วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 13:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 134 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนมากพวกเราขาดความเข้าใจภาษาธรรม (บาลี) เช่น บางคนอ่านๆที่หนึ่งจำศัพท์ที่นั่นได้แล้วก็ยึดไว้ว่าแน่ล่ะ
แต่พอไปเห็นอีกที่หนึ่งท่าน (ตำรา) ใช้อีกชื่อหนึ่งศัพท์หนึ่งซึ่งเป็นไวพจน์กัน (ใช้แทนกันได้) เอาเลยเราหลงเลย คิดว่า ไม่ใช่อันที่ตัวเองจำมา :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
govit2552 เขียน:
ตัวผมหรือ

เรียก กายก็ได้ เพราะเป็นที่รวมที่ประชุมของรูป

เรียก รูปขันธ์ ก็ได้ เพราะเป็นกองแห่งรูปทั้้ง 27


เรียกทั้งสองอย่างไม่ได้ครับ ต้องเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง

กาย เป็นบัญญัติที่พระพุทธกำหนดให้รู้ว่า....รูปธรรมที่ปราศจากอุปาทายรูป
เป็นเพียงธาตุสี่

รูปขันธ์ เป็นบัญญัติที่พระพุทธองค์กำหนดให้รู้ว่า.....รูปธรรมที่ประกอบด้วยธาตุสี่
และอุปาทายรูป

govit2552 เขียน:

ขาดอยู่รูปเดียว ผมไม่มีคือ อิตถีภาวะรูป


พูดแบบนี้คุณก็ไม่สามารถแยกภาวะรูปได้น่ะซิครับ
หญิงชายต่างกันอย่างไรคุณก็คงไม่รู้

ผมเห็นคุณอธิบายความมาตั้งแต่เริ่ม มันเป็นความเข้าใจผิดในเรื่องรูปปรมัตถ์ของคุณ
รูปปรมัตถ์ เป็นสิ่งที่เกิดภายในกายใจของเราครับ แต่คุณโกวิทไปเอาสิ่งที่อยู่นอกกายใจมาพูด
เป็นแบบนี้เลยทำให้คุณสับสน

อย่างเช่นกรณีนี้ คุณเข้าว่า อิตถีรูปเป็นผู้หญิง คุณก็เลยบอกว่าคุณไม่มีอิสถีรูป
เพราะคุณเป็นผู้ชายนั้นเอง มันไม่ใช่อย่างที่คุณคิดครับ

ภาวะรูปหมายถึง มีสิ่งภายนอกมากระทบครับ อย่างเช่น เห็นผู้หญิง
มันจะเกิดเป็นอิสถีรูปขึ้นที่ใจเราครับ หรือเห็นผู้ชายก็จะเป็นปุริสรูป

ภาวะรูป.....ไม่ได้หมายถึงความเป็นหญิงชายของเราครับ
แต่หมายถึงความเป็นหญิงหรือชายมากระทบที่กายใจเราครับ



ทางธรรมโฮฮับไ่ม่มีหลักมีเกณฑ์อะไร พูดเดาตีคลุมไปเรื่อยถูกมั่งผิดมั่ง หลับหูหลับตาเหวียงซ้ายทีขวาที เหมือนมวยทะเล ขอตั้งชื่อให้ว่า "ธรรมะบ๊อกซิ่งเล" :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เพื่อให้เห็นภาพกว้างอีก (สังเกตความหมาย บัญญัติ)
ตัวสภาวะ

พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นธาตุ เป็นธรรม เป็นสภาวะ (เรียกยาวว่า “สภาวธรรม” ตามคำบาลีว่า “สภาวธมฺม “ส+ภาว+ธมฺม แปลว่า สิ่งที่มีภาวะของมันเอง) อันมีอยู่เป็นอยู่ตามภาวะของมันเอง ที่เป็นของมันอย่างนั้น เช่นนั้น ตามธรรมดาของมัน มิใช่มีเป็น สัตว์ บุคคล อัตตา ตัวตน เรา เขา ที่จะยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ครอบครอง บังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนาอย่างไรๆได้


ปัญหาของผู้ที่กำลังอธิบายธรรม ขาดปัญญาญานรู้ในสภาวะธรรม
จึงทำให้ขาดสมาธิในการพิจารณาธรรม
มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเป็นขันธ์ห้า เหตุที่มีขันธ์ห้าตามติดมาก็เป็นเพราะ
มีความยึดมั่นถือมั่นจึงเกิดเป็นอัตตาตัวตนขึ้น เมื่อจิตเกิดจุติมาปฏิสนธิ์ใหม่
จึงทำให้จิตดวงนั้น มีความเป็นอัตตาตัวตนมาพร้อม เพราะอัตตาตัวตนเป็นเหตุให้เกิดภพชาติ

ตามธรรมดาก็คือขันธ์ห้า ความเป็นขันธ์ก็คือ...อัตตาตัวตน
เจ้าของบทความมาบอกได้ไงว่า ......ไม่ใช่อัตตาตัวตน


อยากบอกกรัชกายและเพื่อนๆ การอ่านธรรมเราต้องมีสมาธิแยกแยะด้วยว่า
ธรรมไหนเป็นอวิชาและธรรมไหนเป็นวิชชา ดูจากธรรมที่เอามาอ้างอิงก็รู้แล้วว่า ...
ผู้กล่าวแยกแยะ ธรรมที่เป็นอวิชาและวิชชาไม่ออก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
บรรดาสิ่งทั้งหลายที่รู้จักเข้าใจกันอยู่โดยทั่วไปนั้น มีอยู่เป็นอยู่เป็นไปในรูปของส่วนประกอบต่างๆ ที่มาประชุมกันเข้า ตัวตนแท้ๆ ของสิ่งทั้งหลายไม่มี เมื่อแยกส่วนต่างๆ ที่มาประกอบกันเข้านั้นออกไปให้หมด ก็จะไม่พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่ ตัวอย่างง่ายๆ ที่ยกขึ้นอ้างกันบ่อยๆ คือ “รถ” เมื่อนำส่วนประกอบต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกันตามแบบที่กำหนด ก็บัญญัติเรียกกันว่า “รถ” แต่ถ้าแยกส่วนประกอบทั้งหมดออกจากัน ก็จะหาตัวตนของรถไม่ได้ มีแต่ส่วนประกอบทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กันจำเพาะแต่ละอย่างอยู่แล้ว คือ ตัวตนของรถมิได้มีอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านั้น มีแต่เพียงคำบัญญัติว่า “รถ” สำหรับสภาพที่มารวมตัวกันข้าวของส่วนประกอบเหล่านั้น แม้ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆนั้นเอง ก็ปรากฏขึ้นโดยการรวมกันเข้าของส่วนประกอบย่อยๆ ต่อๆไปอีก และหาตัวตนที่แท้ไม่พบเช่นเดียวกัน เมื่อจะพูดว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่ ก็ต้องเข้าใจในความหมายว่า มีอยู่ในฐานะมีส่วนประกอบต่างๆ มาประชุมเข้าด้วยกัน


นี่ก็มั่ว..ธรรมชาติของสัตว์โลกเป็นไปตามกฎแห่งธรรมฐิติ ธรรมนิยาม
สัตว์โลกเป็นไปตามปฏิจจสมุบาทและอิทัปจยตา
ความหมายแห่งตัวตน หมายถึงความเป็นอวิชาหรือความไม่รู้

ในสภาพธรรมที่เรียกว่า...ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม
ซึ่งพระพุทธองค์ทรงกล่าวเป็นพุทธวจนไว้คือ....

สัพเพสังขารา อนิจจัง...ทุกขัง
สัพเพธัมมา...อนัตตา

การเกิดมาเป็นสัตว์โลกหรือเป็นบุคคล ไม่ได้เกิดจากการประกอบกัน แบบที่กรัชกายยกมากล่าว
แต่ความเป็นบุคคลหรือเดรัจฉานเกิดจาก ความเป็นอนันตา นั้นหมายความว่า....
ความเป็นรูปนามหรือเป็นบุคคล มันเกิดของมันตามเหตุแห่งอิทัปจยตา เราไม่สามารถไปบังคับ
ให้เป็นแบบโน้นแบบนี้ได้

การยกเอาเรื่องรถมาเปรียบเทียบ แสดงให้เห็นว่า ผู้นั้นไม่มีความเข้าใจใน
ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม แม้แต่น้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

เมื่อมองสภาพของสิ่งทั้งหลายในรูปของการประชุมส่วนประกอบเช่นนี้ พุทธธรรมจึงต้องแสดงต่อไปว่า ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านั้น เป้นอย่างไร มีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็พอเป็นตัวอย่าง และโดยที่พุทธธรรมมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องชีวิต โดยเฉพาะในด้านจิตใจ การแสดงส่วนประกอบต่างๆ จึงต้องครอบคลุมทั้งวัตถุและจิตใจ หรือทั้งรูปธรรม และนามธรรม และมักแยกแยะเป็นพิเศษในด้านจิตใจ


เละเทอะ! รูปนามเป็นธรรมที่ตั้งอยู่ เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยาม
รูปนามจะมากล่าวว่า อะไรเป็นส่วนประกอบของอะไรไม่ได้
เป็นเพราะว่ารูปกับนามเป็นหนึ่งเดียวกัน ถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่ง
ความเป็นรูปนามก็จะหมดไป ธรรมที่พระพุทธทรงกล่าวสอนไม่ได้บอกว่า
เป็นส่วนประกอบ ตรงกันข้ามพระองค์กำลังชี้ให้เห็นว่า ธรรมที่คิดว่า เป็นส่วนประกอบ
แท้จริงแล้ว มันไม่ใช่ตัวตน มันเกิดขึ้นและดับไป

ธรรมในพุทธศาสนา พระพุทธองค์กล่าวแยกแยะไว้แล้ว
แต่การแยกแยะนั้นเพื่อให้รู้ว่า ธรรมใดเป็นอวิชชาเพื่อที่จะได้ละได้ถูกต้อง
ดังนั้นการพิจารณาธรรมจะต้องเป็นการไล่จากผลไปหาเหตุ
ไม่ใช่ไล่จากเหตุไปหาผล ทำแบบนี้เป็นการสร้างทุกข์การการปรุงแต่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
การแสดงส่วนประกอบต่างๆนั้น ย่อมทำได้หลายแบบ สุดแต่วัตถุประสงค์จำเพาะของการแสดงแบบนั้นๆ แต่ในที่นี้ จะแสดงแบบขันธ์ 5 ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในพระสูตร


สิ่งที่พระพุทธองค์แสดง ในส่วนของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
นี่เป็นการแสดงในส่วนของ...วิชชา การกล่าวของพระองค์ไม่ได้มีความหมายถึงขันธ์ห้า
แต่สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบอกก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ส่วนเป็นสังขตธรรม
มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ส่วนความเป็นขันธ์หรือเบญขันธ์ พระพุทธองค์กล่าวไว้ในความเป็นอุปาทาน
ความมีอุปาทานในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน มันจึงจะเป็นขันธ์ห้า
ถ้าไม่มีอุปาทาน ความเป็นขันธ์ห้าย่อมไม่เกิด จะมีเพียงแต่ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาน เกิดขึ้นและดับไป....ตามธรรมนิยาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ 5 พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติ เรียกว่า “สัตว์” “บุคคล” ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ 5 ประเภท หรือ 5 หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์

1. รูปขันธ์ ได้แก่ องค์ประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น

2. เวทนาขันธ์
3. สัญญาขันธ์
4.สังขารขันธ์
5. วิญญาณขันธ์



ลงให้สังเกตเพียงรูปขันธ์พอ

ข้อ 1 เป็นฝ่ายรูปธรรม ข้อ 2-5 เป็นฝ่ายนามธรรม (รูป นาม)

ฝ่ายอภิธรรมจำแนกแจกแจงรูปขันธ์ออกเป็น 28 รูป (มหาภูตรูป 4 อุปาทายรูป 24)


ในรูปขันธ์พระพุทธองค์ไม่ได้แยกแยะ พุทธพจน์กล่าวเพียงว่า รูปเป็นเพียง...ธาตุสี่
นอกจากธาตุสี่นั้นคือการปรุงแต่งของอุปาทาน ในเรื่องรูป๒๘ที่อรหันต์สาวกได้กล่าวไว้
เราต้องมีสมาธิในการอ่าน การอ่านต้องอ่านในลักษณะของวิชชา อ่านเพื่อไล่ไปหาเหตุ
ให้มันจบที่ธาตุสี่ ไม่ใช่อ่านจากธาตุสี่จนกลายเป็นรูป๒๘รูป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เพื่อให้เห็นภาพกว้างอีก (สังเกตความหมาย บัญญัติ)
ตัวสภาวะ

พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นธาตุ เป็นธรรม เป็นสภาวะ (เรียกยาวว่า “สภาวธรรม” ตามคำบาลีว่า “สภาวธมฺม “ส+ภาว+ธมฺม แปลว่า สิ่งที่มีภาวะของมันเอง) อันมีอยู่เป็นอยู่ตามภาวะของมันเอง ที่เป็นของมันอย่างนั้น เช่นนั้น ตามธรรมดาของมัน มิใช่มีเป็น สัตว์ บุคคล อัตตา ตัวตน เรา เขา ที่จะยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ครอบครอง บังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนาอย่างไรๆได้


ปัญหาของผู้ที่กำลังอธิบายธรรม ขาดปัญญาญานรู้ในสภาวะธรรม
จึงทำให้ขาดสมาธิในการพิจารณาธรรม
มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเป็นขันธ์ห้า เหตุที่มีขันธ์ห้าตามติดมาก็เป็นเพราะ
มีความยึดมั่นถือมั่นจึงเกิดเป็นอัตตาตัวตนขึ้น เมื่อจิตเกิดจุติมาปฏิสนธิ์ใหม่
จึงทำให้จิตดวงนั้น มีความเป็นอัตตาตัวตนมาพร้อม เพราะอัตตาตัวตนเป็นเหตุให้เกิดภพชาติ

ตามธรรมดาก็คือขันธ์ห้า ความเป็นขันธ์ก็คือ...อัตตาตัวตน
เจ้าของบทความมาบอกได้ไงว่า ......ไม่ใช่อัตตาตัวตน


อยากบอกกรัชกายและเพื่อนๆ การอ่านธรรมเราต้องมีสมาธิแยกแยะด้วยว่า
ธรรมไหนเป็นอวิชาและธรรมไหนเป็นวิชชา ดูจากธรรมที่เอามาอ้างอิงก็รู้แล้วว่า ...
ผู้กล่าวแยกแยะ ธรรมที่เป็นอวิชาและวิชชาไม่ออก



อ้างคำพูด:
มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเป็นขันธ์ห้า เหตุที่มีขันธ์ห้าตามติดมาก็เป็นเพราะ
มีความยึดมั่นถือมั่นจึงเกิดเป็นอัตตาตัวตนขึ้น


พูดเป็นงูกินหางเชีย :b1:

ชีวิตก็คือที่บัญญัติเรียกกันว่า คน ว่ามนุษย์นี่ เมื่อเกิดมาคนหรือมนุษย์ก็ยึดชีวิตนี้ว่าเป็นอัตตา (อาตมัน) เป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา แต่พระพุทธเจ้าปฏิเสธว่า ชีวิตไม่ใช่อาตมัน ไม่ใช่ัตัวตน (อนัตตา) ท่านจึงแจกแจงชีวิตออกเป็น 5 หมวด หรือ 5 กอง แล้วถามว่า ไหนล่ะอาตมัน ไหนล่ะอัตตา ไหนล่ะเรา ไหนล่ะเขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เพื่อให้เห็นภาพกว้างอีก (สังเกตความหมาย บัญญัติ)
ตัวสภาวะ

พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นธาตุ เป็นธรรม เป็นสภาวะ (เรียกยาวว่า “สภาวธรรม” ตามคำบาลีว่า “สภาวธมฺม “ส+ภาว+ธมฺม แปลว่า สิ่งที่มีภาวะของมันเอง) อันมีอยู่เป็นอยู่ตามภาวะของมันเอง ที่เป็นของมันอย่างนั้น เช่นนั้น ตามธรรมดาของมัน มิใช่มีเป็น สัตว์ บุคคล อัตตา ตัวตน เรา เขา ที่จะยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ครอบครอง บังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนาอย่างไรๆได้


ปัญหาของผู้ที่กำลังอธิบายธรรม ขาดปัญญาญานรู้ในสภาวะธรรม
จึงทำให้ขาดสมาธิในการพิจารณาธรรม
มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเป็นขันธ์ห้า เหตุที่มีขันธ์ห้าตามติดมาก็เป็นเพราะ
มีความยึดมั่นถือมั่นจึงเกิดเป็นอัตตาตัวตนขึ้น เมื่อจิตเกิดจุติมาปฏิสนธิ์ใหม่
จึงทำให้จิตดวงนั้น มีความเป็นอัตตาตัวตนมาพร้อม เพราะอัตตาตัวตนเป็นเหตุให้เกิดภพชาติ

ตามธรรมดาก็คือขันธ์ห้า ความเป็นขันธ์ก็คือ...อัตตาตัวตน
เจ้าของบทความมาบอกได้ไงว่า ......ไม่ใช่อัตตาตัวตน


อยากบอกกรัชกายและเพื่อนๆ การอ่านธรรมเราต้องมีสมาธิแยกแยะด้วยว่า
ธรรมไหนเป็นอวิชาและธรรมไหนเป็นวิชชา ดูจากธรรมที่เอามาอ้างอิงก็รู้แล้วว่า ...
ผู้กล่าวแยกแยะ ธรรมที่เป็นอวิชาและวิชชาไม่ออก


อ้างคำพูด:
ตามธรรมดาก็คือขันธ์ห้า ความเป็นขันธ์ก็คือ...อัตตาตัวตน
เจ้าของบทความมาบอกได้ไงว่า ......ไม่ใช่อัตตาตัวตน


"ธรรมะบ๊อกซิ่งเล" เลิกเหอะโฮฮับ Onion_R

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ทวาร อินทรีย์ อายตนะ ....สังเกตดูว่า ใช้ตอนไหน ไปยังไงมายังไง

แหม่...ลืม ยังมี กาย อีก 2 ตัวที่ กาย วาจา ใจ - กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม :b32:




ชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลกนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ภาค แต่ละภาค มีระบบการทำงานซึ่งอาศัยช่องทางที่ชีวิตจะทีชีวิตจะติดต่อเกี่ยวกับโลกได้ ซึ่งเรียกว่า ทวาร (ประตู, ช่องทาง) ดังนี้

1. ภาครับรู้และเสพเสวยโลก อาศัยทวาร 6 (ผัสสะทวาร) คือ จักขุ (ตา) โสต (หู) ฆาน (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กาย (กาย) มโน (ใจ)

2. ภาคแสดงออกหรือกระทำต่อโลก อาศัยทวาร 3 (กรรมทวาร) คือ กาย วาจา ใจ (กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร) สำหรับกระทำตอบต่อโลก โดยแสดงออกเป็นการทำ การพูด และการคิด (กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)

คำว่า ทวาร (ในทวาร 6) เมื่อกล่าวถึงในระบบการทำงานของกระบวนธรรมแห่งชีวิต ท่านนิยมเปลี่ยนไปใช้คำว่า “อายตนะ” ซึ่งแปลว่า แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือทางรับรู้

อายตนะภายในหรือทวาร 6 นั้น มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อินทรีย์ 6” คำว่า อินทรีย์ แปลว่า ภาวะที่เป็นใหญ่ หมายถึงสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ เป็นเจ้าหน้าที่ หรือเป็นเจ้าการในเรื่องนั้นๆ เช่น ตา เป็นเจ้าการในการรับรู้รูป หูเป็นเจ้าการในการรับรู้เสียง เป็นต้น อินทรีย์ 6 คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ และมนินทรีย์


คำว่า อินทรีย์ นิยมใช้กับอายตนะ ในขณะทำหน้าที่ของมัน ในชีวิตจริง และเกี่ยวกับจริยธรรม เช่นการสำรวมจักขุนทรีย์ เป็นต้น ส่วนอายตนะนิยมใช้ในเวลาพูดถึงตัวสภาวะที่อยู่ในกระบวนธรรม เช่น ว่า อาศัยจักขุ อาศัยรูป เกิดจักขุวิญญาณ เป็นต้น และเมื่อพูดถึงสภาวะลักษณะ เช่นว่า จักขุไม่เที่ยง เป็นต้น


อีกคำหนึ่งที่ใช้พูดกันบ่อยในเวลากล่าวถึงสภาวะในกระบวนธรรม คือคำว่า "ผัสสายตนะ” แปลว่า ที่เกิดหรือบ่อเกิดแห่งผัสสะ คือที่มาของการรับรู้

อายตนะภายนอก หรืออารมณ์ ก็มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก คือ “โคจร” (ที่เที่ยว ที่หากิน) และ “วิสัย” (สิ่งผูกพัน แดนดำเนิน)


ชื่อที่ควรกำหนดเป็นพิเศษ ใช้เฉพาะกับอารมณ์ 5 อย่างแรก ซึ่งมีอิทธิพลมากในกระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลก หรือแบบสังสารวัฏ คือคำว่า “กามคุณ” (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม) กามคุณ 5 หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ เฉพาะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2013, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1382287104-1367332977-o.gif
1382287104-1367332977-o.gif [ 16.55 KiB | เปิดดู 3021 ครั้ง ]
วันนี้พี่โฮตื่นสายหรา :b19: เช้านี้รู้สึกอากาศเย็นๆ เป็นไข้เป็นหนาวหรือเปล่าเนี่ย :b1: ดูแลสุขภาพร่างกาย, กาย, รูป นะครับ หรือจะพูดว่าดูแลชีวิต อัตภาพ หรือรูปนามก็ได้ :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2013, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลกนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ภาค แต่ละภาค มีระบบการทำงานซึ่งอาศัยช่องทางที่ชีวิตจะทีชีวิตจะติดต่อเกี่ยวกับโลกได้ ซึ่งเรียกว่า ทวาร (ประตู, ช่องทาง) ดังนี้

1. ภาครับรู้และเสพเสวยโลก อาศัยทวาร 6 (ผัสสะทวาร) คือ จักขุ (ตา) โสต (หู) ฆาน (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กาย (กาย) มโน (ใจ)

2. ภาคแสดงออกหรือกระทำต่อโลก อาศัยทวาร 3 (กรรมทวาร) คือ กาย วาจา ใจ (กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร) สำหรับกระทำตอบต่อโลก โดยแสดงออกเป็นการทำ การพูด และการคิด (กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)

คำว่า ทวาร (ในทวาร 6) เมื่อกล่าวถึงในระบบการทำงานของกระบวนธรรมแห่งชีวิต ท่านนิยมเปลี่ยนไปใช้คำว่า “อายตนะ” ซึ่งแปลว่า แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือทางรับรู้


ที่บอกว่า "ท่านนิยมเปลี่ยนไปใช้คำว่า..อายตนะ" พูดเลอะเทอะ
คำว่า"อายตนะ" เป็นพุทธพจน์ เป็นัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้อย่างตายตัว
แต่เพราะความไม่รู้ของคนบางจำพวก เอาพุทธพจน์ไปขยายความจนความหมายที่พระพุทธองค์
ต้องการสื่อผิดเพี้ยนไป
กรัชกาย เขียน:
อายตนะภายในหรือทวาร 6 นั้น มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อินทรีย์ 6” คำว่า อินทรีย์ แปลว่า ภาวะที่เป็นใหญ่ หมายถึงสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ เป็นเจ้าหน้าที่ หรือเป็นเจ้าการในเรื่องนั้นๆ เช่น ตา เป็นเจ้าการในการรับรู้รูป หูเป็นเจ้าการในการรับรู้เสียง เป็นต้น อินทรีย์ 6 คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ และมนินทรีย์


นี่ก็มั่ว จะกล่าวว่า อายตนะภายใน เป็นทวารหกไม่ได้
เพราะความเป็นอายตนะภายใน จะต้องมีอาตนะนะภายนอกสัมปยุตหรือประกอบกันอยู่
ถ้ากล่าว จักขุทวารอย่างเดียว จักขุทวารนั้นหาใช่อายตนภายในไม่
อายตนะภายในที่ถูกต้องในส่วนนี้ก็คือ .....จักขายตนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2013, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


[๔๐๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าอย่างไร ฯ
กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑ นามกาย
เป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนาม
กายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย รูปกายเป็นไฉน มหาภูต
รูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ นิมิตร และท่านกล่าวว่า
กายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=4070&Z=5199

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2013, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อีกคำหนึ่งที่ใช้พูดกันบ่อยในเวลากล่าวถึงสภาวะในกระบวนธรรม คือคำว่า "ผัสสายตนะ” แปลว่า ที่เกิดหรือบ่อเกิดแห่งผัสสะ คือที่มาของการรับรู้

อายตนะภายนอก หรืออารมณ์ ก็มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก คือ “โคจร” (ที่เที่ยว ที่หากิน) และ “วิสัย” (สิ่งผูกพัน แดนดำเนิน)


เอาบัญญัติมาแปลใหม่เอาซะเละ.....คำว่า"ผัสสายตนะ" ไม่ได้แปลว่าที่เกิดหรือบ่อเกิด
ถ้าจะอธิบาย"ผัสสายตนะ" ต้องอธิบายด้วยเหตุปัจจัย ห้ามเอาบัญญัตินี้ไปสร้างคำใหม่

ผัสสายตนะ เป็นบัญญัติที่กล่าวถึง ความเป็นไปของธรรมที่อาศัยเหตุปัจจัยในการเกิด
และดับเมื่อเหตุปัจจัยดับ นั้นก็คือกฎแห่งอิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุบาท

ความผิดเพี้ยนในบทอ้างท่อนนี้คือ การเอาเรื่องกระบวนการขันธ์ห้ามาผสมปนเปกับปฏิจสมุบาท

ความหมายของผัสสายตนะ หมายความว่า สฬารยตนะเป็นเหตุแห่งผัสสะ
ลักษณะของเหตุปัจจัยนี้ เมื่อเกิดแล้วก็สัมปยุตกันอยู่ร่วมกับเหตุปัจจัยอื่นๆในปฏิจจสมุบาท
มันตั้งอยู่ไม่ได้ดับไปไหน
ส่วนอายตนะและผัสสะในขันธ์ห้า เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป


อายตนะภายนอก.....ไม่ใช่อารมณ์ อารมณ์เกิดหลังจากผัสสะดับไปแล้ว
อารมณ์เป็นนามธรรม ส่วนอายตนะภายนอกเป็นรูปธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2013, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


[๖๗๓] คำว่า เสวยสุขด้วยนามกาย มีอธิบายว่า สุข เป็นไฉน
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด
นี้เรียกว่า สุข
กาย เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า กาย
ภิกษุ ย่อมเสวยสุขนี้ ด้วยกายนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เสวยสุข
ด้วยนามกาย
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=7871&Z=8548

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 134 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร