วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 11:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมลักษณะ ๗ ประการแห่งเวทนา

(รู้จักเวทนา, เหตุเกิดเวทนา, ความดับเวทนา, วิธีดับเวทนา, อัสสาทะของเวทนา, อาทีนวะของเวทนา, นิสสรณะของเวทนา)

(๑). ภิกษุ ท. ! เวทนา ๓ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา :
นี้เราเรียกว่า เวทนา.

(๒). เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ จึงมี ความเกิดขึ้น แห่งเวทนา
ปฏิปทาให้ถึงตัณหาย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งเวทนา

(๓). เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา

(๔). อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งเวทนา ; คือ
สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

(๕). สุขโสมนัสอันใด อาศัยเวทนาเกิดขึ้น : นี้คืออัสสาทะ (รสอร่อย) แห่งเวทนา.

(๖). ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แห่งเวทนา :
นี้คือ อาทีนวะ (โทษ) จากเวทนา.

(๗). การนำออกเสียได้ซึ่งฉันทราคะ การละเสียได้ซึ่งฉันทราคะ ในเวทนา :
นี้คือ นิสสรณะ (อุบายเครื่องออก) จากเวทนา
- สฬา. สํ. ๑๘/๒๘๙/๔๓๘.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับ เวทนา

ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวว่า
“พึงรู้จักเวทนา,
พึงรู้จักเหตุ เป็นแดนเกิด ของเวทนา,
พึงรู้จักความเป็นต่างกัน ของเวทนา,
พึงรู้จักผลของเวทนา,พึงรู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา,
และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา” ดังนี้นั้น,
พึงรู้จักเวทนา เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง เวทนาสาม เหล่านี้;
คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา.

ภิกษุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?



ภิกษุ ท. ! ผัสสะ เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา.



ภิกษุ ท. ! ความเป็นต่างกันของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! สุขเวทนา ที่เจือด้วยอามิส (กามคุณ ๕) ก็มี
สุขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิส (ไม่มีกามคุณ ๕) ก็มี;

ทุกขเวทนา ที่เจือด้วยอามิสก็มี
ทุกขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิสก็มี;

อทุกขมสุขเวทนา ที่เจือด้วยอามิสก็มี
อทุกขมสุขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิสก็มี.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ความเป็นต่างกันของเวทนา.



ภิกษุ ท. ! ผลของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เมื่อเสวยเวทนาใดอยู่ ยังอัตภาพซึ่งเกิดแต่เวทนานั้น ๆ ให้เกิดขึ้น
เป็นฝ่ายบุญก็ตาม เป็นฝ่ายมิใช่บุญก็ตาม.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ผลของเวทนา.



ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของเวทนา มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของผัสสะ.



ภิกษุ ท. ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา,

ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ….

ภิกษุ ท. ! คำใด ที่เรากล่าวว่า
“พึงรู้จักเวทนา,
พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา,
พึงรู้จักความเป็นต่างกันของเวทนา,
พึงรู้จักผลของเวทนา,
พึงรู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา,
และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของเวทนา” ดังนี้นั้น,

เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้แล.
- ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๐/๓๓๔.



หมายเหตุ:

ผัสสะ สภาวะ การประจวบกันแห่งอายตนะภายใน และภายนอก และวิญญาณ
(สิ่งที่มากระทบ/สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต/ปัจจุบัน ขณะ)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนากับบาดาล

ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ พูดกันว่าบาดาลมีอยู่ใต้มหาสมุทร.
ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ กล่าวสิ่งนั้น ซึ่งไม่มีอยู่ไม่เป็นอยู่ ว่าบาดาล มีอยู่ใต้มหาสมุทร.

ภิกษุ ท. ! คำว่า “บาดาล” นั้น เป็ นคำแทนชื่อ ของทุกขเวทนาอันมีอยู่ในสรีระนี้.

ภิกษุ ท. ! บุถุชน ผู้ไม่มีการสดับ ถูกต้องทุกขเวทนา ในสรีระนี้อยู่
ย่อมเศร้าโศก ย่อมลำบากใจ ร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ย่อมถึงความมีสติฟั่นเฟือน.

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า บุถุชนผู้ไม่มี การสดับนี้ จมลงแล้วในบาดาล ไม่มีที่ยืนเหยียบถึง.

ภิกษุ ท. ! ส่วน อริยสาวก ผู้มีการสดับ เมื่อถูกต้องทุกขเวทนา
ที่เป็นไปในสรีระ ย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไรรำพัน ไม่เป็น
ผู้ทุบอกร่ำไห้ ย่อมไม่ถึงความเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน.

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า อริยสาวกผู้มีการสดับนี้
ไม่จมลงแล้วในบาดาล มีที่ยืนเหยียบถึง.
- สฬา. สํ. ๑๘/๒๕๕/๓๖๕.




พุทธสาวก เป็ นผู้มีจิตตั้งมั่น มีสติ มีสัมปชัญญะ
ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา
ซึ่งแดนเกิดแห่งเวทนา
ซึ่งธรรมเป็นที่ดับแห่งเวทนา
ซึ่งหนทาง ให้ถึงความสิ้นไป,

ภิกษุ เพราะสิ้น แห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้หายหิว ดับเย็นสนิท.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม

บุคคลรู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ มีความหลอกลวงเป็นธรรมดา มีการแตกสลายเป็นธรรมดา
เสวยแล้ว เสวยแล้ว เห็นอยู่ว่าเป็นสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็ นธรรมดา :

ดังนี้ ย่อมปราศจากความกำหนัดในเวทนานั้น ๆ.



เมื่อบุคคลเสวยสุขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น
ราคานุสัย ย่อมมีแก่เขาผู้มองไม่เห็นทางออกจากอำนาจของเวทนานั้น.

เมื่อบุคคล เสวยทุกขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น
ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่เขา ผู้มองไม่เห็นทางออกจากอำนาจของเวทนานั้น.

บุคคลเพลิดเพลิน แม้ในอทุกขมสุข
อันพระภูริปัญญาพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเป็นธรรมอันรำงับ ก็หาพ้นจากทุกข์ไปได้ไม่.

เมื่อใดภิกษุมีความเพียรเผากิเลส ไม่ทอดทิ้งสัมปชัญญะ ก็เป็นบัณฑิตรอบรู้เวทนาทั้งปวง
ภิกษุนั้น เพราะรอบรู้ซึ่งเวทนา จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฏฐิธรรม
เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม จนกระทั่งกายแตก
จบเวทไม่เข้าถึง ซึ่งการนับว่าเป็นอะไร.



บุคคลใด ถูกทุกขเวทนา อันเกิดขึ้นแล้ว ในสรีระปานว่า จะนำเสียซึ่งชีวิต
อดกลั้นไม่ได้ ย่อมหวั่นไหว ย่อมคร่ำครวญร่ำไห้ ทุพพลภาพหมดกำลัง ;

บุคคลนั้น จมลงแล้วในบาดาล (แห่งเวทนา) ซึ่งไม่มีที่ ยืนเหยียบถึง.

ส่วนบุคคลใด ถูกทุกขเวทนา อันเกิดขึ้นแล้ว ในสรีระปานว่าจะ นำเสียซึ่งชีวิต
ย่อมอดกลั้นได้ ไม่หวั่นไหว ;

บุคคลนั้น ไม่จมลงแล้ว ในบาดาล เพราะมีที่ยืนเหยียบถึง.
ผู้ใด เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศร
เห็นอทุกขมสุขอันกำลังมีอยู่ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ;

ผู้นั้นเป็น ภิกษุ ผู้รู้เห็นโดยชอบ ย่อมรอบรู้ซึ่งเวทนา
เพราะรอบรู้เวทนา จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฎฐิธรรม
เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมจนกระทั่งกายแตก
จบเวท ไม่เข้าถึงซึ่งการนับว่าเป็นอะไร,
- สฬา. สํ. ๑๘/๒๕๔-๒๕๗/๓๖๐, ๓๖๒, ๓๖๔, ๓๖๖, ๓๖๘.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปมาแห่งเวทนา

ภิกษุ ท. ! เมื่อฝนเมล็ดหยาบ ตกในสรทสมัย (ท้ายฤดูฝน),
ต่อมนํ้า ย่อมเกิดขึ้นและแตกกระจายอยู่บนผิวน้ำ.

บุรุษผู้มีจักษุ เห็นต่อมน้ำนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคาย.
เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคายอยู,
ต่อมนํ้านั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่าและปรากฏ เป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.

ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในต่อมน้ำนั้นจะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด ;
ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ เวทนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่
จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือ
ละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ;

ภิกษุรู้สึกในเวทนานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย.
เมื่อภิกษุนั้นรู้สึกอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่,
เวทนานั้น ย่อมปรากฏเป็ นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.

ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสาร ในเวทนานั้น จะพึงมีได้อย่างไร.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๑/๒๔๓.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2013, 19:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2013, 16:40
โพสต์: 1

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
งานอดิเรก: ฟังธรรมมะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


onion onion onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร