วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2012, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
คุณโฮ..ลองปล่อยวางความรู้ ระเบียบ กฏเกณฑ์ วิธีการ หลักการ หลักปฏิบัติต่างๆที่ผูกไว้ในใจทั้งหมด
ปล่อยชีวิต จิตใจ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้เขาอยู่และทำงานอย่างอิสระตามธรรมชาติ แล้วจงตั้งความสังเกตขึ้นมา ดู หรือ รู้ อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ คุณจะได้พบความเป็นจริงของการทำงานของกายและจิต

พูดจาภาษาอะไรครับ บอกมาได้ว่าปล่อยชีวิต จิตใจตาหูจมูกลิ้นกายใจ ให้ทำงานอย่างอิสระ
ตามธรรมชาติ พอมาอีกที่ก็บอกว่า ตั้งความสังเกตุขึ้นมา ไหนบอกว่า ปล่อยให้เป็นอิสระไง

ก็เป็นเพราะชอบเพ้อเจ้อ ใช้สมมุติบัญญัติพร่ำเพลื่อ ไอ้สมมุติบัญญัติ
มันเลยพันคอตัวเองครับ

ผมถามคุณเลยว่า "สังเกตุ"ของคุณหมายถึงอะไร
รู้สึกว่าคุณจะให้ความหมายมันครอบจักวาลเลยนะครับ :b13:

asoka เขียน:
"โดยธรรมเมื่อตาปัญญาสัมมาทิฐิไปเห็น ดูแล้ว ตาปัญญาสัมมาสังกัปปะจะสังเกต พิจารณาต่อทันทีเพื่อค้นหาคำตอบ จนได้คำตอบเป็น "รู้" ขึ้นมา ถ้าสิ่งนั้นปัญญาเคยรู้มาแล้ว รู้ นั้นจะเป็นการรู้โดยสัญญา ถ้าสิ่งนั้นไม่เคยรู้มาก่อน แต่ได้รู้ใหม่เป็นครั้งแรก สิ่งนั้นคือ ภาวนามยปัญญา

ตลกสุดๆเลยครับ คุณโสกะครับ ความเห็นคุณมันเละตั้งแต่เริ่มแล้วครับ
นี่ยังมามั่ว เหมือนเด็กผู้หญิงกำลังแต่งตัวให้ตุ๊กตาบาร์บี้เลยครับ

ที่บอกว่า ตาปัญญาสังกัปปะจะสังเกตุพิจารณาต่อทันที เพียงแค่นี้ก็รู้แล้วว่า
ไม่ได้มีความเข้าใจ เรื่องมรรคมีองค์แปดเอาเสียเลย

สงสัยไปอ่านมาว่า มรรคคือการปฏิบัติ เพราะความไม่รู้เลยคิดว่า
สัมมาต่างๆคือการปฏิบัติ จะบอกให้สัมมาขององค์มรรค มันเป็นผล
แห่งการปฏิบัติ มันไม่ใช่วิธีปฏิบัติ

ความหมายของมรรคคือทางเดิน ทางเดินนี้เป็นหนทางไปสู่ความเป็นกลาง
และระหว่างทางเดินนั้นย่อมต้องมีการปฏิบัติ เช่น มีอธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา
การปฏิบัติในเรื่องอธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา เขาเรียกว่ามรรค เมื่อปฏิบัติแล้ว
ผลสำเร็จที่ได้เขาเรียก สัมมาความเป็นกลาง เช่นสัมมาศีล สัมมาสมาธิและสัมมาปัญญา

มันไม่ใช่อย่างที่คุณบอกว่า เอาสัมมาสังกัปปะมาปฏิบัติ
สัมมาสังกัปปะเป็นผลของการปฏิบัติ คือเกิดความเป็นกลางของความคิด

asoka เขียน:
ปรมัตถอารมณ์ทั้งหลายนั้น เป็นสัจธรรมที่แสดงอยู่ในกายและจิต เป็นสิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ไม่อาจอธิบายให้รู้ได้ด้วยคำพูด หรือการบอกกล่าวเป็นบัญญัติภาษาถ้าผู้ฟังผู้นั้นยังไม่เคยสัมผัส สัจธรรมหรือปรมัตถธรรมอันนั้น

ถูกแล้วครับ ผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสปรมัตถ์อารมณ์ย่อมต้องไม่เข้าใจ
ในตัวคำพูดหรือบัญญัติ

ประเด็นมันอยู่ตรงที่ต่างคนต่างอ้างว่า เคยเห็นอารมณ์ปรมัตถ์
ฉะนั้นต้องสามารถอธิบายได้ครับ ส่วนเรื่องใครผิดใครถูก
คนที่เห็นอารมณ์ปรมัตถ์จริงๆย่อมรู้ดีครับ

ดังนั้นคุณอธิบายไปเลยครับว่ามันเป็นอย่างไรกับไอ้อารมณ์ปรมัตถ์ของคุณ
การอ้างว่าไม่อยากพูดเพราะกลัวคนอื่นไม่เข้าใจ มันเป็นการแก้ตัวแบบน้ำขุ่นๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2012, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่ๆทุกท่าน
**มรรคองค์ 8 นั้นเป็นทางดำเนินแห่งความเป็นอริยะ ผู้ที่ได้ชื่อว่ากำลังดำเนินอยู่ในเส้นทางแห่งมรรคนั้น ย่อมเป็นผู้ที่เพียร ลด ละ กิเลส ทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ มานะ อุปทาน ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนและสมมติทั้งหลาย ที่มีอยู่แล้วให้ลดลงและหมดไป ที่ยังไม่มีก็รักษาไว้ไม่ให้มันเกิดขึ้นมา ผู้ที่ปฏิบัติตนเช่นนี้แหละถึงจะสมกับชื่อนักปฏิบัติของจริงครับ
**การสนทนาธรรมกันระหว่างนักปฏิบัติท่านด้วยกันนั้น ท่านจะวางทิฏฐิทั้งหลายไว้เพื่อที่จะได้รับเอาเฉพาะธรรมที่บริสุทธิ์ปราศจากมลทินที่อาจจะเกิดจากทิฏฐิของตน เมื่อได้รับธรรมจากคู่สนทนาธรรมแล้วท่านจะน้อมเอามาพิจารณาในภายหลัง โดยธรรมทั้งหลายที่ออกมาจากนักปฏิบัติที่แท้จริงนั้นจะเป็นธรรมที่ได้มาจากผลของการปฏิบัติจริงจนรู้แจ้งในธรรมนั้นๆ ไม่ใช่เอาลมเอาอากาศเอาสิ่งที่ตนยังปฏิบัติไม่ถึงขนาดรู้แจ้งจนลงที่ใจมาพูด นักปฏิบัติท่านพูดเรื่องของตัวเองในหมู่นักปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเสมือนแบมือของตนออกมาให้ดูครับ
**ผมเองต้องขออภัยถ้าหากสิ่งที่ผมพูดทำให้พวกพี่ๆทั้งหลายไม่สบายใจ ก็ขอให้อโหสิกรรมให้ผมด้วยนะครับ ผมเพียงอยากสะกิดเตือนด้วยเห็นว่าเป็นผู้ที่สนใจปฏิบัติธรรมด้วยกันครับ
**พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมกันเป็นพระรัตนตรัยเป็นของคู่กันฉันใด ศีล สมาธิและปัญญา รวมกันเป็นมรรคก็แยกกันไม่ได้ฉันนั้น**

คุณลูกพระป่าครับ ที่คุณพูดมาดีหมดนั้นแหล่ะครับ แต่ถ้าจะให้ดีกว่านี้
ตัวเราเองต้องปฏิบัติในสิ่งที่พูดให้ได้ก่อนครับ

ดูที่กายใจเราของเราเป็นหลักครับ มั่นมีสัมมัปปทานให้เกิดในใจ
มองทุกอย่างด้วยใจที่เป็นกุศล มันก็เป็นกุศล
การมองอะไรด้วยใจที่เป็นอกุศล สิ่งที่เกิดภายในใจก็เป็นอกุศลไปด้วย
มันก่อให้เกิดกิเลสจิตสังขาร เลยเถิดเป็นกายสังขาร วจีสังขาร จนไม่สามารถ
ใช้สติควบคุมได้จนต้องแสดงออกมาครับ

อย่าลืมนะครับมองทุกอย่างด้วยใจที่เป็นกุศล
อย่าส่งจิตออกนอก รู้สึกทุกอย่างให้อยู่ที่กายใจของตนเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2012, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
การต่อสู้ของ สติ ปัญญา สมาธิ วิริยะ ตบะ ขันติ และศรัทธากับความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู ( ตัวกู ของกู 2 คำนี้ผมไปสอบดูทราบว่าหลวงพ่อพุทธทาสมิได้จดทะเบียนสงวนลิขสิทธิ์ไว้ ใครจะนำไปใช้ก็ไม่ถือว่าลอกเลียนแบบอย่างที่คุณเคยวิจารณ์)ถ้าสติ ปัญญา ชนะ "กู" ก็เป็นอันเสร็จงานและหน้าที่สำคัญชิ้นแรกของชาวพุทธ
ไม่ทราบว่าเท่าที่เล่ามาคร่าวๆเท่านี้ ชาวบ้านธรรมดาอย่างคุณจะพอเข้าใจได้ไหมครับ [/b]

ความหมายของคำว่าลอกเลียนแบบ มันอยู่ตรงที่ไปหยิบคำของท่านพุทธทาสมาใช้
แต่ตัวเองหาเข้าใจในธรรมนั้นไม่ครับ

เห็นหลายรายแล้วครับแม้กระทั้งพระสงฆ์องคเจ้า หยิบเอาธรรมของท่านพุทธทาส
เอาไปใช้ในเชิงปรัชญา แทนที่จะเอามาใช้อธิบายธรรม
พูดได้คำเดียวว่าเอาเท่อย่างเดียวคนฟังจะเตลิด จะปรุงแต่งอย่างไรไม่สน
คุณโสกะครับ ถ้าขืนคุณยังเอาธรรมของท่านพุทธทาสมาทำเท่
ก็เลิกพูดเรื่องปรมัตถ์ได้เลยครับ เพราะคุณพูดอย่างทำอย่าง
หรือกำลังสับสนในตัวเองครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2012, 21:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


grin
โฮฮับ พูด
สงสัยไปอ่านมาว่า มรรคคือการปฏิบัติ เพราะความไม่รู้เลยคิดว่า
สัมมาต่างๆคือการปฏิบัติ จะบอกให้สัมมาขององค์มรรค มันเป็นผล
แห่งการปฏิบัติ มันไม่ใช่วิธีปฏิบัติ


ความหมายของมรรคคือทางเดิน ทางเดินนี้เป็นหนทางไปสู่ความเป็นกลาง
และระหว่างทางเดินนั้นย่อมต้องมีการปฏิบัติ เช่น มีอธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา
การปฏิบัติในเรื่องอธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา เขาเรียกว่ามรรค เมื่อปฏิบัติแล้ว
ผลสำเร็จที่ได้เขาเรียก สัมมาความเป็นกลาง เช่นสัมมาศีล สัมมาสมาธิและสัมมาปัญญา

มันไม่ใช่อย่างที่คุณบอกว่า เอาสัมมาสังกัปปะมาปฏิบัติ
สัมมาสังกัปปะเป็นผลของการปฏิบัติ คือเกิดความเป็นกลางของความคิด
Onion_L
asoka ตอบ
คุณโฮ...ครับ เพียงข้อความที่แถบแดงไว้ข้างบน ก็รู้ว่าคณโฮ..กำลังสับสนและผิดเพี้ยนในเรื่องธรรมไปมากแล้วจนยากจะกู่กลับคืนได้

มรรคมีองค์ 8 คือสัมมาทั้ง 8 ข้อนั้นคือหลักปฏิบัติไม่ใช่ผลแห่งการปฏิบัติอย่างที่คุณเข้าใจ คุณคงไม่เคยได้ยินหรือไม่ได้พิจารณาให้ดีในพุทธดำรัสที่ว่า "สัมมาวิหาเรยุง อสุญโญโลโก อรหันเตหิ" ซึ่งมีความหมายเป็นไทยว่า
ตราบใดที่ยังมีผู้ปฏิบัติตามสัมมาทั้ง 8 ข้ออยู่ (คือมรรคมีองค์ 8)ตราบนั้นโลกนี้จักไม่ว่างจากพระอรหันต์

คุณกล้าเถียงหรือค้านพุทธวัจจนะนี้เชียวหรือครับ?

คำว่า"สัมมาวิหาเรยุง"นั้นถ้าตีความไม่ถูกตามอรรถก็อาจพาเพี้ยนไปได้อีกเยอะอย่างที่คุณโฮฮับกำลังเป็นอยู่ขณะนี้


แล้วก็นี่อีกอันหนึ่ง ที่คุณพูดว่า

มีอธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา
การปฏิบัติในเรื่องอธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา เขาเรียกว่ามรรค

นี่ก็เป็นการบัญญัติสิ่งที่แปลกปลอมไปจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้เจริญมรรค 8 ทางสายกลาง ทำให้คำสอนที่เรียบง่ายของพระพุทธองค์กลายเป็นเรื่องยากขึ้นไปด้วย

อธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา นั้น เป็นเรื่องของผลจริงๆ คือเป็นผลจากการเจริญมรรค 8 หรือวิปัสสนาภาวนา ซึ่งจะช่วยพัฒนาจิต ศีล ปัญญาจากระดับธรรมดาขึ้นไปจนเป็นอธิ คือ สูงยิ่ง เกิดกับผู้ที่ใกล้จะได้ถึงมรรคผลนิพพาน

คุณเข้าใจกลับข้างไปหมดแล้วนะครับคุณโฮฮับ และความเข้าใจผิดเห็นผิดนี้คุณจะสังเกตเห็นได้ว่าพฤติกรรมที่คุณกำลังแสดงออกไปในกระทู้ต่างๆทั่วลานธรรมนี้ดูแปร่งๆ เพราะไป กล่าวว่าคนนั้นคนนี้ผิดไปหมด ลองวิเคราะห์และพิจารณาย้อนกลับดูตัวเองให้มากๆนะครับ


อีกเรื่องหนึ่ง คือสัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ หรือความคิดถูกต้อง ซึ่งกล่าวไว้ชัดเจนว่า ดำริออกจากกาม ดำริออกจากความพยาบาท ดำริที่จะอยู่อย่างไม่เบียดเบียน เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องของผลหรือครับ มันเป็นเรื่องของการทำเหตุชัดๆ ในปฏิบั้ติการจริงๆความคิดพิจารณาหรือสังเกตสภาวธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์นั้นจะทำให้เกิดการเรียนรู้กระบวนการทำงานของกายและจิตจนรู้ละเอียดเข้าไปถึงสมุทัยหรือเหตุแห่งความเกิดขึ้นของอารมณ์ต่างๆและความทุกข์อย่างเช่นตัณหาเกิดขึ้นตอนไหน อะไรเป็นเหตุแล้วจะทำอย่างไรไม่ให้ตัณหาเกิดขึ้นหรือแสดงผลต่อไปเป็นกรรมหรือการกระทำได้
ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการทำงานของปัญญาคิดค้นหาเหตุและผล ซึ่งตรงตามกระบวนการค้นคว้าหาความจริงของนักวิทยาศาสตร์ วิธีการของพุทธศาสนาก็เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตรอย่างยิ่ง คุณโฮ...เข้าใจเรื่องแบบนี้หรือเปล่าครับ


สุดท้าย เรื่องและข้อธรรมที่คุณโฮ..และผมแสดง มีกรรมการคอยตัดสินอยู่แล้วว่าอันไหนใช่ไม่ใช่ตามธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน กรรมการคือท่านผู้อ่านทั่้วทุกมุมโลกที่เข้ามาในลานธรรมจักรแห่งนี้ วิญญูชนย่อมจะมีวิจารณาญาณที่จะตัดสินใจด้วยเหตุและผลที่ถูกต้องเอาด้วยตนเอง ดังนั้นคุณโฮ..จะแสดงความเห็นอย่างไรก็เชิญแสดงต่อไปตามสบาย ผมจะรับฟัง แต่คงจะต้องเถึยงบ้างเป็นบางเรื่องที่มันไม่เข้าท่าและจะพาให้ผู้คนหลงผิดตาม
:b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2012, 21:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
การต่อสู้ของ สติ ปัญญา สมาธิ วิริยะ ตบะ ขันติ และศรัทธากับความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู ( ตัวกู ของกู 2 คำนี้ผมไปสอบดูทราบว่าหลวงพ่อพุทธทาสมิได้จดทะเบียนสงวนลิขสิทธิ์ไว้ ใครจะนำไปใช้ก็ไม่ถือว่าลอกเลียนแบบอย่างที่คุณเคยวิจารณ์)ถ้าสติ ปัญญา ชนะ "กู" ก็เป็นอันเสร็จงานและหน้าที่สำคัญชิ้นแรกของชาวพุทธ
ไม่ทราบว่าเท่าที่เล่ามาคร่าวๆเท่านี้ ชาวบ้านธรรมดาอย่างคุณจะพอเข้าใจได้ไหมครับ [/b]

ความหมายของคำว่าลอกเลียนแบบ มันอยู่ตรงที่ไปหยิบคำของท่านพุทธทาสมาใช้
แต่ตัวเองหาเข้าใจในธรรมนั้นไม่ครับ

เห็นหลายรายแล้วครับแม้กระทั้งพระสงฆ์องคเจ้า หยิบเอาธรรมของท่านพุทธทาส เอาไปใช้ในเชิงปรัชญา แทนที่จะเอามาใช้อธิบายธรรม พูดได้คำเดียวว่าเอาเท่อย่างเดียวคนฟังจะเตลิด จะปรุงแต่งอย่างไรไม่สน คุณโสกะครับ ถ้าขืนคุณยังเอาธรรมของท่านพุทธทาสมาทำเท่ ก็เลิกพูดเรื่องปรมัตถ์ได้เลยครับ เพราะคุณพูดอย่างทำอย่าง หรือกำลังสับสนในตัวเองครับ


Onion_L
นี่ก็ทำให้เห็นความไม่รู้จริงและอกุศลจิตของคุณโฮ....ปรากฏ

เช่น "มันอยู่ตรงที่ไปหยิบคำของทานพุทธทาสมาใช้" (อันหมายถึงคำว่า กู ตัวกู ของกู)

ซึ่งผมก็ยังสงสัยอยู่ว่าหลวงพ่อฯไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์คำเหล่านี้ไว้ตอนไหน ไม่ใช่พ่อขุนรามคำแหงท่านใช้อยู่ก่อน แล้วลูกหลานไทยก็พากันใช้คำเหล่านี้ไปทั่ว ผมไม่มีสิทธิจะใช้คำพูดอย่างนี้หรือย่างไร ? แล้วคนอย่างหลวงพ่อพุทธทาสท่านจะไปยึดว่าอะไรเป็นของท่านเชียวหรือ ท่่านเน้นเรื่องอนัตตาจะตาย คุณโฮ...มาคิดสงวนลิขสิทธิ์เอาเองและดึงเอาหลวงพ่อฯมาอ้างเพื่อเกทับคนอื่นเสียมากกว่าละกระมังครับ
พอข่มคนอื่นด้วยเรื่องนี้แล้วก็ยังแขวะต่อไปถึงพระสงฆ์องค์เจ้าอีกด้วย บาปนะโยม!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2012, 23:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อีกเรื่องหนึ่งขอทำความเข้าใจเรืองปรมัตถธรรมกับทุกๆท่านว่า ปรมัตถธรรมไม่ใช่เรื่องหรือสิ่งที่พ้นวิสัยที่คนธรรมดาทั่วไปจะรู้เห็น

ลองมาศึกษากันดูนะครับ

ปรมัตถธรรม แปลว่าธรรมอันยิ่ง แบ่งออกเป็น 4 อย่างคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

ที่เราคลุกคลีรับทราบรับรู้และเป็นไปอยู่ในกายใจของเราทุกวันเวลานาทีวินาทีก็มีกลุ่มของจิต เจตสิกและรูป
ส่วน นิพพานนั้น ต้องทำตามวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสอน คือเจริญมรรค 8 หรือวิปัสสนาภาวนาไปจนเมื่อถึงที่เริ่มตั้งแต่โสดาปัตติมรรคเกิดขึ้น เข้าถึงโสดาปัตติผล จึงจะได้สัมผัสนิพพาน

จิตเป็นนามธรรม มีหน้าที่ รู้รูป รู้อารมณ์ เรื่องของจิตมีอะไรละ ก็มีเช่น จิตยินดี จิตเศ้ราหมอง จิตฟุ้งซ่าน สิ่งที่ว่านี้เราคงเคยสัมผัสกันมาแล้ว นั่นแหละปรมัตถธรรม

เจตสิก เป็นนามธรรม มีหน้าที่ประกอบเข้ากับจิตทำให้เกิดเป็นอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ เรื่องของเจตสิกมีเยอะแยะทั่วใจตัวเราเลยทีเดียวเช่น สติ ปัญญา สมาธิ ความโลภ โกรธ หลง ความทุกข์ สุข ดีใจ เสียใจ เวทนาทั้งหลาย กุศล อกุศล ความเป็นกลางๆ ความวางเฉย ฯลฯ ถ้าเราเคยสัมผัสอารมณ์และความรู้สึกเหล่านี้นั่นแหละปรมัตถ์ธรรม

รูป คือสิ่งที่ปรากฏให้จิตรู้ มีความหมายว่าสิ่งที่เสื่อมเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา เช่นธาตุ 4 ขันธ์ 1 อายตนะ 12 สิ่งที่สัมผัสรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่นเสียง กลิ่น รส สัมผัส สภาวธาตุทั้ง 4 ที่ปรากฏกับจิต เช่น

ธาตุลม เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่ง
ธาตุดิน หนัก เบา แข็ง อ่อน หยาบกระด้าง นุ่มนิ่ม
ธาตุน้ำ ซึมซับ เอิบอาบ ไหลหยดย้อย แตกแยก เกาะกุมกันเข้า
ธาตุไฟ ร้อน หนาว เย็น อุ่น

มนุษย์เราจะพบกับความเปลี่ยนแปลงของสภาวธาตุทั้ง 4 นี้หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกันไปมาทั้งวันทั้งคืน
การได้สัมผัส รู้ รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส และความเปลี่ยนแปลงของธาตุทั้ง 4 ในกายใจ นั่นคือได้สัมผัส
ปรมัตถธรรม

ลักษณะเด่นของปรมัตถธรรมคือ ต้องรู้ด้วยใจ ไม่สามารถอธิบายให้รู้ชัดด้วยบัญญัติคำพูดได้ บัญญัติทั้งหลายจะบอกได้แต่วิธีที่จะเข้าไปทำให้ใจได้สัมผัสปรมัตถธรรม เช่น รสเค็ม รสหวาน ความทุกข์ สุข ความเจ็บ ปวด
สบาย ร้อน หนาว เย็น อุ่น ถ้าใครไม่เคยสัมผัสสิ่งเหล่านี้มาก่อนเราไม่สามารถจะอธิบายให้เขารู้ได้ด้วยคำพูดบอกกล่าว ตัวอย่างเช่น รสเค็ม เป็นอย่างไร? นิพพาน เป็นอย่างไร?ลองอธิบาย

การปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาต้องปฏิบัติอยู่กับปรมัตถธรรมจึงจะได้พบธรรมและนิพพาน

ปรมัตถธรรมเป็นสิ่งที่เอหิปัสสิโก คือเรียกร้องให้จิตเราเข้าไปดูไปรู้อยู่เสมอ พิสูจน์ได้ด้วยการลองนั่งเฉยๆ พยายามเฉยให้ได้จริงๆ ในที่สุดเราจะพบว่ามันเฉยไม่ได้เพราะจะมีอารมณ์ ความรู้สึกต่างและและสัมผัสของทวารทั้ง 6 มาเรียกจิตไปดูไปรู้ เปลี่ยนแปลงกันไปมาอยู่ตลอดเวลา


สิ่งใดที่มาเอหิปัสสิโกหรือเรียกจิตไปดูไปรู้ ถ้าเราเอาสติ ปัญญาไปรู้ทัน สังเกตพิจารณา จนรู้จัก เราก็จะได้พบความจริงและปรมัตถธรรม กระบวนการที่เอาสติปัญญาไปนิ่งรู้ นิ่งสังเกต สภาวธรรมที่มาเรียกจิตไปดู(เน้นว่าต้องที่ปัจจุบันอารมณ์)นี้เรียกว่า "การเจริญวิปัสสนาภาวนา"


ถ้ามีการกำหนด บอกสั่ง ว่าต้องกำหนดตรงนั้น บริกรรมอย่างนี้ กระบวนการอย่างนี้เรียกว่า "สมถะภาวนา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2012, 01:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


huh huh huh


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2012, 02:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
อีกเรื่องหนึ่งขอทำความเข้าใจเรืองปรมัตถธรรมกับทุกๆท่านว่า ปรมัตถธรรมไม่ใช่เรื่องหรือสิ่งที่พ้นวิสัยที่คนธรรมดาทั่วไปจะรู้เห็น

ลองมาศึกษากันดูนะครับ

ปรมัตถธรรม แปลว่าธรรมอันยิ่ง แบ่งออกเป็น 4 อย่างคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

ที่เราคลุกคลีรับทราบรับรู้และเป็นไปอยู่ในกายใจของเราทุกวันเวลานาทีวินาทีก็มีกลุ่มของจิต เจตสิกและรูป
ส่วน นิพพานนั้น ต้องทำตามวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสอน คือเจริญมรรค 8 หรือวิปัสสนาภาวนาไปจนเมื่อถึงที่เริ่มตั้งแต่โสดาปัตติมรรคเกิดขึ้น เข้าถึงโสดาปัตติผล จึงจะได้สัมผัสนิพพาน

จิตเป็นนามธรรม มีหน้าที่ รู้รูป รู้อารมณ์ เรื่องของจิตมีอะไรละ ก็มีเช่น จิตยินดี จิตเศ้ราหมอง จิตฟุ้งซ่าน สิ่งที่ว่านี้เราคงเคยสัมผัสกันมาแล้ว นั่นแหละปรมัตถธรรม

เจตสิก เป็นนามธรรม มีหน้าที่ประกอบเข้ากับจิตทำให้เกิดเป็นอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ เรื่องของเจตสิกมีเยอะแยะทั่วใจตัวเราเลยทีเดียวเช่น สติ ปัญญา สมาธิ ความโลภ โกรธ หลง ความทุกข์ สุข ดีใจ เสียใจ เวทนาทั้งหลาย กุศล อกุศล ความเป็นกลางๆ ความวางเฉย ฯลฯ ถ้าเราเคยสัมผัสอารมณ์และความรู้สึกเหล่านี้นั่นแหละปรมัตถ์ธรรม

รูป คือสิ่งที่ปรากฏให้จิตรู้ มีความหมายว่าสิ่งที่เสื่อมเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา เช่นธาตุ 4 ขันธ์ 1 อายตนะ 12 สิ่งที่สัมผัสรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่นเสียง กลิ่น รส สัมผัส สภาวธาตุทั้ง 4 ที่ปรากฏกับจิต เช่น

ธาตุลม เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่ง
ธาตุดิน หนัก เบา แข็ง อ่อน หยาบกระด้าง นุ่มนิ่ม
ธาตุน้ำ ซึมซับ เอิบอาบ ไหลหยดย้อย แตกแยก เกาะกุมกันเข้า
ธาตุไฟ ร้อน หนาว เย็น อุ่น

มนุษย์เราจะพบกับความเปลี่ยนแปลงของสภาวธาตุทั้ง 4 นี้หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกันไปมาทั้งวันทั้งคืน
การได้สัมผัส รู้ รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส และความเปลี่ยนแปลงของธาตุทั้ง 4 ในกายใจ นั่นคือได้สัมผัส
ปรมัตถธรรม

ลักษณะเด่นของปรมัตถธรรมคือ ต้องรู้ด้วยใจ ไม่สามารถอธิบายให้รู้ชัดด้วยบัญญัติคำพูดได้ บัญญัติทั้งหลายจะบอกได้แต่วิธีที่จะเข้าไปทำให้ใจได้สัมผัสปรมัตถธรรม เช่น รสเค็ม รสหวาน ความทุกข์ สุข ความเจ็บ ปวด
สบาย ร้อน หนาว เย็น อุ่น ถ้าใครไม่เคยสัมผัสสิ่งเหล่านี้มาก่อนเราไม่สามารถจะอธิบายให้เขารู้ได้ด้วยคำพูดบอกกล่าว ตัวอย่างเช่น รสเค็ม เป็นอย่างไร? นิพพาน เป็นอย่างไร?ลองอธิบาย

การปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาต้องปฏิบัติอยู่กับปรมัตถธรรมจึงจะได้พบธรรมและนิพพาน

ปรมัตถธรรมเป็นสิ่งที่เอหิปัสสิโก คือเรียกร้องให้จิตเราเข้าไปดูไปรู้อยู่เสมอ พิสูจน์ได้ด้วยการลองนั่งเฉยๆ พยายามเฉยให้ได้จริงๆ ในที่สุดเราจะพบว่ามันเฉยไม่ได้เพราะจะมีอารมณ์ ความรู้สึกต่างและและสัมผัสของทวารทั้ง 6 มาเรียกจิตไปดูไปรู้ เปลี่ยนแปลงกันไปมาอยู่ตลอดเวลา


สิ่งใดที่มาเอหิปัสสิโกหรือเรียกจิตไปดูไปรู้ ถ้าเราเอาสติ ปัญญาไปรู้ทัน สังเกตพิจารณา จนรู้จัก เราก็จะได้พบความจริงและปรมัตถธรรม กระบวนการที่เอาสติปัญญาไปนิ่งรู้ นิ่งสังเกต สภาวธรรมที่มาเรียกจิตไปดู(เน้นว่าต้องที่ปัจจุบันอารมณ์)นี้เรียกว่า "การเจริญวิปัสสนาภาวนา"


ถ้ามีการกำหนด บอกสั่ง ว่าต้องกำหนดตรงนั้น บริกรรมอย่างนี้ กระบวนการอย่างนี้เรียกว่า "สมถะภาวนา"


อนุโมทนาครับ อ่านแล้วเข้าใจขึ้นมาก

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2012, 04:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
คุณโฮ...ครับ เพียงข้อความที่แถบแดงไว้ข้างบน ก็รู้ว่าคณโฮ..กำลังสับสนและผิดเพี้ยนในเรื่องธรรมไปมากแล้วจนยากจะกู่กลับคืนได้
มรรคมีองค์ 8 คือสัมมาทั้ง 8 ข้อนั้นคือหลักปฏิบัติไม่ใช่ผลแห่งการปฏิบัติอย่างที่คุณเข้าใจ คุณคงไม่เคยได้ยินหรือไม่ได้พิจารณาให้ดีในพุทธดำรัสที่ว่า "สัมมาวิหาเรยุง อสุญโญโลโก อรหันเตหิ" ซึ่งมีความหมายเป็นไทยว่า
ตราบใดที่ยังมีผู้ปฏิบัติตามสัมมาทั้ง 8 ข้ออยู่ (คือมรรคมีองค์ 8)ตราบนั้นโลกนี้จักไม่ว่างจากพระอรหันต์

พูดผิดพูดใหม่ได้นะคุณโสกะ คนที่สามารถอธิบายความในสมมุติบัญญัติได้กับคนที่
อธิบายไม่ได้ ดันไปว่าคนที่รู้มากกว่า"ผิดเพี้ยน ยากจะกู่กลับ" นึกจะย้อนใครก็ให้มันมี
สาระและเนื้อหาในสิ่งที่ย้อนหน่อย

ก็ตัวเองบอกว่าสัมมาทั้งแปดเป็นหลัก แสดงว่าในหลักหนึ่งต้องมีรายละเอียดปลีกย่อย
การรวมกันของรายละเอียดปลีกย่อยจึงเป็นหลักหนึ่ง สมมุติมีโรงงานและมีหัวหน้าคนงาน
อยู่หลายคน ถ้าหัวหน้าโรงงานเป็นหลัก เราต้องไปดูว่า ก่อนที่จะมาเป็นหัวหน้าคนงาน
เขาปฏิบัติอย่างไรถึงได้เป็นหัวหน้าคนงาน ที่สำคัญหัวหน้าคนงานรู้อะไรบ้าง ซึ่งแท้จริง
แล้วก็คือรู้วิธีการทำงานของคนงานทุกหน้าที่ เขาจึงได้มาเป็นหลักของคนงาน

ผมถึงได้ถามไงว่า"สัมมาสังกัปปะ" ที่คุณบอกต้องปฏิบัติอย่างไร ชาวบ้านธรรมดาไม่เข้าใจ
แต่สิ่งที่ได้ก็คือการยอกย้อนแบบไม่เข้าท่า

ในเมื่อสัมมาสังกัปปะเป็นหลักหนึ่งในแปด สัมมาสังกัปปะจะต้องมีที่มา
จะต้องมีการปฏิบัติย่อยต่างๆ จนมาเป็นหลักมันก็เหมือนกับหัวหน้าคนงาน
ที่ผมยกตัวอย่างให้ดู

แล้วที่แปลบาลีมาน่ะ เอามาจากอรรถกถาจารย์คนไหนหรือ
หรืออรรถกถาจารย์โสกะ มันต้องพูดว่า"เราต้องปฏิบัติสัมมามรรคให้
ครบองค์แปด ไม่ใช่ปฏิติตามสัมมามรรค ถามหน่อยรู้จัก..
มรรคสมังคีมั้ยล่ะ รู้จักธรรมสามัคคีมั้ยล่ะ

ธรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในใจ พระพุทธเจ้าทรงให้ปฏิบัติเพื่อวาง อุเบกขา
เมื่อวางอุเบกขาได้แล้ว นั้นแหล่ะเรียก สัมมาหรือความเป็นกลาง

สรุปก็คือ สิ่งที่คุณโสกะพูดมาทั้งหมด เป็นลักษณะของการพูดเรื่อยเปื้อย
ไม่มีเหตุผลรองรับ สักแต่ว่าพูดโดยไม่เข้าใจว่า สมมุติบัญญัติตัวนั้น
มีความหมายที่แจริงอย่างไร
asoka เขียน:
คุณกล้าเถียงหรือค้านพุทธวัจจนะนี้เชียวหรือครับ?

คำว่า"สัมมาวิหาเรยุง"นั้นถ้าตีความไม่ถูกตามอรรถก็อาจพาเพี้ยนไปได้อีกเยอะอย่างที่คุณโฮฮับกำลังเป็นอยู่ขณะนี้

มันไม่ใช่ผมกล้าเถียงหรือค้านพุทธพจน์ แต่ความตื้นเขินของคุณ
กำลังกระทำการอวดอุตริฯโดยไม่รู้ตัว
สิ่งที่ผิดก็คือ๑.ผิดในหลักการและเนื้อหา ๒.ผิดในตัวบุคคล

ที่ว่าผิดในหลักการก็คือ สอนให้ปฏิบัติในเรื่องสัมมา แท้จริงแล้ว
พระพุทธองค็สอนให้ปฏิบัติ"ให้ถึง"สัมมา

และที่ผิดในตัวบุคคลก็คือ เอาธรรมที่พระพุทธสอนให้
อริยะบุคคลปฏิบัติ แต่คุณโสกะดันอวดอุตริเอามาสอนให้
ปุถุชนชาวบ้านธรรมดาปฏิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2012, 05:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
แล้วก็นี่อีกอันหนึ่ง ที่คุณพูดว่า
มีอธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา
การปฏิบัติในเรื่องอธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา เขาเรียกว่ามรรค

จะอธิบายให้ฟังนะโสกะ จะได้เพลาๆอาการตีโพยตีพายลงบ้าง
การศึกษาพระไตรปิฎก มีการแบ่งเป็นสามหมวด เขาเรียกไตรสิกขา
ความหมายของไตรสิกขาก็คือ ข้อที่ชาวพุทธควรศึกษาและปฏิบัติ
มีเรือง ศีล สมาธิและปัญญา ขั้นตอนแรกคือ การอ่านฟังทำความเข้าใจ
เขาเรียก ปริยัติ พอลงมือกระทำในสิ่งที่อ่านมา เขาเรียกปฏิบัติและ
ผลที่ได้มาเรียกปัญญา

อธิมีความหมายว่าใหญ่หรือทั้งหมด ในปุถุชนมีแค่ศีลห้าก็ยังไม่เรียก อธิศีล
สัมมาศีลก็ไม่ใช่การมีศีลหรือปฏิบัติในพระวินัยหรือศีล เพียงแต่ว่า ผู้มีสัมมาศีล
ได้รู้และปฎิบัติในเรื่องศีลมาทั้งหมด จนเกิดความเข้าใจในเรื่องของศีลทั้งหมด
หรือเข้าใจในอธิศีล ผลจึงเกิดสัมมาศีลขึ้น
ในเรื่องอธิจิตและอธิปัญญาก็เช่นกัน
asoka เขียน:
นี่ก็เป็นการบัญญัติสิ่งที่แปลกปลอมไปจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้เจริญมรรค 8 ทางสายกลาง ทำให้คำสอนที่เรียบง่ายของพระพุทธองค์กลายเป็นเรื่องยากขึ้นไปด้วย

ความหมายของคำว่าเรียบง่าย ไม่ใช่การคิดเอาง่ายๆแบบคุณ
เรียบง่ายของพระพุทธเจ้า คือเราสามารถปฏิบัติธรรมได้ตลอดเวลา
แม้ในชีวิตประจำวัน เพราะธรรมมีอยู่ทั่วไป ธรรมะของพระพุทธเจ้า
ไม่ใช่การทรมาณกาย การทำสมาธิแบบโยคีนั่งแข็งเป็นหิน เข้าใจมั้ย
asoka เขียน:
อธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา นั้น เป็นเรื่องของผลจริงๆ คือเป็นผลจากการเจริญมรรค 8 หรือวิปัสสนาภาวนา ซึ่งจะช่วยพัฒนาจิต ศีล ปัญญาจากระดับธรรมดาขึ้นไปจนเป็นอธิ คือ สูงยิ่ง เกิดกับผู้ที่ใกล้จะได้ถึงมรรคผลนิพพาน

คิดแบบกำปั้นทุบดิน มันก็ออกมาแบบคุณนี้และครับ
จะแสดงความเห็นอะไรควรให้เกียรติ์ผู้บัญญัติคำต่างเหล่านั้นด้วยนะครับ
ไม่ใช่ยกบัญญัติของเขามา แล้วใส่ความคิดตัวเองลงไป

อธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา ท่านผู้บัญญัติก็ให้ความหมายแล้วว่า
ไตรสิกขา สิกขาก็คือการศึกษาอธิศีล ก็คือศีลทั้งหมด อธิจิตก็คือจิต
ทั้งหมดและอธิปัญญาก็คือ ปัญญาทั้งหมด มันไม่ใช่สูงยิ่งสูงโด่งแบบคุณ
ตัวที่สูงยิ่งคือ สัมมาปัญญา สัมมาศีลและสัมมาสมาธิ

สัมมาศีลต่างจากอธิศีล สัมมาศีลคือศีลที่ปราศจาก ศีลพรตปรามาส
แต่อธิศีลยังมีเรื่องของศีลพรตปรามาสอยู่


การเจริญมรรคทำให้เกิด สัมมา
การเจริญมรรคไม่ได้ทำให้เกิดอธิหรือไตรสิกขา

การปฏิบัติในเรื่องของไตรสิกขาหรืออธิคือการเจริญมรรค
ผลที่ได้คือสัมมา

คุณโสกะคุณรู้ตัวมั้ยว่า เอาบัญญัติของครูบาอาจารย์มาทำเสียป่นปี้
asoka เขียน:
คุณเข้าใจกลับข้างไปหมดแล้วนะครับคุณโฮฮับ และความเข้าใจผิดเห็นผิดนี้คุณจะสังเกตเห็นได้ว่าพฤติกรรมที่คุณกำลังแสดงออกไปในกระทู้ต่างๆทั่วลานธรรมนี้ดูแปร่งๆ เพราะไป กล่าวว่าคนนั้นคนนี้ผิดไปหมด ลองวิเคราะห์และพิจารณาย้อนกลับดูตัวเองให้มากๆนะครับ[/b]

แบบนี้เขาเรียกว่า เริ่มพาลแล้วครับ ผมไปแย้งชาวบ้านผมมีปืนมีมีดไปขู่ด้วยมั้ยครับ
ที่คุณว่ากลับข้าง มันต้องก้มมองตัวเองด้วยครับ ผมไปแย้งคนอื่นคุณว่าผม
แล้วถ้าคนอื่นแสดงความเห็น ห้ามแย้งก็แสดงว่า กำลังบังคับคนอื่นให้เห็นด้วยนะครับ

สมมุติว่าคุณกำลังชักชวนคนอื่นให้กระโดดหน้าผาตามคุณ ผมเข้ามาห้าม
คุณมาว่าผมเป็นคนไม่ดีหรือครับ

ฉะนั้นจะมองอะไรต้องมองกลับข้างด้วย อย่ามองอะไรข้างเดียว
มัวแต่มองอะไรข้างเดียว ก็นึกว่าความชั่วเป็นความดี ลองมองไปอีกข้างหรือ
กลับข้างดูจะเห็นข้อแตกต่าง แล้วจะได้รู้ความชั่วกับความดีแตกต่างกันอย่างไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2012, 08:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
คุณโฮ...ครับ เพียงข้อความที่แถบแดงไว้ข้างบน ก็รู้ว่าคณโฮ..กำลังสับสนและผิดเพี้ยนในเรื่องธรรมไปมากแล้วจนยากจะกู่กลับคืนได้
มรรคมีองค์ 8 คือสัมมาทั้ง 8 ข้อนั้นคือหลักปฏิบัติไม่ใช่ผลแห่งการปฏิบัติอย่างที่คุณเข้าใจ คุณคงไม่เคยได้ยินหรือไม่ได้พิจารณาให้ดีในพุทธดำรัสที่ว่า "สัมมาวิหาเรยุง อสุญโญโลโก อรหันเตหิ" ซึ่งมีความหมายเป็นไทยว่า
ตราบใดที่ยังมีผู้ปฏิบัติตามสัมมาทั้ง 8 ข้ออยู่ (คือมรรคมีองค์ 8)ตราบนั้นโลกนี้จักไม่ว่างจากพระอรหันต์

พูดผิดพูดใหม่ได้นะคุณโสกะ คนที่สามารถอธิบายความในสมมุติบัญญัติได้กับคนที่
อธิบายไม่ได้ ดันไปว่าคนที่รู้มากกว่า"ผิดเพี้ยน ยากจะกู่กลับ" นึกจะย้อนใครก็ให้มันมี
สาระและเนื้อหาในสิ่งที่ย้อนหน่อย

ก็ตัวเองบอกว่าสัมมาทั้งแปดเป็นหลัก แสดงว่าในหลักหนึ่งต้องมีรายละเอียดปลีกย่อย
การรวมกันของรายละเอียดปลีกย่อยจึงเป็นหลักหนึ่ง สมมุติมีโรงงานและมีหัวหน้าคนงาน
อยู่หลายคน ถ้าหัวหน้าโรงงานเป็นหลัก เราต้องไปดูว่า ก่อนที่จะมาเป็นหัวหน้าคนงาน
เขาปฏิบัติอย่างไรถึงได้เป็นหัวหน้าคนงาน ที่สำคัญหัวหน้าคนงานรู้อะไรบ้าง ซึ่งแท้จริง
แล้วก็คือรู้วิธีการทำงานของคนงานทุกหน้าที่ เขาจึงได้มาเป็นหลักของคนงาน
ผมถึงได้ถามไงว่า"สัมมาสังกัปปะ" ที่คุณบอกต้องปฏิบัติอย่างไร ชาวบ้านธรรมดาไม่เข้าใจ
แต่สิ่งที่ได้ก็คือการยอกย้อนแบบไม่เข้าท่า

ในเมื่อสัมมาสังกัปปะเป็นหลักหนึ่งในแปด สัมมาสังกัปปะจะต้องมีที่มา
จะต้องมีการปฏิบัติย่อยต่างๆ จนมาเป็นหลักมันก็เหมือนกับหัวหน้าคนงาน
ที่ผมยกตัวอย่างให้ดู

แล้วที่แปลบาลีมาน่ะ เอามาจากอรรถกถาจารย์คนไหนหรือ
หรืออรรถกถาจารย์โสกะ มันต้องพูดว่า"เราต้องปฏิบัติสัมมามรรคให้
ครบองค์แปด ไม่ใช่ปฏิติตามสัมมามรรค ถามหน่อยรู้จัก..
มรรคสมังคีมั้ยล่ะ รู้จักธรรมสามัคคีมั้ยล่ะ

ธรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในใจ พระพุทธเจ้าทรงให้ปฏิบัติเพื่อวาง อุเบกขา
เมื่อวางอุเบกขาได้แล้ว นั้นแหล่ะเรียก สัมมาหรือความเป็นกลาง

สรุปก็คือ สิ่งที่คุณโสกะพูดมาทั้งหมด เป็นลักษณะของการพูดเรื่อยเปื้อย
ไม่มีเหตุผลรองรับ สักแต่ว่าพูดโดยไม่เข้าใจว่า สมมุติบัญญัติตัวนั้น
มีความหมายที่แจริงอย่างไร
asoka เขียน:
คุณกล้าเถียงหรือค้านพุทธวัจจนะนี้เชียวหรือครับ?

คำว่า"สัมมาวิหาเรยุง"นั้นถ้าตีความไม่ถูกตามอรรถก็อาจพาเพี้ยนไปได้อีกเยอะอย่างที่คุณโฮฮับกำลังเป็นอยู่ขณะนี้

มันไม่ใช่ผมกล้าเถียงหรือค้านพุทธพจน์ แต่ความตื้นเขินของคุณ
กำลังกระทำการอวดอุตริฯโดยไม่รู้ตัว
สิ่งที่ผิดก็คือ๑.ผิดในหลักการและเนื้อหา ๒.ผิดในตัวบุคคล

ที่ว่าผิดในหลักการก็คือ สอนให้ปฏิบัติในเรื่องสัมมา แท้จริงแล้ว
พระพุทธองค็สอนให้ปฏิบัติ"ให้ถึง"สัมมา

และที่ผิดในตัวบุคคลก็คือ เอาธรรมที่พระพุทธสอนให้
อริยะบุคคลปฏิบัติ แต่คุณโสกะดันอวดอุตริเอามาสอนให้
ปุถุชนชาวบ้านธรรมดาปฏิบัติ

Onion_L
asoka ตอบ
เพียง 2 ข้อความที่แถบสีแดงคาดไว้ก็พอจะทำให้รู้ว่ยิ่งนานวันยิ่งชี้แจง ยิ่งแทงกลับเข้าตัวคุณโฮฮับมากขึ้น
คุณสติดีเพราะเป็นนักสมถะ แต่ขาดสัมปชัญญะเพราะไปมองวิปัสสนาภาวนาต่ำกว่าสมถะ

คุณลองไปศึกษากิจการใหญ่ๆในเมืองไทยนี้ซิว่าบรรดาเจ้าสัวที่ดังๆทั้งหลายในเมืองไทยก่อนที่จะมาเป็นหัวหน้าหรือเจ้าของกิจการ ประธานบริษัท
เขาปฏิบัติอย่างไรถึงได้เป็นหัวหน้าหรือเจ้าของกิจการ ประธานบริษัท
ที่สำคัญเขาทำอย่งไรจึงสามารถบริหารกิจการที่มีหัวหน้างานพนักงานเป็นหมื่นเป็นแสนซึ่ง โดยมิได้จำเป็นต้องไปศึกษาวิธีการทำงานของหัวหน้างานแต่ละแผนก สาขา ไปเสียจนหมดก่อน จึงจะปกครองบริหารบริษัทใหญ่ๆได้ แท้จริง
แล้วเขาได้ใช้ สติ ปัญญา อันชาญฉลาดที่แม้จะเรียนไม่จบแม้กระทั้งชั้นป.4 แต่สามารถมีลูกน้อง ผู้จัดการ หัวหน้างานที่จบปริญญา ดอกเตอรฺ์ วิศวกร ดีกรีสูงๆได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปเรียนรู้เรื่องวิชาวิศวกรรมเลยสักนิด เขาจึงได้มาเป็นเสาหลักใหญ่ของของคนจำนวนมากมาย

สติ ปัญญา ที่อบรมมาดีแล้วด้วยสุตตมยปัญญา จินตมยปัญญา และภาวนามยปัญญา จนเกิดสัมาทิฐิขึ้นเป็นอันดับแรกก่อนนั่นแหละ นี่คือหลักที่แท้จริงของการพัฒนาชีวิตและจิตใจ

คุณโฮฮับเริ่มต้นด้วยมิจฉาทิฐิเสียแต่แรกแล้ว จึงพาลผิดตามกันมาเป็นกระบวนอย่างที่เห็นอยู่นี้

พิสูจน์ได้จากข้อความที่แถบแดงตอนที่ 2 เรื่อง "และที่ผิดในตัวบุคคลก็คือ เอาธรรมที่พระพุทธสอนให้
อริยะบุคคลปฏิบัติ แต่คุณโสกะดันอวดอุตริเอามาสอนให้
ปุถุชนชาวบ้านธรรมดาปฏิบัติ"


นี่เป็นความเห็นผิดอย่างจังๆเจ๋งเป้งเลยเชียวครับ แล้วเที่ยวประกาศความเห็นผิดอย่างนี้ไปทั่วด้วยความอาจหาญ ที่น่าสะพึงกลัว
ไปถามใครที่ไหนก็ได้ที่เป็นผู้รู้จริง ถึงจริง หรือแม้สามัญชนทั่วไปว่า มรรค 8 นี่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเก็บไว้สอนและรู้เรื่องเฉพาะพระอริยเจ้าเท่านั้นหรือ สามัญชนคนธรรมดาไม่อาจรู้รื่องและนำไปปฏิบัติได้เลยหรือย่างไร ถ้าไม่เอามรรค 8 มาเป็นหลักปฏิบัติภาวนาแล้วสาระคำสอนที่แท้และเป็นแก่นธรรมของพระพุทธเจ้าไปอยู่เสียที่ใหน ไม่ใช่อริยสัจทั้ง 4 ประการนี้หรือ
คุณโฮ..ไปเอาอะไรมาเป็นสาระและแก่นธรรมแทนล่ะครับ ชักจะทำตัวเก่งเกินพระพุทธบิดาเสียแล้วละกะมังครับ
กระทู้ท่อนอื่นยังมีเรื่อง ให้จับประเด็นมาวิเคราะห์เจาะลึกให้เห็นถึงมิจฉาทิฐิของคุณโฮฮับ ซึ่งนับวันยิ่งจะชัดเจนมากขึ้นทุกที แล้ววันหนึ่งในเวลาอันไม่ไกลข้างหน้านี้ คงจะได้คลายพยศ ลดมานะ ละทิฐิ ลงได้ จะได้กลับมาสู่เส้นทางที่ถูกต้องกันเสียที ขอให้พร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2012, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
[นี่ก็ทำให้เห็นความไม่รู้จริงและอกุศลจิตของคุณโฮ....ปรากฏ

เช่น "มันอยู่ตรงที่ไปหยิบคำของทานพุทธทาสมาใช้" (อันหมายถึงคำว่า กู ตัวกู ของกู)

ซึ่งผมก็ยังสงสัยอยู่ว่าหลวงพ่อฯไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์คำเหล่านี้ไว้ตอนไหน ไม่ใช่พ่อขุนรามคำแหงท่านใช้อยู่ก่อน แล้วลูกหลานไทยก็พากันใช้คำเหล่านี้ไปทั่ว ผมไม่มีสิทธิจะใช้คำพูดอย่างนี้หรือย่างไร ? แล้วคนอย่างหลวงพ่อพุทธทาสท่านจะไปยึดว่าอะไรเป็นของท่านเชียวหรือ ท่่านเน้นเรื่องอนัตตาจะตาย คุณโฮ...มาคิดสงวนลิขสิทธิ์เอาเองและดึงเอาหลวงพ่อฯมาอ้างเพื่อเกทับคนอื่นเสียมากกว่าละกระมังครับ
พอข่มคนอื่นด้วยเรื่องนี้แล้วก็ยังแขวะต่อไปถึงพระสงฆ์องค์เจ้าอีกด้วย บาปนะโยม!

ผมยอมรับนะครับว่าคุยกับคุณเหนื่อยครับ เหนื่อยที่จะต้องอธิบาย
ซึ่งบ้างสิ่งบ้างอย่างมันไม่จำเป็นต้องอธิบายให้มากความ มันก็น่าจะรู้ได้
ถ้าคุณเป็นวิญญูชน แต่นี่ผมต้องชี้แจงแถลงไขทุกเรื่อง สงสัยสามัญสำนึก
ต้องบกพร่องแน่ๆครับ

คุณก็บอกเองว่าลูกหลานไทยก็ใช้คำเหล่านี้อยู่ คนไทยทั่วไปก็ใช้อยู่
มีใช้กันในด้านดีและไม่ดี และการที่คุณหยิบเอาคำของท่านพุทธทาส
มาใช้แบบห้วนๆ มันจะไม่ทำให้คนอื่นเข้าใจในคำสอนของท่านพุทธทาสผิดหรือครับ

คุณโสกะครับ เอาแค่หลักการง่ายๆไม่ต้องไม่ต้องถึงธรรมชั้นสูงหรอกครับ
ถามครับ รู้จักคำว่ามรรยาทมั้ยครับ

จะบอกให้ครับ จะเอาบัญญัติใครเขามาใช้ จะต้องเอาคำอธิบายความของ
บุคคลเจ้าของบัญญัติมาประกอบด้วย ไม่ใช่เอาแต่คำสั้นๆมาโชว์พาวโดยไม่ให้
ความสำคัญต่อเจ้าของบัญญัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2012, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
คุณลองไปศึกษากิจการใหญ่ๆในเมืองไทยนี้ซิว่าบรรดาเจ้าสัวที่ดังๆทั้งหลายในเมืองไทยก่อนที่จะมาเป็นหัวหน้าหรือเจ้าของกิจการ ประธานบริษัท
เขาปฏิบัติอย่างไรถึงได้เป็นหัวหน้าหรือเจ้าของกิจการ ประธานบริษัท
ที่สำคัญเขาทำอย่งไรจึงสามารถบริหารกิจการที่มีหัวหน้างานพนักงานเป็นหมื่นเป็นแสนซึ่ง โดยมิได้จำเป็นต้องไปศึกษาวิธีการทำงานของหัวหน้างานแต่ละแผนก สาขา ไปเสียจนหมดก่อน จึงจะปกครองบริหารบริษัทใหญ่ๆได้ แท้จริง
แล้วเขาได้ใช้ สติ ปัญญา อันชาญฉลาดที่แม้จะเรียนไม่จบแม้กระทั้งชั้นป.4 แต่สามารถมีลูกน้อง ผู้จัดการ หัวหน้างานที่จบปริญญา ดอกเตอรฺ์ วิศวกร ดีกรีสูงๆได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปเรียนรู้เรื่องวิชาวิศวกรรมเลยสักนิด เขาจึงได้มาเป็นเสาหลักใหญ่ของของคนจำนวนมากมาย

ยิ่งอธิบายก็ยิ่งฟุ้งไปไกล ผมว่าไม่แคล้วตกขอบโลกแน่ๆ
แค่ยกเอาตัวอย่างการเปรียบเทียบเพื่อจะให้เห็นอะไรเป็นเหตุ
อะไรเป็นผล เนี้ยเล่นไปไกลเกินกู่แล้ว

สงสัยตัวอย่างก่อนหน้าจะสูงไป คุณโสกะเลยงง จิตเตลิด
เอาใหม่ คุณโสกะรู้จักกฎหมายรัฐธรรมนูญมั้ยล่ะ
ที่เขาให้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ คือปฏิบัติตามกฎหมายลูก
ในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ให้ปฎิบัติรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเป็นเพียง
บัญญัติให้รู้ว่ามีกฎหมายลูกหรือย่อย จำนวนเท่าไร จึงจะครบเป็นรัฐธรรมนูญนั้น

บัญญัติคำว่ารัฐธรรมนูญก็เหมือนคำว่าสังกัปปะ มันเป็นผลหรือบัญญัติ
ของสิ่งที่มารวมกัน

สัมมาสังกัปปะ ท่านกล่าวไว้ว่าวิธีคิดอย่างไรจึงเรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
การคิดต้องคิดตามธรรมต่างๆที่พระพุทธเจ้าสอน อาทิเช่น คิดโดยยึดหลัก
สัมมัปปทาน สติปัสฐาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละและโพชฌงค์
สิ่งที่ผมกล่าวมาล้วนเป็นมรรค หรืออริยะมรรคขององค์แปด

ผมถึงได้บอกว่าการปฏิบัติไม่ใช่การปฏิบัติในสัมมาสังกัปปะ
แต่เราต้องปฏิบัติมรรคที่กล่าวไว้ข้างต้น จนเกิดเป็นสัมมามรรค
หรือสัมมาสังกัปปะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2012, 03:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
สติ ปัญญา ที่อบรมมาดีแล้วด้วยสุตตมยปัญญา จินตมยปัญญา และภาวนามยปัญญา จนเกิดสัมาทิฐิขึ้นเป็นอันดับแรกก่อนนั่นแหละ นี่คือหลักที่แท้จริงของการพัฒนาชีวิตและ
จิตใจ
คุณโฮฮับเริ่มต้นด้วยมิจฉาทิฐิเสียแต่แรกแล้ว จึงพาลผิดตามกันมาเป็นกระบวนอย่างที่เห็นอยู่นี้

ทำกับข้าวไม่ได้เรื่องเล่นใช้ผักชีโรยหน้าเลยหรือครับ ไปไหนไม่ถูกคิดไม่ออก
ก็พูดกลบเกลื่อนไว้ก่อนว่า คนอื่นไม่มีสัมมาทิฐิ ลองก้มดูข้างลำตัวดูซิครับว่า
สีข้างยังอยู่หรือเปล่าผมว่ามันเหลือแต่ซี่โครงแล้วนะครับคุณโสกะ :b13:

ไอ้ที่พูดมาข้างบนมันถูกต้องหรือครับ สักแต่ว่าพูด
สติปัญญากับสัมมาทิฐิของคุณมันคนละตัวกันหรือ ตลกจัง :b9:
แล้วยิ่งตลกไปใหญ่ที่ว่า สติปัญญาถูกอบรม เห็นมีแต่ใช้สติปัญญาอบรม
และนี่ก็อีก มีหรือพระพุทธเจ้าสอนให้พัฒนาชีวิตและจิตใจ ทำไมหนอชอบเอาธรรมของ
พระพุทธเจ้า มาต่อเติมเสริมแต่งด้วยอารมณ์ที่มัวเมา แบบที่ชาวบ้านเรียกว่า บ้าน้ำลายครับ
พระพุทธองค์สอนให้ เลิกยึดมั่นถือมั่นในตัวตนนะครับ ไม่ได้สอนให้พัฒนาชีวิตและจิตใจ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2012, 04:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
asoka ตอบ
พิสูจน์ได้จากข้อความที่แถบแดงตอนที่ 2 เรื่อง "และที่ผิดในตัวบุคคลก็คือ เอาธรรมที่พระพุทธสอนให้
อริยะบุคคลปฏิบัติ แต่คุณโสกะดันอวดอุตริเอามาสอนให้
ปุถุชนชาวบ้านธรรมดาปฏิบัติ"


นี่เป็นความเห็นผิดอย่างจังๆเจ๋งเป้งเลยเชียวครับ แล้วเที่ยวประกาศความเห็นผิดอย่างนี้ไปทั่วด้วยความอาจหาญ ที่น่าสะพึงกลัว
ไปถามใครที่ไหนก็ได้ที่เป็นผู้รู้จริง ถึงจริง หรือแม้สามัญชนทั่วไปว่า มรรค 8 นี่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเก็บไว้สอนและรู้เรื่องเฉพาะพระอริยเจ้าเท่านั้นหรือ สามัญชนคนธรรมดาไม่อาจรู้รื่องและนำไปปฏิบัติได้เลยหรือย่างไร ถ้าไม่เอามรรค 8 มาเป็นหลักปฏิบัติภาวนาแล้วสาระคำสอนที่แท้และเป็นแก่นธรรมของพระพุทธเจ้าไปอยู่เสียที่ใหน ไม่ใช่อริยสัจทั้ง 4 ประการนี้หรือ

อุ๋ย! น่ากลัวมากเลยครับคุณโสกะ ทำไมไม่บอกว่า ผมเป็นพวกพ่อมดหมอผีไปเลยล่ะครับ
ผมว่าคุณนี่เป็นเอามากนะครับ แค่สนทนาธรรมกันแค่นี้ ไม่ต้องคุ้มคลั่งขนาดนี้ก็ได้ครับ

คุณเข้าใจมั้ยว่า พระธรรมของพระพุทธเจ้าหรือพระไตรปิฎกนั้นน่ะ เกิดหลังจากที่
พระพุทธองค์ได้ทรงปรินิพพานไปแล้ว พระไตรปิฎกก็เหมือนกับตำราที่แยกแยะเป็น
หลักสูตรไว้ ซึ่งการเก็บรวบรวมจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงสอนธรรมแก่บุคคล
ตามสถานที่ต่างๆและที่สำคัญลักษณะที่สอนเป็นธรรมที่แยกแยะในตัวบุคคลไว้

พระไตรปิฎกก็เปรียบเหมือนพระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ที่แท้จึงต้อง
กระทำตามพระพุทธเจ้า คือรู้จักแยกแยะสอนธรรมให้ถูกกาละเทศะ
ต้องรู้จักความสามารถของลูกศิษย์ว่า ควรสอนธรรมในขั้นใด ไม่ใช่สักแต่
ว่าสอน ทำแบบนี้ถึงมีคนเขลาเบาปัญญาเที่ยวชี้หน้าคนอื่น ไม่มีสัมมาทิฐิ

ครูบาอาจารย์ที่แท้ แต่จะรู้จริงหรือไม่รู้จริงแบบที่คุณว่าผมไม่รู้
แต่สิ่งที่ผมเคยสัมผัสก็คือ ท่านสอนให้ชาวบ้านธรรมดาๆว่า
"โยมการปฏิบัติสิ่งแรกเลยก็คือ ทาน ศีลและภาวนา
หมั่นเสียสละ ไม่ทำชั่วและมีสติ แค่นี้แหล่ะ"
ผมไม่เห็นท่านสอนมรรคมีองค์แปด สอนให้ใช้
สัมมาสังกัปปะแบบคุณเลย


asoka เขียน:
คุณโฮ..ไปเอาอะไรมาเป็นสาระและแก่นธรรมแทนล่ะครับ ชักจะทำตัวเก่งเกินพระพุทธบิดาเสียแล้วละกะมังครับ
กระทู้ท่อนอื่นยังมีเรื่อง ให้จับประเด็นมาวิเคราะห์เจาะลึกให้เห็นถึงมิจฉาทิฐิของคุณโฮฮับ ซึ่งนับวันยิ่งจะชัดเจนมากขึ้นทุกที แล้ววันหนึ่งในเวลาอันไม่ไกลข้างหน้านี้ คงจะได้คลายพยศ ลดมานะ ละทิฐิ ลงได้ จะได้กลับมาสู่เส้นทางที่ถูกต้องกันเสียที ขอให้พร

ที่กล่าวหาผมมา มันเป็นคุณนั้นแหล่ะ พยายามทำตัวเป็นพระพุทธเจ้า
เอาธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนอริยะสาวก มาให้ยุให้ชาวบ้านปฏิบัติ
และที่ผมกล่าวไม่ใช่ว่าจะพูดพล่อยๆแบบคุณ ในพระไตรปิฎกก็มี เพียงแต่
ไม่อยากโพส กลัวคนอื่นจะว่าเป็น เสือใบลาน แต่ไม่มีทางเลือกก็จำเป็น


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็น
ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่
พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตก
ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาสังกัปปะ
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 724&Z=3923

ยกตัวอย่างสั้นๆมาให้ดู สัมมาสังกัปปะที่เราคุยกันเป็นเรื่องมรรค เรื่องดับขันธ์
ดังนั้นเราต้องดูในเรื่องอนาสวะ ซึ่งเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงสอน อริยะสาวก

การอ่านพระไตรปิฎกอย่าอ่านเพียงท่อนเดียวหรือหัวข้อเดียว
กรุณาอ่านให้หมดแล้วพิจารณาตามไปด้วย

และในพระสูตรนี้ เราต้องไปดูที่สัมมาสังกัปปะที่อนาสวะ
เพราะมันเกี่ยวกับเรื่องมรรค เรื่องการดับขันธ์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร