วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 17:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 03:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เปรียบเหมือนพ่อครัว.... :b41:

อีกประการหนึ่ง

เปรียบเหมือนพ่อครัวทำการเลี้ยงอาหารเจ้านาย คอยสังเกตอาการนั้น ๆที่เจ้านายชอบบริโภคไว้อย่างดี แต่นั้น ก็พยายามเตรียมจัดเฉพาะที่เจ้านายชอบใจเท่านั้นเข้าไปให้ เขาย่อมจะเป็นผู้มีส่วนได้รับรางวัล ฉันใด แม้โยคีบุคคลนี้ก็ฉันเดียวกันนั่นเทียว คอยกำหนดจับเอาอาการทั้งหลายมีอาการอันเป็นที่สบาย เป็นต้นในขณะที่บรรลุปฐมฌาน

แล้วยังอาการเหล่านั้นให้ถึงพร้อมอยู่เสมอ ไม่ให้เลอะเลือน เมื่อสมาธินั้นเสื่อมหายไป ก็ย่อมจะได้อัปปนาสมาธิกลับคืนมาเสมอ ๆ


เพราะฉะนั้น อันโยคีบุคคลนั้น จึงจำต้องคอยสังเกตจดจำอาการทั้งหลาย ในขณะที่ได้บรรลุปฐมฌานไว้ เหมือนดังนายขมังธนูผู้ยิงขนทรายและเหมือนดังพ่อครัว ข้อนี้สมจริงดังพุทธวจนะที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ซึ่งมีความว่า –



พระบาลีรับสมอ้างข้ออุปมา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า พ่อครัวผู้ชำนาญในการทำครัว มีปรีชาญาณอันชาญฉลาด ทำการต้อนรับพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยอาหารทั้งหลายนานาชนิด คืออาหารที่มีรสเปรี้ยวบ้าง มีรสขมบ้างมีรสเผ็ดบ้าง มีรสหวานบ้าง มีรสกร่อยบ้าง มีรสเค็มบ้าง มีรสจืดบ้าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อครัวผู้ชำนาญในการทำครัว มีปรีชาญาณอันชาญฉลาดนั้นแล เขาย่อมคอยจับดูอาการของเจ้านายของตนว่า วันนี้เจ้านายของเราชอบอาหารชนิดนี้ หรือเจ้านายของเราเอื้อมมือเอาอาหารอย่างนี้ หรือเจ้านายของเราหยิบเอาอาหารชนิดนี้มาก หรือเจ้านายของเราพูดชมคุณอาหารอย่างนี้ หรือว่าวันนี้เจ้านายของเราชอบอาหารมีรสเปรี้ยว หรือเอื้อมมือเอาแต่อาหารรสเปรี้ยวเป็นส่วนมาก หรือพูดชมคุณอาหารที่มีรสเปรี้ยว ….หรือว่า….พูดชมคุณอาหารที่มีรสจืด


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อครัวผู้ชำนาญในการทำครัวมีปรีชาญาณชาญฉลาดนั้นแล เขาย่อมจะได้เครื่องนุ่งห่มด้วย ได้เครื่องบำเหน็จรางวัลด้วย ได้เครื่องบรรณาการด้วย ข้อนั้น เพราะมีอะไรเป็นเหตุ ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า พ่อครัวผู้ชำนาญในการทำครัว มีปรีชาญาณชาญฉลาดนั้น เขาคอยจับตาดูเจ้านายของเขาด้วยประการดังกล่าวแล้ว ฉันใด


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ชำนาญมีปรีชาญาณชาญฉลาดบางรูปในศาสนานี้ ก็ฉันเดียวกันนั่นแล คือย่อมพิจารณาเห็นกายที่กายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาที่เวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตที่จิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ เป็นผ้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา ความดีใจ และโทมนัสความเสียใจในโลกออกเสียได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตย่อมเป็นสมาธิ อุปกิเลสทั้งหลายย่อมหายไป เขาย่อมจ้องจับเอานิมิตนั้นได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ชำนาญ มีปรีชาญาณชาญฉลาดนั้นแล ย่อมได้การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ย่อมได้สติและสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะมีอะไรเป็นเหตุเล่า ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุผู้ชำนาญมีปรีชาญาณชาญฉลาดนั้น คอยจ้องจับเอานิมิตแห่งจิตของตนได้เป็นเหตุโดยแท้

............

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 03:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุที่ให้อยู่ในสมาบัติได้นาน..... :b41:

ส่วนภิกษุใด ชำระธรรมทั้งหลายอันเป็นข้าศึกแก่สมาธิให้สะอาดด้วยดีเสียก่อนแล้วจึงสู่ฌานสมาบัติ ภิกษุนั้นย่อมจะอยู่ได้ภายในแห่งสมาบัตินั่นแล แม้ตลอดกาลอันเป็นส่วนแห่งวันทั้งสิ้นทีเดียว เหมือนแมลงภู่ที่เข้าไปยังโพรงที่อยู่อาศัยซึ่งได้ชำระให้สะอาดแล้วเป็นอย่างดี และเหมือนพระราชาเสด็จเข้าไปสู่พระราชอุทยานที่สะอาดเป็นอย่างดี ฉะนั้น
ด้วยเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์จึงได้ประพันธ์สุภาษิตไว้ ซึ่งมีความว่า-

โยคีบุคคลใด พึงกำจัดปัดเป่าเสียซึ่ง
...ความพอใจในกามทั้งหลาย ๑
....ความเคียดแค้น ๑
....ความฟุ้งซ่าน ๑
....ความเซื่องซึม ๑
....และความสงสัยเป็นที่ ๕
แล้วพึงมีใจปราโมชซึ่งเกิดแต่ความสงัด จากนิวรณ์กิเลสอภิรมย์ชมชื่นในฌานนั้น

เหมือนพระราชาที่เสด็จเข้าไปสู่พระราชอุทยานที่สะอาดตลอดสุดบริเวณ ย่อมทรงอภิรมย์ชมชื่นอยู่ในพระราชอุทยานนั้น ฉะนั้น ..

เพราะเหตุฉะนั้น อันโยคีบุคคลผู้ใคร่จะให้ฌานนั้นอยู่ได้นานๆ ก็จงชำระธรรมทั้งหลายอันเป็นข้าศึกแก่สมาธิมีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้นให้สะอาด แล้วจึงเข้าสูฌานสมาบัตินั้นเถิด .. :b41:

--------------
วิสุทธิมรรค เล่ม ๑ ภาคสมาธิ

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 03:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
[๓๐๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน
เขตพระนครเวสาลี. ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็นร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ใกล้
ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา.
ก็แลสมัยนั้น วัชชีชนบทอัตคัดอาหาร. ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีข้าวตายฝอย
ต้องมีสลากซื้ออาหาร. ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย.
จึงภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า บัดนี้วัชชีชนบทอัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีข้าว
ตายฝอย ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำ
ไม่ได้ง่าย. พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก
และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยอุบายอย่างไรหนอ.

ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ อาวุโสทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจะช่วยกันอำนวยกิจการอัน-
เป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์เถิด, เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วย
อุบายอย่างนี้, พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก
และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต.
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า ไม่ควร ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไรด้วยการช่วยกัน
อำนวยกิจการอันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ ท่านทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจงช่วยกันนำข่าว
สาส์นอันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์เถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่
พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้, พวกเราจักเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำ-
พรรษาเป็นผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต.


ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไรด้วยการช่วยกัน
อำนวยกิจการอันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ จะประโยชน์อะไรด้วยการช่วยกันนำข่าวสาส์นอัน
เป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์ ท่านทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจักกล่าวชมอุตตริมนุสสธรรม
ของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน
รูปโน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้
ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้น
เป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖ ดังนี้,
เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราก็จะพึงเป็น
ผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต.

ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า อาวุโสทั้งหลาย การที่พวกเราพากันกล่าวชมอุตตริ-
มนุสสธรรมของกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์นี้แหละ ประเสริฐที่สุด แล้วพากันกล่าวชมอุตตริ-
มนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูปโน้นได้ทุติยฌาน
รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี
รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖
ดังนี้.
ประชาชนพากันยินดี
ครั้นต่อมา ประชาชนเหล่านั้นพากันยินดีว่า เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้ดี
แล้วหนอ ที่มีภิกษุทั้งหลายผู้ทรงคุณพิเศษเห็นปานนี้ อยู่จำพรรษา เพราะก่อนแต่นี้ ภิกษุ
ทั้งหลายที่อยู่จำพรรษาของพวกเรา จะมีคุณสมบัติเหมือนภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้ไม่มีเลย,
โภชนะชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่บริโภคด้วยตน ไม่ให้มารดา บิดา
บุตร ภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของเคี้ยว ของลิ้ม น้ำดื่ม
ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่ดื่มด้วยตน ไม่ให้มารดา บิดา บุตร ภรรยา
คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต. จึงภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีน้ำนวล มีอินทรีย์
ผ่องใส มีสีหน้าสดชื่น มีผิวพรรณผุดผ่อง.
ประเพณีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
[๓๐๕] ก็การที่ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคนั่นเป็นประเพณี.
ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาสแล้ว เก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรหลีกไปโดยมรรคา
อันจะไปสู่พระนครเวสาลี. ถึงพระนครเวสาลี ป่ามหาวัน กูฏคารศาลา โดยลำดับ เข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ในทิศทั้งหลาย เป็นผู้ผอม ซูบซีด มีผิวพรรณ
หมอง เหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น. ส่วนภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา เป็นผู้มีน้ำนวล
มีอินทรีย์ผ่องใส มีสีหน้าสดชื่น มีผิวพรรณผุดผ่อง.
ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะ
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่น
เป็นพุทธประเพณี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ร่างกายของพวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็นไปได้
พระพุทธเจ้าข้า, อนึ่ง พวกข้าพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษา
เป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า.
พุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลาย ทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็มี
ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถาม
สิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ พระตถาคตทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงสอบถาม
ภิกษุทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.
ตรัสถาม
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวก
เธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วย
บิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร
ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบแล้ว.
ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คุณวิเศษของพวกเธอนั่น มีจริงหรือ?
ภิ. มีจริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวชม
อุตตริมนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งท้องเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๕๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใดบอกอุตตริมนุสสธรรมแก่อนุปสัมบัน เป็นปาจิตตีย์
เพราะมีจริง.
เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา จบ.



สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน ความว่า ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน.
บทภาชนีย์
[๓๐๗] ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
ญาณทัสสนะ การทำมรรคให้เกิด การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ความเปิดจิต ความ
ยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.
[๓๐๘] ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน.
ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์.
ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ.
ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ.
ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่วิชชา ๓
ที่ชื่อว่า การทำมรรคให้เกิด ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘.
ที่ชื่อว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล
... อนาคามิผล ... อรหัตผล.
ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ ... โทสะ ... โมหะ.
ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิตจากโทสะ ความ
เปิดจิตจากโมหะ.
ที่ชื่อว่า ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า
ด้วยปฐมฌาน, ... ด้วยทุติยฌาน, ... ด้วยตติยฌาน, ... ด้วยจตุตถฌาน.
บอกปฐมฌาน

[๓๐๙] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ดังนี้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


------------------------

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=7468&Z=8399
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑ มุสาวรรค - สิกขาบทที่ ๘ เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:36
โพสต์: 91

สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะทุกเล่ม
ชื่อเล่น: ก้อย
อายุ: 28
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้คำแนะนำ ดิฉันใช้การภาวนา พุท-โธ ค่ะ จุดมุ่งหมายที่ทำสมาธิ ก็คล้ายๆ หลายๆท่าน คือ เพื่อความหลุดพ้น เพื่อแก้ปัญหาในชีวิต เพื่อชำระล้างจิตใจ และหาความสงบค่ะ

.....................................................
"ใช้ใจมองคน" แล้วคุณจะรู้ว่า คนๆนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ท.! ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสติ) เป็นอย่างไร ?

ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง
ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.

เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายในให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่,

เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า "เป็นผู้เฉยอยู่ได้
มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม" แล้วแลอยู่

เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และ เพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท.!
นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.

- มหา. ที. ๑๐/๓๔๐-๓๕๐/๒๙๔-๒๙๙.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:36
โพสต์: 91

สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะทุกเล่ม
ชื่อเล่น: ก้อย
อายุ: 28
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณคุณ BlackHospital ที่ให้ความกระจ่างค่ะ ดิฉันจะปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆ หากมีข้อสงสัยใด ๆ ที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ จะเรียนปรึกษาทุกท่านเช่นเคยค่ะ

.....................................................
"ใช้ใจมองคน" แล้วคุณจะรู้ว่า คนๆนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 00:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ควรศึกษาอ่านเพิ่ม เติม เรื่องโทษของ ฌาน...ทำให้หลงไปเกิดในพรหมโลกเป็นต้น

หรือ เรื่อง โทษของอุปกิเลส ๑๐
http://www.nkgen.com/tess805.htm

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ได้บรรลุฌานที่หนึ่ง
ภิกษุ ท.! ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง
ใจและทำปัญญาให้ถอยกำลัง เหล่านี้ ได้แล้ว, เพราะสงัดจากกามและสงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุ ฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิด
แต่วิเวก แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุมรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติ
และสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น, ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิด
แต่วิเวกนั้น, ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนนายช่างอาบก็ดี หรือลูกมือของเขาก็ดี เป็น
คนฉลาด โรยผงที่ใช้สำหรับถูตัวในเวลาอาบน้ำลงในขันสำริด แล้วพรมน้ำหมักไว้,
ครั้นเวลาเย็น ก้อนผงออกยางเข้ากัน ซึมทั่วกันแล้ว จับกันทั้งภายในภายนอก
ไม่ไหลหยด ฉันใด; ภิกษุ ท.! ภิกษุ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ
เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก, ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติ
และสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี, ฉันนั้นเหมือนกัน.

- มหาอัสสปุรสูตร มู.ม. ๑๒/๕๐๕/๔๗๑.

ผู้ได้บรรลุฌานที่สอง
ภิกษุ ท.! อีกประการหนึ่ง, เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ภิกษุจึงบรรลุ ฌานที่สอง
อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่.
เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่
สมาธิ, ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนห้วงน้ำอันลึก มีน้ำอันป่วน ไม่มีปากน้ำ
ทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ แต่ฝนตกเพิ่มน้ำให้แก่ห้วงน้ำ
นั้น ตลอดกาลโดยกาล, ท่อน้ำเย็นพลุ่งขึ้นจากห้วงน้ำ, ประพรมทำให้ชุ่ม
ถูกต้องห้วงน้ำนั้นเอง, ส่วนไหน ๆ ของห้วงน้ำนั้นที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว
มิได้มี, ข้อนี้ฉันใด, ภิกษุ ท.! ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ
เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ, ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอ ที่ปีติ
และสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี, ฉันนั้นเหมือนกัน.

- มหาอัสสปุรสูตร มู. ม. ๑๒/๕๐๕/๔๗๒.


ผู้ได้บรรลุฌานที่สาม
ภิกษุ ท.! อีกประการหนึ่ง, เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ภิกษุ เป็น
ผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย จึง บรรลุ ฌานที่สาม
อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ
เต็มรอบ ด้วยลำพังสุขหาปีติมิได้ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่สุข
หาปีติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนหนองบัวอุบล หนองบัวปทุม หนองบัว
บุญฑริก มีดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางเหล่าที่เกิดอยู่ในน้ำ
เจริญอยู่ใต้น้ำ ยังขึ้นไม่พ้นน้ำ จมอยู่ภายใต้อันน้ำเลี้ยงไว้, ดอกบัวเหล่านั้นถูก
น้ำเย็นแช่ชุ่ม ถูกต้องตั้งแต่ยอดตลอดราก, ส่วนไหน ๆ ของดอกบัวเหล่านั้น
ทั่วทั้งดอก ที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี, ข้อนี้เป็นฉันใด; ภิกษุ ท.!
ภิกษุ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยลำพังหาสุขปีติมิได้,
ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอ ที่ลำพังสุขหาปีติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี,
ฉันนั้นเหมือนกัน.
- มหาอัสสปุรสูตร มู.ม. ๑๒/๕๐๖/๔๗๓.


ผู้ได้บรรลุฌานที่สี่
ภิกษุ ท.! อีกประการหนึ่ง, เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้, เพราะ
ความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, ภิกษุ จึง บรรลุ ฌานที่สี่
อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
เธอนั้น นั่งแผ่ไปตลอดกายนี้ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส, ส่วนใดส่วนหนึ่งของ
กายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนชายคนหนึ่ง นั่งคลุมตัวด้วยผ้าขาวตลอดศีรษะ,
ส่วนไหน ๆ ในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ผ้าชาวไม่ถูกต้องแล้ว (คือไม่คลุมแล้ว) มิได้มี.
ข้อนี้แม้ฉันใด; ภิกษุ ท.! ภิกษุนั่งแผ่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใสไปตลอดกายนี้,
ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.
ฉันนั้นเหมือนกัน.

-มหาอัสสปุรสูตร มู.ม. ๑๒/๕๐๗/๔๗๔.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 01:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสมาธิเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่วิเวกอยู่

เข้าทุติยฌานอันเป็นความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่
สมาธิอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะ
ปีติสิ้นไป

เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี
อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาสมาธิ นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ชื่อว่า
ญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมาแล้วนั้นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทา ชื่อว่าสุตมยญาณ ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว ชื่อว่า
สุตมยญาณอย่างนี้ ฯ

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:36
โพสต์: 91

สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะทุกเล่ม
ชื่อเล่น: ก้อย
อายุ: 28
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณนัน 555 และคุณ Black Hospital มากค่ะ

.....................................................
"ใช้ใจมองคน" แล้วคุณจะรู้ว่า คนๆนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 16:50
โพสต์: 175

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาทั้งหมดด้วยครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2009, 00:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b39: ขออนุโมทนาทั้งหมดด้วยครับ :b40: :b40: :b40: ยังงัยๆหากจะได้ฌาณก็ขอให้มีจิตสงบและร่างกายสดชื่นไม่มีโรคภัยเบียดเบียนก่อนน่าจะดีนะครับ.. :b41: :b42: :b41:
อีกไม่กี่วันก็จะถึงวันมาฆบูชา วันพระใหญ่เดือน3 แล้ว....ขอระลึกถึงคุณขององค์สมณโคตมะสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้ทรงแสดงธรรมโอวาทปาติโมกข์ ให้พระอรหันต์1250รูปฟังอย่างพร้อมเพรียงกัน :b8: :b39: :b42: :b39:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2009, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


แนะนำเข้าhttp://www.wimutti.netครับ
แล้วไปเข้าเว็บบอร์ดถามอ.สุรวัฒน์ดูนะครับ :b12:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2009, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:36
โพสต์: 91

สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะทุกเล่ม
ชื่อเล่น: ก้อย
อายุ: 28
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกท่านที่ให้คำแนะนำค่ะ :b16:

.....................................................
"ใช้ใจมองคน" แล้วคุณจะรู้ว่า คนๆนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเห็น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร