ ภิกฺขเว ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา.
ยงฺกิญฺจิ ภิกฺขเว รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ ฯเปฯ อยํ วุจฺจติ วิญฺญาณูปาทานกฺขนฺโธ.
อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺเว ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา"
แปลว่า "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อุปาทาขันธ์ ๕ เป็นไฉน?

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือปราณีต หรือรูปใดที่ไกลหรือใกล้ อันเป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า "อุปาทานขันธ์ คือ รูป"

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือปราณีต หรือที่ไกลหรือใกล้ อันเป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า "เวทนูปาทานขันธ์ คือ เวทนา"

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือปราณีต หรือที่ไกลหรือใกล้ อันเป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า "สัญญูปาทานขันธ์ คือ สัญญา"

สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือปราณีต หรือที่ไกลหรือใกล้ อันเป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า "สังขารูปาทานขันธ์ คือ สังขาร"

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือปราณีต หรือที่ไกลหรือใกล้ อันเป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า "วิญญูปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ" ดังนี้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้เรียกว่าขัน์ ๕" ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2013, 21:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




เหตุ ปัจจัย นิพพาน_82kb.jpg
เหตุ ปัจจัย นิพพาน_82kb.jpg [ 82.9 KiB | เปิดดู 5535 ครั้ง ]
เหตุ ปัจจัย นิพพาน_82kb.jpg
เหตุ ปัจจัย นิพพาน_82kb.jpg [ 82.9 KiB | เปิดดู 5448 ครั้ง ]
:b36:
ทางเข้าถึงอนัตตา

อธิบายภาพ

ถ้ายังมี...เหตุ....คือความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกูอยู่ เมื่อ มีปัจจัย คือผัสสะของทวารทั้งหก มากระทบ จึงก่อให้เกิด ตัณหา และกรรมเหตุ ขึ้นมา กรรมเหตุนั้น ส่งให้เกิด กรรมผล หรือวิบาก ให้ต้องเสวยเวียนว่ายตายเกิดใน 31 ภพภูมิ อันมีอบาย 4 มนุษย์ 1 เทวดา 6 พรหม 20 ชั้น

ต่อเมื่อได้พบพุทธธรรมคำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้รู้ว่า คู่ปรับของ อัตตา ความเห็นผิด คือ อนัตตา ความเห็นถูกต้อง จึงได้เอาปัญญา สัมมาทิฏฐิและ สัมมาสังกัปปะ อันมี สติและศีล สมาธิเป็นกองหนุน ค้นคว้าเข้าไปในกายและจิต จนพบสมุทัย คือความเห็นผิดเป็น อัตตา ต่อสู้และทำลายความเห็นผิด ด้วยปัญญา สติ วิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ จนความเห็นผิดดับไป ความเห็นถูกต้อง คือ อนัตตา ซึ่งถูกบังไว้ก็จะปรากฏชัดขึ้นมา อัตตาดับ มรรคเกิด ผลเกิด เข้านิพพาน

:b27:
:b8:


แก้ไขล่าสุดโดย asoka เมื่อ 03 ก.ค. 2013, 21:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2013, 21:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




อริยสัจ 4_resize.jpg
อริยสัจ 4_resize.jpg [ 58.29 KiB | เปิดดู 5535 ครั้ง ]
:b27:
อีกภาพหนึ่งที่อาจเข้าใจยากขึ้นอีกนิด

อธิบายภาพ

อริยสัจ 4 คือหัวใจการค้นพบของพระพุทธเจ้า ถ้าแปลเป็นไทย ให้ง่ายและสั้นก็คือ กฎของเหตุและผล

อริยสัจ 4 มีเหตุและผล สองคู่

คือ ผลทุกข์ กับ เหตุทุข์ คู่หนึ่ง

และ ผลสุข กับเหตุสุข อีกคู่หนึ่ง

การปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ การเอา เหตุสุข ไปต่อสู้กับ เหตุทุกข์

ถ้าเหตุทุกข์ดับ ผลทุกข์ก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ต้องดับไป

สิ่งที่เหลือไว้ก็คือ

เหตุสุข อันได้แก่มรรค ทั้ง 8 ข้อ และ นิโรธ หรือนิพพาน ความดับเย็นของกิเลส ตัณหา อัตตา มานะทิฏฐิ สิ้นสุดความเวียนว่าย ตายเกิด

เหตุทุกข์ คือ ความเห็นผิด มิจฉาทิฏฐิ คือเห็นว่ากาย ใจ นี้เป็น อัตตา ตัวกู ของกู

เหตุสุข คือความเห็นถูกต้อง สัมมาทิฏฐิ คือเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนัตตา

การปฏิบัติธรรม พูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า คือการเอาความเห็นถูกต้อง ไปต่อสู้กับความเห็นผิด

เอาสัมมาทิฏฐิ ไปต่อสู้กับ มิจฉาทิฏฐิ

เอา อนัตตา ไปต่อสู้กับ อัตตา

นี่คือ อริยสัจ 4 และงานของอริยสัจ 4

:b8:
:b27:


แก้ไขล่าสุดโดย asoka เมื่อ 03 ก.ค. 2013, 22:01, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2013, 21:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




เคล็ดลับวิปัสสนา_resize_resize.jpg
เคล็ดลับวิปัสสนา_resize_resize.jpg [ 45.38 KiB | เปิดดู 5535 ครั้ง ]
เคล็ดลับวิปัสสนา_resize B.jpg
เคล็ดลับวิปัสสนา_resize B.jpg [ 87.95 KiB | เปิดดู 5535 ครั้ง ]
onion
ภาพที่ 3 เพื่อเข้าถึงอนัตตา

กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วกดปุ่ม เครื่องหมาย + หลายๆครั้ง คำอธิบายใต้ภาพจะขยายขึ้นมาให้เห็นชัดครับ


แก้ไขล่าสุดโดย asoka เมื่อ 03 ก.ค. 2013, 22:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ลุงหมาน และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร